วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019 (อันดับที่ 2,1)

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019
อันดับ 2 ตลาด OTT (Video Streaming on Demand) แข่งดุ สะเทือนบัลลังก์ Netflix, Line TV 


สำหรับตัวเลขบริการ OTT ของไทยนั้น Ovum คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2019 นี้จะมียอดผู้ใช้บริการอยู่ที่ 1.3 ล้านราย เพิ่มขึ้น 18.80% จากปี 2018 ที่มียอดผู้ชมรวม 1.09 ล้านราย และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านรายในช่วง 5 ปี หรือในปี 2023
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ชมในกลุ่มบริการวีดิโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD หรือ Subscription Video on Demand บริการรับชมทีวีออนไลน์ย้อนหลังแบบเรียกเก็บค่าสมาชิก ในสัดส่วนที่สูงมาก โดยมีจำนวนผู้เป็นสมาชิกในปี 2019 อยู่ที่ 1.13 ล้านราย และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.91 ล้านรายในปี 2023 ในขณะที่บริการแบบรับชมสดตามโปรแกรมที่ออกอากาศ SLIN หรือ Subscription Linear มีสัดส่วนไม่มาก โดยปี 2019 มีผู้ใช้บริการแบบรับชมสดอยู่ที่ 170,000 รายเท่านั้น คาดตัวเลขผู้ใช้บริการเพิ่มเป็น 190,000 รายในปี 2023 สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการหลักของวีดิโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD ในไทยนั้น Netflix เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เช่นเดียวกับในหลายๆ ประเทศ โดยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยด้วยการจับมือกับผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ของ ไทยหลายราย ผลิตซีรีส์ไทยออกอากาศในช่องทาง Netflix เท่านั้น ขณะที่กลุ่มผู้ให้บริการแบบการรับชมสดในไทยนั้น ได้แก่ ผู้ให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น AIS Play, LOOX TV และ True ID เป็นต้น ขณะที่ตลาดผู้ชม OTT ของประเทศไทย เติบโตสูงในกลุ่มบริการวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD มากกว่าบริการรับชมสดอย่างชัดเจน โดยในปี 2019 ตลาดบริการกลุ่มนี้เติบโต 21.60% โดยจากยอดจำนวน ผู้ชมที่คาดการณ์ ในปี 2019 พบว่ามีจำานวน 1.13 ล้านราย และจะเพิ่มเป็น 1.30 ล้านรายในปี 2020 ส่วนบริการ แบบรับชมสดมีอัตราการเติบโต ในระดับ 2 – 3% ต่อปีเท่านั้น (เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ Positioningmag.com)
Netflix ไม่หวั่นคู่แข่งเยอะ! สตรีมมิ่งโอกาสมหาศาล Q1/19 สมาชิกเพิ่ม 9.6 ล้านราย-รายได้ 4.5 พันล้านเหรียญ
เวลานี้แพลตฟอร์ม “Streaming” กลายเป็นสมรภูมิทะเลเลือด! ที่ใครๆ ก็อยากเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถต่อยอดได้อีกมหาศาล ทั้งจากคอนเทนต์ และการสร้างฐานสมาชิก จนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมความบันเทิงของผู้คนทั่วโลก และเขย่าอุตสาหกรรมบันเทิง ทั้งในตลาดโลก และตลาดท้องถิ่นที่ Streaming รายนั้นๆ เข้าไปบุกตลาด อย่างคู่แข่งรายใหม่ แต่เป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ประกาศสู้ศึก “Streaming” เต็มตัว และเตรียมเปิดตัวภายในปีนี้ คือ “Apple TV+” และ “Disney+” วางแผนเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2019 ล่าสุด “Disney+” ออกมาเผยคอนเทนต์ และค่าบริการที่ดึงดูดให้สมัครสมาชิก ในราคา 6.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือกว่า 220 บาท เรียกได้ว่า “ตัดราคา” ผู้ที่อยู่มาก่อนอย่าง “Netflix” ที่ราคาแพ็คเกจมาตรฐานอยู่ที่ 12.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน!! คู่แข่งเยอะ แต่โอกาสยังมีอีกมหาศาล การแถลงผลประกอบการไตรมาส 1/2019 ผู้บริหาร “Netflix” ได้กล่าวถึงการเปิดตัวบริการ Video Streaming ของ Apple และ Disney เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า จะไม่กระทบกับการเติบโตของบริษัท เนื่องจากว่ายังมีโอกาสอีกมหาศาลในด้านความต้องการรับชมทีวี และภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ ซึ่ง Netflix สามารถตอบสนองสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของความต้องการนั้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ชั่วโมงการชม TV Streaming ของ “Netflix” คิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 10 ของการดูทีวีทั้งหมดเท่านั้น และ Sandvine ประเมินว่า การชม Netflix ผ่านอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ทั่วโลกคิดเป็นเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น นั่นหมายความว่า Netflix ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมากในหลายประเทศผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ไตรมาสแรก ’19 โกยรายได้ 4.5 พันล้านเหรียญ – ซีรีย์เกาหลี “Kingdom” มาแรงทั่วเอเชีย!
