วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2019 (อันดับที่ 7,6,5)

อันดับ 7 พรีเซ็นเตอร์แห่งปี 2019 
ญาญ่า อุรัสยา สเปอร์บันด์ ขึ้นแท่นเจ้าแม่พรีเซ็นเตอร์ 2 ปีติด
มีผลงานละคร ในปีนี้ คือเรื่อง “กลิ่นกาสะลอง” และผลงานภาพยนตร์ที่ผ่านมา 2 เรื่องก็คือ “น้องพี่ที่รัก” กับ “นาคี 2” และในปีหน้าถูกวางตัวเล่นละครไว้ก็คือเรื่อง “ลายกินรี” แต่ที่โดดเด่นมากก็คือ ผลงานด้านโฆษณา และการเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับสินค้าแบรนด์ดังมากมาย รวมนับตั้งแต่เข้าวงการบันเทิงมา นับแล้วไม่น่าจะต่ำกว่า 200 ตัวด้วยกัน
"ญาญ่า" โกอินเตอร์อีกแล้ว เป็นพรีเซนเตอร์แบรนด์ระดับโลก คือ Louis Vuitton ต้องถือว่านาทีนี้ ไม่มีเซเลปคนดังฝ่ายหญิงคนใด จะโดดเด่นได้เทียบเท่า น้องญาญา อุรัสยา สเปอร์บันด์ หรือหวานใจของพี่แบร์รี่ได้อีกแล้ว งานชุกที่สุด ใน พ.ศ.นี้ ทั้งละคร ภาพยนตร์ แอดโฆษณา เป็นพรีเซ็นเตอร์ อีกทั้งความฮ็อตส่วนตัว ในฐานะคู่รัก คู่จิ้น กับพี่ณเดชณ์ คูกิมิยะ เซเลปเบอร์ 1 ฝ่ายชายด้วย ถ้าเทียบ เมื่อสมัยก่อน มิตร-เพชรา โด่งดังขนาดไหน ยุคนี้ พ.ศ.นี้ ก็ต้องยกให้คู่ของ ญาญ่า-ณเดชณ์ นั่นแหละ และด้วยความฮ็อตนี้ รวมถึงภาพลักษณ์ที่ดีในวงการบันเทิง ที่ไม่เคยมีข่าวเสียหายใดๆ ทำให้บรรดาเอเจนซี่และเจ้าของสินค้าทั้งหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างเทใจให้ “ญาญ่า” รับงานพรีเซ็นเตอร์สินค้ามากมาย นับถึงตอนนี้เกิน 200 ตัวไปเรียบร้อยแล้ว แต่เฉพาะผลงานในปีนี้ ถ้านับถึงสิ้นปีก็เกือบๆ 30 ตัวเข้าไปแล้ว น่าจะเป็นสถิติที่ยอดเยี่ยมของญาญ่าอีกปีนึง
ฮอตเเรงไม่หยุด "ญาญ่า อุรัสยา" โฆษณา 14 ตัว ภายใน 2 เดือน ได้แก่ 1.โฆษณายาสระผมแพนทีน ไมเซล่า ดีทอกซ์และฟื้นบำรุงผมในหนึ่งเดียว! , 2. โฆษณาคอนเเท็กเลนส์สี Be What You Want by Freshlook Thailand ( 3ตัว ), 3.โฆษณา YOYO Bubble เวอร์ชั่นจัดเต็ม, 4.โฆษณาเสื้อผ้า Louis Vuitton คอลเลคชั่น Pre-Fall 2019, 5. โฆษณานาฬิกาดิจิตอล Louis Vuitton Tambour Horizon 2019, 6.โฆษณาร้านวัตสัน, 7.โฆษณาไฟน์ไลน์, 8.โฆษณาผ้าอนามัยลอรีเอะ ซูเปอร์อัลตร้าสลิมคูล, 9.โฆษณา เเบรนด์รังเเท้รีจูนิเพล็กซ์, 10. โฆษณานมข้นหวานทีพอท: ทีพอททริปสุดฟินบินกับญาญ่า, 11.โฆษณาครีมอาบน้ำโชกุบุสซึ เจแปนนิส คาเมลเลีย, 12. โฆษณา ยาสีฟัน Sparkle, 13. โฆษณา เกมส์ Laplace M, 14. โฆษณาการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย :เปิดตัว Queen ญาญ่า กับภาพยนตร์โฆษณาสุดปัง "มอง" #Local Hero

