อย่างที่เราเห็นในภาพข่าว
เหตุการณ์ปัจจุบัน หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด นั่นก็คือ อเมริกาคือผู้เล่นหลัก
หรือบริษัทผู้ผลิตและส่งออกอาวุธและยุทธภัณฑ์ทางการรบ
หรือการทำสงครามมากที่สุดในโลก ข้อมูลต่อไปนี้
น่าจะพอให้เห็นภาพว่าเหตุใดอเมริกาจึงเข้าไปมีบทบาท
แทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากมาย บางกรณีก็อยู่เบื้องหลังฉากลับๆ
หรือเปิดเผย ในการโค่นล้มผู้มีอำนาจหรือรัฐบาล
เพื่อให้เป็นไปตามผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งมีเบื้องหลังก็คือการค้าอาวุธนั่นเอง
กลุ่มประเทศที่ผลิตและขายอาวุธมากที่สุดในโลก
จากรายงานของสถาบัน SIPRI (Stockholm International Peace Research Institute) ในปี 2010 ถึง 2014 ระบุว่า 5 ประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลกคือ
- (1) สหรัฐอเมริกา
- (2) รัสเซีย
- (3) จีน
- (4) เยอรมนี และ
- (5) ฝรั่งเศส
รวมกันแล้วทั้งห้าประเทศคิดเป็น 74% ของการส่งออกของทั้งโลก และถ้าดูแค่สองประเทศแรกคือสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย แค่สองประเทศนี้ก็ส่งออกอาวุธกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลกเสียแล้ว หรือคิดเป็นประมาณ 58% ของอาวุธที่มีการซื้อขายกัน
โดยสหรัฐอเมริกาส่งออกอาวุธให้ 94 ประเทศ ขณะที่รัสเซียส่งให้ 56 ประเทศ
ด้านล่างคือกราฟอัตราการลดเพิ่มการส่งออกอาวุธในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าจีนมีการขยายตัวการส่งออกอาวุธมากที่สุดคือ 143%
ลูกค้ารายใหญ่อันดับสามที่ซื้ออาวุธจากจีนคือประเทศพม่าเพื่อนบ้านอาเซียนเรานี้เอง ส่วนไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่อันดับสามที่ซื้ออาวุธจากประเทศยูเครน (ดู Tables 1 และ 2 ในรายงาน Wezeman & Wezeman 2015) ส่วนเยอรมันนีและฝรั่งเศสมีการผลิตและขายอาวุธที่น้อยลงกว่าเดิม ถ้าดูในระดับจุลภาค 10 อันดับบริษัทผลิตอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาจากประเทศยุโรปตะวันตกและประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น บริษัท Lockheed Martin และบริษัท Boeing คือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและสอง ทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน
ส่วนบริษัท Almaz-Antey ที่มีสัญชาติรัสเซียติดอันดับที่ 12 ในปี 2013 ซึ่งในรายงาน Press Release ของ SIPRI อีกฉบับได้กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2000 รัฐบาลรัสเซียได้ลงทุนในการสร้างศักยภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตอาวุธอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและเทคโนโลยีของบริษัทผลิตอาวุธในประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับบริษัทสัญชาติอเมริกันและยุโรปตะวันตก ที่เป็นกลุ่มพันธมิตรทางการทหาร (นาโต้) ซึ่งในขณะนี้มีความขัดแย้งกับรัสเซียในเรื่องปัญหาการเมืองภายในของประเทศยูเครน
ในรายงานระบุว่ารายได้ของบริษัทขายอาวุธสัญชาติรัสเซียมีตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2012 เช่นตัวเลขจากบริษัท Almaz-Antey เพียงบริษัทเดียวมีรายได้จากการขายอาวุธเพิ่มขึ้นจาก 5.8 (ปี 2012) เป็น 8 (ปี 2013) พันล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ส่วนกลุ่มผู้ซื้ออาวุธ ตามรายงานของ SIRPI กล่าวว่ากลุ่มประเทศในเอเชียและโอเชียนเนียเป็นกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยุทโธปกรณ์ต่างๆ คิดเป็น 48% ของการนำเข้าอาวุธในช่วง 2010 – 2014 ประเทศจีน อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาหรับอิมิเรตและปากีสถานเป็นกลุ่มผู้ซื้ออาวุธหลักคิดเป็น 33 % ของการซื้ออาวุธทั่วโลก
แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น คือขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ก็กำลังพัฒนาศักยภาพและเทคโนโลยีในการเป็นผู้ผลิตอาวุธเสียเองด้วย