Netflix รายงานรายได้และข้อมูลสำคัญประจำไตรมาสแรกปี 2562 ว่าทำรายได้ได้กว่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีผู้ที่สมัครชำระค่าบริการทั่วโลกถึง 148 ล้านสมาชิก โดยในไตรมาสนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ถึง 9.6 ล้านสมาชิก หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (เป็นสมาชิกในสหรัฐอเมริกา 1.74 ล้านสมาชิก และ 7.86 ล้านสมาชิกในประเทศอื่นๆ)
ขณะที่ผลสำเร็จ(Netflix) ของ “คอนเทนต์” ในไตรมาสแรก มีดังนี้
– เนื้อหาจากประเทศต่างๆ ได้รับความนิยมทั้งในประเทศเจ้าของเนื้อหาและในต่างประเทศ เช่น ซีรีส์เกาหลี Kingdom เป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตั้งแต่ซีซั่นแรกในประเทศเกาหลีและยังเป็นซีรี่ส์ที่ถูกใจผู้ชมนับล้านนอกประเทศเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย
– มีสมาชิกทั้งครัวเรือนจำนวนถึง 45 ล้านครอบครัวที่ชมซีรีส์เรื่อง Umbrella Academy ภายในสี่สัปดาห์แรกที่เปิดให้ชม
– ภาพยนตร์แอ็คชั่น Triple Frontier นำแสดงโดย เบน แอฟเฟล็ก มีผู้ชมถึง 52 ล้านครอบครัวในช่วงสี่สัปดาห์แรกที่นำออกฉาย
– The Highwaymen นำแสดงโดย เควิน คอสต์เนอร์ และ วูดดี แฮร์เรลสัน มีผู้ชม 40 ล้านครอบครัวในเดือนแรกตามที่คาดการณ์ไว้
– สารคดีธรรมชาติ เรื่อง Our Planet ก็กำลังจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในซีรีส์สารคดีระดับโลกที่ประสบความสำเร็จที่สุดของ Netflix ที่คาดว่าจะมีจำนวนผู้ชมมากกว่า 25 ล้านครัวเรือนภายในเดือนแรกที่เปิดตัว
– ซีรีส์ใหม่แนวอินเทอร์แอคทีฟที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เรื่อง You vs Wild จะดึงดูดผู้ชมราว 25 ล้านคนให้ร่วมสนุกภายใน 28 วันแรกหลังจากการเปิดตัว
– เมื่อปีที่แล้ว Netflix เป็นเน็ตเวิร์กที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Emmys มากที่สุด และเป็นสตูดิโอที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มากเป็นอันดับสอง และได้รับรางวัลมากที่สุดทั้ง Emmys และออสการ์ รวมถึงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมโดย อัลฟอนโซ คัวรอน (Alfonso Cuarón) และรางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยมจากเรื่อง Roma ซึ่งชนะรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมอีกด้วย
– เพื่อให้ผู้บริโภคสมัครเป็นสมาชิก Netflix ได้ง่ายขึ้น จึงร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบต่างๆ 10 รายทั่วโลก
คาดครึ่งปีแรก 2019 สมาชิกเพิ่ม 14.6 ล้านราย
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในไตรมาส 2 จะทำการทดลองระบบ Top 10 lists สำหรับคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดประจำสัปดาห์เพื่อช่วยให้ผู้ชมตัดสินใจเลือกชมได้ง่ายขึ้นโดยดูจากภาพยนตร์ที่คนอื่น ๆ กำลังชมกันอยู่ โดยจะเริ่มทดลองกับบริการในเขตสหราชอาณาจักรเป็นที่แรก
ขณะที่รายได้ คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าทั้งครึ่งปีแรกของปีนี้ จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 14.6 ล้านราย เติบโต 7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ MarketingOops.com)