จำเเนกเป็นสินค้าตัวใหม่ที่ญาญ่าเพิ่งเซ็นต์สัญญาในปีนี้ มี 7 ตัว ที่เหลือเป็นสินค้าที่มีสัญญาเซ็นต์ต่อเนื่องมาจากปีก่อนๆ
1.เสื้อผ้า Louis Vuitton คอลเลคชั่น LV Prefall 2019
2.นาฬิกาดิจิตอล Louis Vuitton Tambour Horizon 2019
3.โฆษณาการท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย ภาพยนตร์โฆษณาสุดปัง "มอง" #Local Hero
4.ผลิตภัณฑ์ไฟน์ไลน์
5.ยาสีฟัน Sparkle
6.คอนเเท็กเลนส์สี FreshLook Thailand
7.เกมส์ Laplace M
เฉพาะปี 2019 โฆษณาประเภทวิดีโอเคลื่อนไหว
1.pantene micellar detox
2.be cozy - freshlook pure hazel
3.be strong - freshlook grey
4.be elegant - freshlook green
5.Laurier Super Ultra Slim Cool
6.Yoyo bubble
7.Tambour Horizon Campaign Louis Vuitton
8.Shokubutsu Japanese Camellia
9.Laplace M (ออนทั้งแอดโฆษณา บิลบอร์ดดิจิตอลตามถนน และมีรถไฟฟ้าbtsเป็นขบวนพิเศษ ซึ่งจะเห็นญาญ่ากับLaplace M เต็มไปหมด)

10.Sparkle White
11.Local Hero Amazing ThaiThay(ททท)
12.OppoF11pro
13.Laurier Natural Antibac
14.FINELINE EVERY DAY IS FASHION DAY(ออกพรุ่งนี้)
15.TEAPOT Happy Society to Osaka with yaya
16.แบรนด์รังนกแท้ รีจูนิเพล็กซ์
โฆษณาประเภท ถ่ายแบบแอด หรือ ภาพนิ่ง
17.Lookbook Prefall of LV 2019
18.วัตสัน ฉลองเทศกาลตรุษจีน และ ซื้อชิ้นที่ 2 1บาท
19.ดินสอเขียนคิ้วสองหัว define and blend
20.ลิปสติกครีมมี่แมท สี #690 #656 #642 #635
21.hypercurl mascara
22.clear smooth all in one bb and cc cream แบบซอง
23.แป้งผสมรองพื้นคุมมัน maybelline clear smooth all in one แบบตลับ
24.รองพื้น fit me
25.Lemonade Craze Palette พาเลท
ปล.19-25 คือคอสเมติคเมเบลลีน นิวหยอก ทั้งหมด

