เหตุการณ์ที่เจ้าพ่อเพลงร็อคบ้านเรา อย่างเสก โลโซ เกิดมรสุมชีวิต งานเข้าในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กลายเป็น talk of the town กันไปร่วมอาทิตย์นึง สาเหตุที่มาที่ไปและเรื่องราวเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่านคงพอจะรับทราบจากทางสื่อทุกประเภทดีอยู่แล้ว ผู้เขียนคงไม่ขอกล่าวถึงอีก แต่จากเหตุการณ์เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนคิดไปถึง ภ.ฮอลลีวู้ดเรื่องนึงที่เคยโด่งดังมากขึ้นมา และเป็นที่กลาวขวัญถึงทั้งในแง่นักวิจารณ์ และสายหนังอินดี้หรือหนังแนวล่ารางวัล เรื่องนั้นก็คือ Trainspotting จึงอยากหยิบเอาประเด็นของหนังเรื่องนี้มานำเสนอ ซึ่งก็เข้ากับสถานการณ์ของศิลปินร็อคท่านนั้นได้เป็นอย่างดี
ใบปิดของหนังเรื่อง Trainspotting มีคำโปรยว่า “เลือกชีวิต เลือกงาน เลือกบ้าน เลือกประกันสุขภาพฟัน เลือกชุดลำลองที่เข้ากันกับกระเป๋า เลือกอนาคต แต่ทำไม คนทุกคนถึงต้องทำแบบนั้นด้วยเล่า” นั่นเป็นประโยคเปิดหัวเรื่องของตัวละครเอกของเรื่องในหนัง ซึ่งตั้งคำถามถึงชีวิตในรูปแบบที่เขาไม่ต้องการจะเป็นและมี พร้อมๆ กับที่ขณะเดียวกัน เขาก็หันเข้าหายาเสพติด ทำให้การฉีดยาเข้าเส้นเลือดเป็นหลักชัยของการเกิดมาบนโลกใบนี้
เหตุการณ์ของหนังเรื่องนี้จะเกิด ณ กรุงเอดินเบิร์ก ประเทศสก็อตแลนด์ หนังเล่าเรื่องชีวิตของ มาร์ค เรนตัน หรือ เร้นท์และบรรดาเพื่อนสุดเพี้ยนร่วมแก็งค์ของเขา ไล่ตั้งแต่ ซิกบอย คนบ้าหนัง, คนที่ดูจะเลื่อนลอยอยู่ตลอดเวลาอย่างสปั๊ด, นักฟุตบอลอย่างทอมมี่ และอันธพาลอย่าง ฟรานซิส เบ็กบี้ (คนนี้ไม่ติดยาแต่เสพการทำร้ายผู้คนแทน) เรนตันและเพื่อนๆ ของเขาตัดสินใจที่จะเลิกยา ซึ่งพวกเขาก็ทำได้สำเร็จ หันมาใช้ชีวิตอย่างคนปกติทั่วไป เรนตันพบว่าเขาพลาดสิ่งสำคัญไปอย่างหนึ่งนั่นก็คือ “เซ็กส์” ว่าแล้วเขาก็ออกไปแสวงหาจนได้พบสมใจ แต่พอรุ่งเช้า เรนตันก็พบว่า ไดแอน หญิงสาวที่เขานอนด้วยเมื่อคืนนั้นเป็นเพียงผู้เยาว์ อีกทั้งเพื่อนๆ ก็เผชิญกับปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้หญิงเช่นกัน พวกเขาเลยตัดสินใจที่จะกลับมาเสพยาอีกครั้ง และเพื่อให้มีเงินมาเสพยาอีกครั้ง และเพื่อให้มีเงินมาซื้อเฮโรอีน เรนตันกับสปั๊ดจึงคิดสั้นร่วมกันขโมยของจากร้านค้า แต่ก็ไปไม่รอด ทั้งคู่ถูกจับ สปั๊ดติดคุกขณะที่เรนตันให้รอลงอาญา วันเดียวกับที่ฟังคำพิพากษาจากศาล เรนตันเกือบตายเพราะเสพยาเกินขนาด พ่อแม่เขาจึงไม่มีทางเลือกจำต้องขังลูกชายของเขาไว้ เพื่อให้เลิกยาแบบหักดิบ ซึ่งก็สำเร็จ เรนตันไป เริ่มต้นชีวิตใหม่ที่กรุงลอนดอน และดูเหมือนจะไปได้ด้วยดี แต่แล้วเมื่อเบ็กบี้มาเยี่ยมเยียน เรื่องราวต่างๆ ก็ทำท่าว่าจะย่ำแย่ลงไปอีกครั้ง
ที่มาของชื่อเรื่อง Trainspotting นั้นปรากฏอยู่ในตัววรรณกรรม แต่ไม่ถูกนำมาบอกเล่าในหนัง กล่าวคือ ขณะที่เรนตันและเบ็กบี้ ไปเข้าห้องน้ำที่สถานีรถไฟ พวกเขาก็พบกับชายแก่คนหนึ่งที่กำลังเมามาย ซึ่งถามคนทั้งสองว่าเป็นคนที่สนใจในเรื่องราวของรถไฟรึเปล่า (Trainspotter หรือ Railfan) ทั้งสองเดินจากมา และเรนตันก็รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว ชายขี้เมาคนนั้นเป็นพ่อของเบ็กบี้เอง
