วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เจ้าพ่อเพลงโรแมนติก ตอนที่ 4 (ศิลปินที่ชื่อ ต.)

เศรษฐา ศิระฉายา (อาต้อย) เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487  เป็นพิธีกร นักแสดงชื่อดัง และนักร้องนำวงดิอิมพอสซิเบิ้ล จบมัธยมปลายจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เศรษฐา ศิระฉายา เคยสมรสกับแอร์โฮสเตส ปัจจุบัน สมรสกับ อรัญญา นามวงศ์ มีบุตรสาว ชื่อ พุทธธิดา หรือน้องอิ๊ฟ เคยทำธุรกิจร้านขายหอยทอดร่วมกับภรรยา ที่ศูนย์อาหาร ศูนย์การค้ามาบุญครองตั้งแต่ศูนย์การค้าเริ่มเปิดดำเนินการใหม่ๆ ปัจจุบันเป็นผู้สร้างละครโทรทัศน์ในสังกัดช่อง 3 เริ่มก่อตั้งวงหลุยส์กีต้าร์เกิร์ล และก่อตั้งวงดนตรี Holiday J-3 ร่วมกับ วินัย พันธุรักษ์,พิชัย ทองเนียม,อนุสรณ์ พัฒนกุล และสุเมธ อินทรสูต ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น Joint Reaction และเปลี่ยนอีกครั้งในชื่อ The Impossibles ดิอิมพอสซิเบิ้ล ซึ่งเป็นชื่อการ์ตูนชื่อดังของอเมริกาในสมัยนั้น เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เป็นวงดนตรีระดับตำนาน และเป็นวงดนตรียุคบุกเบิก ในยุค 60 ทั้งยังเป็นวงดนตรีต้นแบบและเป็นแรงบันดาลใจให้กับวงดนตรีรุ่นหลังต่อ ๆ มามากมาย

วงดิอิมพอสซิเบิ้ล หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ดิอิม เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆ ของไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 มีสมาชิกรุ่นแรกประกอบด้วย วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา ใช้ชื่อวงว่า Holiday J-3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น จอยท์ รีแอ็กชั่น เล่นดนตรีเพลงสากลที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงของคลิฟ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ บางเพลงนำทำนองเพลงต่างประเทศที่เป็นที่นิยม มาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับวงอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เช่น ซิลเวอร์แซนด์ รอยัล สไปรท์ส เล่นดนตรีตามไนท์คลับต่างๆ

วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เข้าร่วมการประกวดวงสตริงคอมโบ จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีติดต่อกัน ในปี(2512,2513,2515) วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เปลี่ยนชื่อเป็น ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ชื่อนี้ตั้งโดยเศรษฐา ตามชื่อภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ จากสหรัฐอเมริกา คือเรื่อง The Impossibles (1966) ช่วงหลังจากชนะเลิศในปีแรก ความนิยมได้พุ่งสูงอย่างมากมาย วงดิอิม ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมแสดงและบรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน (เพลงเริงรถไฟ ชื่นรัก ปิดเทอม) ของผู้กำกับเปี๊ยก โปสเตอร์ ทำให้ดิอิมได้รับความสำเร็จอย่างท่วมท้น ในขณะเดียวกันก็เกิดความเปลี่ยนแปลง สุเมธ แมนสรวง ได้ลาออกไป และได้สิทธิพร อมรพันธุ์ จากวงฟลาวเวอร์กับ ปราจีน ทรงเผ่า จากวงเวชสวรรค์ ได้เข้าร่วมวงแทน ระยะเวลานั้นดิอิม เล่นประจำอยู่ที่ศูนย์การค้าเพลินจิต แห่งเดียว ส่วนการแสดงตามโรงภาพยนตร์ในรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ไทย หรือการแสดงในรอบเช้า 6.00 นาฬิกา ร่วมกับการฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในยุคนั้น (ภาพยนตร์ไทยเรื่อง เก๋า..เก๋า พ.ศ. 2549 ได้นำเสนอบรรยากาศของเรื่องการแสดงรอบเช้าของดิอิมด้วย ถึงจะไม่เหมือนไปทุกอย่าง แต่ก็ทำได้ใกล้เคียงและทำให้เห็นบรรยากาศในยุคนั้นได้ดีทีเดียว) ได้รวมถึงการแสดงตามเวทีลีลาศทั้งที่สวนลุมพินี สวนอัมพร ซึ่งมีขึ้นประจำทุกวันศุกร์หรือเสาร์ ช่วงปี 2511-2515 กลายเป็นปีทองของวงดิอิมอย่างแท้จริงราวปี พ.ศ. 2516-2518

