วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เจ้าพ่อเพลงโรแมนติก ตอนที่ 1 ( ศิลปินที่ชื่อ..สุ )

สุชาติ ชวางกูร (พี่ต้น) เป็นนักร้องชายคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลจากการประกวดร้องเพลงในงาน Asia Amateur Singing Contest (AASC) ที่ฮ่องกง มีผลงานอัลบั้ม 5 ชุดแรกกับบริษัท EMI (Thailand) คือชุดสายธาร, ฝันรัก, Live in Concert, ไกลรัก และดั่งเม็ดทราย ซึ่งมีเพลงที่ได้รับความนิยมอยู่มากมาย เช่น เพลง สายธาร, ภวังค์รัก, ดวงฤดี, ฝากรักมากับเสียงเพลง, คืนนี้มีเพียงดาว, ฝันรัก, เมื่อใจฉันมีเธอ, ไกลรัก, สตรี, เพื่อน, เหมันต์ที่ผ่านพ้นไป, ดั่งเม็ดทราย และใจรัก
จากนั้นได้ออกอัลบั้มกับบริษัท CBS SONY (Thailand) อีก 2 ชุด คืออัลบั้ม เมื่อความรักเรียกหา และจากฉันถึงเธอ หลังจากนันเขาก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ศึกษาอยู่ก็ได้ออกอัลบั้มอีก 6 ชุด กับบริษัทรถไฟดนตรี คือ เพราะขอบฟ้ากว้าง, Love Letters, หัวใจใกล้กัน, ลูกทุ่งกรุงเทพ 1 และ 2 และพลิ้วไหวในสายลม
ทางด้านผลงานการแสดงภาพยนตร์ ในฐานะผู้แสดงนำฝ่ายชาย 4 เรื่องคือ ขอแค่คิดถึง กำกับการแสดงโดยหม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย, ดั่งเม็ดทราย กำกับการแสดงโดย สรวงสุดา ชลลัมพี ซึ่งทั้งสองเรื่องแสดงคู่กับ ใหม่ เจริญปุระ และเรื่อง พิศวาส แสดงคู่กับ อรพรรณ วัชรพล (พานทอง) กำกับการแสดงโดย สรวงสุดา ชลลัมภีร์ ส่วนเรื่อง ยิ้ม แสดงคู่กับปิยะนุช นาคคง ซึ่งกำกับการแสดงโดย คุณฉลอง ภักดีวิจิตร
 
สุชาติ ชวางกูร สำเร็จปริญญาโทถึง 3 สาขาคือ Master of International Management (MIM ) จาก University of Denver, Master of Science in Finance (MS-Finance) จาก University of Colorado และ Master of Science in Economics (MS-Economics) จาก State University of New York ภายหลังสุชาติ ชวางกูร กลับมาอยู่เมืองไทย รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ร.ร.ดุสิตธานี หัวหิน นอกจากเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[ABAC]และเป็นวิทยากรให้กับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(ITD) แล้วยังเป็นอาจารย์พิเศษประจำโครงการ Y-MBA มหาวิทยาลัยรามคำแหง สอนวิชาการบริหารการเงิน (Financial Management) ให้กับ น.ศ. ระดับปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ
ปัจจุบันคุณสุชาติรับราชการเป็นข้าราชการประจำตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร (เทียบเท่า รองอธิบดี ระดับ 9 )สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) สังกัด กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ)


