วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019 (อันดับที่ 2,1)

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019
อันดับ 2 ตลาด OTT (Video Streaming on Demand) แข่งดุ สะเทือนบัลลังก์ Netflix, Line TV 


สำหรับตัวเลขบริการ OTT ของไทยนั้น Ovum คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2019 นี้จะมียอดผู้ใช้บริการอยู่ที่ 1.3 ล้านราย เพิ่มขึ้น 18.80% จากปี 2018 ที่มียอดผู้ชมรวม 1.09 ล้านราย และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านรายในช่วง 5 ปี หรือในปี 2023
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ชมในกลุ่มบริการวีดิโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD หรือ Subscription Video on Demand บริการรับชมทีวีออนไลน์ย้อนหลังแบบเรียกเก็บค่าสมาชิก ในสัดส่วนที่สูงมาก โดยมีจำนวนผู้เป็นสมาชิกในปี 2019 อยู่ที่ 1.13 ล้านราย และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.91 ล้านรายในปี 2023 ในขณะที่บริการแบบรับชมสดตามโปรแกรมที่ออกอากาศ SLIN หรือ Subscription Linear มีสัดส่วนไม่มาก โดยปี 2019 มีผู้ใช้บริการแบบรับชมสดอยู่ที่ 170,000 รายเท่านั้น คาดตัวเลขผู้ใช้บริการเพิ่มเป็น 190,000 รายในปี 2023 สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการหลักของวีดิโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD ในไทยนั้น Netflix เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เช่นเดียวกับในหลายๆ ประเทศ โดยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยด้วยการจับมือกับผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ของ ไทยหลายราย ผลิตซีรีส์ไทยออกอากาศในช่องทาง Netflix เท่านั้น ขณะที่กลุ่มผู้ให้บริการแบบการรับชมสดในไทยนั้น ได้แก่ ผู้ให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น AIS Play, LOOX TV และ True ID เป็นต้น ขณะที่ตลาดผู้ชม OTT ของประเทศไทย เติบโตสูงในกลุ่มบริการวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD มากกว่าบริการรับชมสดอย่างชัดเจน โดยในปี 2019 ตลาดบริการกลุ่มนี้เติบโต 21.60% โดยจากยอดจำนวน ผู้ชมที่คาดการณ์ ในปี 2019 พบว่ามีจำานวน 1.13 ล้านราย และจะเพิ่มเป็น 1.30 ล้านรายในปี 2020 ส่วนบริการ แบบรับชมสดมีอัตราการเติบโต ในระดับ 2 – 3% ต่อปีเท่านั้น (เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ Positioningmag.com)
Netflix ไม่หวั่นคู่แข่งเยอะ! สตรีมมิ่งโอกาสมหาศาล Q1/19 สมาชิกเพิ่ม 9.6 ล้านราย-รายได้ 4.5 พันล้านเหรียญ
เวลานี้แพลตฟอร์ม “Streaming” กลายเป็นสมรภูมิทะเลเลือด! ที่ใครๆ ก็อยากเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถต่อยอดได้อีกมหาศาล ทั้งจากคอนเทนต์ และการสร้างฐานสมาชิก จนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมความบันเทิงของผู้คนทั่วโลก และเขย่าอุตสาหกรรมบันเทิง ทั้งในตลาดโลก และตลาดท้องถิ่นที่ Streaming รายนั้นๆ เข้าไปบุกตลาด อย่างคู่แข่งรายใหม่ แต่เป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ประกาศสู้ศึก “Streaming” เต็มตัว และเตรียมเปิดตัวภายในปีนี้ คือ “Apple TV+” และ “Disney+” วางแผนเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2019 ล่าสุด “Disney+” ออกมาเผยคอนเทนต์ และค่าบริการที่ดึงดูดให้สมัครสมาชิก ในราคา 6.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือกว่า 220 บาท เรียกได้ว่า “ตัดราคา” ผู้ที่อยู่มาก่อนอย่าง “Netflix” ที่ราคาแพ็คเกจมาตรฐานอยู่ที่ 12.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน!! คู่แข่งเยอะ แต่โอกาสยังมีอีกมหาศาล การแถลงผลประกอบการไตรมาส 1/2019 ผู้บริหาร “Netflix” ได้กล่าวถึงการเปิดตัวบริการ Video Streaming ของ Apple และ Disney เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า จะไม่กระทบกับการเติบโตของบริษัท เนื่องจากว่ายังมีโอกาสอีกมหาศาลในด้านความต้องการรับชมทีวี และภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ ซึ่ง Netflix สามารถตอบสนองสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของความต้องการนั้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ชั่วโมงการชม TV Streaming ของ “Netflix” คิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 10 ของการดูทีวีทั้งหมดเท่านั้น และ Sandvine ประเมินว่า การชม Netflix ผ่านอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ทั่วโลกคิดเป็นเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น นั่นหมายความว่า Netflix ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมากในหลายประเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ไตรมาสแรก ’19 โกยรายได้ 4.5 พันล้านเหรียญ – ซีรีย์เกาหลี “Kingdom” มาแรงทั่วเอเชีย!
Netflix รายงานรายได้และข้อมูลสำคัญประจำไตรมาสแรกปี 2562 ว่าทำรายได้ได้กว่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีผู้ที่สมัครชำระค่าบริการทั่วโลกถึง 148 ล้านสมาชิก โดยในไตรมาสนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ถึง 9.6 ล้านสมาชิก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (เป็นสมาชิกในสหรัฐอเมริกา 1.74 ล้านสมาชิก และ 7.86 ล้านสมาชิกในประเทศอื่นๆ)
ขณะที่ผลสำเร็จ(Netflix) ของ “คอนเทนต์” ในไตรมาสแรก มีดังนี้
– เนื้อหาจากประเทศต่างๆ ได้รับความนิยมทั้งในประเทศเจ้าของเนื้อหาและในต่างประเทศ เช่น ซีรีส์เกาหลี Kingdom เป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตั้งแต่ซีซั่นแรกในประเทศเกาหลีและยังเป็นซีรี่ส์ที่ถูกใจผู้ชมนับล้านนอกประเทศเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย
– มีสมาชิกทั้งครัวเรือนจำนวนถึง 45 ล้านครอบครัวที่ชมซีรีส์เรื่อง Umbrella Academy ภายในสี่สัปดาห์แรกที่เปิดให้ชม
– ภาพยนตร์แอ็คชั่น Triple Frontier นำแสดงโดย เบน แอฟเฟล็ก มีผู้ชมถึง 52 ล้านครอบครัวในช่วงสี่สัปดาห์แรกที่นำออกฉาย
– The Highwaymen นำแสดงโดย เควิน คอสต์เนอร์ และ วูดดี แฮร์เรลสัน มีผู้ชม 40 ล้านครอบครัวในเดือนแรกตามที่คาดการณ์ไว้
– สารคดีธรรมชาติ เรื่อง Our Planet ก็กำลังจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในซีรีส์สารคดีระดับโลกที่ประสบความสำเร็จที่สุดของ Netflix ที่คาดว่าจะมีจำนวนผู้ชมมากกว่า 25 ล้านครัวเรือนภายในเดือนแรกที่เปิดตัว
– ซีรีส์ใหม่แนวอินเทอร์แอคทีฟที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เรื่อง You vs Wild จะดึงดูดผู้ชมราว 25 ล้านคนให้ร่วมสนุกภายใน 28 วันแรกหลังจากการเปิดตัว
– เมื่อปีที่แล้ว Netflix เป็นเน็ตเวิร์กที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Emmys มากที่สุด และเป็นสตูดิโอที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มากเป็นอันดับสอง และได้รับรางวัลมากที่สุดทั้ง Emmys และออสการ์ รวมถึงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมโดย อัลฟอนโซ คัวรอน (Alfonso Cuarón) และรางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยมจากเรื่อง Roma ซึ่งชนะรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมอีกด้วย
– เพื่อให้ผู้บริโภคสมัครเป็นสมาชิก Netflix ได้ง่ายขึ้น จึงร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบต่างๆ 10 รายทั่วโลก
คาดครึ่งปีแรก 2019 สมาชิกเพิ่ม 14.6 ล้านราย
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในไตรมาส 2 จะทำการทดลองระบบ Top 10 lists สำหรับคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดประจำสัปดาห์เพื่อช่วยให้ผู้ชมตัดสินใจเลือกชมได้ง่ายขึ้นโดยดูจากภาพยนตร์ที่คนอื่น ๆ กำลังชมกันอยู่ โดยจะเริ่มทดลองกับบริการในเขตสหราชอาณาจักรเป็นที่แรก
ขณะที่รายได้ คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าทั้งครึ่งปีแรกของปีนี้ จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 14.6 ล้านราย เติบโต 7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ MarketingOops.com)
Streaming TV หรือ รายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยถือว่ากำลังเป็นกระแสใหม่มาแรงของโลกคอนเทนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์ Streaming TV ที่เป็นยักษ์ใหญ่ครองตลาดนี้อยู่อย่าง Netflix และ YouTube ที่กินส่วนแบ่งตาม Live TV มาติดๆ แต่ตอนนี้ ทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนไป ตลาด Streaming TV กำลังลุกเป็นไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนตลาดที่ลูกค้าต้องเสียค่า subscription อย่าง Netflix ทำไม Netflix กำลังตกที่นั่งลำบาก เหตุผลที่ตรงไปตรงมาที่สุด คือ ในยุคสมัยก่อน Netflix ทำธุรกิจหลักเป็นช่องทาง หรือ Channel ที่จะนำคอนเทนต์ หรือ Content จากสารพัดค่ายหนังหรือโทรทัศน์มาฉายทาง Streaming แน่นอนว่าในระยะแรก ค่าลิขสิทธิ์ที่ซื้อมาก็ยังมีราคาไม่แพงมาก เพราะเจ้าของคอนเทนต์เองก็ไม่รู้ว่าตลาด Streaming TV จะใหญ่ได้ถึงขนาดนี้ Netflix ถือเป็นผู้เล่นรายแรกๆ ในตลาดที่ประสบความสำเร็จ เมื่อมองจากยอดผู้ใช้บริการที่สูงเป็นอันดับหนึ่ง (เปรียบเทียบกับ Streaming TV ในกลุ่มที่เสียค่าบริการเหมือนกัน) ส่วนหนึ่งของความสำเร็จก็มาจากสารพัดคอนเทนต์ที่ Netflix ได้มาจากค่ายใหญ่ๆ หลายค่าย สิ่งที่กำลังเปลี่ยนไป คือ หลายค่ายกำลังลงมาเล่นในตลาดนี้เอง ภาพที่เห็นชัดที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Disney ที่เริ่มทยอยไม่ต่อสัญญาลิขสิทธิ์กับ Netflix เพื่อเตรียมตัวมาเปิด Streaming TV ของตนเอง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับตลาดภาพยนตร์แล้ว Disney ถือว่าเป็นผู้ถือส่วนแบ่งตลาดคอนเทนต์ที่สูงที่สุดในโลก Disney เป็นเจ้าของตั้งแต่คอนเทนต์ในเครือ Disney , Marvel , Star Wars , Pixar รวมไปถึง Fox ที่ Disney เพิ่งทำการซื้อกิจการมา และยังมี Hulu ช่อง Streaming TV ที่ Disney เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขีดเส้นใต้ว่าไม่ได้มีแค่ Disney + Hulu เจ้าเก่าก็ถือว่ามีส่วนแบ่งตลาดอยู่พอสมควร Amazon Prime ที่ก็ขยับเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมาได้เรื่อยๆ ล่าสุด Apple ก็เพิ่งเปิดตัว Apple TV + ที่ราคา 4.99 เหรียญต่อเดือน (แบบครอบครัว) ที่ถือว่าค่อนข้างถูก แถมยังเปิดให้ดูฟรี 1 ปี สำหรับลูกค้าฮาร์ดแวร์ใหม่ของ Apple อีกด้วย ยักษ์ใหญ่กำลังเข้ามาแย่งตลาด Streaming TV ที่กำลังเติบโตไม่หยุด ถึงแม้ว่า Netflix จะปรับตัวโดยการทำ Original Series มาตั้งแต่ระยะต้นๆ ของการทำธุรกิจแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขยับตัวเข้ามาเล่นด้วยในตลาดของยักษ์ใหญ่อย่าง Disney , Apple และ Amazon จะทำให้ตลาดนี้ดุเดือดยิ่งกว่าเดิม ถึงแม้ว่าผู้บริโภคคนหนึ่งจะสามารถใช้ช่อง Streaming TV ได้หลายช่อง แต่การมีผู้เล่นมากรายก็ทำให้อัตราการต่อรองต่ำลง รวมไปถึงความสามารถในการตั้งราคาย่ำแย่ลงอีกด้วย หมดเวลาที่ตลาด Streaming TV จะเป็นน่านน้ำสีคราม (เครดิตข้อมูลบทความจากเพจลงทุนศาสตร์ investerest.co)