บทเกริ่นนำ(อารัมภบท) ในหนังสือนวนิยายที่ชื่อ Trainspotting
ประวัติความเป็นมาของผู้เขียน เออร์วิน เวลช์ (Irvine Welsh) เกิดที่มูร์เฮ้าร์ส นอกเขตเมืองเอดินเบิร์ก ในปี 1961 ท่ามกลางความทุกข์ยากจากภาวะเศรษฐกิจขาลง ก่อให้เกิดความแร้นแค้น และภาวการณ์ว่างงานในทุกเขตพื้นที่ ชีวิตของเวลช์ระหกระเหินเดินทางอยู่แทบจะตลอดเวลา ผ่านประสบการณ์มาแล้วทุกสาขาอาชีพ ตั้งแต่การเป็นช่างซ่อมทีวี พนักงานเสิร์ฟ นักดนตรี ดีเจ จนกระทั่งในที่สุด เขาก็ได้ค้นพบเส้นทางที่ตนเองปรารถนา เส้นทางนั้นคือ การมุ่งมั่นที่จะเป็นนักเขียน
เออร์วิน เวลช์ เริ่มต้นงานเขียนของเขาด้วยการส่งเรื่องสั้นไปยังสนามต่างๆ ในนิตยสารแทบจะทุกเล่มที่รับงานของนักเขียนสมัครเล่น เพียงไม่นานทุกสนามต่างถูกเขายึดหัวหาดได้ในเวลาที่แทบจะพร้อมกัน เวลช์กลายเป็นนักเขียนเรื่องสั้นขาประจำสำหรับสนามหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร Rebel Inc., Edinburgh Magazine, West Coast Magazine ฯลฯ เรื่องสั้นของเขาต่างได้รับการกล่าวขวัญถึงเป็นอย่างดี
ความสำเร็จครั้งสำคัญของเวลช์เกิดขึ้นในปี 1993 เมื่อนวนิยายเรื่องแรกที่ชื่อ Trainspotting ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ด้วยการเป็นนวนิยายที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและทรงพลังอย่างที่สุดในการวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไปในสังคมและวาทกรรมแห่งชีวิต เพียงไม่นาน นวนิยายเรื่องนี้ก็เข้ายึดกุมหัวใจคนหนุ่มสาวจำนวนมากทั่วโลก Trainspotting ถูกคัดเลือกให้เข้าสู่รอบสุดท้ายในการพิจารณาให้รางวัลบุ๊คเคอร์ไพรซ์ (Booker Prize) พร้อมๆกับทำรายได้ถล่มทลายด้วยยอดขายกว่า 5 ล้านเล่ม ก่อนจะลงเอยขยายฐานความสำเร็จไปสู่ภาพยนตร์ เมื่อนวนิยายเรื่องแรกของเขาเรื่องนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน และประสบความสำเร็จทั้งในแง่คุณภาพและรายได้ไม่ต่างกัน
เวลช์มีผลงานตามมาอีกหลายเรื่องและหลากหลายประเภท ทั้งรวมเรื่องสั้น,เรื่องสั้นขนาดยาว บทละครและนวนิยาย ผลงานแต่ละชิ้นต่างได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี ทั้งนี้ผลงานที่น่าจับตามองได้แก่ งานรวมเรื่องสั้นในยุคแรกๆที่มีชื่อว่า The Acid House(1994) และ Glue(2001) นวนิยายที่วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไปของยุคสมัยและช่วงวัยของผู้คน ก่อนจะกลับมาใช้ตัวละครชุดเดิมอีกครั้ง ในนวนิยายที่เป็นภาคต่อของ Trainspotting ซึ่งมีชื่อว่า Porno ปัจจุบันเออร์วิน เวลช์ ใช้ชีวิตอยู่ในลอนดอน เพื่อสร้างสรรค์งานเขียนอย่างตั้งอกตั้งใจ และมีผลงานตามออกมาอีก