คุณสุเทพ วงศ์กำแหง ศิลปินแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ที่จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันอายุย่างเข้าสู่ปีที่ ๗๗ ท่านได้รับการศึกษาตั้งแต่เบื้องต้นจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ ที่จังหวัดบ้านเกิด ความมีแววของการเป็นนักร้องเริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยที่เป็นนักเรียน โดยมักจะได้รับมอบหมายให้เป็นต้นเสียงร้องเพลงชาติที่โรงเรียนเสมอๆ
ครั้นเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ แล้ว คุณสุเทพก็ได้ย้ายเข้ามาอาศัยอยู่กับญาติที่กรุงเทพมหานคร และด้วยนิสัยรักการวาดเขียนและงานศิลปะเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ท่านจึงได้สมัครเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่นั้นนอกจากท่านจะแสดงฝีมืออย่างโดดเด่นในทางศิลปะแล้ว ท่านยังเป็นนักร้องเสียงดีประจำห้องเรียนอีกด้วย ในยามว่างท่านมักจะฝึกซ้อมร้องเพลงเสมอตามแบบอย่างของนักร้องที่ท่านชื่นชอบ เช่น วินัย จุลบุษปะ สถาพร มุกดาประกร ปรีชา บุณยเกียรติ ฯลฯ
คุณสุเทพได้มีโอกาสรู้จักและคุ้นเคยกับครูไศล ไกรเลิศ นักแต่งเพลงผู้มีชื่อเสียงเนื่องจากบ้านอยู่ใกล้กัน เมื่อครูไศลมองเห็นแววความสามารถของคุณสุเทพก็คิดจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมจึงชักชวนให้มาช่วยงาน เช่น ช่วยเขียนโน้ตเพลง เขียนตัวหนังสือ ตลอดจนติดตามไปช่วยงานในธุรกิจบันเทิงต่างๆ เสมอ ทำให้คุณสุเทพเริ่มคุ้นเคยกับบุคคลในวงการเพลงมากหน้าหลายตา ทั้งยังได้รับโอกาสให้ร้องเพลงสลับฉากละคร ร้องเพลงตามงานบันเทิงต่างๆ รวมไปถึงการทดลองเสียงแทนนักร้องตัวจริงก่อนที่จะทำการอัดเสียงเสมอ จากการที่ร้องเพลงได้อย่างดีเด่น ทำให้คุณสุเทพได้ร้องเพลงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนได้รับคัดเลือกให้ร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียงของตนเองบ้าง ต่อมาท่านได้รับการสนับสนุนจาก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบการร้องเพลงของท่านโดยช่วยส่งเสริมท่านในทางต่างๆ ครั้นคุณสุเทพมีอายุครบกำหนดกฎเกณฑ์ทหาร พลอากาศเอกทวีจึงได้ชักชวนให้ท่านเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ โดยได้ประจำอยู่ที่วงดุริยางค์ทหารอากาศ ซึ่งมี ครู ปรีชา เมตไตรย์ เป็นผู้ควบคุมวง ระหว่างนั้น คุณสุเทพได้บันทึกแผ่นเสียงมากขึ้นอีก และสถานีวิทยุต่างๆ ก็ได้นำเพลงที่ท่านร้องบันทึกแผ่นเสียงนี้ไปเปิดจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายอย่างรวดเร็ว  ภายหลังจากออกจากกองทัพอากาศแล้ว คุณสุเทพก็ได้ร้องเพลงเป็นอาชีพหลักอย่างเต็มตัว ท่านได้เข้าร่วมกับคณะชื่นชุมนุมศิลปิน และได้มีโอกาสร้องเพลงทั้งในรายการวิทยุและโทรทัศน์อยู่เนืองๆ ทำให้ชื่อเสียงของท่านเริ่มเพิ่มขึ้น งานต่างๆ จึงหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย และยิ่งในช่วงนั้น วงการภาพยนตร์ไทยกำลังเฟื่องฟู ท่านจึงได้งานร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ร่วมแสดงภาพยนตร์บางเรื่องด้วย ท่านได้มีโอกาสร้องเพลงคู่กับนักร้องรุ่นพี่ท่านหนึ่งคือ คุณสวลี ผกาพันธุ์ อยู่เสมอ ในเวลานั้น คุณสวลีเป็นนักร้องยอดนิยมแห่งยุคที่มีแฟนเพลงชื่นชอบมากมาย ดังนั้นเมื่อใครซื้อแผ่นเสียงของคุณสวลีไป ก็มักจะมีเสียงคุณสุเทพติดไปด้วย ชื่อเสียงของคุณสุเทพจึงโด่งดังขึ้นเป็นอย่างมาก ดังนั้น คุณสุเทพจึงถือว่าความสำเร็จในเบื้องต้นส่วนหนึ่งของท่านนั้น ได้รับอานิสงส์มาจากการที่ได้ร้องเพลงคู่กับคุณสวลี ผกาพันธุ์ด้วย

จุดเด่นของคุณสุเทพก็คือการที่ท่านมีน้ำเสียงที่ดีเป็นเลิศ มีลีลาในการร้องเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนุ่มนวลชวนฟัง อีกทั้งอารมณ์ที่แสดงออกมาทางน้ำเสียงและสีหน้านั้นก็สามารถสะกดใจผู้ฟังให้คล้อยตามและเข้าถึงอารมณ์ของเพลงนั้นได้อย่างพิเศษ ประกอบกับการที่ท่านเป็นผู้ที่เอาใจใส่อย่างจริงจังในการทำงาน ทำให้ท่านเป็นนักร้องที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงภายในระยะเวลารวดเร็ว จนได้รับฉายาจาก รงค์ วงษ์สวรรค์ว่า "นักร้องเสียงขยี้แพรบนฟองเบียร์" มีผลงานดีเด่นเป็นเวลาต่อเนื่องมานานกว่า 40 ปี  ในช่วงก่อนปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ คุณสุเทพได้ร่วมเดินทางไปฮ่องกง และสาธารณรัฐประชาชนจีนกับศิลปินแขนงต่างๆ กลุ่มใหญ่ จากนั้น ท่านก็ได้เดินทางต่อไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อศึกษาทางด้านการวาดรูปที่ท่านเคยรักมาก่อนในอดีต ระหว่างนั้นท่านก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากแฟนเพลงคนไทยที่นั่น ท่านได้เรียนวาดรูปตามความประสงค์และร้องเพลงขับกล่อมคนไทยที่ไปพำนักยังแดนอาทิตย์อุทัยประมาณ ๓ ปี จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย

งานร้องเพลงของ สุเทพ วงศ์กำแหง สามารถแบ่งออก ๓ ช่วง ตามช่วงเวลาดังนี้
• - งานในช่วงแรก คือช่วงเริ่มต้นก่อนที่จะเดินทางไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น งานส่วนมากเป็นงานร้องเพลงประกอบละครและภาพยนตร์ งานอัดแผ่นเสียง และงานร้องเพลงตามไนต์คลับเพลงดังที่สร้างชื่อเสียงให้คุณสุเทพมากเป็นพิเศษในช่วงนั้นก็คือเพลงรักคุณเข้าแล้ว ซึ่งเป็นผลงานแต่งทำนองโดย ครูสมาน กาญจนผลิน และแต่งคำร้องโดย สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เพลงๆ นี้ถือได้ว่าเป็นเพลงอมตะที่ยังเป็นที่นิยมต่อเนื่องตลอดมาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นยังมีเพลงคุณจะงอนมากไปแล้ว ผมต้องวิวาห์เสียที เพียงคำเดียว นางอาย สวรรค์มืด เท่านี้ก็ตรม และลาก่อนสำหรับวันนี้ เป็นต้น
• - งานช่วงที่ ๒ อยู่ในช่วงเวลาประมาณปี ๒๕๐๓ ภายหลังจากที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงนั้น แฟนเพลงให้การต้อนรับการกลับบ้านของคุณสุเทพอย่างอบอุ่น คุณสุเทพจึงมีงานร้องเพลงเข้ามามากมายไม่ขาดสาย งานเพลงดังๆ ที่ท่านขับร้องในช่วงนั้นได้แก่เพลง เกิดมาอาภัพ อาลัยโตเกียว อนิจจา น้ำตาลใกล้มด สัญญารัก เธออยู่ไหน และเย้ยฟ้าท้าดิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพลงเย้ยฟ้าท้าดินนั้นเป็นเพลงที่นับว่าทำให้คุณสุเทพประสบความสำเร็จมากที่สุดเพลงหนึ่งในชีวิต
• - ช่วงที่สาม ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณปี ๒๕๑๒ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนั้น นับว่าเป็นช่วงที่คุณสุเทพก้าวไปถึงจุดสูงสุดแล้วทั้งด้านชื่อเสียงและผลงาน ดังเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  กล่าวได้ว่า คุณสุเทพ วงศ์กำแหง เป็นนักร้องเพลงไทยสากลฝ่ายชายที่ร้องเพลงไว้มากที่สุดถึงกว่า ๓,๐๐๐ เพลง

สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว หรือ บี้ เป็นนักร้อง และ นักแสดงชาวไทย สังกัดเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ บี้ได้รับตำแหน่งรองชนะเลิศจากการแข่งขันรายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวปี 3 โด่งดังจากผลงานเพลง I Need Somebody ซึ่งได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน ปัจจุบันมีผลงานในวงการบันเทิงในหลากหลายสาขา เช่นผลงานเพลง, ผลงานการแสดง ละครโทรทัศน์, ละครเวที, ซิทคอม  ระยะเวลา 2 ปีในการวงการบันเทิง บี้ ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลของไทยประจำปี 2551 ร่วมกับบุคคลสำคัญของไทยในแวดวงต่างๆทั้งด้านการเมืองและสังคม โดยนิตยสาร Positoning และหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลวงการบันเทิงไทย จัดอันดับโดยหนังสือพิมพ์สยามรัฐ และเป็นพรีเซ็นเตอร์ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้นๆ จากตำแหน่ง พรีเซ็นเตอร์ชายยอดนิยม จาก OHO อวอร์ดส ปี 2551  พรีเซ็นเตอร์แห่งปี จากนิตยสาร Marketeer ในเดือนธันวาคม 2552
บี้เริ่มต้นมีชื่อเสียงในประเทศจีน จากผลงานละครโทรทัศน์ รอยอดีตแห่งรัก ที่ออกอากาศทางช่อง CCTV8 ที่ได้เรตติ้งความนิยมเป็นอันดับสอง จากการจัดอันดับเรตติ้งละครต่างประเทศของปีนั้น และได้รับเชิญขึ้นโชว์ในงาน เซี่ยงไฮ้ ทีวี เฟสติวัล 2011 และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งได้รับการต้อนรับจากแฟนชาวจีนอย่างเกรียวกราว จากผลงานละครที่ได้รับความนิยมในหลายๆเรื่องทำให้ บี้ ได้รับเลือกให้เป็น ทูตละครไทย ของสถานีโทรทัศน์ อันฮุยทีวี
ความสำเร็จในวงการบันเทิงจากรางวัลที่ได้รับเป็นปีที่สองหรือหลายปีติดต่อกัน เช่น รางวัลขวัญใจมหาชน จาก ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์, นักร้องยอดเยี่ยม จาก ท็อปอวอร์ด, นักร้องยอดนิยม จาก ซี๊ดส์ อวอร์ดส, นักร้องยอดนิยม จาก สุดสัปดาห์ อวอร์ดส เป็นต้น  ในปี พ.ศ. 2549 บี้ เข้าประกวดร้องเพลงในรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาวปี 3 ผ่านเข้ารอบ 8 คนสุดท้าย ทำการแข่งขัน ณ สตูดิโอมูนสตาร์ ลาดพร้าว ขณะแข่งขัน ได้รับฉายา เจ้าจิ้งจกน้อย แห่งเวทีเดอะสตาร์ และสามารถผ่านเข้าถึงรอบสองคนสุดท้าย ทำการแข่งขัน ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ได้รับตำแหน่งรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และทำให้ชื่อ บี้ (อังกฤษ: Bie) กลายเป็นที่รู้จัก  ปลายปี พ.ศ. 2549 บี้เริ่มต้นสร้างผลงานในวงการบันเทิงด้วยการรับบทเป็นพระเอกในละครเรื่อง “รอยอดีตแห่งรัก” แสดงคู่กับ พีรชยา พิณเมืองงาม กำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ ซึ่งได้รับความนิยมในขณะนั้น และเขายังได้รับโอกาสร้องเพลงประกอบละครเป็นครั้งแรก ในเพลง "ตัดใจไม่ไหว" ซึ่งเป็นเพลงในอัลบั้มเดี่ยวครั้งแรก คือ อัลบั้ม เลิฟ ซีน (อังกฤษ: Love Scenes)  โดยซิงเกิลแรกที่ปล่อยออกมา คือเพลง "I Need Somebody" ซึ่งขึ้นอันดับ นิว เอนทรี (อังกฤษ: New Entry) ตามชาร์ตวิทยุอย่างรวดเร็ว ได้รับกระแสนิยมมากในขณะนั้น และยังสามารถครองอันดับ 1 ของซี๊ดเรดิโอชาร์ตได้ถึง 4 สัปดาห์ และเป็นเพลงที่ได้รับรางวัลเพลงยอดนิยมสุดซี๊ดประจำปี จาก ซี๊ด อวอร์ดส 2007 (อังกฤษ: Seed Awards 2007)  รางวัล เพลงรักแห่งปี จาก อินยังเจเนอรชันชอยส์ อวอร์ดส 2006 (อังกฤษ: In Young Generation Choice Awards 2006) และรางวัลเพลงยอดนิยม จาก รางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2006 (อังกฤษ: Star Entertainment Awards 2006) นอกจากนี้แล้วเพลง "I Need Somebody" ยังเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์โฆษณาโฟโมสต์ ไฮไฟว์ ซึ่งออกอากาศในปี 2550 อีกด้วย  เดือนพฤศจิกายน เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ดส์ (อังกฤษ: Asian Television Awards) ได้ส่งการ์ดเชิญ บี้ เดอะสตาร์ เป็นตัวแทนศิลปินไทย ขึ้นโชว์เพลง “I Need Somebody” ในงานประกาศรางวัลเอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ดส์ 2006 ที่ ซันเทค สิงคโปร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเวนชั่น แอนด์ เอกซ์ซิบิชั่น เซ็นเตอร์
ในปี พ.ศ. 2550 “บี้” เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับนมถั่วเหลืองโฟร์โมสต์ โดยค่ายโฟร์โมสต์เลือกกลยุทธ์ใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นเจ้าแรกในตลาดสินค้านมถั่วเหลืองในขณะนั้น และในอีกไม่กี่เดือนต่อมา “บี้” เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับ “โซนี่ ไซเบอร์ช็อต” (อังกฤษ: Sony Cyber Shot) ซึ่งเป็นครั้งแรกเช่นกันที่โซนี่เลือกใช้กลยุทธ์พรีเซ็นเตอร์  และเป็นแบรนด์ แอมบาสเดอร์ (อังกฤษ: Brand ambassador) ให้กับโซนี่ มาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้บี้ได้รับโอกาสให้ลงเล่นละครเป็นเรื่องที่ 2 กับค่ายเอ็กแซ็กท์ในเรื่อง “หัวใจศิลา” คู่กับ พิชญา ศรีเทพย์  และในระหว่างถ่ายทำละครเรื่องนี้ทำให้บี้ได้รับโอกาสไปเรียนการแสดงเป็นครั้งแรก กับ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) ทำให้การแสดงของเขาพัฒนาขึ้น จึงทำให้บี้ได้รับโอกาส รับบท "ปกรณ์" ในละครเวทีเรื่องบัลลังก์เมฆ เดอะมิวสิคัล กำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ เจ้าของละครเวทีแห่งค่ายซีเนริโอ (อังกฤษ: Scenario) ซึ่งจัดแสดงในปีเดียวกัน และทำให้เขาได้แจ้งเกิดในศาสตร์การแสดงละครเวที