2019 ศึกช่องสตรีมมิ่งภาพยนตร์: เมื่อโลกนี้ไม่ได้มีแค่ Netflix เพียงอย่างเดียว
• ตอนนี้ Netflix มีสมาชิกแล้วกว่า 150 ล้านรายทั่วโลก โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 9.6 ล้านรายทั่วโลก และคาดว่าจะได้อีก 5 ล้านรายในไตรมาสที่สอง ผลกำไรในไตรมาสแรกของปี 2019 คิดเป็น 344 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่ารายได้ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่มี 290 ล้านเหรียญสหรัฐ
• Disney เตรียมเปิดให้บริการดิสนีย์พลัส (Disney+) ปลายปีนี้ มีทั้งการ์ตูนแอนิเมชั่นจากดิสนีย์และพิกซาร์ ภาพยนตร์จากมาร์เวลและสตาร์วอร์ส แถมยังประกาศแล้วว่าจะทำหนังแยกให้กับตัวละครของมาร์เวลอีกอย่างน้อย 3 เรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือโลกิ (Loki) รวมไปถึงซีรีส์สตาร์วอร์สที่ประกาศจะสร้างใหม่อย่างแในดาลอเรียน (Mandalorian)
• Apple จับมือกับผู้กำกับระดับโลกอย่างสตีเวน สปีลเบิร์ก สร้างหนังและคอนเทนต์ใน Apple TV และยังจับมือกับโอปราห์ วินฟรีย์ทำรายการ ในขณะที่ Amazon Premium เพิ่งจะลงทุนไปด้วยจำนวนเงินสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างซีรีส์ Lord of the Rings
Game of Thrones จบไปแล้ว HBO มีอะไรให้ดูต่อ อ้อ…Big Little Lies ส่วน FX มี Pose ซีซั่นสอง ส่วนใครชอบงานสไตล์สารคดี ก็เพิ่งจะมี Chernobyl ให้ดูกันไป ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแฟน Game of Thrones จะยังภักดีต่อ HBO ไปอีกนานแค่ไหน ในเมื่อตอนนี้ HBO ยังไม่มีข่าวการสร้างงานมหากาพย์ในแบบ Game of Thrones ออกมาอีกเลย แล้วคนดู Big Litttle Lies เอง ก็น่าจะคนละกลุ่มกัน
หันมาดูที่ Netflix บ้าง แม้ช่วงนี้จะแผ่วๆ ซีรีส์แนวปัญหาวัยรุ่นซึ่งเป็นจุดเด่นและทาร์เก็ตหลักหนึ่งของเน็ตฟลิกซ์ แต่ก็มีหนัง Murder Mystery ที่กลายเป็นหนังที่มียอดเปิดตัวสูงสุดของเน็ตฟลิกซ์ไปแล้ว ซึ่งหลายคนก็ยังคงสงสัยว่าเป็นเพราะอะไร เจนนิเฟอร์ อนิสตัน หรือ?
จาก HBO สู่ Netflix ผู้พลิกโฉมตลาดภาพยนตร์ใหม่ทั้งหมด
เรารู้จักเอชบีโอมาเนิ่นนานผ่านเคเบิลทีวีซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1972 ก่อนที่จะกลายมาเป็นช่องสตรีมมิ่ง HBO Now ในขณะที่เน็ตฟลิกซ์เพิ่งจะมาเริ่มในปี 1997 ตามรายงานล่าสุด เอชบีโอมียอดสมัครใช้บริการกว่า 142 ล้านทั่วโลก ซึ่งต้องขอบคุณซีรีส์เกมออฟโธรนที่สามารถเพิ่มยอดให้อย่างต่อเนื่องสูงสุดในซีซั่น 7 และในซีซั่นสุดท้ายนี้ที่มียอดผู้ชมสดในวันพรีเมียร์สูงถึง 11.8 ล้าน และ 17.4 ล้านแบบข้ามแพลตฟอร์ม และในช่วงซีซั่นสุดท้ายของเกมออฟโธรน ก็ได้ยอดผู้สมัครสูงขึ้นอีก 8 ล้านรายเลยทีเดียว
แต่เมื่อเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์การเติบโตเอชบีโอก็ยังเติบโตช้ากว่าเน็ตฟลิกซ์ ที่ตอนนี้มียอดสมัครใช้บริการกว่า 150 ล้านรายทั่วโลก โดยในไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มสูงถึง 9.6 ล้านรายทั่วโลกเลยทีเดียว และคาดว่าจะมีสมาชิกเพิ่มอีก 5 ล้านรายในไตรมาสที่สอง ที่จริงเน็ตฟลิกซ์ไม่ได้สู้กับเอชบีโอโดยตรง เพราะคู่แข่งที่แท้จริง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ก็คือ Hulu (ซึ่งถือหุ้นโดยดิสนีย์, NBCUniversal และวอร์เนอร์มีเดีย) แม้ตัวเลขโดยรวมนั้น เน็ตฟลิกซ์จะสูงกว่ามาก โดยในสหรัฐอเมริกา เน็ตฟลิกซ์มีผู้ใช้บริการรวมประมาณกว่า 60 ล้าน ในขณะที่ ฮูลูมีเพียง 28 ล้าน แต่เมื่อเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การเติบโตในไตรมาสแรกของปี 2019 จะพบว่า ฮูลูโตสูงกว่าเน็ตฟลิกซ์ถึงเท่าตัว (เฉพาะในสหรัฐอเมริกา) โดยฮูลูมียอดผู้สมัครใช้บริการสูงถึง 3.8 ล้านรายในสามเดือนแรกของปีนี้ ในขณะที่เน็ตฟลิกซ์ในสหรัฐอเมริกามีสมาชิกเพิ่มเพียง 1.7 ล้านราย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นเพราะราคาที่ฮูลูทำได้ดีกว่าเน็ตฟลิกซ์ก็เป็นได้
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เน็ตฟลิกซ์นิ่งนอนใจ เพราะยักษ์ใหญ่กำลังจะมา

จับตารุ่นเก่าที่มาใหม่อย่างค่าย ‘ดิสนีย์’
หลังจากที่ดิสนีย์ยอมจ่ายเงินสูงถึง 66 พันล้านเพื่อซื้อ 21st Century Fox แน่นอนว่าดิสนีย์ไม่ได้คิดแค่เรื่องของการควบรวมภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการลงมาแข่งขันในตลาดช่องสตรีมมิ่งภาพยนตร์และบันเทิงอีกด้วย แน่นอน…เมื่อใครเห็นตัวเลขรายได้ของเน็ตฟลิกซ์ ก็คงอยากจะลงมาแบ่งเค้กก้อนนี้ด้วยกันทั้งนั้น
ดิสนีย์เตรียมเปิดให้บริการ ‘ดิสนีย์พลัส’ ปลายปีนี้ ความตื่นเต้นและน่ากลัวของดิสนีย์พลัสก็คือคลังภาพยนตร์มหาศาล โดยเฉพาะการ์ตูนแอนิเมชั่นที่ดิสนีย์เพิ่งจะเรียกคืนทั้งหมดกว่า 100 เรื่องจากเน็ตฟลิกซ์ไป ไม่เพียงแค่นั้น ยังประกาศเสริมจุดขายของช่องด้วยภาพยนตร์จากมาร์เวลและสตาร์วอร์สอีกด้วย งานนี้ไม่ใช่แค่การนำเอาหนังเก่าๆ กลับมาฉายเท่านั้น แต่ดิสนีย์ประกาศแล้วว่า จะทำหนังแยกให้กับตัวละครของมาร์เวลอีกอย่างน้อยสามเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือโลกิ (Loki) รวมไปถึงซีรีส์สตาร์วอร์สที่ประกาศจะสร้างใหม่อย่างแมนดาลอเรียน (Mandalorian) ที่ทำให้หลายคนใจจดใจจ่อรอดู
แน่นอนว่างานนี้ดิสนีย์ไม่ได้มาเล่นๆ พร้อมจะกวาดฐานแฟนคลับของหนังดิสนีย์ มาร์เวล และสตาร์วอร์สไปทั้งหมด ขณะที่เน็ตฟลิกซ์ได้ฐานแฟนคลับเป็นวัยทีน ดิสนีย์เริ่มต้นด้วยวัยเด็กและวัยก่อนวัยรุ่นสำหรับหนังการ์ตูนแอนิเมชั่นของดิสนีย์และฟิกซาร์ และเตรียมแย่งฐานแฟนคลับจากทุกเจ้าด้วยหนังแอคชั่นไซไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมหนังในตอนนี้อย่างมาร์เวล
ไม่เพียงแค่นั้น ยังเสริมทัพด้วยช่องเนชั่นแนลจีโอกราฟิก และยังมีรายชื่อผู้กำกับฯ ที่พร้อมร่วมงานกับดิสนีย์ในมืออีกเพียบ ที่สำคัญก็คือ ราคาเปิดตัวที่ถูกกว่าเอชบีโอและเน็ตฟลิกซ์กว่าครึ่ง ที่ราคาเพียงแค่ 6.99 เหรียญต่อเดือน!
อย่าลืมผู้เล่นรุ่นเก๋าอย่าง Amazon และ Apple ที่ก็เริ่มขยับตัวกันมาซักพักแล้ว (เครดิตข้อมูลบทความจากเพจ themomentum.co)
เฟซบุ๊กเปิดตัว Facebook Watch ทั่วโลก ดันแพลตฟอร์มวิดีโอทัดเทียมคู่แข่ง ยูทูบ-เน็ตฟลิกซ์
Google tv ก็ทำ Google box โดยความร่วมมือกับโซนี่ โดยเชื่อมเทคโนโลยีทีวีให้เข้ากับเว็บไซต์ You tube ของตน ให้กลายเป็น ช่องทางในการดูวีดีโอไลฟ์สตรีมมิ่ง ที่เป็นของตนเองเช่นกัน
Tencent เอาด้วย! ส่ง “WeTV” ลุย Video Streaming ไทย ชูจุดขาย “ซีรีส์จีน” หวังแทรกระหว่าง Netflix และ Line TV Tencent ตั้งเป้า WeTV ขึ้น Top 3 วิดีโอสตรีมมิ่งฮิตสุดปีนี้

ช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมาแวดวง Video Streaming ของเมืองไทยได้มี “น้องใหม่” เปิดตัวไปอย่างเงียบๆ ไปแล้ว โดยไม่ได้ส่งเสียงเอิกเกริกมากนัก นั่นคือ “WeTV” ของค่าย Tencen ยักษ์ออนไลน์จากจีน ซึ่งมีหลายๆ บริการเป็นที่รู้จักของคนไทยอย่างดีทั้ง WeChat, JOOX และเกม ROV เป็นต้น “กฤตธี มโนลีหกุล” กรรมการผู้จัดการบริษัทเทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสอบถามถึงที่มาที่ไปของ “WeTV” โดยเขาเล่าให้ฟังว่า มองตลาด Video Streaming ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากเพราะในวันนี้ยังมีผู้เล่นหลักแค่ 2 รายคือ Netflix และ Line TV แต่ทั้งสองรายยังมีช่องว่างอยู่เพราะ “Netflix” คอนเทนต์หลักจะเป็นซีรีส์และภาพยนตร์จากฝั่งตะวันตก แม้ก่อนหน้านี้จะเริ่มจับมือกับผู้ผลิตไทย ในการนำคอนเทนต์ไทยเข้าไปรีรัน รวมไปถึงการสร้าง Original Content แล้วบ้างก็ตาม ด้าน “Line TV” ส่วนใหญ่เป็นคอนเทนต์จากเมืองไทย ผ่านมาจับมือกับคอนเทนต์โพรวายเดอร์และช่องทีวีดิจิทัลต่างๆ ในการนำทั้งละครรายการวาไรตี้เข้าไปเป็นเอ็กซ์คลูซีฟรีรัน และการปั้น Original Local Content WeTV จึงเข้าไปแทรกตัวด้วยการนำคอนเทนต์ทั้งละครซีรีส์และรายการวาไรตี้ของจีน ซึ่งทั้งคู่ยังไม่ได้มีมากนักโดยเฉพาะ “ละครจีน” ที่หากย้อนกลับไปเมื่อ 20-30 ปีเรียกได้ว่าตีคู่เป็นที่รู้จักของคนไทยมาพร้อมกับละครไทย แม้ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาจะแผ่วลงไปมากเพราะมี “ซีรีส์เกาหลี” เข้ามาตีตลาดไปบ้างก็ตาม สำหรับ WeTV ถูกพัฒนามาจากแพลตฟอร์ม “Tencent Video” ในจีนถือเป็น Video Streaming เบอร์ 1 และปี 2018 ยังเป็นแอปพลิเคชั่นอันดับ 2 ที่ทำรายได้สูงสุดใน App Store ทั่วโลก โดยการเข้ามาในเมืองไทยได้วางตัวเองเป็น “แมส” ไม่ได้มุ่งไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เบื้องต้นคอนเทนต์จะเป็นจะมีแค่ซับไทย ส่วนพากย์ไทยยังไม่มี เช่น รายการ Produce101, ซีรีส์ห้วงเวลาแห่งรักและสยบฟ้าพิชิตปฐพี เป็นต้น จำนวนคอนเทนต์ทั้งหมดระบุไม่ได้เพราะเพิ่มทุกวัน โดยช่วงแรกจะเปิดให้ดูฟรีไปก่อนหลังจากนั้นดูฟรีก็ยังคงมีอยู่ แต่จะจำกัดจำนวนตอน ถ้าต้องการดูมากกว่านั้นต้องเสียค่าบริการ ซึ่งจะกำหนดราคาแล้วแจ้งให้ทราบภายหลัง