ย้อนไปในปี 1997 ความพยายามที่จะลงหลักปักฐานให้กับชีวิตอันลุ่มๆ ดอนๆ บนความใฝ่ฝันที่จะทำมาหากินในอาชีพนักเขียนนวนิยายของเออร์วิน เวลช์ ก็จบลงตรงที่นวนิยายเรื่องหนึ่งซึ่งรวมเอาประสบการณ์ผ่านบันทึก และเรื่องสั้นมากมายที่ได้รับการตีพิมพ์มาก่อนหน้า ผสานรวมกันเป็นนวนิยายเรื่องหนึ่งเรื่องเดียวที่มีความเป็นเอกภาพและมีอัตลักษณ์ตามแบบอย่างของวรรณกรรมร่วมสมัย ทุกอย่างต่างรวมกันอยู่ในนวนิยายที่ได้รับการยกย่องอย่างไม่กลัวหน้าแตกจากนิตยสาร Rebel Inc. ว่า “สมควรจะขายดีกว่าไบเบิ้ล” เรื่องนี้ นั่นคือจุดเริ่มต้นในปรากฏการณ์ความโด่งดังของ Trainspotting
เวลช์ เริ่มต้นนวนิยายเรื่องแรกของเขาด้วยการตีแผ่ความเป็นไปของวิถีชีวิตของคนชายขอบในสก็อตแลนด์ยุคร่วมสมัย ก่อนจะขยายและกินความเลยไปถึงความเป็นไปของโลกที่หลงใหลในค่านิยมจอมปลอม ภาวะการหลอนและลวงตัวตนของคนยุคปัจจุบัน การยึดติดกับรูปธรรมอันไม่จริง ตลอดจนภาวะ ”ติดกับ” ที่จุดศูนย์องศาของการมีชีวิต ทุกอย่างถูกร้อยเรียงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างจริงจังด้วย กลวิธีและท่าทีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เผ็ดร้อน รุนแรง เหน็บแนม เสียดสีหยิกกัด และแดกดันอย่างชนิดที่เรียกว่า “เอาเป็นเอาตาย” ผลลงท้ายแม้มิใช่ยอดขายที่เกินหน้าไบเบิ้ล แต่ทว่า มันก็ขายดิบขายดีเป็นปรากฏการณ์ และจากการเข้าถึงสภาวะความเป็นไปและสภาวะจิตใจของผู้อ่านอย่างลึกซึ้ง ส่งผลให้ Trainspotting กลายเป็นนวนิยายที่ได้รับการจับตามองเพียงชั่วข้ามคืน กระนั้น ในแง่คุณภาพงาน นวนิยายที่ว่าด้วยพฤติกรรมแปลกประหลาดของก๊วนขี้ยาแห่งย่านลีทธ์ เมืองเอดินเบิร์กเรื่องนี้ ก็มีคุณสมบัติความโดดเด่นไม่แพ้กัน เมื่อ Trainspotting สร้างข้อพิสูจน์ความเด่นล้ำของตัวเองด้วยการทะยานไปสู่การช่วงชิงรางวัลบุ๊คเคอร์ ไพรซ์ ในรอบ 5 เล่มสุดท้ายอย่างเต็มภาคภูมิ นวนิยายเรื่องนี้จึงถึงพร้อมไปด้วยการเข้าถึงผู้คนกลุ่มใหญ่ กับคุณภาพในตัวมันเองที่ไม่เป็นสองรองใคร
สิ่งทั้งหมดข้างต้นล้วนเกิดขึ้นก่อนที่ตัวละคร สถานการณ์ และบางประเด็นความคิดจะได้รับการถ่ายทอดสู่แผ่นฟิล์ม ดังนั้นอย่าแปลกใจ ถ้าตัวหนังกับนวนิยายจะมีหลายๆ ส่วนหลายๆ สิ่งที่แตกต่างกัน
(ถอดความบางส่วนจากบทความ Trainspotting จะเลือกหรือไม่ ,พรทิพย์ แย้มงามเหลือ, Entertrend, Bizweek :; Trainspotting ฉบับแปลไทยโดย วิภาศิริ ฮวบเจริญ ,สนพ.Blackberry Publishing )
ประวัติและผลงานของผู้กำกับ
Daniel "Danny" Boyle (born 20 October 1956) is an English filmmaker and producer. He is best known for his work on films such as Slumdog Millionaire, Shallow Grave, 127 Hours, 28 Days Later, Sunshine and Trainspotting. For Slumdog Millionaire, Boyle won numerous awards in 2008, including the Academy Award for Best Director. Boyle was presented with the Extraordinary Contribution to Filmmaking Award at the 2008 Austin Film Festival, where he also introduced that year's AFF Audience Award Winner Slumdog Millionaire. On 17 June 2010, it was announced that he will be the Artistic Director for the 2012 Olympic games opening ceremony.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น