รายละเอียดเกี่ยวกับบี้ เพิ่มเติมเข้าไปที่เว็บไซต์นี้ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B4%E0%B9%8C_%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9


สุรักษ์ สุขเสวี เป็นนักแต่งเพลงที่มีเอกลักษณ์ในการใช้ภาษาในการเขียนเพลงคือมักจะมีภาพหรือฉากอยู่ในเพลง มีผลงานเขียนเพลงทั้งกับบริษัท GMM จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (มหาชน),งานเพลงส่วนตัวกับค่ายเพลงของตัวเอง,ค่ายเพลงอื่นๆ และเพลงเพื่อบริษัทเอกชน,องค์กร,มหาวิทยาลัยต่างๆ กว่า 250 เพลง (รวมผลงานการแต่งเพลงทั้งหมดของสุรักษ์ สุขเสวี)

ประวัติ สุรักษ์ สุขเสวี เกิดวันที่ 10 ตุลาคม 2510 ที่โรงพยาบาลหมอสงวน อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายวิเชียร สุขเสวี และนางเฉลียว สุขเสวี (สถาพรศิริกุล) สุรักษ์เป็นนักเดินทางตั้งแต่เด็กเพราะครอบครัวมีอาชีพค้าผลไม้ส่ง จึงมักติดรถบรรทุกไปเที่ยวต่างจังหวัดทุกภาคของประเทศไทยด้วยเสมอ ทำให้สุรักษ์ได้ซึมซับบทเพลงทั้งลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงสากลในยุค 1970 ที่ทั้งพี่ชายและคนขับรถบรรทุกผลัดเปลี่ยนกันเปิดให้ฟัง เป็นพื้นฐานสำคัญให้เขารู้จักความสละสลวยงดงามทั้งภาษาและท่วงทำนองของบทเพลงแต่ละแบบทั้งเพลงไทยและสากล จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่สุรักษ์เป็นหนึ่งในนักแต่งเพลงจำนวนน้อยคนที่สามารถเขียนเพลงด้วยภาษากลอนกวีได้แบบเพลง “วิมานดิน” (นันทิดา แก้วบัวสาย) หรือ “ลมหนาวและดาวเดือน” (ปนัดดา เรืองวุฒิ) , รัตนโกสินทร์ (สุรสีห์ อิทธิกุล) , King Of Kings ฯลฯ ประวัติการศึกษา ประถมศึกษา 1 - 5 ร.ร.อภิบาลกุลบุตร อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ประถมศึกษา 6 ร.ร.สตรีวรนาถ เทเวศร์ มัธยมศึกษา ร.ร.วัดมกุฏกษัตริยาราม ประโยควิชาชีพ ปวช. การตลาด วิทยาลัยพณิชยการพระนคร ประโยควิชาชีพ ปวส. การโฆษณา วิทยาลัยพณิชยการพระนคร (ปัจจุบันคือคณะสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร)  เข้าสู่วงการเพลง สุรักษ์เริ่มตามหาความฝันและเส้นทางดนตรีของตัวเองด้วยการแต่งเพลงเก็บเอาไว้จำนวนหนึ่ง จากกีตาร์ราคาถูกและวิทยุเทปบันทึกเสียงที่คุณพ่อยอมลงทุนซื้อให้เมื่อรู้ว่าบุตรชายของตัวเองชอบแต่งเพลง แม้ฐานะของครอบครัวไม่เอื้ออำนวยนัก แล้วอัดส่งไปให้ค่ายเพลงต่างๆ ต้องผ่านอุปสรรคมากมายเพราะไม่รู้จักคนในวงการดนตรี ทำตั้งแต่ไปดัก เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ ที่ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม เปิดหนังสือดนตรีหาที่อยู่ของ ชาตรี คงสุวรรณ นักแต่งเพลงที่ชื่นชอบแล้วตามไปถึงบ้าน ในที่สุดก็พบว่าคนที่ให้คำตอบเรื่องนี้กับเขาได้โดยตรงคือ นิติพงษ์ ห่อนาค นักแต่งเพลงชื่อดังของ บ.