ดิอิมพอสซิเบิ้ล มีชื่อเสียง และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ผลงานแผ่นเสียงขายดีที่สุดในยุคนั้น ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในกลางปี 2515 ดิอิมพอสซิเบิ้ล ได้รับทาบทามให้ไปทำการแสดงที่มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ได้เพิ่มยงยุทธ มีแสง ทรัมเป๊ตจากวงวิชัย อึ้งอัมพร ร่วมวงไปด้วย ตลอดเวลา 1 ปีใน ฮาวาย ดิอิมพอสสิเบิลส์ได้รับความนิยมและความสำเร็จมากมาย เป็นวงดนตรีแรกที่ทำสถิติยอดขายต่อคืนสูงสุดตั้งแต่เปิดทำการของคลับที่แสดงอยู่ชื่อ ฮาวายเอี้ยนฮัท โรงแรมอลาโมอานา (ที่มีศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน) ดิอิมซ้อมนักมาก พิชัย ทองเนียม มือเบส ขอลาออก เศรษฐาต้องไปเล่นเบส ทำให้ไม่สะดวกในการร้องนำ จึงทำให้เกิดความคิดที่จะเรียกเรวัติ พุทธินันท์(เต๋อ) นักร้องนำวงเดอะแธ้งค์ ซึ่งเคยเล่นสลับที่อิมพอสสิเบิลส์คาเฟ่มาเป็นนักร้องนำแทนเศรษฐา ช่วงที่เต๋อเข้ามาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นของการบรรเลง โดยได้เน้นเพลงที่มีเครื่องเป่ามากขึ้น และเป็นเพลงที่เหมาะกับการเต้น เช่นเพลงของวง Tower of Power เป็นต้น ขณะที่แสดงที่นั้นได้มีนักร้องศิลปินดัง ๆ ของโลกมาเปิดการแสดงที่ฮาวาย ทำให้วงดิอิม ได้ใช้ประสบการณ์ในการเข้าชมศิลปินดัง ๆ เหล่านี้มาปรับปรุงการแสดงของวงให้พัฒนาขึ้นตลอดเวลา

ดิอิมหมดสัญญาที่ฮาวายในเดือนสิงหาคม 2516 และได้เดินทางกลับเมืองไทยพร้อมกับผู้จัดการวงใหม่ ชื่อจรัล นันทสุนานนท์(ปัจจุบัน ดร.พุทธจรัล) เพื่อให้มีการจัดการวงในรูปแบบสากลอย่างมีระบบ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2516 หลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ดิอิม ได้เข้าทำการแสดง ณ เดอะเดนไนท์คลับ โรงแรมอินทรา ประตูน้ำเป็นเวลา 6 เดือน และที่เดอะเดนนี้เอง ดิอิม ได้สร้างระบบใหม่ในการเข้าชมของวง โดยมีการเก็บค่าชม ก่อนการเข้าไปในคลับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของเมืองไทยและวงดนตรีไทย ในช่วงนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ได้สมชาย กฤษณเศรณี(ปึ๊ด) มาเล่นเบสแทนเศรษฐา และปรีด์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา(เปี๊ยก)มาเล่นกลองแทนอนุสรณ์ พัฒนกุล ได้ให้เรวัติเป็นนักร้องนำและเล่นออร์แกน เศรษฐาได้กลับไปเป็นนักร้องนำตามเดิม

การเดินทางเริ่มขึ้นอีกครั้งหลังหมดสัญญาที่เดอะเดน วงดิอิมได้รับการติดต่อไปแสดงในประเทศแถบสแกนดิเนียเวีย เริ่มจากสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ตั้งแต่เดือน มิถุนายนถึงธันวาคม 2517 จากนั้นกลับเมืองไทย และเปลี่ยนมือเบส ไพฑูรย์ วาทยะกร เข้ามาแทนสมชาย เดือนมิถุนายน ไปยุโรปอีกครั้ง เริ่มที่สวีเดน ฟินแลนด์ ข้ามไปสวิตเซอร์แลนด์ กลับมาสวีเดนอีกและไปจบที่สวิสในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 กลับเมืองไทย เล่นที่โรงแรมมณเฑียรเหมือนเดิม