อันดับ 1 กระแสวิ่ง(พี่ตูน),ปั่นจักรยาน(ร.10),ฟุตบอล (เจชนาธิป),กอล์ฟ (โปรเม) เป็นตัวกระตุ้นให้คนไทย หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น และเงินสะพัดในธุรกิจเกี่ยวข้องกับกีฬา มูลค่านับแสนล้านบาท 
พี่ตูนจุดกระแส คนแห่วิ่งตาม ออกกำลังกายมากขึ้น ก่อให้เกิดอีเว้นต์วิ่ง-มาราธอน เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ปีละ 100 กว่างาน (เฉพาะงานใหญ่ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 งานต่อปี) นับไปถึงปีหน้า
ย้อนกลับไปเมื่อสัก 5 ปี เทรนด์ออกกำลังกายที่ป๊อปปูล่าสุดๆ นั้นคือการปั่นจักรยาน โดยมี Big Project ที่จุดกระแสนั้นคือกิจกรรม ปั่นเพื่อพ่อ Bike For Dad และ bike for MOM ปั่นเพื่อแม่ จากนั้นกระแสปั่นจักรยานก็ถูกสานต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชน จนหันไปทางไหน ก็จะเห็นคนปั้นจักรยาน ผลที่ตามมาคือเกิดร้านขายจักรยานทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เพราะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรดี ยอดขายในช่วง 1 – 2 ปีเติบโตจนเจ้าของร้านยิ้มแก้มปริ ทุกวันนี้กระแสคนปั่นจักรยานมีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ทุกจังหวัด จนเกิดเป็นชมรมปั่นจักรยานแทบทุกจังหวัด แม้จะซาๆ ลงไปบ้างจากเมื่อซัก 2-3 ปีก่อน แต่ก็ยังถือว่ากระแสนี้ยังคงมีอยู่
ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับกีฬาอู้ฟู่สะพัดแสนล้าน ทั้งสถานฟิตเนส-สนามเช่าแข่งขันกีฬา (โดยเฉพาะสนามบอล,สนามแบด) สะพรั่งรับดีมานด์ทะลัก ยังไม่นับร้านขายเสื้อผ้ากีฬา (ช็อปกีฬาขนาดใหญ่) เปิดใหม่ ในศูนย์การค้าสำคัญ มีแทบทุกที่อย่างน้อยในปีนี้ก็ 3 แห่งอาทิ

ร้าน Adidas Outlet ช็อปอะดิดาสใหญ่สุดของประเทศ ที่เซ็นทรัลวิลเลจ
ร้าน Sport World ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
ร้าน JD Sport Thailand ที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม


ผลิตภัณฑ์รองเท้า ไนกี้ ออกรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น มาหลายรุ่น ทั้งปี และเหตุการณ์นึงที่เป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ ก็คือลูกค้าชกต่อยกันขณะเข้าคิวซื้อที่ช็อปไนกี้แห่งหนึ่ง ขณะร้านยังไม่เปิด เนื่องจากต้องการแย่งกันให้ได้คิวก่อน จนเกิดปากเสียงทะเลาะกัน และกลายเป็นเรื่องทะเลาะวิวาท จนเป็นข่าวดังตามคลิปที่แนบมาในบทความนี้


ธุรกิจกีฬาอู้ฟู่สะพัดแสนล้าน ฟิตเนส-สนามเช่าสะพรั่งรับดีมานด์ทะลัก กระแสสุขภาพดันธุรกิจกีฬาโตต่อเนื่อง เงินสะพัดกว่า 1 แสนล้าน สินค้าอุปกรณ์กีฬายอดขายละลิ่ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยหน้าใหม่แห่จดทะเบียนกว่า 200 บริษัท ฟิตเนส โยคะ ยิมมวยไทย สนามฟุตบอล สนามฟุตซอล ให้เช่า ผุดเป็นดอกเห็ด ทั้งในกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด เสื้อผ้า-อุปกรณ์กีฬา อู้ฟู่ ยอดขายพุ่ง-ออร์เดอร์ ทะลัก
อาจจะกล่าวได้ว่า “ธุรกิจกีฬา” เป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่ยังสามารถเติบได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ไม่เอื้ออำนวยนัก โดยมีปัจจัยหนุนจากกระแสความใส่ใจดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงกระแสความนิยมของการแข่งขันกีฬาหลาย ๆ อย่าง ทั้งฟุตบอลไทยลีก วอลเลย์บอล แบตมินตัน กอล์ฟ ฯลฯ และการมีนักกีฬาไทยที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นแรงบันดาลใจ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเติบโตตามไปด้วย



ธุรกิจกีฬาเงินสะพัดแสนล้าน
ดร.สมทบ ฐิตะฐาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการกีฬา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนายกสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการเก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าปัจจุบันธุรกิจกีฬาซึ่งมีผู้ประกอบการเกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ ช่องทางการจำหน่าย ผู้ประกอบการที่เป็นเซอร์วิส เช่น ออร์แกไนเซอร์ รับจัดการแข่งขัน รวมถึงผู้ให้บริการด้านสถานที่ เช่น สนามกอล์ฟ สนามไดรฟ์กอล์ฟ ฯลฯ ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีธุรกิจใหม่ ๆ ทยอยเกิดตามมาอีกมาก เช่น ฟิตเนส ธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์กีฬา เช่น ทำหน้าที่เก็บข้อมูล สถิติกีฬาต่าง ๆ
ปัจจุบันธุรกิจกีฬามีมูลค่าตลาดรวมไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท แต่ละปีจะเติบโตอย่างน้อย ๆ 4-5% ในจำนวนนี้ ยังไม่นับรวมถึงธุรกิจอาหาร อาหารเสริม สำหรับคนออกกำลังกาย คนดูแลสุขภาพ ที่มีไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท และยังไม่รวมถึงสินค้าแก็ดเจต นาฬิกา บันทึก-วัด การเต้นของหัวใจ วัดความดัน ที่กำลังเติบโตตามมา “ปัจจัยสนับสนุน นอกจากกระแสของกีฬาที่บูมมาก ทั้งฟุตบอล วอลเวย์บอล การวิ่ง รวมถึงกีฬาอื่น ๆ แล้ว ปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้น เมื่อคนมีทัศนคติที่ดีกับเรื่องกีฬาก็จะไปหาอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ตัวเองชอบมาออกกำลังกาย บางคนชอบขี่จักรยานก็ซื้อจักรยานคันละ 7-8 หมื่นบาท บางคนชอบวิ่งก็ซื้อรองเท้าวิ่งคู่ละ 7,000-8,000 บาท และไม่ได้มีเพียงคู่เดียว เป็นต้น ซึ่งทำให้ธุรกิจโตตามมา” รายงานข่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน) มีผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งบริษัทเกี่ยวกับกีฬาและสินค้ากีฬามากกว่า 200 บริษัท ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นสถานให้บริการ อาทิ ฟิตเนส โยคะ ยิม มวยไทย รวมถึงเปิดสนามฟุตบอล สนามฟุตซอล ให้เช่า รวมทั้งผู้นำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์ออกกำลังกาย เสื้อผ้าชุดกีฬา เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในธุรกิจต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 1-1.5 หมื่นล้านบาทต่อฤดูกาลแข่งขัน กระจายเข้าสู่ธุรกิจทุกภาคส่วนของแต่ละจังหวัดที่ทำการแข่งขัน ตั้งแต่ธุรกิจค้าขายรายย่อยรอบสนาม, ธุรกิจโอท็อป, ธุรกิจโรงแรมที่พัก, ธุรกิจขนส่งมวลชน และธุรกิจท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากกลุ่มแฟนคลับของแต่ละสโมสรที่ต้องออกไปเยือนทีมต่าง ๆ รวมทั้งธุรกิจเสื้อผ้ากีฬา

เสื้อผ้า-อุปกรณ์กีฬาเฟื่อง นายสุนทร สุรีย์เหลืองขจร ผู้จัดการทั่วไปบริหารสินค้า สปอร์ตมอลล์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัจจุบันตลาดสินค้าเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬายังมีการเติบโตที่ดี ซึ่งตลาดนี้มีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท เติบโต 15-20% ทุกปี จากกระแสสุขภาพและความนิยมในการออกกำลังกายที่มีมากขึ้น รวมถึงสปอร์ตแฟชั่นหรือความนิยมแต่งตัวด้วยชุดกีฬาของกลุ่มเจนวาย และวัยเริ่มทำงาน ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ยอดขายของสปอร์ตมอลล์เติบโตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป โดยสาขาในกรุงเทพฯ ลูกค้ามียอดใช้จ่าย 2,500-3,000 บาท/ใบเสร็จ และต่างจังหวัด 2,000-2,500 บาท/ใบเสร็จ และลูกค้าจะมีการซื้อสินค้าทดแทนทุก ๆ 3 เดือน นอกจากสินค้าที่เกี่ยวกับฟุตบอล วิ่ง และฟิตเนส ที่เติบโตสูง ขณะนี้ สินค้าที่เกี่ยวกับกอล์ฟ เสื้อผ้า รองเท้าและแอ็กเซสซอรี่ ก็เริ่มกลับมาฟื้นกลับอีกครั้ง จากเดิมช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เติบโตไม่ถึง 5%
ขณะที่ นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า นอกจากตลาดเสื้อผ้าหรือชุดกีฬาในประเทศที่เติบโตแล้ว ที่ผ่านมา โรงงานผลิตเสื้อผ้าหลายแห่งยังมีออร์เดอร์ จากเจ้าของสิขสิทธิ์ชุดกีฬาของสโมสรกีฬาในยุโรปและสหรัฐที่มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นชุดฟุตบอลของสโมสรยุโรป คาดว่าปีนี้จะมีออร์เดอร์เข้าไทยไม่ต่ำกว่า 100 ล้านตัว หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท ปัจจุบันการส่งออกชุดกีฬาคิดเป็น 50% ของมูลค่าส่งออกเสื้อผ้าภาพรวมที่มีจำนวน 90,000 ล้านบาท
ฟิตเนส-โยคะ แรงไม่หยุด
เปิดตัวแบรนด์ใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีรูปแบบบริการหลากหลายทั้งอินดอร์ เอาต์ดอร์ รวมถึงฟิตเนสที่เน้นให้บริการเฉพาะบางกิจกรรม เช่น โยคะ มวยไทย เช่นเดียวกับบริษัทที่เดินหน้าขยายสาขา เพิ่มคลาสและเทรนเนอร์ต่อเนื่องเพื่อรองรับดีมานด์ ขณะที่ นางสาวเบญจพร การุณกรสกุล กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง แอ๊บโซลูท ยู กล่าวว่า นอกจากตลาดฟิตเนสมูลค่า 9,000-10,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตต่อเนื่องประมาณ 10% ต่อปีแล้ว ปัจจุบันกลุ่มบูทีคสตูดิโอที่เน้นการออกกำลังเฉพาะแบบ เช่น โยคะ พิลาทีส ปั่นจักรยาน หรือชกมวย ก็เริ่มได้รับความนิยมและมีการเติบโตมากขึ้น แอ๊บโซลูท ยู จึงมีแผนขยายฐานไปยังกลุ่มวัยรุ่นอายุ 16 ปีขึ้นไป และขยายสาขาเพิ่มอีก 5 แห่งภายในสิ้นปี (เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ prachachat.net)





บทวิเคราะห์และเรียบเรียงโดย เพจหยิกแกมหยอก

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019 (อันดับที่ 4,3)