แกรมมี่ แล้วตามนิติพงษ์จนเจอด้วยการเปิดสมุดโทรศัพท์โทรหาถึงบ้าน ลูกศิษย์รุ่นแรกๆของนิติพงษ์ที่ประสบความสำเร็จมาพร้อมๆกับสุรักษ์คือ จักราวุธ แสวงผล, วรัชยา พรหมสถิต, ชนะ เสวิกุล, กฤชยศ เลิศประไพ (The Must),มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร ปี 2533 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นการเป็นนักแต่งเพลงอาชีพของสุรักษ์ เพียงปีแรกที่เริ่มทำงาน ลายมือของเขาก็เริ่มบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ทางภาษา เช่นเพลง หัวใจขอมา วิมานดิน หมากเกมนี้ แทนคำนั้น นาทีที่ยิ่งใหญ่ ฯลฯ งานเขียนเพลงทำให้เขาได้พบชีวิตที่อิสระ เดินทางคนเดียว ใช้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆของประเทศไทยเป็นที่เขียนเพลง แต่สุรักษ์บอกว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิตการทำงานของเขาคือการได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับ เรวัต พุทธินันทน์ หลังวงการเพลงต้องสูญเสีย เรวัติ พุทธินันทน์ ไปในปลายปี 2539 สิ่งทิ่เกิดขึ้นทำให้คนในตึกแกรมมี่ปั่นป่วน ทีมงานแตกออกเป็นหลายทีมย่อย สุรักษ์เป็นคนหนึ่งที่ตัดสินใจลาออกเป็นนักแต่งเพลงอิสระตั้งแต่ต้นปี 2544 เปิดบริษัทเล็กๆของตัวเองชื่อบริษัท MIND MEDLEY (I Feel Fine Music) ทำอัลบั้มอินดี้ รับแต่งเพลงให้บริษัทองค์กรต่างๆ มากมาย เขียนหนังสือ และเป็นวิทยากรสอนการแต่งเพลงให้กับสถาบันต่างๆเป็นบางครั้ง ผลงานหลังจากที่ออกจากการเป็นนักแต่งเพลงประจำบริษัทแกรมมี่ ที่เห็นคืออัลบั้ม “ดนตรีสีคราม” (2544) เป็นอัลบั้มอินดี้ที่สุรักษ์ สุขเสวี แยกออกจากแกรมมี่มาทำเอง โดยไม่ได้ทำโปรโมชั่น แนวเพลงเป็นแนวป๊อบร็อค แต่ไม่ตามแนวตลาด จนอัลบั้มนี้กลายเป็นของสะสมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบผลงานของสุรักษ์ มีเพื่อนฝูงพี่น้องคนดนตรีระดับแนวหน้าของเมืองไทยมากมายร่วมงานในอัลบั้มนี้ โดยสุรักษ์ สุขเสวี รับเหมาหน้าที่เป็นทั้งโปรดิวเซอร์ แต่งเพลงเองทั้งคำร้อง - ทำนอง และร้องเอง เป็นอัลบั้มที่มีกลิ่นอายทางดนตรีตามแบบศิลปินต่างประเทศที่สุรักษ์ชื่นชอบคือ Phil Collins, Bryan Adams, Toto , The Moody Blues ได้รับคำวิจารณ์ว่าเนื้อเสียงของเขาบางเกินไปสำหรับการเรียบเรียงดนตรีที่อัดแน่นไปด้วยไลน์ดนตรีมากมายในแต่ละเพลงของอัลบั้มนี้  อัลบั้ม “ภาพผ่านวันเขียนเพลง” (2545) เป็นซีดีรวมผลงานการแต่งเพลงของสุรักษ์ สุขเสวี มีเพลงฮิตที่คุ้นหูคนฟังมากมายในอัลบั้ม อาทิ เธอผู้ไม่แพ้ (ธงไชย),ชายคนหนึ่ง (ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล),วิมานดิน (นันทิดา),ลมหนาวและดาวเดือน(ปนัดดา),เก็บมันเอาไว้(เจตริน)ฯล ออกในสังกัด Grammy Big  หนังสือ “ความรักเขียนเพลง” (2545) สุรักษ์ได้ชักชวนนักแต่งเพลง 15 ท่าน จากค่ายเพลงต่างๆ ให้เลือกเพลงที่ตัวเองแต่งมาเขียนถึงแรงบันดาลใจและที่มาในเพลงนั้นๆ มีตัวอย่างลายมือของผู้แต่งแต่ละเพลงด้วย นักแต่งเพลงที่รับเชิญมาร่วมเขียนในพ๊อคเก็ตบุ๊คเล่มนี้ อาทิ ครูสลา คุณวุฒิ / เหนื่อยไหมคนดี ,กมลศักดิ์ สุนทานนท์ / เล่าสู่กันฟัง สารภี ศิริสัมพันธ์ / ลึกสุดใจ ,วรรธนา วีรยวรรธน / เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม  อัลบั้ม ALL STARS FOR CARE (2546) เป็นอัลบั้มเพลงรักการกุศลเพื่อมูลนิธิรักษ์ไทย - องค์การแคร์ ที่สุรักษ์ สุขเสวี รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์และแต่งเพลงเองทั้งหมด โดยมีดาราและวีเจระดับแนวหน้าของเมืองไทย รับเชิญมาเป็นศิลปินร่วมร้องเพลงในอัลบั้มนี้คือ นุ่น – สินิทธา, พลอย – เฌอมาลย์ บุณยศักดิ์, เชอรี่ เข็มอัปสร , นาเดีย นิมิตวานิช, เติ้ง,เอก,บอส,วุ้นเส้น วีเจจาก Channel V, แพท พัทสน, เอ็ม อภินันท์ , ชาย – ออม นวดี,ธัญญาเรศ รามณรงค์ , ครีม เปรมสินี และน้องๆจากสถาบันสอนภาษาครูเคท   อัลบั้ม THE WINTER SONG (2547) เป็นอัลบั้มอินดี้ของสุรักษ์ สุขเสวี อีกอัลบั้มหนึ่ง สุรักษ์รับหน้าที่โปรดิวซ์และแต่งเพลงทั้งอัลบั้ม ใช้นักร้องที่ทำงานอยู่เบื้องหลังมาเป็นศิลปินรับเชิญทุกเพลงในอัลบั้มนี้ เป็นอัลบั้มเพลงป๊อบแจ๊ซ ที่เน้นอารมณ์ เนื้อหา และเรื่องราวของเทศกาลปีใหม่ มีทั้งเพลงสนุก เศร้า เหงา และอบอุ่น รวมทั้งเพลงบรรเลง เพลงที่หลายๆคนคุ้นหูกันดีเพลงหนึ่งในอัลบั้มนี้คือ เพลง “ถือว่าเป็นอีกปีที่ฉันพอใจ” ที่ แอม เสาวลักษณ์ นำมา Cover ใหม่ ต้นปี 2551
หนังสือ “เราจะนอนมองฟ้าด้วยกันอีกครั้ง” (2548) ที่มา แรงบันดาลใจ และมุมมองส่วนตัวกับ 24 บทเพลงประทับใจ จากปลายปากกาของสุรักษ์ สุขเสวี อาทิ เพลง คู่แท้ (ธงไชย),ชายคนหนึ่ง(ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล),ตัวจริงของเธอ(จั๊ก ดับเบิ้ลยู),นิยามรัก(นูโว),ลาก่อน(อัสนี),ทำไมต้องเธอ(ธงไชย)ฯลฯ มีซีดีเพลงจำนวน 16 เพลงแถมมากับหนังสือด้วย (Bliss Publishing)
อัลบั้ม Playlist By สุรักษ์ สุขเสวี (2551) เป็นอัลบั้มรวมผลงานของนักแต่งเพลงระดับหัวกะทิของค่ายจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ในโครงการ 25 ปีแกรมมี่ โดยออกเป็นชุดรีมาสเตอร์ริ่งเสียงจากเพลงต้นฉบับ เป็นแผ่นซีดีคู่ ในรูปแบบซีดีและวีซีดี ผลงานเพลงของสุรักษ์ที่นำมารวมเช่น วิมานดิน (นันทิดา), คู่แท้ (เบิร์ด), นิยามรัก (นูโว), นาทีที่ยิ่งใหญ่ (คริสติน่า) ฯลฯ  หนังสือ “ท้องฟ้าริมหน้าต่าง” (2551) เป็นหนังสือที่เป็นภาคต่อจากเล่ม “เราจะนอนมองฟ้าด้วยกันอีกครั้ง” โดยบอกเล่าถึงที่มาของเพลงที่สุรักษ์แต่งให้กับศิลปินในค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำนวน 21 เพลง อาทิ เพลง หากันจนเจอ (กบ ทรงสิทธิ์ – กบ เสาวนิตย์), หมากเกมนี้ (อินคา),แทนคำนั้น (วสันต์),ยอม (ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล),ฉันจะจำเธอแบบนี้ (โบ สุนิตา),เจ้าของฉันคือเธอ (มาช่า) ฯลฯ มีซีดีแถม 16 เพลงเหมือนเล่มแรก (Bliss Publishing)  หนังสือนวนิยาย “มิวส์กับหมู่ดาวกีตาร์” (2551) เป็นนิยายเรื่องแรกในชีวิตการเขียนหนังสือของสุรักษ์ โดยแอบเล่าประสบการณ์ เส้นทางในการตามหาความฝันทางด้านดนตรีของตัวเอง ผ่านตัวละครผู้หญิงที่ชื่อ “มิวส์” และยังคงความเป็นนักแต่งเพลงไว้ด้วยการแต่งเพลงถึง 10 เพลงเพื่อเป็น Sound Track ประกอบหนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะ เพลงที่คุ้นหูสำหรับนักฟังเพลง อาทิ โปสการ์ดจากคนไกล (แอน ฐิติมา), ภาพฉันในวันเดิมๆ (ศักดา พัทธสีมา), หนาวเที่ยงวัน (พลอย พัชรพร),เรื่องยาวๆของเธอกับฉัน (นัท มีเรีย) ฯล