ในปี 2518 ระหว่างการกลับไปตระเวณแสดงในยุโรปครั้งที่ 2 ดิอิมพอสสิเบิ้ล ได้ทำการบันทึกเสียงเพลงสากลเป็นครั้งแรกของวง ในชื่ออัลบั้ม Hot pepper  หลังจากนี้ได้ว่าเกือบเป็นปลายยุคของวง ได้มีการประชุมตกลกที่จะยุบวง หลังจากวงมีอายุรวมกันมาถึง 9 ปี มีการแถลงข่าวยุบวงอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชนช่วงเดือนเมษายน 2519 หลังจากนั้นได้เดินทางไปเล่นที่โรงแรมมาเจสติค กรุงไทเป ไต้หวัน โดยทำสัญญาเดือนต่อเดือน พอเริ่มทำงานหมดเดือนแรก เรวัติออกไปก่อน และได้เดินทางไปทำงานที่สวีเดน 3 เดือน ในไต้หวันทำงานค่อนข้างหนัก เพราะต้องแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน (1 มิถุนายน-4 กันยายน 2519) หลังกลับเมืองไทยดิอิมได้แสดงในช่วงสุดท้ายที่คลับโรงแรมแมนฮัตตัน ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ และที่เดอะฟ๊อกซ์ ชั้นใต้ดินศูนย์การค้าเพลินจิต โดยทำการแสดงคืนละ 3 แห่ง ในราวเดือนตุลาคม 2519 ก็ได้หยุดทำการแสดงอย่างเป็นการถาวรในนาม ดิอิมพอสซิเบิ้ล วงดนตรีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตำนานของวงดนตรีสากลแบบสตริงคอมโบ วงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นของประเทศไทยต่อมาในช่วงพ.ศ. 2533ทางวงได้กลับมาออกอัลบั้มอีกครั้งกับนิธิทัศน์โปรโมชั่น โดยเป็นการนำเอาเพลงยอดนิยมมาออกใหม่

อัลบั้มอย่างเป็นทางการ ได้แก่ อัลบั้ม เป็นไปไม่ได้ (2515) หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (2516) Hot pepper(2519) กลับมาแล้ว (2535)
หลังยุบวงดิอิมมีผลงานอัลบั้มเดี่ยวชุด“ผมไม่วุ่น”(ชื่อนี้มาจากการจัดจำหน่ายครั้งหลัง) ออกมาใน ปี พ.ศ. 2521 และอัลบั้ม“กลับมาแล้ว”(บันทึกเสียงใหม่) ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งวงดิอิมกลับมารวมตัวเป็นการเฉพาะกิจอีกครั้ง และได้ร่วมงานกับบอย โกสิยพงษ์ ทำซิงเกิ้ลพิเศษที่ชื่อ "เหมือนเคย"


เรวัติ พุทธินันทน์ (พี่เต๋อ) นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ ผู้บริหาร เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์หรือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ร่วมกับคุณไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เมื่อ พ.ศ. 2526 เต๋อ เรวัติ เป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งวงการเพลงไทย เป็นโปรดิวเซอร์ นักดนตรี นักแต่งเพลงในตำนาน เป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทยให้ไปสู่ยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง และผู้ริเริ่มความทันสมัยของดนตรีสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย เป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงสตริงอันทันสมัยให้กับการเพลงไทย ผู้นำแนวเพลง ร๊อค ป๊อบ แดนซ์ โมเดิร์นแจ๊ส ฟังค์ ฯลฯ เข้ามาเป็นที่นิยมในไทย เป็นผู้มีคุณูปการ มหาศาลแก่วงการเพลงไทย เป็นผู้ปลุกปั้นศิลปินให้มีชื่อเสียง อาทิ เบิร์ด นันทิดา แหวน ไมโคร ใหม่ คริสติน่า บิลลี่ นูโว เจ มอส ฯลฯ และได้รับการยอมรับ เป็นบุคคลตัวอย่าง แรงบันดาลใจให้กับนักร้องนักดนตรีของเมืองไทย มาจวบจนสมัยนี้

พี่เต๋อเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2491 ที่กรุงเทพ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของนาวาตรีทวีและนางอบเชย พุทธินันทน์ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล และจบปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชีวิตครอบครัว พี่เต๋อสมรสกับคุณอรุยา สิทธิประเสริฐ เพื่อนจาก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2517 มีบุตรสาวสองคนคือ สุธาสินี (น้องแพท) และสิดารัศมิ์ วาระสุดท้ายพี่เต๋อ ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง ได้เดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐอเมริกา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2539 รวม อายุ 48 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