อันดับ 4 ธุรกิจขนส่งพัสดุ และ Food Delivery เติบโตไม่หยุด มีผู้เล่นจากต่างแดน เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งในไทย ที่มีมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาทขึ้นไป ทั้ง 2 ตลาด 


การเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ จากข้อมูลของ ETDA ปี 2561 มูลค่าอยู่ที่ 3.05 ล้านล้านบาท เติบโต 9-10% คาดการณ์ถึงปี 2565 อีคอมเมิร์ซไทยยังร้อนแรง น่าจะเติบโตเฉลี่ย 22% ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด “ผู้เล่น” หน้าใหม่ในธุรกิจขนส่งพัสดุทั้งไทยและต่างชาติ ดาหน้าเข้ามาขยายธุรกิจ หวังชิงเม็ดเงินกว่า 28,000 ล้านบาท
ปัจจุบัน “ผู้นำ” ในตลาดขนส่งพัสดุ ฝั่งภาครัฐเบอร์หนึ่ง คือ ไปรษณีย์ไทย และส่วนเบอร์ 2 ของตลาดในฟากเอกชน คือ Kerry Express โดยเบอร์ 1 และ 2 ครองส่วนแบ่งตลาดร่วมกันกว่า 80% แต่ทุกแบรนด์ก็มีโอกาสเข้ามาแย่งเค้กก้อนนี้ได้เช่นกัน ในวันที่อีคอมเมิร์ซยังโตไม่หยุด บริการขนส่งพัสดุ-โลจิสติกส์แข่งเดือด “ปณท-เคอรี่” สองผู้เล่นหลักในตลาดงัดกลยุทธ์ชิงความได้เปรียบ “ปณท” โชว์จุดแข็งเจ้าตลาดดั้งเดิมครองพื้นที่บริการลงลึกระดับตำบลหมู่บ้านชูความเก๋า "ไม่มีใครที่รู้จักทุกตารางนิ้วของประเทศไทยได้มากกว่าปณท" เดินกลยุทธ์ The First ยืนหนึ่งบริการตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล ตั้งเป้าปี 62 รายได้พุ่ง 3 หมื่นล้าน ด้าน ”เคอรี่" โชว์ภาพลักษณ์ทันสมัย เจาะคนยุคใหม่เผยเป็นบริษัทแรกให้บริการส่งพัสดุด่วน ดึงระบบอีเพย์เม้นท์ให้บริการ ปี 61 กวาดรายได้ 1.3 หมื่นล้านบาทโต 100% จากปี 60

ภาพรวมการแข่งขันในตลาดขนส่ง-บริการโลจิสติกส์ในไทยช่วงปีที่ผ่านมาชื่อของ ไปรษณีย์ไทย และเคอรี่ ไต่อันดับความนิยม กลายเป็น 2 แบรนด์หลักที่ผู้บริโภคไทยใช้บริการมากที่สุด ดันให้ตลาดนี้เติบโตมากกว่า 100% โดยเฉพาะปัจจัยขับเคลื่อนจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซื้อขายออนไลน์ที่มาแรง ส่งผลให้บริการขนส่ง โลจิสติกส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอีคอมเมิร์ซอีโคซิสเต็มส์เติบโตอย่างมหาศาลกว่า 30,000 ล้านบาท และเกิดผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในสมรภูมิการแข่งขันนี้มากขึ้น เพราะในสภาวะตลาดเติบโตหวือหวา คู่แข่งก็เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแบรนด์ต่างชาติ เช่น Kerry Express สัญชาติฮ่องกง, DHL จากเยอรมนี, SCG Express ที่ร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น รวมไปถึงกลุ่มบริการส่งด่วนภายในหนึ่งวันอย่าง Line Man, LaLa Move,J&T express จากอินโด และอีกหลายๆ บริษัท ซึ่งก็คือกลุ่มบริษัทต่างชาติทั้งนั้น เมื่อคู่แข่งในอดีตจาก 2-3 ราย มาวันนี้น่าจะมีมากกว่า 10 รายย่อมและ 2 รายใหม่จากจีน ที่เปิดตัวในปีนี้ไปแล้ว คือ

Best Express แนวคิดแฟรนไชส์ 100%
ปัจจุบันกลุ่มบริษัท เบสท์ ขยายธุรกิจอยู่ใน 16 ประเทศทั่วโลก อาทิ จีน, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, เกาหลีและไทย เป็นต้น โดยบริษัทแม่นั้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก โดยมีกลุ่มบริษัท อาลีบาบา ถือหุ้นอยู่ 22% ส่วนในประเทศไทยนั้นการจะทำธุรกิจส่งพัสดุ มีกฎหมายบังคับว่าหากบริษัทต่างชาติจะเข้ามาทำธุรกิจนั้นจะต้องมีบริษัทในไทยร่วมทุนด้วย
ทำให้การเข้ามาทำธุรกิจในไทยนั้นกลุ่มบริษัท เบสท์ เลือกที่จะร่วมทุนกับบริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ที่ถือหุ้นประมาณ 60%

Flash Express สตาร์ทอัพที่ได้ทุนจาก “อาลีบาบา”
ขณะที่ Flash Express ที่เปิดบริการในช่วงกลางปี 2018 ที่เริ่มต้นบริการส่งพัสดุ 30 จังหวัด โดยเป็นบริษัท สตาร์ทอัพ ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวน 2,500 ล้านบาท จากบริษัท อาลีบาบาฯ อีกทั้ง Flash Express ยังมีการนำทีมงานพัฒนาระบบขนส่งหลังบ้านที่มีประสบการณ์การทำงานกับอาลีบาบามาช่วยพัฒนาถึง 90 คน รูปแบบธุรกิจของ Flash Express นั้นแตกต่างจาก Best Express เพราะเลือกจะหมางเมินระบบแฟรนไชส์ แล้วลงทุนสาขาเองทั้งหมด โดยวิธีที่จะดึงคนให้รู้จักแล้วลองหันมาใช้บริการ Flash Express ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่อง “เกมราคา” ล่าสุดในช่วงปลายปีได้ประกาศแคมเปญค่าบริการเริ่มต้นที่ 19 บาทซึ่งถูกสุดในเวลานี้
ตลาดโลจิสติกส์เดือด FLASH EXPRESS X นิ่มซี่เส็ง ลุยบริการอีคอมเมิร์ซครบวงจร

"ปณท-เคอรี่" งัดกลยุทธ์ ชิงผู้นำโลจิสติกส์ยุคดิจิทัล
สมรภูมิเดือด จัดส่ง "พัสดุด่วน" ทันทีที่ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมงดีเดย์เปิดให้บริการขนส่งพัสดุด่วนภายใต้ชื่อ “สปีด-ดี (Speed-D)” โดยร่วมมือกับบริษัทไดนามิค ลอจิสติกส์ จำกัด นำร่องให้บริการในสาขา ของ 7-11 กว่า 3,700 สาขาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ในขณะที่
สมรภูมิขนส่งพัสดุด่วนระอุขึ้นอีกเมื่อ ‘J&T Express’ น้องใหม่สัญชาติอินโด เปิดตัว ทุ่ม 2,500 ล้าน ตั้งเป้าขยาย 1,000 สาขาทั่วไทยในสิ้นปี
App Startup ของคนไทย ธุรกิจขนส่งพัสดุระอุ! Ship Smile รวมทุกแบรนด์ปั้นศูนย์บริการ ปูพรม 2,000 สาขา เขย่าบัลลังก์ “เคอรี่” อยู่ในเวลานี้
เครดิตข้อมูลและภาพจาก Positioningmag.com,กรุงเทพธุรกิจ,Marketeeronline.co



การแข่งขันของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery เติบโตต่อเนื่อง คาดมีมูลค่าสูงถึง 33,000–35,000 ล้านบาท ในปี 2562 การเติบโตอย่างรวดเร็วและความนิยมของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารได้ดึงดูดผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ธุรกิจร้านอาหารให้เข้ามาขยายตลาด ก่อให้เกิดโอกาสและความท้าทายที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับแผนธุรกิจ นอกจากนี้ ยังอาจกระตุ้นให้เกิดการควบรวมกิจการของผู้ประกอบการภายในห่วงโซ่ธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ไม่เพียงแต่ช่วยเร่งการขยายตัวของธุรกิจ Food Delivery แต่แอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร (Food Delivery Application) ยังช่วยกระจายรายได้ให้กับผู้เล่นในห่วงโซ่ธุรกิจ อาทิ ร้านอาหาร กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร โดยคาดว่ารายได้ที่กระจายไปยังผู้เล่นภายในประเทศมีสัดส่วนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังแหล่งที่พัก (Food Delivery) พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปมีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจ Food Delivery มีบทบาทมากขึ้นในธุรกิจร้านอาหาร ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังแหล่งที่พัก (Food Delivery) ในปี 2562 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 33,000–35,000 ล้านบาท หรือเติบโตประมาณร้อยละ 14 จากปี 2561

LINE MAN
จากยอดผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านรายต่อเดือน และมียอดการสั่งซื้อเติบโตกว่า 489% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทำให้ LINE MAN เป็นแอพพลิเคชั่น สั่งอาหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงนี้ จะบอกว่าเป็นเจ้าตลาดเลยก็ว่าได้ ซึ่งยอดผู้สั่งที่เพิ่มขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งถูกปรับเปลี่ยนมาจากยอดผู้ใช้งานจากฟีเจอร์อื่นๆ เช่น บริการเมสเซนเจอร์, บริการเรียกแท็กซี่ ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทุกความเร่งรีบและกิจกรรมเร่งด่วน ด้วยสถานการณ์รถติดที่เกิดขึ้นในกรุงเทพได้กลายเป็นข้อดี ที่มีบริการรับส่งมาตอบโจทย์ และไม่น่าแปลกใจหากใครอยากจะสั่งอาหารกับร้านโปรด กดเลือกที่จะกดใช้บริการ

Grab Food
คือบริการส่งอาหารแบบ Delivery ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน ยังไม่ได้แพร่หลายมากนัก เพราะคนส่วนใหญ่เรียก Grab สำหรับการเดินทาง ทำให้ช่วงแรก Grab ใช้วิธีคิดค่าส่งฟรี ซึ่งร้านค้าที่ค้นหาเจอจะอยู่ใกล้กับพื้นที่ที่คุณอยู่ ซึ่งต่างจาก LINE Man ที่สั่งได้ทุกร้านที่อยากจะกิน ถึงแม้จะเสียเปรียบไปบ้าง แต่คำว่า “ส่งฟรี” ก็ทำให้ได้ลูกค้ารายใหม่ไปไม่ใช่น้อย ซึ่งปัจจุบันมียอดเติบโตถึง 440% และเมื่อมีลูกค้าติดใช้บริการแล้วจึงเพิ่มค่าส่งเป็นเสีย 10 บาทต่อครั้ง
แต่ก็มีโปรส่งฟรีและลดราคามาอีกเรื่อยๆ


Skootar หลายคนคงรู้จักกันดีกับแอพที่ให้บริการขนส่งเอกสารต่างๆ และเมื่อมีผู้ใช้ติดเป็นจำนวนมากจึงแตกไลน์ไปเป็นการขนส่งอื่นๆ เพิ่ม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือส่งอาหาร แต่ถึงแม้จะเป็นตัวใหม่ที่เข้ามาเล่น แต่ยังไม่ได้รับกระแสเท่าที่ควร เนื่องจากพาร์ทเนอร์ร้านค้าที่อยู่ในมือยังไม่พอสำหรับมาแย่งส่วนแบ่งของผู้เล่นเดิมรายใหญ่ได้



Foodpanda
แพลตฟอร์มที่อยู่คู่มากับการขนส่งอาหาร Delivey มาอย่างยาวนาน เรียกว่าฐานแน่น ลูกค้าใช้บริการอย่างสม่ำเสมอทำให้มีคำสั่ง ซื้อราว 2 ล้านคำสั่งต่อเดือน แต่ถึงจะอยู่มานาน แต่การเพิ่มฐานลูกค้ายังไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากโปรล่อใจลูกค้าใหม่ยังไม่เตะตาเท่าไหร่ ผู้บริการที่ใช้อยู่จึงเป็นผู้ใช้บริการประจำนั่นเอง
GET Food บริการที่เกิดจากการต่อยอดของแอปพลิเคชัน GET ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งที่สูสีที่กล้าต่อกรกับผู้ให้บริการที่มีอยู่แล้วอย่าง Grab food และ LINE MAN แต่ GET จะมีจุดเด่นอะไรบ้างในการสร้างฐานลูกค้า? ยังต้องรอการพิสูจน์
เครดิตข้อมูลและภาพจาก Marketeeronline.co,Techsasuce.co,thumbsup.in.th