มาดูฝ่ายชายดูบ้าง ปีนี้ต้องยกให้น้อง ฺฺBam Bam จริงๆ มีหลายคน นับตั้งแต่ บอย ปกรณ์,พี่โป๊ป ธนวรรธน์,เจมส์ จิ, ณเดชณ์,หมาก ปริญ, พี่เวียร์ ศุกลวัฒน์, เดอะทอยส์ ,มาริโอ้ แต่ตำแหน่งพรีเซ็นเตอร์แห่งปี ฝ่ายชาย ทางเพจขอยกตำแหน่งนี้ให้กับ แบมแบม ในปีนี้ ไปแทน ด้วยเหตุผลที่ว่า ความโดดเด่นไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่ในระดับเอเซียด้วย ฐานแฟนคลับ และออร่า ความเป็นซุปตาร์ ของน้องแบม แบม ในปีนี้โดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ที่กล่าวมา ในวัยเด็กนั้นกันต์พิมุกต์ หรือ แบมแบมได้ฉายแววการคัฟเวอร์มาตั้งแต่เด็กโดยได้เต้นเพลงของเรน และได้เข้าประกวด Rain Cover Dance In Thailand เมื่อปี 2550 ขณะมีอายุเพียง 10 ขวบเท่านั้น และยังคว้าอันดับ 2 ในฐานะสมาชิกทีม WE ZAA COOL จากรายการประกวด LG Entertainer In Thailand โดยผู้เป็นมารดายังให้การสนับสนุน นอกจากกันต์พิมุกต์ยังพูดได้ถึง 3 ภาษา ไทย อังกฤษ และเกาหลี และยังมีผลงานทางการแสดงโฆษณาอีกหลายชิ้น และได้มีโอกาสร่วมแสดงในภาพยนตร์ฮ่องกง เรื่อง Fairy Tale Killer ในปี 2555 แบมแบมเข้ารับการฝึกภายในค่ายเจวายพีเป็นระยะเวลา 3 ปีครึ่ง ก่อนที่จะได้เปิดตัวในฐานะสมาชิกก็อตเซเวน แบมแบมได้ปรากฏในรายการ Who Is Next (WIN) ในตอนที่ 4 ร่วมกับ มาร์ค แจ็คสัน ยูคยอม เจฮยอง ซองจิน ยองเค วอนพิล และ จุนฮยอก ซึ่งตอนนี้เป็นการแข่งเด็กฝึกหัดจากเจวายพีและวายจี
เพลงแรกของก็อตเซเวนคือ "Girls Girls Girls" มิวสิกวิดีโอได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2014
มีผลงานภาพยนตร์ 1 เรื่อง คือ 2555Fairy Tale Killerลูกชายของวอง เว่ย-ฮานหนังสยองขวัญในฮ่องกง และผลงานละคร/ซีรีส์ อีก 2 เรื่อง คือ ปี 2558 Dream Knight ซีรีส์ออนไลน์ระหว่างจีน-เกาหลี ผลิตโดยเจวายพีและYouku ปี 2559 Jealousy Incarnate นักท่องเที่ยวในคลับที่ไทย (รับเชิญ) เอสบีเอส ตอนที่ 1 และผลงานออกรายการวาไรตี้โชว์ และเป็นพิธีกร มีผลงานออกอัลบั้มกับเพื่อนๆ ศิลปิน ในวง Got7 จำนวน 3 อัลบั้ม และร่วมแต่งเพลงในหลายๆ ซิงเกิ้ล ร่วมกับโปรดิวเซอร์ด้วย สำหรับโฆษณาสินค้าทางทีวี แอดโฆษณา รวมถึงเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแบรนด์ ได้แก่ เครื่องดื่ม Est Cola ,รถจักรยานยนต์ YAMAHA QBIX ,ไส้กรอกชิกเก้นแฟรงค์-ไส้กรอกหนังกรอบตรา CP, สมาร์ทโฟน Vivo รุ่น v9, v 15, v17 ,เครื่องนอนยางพารา Restier, AIS Next G ร่วมกับ เป๊กผลิตโชค,โฆษณาสตรีมมิ่ง AIS Play, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของ The Face Shop, แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ Shopee, แบรนด์เสื้อผ้ายี่ห้อ Lee ,ขนมขบเคี้ยวยี่ห้อง แจ็ก   (
เครดิตข้อมูลและภาพจาก วิถีพีเดีย,เว็บพันทิป,เพจ Positoningmag.com)



อันดับ 6 คาเฟ่กาแฟ-ชานมไข่มุกเทรนด์ธุรกิจมาแรง! สมรภูมิร้านอาหารมูลค่ากว่า 8.8 แสนล้านบาท 

แนวโน้มของธุรกิจร้านอาหารในไทยยังคงมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2562-2563 จะขยายตัว 4-5% ต่อปี ขณะที่ชวนจับตาเทรนด์ Fast Casual แพลตฟอร์มค้นหาร้านอาหาร Foodie influencer ที่จะเขย่าวงการร้านอาหารในไทยปีนี้ คาดธุรกิจร้านอาหารยังเติบโต 4-5% ต่อปี ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทั้งจากครัวเรือนที่มีขนาดเล็กลง และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะเห็นการชะลอตัวของการบริโภคลง จากรายได้ครัวเรือนที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก ประกอบกับรายได้ภาคเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ข้อมูลของ Euromonitor พบว่ายอดขายธุรกิจบริการอาหาร (Food Service) ของไทย ในช่วงปี 2556-2561 ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 4% ต่อปี ส่งผลให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 8.8 แสนล้านบาทในปี 2561 ขณะที่ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) คาดการณ์ว่าในปี 2562-2563 ธุรกิจบริการอาหารยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่องราว 4-5% โดยปัจจัยสนับสนุนสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่ครัวเรือนมีขนาดเล็กลง และต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของเมือง (Urbanization) ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการขยายตัวของศูนย์การค้าใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนิยมทานอาหารนอกบ้านหรือซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทานที่บ้านมากขึ้น สะท้อนได้จากข้อมูลการสำรวจการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยในด้านอาหารของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2552-2561 ครัวเรือนไทยใช้จ่ายไปกับการทานอาหารนอกบ้าน หรือซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทานที่บ้าน เพิ่มขึ้นราว 3% ต่อปี ส่วนการปรุงอาหารเองที่บ้านนั้นเติบโตเพียง 1% ต่อปี สอดคล้องกับผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของไทย โดย EIC ในปี 2560 ซึ่งพบว่า 68% ทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น โดยการทานอาหารนอกบ้านเป็นกิจกรรมที่นิยมทำมากที่สุดถึงราว 65% อีกทั้งผู้บริโภค 76% ยังมีการใช้จ่ายนอกบ้านมากขึ้น นอกจากนี้ การขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงที่ผ่านมา ยังช่วยผลักดันยอดขายของร้านอาหาร โดยข้อมูลการใช้จ่ายหมวดอาหารและเครื่องดื่มของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงปี 2556-2560 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องประมาณ 5% ต่อปี หรือราว 10,568 บาท/คน/ทริป สะท้อนถึงโอกาสสำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ยังเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ



Chained Restaurant กลุ่มหลักของตลาด
การเติบโตของร้านอาหารเป็นผลจากการขยายตัวของกลุ่มร้านอาหารที่มีสาขา (Chained Restaurant) เป็นหลัก ข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่าในช่วงปี 2555-2561 ยอดขายของร้านอาหารประเภทเชนในไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 9% ต่อปี ขณะที่การขยายสาขาเติบโตราว 8% โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายสาขาไปตามพื้นที่ค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเติบโตสูงกว่าร้านอาหารที่ไม่มีสาขา (Non-Chained Restaurant) ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้นราว 4% ต่อปี และมีจำนวนร้านขยายตัวเพียง 2% ต่อปี เมื่อดูประเภทร้านอาหาร พบว่าร้านจำกัดการให้บริการ (Limited Service) อย่างรูปแบบการสั่งอาหารที่เคาน์เตอร์และลูกค้าบริการตัวเองหรือมีพนักงานมาเสิร์ฟ เป็นรูปแบบที่ขยายตัวดี เนื่องจากตอบโจทย์ทั้งความรวดเร็ว ลดจำนวนพนักงาน และโต๊ะอาหารมีจำนวนรอบหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาร้านในรูปแบบนี้ ซึ่งแต่เดิมส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหาร Fast Food ประเภทเบอร์เกอร์ แต่ปัจจุบันร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านเบเกอรี่ ก็ได้พัฒนารูปแบบเป็น Limited Service มากขึ้นด้วยเช่นกัน