พี่เต๋อหัดเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยบิดาบังคับให้เรียนแซกโซโฟน เขากับเพื่อนๆ โรงเรียนเซนต์คาเบรียลตั้งวงดนตรี ชื่อ Dark Eyes ต่อมาเปลี่ยนชื่อวงเป็น Mosrite และเข้าประกวดในงานของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ในปี พ.ศ. 2508 และ 2509 ขณะเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน พ.ศ. 2510 ได้ร่วมกับเพื่อนตั้งวง Yellow Red (เหลือง-แดง คือสีประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เพื่อนในวงคนสำคัญคือ ดนู ฮันตระกูล และจิรพรรณ อังศวานนท์

ต่อมาพี่เต๋อได้ร่วมกับเพื่อนจากธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งวง The Thanks รับแสดงตามงานต่างๆ เน้นดนตรีร็อค พี่เต๋อรับตำแหน่งร้องนำและตีกลอง เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งในนั้นก็คือ กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา วง The Thanks มีชื่อเสียงได้เล่นสลับกับวงดิอิมพอสซิเบิ้ล ตามไนท์คลับต่างๆ

หลังเรียนจบพี่เต๋อได้รับการชักชวนให้ร่วมวงดิอิมพอสซิเบิ้ล และเดินทางกับวงไปแสดงที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกาและยุโรป ในตำแหน่งนักร้องนำและเล่นคีย์บอร์ด เมื่อวงดิอิมพอสซิเบิลประกาศยุบวง เมื่อ พ.ศ. 2520 เขาตั้งวง โอเรียนเต็ลฟังก์ เล่นดนตรีฟังก์ ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์ เล่นประจำที่โรงแรมมณเฑียร และตระเวนเปิดการแสดงในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในระหว่างนั้น พี่เต๋อได้ศึกษาการเขียนเพลงและดนตรีเพิ่มเติม

ในปี พ.ศ. 2526 พี่เต๋อร่วมกับ เพื่อนจากจุฬาฯ ที่ชื่อไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม (หรืออากู๋) ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ เขาทำหน้าที่ดูแลด้านการผลิตเพลง ใช้เทคนิคการสร้างศิลปินแบบสากล คือขายทั้งความสามารถและภาพพจน์ ทำให้ผลงานของบริษัทประสบความสำเร็จแทบทุกชุด และเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน

ผลงานทางดนตรี ได้แก่ อัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน (2525) ร่วมกับวงคีตกวี (อนุวัฒน์ สืบสุวรรณ, จิรพรรณ อังศวานนท์, สุรสีห์ อิทธิกุล, กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา และ อัสนี โชติกุล) และโรงเรียนดนตรีศศิลิยะ (เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ และดนู ฮันตระกูล) อัลบั้มแรกเต๋อ 1 (2526) เต๋อ 2 (2528) เต๋อ 3 (2529) ชอบก็บอกชอบ (2530) อีกทั้งเป็น producer, executive producer ให้กับอีกหลายศิลปินในยุคแรกๆ จำนวนหลายคน อีกทั้งยังแต่งเพลงเอาไว้มากมาย