Streaming TV หรือ รายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยถือว่ากำลังเป็นกระแสใหม่มาแรงของโลกคอนเทนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แบรนด์ Streaming TV ที่เป็นยักษ์ใหญ่ครองตลาดนี้อยู่อย่าง Netflix และ YouTube ที่กินส่วนแบ่งตาม Live TV มาติดๆ แต่ตอนนี้ ทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนไป ตลาด Streaming TV กำลังลุกเป็นไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนตลาดที่ลูกค้าต้องเสียค่า subscription อย่าง Netflix ทำไม Netflix กำลังตกที่นั่งลำบาก เหตุผลที่ตรงไปตรงมาที่สุด คือ ในยุคสมัยก่อน Netflix ทำธุรกิจหลักเป็นช่องทาง หรือ Channel ที่จะนำคอนเทนต์ หรือ Content จากสารพัดค่ายหนังหรือโทรทัศน์มาฉายทาง Streaming แน่นอนว่าในระยะแรก ค่าลิขสิทธิ์ที่ซื้อมาก็ยังมีราคาไม่แพงมาก เพราะเจ้าของคอนเทนต์เองก็ไม่รู้ว่าตลาด Streaming TV จะใหญ่ได้ถึงขนาดนี้ Netflix ถือเป็นผู้เล่นรายแรกๆ ในตลาดที่ประสบความสำเร็จ เมื่อมองจากยอดผู้ใช้บริการที่สูงเป็นอันดับหนึ่ง (เปรียบเทียบกับ Streaming TV ในกลุ่มที่เสียค่าบริการเหมือนกัน) ส่วนหนึ่งของความสำเร็จก็มาจากสารพัดคอนเทนต์ที่ Netflix ได้มาจากค่ายใหญ่ๆ หลายค่าย สิ่งที่กำลังเปลี่ยนไป คือ หลายค่ายกำลังลงมาเล่นในตลาดนี้เอง ภาพที่เห็นชัดที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Disney ที่เริ่มทยอยไม่ต่อสัญญาลิขสิทธิ์กับ Netflix เพื่อเตรียมตัวมาเปิด Streaming TV ของตนเอง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับตลาดภาพยนตร์แล้ว Disney ถือว่าเป็นผู้ถือส่วนแบ่งตลาดคอนเทนต์ที่สูงที่สุดในโลก Disney เป็นเจ้าของตั้งแต่คอนเทนต์ในเครือ Disney , Marvel , Star Wars , Pixar รวมไปถึง Fox ที่ Disney เพิ่งทำการซื้อกิจการมา และยังมี Hulu ช่อง Streaming TV ที่ Disney เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขีดเส้นใต้ว่าไม่ได้มีแค่ Disney + Hulu เจ้าเก่าก็ถือว่ามีส่วนแบ่งตลาดอยู่พอสมควร Amazon Prime ที่ก็ขยับเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดมาได้เรื่อยๆ ล่าสุด Apple ก็เพิ่งเปิดตัว Apple TV + ที่ราคา 4.99 เหรียญต่อเดือน (แบบครอบครัว) ที่ถือว่าค่อนข้างถูก แถมยังเปิดให้ดูฟรี 1 ปี สำหรับลูกค้าฮาร์ดแวร์ใหม่ของ Apple อีกด้วย ยักษ์ใหญ่กำลังเข้ามาแย่งตลาด Streaming TV ที่กำลังเติบโตไม่หยุด ถึงแม้ว่า Netflix จะปรับตัวโดยการทำ Original Series มาตั้งแต่ระยะต้นๆ ของการทำธุรกิจแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขยับตัวเข้ามาเล่นด้วยในตลาดของยักษ์ใหญ่อย่าง Disney , Apple และ Amazon จะทำให้ตลาดนี้ดุเดือดยิ่งกว่าเดิม ถึงแม้ว่าผู้บริโภคคนหนึ่งจะสามารถใช้ช่อง Streaming TV ได้หลายช่อง แต่การมีผู้เล่นมากรายก็ทำให้อัตราการต่อรองต่ำลง รวมไปถึงความสามารถในการตั้งราคาย่ำแย่ลงอีกด้วย หมดเวลาที่ตลาด Streaming TV จะเป็นน่านน้ำสีคราม (เครดิตข้อมูลบทความจากเพจลงทุนศาสตร์ investerest.co)



2019 ศึกช่องสตรีมมิ่งภาพยนตร์: เมื่อโลกนี้ไม่ได้มีแค่ Netflix เพียงอย่างเดียว
• ตอนนี้ Netflix มีสมาชิกแล้วกว่า 150 ล้านรายทั่วโลก โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 9.6 ล้านรายทั่วโลก และคาดว่าจะได้อีก 5 ล้านรายในไตรมาสที่สอง ผลกำไรในไตรมาสแรกของปี 2019 คิดเป็น 344 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่ารายได้ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่มี 290 ล้านเหรียญสหรัฐ