คาเฟ่กาแฟ-ชานมไข่มุกครองเมือง
ขณะที่ร้านคาเฟ่เป็นอีกหนึ่งตลาดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะร้านกาแฟและชาไข่มุก จากกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2555-2561 กลุ่มเชนร้านกาแฟเติบโตถึง 20% ต่อปี จากการขยายสาขาของแบรนด์ขนาดใหญ่ ซึ่งหลายแบรนด์ใช้กลยุทธ์ขยายสาขารูปแบบแฟรนไชส์ จึงขยายสาขาได้เร็วและกระจายในหลายพื้นที่ อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจคือการกระจาย Segment เพื่อเจาะผู้บริโภคหลายกลุ่ม ด้วยการแตกแบรนด์ออกมาเป็นกลุ่ม Mass และพรีเมียม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในแต่ละทำเล ในส่วนของตลาดชานมไข่มุก อีกธุรกิจที่น่าจับตามองจากกระแสความนิยมในปัจจุบัน ส่งผลให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาแข่งขันกันอย่างต่อเนื่อง แต่ที่ต้องจับตามองเทรนด์การบริโภคชานมไข่มุกนั้น มีโอกาสเป็นกระแสความนิยมในระยะสั้น อีกทั้งยังเป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มี Brand Loyalty มากนัก ดังนั้นการแข่งขันในระยะต่อไป หากผู้ประกอบการยังไม่มีจุดแข็งของแบรนด์หรือสร้างความแตกต่างก็มีโอกาสที่จะไม่สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว
Grocery Store คู่แข่งที่ไม่ควรมองข้าม
ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารกำลังแข่งขันรุนแรงขึ้น Grocery Store โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ก็เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดร้านอาหารไปบางส่วนด้วย จากการเพิ่มสัดส่วนของอาหารพร้อมทาน รวมทั้งพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ อย่างการเพิ่มโซนทานอาหาร บริการอาหารปรุงสด รวมถึงมุมกาแฟ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เร่งรีบ ข้อมูลของ Euromonitor พบว่าในช่วงปี 2556-2561 ยอดขายในส่วนของการให้บริการอาหารของร้านสะดวกซื้อในไทย ขยายตัวถึง 14% ต่อปี เติบโตเร็วกว่ายอดขายของร้านอาหารประเภทเบอร์เกอร์ ที่มีอยู่ราว 11% ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่าร้านสะดวกซื้อตอบโจทย์พฤติกรรมการบริโภคยุคใหม่ จากการมีอาหารสำเร็จรูปให้เลือกหลากหลาย ซึ่งสัดส่วนของสินค้าประเภทอาหารในร้านสะดวกซื้อรายหลักก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 50-70% ของสินค้าทั้งหมด ขณะเดียวกันซูเปอร์มาร์เก็ต ยังนำเอาร้านอาหารมาไว้ภายในที่เรียกว่า Grocerant ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นอีกด้วย

เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารมาแรงในปี 2562
ด้วยรูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดเทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตาเกิดขึ้นในปี 2562 อย่าง ร้านอาหารประเภท Fast Casual (ผสมระหว่าง Fast Food กับ Casual Dining) ที่ทั่วโลกมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น จากสถิติในสหรัฐฯ พบว่าในปี 2559 Fast Casual มีแนวโน้มขยายตัวเร็วกว่า Fast Food ประมาณ 8% และ 4% ตามลำดับ ด้วยความที่มีอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นร้านประเภทแซนด์วิช อาหารเม็กซิกัน และเบเกอรี ขณะที่ในไทยก็เริ่มได้รับความนิยม ซึ่งกลุ่มอาหาร Asian และเบเกอรี น่าจะที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการควรเน้นทำเลใกล้ออฟฟิศหรือสถานศึกษา ชูจุดเด่นที่อาหารจานเร็วและมีคุณภาพ
ขณะที่ ร้านอาหารที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภค เป็นอีกเทรนด์ที่น่าสนใจ ด้วยเพราะการออกไปทานอาหารนอกบ้านของผู้บริโภคยุคใหม่ เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างประสบการณ์ ด้วยบรรยากาศที่แปลกใหม่ที่เป็นจุดขาย อย่างร้านอาหารประเภท Plant Based หรือ Local Ingredient รอบร้านเป็นสวนผัก หรือผลไม้ให้เลือกเด็ดวัตถุดิบมาทำเมนูต่างๆ หรือร้านอาหารในความมืด (Dine In The Dark) ที่ใช้ประสาทสัมผัสในการคาดเดาเมนูอาหาร นอกจากนี้ กระแสการท่องเที่ยว Food Experience ก็ส่งผลให้เกิดความนิยมในการไปตระเวนชิมร้านอาหารท้องถิ่น รวมถึง Street Food

อีกสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ Foodie Influencer และแพลตฟอร์มค้นหาร้านอาหาร มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหาร จากผลสำรวจอีไอซี พบว่า โซเชียลมีเดียและรีวิวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร 58% รองลงมา การบอกต่อ 23% และโฆษณาในสื่อ 9% สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของ Foodie Influencer มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับรีวิวร้านอาหารทั้งในแง่คุณภาพและบริการ ซึ่งแพลตฟอร์มรวบรวมร้านอาหารและมีรีวิว รวมถึงโปรโมชันส่วนลด ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นเดียวกับโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Instagram ที่เป็นช่องทางสำคัญที่ร้านอาหารใช้ในการโปรโมทร้าน
การสั่งอาหารออนไลน์ ช่องทางสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม จากมูลค่าตลาด Food Delivery ที่ขยายตัวต่อเนื่องราว 10% ต่อปีในช่วงปี 2556-2561 จากการเทคโนโลยี และพัฒนาแอปฯ ส่งอาหาร ซึ่งในปัจจุบันบางแพลตฟอร์มมี Active User มากกว่า 3 ล้านราย สะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย
แม้ว่าธุรกิจร้านอาหารยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ส่งผลให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ด้วยภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้มีผู้ที่เลิกกิจการไปเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่าในปี 2561 ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร เป็นกลุ่มที่มีการจัดตั้งใหม่สูงสุดเป็นอันดับ 3 จำนวน 2,058 ราย คิดเป็นสัดส่วน 3% ของธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั้งหมด แต่ขณะเดียวกัน ร้านอาหารยังเป็นธุรกิจที่มีการเลิกกิจการสูงที่สุดเป็นอันดับ 3 ด้วยจำนวน 566 ราย คิดเป็น 2% ของธุรกิจที่เลิกกิจการทั้งหมด
ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้จึงต้องมีความระมัดระวังพิจารณาเลือกทำเลที่เหมาะสม เน้นคุณภาพและบริการ ขณะเดียวกัน ต้องหาจุดขายที่สร้างความแตกต่าง และที่สำคัญคือการบริหารจัดการต้นทุนและสร้างความผูกพันของลูกค้าซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวต่อไป
คุณปราณิดา ศยามานนท์ - ผู้จัดการคลัสเตอร์บริการ EIC
“แม้ว่าธุรกิจร้านอาหารยังเติบโตได้ต่อเนื่อง แต่ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่ประสบความสำเร็จและเลิกกิจการเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้นการจะเข้ามาในธุรกิจนี้ต้องมีความระมัดระวัง พิจารณาเลือกทำเลที่เหมาะสม เน้นคุณภาพและบริการ สร้างความแตกต่างและที่สำคัญคือการบริหารจัดการต้นทุน ตลอดจนสร้างความผูกพันกับลูกค้าซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว”
(เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ BitBangkok.com)