ต้อม  เรนโบว์ หรือพีระพงษ์  พลชนะ เป็นชาวจังหวัดนครพนม โดยกำเนิด จบการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดนครพนม หลังจากนั้นมาศึกษาต่อที่วิทยาลัยเทคนิคนครพนม ด้วยเป็นครอบครัวนักดนตรี คือ มีคุณพ่อเป็นนักดนตรี ทำให้ต้อมเรนโบว์ มีความสามารถในการเล่นดนตรีและร้องเพลงตั้งแต่สมัยมัธยม ต้อม  เข้ากรุงเทพฯ มาเป็นสมาชิกวงอินทนิล ที่เป็นวงดนตรีวงแรกของ บริษัทอาร์เอส เขาจึงถือว่าเป็นนักร้องรุ่นแรกๆของอาร์เอส พร้อมๆกับอ๊อด คีรีบูน อ๊อดบรั่นดี หลังวงอินทินล ยุบ ในปี 2528 ต้อม และเพื่อนที่เป็นคนนครพนม ด้วยกัน อย่างอุ๋น ทวี และเพื่อนจากอินทนิล คนอื่น อย่างป๋อง มาตั้งวงเรนโบว์ ตั้งแต่นั้นจนประมาณปี 2540 มีอัลบั้มเพลง อันโรแมนติคและคลาสสิค ประดับวงการบันเทิงของไทย หลายอัลบั้ม และมีเพลงที่บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์วงดนตรีไทย เช่น ลาจากเธอ ความในใจ จดหมายฉบับสุดท้าย อยากให้รู้ใจ ด้วยดวงใจ อย่าหวั่นใจ ขมิ้นกับปูน ใจเดียว ยังหวัง ขอแค่คิดถึง ช้ำเพื่อรัก ฯลฯ รวมไปถึงการนำเพลงเก่ามาร้อง ทำให้เพลงเก่ามีคุณค่า ทั้งเพลงสตริง  ลูกกรุง หรือลูกทุ่ง เช่น เพลงยากยิ่งนัก  สัญญาใจ  รักครั้งแรก ของชาตรี นักร้องรุ่นพี่ เพลงที่สุดของหัวใจ ของแจ้ ดนุพล รักฉันนั้นเพื่อเธอ ทำให้เพลงเก่าๆเหล่านี้มีชีวิตชีวา มีคุณค่าไม่เสื่อมคลาย และในปัจจุบัน ด้วยความที่ต้องการส่งเสริมและอนุรักษ์เพลงลาว ในฐานะที่ต้อม มีเลือดเนื้อเชื้อไขนครพนม ที่มีความผูกพันทางสายเลือดกับลาว และมีภรรยาเป็นคนลาว (ฝรั่งเศส) เขานำเพลงอมตะของลาว มาทำดนตรีและร้องใหม่ ทำให้เพลงดังกล่าว มีคุณค่าอีก แม้ต้อม  เรนโบว์ จะดูเหมือนจะห่างหายไปจากวงการดนตรีไทย  แต่เขาไม่เคยห่างหายไปจากเสียงเพลงและเสียงดนตรี แม้อายุจะมากขึ้น แม้จะไม่ได้อยู่เมืองไทย ดุจสายรุ้งที่ไม่มีวันสูญหายไปจากสายฝนและฟากฟ้า อันเป็นถ้อยคำ ที่แสดงออกถึงตัวตนแห่งความเป็นเรนโบว์

''เส้นทางนักร้องของพี่ต้อมคือการอยู่วง คือ เล่นดนตรีมาก่อน เป็นมือกีตาร์ ร้องเพลงยังไม่เก่งครับตอนนั้น เข้ามาในช่วงปี 2526 อยู่วงอินทนิล หลายท่านอาจจะลืมไปแล้ว อยู่กับอินทนิลมาชุดเดียวจนมา ปี 2527 ก็มาเป็น ''เรนโบว์'' ก็มีการเซ็นสัญญากับ บริษัท อาร์ เอส ที่ตอนนั้นใช้ชื่อว่าอาร์เอส ซาวน์ ก็อยู่มา จนตอนนี้ ปี 2553 รวมแล้วก็ 25-26 ปี อยู่มายาวนานจริงๆ เลยนะครับ สุดท้ายนี้บทบาทในการเล่นดนตรีลดน้อยลงมา ก็มาเอาดีทางร้องเพลง ก็มีหลายแนว หลายสไตล์ เพราะอยากเป็นคนร้องเพลงได้หลายแบบ ก็เลยมีอัลบั้มที่เป็นลูกทุ่งด้วยก็มี เพลงคู่ เพลงเก่า เพลงสุนทราภรณ์ เพลงอนุรักษ์เก่าๆ ก็ค่อนข้างเยอะครับ''

เรนโบว์ เป็นวงดนตรีชื่อดังในยุค 80 ถึงต้นยุค 90 ของ อาร์.เอส.โปรโมชั่น ซึ่งถูกก่อตั้งเมื่อปี 2528 โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงสมาชิกบางส่วนมาจากวง อินทนิล ซึ่งยุบวงไปก่อนหน้านั้น พร้อมทั้งโยกตำแหน่งเดิมของ ต้อม นักร้องรอง/มือกีต้าร์วง 'อินทนิล' แต่เดิม มาเป็นนักร้องนำหลัก/มือกีต้าร์ของวง โดยลดบทบาท ป๋อง นักร้องนำหลักคนเดิม ตั้งแต่สมัยวงอินทนิล เป็นคนร้องรอง โดยรับหน้าที่เล่นคีย์บอร์ดและกีต้าร์อีกด้วย แล้วเพิ่มสมาชิกใหม่เข้ามา 2 คน ได้แก่ พร และ อี๊ด ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกวงอินทนิลแต่เดิม ความแตกต่างของเรนโบว์ต่อวงสตริงอื่นๆ นั่นคือ การนำเสนอภาพลักษณ์ของ ต้อม นักร้องนำ/มือกีต้าร์ ที่วางตำแหน่งต่างออกไป และโดดเด่นเกินสมาชิกวงคนอื่น ทั้งการแต่งกาย การจัดตำแหน่งเวลาถ่ายรูป (ต้อมมักจะอยู่ข้างหน้า หรือ ถ่ายรูปเดี่ยวเสมอ) เนื่องด้วยทางอาร์เอส ต้องการปรับตำแหน่งของวงให้มีความแตกต่างจากวงสตริงวงอื่นในค่าย โดยใช้ระบบ 'สมาชิกคนหนึ่งเป็นตัวศูนย์กลางทุกอย่างของวง' ในการนำเสนอ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากวงดนตรีคณะ 'วิงส์ (Wings) ' ของ เซอร์.พอล แม็กคาร์ตนีย์ ซึ่งแม้จะมีสมาชิกโดดเด่นขึ้นมาหนึ่งคน แต่ทุกคนก็รวมกลุ่มในการเป็นวงดนตรี