อันดับ 3 ผลผลิตจาก T-POP ส่งออกขายทั่วเอเชีย  กระแส T-POP หรือที่เมืองนอกเรียกว่า “Thai Wind”

•ละครไทยในอาเซียน
ในแวดวงคนทำละคร เป็นที่รู้กันว่าประเทศเพื่อนบ้านนิยมชมชอบละครไทยมาก ถึงกับเอาไปแปลเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี มีทั้งละครไทยพากย์เสียงไทยใหญ่ในพม่า พากย์เสียงม้งในลาวแล้วส่งต่อไปให้คนม้งในประเทศอเมริกาด้วย บ้านหลังหนึ่งในรัฐฉานถึงกับปรับปรุงให้เป็นโรงหนังฉายละครไทยแล้วเก็บค่าเข้าชมคนละ 2-3 บาท นอกจากนี้ละครไทยยังถูก Copy เป็น CD จำหน่ายอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีการจัดการ
"ละครไทยกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของเพื่อนบ้าน เหล่านี้คือตลาดแบบเก่า อัดกันเอง ดูกันเอง การไหลออกไปของละครไทยเกิดขึ้นมาอย่างบังเอิญ ไม่มีการวางแผนใดๆ กระแสบริโภคละครไทยต่างกันไปภายใต้บริบทของสังคมแต่ละประเทศ แต่ละวัฒนธรรมและค่านิยมของประเทศนั้นๆ

ในเวียดนามช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา นำเข้าละครไทยมากขึ้น จากเดิมมีแต่ เอ็กแซ็กท์ ช่อง One ในช่วง 4-5 ปีหลังเริ่มมีช่อง 3 ช่อง true4u นำไปฉายช่วงไพร์มไทม์และรีรัน 10 โมงเช้าวันรุ่งขึ้น คนเวียดนามจะดูแต่ดาราที่เขาชอบ เช่น ป้อง ณวัฒน์, บี น้ำทิพย์, พุฒิชัย, ออม สุชาร์
อินโดนีเซีย มีเพียงบริษัทเดียวที่ส่งนักแสดงไปโปรโมทต่างประเทศ คือ GDH ทำให้มีแฟนคลับอินโดฯเยอะมาก ทั้งที่มีละครไทยเพียง 2 เรื่องที่เคยไปฉาย นั่นคือ ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น และเอทีเอ็ม2 คู่เวอร์ เออเร่อ เออรัก ความดังเริ่มต้นจากแฟนคลับเอาไปแปล เมื่อนำเข้าอย่างถูกลิขสิทธิ์ก็ถูกเซ็นเซอร์จนเนื้อเรื่องขาดหาย อินโดฯมีการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดมาก
ในประเทศจีน ยุคทองละครไทยปี 51-54 ได้จบลงแล้ว ช่วงนั้นฉายละครไทย 10 เรื่องต่อ 1 ปี รีรัน 3-4 รอบ มาปี 55 ละครไทยทางทีวีก็หมดยุคลง เพราะจีนมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรม มีการจำกัดโควตาละครไทย และว่าละครไทยมีเนื้อหาซ้ำๆ ไม่มีการพัฒนา อีกทั้งจีนมีการเซ็นเซอร์มากมาย ไม่ว่าเรื่องความเชื่อ ศาสนา ภูตผีวิญญาณ ไสยศาสตร์ เพศที่สาม การเมือง สลับร่าง ข้ามภพข้ามชาติ ระยะหลังละครไทยถูกย้ายเวลาไปฉายตอนเที่ยงคืนจึงไม่มีคนดู มาปี 61 ละครก็เปลี่ยนไปแพร่ภาพทางอินเตอร์เน็ทอย่างเดียว
ส่วนฟิลิปปินส์ เพิ่งเปิดรับละครไทย 2 เรื่อง เกิดจากแฟนคลับเอาไปแปลกันเอง เรื่อง พรหมไม่ได้ลิขิต ยูอาร์มายเดสตินี่ และ เรื่องวุ่นๆ เจ้าหญิงจอมจุ้น มีเรทติ้งสูงกว่าละครเกาหลีที่ฉายในเวลาเดียวกัน" ผศ.ดร.อัมพร จิรัฐติกร ผู้วิจัยศึกษาการบริโภคละครไทยในประเทศพม่า กัมพูชา เวียดนาม กล่าว ในงานระดมสมองหัวข้อ 'แนวทางการส่งเสริมละคร สื่อบันเทิง และนักแสดงไทยไปสู่สากล' พร้อมเผยถึงสถานการณ์ล่าสุดว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล ทำให้มีการร่วมมือกันผลิตและออกอากาศทาง Line TV แพร่ภาพทางอินเตอร์เน็ท ทำให้เกิดตลาดใหม่ๆ ขึ้นมา
•ภาพสะท้อนละครไทย
แม้ว่าหลายประเทศในอาเซียนจะให้ความสนใจกับละครไทย รวมไปถึงมีรายการต่างๆ ถูกนำไปแปลเป็นจำนวนมาก อาทิ เดอะแมสซิงเกอร์, เดอะเฟซ, ละครจักรๆ วงศ์ๆ, ซีรีส์วาย ที่มียอดดูหลักแสน แต่ถ้าพิจารณาถึงรสนิยมการชมละครจะพบว่าแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ชาวเวียดนามชอบละครไทยที่มีไคลแม็กซ์แรงๆ และว่าความรักแบบเกาหลีซอฟท์เกินไป ละครไทยมีตัวอิจฉา มีนางร้าย
"ในจีนจะดูจากอินเตอร์เน็ทเป็นส่วนใหญ่ มีแฟนคลับแปลละครไทยถึง 16 กลุ่ม คนจีนดูละครไทยแล้วเปลี่ยนเป็นเรื่องตลกขบขัน แม้จะไม่มีพัฒนาการ แต่ก็ดูต่อเพราะดาราหน้าตาสวยหล่อ มีคำพูดว่า ดูละครไทยไม่ต้องใช้สมอง ยกตัวอย่างรถชน ทำไมไม่โทรเรียก 191 กลับมานั่งร้องไห้ หรือว่ากระซิบกัน แต่เสียงดังมาก ทำไมคนอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้ยิน (หูหนวกแบบไทย) หรือว่ายืนอยู่ใกล้ๆ แต่ทำเป็นมองไม่เห็น (ตาบอดแบบไทย) การตบกันแบบไทยๆ (ของปลอมแบบไทย)" วนิดา บุญประเสริฐวัฒนา ผู้จัดจำหน่ายอาวุโส บริษัท ฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จำกัด เล่าประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับแฟนละครต่างชาติ และว่า 'สาววายจีน' เป็นตลาดที่ใหญ่มาก แม้ว่าผลจากนโยบายลูกคนเดียวจะทำให้พ่อแม่คาดหวังให้มีลูกสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่ก็มีกลุ่มแฟนซับที่แปลซีรีส์วายได้รับความนิยมมากเป็นอันดับหนึ่ง มียอดวิวถึง 2 ล้าน
"จีนชอบซีรีส์วายของไทยเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับในรั้วโรงเรียน มีความสัมพันธ์แบบรุ่นน้องรุ่นพี่ที่จีนไม่มี ซีรีส์วายของไทยมีจุดเด่นตรงที่เป็นเพียวเลิฟ ตัวละครแสวงหาการยอมรับในตัวเอง ต้องก้าวข้ามสังคมที่กดทับ ตัวละครมีการพัฒนา ตัวละครใช้เวลาอยู่ด้วยกันจนกระทั่งเริ่มเถียงหรือผูกพันกัน" ต่างจากฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกบอกว่าเกย์ผิดจุดประสงค์ของพระเจ้า ในขณะที่อินโดนีเซียมองว่ารักร่วมเพศเป็นบาปมหันต์

ส่วนอีกแนวที่ได้รับความนิยมคือ ละครรีเมค ไม่ตบตี ไม่ชิงรักหักสวาท เป็นแนวที่ดูแล้วเข้าใจว่าลักษณะครอบครัวเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่า จีน ฟิลิปปินส์(คริสต์) อินโดนีเซีย(มุสลิม) ต้องการเรื่องที่เป็นอุดมการณ์ความรักหรือแสวงหาตัวตนมากกว่าแสวงหาความรักอย่างเดียว ทำให้ละครเรื่อง 'วันหนึ่งจะเป็นซุปตาร์' หรือ 'แหวนดอกไม้' มียอดวิวถึง 900 ล้านวิว
สำหรับอุปสรรคของละครไทย วนิดาบอกว่าคือความยาวที่มากกว่าละครเพื่อนบ้าน เมื่อนำไปตัดต่อเป็นตอนละ 45 นาทีจะได้ 37 ตอนในต่างประเทศ

"คอนเทนท์ไทยจะเป็นเรื่องเมโลดรามาเป็นส่วนใหญ่ มีแก่นเรื่อง พัฒนาให้สร้างอารมณ์ สร้างตัวร้ายให้ร้ายมาแต่กำเนิด ตัวเอกสร้างให้ถูกกระทำ อุดมการณ์ความรักร้อยเข้ากับอุดมการณ์เชิงศีลธรรม คนดูรุ่นใหม่ไม่รับอุดมการณ์เหล่านี้แล้ว แต่กลับเป็นที่ชื่นชอบของต่างชาติ เวียดนามบอกว่าดูซีรีส์เกาหลีตอนจบคนร้ายถูกจับเข้าคุกมันไม่สะใจ ถ้าเป็นของไทย You Must Die มันสะใจมาก หรือเขมรบอกว่าไม่ชอบละครเกาหลีเลย ชอบเก็บอารมณ์เอาไว้ในใจเกินไป ไม่เศร้ามาก ไม่ดีใจมาก คนเขมรว่าเข้าไม่ถึง แสดงไม่ชัดเจน ชอบของไทย ชัดเจนดี ส่วนฟิลิปปินส์บอกว่าไทยมีเรื่องกฎแห่งกรรม แต่ของเขาพระเจ้าสอนให้เขาให้อภัย แต่ละประเทศมีเงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ของเกาหลีถ้าเขาจะไปบุกตลาดที่ไหน เขาจะศึกษาตลาดของประเทศนั้นๆ อย่างจริงจัง"

"ละครไทยขายได้ด้วยเรทติ้ง ชาวบ้านมีรสนิยมที่ชอบดูอะไรที่คุ้นชินกันมานาน เมโลดรามาจึงยังอยู่ แต่คนจีนจะดูดาราเป็นอันดับแรก เรื่องราวอะไรก็ได้ ขอให้ได้ดูดาราสวยหล่อเยอะๆ อินโดนีเซียดูละคร GDH พอมีดารา GDH เขาซื้อเลยโดยไม่ดูว่าเป็นเรื่องอะไร เราไม่มีข้อมูลมาร์เก็ตติ้งเซอร์เวย์ที่ชัดเจนจึงไม่รู้ว่าที่ไหนต้องการอะไร คอร์สการถ่ายทำก็สำคัญ ปกติเราถ่ายกันวันละ 30 ฉาก ถ้าถ่ายแบบเกาหลีได้วันละ 10 ฉาก เพราะเกาหลี 1 ซีน ถ่าย 8 มุม นางเอกสวยทุกมุมไม่ใช่ความบังเอิญแต่เป็นเงินที่ใช้ คนไทยทำได้ไม่แพ้เกาหลีแต่ปัจจัยไม่เอื้อ" พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ ผู้กำกับภาพยนตร์และละคร กล่าว พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าหลายประเทศใช้สื่อบันเทิงเป็นซอฟ์พาวเวอร์มานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น เกาหลีที่ใช้ละครโทรทัศน์ ญี่ปุ่นใช้การ์ตูน อเมริกาใช้ภาพยนตร์
เครดิตข้อมูลและภาพจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์,เพจ tvdigitalwatch.com