อันดับ 5 การเปิดตัวอภิมหาโปรเจ็คท์ยักษ์ค้าปลีก 2 แห่งในปีนี้ 


Retail 24 Hours มาแรง! “สามย่านมิตรทาวน์” ดึงแบรนด์ใหญ่เปิด 24 ชม. รับ Sleepless Society โต
“สามย่านมิตรทาวน์” โครงการ mixed-use development ของโกลเด้นแลนด์ (บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ ประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นส่วนหนึ่งในอาณาจักรเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี) เปิดตัวโซนรีเทล 24 ชั่วโมง ด้วยการดึงแบรนด์ร้านอาหาร เครื่องดื่ม และบริการในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ธนาคาร เปิดร้านค้าให้บริการตลอดทั้งวันทั้งคืน หลังพบ Insight คนรุ่นใหม่มีไลฟ์สไตล์ยืดหยุ่น ไม่ชอบอ่านหนังสือที่บ้าน ชอบทำงาน-อ่านหนังสือตาม Co-Working Space, Coffee Café ใช้แม่เหล็ก “24 ชั่วโมง” ดึงคน-สร้างความต่างจากศูนย์การค้า การวาง Positioning ของตัวโครงการให้แตกต่างจากโครงการอื่นที่อยู่โดยรอบ 
ด้วยความที่ทำเลที่ตั้งของ “สามย่านมิตรทาวน์” ตั้งอยู่โซนสถาบันการศึกษาที่มีทั้งนักเรียน นักศึกษา และใกล้กับโซนช้อปปิ้งย่านสยามสแควร์ และติดกับออฟฟิศบิวดิ้งย่านสีลม และพระราม 4 ถ้านับจำนวนคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในย่านสีลม-สาทร ในพื้นที่สีลม มี Traffic ต่อวันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 171,351 คน และถ้านับรวมจำนวนคนที่ใช้เวลาเดินทางเข้ามาในย่านสีลม-สาทร ไม่เกิน 15 นาทีจากรัศมีโดยรอบของย่านนี้ อยู่ที่ 392,835 คนต่อวัน ขณะที่จำนวนคนที่อยู่ในภาคการศึกษาในโซนสีลม-สาทร อยู่ที่กว่า 76,000 คน ดังนั้นใน “โซนรีเทล” ในสามย่านมิตรทาวน์ จึงวางตำแหน่งเป็น “Urban Life Library” ภายใต้แนวคิด 24 ชั่วโมง เพื่อเจาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ นักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งผู้อยู่ในย่านสามย่าน และพื้นที่ใกล้เคียง มีพื้นที่ใช้ชีวิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากข้อมูลพบว่าคนที่ใช้บริการ กลุ่มใหญ่คือ นักศึกษา – คนทำงาน โดย Traffic หมุนเวียนเข้ามาในโครงการเรื่อยๆ จากนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเวลา 3.00 น. (ตีสาม) เป็นช่วง Low Traffic และเริ่มมีคนมาใช้บริการในช่วงหกโมงเช้า “จากการสำรวจภายใน 5 รัศมีกิโลเมตรโซน CBD เรายังไม่เจอ Retail 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นเรามองว่าด้วยความที่สามย่านมิตรทาวน์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ และยังเป็นจุดเชื่อมต่อของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน และการพัฒนาโครงการขึ้นจากรากฐานเดิมของความเป็นสามย่าน คือ แหล่งอาหาร และความรู้ ที่ไม่ได้มีส่วนผสมของ “แฟชั่น” เหมือนย่านสยามสแควร์ และราชประสงค์ บริษัทฯ จึงมองเห็นโอกาสในการนำสินค้า และบริการต่างๆ ด้วยการพัฒนาโซน 24 ชั่วโมง เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าที่แตกต่างจากในอดีต