ผลงานเพลงอัลบั้มเต็ม1.ช้ำเพื่อรัก (พ.ศ. 2528) 2.ความในใจ (พ.ศ. 2529) 3.ด้วยดวงใจ (พ.ศ. 2530) 4.ด้วยแรงรัก (พ.ศ. 2530) 5.รอบใหม่ (พ.ศ. 2531) 6.เพื่อนคนเก่า (พ.ศ. 2532) 7.ลัดฟ้ามากับรุ้ง (พ.ศ. 2533) 8.เมื่อความรักเดินทาง (พ.ศ. 2535) อัลบั้มรวมฮิต 1.ความทรงจำ 1-2 (พ.ศ. 2532) -รวมงานอัลบั้มห้าชุดแรก กับ งานเก่าสมัย อินทนิล พร้อมด้วยเพลงใหม่ "ใจเดียว" 2.ความสุขนับแสน (พ.ศ. 2535) -รวมงานอัลบั้มชุดแรก (ช้ำเพื่อรัก) จนถึงชุดที่ 7 (ลัดฟ้ามากับรุ้ง) ยกเว้นอัลบั้มชุดที่ 8 (เมื่อความรักเดินทาง) 3.รวมฮิตข้ามเวลา (พ.ศ. 2537) -รวมงานเพลงจากอัลบั้ม ข้ามเวลา 1-3 4.รวมฮิต 1-2 (พ.ศ. 2537) 5.Classic (พ.ศ. 2547) -รวมงานเพลงเกือบทุกชุดของทางวง รวมทั้งงานจากอัลบั้ม ข้ามเวลา 1-3, 6.1 เรนโบว์'นัส, คอรัส หัวใจสลาย 6.2 ทศวรรษ (พ.ศ. 2550) -รวมงานเพลงอัลบั้มหลักของทางวง และอัลบั้มระคน-ละคร ไม่รวมงานเพลงจาก ข้ามเวลา 1-3, เรนโบว์'นัส,คอรัส หัวใจสลาย อัลบั้มพิเศษ/อัลบั้มร้องเพลงไทยสากลเก่า 1.เรนโบว์พิเศษ ระคนละคร (พ.ศ. 2534) -เพลงละครโทรทัศน์2.ข้ามเวลา (พ.ศ. 2535) –เพลงสตริงเก่า 3.ข้ามเวลา 2 (พ.ศ. 2535) –เพลงสตริงเก่า 4.ข้ามเวลา 3 (พ.ศ. 2536) –เพลงสตริงเก่า 5.เรนโบว์'นัส (พ.ศ. 2537) -เพลงลูกกรุง+สุนทราภรณ์6.เรนโบว์คอรัส หัวใจสลาย (พ.ศ. 2538) -ต้อม ร่วมงานกับคณะประสานเสียง 'ซิตี้ คอรัส' โดยนำเพลงไทยในอดีตมาเรียบเรียงใหม่ผสมการร้องประสานเสียง