ต่อยอดละครวาย “GMM” ลุยอีเวนต์ เทียบชั้น ตปท. เจาะตลาดเอเชีย หากย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน นิยายวาย(YAOI) หรือซีรี่ส์วาย ยังถูกจัดอยู่ในประเภทความบันเทิงเฉพาะกลุ่มบุคคลเท่านั้น ไม่ได้แพร่หลายอย่างเช่นตอนนี้ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มคอมมูนิตี้เล็กๆ ที่เราใช้คำจำกัดความสำหรับผู้ชื่นชอบนิยายหรือซีรี่ส์ประเภทนี้ว่า “สาววาย”
แต่ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าตลาดของนิยายหรือซีรี่ส์วายกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้น เหตุผลที่มารองรับความที่นิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นส่วนหนึ่งก็มาจากการพัฒนาต่อยอดของคนทำทีวี ที่สามารถจับตลาดได้ถูกจุด
ซึ่งปกติแล้วหากสาววายสัญชาติไทยต้องการเสพย์ผลงานซีรี่ส์หรือนิยายวายต่างๆ ต้องสรรหาความฟินมาจากแหล่งกำเนิดของ Yaoiจากประเทศญี่ปุ่นหรือจีนเท่านั้น แต่ภายหลังจากที่เราเปิดกว้างมาขึ้น ผู้จัดหลายรายในประเทศไทย ก็เริ่มจะเห็นช่องทางการทำเงินกับตลาดนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ “ซีรี่ส์วาย” เกิดขึ้น
ถ้าพูดถึงซีรี่ส์วายแบบวายแท้เต็มๆเรื่อง ที่เปิดตลาดในบ้านเราเรื่องแรกๆ ก็คงต้องยกให้กับ Love Sick The Series โดยผู้จัด บริษัท จินเล่อ มีเดีย เวิร์ค จำกัด ซึ่งสร้างมาจากนินายวายชื่อดัง จนเมื่อนำมาสร้างเป็นซีรี่ส์จึงกลายเป็นว่าดังพลุแตก 2 นักแสดงนำอย่าง “กัปตัน-ชลธร คงยิ่งยง” และ “ไวท์-ณวัชร์ พุ่มโพธิงาม”กลายเป็นคู่จิ้นชาย-ชาย ที่มาแรงที่สุดในขณะนั้น สามารถส่งออกซีรี่ส์ไปได้ไกลถึงประเทศจีนและเวียดนาม ความสำเร็จจากเรื่องแรก ผู้จัดเจ้าเดิมที่มองเห็นช่องทางก็ส่งซีรี่ส์วายเรื่องต่อๆมา เช่น Make It Right The Series และ สงครามไฮสคูล ซึ่งทุกๆเรื่องก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน แต่ถึงแม้จะประสบความสำเร็จมากมาย แต่กลุ่มคนดูก็ยังถูกจำกัดอยู่แค่ในกลุ่มสาววายเท่านั้น จนเมื่อ GMM TV ที่ถือเป็นผู้ผลิตละคร-ซีรี่ส์วัยรุ่นรายใหญ่ในบ้านเราหันมาจับตลาดวายมากขึ้น จึงทำให้ซีรี่ส์วายกลายเป็นสิ่งที่แมสมากขึ้นสำหรับคนดูทั่วไป ปกติแล้วซีรี่ส์ที่ผลิตโดย GMM TV ซึ่งนำทัพโดยผู้บริหาร ถา-สถาพร พานิชรักษาพงศ์นั้น จะเป็นซีรี่ส์แนววัยรุ่นที่สร้างมาจากนิยาย ซึ่งทุกครั้งจะมีการสอดแทรกคู่พระนาง “ชาย-ชาย” ไว้เป็นกิมมิคหนึ่งของเรื่องอยู่เสมอ ดังเช่นในซีรี่ส์ รุ่นพี่ “Secret Love ตอน Puppy Honey” ที่ทำให้คู่ “ปิ๊กโรม” ซึ่งรับบทโดย “ออฟ-จุมพล อดุลกิตติพร” และ “กัน-อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์” ก้าวขึ้นมาเป็นคู่จิ้นชาย-ชาย หรือจะเป็นคู่ “เอิร์ทนิว” จาก Water Boyy the Series ซึ่งรับบทโดย “เอิร์ธ-พิรพัฒน์ วัฒนเศรษสิริ” และ “นิว-ฐิติภูมิ เตชะอภัยคุณ” ก็มาแย่งซีนเป็นคู่จิ้นอีกคู่ที่กำลังมาแรงเช่นกัน ส่วน “Sotus The Series พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง” คือผลงานซีรี่ส์วายเรื่องแรกของค่าย ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด “คริส-พีรวัส แสงโพธิรัตน์” และ “สิงโต-ปราชญา เรืองโรจน์” ซึ่งรับบทเป็นผู้ดำเนินเรื่อง กลายเป็นคนดังเพียงชั่วข้ามคืน กลายเป็นกระแสที่ทำให้คนที่ไม่สนใจซีรี่ส์วายหันมาเสพย์ความบันเทิงชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น จากความสำเร็จที่เราได้กล่าวมาทั้งหมด สิ่งที่ผู้จัดได้รับจากซีรี่ส์เหล่านี้นั้น ไม่ใช่แค่ตัวเงินที่มาจากยอดการขายโฆษณา แต่เหล่าผู้จัดสามารถทำเงินจากซีรี่ส์วายได้อีกหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการขายแพ็คคู่ในงานโฆษณา อีเว้นท์ หรือกลยุทย์การเปิดขายบัตรงานแฟนมีตติ้งที่ราคาบัตรสูงเทียบเท่าคอนเสิร์ตของศิลปินดัง ที่ผ่านมาซีรี่ส์วายเกือบทุกเรื่อง เมื่อจบซีซั่นจะมีการจัดงานแฟนมีตติ้ง เพื่อให้แฟนคลับมาพบปะ พูดคุย เล่นเกมส์กับนักแสดงที่พวกเขาชื่นชอบ หากเป็นเมื่อก่อนงานแฟนมีตติ้งเหล่านี้จะฟรี! หรือขายบัตรในราคาหลักร้อย เพื่อนำไปสมทบทุนทำการกุศลต่างๆ หรือแค่นำไปจ่ายค่าสถานที่จัดงานเท่านั้น แต่ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้กลายเป็นธุรกิจหลักทำเงินของเหล่าผู้จัด เพราะปริมาณแฟนคลับที่เพิ่มขึ้น ย่อมเกิดการแย่งชิงพื้นที่ในงานแฟนมีตติ้ง ราคาของบัตรที่เข้างานย่อมสูงขึ้นตามความต้องการ ซึ่งขณะนี้ราคาของบัตรเข้างาน สตาร์ทตั้งแต่ราคา 1000 บาท ไปจนถึงบัตรวีไอพีราคา 5000 บาท ราคานี้เป็นราคาที่เปิดขายให้ทั้งแฟนชาวไทย และแฟนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลี ที่ลงทุนบินข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อมาร่วมงานแฟนมีตติ้งนี้ และถึงแม้ว่าจะเปิดขายบัตรในราคาแพงมากขึ้นแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้บางครั้งผู้จัดต้องจัดงานขึ้น 2 รอบในวันเดียว และยังต่อสามารถนำภาพหรือวิดีโอภายในงานไปทำเป็น Box set ขายได้อีกด้วย
นอกจากการจัดงานแฟนมีตติ้งในประเทศแล้ว ความนิยมที่ลุกลามไปไกล ทำให้เราสามารถขายอีเว้นท์นี้ได้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่จีนซึ่งก่อนหน้านี้คู่ “คริส-สิงโต” สามารถจัดงานมีตติ้งถึง 6 ครั้งแล้ว ส่วนคู่ “ออฟ-กัน” ก็ดังไม่แพ้กัน ล่าสุดคู่นี้เพิ่งไปจัดงานแฟนมีตติ้งที่ประเทศเกาหลีได้สำเร็จ
ทั้งที่ปกติแล้วตลาดเกาหลีนั้นเป็นตลาดที่ใหญ่และการแข่งขันค่อนข้างสูง และส่วนมากจะมีเพียงแค่ศิลปินเค-ป๊อปที่มาจัดงานคอนเสิร์ตหรือฟนมีตติ้งที่บ้านเรา การที่ “ออฟกัน”ได้ไปเปิดตลาดที่นั่น แม้จะเป็นกลุ่มเล็ก แต่ก็ถือเป็นก้าวแรกที่ทำได้ดีเกินคาด
ในตอนนี้นอกจาก GMM TV ที่ถือเป็นผู้นำในด้านซีรี่ส์วายแล้ว ยังมีผู้จัดที่ต้องการเจาะกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ    (เครดิตข้อมูลจาก Maya Channel)

บทวิเคราะห์และเรียบเรียงโดย เพจหยิกแกมหยอก

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019 (อันดับที่ 7,6,5)

อันดับ 7 พรีเซ็นเตอร์แห่งปี 2019 
ญาญ่า อุรัสยา สเปอร์บันด์ ขึ้นแท่นเจ้าแม่พรีเซ็นเตอร์ 2 ปีติด
มีผลงานละคร ในปีนี้ คือเรื่อง “กลิ่นกาสะลอง” และผลงานภาพยนตร์ที่ผ่านมา 2 เรื่องก็คือ “น้องพี่ที่รัก” กับ “นาคี 2” และในปีหน้าถูกวางตัวเล่นละครไว้ก็คือเรื่อง “ลายกินรี” แต่ที่โดดเด่นมากก็คือ ผลงานด้านโฆษณา และการเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับสินค้าแบรนด์ดังมากมาย รวมนับตั้งแต่เข้าวงการบันเทิงมา นับแล้วไม่น่าจะต่ำกว่า 200 ตัวด้วยกัน
"ญาญ่า" โกอินเตอร์อีกแล้ว เป็นพรีเซนเตอร์แบรนด์ระดับโลก คือ Louis Vuitton ต้องถือว่านาทีนี้ ไม่มีเซเลปคนดังฝ่ายหญิงคนใด จะโดดเด่นได้เทียบเท่า น้องญาญา อุรัสยา สเปอร์บันด์ หรือหวานใจของพี่แบร์รี่ได้อีกแล้ว งานชุกที่สุด ใน พ.ศ.นี้ ทั้งละคร ภาพยนตร์ แอดโฆษณา เป็นพรีเซ็นเตอร์ อีกทั้งความฮ็อตส่วนตัว ในฐานะคู่รัก คู่จิ้น กับพี่ณเดชณ์ คูกิมิยะ เซเลปเบอร์ 1 ฝ่ายชายด้วย ถ้าเทียบ เมื่อสมัยก่อน มิตร-เพชรา โด่งดังขนาดไหน ยุคนี้ พ.ศ.นี้ ก็ต้องยกให้คู่ของ ญาญ่า-ณเดชณ์ นั่นแหละ และด้วยความฮ็อตนี้ รวมถึงภาพลักษณ์ที่ดีในวงการบันเทิง ที่ไม่เคยมีข่าวเสียหายใดๆ ทำให้บรรดาเอเจนซี่และเจ้าของสินค้าทั้งหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างเทใจให้ “ญาญ่า” รับงานพรีเซ็นเตอร์สินค้ามากมาย นับถึงตอนนี้เกิน 200 ตัวไปเรียบร้อยแล้ว แต่เฉพาะผลงานในปีนี้ ถ้านับถึงสิ้นปีก็เกือบๆ 30 ตัวเข้าไปแล้ว น่าจะเป็นสถิติที่ยอดเยี่ยมของญาญ่าอีกปีนึง
ฮอตเเรงไม่หยุด "ญาญ่า อุรัสยา" โฆษณา 14 ตัว ภายใน 2 เดือน ได้แก่ 1.โฆษณายาสระผมแพนทีน ไมเซล่า ดีทอกซ์และฟื้นบำรุงผมในหนึ่งเดียว! , 2. โฆษณาคอนเเท็กเลนส์สี Be What You Want by Freshlook Thailand ( 3ตัว ), 3.โฆษณา YOYO Bubble เวอร์ชั่นจัดเต็ม, 4.โฆษณาเสื้อผ้า Louis Vuitton คอลเลคชั่น Pre-Fall 2019, 5. โฆษณานาฬิกาดิจิตอล Louis Vuitton Tambour Horizon 2019, 6.โฆษณาร้านวัตสัน, 7.โฆษณาไฟน์ไลน์, 8.โฆษณาผ้าอนามัยลอรีเอะ ซูเปอร์อัลตร้าสลิมคูล, 9.โฆษณา เเบรนด์รังเเท้รีจูนิเพล็กซ์, 10. โฆษณานมข้นหวานทีพอท: ทีพอททริปสุดฟินบินกับญาญ่า, 11.โฆษณาครีมอาบน้ำโชกุบุสซึ เจแปนนิส คาเมลเลีย, 12. โฆษณา ยาสีฟัน Sparkle, 13. โฆษณา เกมส์ Laplace M, 14. โฆษณาการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย :เปิดตัว Queen ญาญ่า กับภาพยนตร์โฆษณาสุดปัง "มอง" #Local Hero