การเปิดโซน 24 ชั่วโมง
ภายในโซน 24 ชั่วโมง ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ ร้านอาหาร (Dining) / ร้านค้า (Shopping) / ธุรกิจบริการ (Service) / พื้นที่รองรับไลฟ์สไตล์ (Space Service) บนพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร ครอบคลุมทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหาร, สถาบันทางการเงิน, บริการจัดส่งพัสดุ Co-Working Space, ร้านจำหน่ายสินค้าสไตล์ญี่ปุ่น, ร้านบอร์ดเกม เพื่อต้องการเป็น “24 ชั่วโมง Destination”
(เครดิตข้อมูลและภาพจากเพจ MarketingOops.com,และ Kapook.com)


เซ็นทรัลพัฒนา แตกแบรนด์ศูนย์การค้าใหม่ “เซ็นทรัล วิลเลจ” บนที่ดิน 100 ไร่ ถนนทางเข้าสุวรรณภูมิ ฝั่งบางนา-ตราด มูลค่าโครงการ 5 พันล้าน รวมสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลก 235 แบรนด์ เจาะกลุ่มทั้งไทยและเทศ เปิดให้บริการไตรมาส 3 ปี 2562
เมื่อวันที่(24 เม.ย.) น.ส.วัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและโครงการ พร้อมด้วย นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวเปิดตัวศูนย์การค้าเซ็นทรัล วิลเลจ (Central Village) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 100 ไร่ บริเวณถนนทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้านถนนบางนา-ตราด (ขาเข้าเมือง) ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ห่างจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 10 นาที มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยมีกำหนดเปิดให้บริการในไตรมาส 3 ปี 2562
สำหรับโครงการดังกล่าว มีพื้นที่โครงการ 40,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย ร้านค้าระดับลักชูรี่แบรนด์จากทั่วโลกกว่า 235 ร้านค้า ครอบคลุมสินค้าหลากหลาย ตอบสนองความต้องการทุกเพศ ทุกวัย ทุกสัญชาติ ราคาที่มาพร้อมกับส่วนลด 35-70% ในทุกวัน รวมทั้งร้านอาหาร จุดบริการนักท่องเที่ยว เพลย์กราวนด์ โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ต กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนไทย 65% และชาวต่างชาติ 35% ที่ชอบสินค้าแบรนด์เนมในราคาที่คุ้มค่า และเป็นจุดเช็คอินที่นักท่องเที่ยวต้องแวะช้อปทุกครั้งก่อนเข้าเมืองหรือก่อนเดินทางกลับเข้าสนามบิน
จุดเด่นของเซ็นทรัล วิลเลจ คือ ความหลากหลายของลักชูรี่แบรนด์ ทั้งไทยและเทศกว่า 235 แบรนด์ ทั้งแฟชั่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัว ของเล่น อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน รวมทั้งลักชูรี่แบรนด์จากกลุ่มเซ็นทรัล ประกอบกับราคา ด้วยส่วนลด 35-70% ที่มีทุกวัน ถูกกว่า และไม่ต้องรอฤดูกาลลดราคา หรือไปช้อปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีบริการหลากหลายครบวงจรเทียบเท่าศูนย์การค้า และทำเลที่ตั้งใกล้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีผู้โดยสารกว่า 55 ล้านคน ทั้งนี้ เรากำลังสร้างแพลตฟอร์มใหม่ที่จะตอบโจทย์กลุ่มคนรักสินค้าแบรนด์เนม จากกำลังซื้อที่สูงขึ้นของกลุ่ม Young Affluent ที่มีอายุไม่มากนัก ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะเป็นนักช้อปที่ฉลาด ชอบซื้อสินค้าที่มีคุณภาพคุ้มราคา ต้องการมอบรางวัลให้ตนเอง และแสดงสถานะของตนเองในสังคม นอกจากนี้ ได้ตั้งเป้าให้มีแบรนด์ไทย เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยในระดับนานาชาติ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในไทย 65% และนักท่องเที่ยว 35% จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่มีการใช้จ่ายสูงระหว่างเดินทาง รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มเออีซี  (เครดิตข้อมูลและภาพจาก MGR online)

บทวิเคราะห์และเรียบเรียงโดย เพจหยิกแกมหยอก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น