• Disney เตรียมเปิดให้บริการดิสนีย์พลัส (Disney+) ปลายปีนี้ มีทั้งการ์ตูนแอนิเมชั่นจากดิสนีย์และพิกซาร์ ภาพยนตร์จากมาร์เวลและสตาร์วอร์ส แถมยังประกาศแล้วว่าจะทำหนังแยกให้กับตัวละครของมาร์เวลอีกอย่างน้อย 3 เรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือโลกิ (Loki) รวมไปถึงซีรีส์สตาร์วอร์สที่ประกาศจะสร้างใหม่อย่างแในดาลอเรียน (Mandalorian)
• Apple จับมือกับผู้กำกับระดับโลกอย่างสตีเวน สปีลเบิร์ก สร้างหนังและคอนเทนต์ใน Apple TV และยังจับมือกับโอปราห์ วินฟรีย์ทำรายการ ในขณะที่ Amazon Premium เพิ่งจะลงทุนไปด้วยจำนวนเงินสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างซีรีส์ Lord of the Rings
Game of Thrones จบไปแล้ว HBO มีอะไรให้ดูต่อ อ้อ…Big Little Lies ส่วน FX มี Pose ซีซั่นสอง ส่วนใครชอบงานสไตล์สารคดี ก็เพิ่งจะมี Chernobyl ให้ดูกันไป ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแฟน Game of Thrones จะยังภักดีต่อ HBO ไปอีกนานแค่ไหน ในเมื่อตอนนี้ HBO ยังไม่มีข่าวการสร้างงานมหากาพย์ในแบบ Game of Thrones ออกมาอีกเลย แล้วคนดู Big Litttle Lies เอง ก็น่าจะคนละกลุ่มกัน
หันมาดูที่ Netflix บ้าง แม้ช่วงนี้จะแผ่วๆ ซีรีส์แนวปัญหาวัยรุ่นซึ่งเป็นจุดเด่นและทาร์เก็ตหลักหนึ่งของเน็ตฟลิกซ์ แต่ก็มีหนัง Murder Mystery ที่กลายเป็นหนังที่มียอดเปิดตัวสูงสุดของเน็ตฟลิกซ์ไปแล้ว ซึ่งหลายคนก็ยังคงสงสัยว่าเป็นเพราะอะไร เจนนิเฟอร์ อนิสตัน หรือ?
จาก HBO สู่ Netflix ผู้พลิกโฉมตลาดภาพยนตร์ใหม่ทั้งหมด
เรารู้จักเอชบีโอมาเนิ่นนานผ่านเคเบิลทีวีซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1972 ก่อนที่จะกลายมาเป็นช่องสตรีมมิ่ง HBO Now ในขณะที่เน็ตฟลิกซ์เพิ่งจะมาเริ่มในปี 1997 ตามรายงานล่าสุด เอชบีโอมียอดสมัครใช้บริการกว่า 142 ล้านทั่วโลก ซึ่งต้องขอบคุณซีรีส์เกมออฟโธรนที่สามารถเพิ่มยอดให้อย่างต่อเนื่องสูงสุดในซีซั่น 7 และในซีซั่นสุดท้ายนี้ที่มียอดผู้ชมสดในวันพรีเมียร์สูงถึง 11.8 ล้าน และ 17.4 ล้านแบบข้ามแพลตฟอร์ม และในช่วงซีซั่นสุดท้ายของเกมออฟโธรน ก็ได้ยอดผู้สมัครสูงขึ้นอีก 8 ล้านรายเลยทีเดียว
แต่เมื่อเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์การเติบโตเอชบีโอก็ยังเติบโตช้ากว่าเน็ตฟลิกซ์ ที่ตอนนี้มียอดสมัครใช้บริการกว่า 150 ล้านรายทั่วโลก โดยในไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มสูงถึง 9.6 ล้านรายทั่วโลกเลยทีเดียว และคาดว่าจะมีสมาชิกเพิ่มอีก 5 ล้านรายในไตรมาสที่สอง ที่จริงเน็ตฟลิกซ์ไม่ได้สู้กับเอชบีโอโดยตรง เพราะคู่แข่งที่แท้จริง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ก็คือ Hulu (ซึ่งถือหุ้นโดยดิสนีย์, NBCUniversal และวอร์เนอร์มีเดีย) แม้ตัวเลขโดยรวมนั้น เน็ตฟลิกซ์จะสูงกว่ามาก โดยในสหรัฐอเมริกา เน็ตฟลิกซ์มีผู้ใช้บริการรวมประมาณกว่า 60 ล้าน ในขณะที่ ฮูลูมีเพียง 28 ล้าน แต่เมื่อเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การเติบโตในไตรมาสแรกของปี 2019 จะพบว่า ฮูลูโตสูงกว่าเน็ตฟลิกซ์ถึงเท่าตัว (เฉพาะในสหรัฐอเมริกา) โดยฮูลูมียอดผู้สมัครใช้บริการสูงถึง 3.8 ล้านรายในสามเดือนแรกของปีนี้ ในขณะที่เน็ตฟลิกซ์ในสหรัฐอเมริกามีสมาชิกเพิ่มเพียง 1.7 ล้านราย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นเพราะราคาที่ฮูลูทำได้ดีกว่าเน็ตฟลิกซ์ก็เป็นได้
แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เน็ตฟลิกซ์นิ่งนอนใจ เพราะยักษ์ใหญ่กำลังจะมา

จับตารุ่นเก่าที่มาใหม่อย่างค่าย ‘ดิสนีย์’