จำเเนกเป็นสินค้าตัวใหม่ที่ญาญ่าเพิ่งเซ็นต์สัญญาในปีนี้ มี 7 ตัว ที่เหลือเป็นสินค้าที่มีสัญญาเซ็นต์ต่อเนื่องมาจากปีก่อนๆ
1.เสื้อผ้า Louis Vuitton คอลเลคชั่น LV Prefall 2019
2.นาฬิกาดิจิตอล Louis Vuitton Tambour Horizon 2019
3.โฆษณาการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย ภาพยนตร์โฆษณาสุดปัง "มอง" #Local Hero
4.ผลิตภัณฑ์ไฟน์ไลน์
5.ยาสีฟัน Sparkle
6.คอนเเท็กเลนส์สี FreshLook Thailand
7.เกมส์ Laplace M
เฉพาะปี 2019 โฆษณาประเภทวิดีโอเคลื่อนไหว
1.pantene micellar detox
2.be cozy - freshlook pure hazel
3.be strong - freshlook grey
4.be elegant - freshlook green
5.Laurier Super Ultra Slim Cool
6.Yoyo bubble
7.Tambour Horizon Campaign Louis Vuitton
8.Shokubutsu Japanese Camellia
9.Laplace M (ออนทั้งแอดโฆษณา บิลบอร์ดดิจิตอลตามถนน และมีรถไฟฟ้าbtsเป็นขบวนพิเศษ ซึ่งจะเห็นญาญ่ากับLaplace M เต็มไปหมด)

10.Sparkle White
11.Local Hero Amazing ThaiThay(ททท)
12.OppoF11pro
13.Laurier Natural Antibac
14.FINELINE EVERY DAY IS FASHION DAY(ออกพรุ่งนี้)
15.TEAPOT Happy Society to Osaka with yaya
16.แบรนด์รังนกแท้ รีจูนิเพล็กซ์
โฆษณาประเภท ถ่ายแบบแอด หรือ ภาพนิ่ง
17.Lookbook Prefall of LV 2019
18.วัตสัน ฉลองเทศกาลตรุษจีน และ ซื้อชิ้นที่ 2 1บาท
19.ดินสอเขียนคิ้วสองหัว define and blend
20.ลิปสติกครีมมี่แมท สี #690 #656 #642 #635
21.hypercurl mascara
22.clear smooth all in one bb and cc cream แบบซอง
23.แป้งผสมรองพื้นคุมมัน maybelline clear smooth all in one แบบตลับ
24.รองพื้น fit me
25.Lemonade Craze Palette พาเลท
ปล.19-25 คือคอสเมติคเมเบลลีน นิวหยอก ทั้งหมด

มาดูฝ่ายชายดูบ้าง ปีนี้ต้องยกให้น้อง ฺฺBam Bam จริงๆ มีหลายคน นับตั้งแต่ บอย ปกรณ์,พี่โป๊ป ธนวรรธน์,เจมส์ จิ, ณเดชณ์,หมาก ปริญ, พี่เวียร์ ศุกลวัฒน์, เดอะทอยส์ ,มาริโอ้ แต่ตำแหน่งพรีเซ็นเตอร์แห่งปี ฝ่ายชาย ทางเพจขอยกตำแหน่งนี้ให้กับ แบมแบม ในปีนี้ ไปแทน ด้วยเหตุผลที่ว่า ความโดดเด่นไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ในระดับเอเซียด้วย ฐานแฟนคลับ และออร่า ความเป็นซุปตาร์ ของน้องแบม แบม ในปีนี้โดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ที่กล่าวมา ในวัยเด็กนั้นกันต์พิมุกต์ หรือ แบมแบมได้ฉายแววการคัฟเวอร์มาตั้งแต่เด็กโดยได้เต้นเพลงของเรน และได้เข้าประกวด Rain Cover Dance In Thailand เมื่อปี 2550 ขณะมีอายุเพียง 10 ขวบเท่านั้น และยังคว้าอันดับ 2 ในฐานะสมาชิกทีม WE ZAA COOL จากรายการประกวด LG Entertainer In Thailand โดยผู้เป็นมารดายังให้การสนับสนุน นอกจากกันต์พิมุกต์ยังพูดได้ถึง 3 ภาษา ไทย อังกฤษ และเกาหลี และยังมีผลงานทางการแสดงโฆษณาอีกหลายชิ้น และได้มีโอกาสร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮ่องกง เรื่อง Fairy Tale Killer ในปี 2555 แบมแบมเข้ารับการฝึกภายในค่ายเจวายพีเป็นระยะเวลา 3 ปีครึ่ง ก่อนที่จะได้เปิดตัวในฐานะสมาชิกก็อตเซเวน แบมแบมได้ปรากฏในรายการ Who Is Next (WIN) ในตอนที่ 4 ร่วมกับ มาร์ค แจ็คสัน ยูคยอม เจฮยอง ซองจิน ยองเค วอนพิล และ จุนฮยอก ซึ่งตอนนี้เป็นการแข่งเด็กฝึกหัดจากเจวายพีและวายจี
เพลงแรกของก็อตเซเวนคือ "Girls Girls Girls" มิวสิกวิดีโอได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2014
มีผลงานภาพยนตร์ 1 เรื่อง คือ 2555Fairy Tale Killerลูกชายของวอง เว่ย-ฮานหนังสยองขวัญในฮ่องกง และผลงานละคร/ซีรีส์ อีก 2 เรื่อง คือ ปี 2558 Dream Knight ซีรีส์ออนไลน์ระหว่างจีน-เกาหลี ผลิตโดยเจวายพีและYouku ปี 2559 Jealousy Incarnate นักท่องเที่ยวในคลับที่ไทย (รับเชิญ) เอสบีเอส ตอนที่ 1 และผลงานออกรายการวาไรตี้โชว์ และเป็นพิธีกร มีผลงานออกอัลบั้มกับเพื่อนๆ ศิลปิน ในวง Got7 จำนวน 3 อัลบั้ม และร่วมแต่งเพลงในหลายๆ ซิงเกิ้ล ร่วมกับโปรดิวเซอร์ด้วย สำหรับโฆษณาสินค้าทางทีวี แอดโฆษณา รวมถึงเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแบรนด์ ได้แก่ เครื่องดื่ม Est Cola ,รถจักรยานยนต์ YAMAHA QBIX ,ไส้กรอกชิกเก้นแฟรงค์-ไส้กรอกหนังกรอบตรา CP, สมาร์ทโฟน Vivo รุ่น v9, v 15, v17 ,เครื่องนอนยางพารา Restier, AIS Next G ร่วมกับ เป๊กผลิตโชค,โฆษณาสตรีมมิ่ง AIS Play, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของ The Face Shop, แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ Shopee, แบรนด์เสื้อผ้ายี่ห้อ Lee ,ขนมขบเคี้ยวยี่ห้อง แจ็ก   (
เครดิตข้อมูลและภาพจาก วิถีพีเดีย,เว็บพันทิป,เพจ Positoningmag.com)



อันดับ 6 คาเฟ่กาแฟ-ชานมไข่มุกเทรนด์ธุรกิจมาแรง! สมรภูมิร้านอาหารมูลค่ากว่า 8.8 แสนล้านบาท 

แนวโน้มของธุรกิจร้านอาหารในไทยยังคงมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2562-2563 จะขยายตัว 4-5% ต่อปี ขณะที่ชวนจับตาเทรนด์ Fast Casual แพลตฟอร์มค้นหาร้านอาหาร Foodie influencer ที่จะเขย่าวงการร้านอาหารในไทยปีนี้ คาดธุรกิจร้านอาหารยังเติบโต 4-5% ต่อปี ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทั้งจากครัวเรือนที่มีขนาดเล็กลง และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นการชะลอตัวของการบริโภคลง จากรายได้ครัวเรือนที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ประกอบกับรายได้ภาคเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ข้อมูลของ Euromonitor พบว่ายอดขายธุรกิจบริการอาหาร (Food Service) ของไทย ในช่วงปี 2556-2561 ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 4% ต่อปี ส่งผลให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 8.8 แสนล้านบาทในปี 2561 ขณะที่ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) คาดการณ์ว่าในปี 2562-2563 ธุรกิจบริการอาหารยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องราว 4-5% โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง และต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของเมือง (Urbanization) ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการขยายตัวของศูนย์การค้าใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนิยมทานอาหารนอกบ้านหรือซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทานที่บ้านมากขึ้น สะท้อนได้จากข้อมูลการสำรวจการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยในด้านอาหารของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2552-2561 ครัวเรือนไทยใช้จ่ายไปกับการทานอาหารนอกบ้าน หรือซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทานที่บ้าน เพิ่มขึ้นราว 3% ต่อปี ส่วนการปรุงอาหารเองที่บ้านนั้นเติบโตเพียง 1% ต่อปี สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของไทย โดย EIC ในปี 2560 ซึ่งพบว่า 68% ทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น โดยการทานอาหารนอกบ้านเป็นกิจกรรมที่นิยมทำมากที่สุดถึงราว 65% อีกทั้งผู้บริโภค 76% ยังมีการใช้จ่ายนอกบ้านมากขึ้น นอกจากนี้ การขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงที่ผ่านมา ยังช่วยผลักดันยอดขายของร้านอาหาร โดยข้อมูลการใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่มของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงปี 2556-2560 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องประมาณ 5% ต่อปี หรือราว 10,568 บาท/คน/ทริป สะท้อนถึงโอกาสสำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ยังเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ



Chained Restaurant กลุ่มหลักของตลาด
การเติบโตของร้านอาหารเป็นผลจากการขยายตัวของกลุ่มร้านอาหารที่มีสาขา (Chained Restaurant) เป็นหลัก ข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่าในช่วงปี 2555-2561 ยอดขายของร้านอาหารประเภทเชนในไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 9% ต่อปี ขณะที่การขยายสาขาเติบโตราว 8% โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายสาขาไปตามพื้นที่ค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเติบโตสูงกว่าร้านอาหารที่ไม่มีสาขา (Non-Chained Restaurant) ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้นราว 4% ต่อปี และมีจำนวนร้านขยายตัวเพียง 2% ต่อปี เมื่อดูประเภทร้านอาหาร พบว่าร้านจำกัดการให้บริการ (Limited Service) อย่างรูปแบบการสั่งอาหารที่เคาน์เตอร์และลูกค้าบริการตัวเองหรือมีพนักงานมาเสิร์ฟ เป็นรูปแบบที่ขยายตัวดี เนื่องจากตอบโจทย์ทั้งความรวดเร็ว ลดจำนวนพนักงาน และโต๊ะอาหารมีจำนวนรอบหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาร้านในรูปแบบนี้ ซึ่งแต่เดิมส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหาร Fast Food ประเภทเบอร์เกอร์ แต่ปัจจุบันร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านเบเกอรี่ ก็ได้พัฒนารูปแบบเป็น Limited Service มากขึ้นด้วยเช่นกัน

คาเฟ่กาแฟ-ชานมไข่มุกครองเมือง
ขณะที่ร้านคาเฟ่เป็นอีกหนึ่งตลาดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะร้านกาแฟและชาไข่มุก จากกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2555-2561 กลุ่มเชนร้านกาแฟเติบโตถึง 20% ต่อปี จากการขยายสาขาของแบรนด์ขนาดใหญ่ ซึ่งหลายแบรนด์ใช้กลยุทธ์ขยายสาขารูปแบบแฟรนไชส์ จึงขยายสาขาได้เร็วและกระจายในหลายพื้นที่ อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจคือการกระจาย Segment เพื่อเจาะผู้บริโภคหลายกลุ่ม ด้วยการแตกแบรนด์ออกมาเป็นกลุ่ม Mass และพรีเมียม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในแต่ละทำเล ในส่วนของตลาดชานมไข่มุก อีกธุรกิจที่น่าจับตามองจากกระแสความนิยมในปัจจุบัน ส่งผลให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ต้องจับตามองเทรนด์การบริโภคชานมไข่มุกนั้น มีโอกาสเป็นกระแสความนิยมในระยะสั้น อีกทั้งยังเป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มี Brand Loyalty มากนัก ดังนั้นการแข่งขันในระยะต่อไป หากผู้ประกอบการยังไม่มีจุดแข็งของแบรนด์หรือสร้างความแตกต่างก็มีโอกาสที่จะไม่สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว
Grocery Store คู่แข่งที่ไม่ควรมองข้าม
ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารกำลังแข่งขันรุนแรงขึ้น Grocery Store โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ก็เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดร้านอาหารไปบางส่วนด้วย จากการเพิ่มสัดส่วนของอาหารพร้อมทาน รวมทั้งพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ อย่างการเพิ่มโซนทานอาหาร บริการอาหารปรุงสด รวมถึงมุมกาแฟ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เร่งรีบ ข้อมูลของ Euromonitor พบว่าในช่วงปี 2556-2561 ยอดขายในส่วนของการให้บริการอาหารของร้านสะดวกซื้อในไทย ขยายตัวถึง 14% ต่อปี เติบโตเร็วกว่ายอดขายของร้านอาหารประเภทเบอร์เกอร์ ที่มีอยู่ราว 11% ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่าร้านสะดวกซื้อตอบโจทย์พฤติกรรมการบริโภคยุคใหม่ จากการมีอาหารสำเร็จรูปให้เลือกหลากหลาย ซึ่งสัดส่วนของสินค้าประเภทอาหารในร้านสะดวกซื้อรายหลักก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 50-70% ของสินค้าทั้งหมด ขณะเดียวกันซูเปอร์มาร์เก็ต ยังนำเอาร้านอาหารมาไว้ภายในที่เรียกว่า Grocerant ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นอีกด้วย

เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารมาแรงในปี 2562
ด้วยรูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดเทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตาเกิดขึ้นในปี 2562 อย่าง ร้านอาหารประเภท Fast Casual (ผสมระหว่าง Fast Food กับ Casual Dining) ที่ทั่วโลกมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น จากสถิติในสหรัฐฯ พบว่าในปี 2559 Fast Casual มีแนวโน้มขยายตัวเร็วกว่า Fast Food ประมาณ 8% และ 4% ตามลำดับ ด้วยความที่มีอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นร้านประเภทแซนด์วิช อาหารเม็กซิกัน และเบเกอรี ขณะที่ในไทยก็เริ่มได้รับความนิยม ซึ่งกลุ่มอาหาร Asian และเบเกอรี น่าจะที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการควรเน้นทำเลใกล้ออฟฟิศหรือสถานศึกษา ชูจุดเด่นที่อาหารจานเร็วและมีคุณภาพ
ขณะที่ ร้านอาหารที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภค เป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจ ด้วยเพราะการออกไปทานอาหารนอกบ้านของผู้บริโภคยุคใหม่ เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างประสบการณ์ ด้วยบรรยากาศที่แปลกใหม่ที่เป็นจุดขาย อย่างร้านอาหารประเภท Plant Based หรือ Local Ingredient รอบร้านเป็นสวนผัก หรือผลไม้ให้เลือกเด็ดวัตถุดิบมาทำเมนูต่างๆ หรือร้านอาหารในความมืด (Dine In The Dark) ที่ใช้ประสาทสัมผัสในการคาดเดาเมนูอาหาร นอกจากนี้ กระแสการท่องเที่ยว Food Experience ก็ส่งผลให้เกิดความนิยมในการไปตระเวนชิมร้านอาหารท้องถิ่น รวมถึง Street Food

อีกสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ Foodie Influencer และแพลตฟอร์มค้นหาร้านอาหาร มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหาร จากผลสำรวจอีไอซี พบว่า โซเชียลมีเดียและรีวิวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร 58% รองลงมา การบอกต่อ 23% และโฆษณาในสื่อ 9% สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของ Foodie Influencer มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับรีวิวร้านอาหารทั้งในแง่คุณภาพและบริการ ซึ่งแพลตฟอร์มรวบรวมร้านอาหารและมีรีวิว รวมถึงโปรโมชันส่วนลด ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นเดียวกับโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Instagram ที่เป็นช่องทางสำคัญที่ร้านอาหารใช้ในการโปรโมทร้าน
การสั่งอาหารออนไลน์ ช่องทางสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม จากมูลค่าตลาด Food Delivery ที่ขยายตัวต่อเนื่องราว 10% ต่อปีในช่วงปี 2556-2561 จากการเทคโนโลยี และพัฒนาแอปฯ ส่งอาหาร ซึ่งในปัจจุบันบางแพลตฟอร์มมี Active User มากกว่า 3 ล้านราย สะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย
แม้ว่าธุรกิจร้านอาหารยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ส่งผลให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ด้วยภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้มีผู้ที่เลิกกิจการไปเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่าในปี 2561 ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร เป็นกลุ่มที่มีการจัดตั้งใหม่สูงสุดเป็นอันดับ 3 จำนวน 2,058 ราย คิดเป็นสัดส่วน 3% ของธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั้งหมด แต่ขณะเดียวกัน ร้านอาหารยังเป็นธุรกิจที่มีการเลิกกิจการสูงที่สุดเป็นอันดับ 3 ด้วยจำนวน 566 ราย คิดเป็น 2% ของธุรกิจที่เลิกกิจการทั้งหมด
ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้จึงต้องมีความระมัดระวังพิจารณาเลือกทำเลที่เหมาะสม เน้นคุณภาพและบริการ ขณะเดียวกัน ต้องหาจุดขายที่สร้างความแตกต่าง และที่สำคัญคือการบริหารจัดการต้นทุนและสร้างความผูกพันของลูกค้าซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวต่อไป
คุณปราณิดา ศยามานนท์ - ผู้จัดการคลัสเตอร์บริการ EIC
“แม้ว่าธุรกิจร้านอาหารยังเติบโตได้ต่อเนื่อง แต่ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่ประสบความสำเร็จและเลิกกิจการเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้นการจะเข้ามาในธุรกิจนี้ต้องมีความระมัดระวัง พิจารณาเลือกทำเลที่เหมาะสม เน้นคุณภาพและบริการ สร้างความแตกต่างและที่สำคัญคือการบริหารจัดการต้นทุน ตลอดจนสร้างความผูกพันกับลูกค้าซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว”
(เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ BitBangkok.com)

อันดับ 5 การเปิดตัวอภิมหาโปรเจ็คท์ยักษ์ค้าปลีก 2 แห่งในปีนี้ 


Retail 24 Hours มาแรง! “สามย่านมิตรทาวน์” ดึงแบรนด์ใหญ่เปิด 24 ชม. รับ Sleepless Society โต
“สามย่านมิตรทาวน์” โครงการ mixed-use development ของโกลเด้นแลนด์ (บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ ประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี) เปิดตัวโซนรีเทล 24 ชั่วโมง ด้วยการดึงแบรนด์ร้านอาหาร เครื่องดื่ม และบริการในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ธนาคาร เปิดร้านค้าให้บริการตลอดทั้งวันทั้งคืน หลังพบ Insight คนรุ่นใหม่มีไลฟ์สไตล์ยืดหยุ่น ไม่ชอบอ่านหนังสือที่บ้าน ชอบทำงาน-อ่านหนังสือตาม Co-Working Space, Coffee Café ใช้แม่เหล็ก “24 ชั่วโมง” ดึงคน-สร้างความต่างจากศูนย์การค้า การวาง Positioning ของตัวโครงการให้แตกต่างจากโครงการอื่นที่อยู่โดยรอบ 
ด้วยความที่ทำเลที่ตั้งของ “สามย่านมิตรทาวน์” ตั้งอยู่โซนสถาบันการศึกษาที่มีทั้งนักเรียน นักศึกษา และใกล้กับโซนช้อปปิ้งย่านสยามสแควร์ และติดกับออฟฟิศบิวดิ้งย่านสีลม และพระราม 4 ถ้านับจำนวนคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในย่านสีลม-สาทร ในพื้นที่สีลม มี Traffic ต่อวันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 171,351 คน และถ้านับรวมจำนวนคนที่ใช้เวลาเดินทางเข้ามาในย่านสีลม-สาทร ไม่เกิน 15 นาทีจากรัศมีโดยรอบของย่านนี้ อยู่ที่ 392,835 คนต่อวัน ขณะที่จำนวนคนที่อยู่ในภาคการศึกษาในโซนสีลม-สาทร อยู่ที่กว่า 76,000 คน ดังนั้นใน “โซนรีเทล” ในสามย่านมิตรทาวน์ จึงวางตำแหน่งเป็น “Urban Life Library” ภายใต้แนวคิด 24 ชั่วโมง เพื่อเจาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ นักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งผู้อยู่ในย่านสามย่าน และพื้นที่ใกล้เคียง มีพื้นที่ใช้ชีวิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากข้อมูลพบว่าคนที่ใช้บริการ กลุ่มใหญ่คือ นักศึกษา – คนทำงาน โดย Traffic หมุนเวียนเข้ามาในโครงการเรื่อยๆ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเวลา 3.00 น. (ตีสาม) เป็นช่วง Low Traffic และเริ่มมีคนมาใช้บริการในช่วงหกโมงเช้า “จากการสำรวจภายใน 5 รัศมีกิโลเมตรโซน CBD เรายังไม่เจอ Retail 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นเรามองว่าด้วยความที่สามย่านมิตรทาวน์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ และยังเป็นจุดเชื่อมต่อของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และการพัฒนาโครงการขึ้นจากรากฐานเดิมของความเป็นสามย่าน คือ แหล่งอาหาร และความรู้ ที่ไม่ได้มีส่วนผสมของ “แฟชั่น” เหมือนย่านสยามสแควร์ และราชประสงค์ บริษัทฯ จึงมองเห็นโอกาสในการนำสินค้า และบริการต่างๆ ด้วยการพัฒนาโซน 24 ชั่วโมง เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าที่แตกต่างจากในอดีต

การเปิดโซน 24 ชั่วโมง
ภายในโซน 24 ชั่วโมง ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ ร้านอาหาร (Dining) / ร้านค้า (Shopping) / ธุรกิจบริการ (Service) / พื้นที่รองรับไลฟ์สไตล์ (Space Service) บนพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร ครอบคลุมทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหาร, สถาบันทางการเงิน, บริการจัดส่งพัสดุ Co-Working Space, ร้านจำหน่ายสินค้าสไตล์ญี่ปุ่น, ร้านบอร์ดเกม เพื่อต้องการเป็น “24 ชั่วโมง Destination”
(เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ MarketingOops.com,และ Kapook.com)


เซ็นทรัลพัฒนา แตกแบรนด์ศูนย์การค้าใหม่ “เซ็นทรัล วิลเลจ” บนที่ดิน 100 ไร่ ถนนทางเข้าสุวรรณภูมิ ฝั่งบางนา-ตราด มูลค่าโครงการ 5 พันล้าน รวมสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลก 235 แบรนด์ เจาะกลุ่มทั้งไทยและเทศ เปิดให้บริการไตรมาส 3 ปี 2562
เมื่อวันที่(24 เม.ย.) น.ส.วัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและโครงการ พร้อมด้วย นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวเปิดตัวศูนย์การค้าเซ็นทรัล วิลเลจ (Central Village) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 100 ไร่ บริเวณถนนทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านถนนบางนา-ตราด (ขาเข้าเมือง) ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ห่างจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 10 นาที มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในไตรมาส 3 ปี 2562
สำหรับโครงการดังกล่าว มีพื้นที่โครงการ 40,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย ร้านค้าระดับลักชูรี่แบรนด์จากทั่วโลกกว่า 235 ร้านค้า ครอบคลุมสินค้าหลากหลาย ตอบสนองความต้องการทุกเพศ ทุกวัย ทุกสัญชาติ ราคาที่มาพร้อมกับส่วนลด 35-70% ในทุกวัน รวมทั้งร้านอาหาร จุดบริการนักท่องเที่ยว เพลย์กราวนด์ โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ต กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนไทย 65% และชาวต่างชาติ 35% ที่ชอบสินค้าแบรนด์เนมในราคาที่คุ้มค่า และเป็นจุดเช็คอินที่นักท่องเที่ยวต้องแวะช้อปทุกครั้งก่อนเข้าเมืองหรือก่อนเดินทางกลับเข้าสนามบิน
จุดเด่นของเซ็นทรัล วิลเลจ คือ ความหลากหลายของลักชูรี่แบรนด์ ทั้งไทยและเทศกว่า 235 แบรนด์ ทั้งแฟชั่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัว ของเล่น อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน รวมทั้งลักชูรี่แบรนด์จากกลุ่มเซ็นทรัล ประกอบกับราคา ด้วยส่วนลด 35-70% ที่มีทุกวัน ถูกกว่า และไม่ต้องรอฤดูกาลลดราคา หรือไปช้อปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีบริการหลากหลายครบวงจรเทียบเท่าศูนย์การค้า และทำเลที่ตั้งใกล้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีผู้โดยสารกว่า 55 ล้านคน ทั้งนี้ เรากำลังสร้างแพลตฟอร์มใหม่ที่จะตอบโจทย์กลุ่มคนรักสินค้าแบรนด์เนม จากกำลังซื้อที่สูงขึ้นของกลุ่ม Young Affluent ที่มีอายุไม่มากนัก ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะเป็นนักช้อปที่ฉลาด ชอบซื้อสินค้าที่มีคุณภาพคุ้มราคา ต้องการมอบรางวัลให้ตนเอง และแสดงสถานะของตนเองในสังคม นอกจากนี้ ได้ตั้งเป้าให้มีแบรนด์ไทย เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยในระดับนานาชาติ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในไทย 65% และนักท่องเที่ยว 35% จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่มีการใช้จ่ายสูงระหว่างเดินทาง รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มเออีซี  (เครดิตข้อมูลและภาพจาก MGR online)

บทวิเคราะห์และเรียบเรียงโดย เพจหยิกแกมหยอก