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือจีน ที่ตอนนี้ติดอันดับประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 3 แซงหน้าเยอรมนีไปแล้ว นอกจากนั้น กลุ่มประเทศผู้ผลิตใหม่ (Emerging producers) อย่างเช่นประเทศบราซิล เกาหลีใต้ อินเดีย สิงคโปร์ และตุรกีก็ติด Top 100 บริษัทผลิตอาวุธและเริ่มมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น แม้ว่าจะคิดเป็นเพียง 3.6% ในการขายอาวุธของทั้งโลกเมื่อปี 2013
เมื่อดูสถิติของ SIPRI ก็แน่ชัดว่ากลุ่มประเทศและบริษัทที่ผลิตอาวุธมากที่สุดยังคงเป็นกลุ่มผู้ผลิตเดิมอยู่คือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา และเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ เช่นในสหรัฐอเมริกามีผู้นับถือศาสนาคริสต์เกินกว่า 75% หรือในอังกฤษ เยอรมัน หรือฝรั่งเศสมีประชากรนับถือศาสนาคริสต์อยู่ประมาณ 60% ส่วนรัสเซีย น่าจะมีผู้นับถือศาสนาคริสต์อยู่เป็นส่วนใหญ่ โดยมีนิกายรัสเซียออโธด๊อกเป็นนิกายหลัก
ฉะนั้น กลุ่มผู้ผลิตอาวุธที่โป๊ปพูดถึงคือกลุ่มประเทศด้านบนนี้ และคงไม่แปลกนักที่โป๊ปฟรานซิสผู้นำความเชื่อและจิตวิญญาณของคริสตชนจะใช้ปัจจัยด้านศาสนามาเป็นเครื่องมือตำหนิอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ ที่ท่านมองว่าเป็นเหตุทำให้เกิดสงครามและความรุนแรงต่างๆ ตั้งแต่ในอดีต (แม้ว่าจะมีแค่มืดหอกดาบก็ทำสงครามกันได้เหมือนกัน)
การออกมาตำหนิอุตสาหกรรมอาวุธและออกความเห็นขัดแย้งเรื่องการเมืองกับผู้นำประเทศในหลายโอกาสนั้น แน่นอน ทำให้มีผู้ไม่เห็นด้วยกับโป๊ป แต่นี้คือโป๊ปฟรานซิสผู้ซึ่งมีมุมมองและอุดมการณ์เอียงซ้าย ที่คริตชนรุ่นใหม่และองค์กรพัฒนาต่างๆ กำลังโหยหา ฉะนั้น เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าในระหว่างการดำรงวาระของท่าน โป๊ปฟรานซิสจะเปลี่ยนโฉมหน้าวาติกันมากน้อยให้แตกต่างจากเดิมขนาดไหน (เครดิตอ้างอิง บทความ “โป๊ปต้านอุตสาหกรรมอาวุธ มาดูกันว่าประเทศไหนบ้างที่ผลิต” โดยคุณสรินณา อารีธรรมศิริกุล คอลัมน์ Dare to Think หน้าเพจของเว็บไซต์สยามอินเทลลิเจ้นซ์ดอทคอม)
ในปี
ค.ศ. 2006 บริษัทโบอิ้ง (Boeing) เป็นผู้ผลิตอาวุธปืนและเครื่องบินที่มีจำนวนสั่งซื้อมากที่สุดในโลก
มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55 ของยอดสั่งซื้อ และร้อยละ 54
ของยอดส่งมอบโดยรวมทั่วทั้งโลก กุมชัยชนะเหนือบริษัทแอร์บัส (Airbus) เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา
และนับเป็นบริษัทส่งออกรายใหญ่สุดของสหรัฐอเมริกา
ส่วนบริษัท
นอร์ทธรอป กรัมแมน (Northrop Grumman) เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน
ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอากาศยานทางทหาร การต่อเรือรบ และเทคโนโลยีทางการทหาร
ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี ค.ศ.1994 เกิดจากการควบรวมกิจการของบริษัทนอร์ทธรอป
กับบริษัทกรัมแมน เข้าด้วยกัน ในปีค.ศ. 2010
นอร์ทธรอป กรัมแมน เป็นบริษัทที่มีสัญญาการจัดซื้ออาวุธอยู่ในอันดับ
4 ของโลก มีพนักงานทั่วโลกรวมกันกว่า 120,000 คน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เขตเซนจูรี่ซิตี้ เมืองลอสแอนเจลิส
มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 2010 ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูน
อยู่ในอันดับ 61 ประเภทอุตสาหกรรมของโลกในสหรัฐอเมริกา
บริษัท
เรย์เธียน (Raytheon)
เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธทางการทหาร
และอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ปัจจุบัน เรย์เธียน
คือผู้ผลิตขีปนาวุธนำวิถีรายใหญ่ที่สุดของโลก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1922 ที่เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาจูเซตส์ ปัจจุบันมีพนักงานรวมกันกว่า 72,000
คน รายได้ 90% มาจากการขายสินค้าทางการทหาร ในปี 2007 ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายอาวุธรายใหญ่อันดับ
3 ของโลก (อ้างอิงและคัดลอกบางส่วนจากบทความชื่อ
“บริษัทผลิตอาวุธสงคราม” ในบล็อกของคุณ natboyweapons.blogspot.com)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น