หลังจากที่ดิสนีย์ยอมจ่ายเงินสูงถึง 66 พันล้านเพื่อซื้อ 21st Century Fox แน่นอนว่าดิสนีย์ไม่ได้คิดแค่เรื่องของการควบรวมภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการลงมาแข่งขันในตลาดช่องสตรีมมิ่งภาพยนตร์และบันเทิงอีกด้วย แน่นอน…เมื่อใครเห็นตัวเลขรายได้ของเน็ตฟลิกซ์ ก็คงอยากจะลงมาแบ่งเค้กก้อนนี้ด้วยกันทั้งนั้น
ดิสนีย์เตรียมเปิดให้บริการ ‘ดิสนีย์พลัส’ ปลายปีนี้ ความตื่นเต้นและน่ากลัวของดิสนีย์พลัสก็คือคลังภาพยนตร์มหาศาล โดยเฉพาะการ์ตูนแอนิเมชั่นที่ดิสนีย์เพิ่งจะเรียกคืนทั้งหมดกว่า 100 เรื่องจากเน็ตฟลิกซ์ไป ไม่เพียงแค่นั้น ยังประกาศเสริมจุดขายของช่องด้วยภาพยนตร์จากมาร์เวลและสตาร์วอร์สอีกด้วย งานนี้ไม่ใช่แค่การนำเอาหนังเก่าๆ กลับมาฉายเท่านั้น แต่ดิสนีย์ประกาศแล้วว่า จะทำหนังแยกให้กับตัวละครของมาร์เวลอีกอย่างน้อยสามเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือโลกิ (Loki) รวมไปถึงซีรีส์สตาร์วอร์สที่ประกาศจะสร้างใหม่อย่างแมนดาลอเรียน (Mandalorian) ที่ทำให้หลายคนใจจดใจจ่อรอดู
แน่นอนว่างานนี้ดิสนีย์ไม่ได้มาเล่นๆ พร้อมจะกวาดฐานแฟนคลับของหนังดิสนีย์ มาร์เวล และสตาร์วอร์สไปทั้งหมด ขณะที่เน็ตฟลิกซ์ได้ฐานแฟนคลับเป็นวัยทีน ดิสนีย์เริ่มต้นด้วยวัยเด็กและวัยก่อนวัยรุ่นสำหรับหนังการ์ตูนแอนิเมชั่นของดิสนีย์และฟิกซาร์ และเตรียมแย่งฐานแฟนคลับจากทุกเจ้าด้วยหนังแอคชั่นไซไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมหนังในตอนนี้อย่างมาร์เวล
ไม่เพียงแค่นั้น ยังเสริมทัพด้วยช่องเนชั่นแนลจีโอกราฟิก และยังมีรายชื่อผู้กำกับฯ ที่พร้อมร่วมงานกับดิสนีย์ในมืออีกเพียบ ที่สำคัญก็คือ ราคาเปิดตัวที่ถูกกว่าเอชบีโอและเน็ตฟลิกซ์กว่าครึ่ง ที่ราคาเพียงแค่ 6.99 เหรียญต่อเดือน!
อย่าลืมผู้เล่นรุ่นเก๋าอย่าง Amazon และ Apple ที่ก็เริ่มขยับตัวกันมาซักพักแล้ว (เครดิตข้อมูลบทความจากเพจ themomentum.co)
เฟซบุ๊กเปิดตัว Facebook Watch ทั่วโลก ดันแพลตฟอร์มวิดีโอทัดเทียมคู่แข่ง ยูทูบ-เน็ตฟลิกซ์
Google tv ก็ทำ Google box โดยความร่วมมือกับโซนี่ โดยเชื่อมเทคโนโลยีทีวีให้เข้ากับเว็บไซต์ You tube ของตน ให้กลายเป็น ช่องทางในการดูวีดีโอไลฟ์สตรีมมิ่ง ที่เป็นของตนเองเช่นกัน
Tencent เอาด้วย! ส่ง “WeTV” ลุย Video Streaming ไทย ชูจุดขาย “ซีรีส์จีน” หวังแทรกระหว่าง Netflix และ Line TV Tencent ตั้งเป้า WeTV ขึ้น Top 3 วิดีโอสตรีมมิ่งฮิตสุดปีนี้

ช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมาแวดวง Video Streaming ของเมืองไทยได้มี “น้องใหม่” เปิดตัวไปอย่างเงียบๆ ไปแล้ว โดยไม่ได้ส่งเสียงเอิกเกริกมากนัก นั่นคือ “WeTV” ของค่าย Tencen ยักษ์ออนไลน์จากจีน ซึ่งมีหลายๆ บริการเป็นที่รู้จักของคนไทยอย่างดีทั้ง WeChat, JOOX และเกม ROV เป็นต้น “กฤตธี มโนลีหกุล” กรรมการผู้จัดการบริษัทเทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสอบถามถึงที่มาที่ไปของ “WeTV” โดยเขาเล่าให้ฟังว่า มองตลาด Video Streaming ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากเพราะในวันนี้ยังมีผู้เล่นหลักแค่ 2 รายคือ Netflix และ Line TV แต่ทั้งสองรายยังมีช่องว่างอยู่เพราะ “Netflix” คอนเทนต์หลักจะเป็นซีรีส์และภาพยนตร์จากฝั่งตะวันตก แม้ก่อนหน้านี้จะเริ่มจับมือกับผู้ผลิตไทย ในการนำคอนเทนต์ไทยเข้าไปรีรัน รวมไปถึงการสร้าง Original Content แล้วบ้างก็ตาม ด้าน “Line TV” ส่วนใหญ่เป็นคอนเทนต์จากเมืองไทย ผ่านมาจับมือกับคอนเทนต์โพรวายเดอร์และช่องทีวีดิจิทัลต่างๆ ในการนำทั้งละครรายการวาไรตี้เข้าไปเป็นเอ็กซ์คลูซีฟรีรัน และการปั้น Original Local Content WeTV จึงเข้าไปแทรกตัวด้วยการนำคอนเทนต์ทั้งละครซีรีส์และรายการวาไรตี้ของจีน ซึ่งทั้งคู่ยังไม่ได้มีมากนักโดยเฉพาะ “ละครจีน” ที่หากย้อนกลับไปเมื่อ 20-30 ปีเรียกได้ว่าตีคู่เป็นที่รู้จักของคนไทยมาพร้อมกับละครไทย แม้ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาจะแผ่วลงไปมากเพราะมี “ซีรีส์เกาหลี” เข้ามาตีตลาดไปบ้างก็ตาม สำหรับ WeTV ถูกพัฒนามาจากแพลตฟอร์ม “Tencent Video” ในจีนถือเป็น Video Streaming เบอร์ 1 และปี 2018 ยังเป็นแอปพลิเคชั่นอันดับ 2 ที่ทำรายได้สูงสุดใน App Store ทั่วโลก โดยการเข้ามาในเมืองไทยได้วางตัวเองเป็น “แมส” ไม่ได้มุ่งไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เบื้องต้นคอนเทนต์จะเป็นจะมีแค่ซับไทย ส่วนพากย์ไทยยังไม่มี เช่น รายการ Produce101, ซีรีส์ห้วงเวลาแห่งรักและสยบฟ้าพิชิตปฐพี เป็นต้น จำนวนคอนเทนต์ทั้งหมดระบุไม่ได้เพราะเพิ่มทุกวัน โดยช่วงแรกจะเปิดให้ดูฟรีไปก่อนหลังจากนั้นดูฟรีก็ยังคงมีอยู่ แต่จะจำกัดจำนวนตอน ถ้าต้องการดูมากกว่านั้นต้องเสียค่าบริการ ซึ่งจะกำหนดราคาแล้วแจ้งให้ทราบภายหลัง


อันดับ 1 กระแสวิ่ง(พี่ตูน),ปั่นจักรยาน(ร.10),ฟุตบอล (เจชนาธิป),กอล์ฟ (โปรเม) เป็นตัวกระตุ้นให้คนไทย หันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น และเงินสะพัดในธุรกิจเกี่ยวข้องกับกีฬา มูลค่านับแสนล้านบาท 
พี่ตูนจุดกระแส คนแห่วิ่งตาม ออกกำลังกายมากขึ้น ก่อให้เกิดอีเว้นต์วิ่ง-มาราธอน เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ปีละ 100 กว่างาน (เฉพาะงานใหญ่ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 งานต่อปี) นับไปถึงปีหน้า
ย้อนกลับไปเมื่อสัก 5 ปี เทรนด์ออกกำลังกายที่ป๊อปปูล่าสุดๆ นั้นคือการปั่นจักรยาน โดยมี Big Project ที่จุดกระแสนั้นคือกิจกรรม ปั่นเพื่อพ่อ Bike For Dad และ bike for MOM ปั่นเพื่อแม่ จากนั้นกระแสปั่นจักรยานก็ถูกสานต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชน จนหันไปทางไหน ก็จะเห็นคนปั้นจักรยาน ผลที่ตามมาคือเกิดร้านขายจักรยานทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เพราะเป็นธุรกิจที่ทำกำไรดี ยอดขายในช่วง 1 – 2 ปีเติบโตจนเจ้าของร้านยิ้มแก้มปริ ทุกวันนี้กระแสคนปั่นจักรยานมีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ทุกจังหวัด จนเกิดเป็นชมรมปั่นจักรยานแทบทุกจังหวัด แม้จะซาๆ ลงไปบ้างจากเมื่อซัก 2-3 ปีก่อน แต่ก็ยังถือว่ากระแสนี้ยังคงมีอยู่
ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับกีฬาอู้ฟู่สะพัดแสนล้าน ทั้งสถานฟิตเนส-สนามเช่าแข่งขันกีฬา (โดยเฉพาะสนามบอล,สนามแบด) สะพรั่งรับดีมานด์ทะลัก ยังไม่นับร้านขายเสื้อผ้ากีฬา (ช็อปกีฬาขนาดใหญ่) เปิดใหม่ ในศูนย์การค้าสำคัญ มีแทบทุกที่อย่างน้อยในปีนี้ก็ 3 แห่งอาทิ

ร้าน Adidas Outlet ช็อปอะดิดาสใหญ่สุดของประเทศ ที่เซ็นทรัลวิลเลจ
ร้าน Sport World ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
ร้าน JD Sport Thailand ที่ศูนย์การค้าไอคอนสยาม


ผลิตภัณฑ์รองเท้า ไนกี้ ออกรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่น มาหลายรุ่น ทั้งปี และเหตุการณ์นึงที่เป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ ก็คือลูกค้าชกต่อยกันขณะเข้าคิวซื้อที่ช็อปไนกี้แห่งหนึ่ง ขณะร้านยังไม่เปิด เนื่องจากต้องการแย่งกันให้ได้คิวก่อน จนเกิดปากเสียงทะเลาะกัน และกลายเป็นเรื่องทะเลาะวิวาท จนเป็นข่าวดังตามคลิปที่แนบมาในบทความนี้