ชรัส เฟื่องอารมย์ (พี่แต๋ม) เกิดวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2494 จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี 28 ยังทำงานอยู่ที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาลุมพินี ชรัสเป็นนักร้องนักแต่งเพลงที่เป็น role model ช่วงแรกการนำเสนอผลงานเป็นการร่วมกัน ระหว่าง ชรัส และ แฟลช (วงของพนเทพ สุวรรณะบุณย์ โปรดิวเซอร์คุ่หูและศิลปินหลายท่าน อาทิ วิยะดา, กบ (ทรงสิทธิ์)) ออกผลงาน ผีเสื้อ แมลงปอ ในสังกัดรถไฟดนตรี ต่อมาออกผลงานกับ EMI โดยร่วมกับ ชลิต เฟื่องอารมย์ ในชุด ชรัสและคนแปลกหน้า ในปี 2528 nite spot ดึงตัวไปออกงานร่วมกับ มาลีวัลย์ เจมีน่า ชุด มาลีวัลย์และชรัส เป็นงานพ๊อพแจ๊ซ ชรัสกลับมาดังอีกครั้งเมื่อออกงานชุด ชรัสวันนี้ กับแกรมมี่ในปี 2529 เพลง ทั้งรู้ก็รัก แล้วจึงมาอยู่ ครีเอเทียอาร์ทติสท์ ในชุด เหงา เหงา ก็เอามาฝาก หลังจากนี้มีชุด ชรัส พักร้อน กับค่ายบายมี

ผลงานอัลบั้ม ได้แก่ แฟลช และ ชรัส เฟื่องอารมย์ (ปี 2524 สังกัด รถไฟดนตรี)ผีเสื้อ (ปี 2525 สังกัด รถไฟดนตรี)แมลงปอ (ปี 2526 สังกัด รถไฟดนตรี) คอนเสิร์ทของผู้ชายชื่อ ชรัส เฟื่องอารมย์ (ปี 2526 สังกัด EMI)ชรัส - ชลิต และคนแปลกหน้า (ปี 2527 สังกัด EMI)มาลีวัลย์ และ ชรัส (ปี 2528 สังกัด ไนท์สปอต) ชรัส วันนี้ (ปี 2529 สังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทรนเม้นต์) คืนรักที่อบอุ่น (ปี 2531 สังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทรนเม้นต์) เหงา เหงา ก็เอามาฝาก (ปี 2532 สังกัดครีเอเทีย อาร์ดิสก์) แม่ไม้เพลงไทย (ปี 2533 สังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทรนเม้นต์) เก็บรักที่ปลายใจ (ปี 2535 สังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทรนเม้นต์) วันที่รอ พ.ศ. ที่คิดถึง (ปี 2537 สังกัด พีจีเอ็ม) วันที่รอ พ.ศ. ที่คิดถึง (ปี 2537 สังกัด พีจีเอ็ม) เนคไท (ปี 2539 สังกัด เอ็มสแควร์) ชรัส พักร้อน (ปี 2540 สังกัด บายมี) คำอธิบาย (ปี 2541 สังกัด นีโอมิวสิก) ชรัสร่วมสมัย (ปี 2542 สังกัด แกรมมี่คิวเอ็กซ์) เพราะรัก...ฉันจึงมา (ปี 2547 สังกัด อาร์เอส โปรโมชั่น) เพลงรักเฟื่องอารมย์ (ปี 2548 สังกัด อาร์เอส โปรโมชั่น) Play On (ปี 2554 สังกัด รถไฟดนตรี)



อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข (แสตมป์) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 จบการศึกษาจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มสนใจงานเพลงเริ่มจากการสร้างสรรค์ผลงานเพลงประกอบละครเวทีสถาปัตย์ฯ และยังรวมตัวกับเพื่อนๆ ตั้งวงดนตรี ส่งเพลงไปที่ 104.5 Fat Radio ซึ่งเป็นจุดพลิกผันให้แสตมป์ ได้พบเจอกับพี่ๆ ในวงการเพลง และมีโอกาสนำผลงาน ออกสู่สายตาประชาชน มีผลงานอัลบั้มแรกของตนเองชื่อ 7thSCENE กับวง 7thSCENE สังกัด เลิฟอีส ในพ.ศ. 2548 นอกจากเป็นนักร้องแล้ว แสตมป์ยังเป็นนักแต่งเพลงมือทองอีกด้วย เขาเริ่มแต่งเพลงให้กับศิลปินทุกค่ายที่ขวางหน้า หนังทุกเรื่องที่ยังไม่มีเพลง โฆษณาทุกชิ้นที่เขาพอจะมีคนรู้จักร่วมทำอยู่ จนในที่สุดเขาได้รับรางวัลแรกในชีวิตคือ รางวัล สีสันอวอร์ด สาขาเพลงยอดเยี่ยม จากเพลง น้ำตา ของธงไชย แมคอินไตย์ เรื่อยมาจนถึง เพลง เงินล้าน จากวงโมเดิร์นด๊อก เพลง ราตรีสวัสดิ์ ของ ฟักกลิ้งฮีโร่ เพลง ฝัน หวาน อาย จูบ จากภาพยนตร์ และที่สำคัญที่สุด เพลง ความคิด จากอัลบั้มเดี่ยวของเขา ซึ่งกลายเป็นเพลงมหาฮิตและได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมจากหลายสถาบัน จนปัจจุบันเขากวาดรางวัลไปแล้วถึง 17 รางวัล จากเกือบทุกสถาบันในประเทศ หลังจากแต่งเพลงให้คนอื่นอยู่มาเป็นเวลานาน แสตมป์ได้ร่วมมีผลงานกับค่ายเลิฟอีส โดยร้องเพลงและเล่นกีต้าร์ในอัลบั้ม ‘Black Album’ กับวง ‘เรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา’ ซึ่งหลังจากที่มีโอกาสได้เจอ บอย โกสิยพงษ์ แสตมป์ก็ได้ฝากฝีมือไว้ในอัลบั้ม ‘Love is Vol.1’ และร่วมงานกันเรื่อยมา จนถึงอัลบั้มที่สร้างชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักกับอัลบั้ม ‘Rhythm & Boyd E1EVEV1H’ ในเพลง “สมมติ” และ “เธอไม่เคยเปลี่ยน” และ วง the strangers ร้องร่วมกับ ตู่ ภพธร สุนทรญาณกิจ คัตโตะ อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุลและ แชมป์ ศุภวัฒน์ พีรานนท์ หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นของตัวเอง โดยใช้ชื่อว่า The Million Ways to Write Part I เป็นสไตล์ Acoustic – Rock และอัลบั้มล่าสุดชื่อ เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง และออก ep ล่าสุดชื่อ ทุกคำที่เธอเอ่ยคือบทกวี

แสตมป์ เป็นทั้งนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงแล้ว ยังจัดรายการวิทยุรายการ 2talk ร่วมกับ คัตโตะอีกด้วย(ไม่มีแล้ว) ปัจจุบันกำลังคบหากับสาวนอกวงการชื่อนิว-จีริสุดา ศรีวัฒน์

ผลงานของแสตมป์

ผลงานในนามวง 7thSCENE (2548)
ผลงาน “The Million Ways to Write Part I” (2551)

1. ก่อนบทเพลงจะหมดความหมาย feat. ป๊อด -โมเดินด๊อก , บอย โกสิยพงษ์, นภ พรชำนิ, เบน ชลาทิศ, คิว ฟลัวร์, บุรินทร์ , โต๋ - ศักดิ์สิทธิ์, บอย - ตรัย ภูมิรัตน

2. คนที่คุณก็รู้ว่าใคร Feat. คนที่คุณก็รู้ว่าใคร

3. ความคิด (เพลงประกอบภาพยนตร์ A moment in June)



4. ร่ม feat. บอย ตรัย ภูมิรัตน และ ออน ละอองฟอง

5. สองหมื่น Feat. บอย โกสิยพงษ์

6. ทฤษฎีสีชมพู (live version)

ผลงาน “เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง” (2553)

1. แอนิเมชั่น

2.บ้านเล็ก

3.ครั้งสุดท้าย

4.ผีเสื้อ

5.เพลงที่นานมาแล้วไม่ได้ฟัง

6.Karma (Feat. ฟักกลิ้ง ฮีโร่)

7.ภาษาไทย

8.สองยกกำลังยี่สิบ (Feat. ตู่ ภพธร, ฟักกลิ้ง ฮีโร่)

ผลงาน “ep: ทุกคำที่เธอเอ่ยคือบทกวี”

1. ข้างชีวิต

2. สุภาพบุรุษ

3. ทันเวลา

ผลงานร่วมอื่นๆ (ที่ร้องโดยแสตมป์)

อัลบั้ม: Ost. Hello! My Lady (2551)

อัลบั้ม: Love talks 1. China Girl 2. เปิดหัวใจ 3. พร

อัลบั้ม Best Hits Now (2552)- ในอากาศ ร่วมกับ โต๋ ศักดิ์สิทธิ์, แดน วรเวช, เมื่อย scrubb, นัท crescendo, คัตโตะ Lipta, เฟิร์ส slot machine, Q Flure และ เบน ชลาทิศอัลบั้ม: Love is hear (2552)- เสียงในความเงียบ ร่วมกับบอย ตรัยและเปียโน • อัลบั้ม: Single เพลงนี้เพื่อลานเล่นน้อง (2553)

อัลบั้ม: Flash Back Album Tributed To แทน ปัณฑุรอัมพร- ทิ้ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น