ธุรกิจกีฬาอู้ฟู่สะพัดแสนล้าน ฟิตเนส-สนามเช่าสะพรั่งรับดีมานด์ทะลัก กระแสสุขภาพดันธุรกิจกีฬาโตต่อเนื่อง เงินสะพัดกว่า 1 แสนล้าน สินค้าอุปกรณ์กีฬายอดขายละลิ่ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยหน้าใหม่แห่จดทะเบียนกว่า 200 บริษัท ฟิตเนส โยคะ ยิมมวยไทย สนามฟุตบอล สนามฟุตซอล ให้เช่า ผุดเป็นดอกเห็ด ทั้งในกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด เสื้อผ้า-อุปกรณ์กีฬา อู้ฟู่ ยอดขายพุ่ง-ออร์เดอร์ ทะลัก
อาจจะกล่าวได้ว่า “ธุรกิจกีฬา” เป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่ยังสามารถเติบได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ไม่เอื้ออำนวยนัก โดยมีปัจจัยหนุนจากกระแสความใส่ใจดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงกระแสความนิยมของการแข่งขันกีฬาหลาย ๆ อย่าง ทั้งฟุตบอลไทยลีก วอลเลย์บอล แบตมินตัน กอล์ฟ ฯลฯ และการมีนักกีฬาไทยที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นแรงบันดาลใจ ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเติบโตตามไปด้วย



ธุรกิจกีฬาเงินสะพัดแสนล้าน
ดร.สมทบ ฐิตะฐาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการกีฬา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนายกสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการเก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าปัจจุบันธุรกิจกีฬาซึ่งมีผู้ประกอบการเกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ ช่องทางการจำหน่าย ผู้ประกอบการที่เป็นเซอร์วิส เช่น ออร์แกไนเซอร์ รับจัดการแข่งขัน รวมถึงผู้ให้บริการด้านสถานที่ เช่น สนามกอล์ฟ สนามไดรฟ์กอล์ฟ ฯลฯ ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีธุรกิจใหม่ ๆ ทยอยเกิดตามมาอีกมาก เช่น ฟิตเนส ธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์กีฬา เช่น ทำหน้าที่เก็บข้อมูล สถิติกีฬาต่าง ๆ
ปัจจุบันธุรกิจกีฬามีมูลค่าตลาดรวมไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท แต่ละปีจะเติบโตอย่างน้อย ๆ 4-5% ในจำนวนนี้ ยังไม่นับรวมถึงธุรกิจอาหาร อาหารเสริม สำหรับคนออกกำลังกาย คนดูแลสุขภาพ ที่มีไม่ต่ำกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท และยังไม่รวมถึงสินค้าแก็ดเจต นาฬิกา บันทึก-วัด การเต้นของหัวใจ วัดความดัน ที่กำลังเติบโตตามมา “ปัจจัยสนับสนุน นอกจากกระแสของกีฬาที่บูมมาก ทั้งฟุตบอล วอลเวย์บอล การวิ่ง รวมถึงกีฬาอื่น ๆ แล้ว ปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้น เมื่อคนมีทัศนคติที่ดีกับเรื่องกีฬาก็จะไปหาอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ตัวเองชอบมาออกกำลังกาย บางคนชอบขี่จักรยานก็ซื้อจักรยานคันละ 7-8 หมื่นบาท บางคนชอบวิ่งก็ซื้อรองเท้าวิ่งคู่ละ 7,000-8,000 บาท และไม่ได้มีเพียงคู่เดียว เป็นต้น ซึ่งทำให้ธุรกิจโตตามมา” รายงานข่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน) มีผู้ประกอบการจดทะเบียนตั้งบริษัทเกี่ยวกับกีฬาและสินค้ากีฬามากกว่า 200 บริษัท ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นสถานให้บริการ อาทิ ฟิตเนส โยคะ ยิม มวยไทย รวมถึงเปิดสนามฟุตบอล สนามฟุตซอล ให้เช่า รวมทั้งผู้นำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์ออกกำลังกาย เสื้อผ้าชุดกีฬา เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ปี สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในธุรกิจต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 1-1.5 หมื่นล้านบาทต่อฤดูกาลแข่งขัน กระจายเข้าสู่ธุรกิจทุกภาคส่วนของแต่ละจังหวัดที่ทำการแข่งขัน ตั้งแต่ธุรกิจค้าขายรายย่อยรอบสนาม, ธุรกิจโอท็อป, ธุรกิจโรงแรมที่พัก, ธุรกิจขนส่งมวลชน และธุรกิจท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากกลุ่มแฟนคลับของแต่ละสโมสรที่ต้องออกไปเยือนทีมต่าง ๆ รวมทั้งธุรกิจเสื้อผ้ากีฬา

เสื้อผ้า-อุปกรณ์กีฬาเฟื่อง นายสุนทร สุรีย์เหลืองขจร ผู้จัดการทั่วไปบริหารสินค้า สปอร์ตมอลล์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ไปในทิศทางเดียวกันว่า ปัจจุบันตลาดสินค้าเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬายังมีการเติบโตที่ดี ซึ่งตลาดนี้มีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท เติบโต 15-20% ทุกปี จากกระแสสุขภาพและความนิยมในการออกกำลังกายที่มีมากขึ้น รวมถึงสปอร์ตแฟชั่นหรือความนิยมแต่งตัวด้วยชุดกีฬาของกลุ่มเจนวาย และวัยเริ่มทำงาน ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ยอดขายของสปอร์ตมอลล์เติบโตสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป โดยสาขาในกรุงเทพฯ ลูกค้ามียอดใช้จ่าย 2,500-3,000 บาท/ใบเสร็จ และต่างจังหวัด 2,000-2,500 บาท/ใบเสร็จ และลูกค้าจะมีการซื้อสินค้าทดแทนทุก ๆ 3 เดือน นอกจากสินค้าที่เกี่ยวกับฟุตบอล วิ่ง และฟิตเนส ที่เติบโตสูง ขณะนี้ สินค้าที่เกี่ยวกับกอล์ฟ เสื้อผ้า รองเท้าและแอ็กเซสซอรี่ ก็เริ่มกลับมาฟื้นกลับอีกครั้ง จากเดิมช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เติบโตไม่ถึง 5%
ขณะที่ นายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า นอกจากตลาดเสื้อผ้าหรือชุดกีฬาในประเทศที่เติบโตแล้ว ที่ผ่านมา โรงงานผลิตเสื้อผ้าหลายแห่งยังมีออร์เดอร์ จากเจ้าของสิขสิทธิ์ชุดกีฬาของสโมสรกีฬาในยุโรปและสหรัฐที่มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นชุดฟุตบอลของสโมสรยุโรป คาดว่าปีนี้จะมีออร์เดอร์เข้าไทยไม่ต่ำกว่า 100 ล้านตัว หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท ปัจจุบันการส่งออกชุดกีฬาคิดเป็น 50% ของมูลค่าส่งออกเสื้อผ้าภาพรวมที่มีจำนวน 90,000 ล้านบาท
ฟิตเนส-โยคะ แรงไม่หยุด
เปิดตัวแบรนด์ใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีรูปแบบบริการหลากหลายทั้งอินดอร์ เอาต์ดอร์ รวมถึงฟิตเนสที่เน้นให้บริการเฉพาะบางกิจกรรม เช่น โยคะ มวยไทย เช่นเดียวกับบริษัทที่เดินหน้าขยายสาขา เพิ่มคลาสและเทรนเนอร์ต่อเนื่องเพื่อรองรับดีมานด์ ขณะที่ นางสาวเบญจพร การุณกรสกุล กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง แอ๊บโซลูท ยู กล่าวว่า นอกจากตลาดฟิตเนสมูลค่า 9,000-10,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตต่อเนื่องประมาณ 10% ต่อปีแล้ว ปัจจุบันกลุ่มบูทีคสตูดิโอที่เน้นการออกกำลังเฉพาะแบบ เช่น โยคะ พิลาทีส ปั่นจักรยาน หรือชกมวย ก็เริ่มได้รับความนิยมและมีการเติบโตมากขึ้น แอ๊บโซลูท ยู จึงมีแผนขยายฐานไปยังกลุ่มวัยรุ่นอายุ 16 ปีขึ้นไป และขยายสาขาเพิ่มอีก 5 แห่งภายในสิ้นปี (เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ prachachat.net)





บทวิเคราะห์และเรียบเรียงโดย เพจหยิกแกมหยอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น