สุเมธ แอนด์ เดอะ ปั๋ง เป็นศิลปินดูโอคู่ เกิดจากการรวมตัวกันของสุเมธ องอาจและประกาศิต โบสุวรรณ สังกัด Genie Record ในเครือ GMM Grammy เพลงที่เป็นที่รู้จักของผู้ฟังได้แก่ แจกัน ไม่เสียใจที่รักเธอ กาลครั้งหนึ่งความรัก วันนี้ฉันมีเธอ

นอกจากนี้ สุเมธ แอนด์ เดอะปั๋ง ยังมีการนำเพลงเก่าๆ มาคัฟเวอร์ใหม่ในสไตล์ของตัวเองในแต่อัลบั้ม เช่น พรานล่อเนื้อ หัวหินสิ้นมนต์รัก ชั่วฟ้าดินสลาย รักเอาบุญ ขอให้เหมือนเดิม เป็นต้น

ผลงานอัลบั้ม สุเมธ แอนด์ เดอะปั๋ง ออกวางแผงในปีพ.ศ.2541 โดยมีเพลงดังที่เป็นที่รู้จักคือเพลง แจกันชวินหน้าย่น

อัลบั้ม บังกะโล
อัลบั้ม แกรมมี่ โกลด์ ซีรีส์ สุนทราภรณ์ ชุด 5 (เฉพาะสุเมธ)
อัลบั้ม กาลครั้งหนึ่ง...ความรัก
อัลบั้ม แกลอรี่ คลาสสิค (รวมเพลงฮิต)
อัลบั้ม แกลอรี่ ป๊อป (รวมเพลงฮิต)
อัลบั้ม โต๊ะเดิม
อัลบั้ม Good old days 1 (เฉพาะสุเมธ)
อัลบั้ม Good old days 2 (เฉพาะสุเมธ)


สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (ชมพู) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นอดีตมือกีตาร์และนักร้องนำของวงฟรุตตี้วงดนตรีสตริงชื่อดังของไทยยุค 80 และเป็นนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ชื่อดัง ของ อาร์เอส มีผลงานควบคุมการผลิต หรือแต่งเพลงให้กับศิลปินในสังกัดมากมายเช่น เกิร์ลลี่ เบอร์รี่, ทู, เดอะ เน็กซ์, เรนโบว์, ไอน้ำ, เฟม ฯลฯ โดยเฉพาะงานเพลงประกอบละครโทรทัศน์หลายๆ เรื่อง ที่สร้างชื่อเสียงให้กับชมพูเป็นอย่างดีในฐานะนักแต่งเพลง เช่น คู่กรรม,ดวงตาสวรรค์,หงษ์ทอง,มณีร้าว,สายโลหิต,ญาติกา,รัตนโกสินทร์ ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะเป็นละครโทรทัศน์ของทาง ช่อง 7 ชมพูยังมีผลงานการแสดงละครและภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยส่วนมากมักจะได้รับบทเป็นเพื่อนของพระเอกหรือตัวตลกในเรื่อง และยังเป็นกรรมการการตัดสินของ เคพีเอ็น อวอร์ด อีกด้วย

หน้าที่การงาน เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดในบริษัทอาร์เอส เป็นรองกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายผลิตธุรกิจเพลงไทย อีกทั้งเป็นผู้บริหารค่ายกามิกาเซ่ ต่อมาได้มีการลาออกไปดํารงตําแหน่งเป็นผู้บริหารอาวุโสฝ่ายดูแลคอนเทนท์ศิลปิน บริษัทโซนี่ มิวสิค (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ผลิตศิลปินที่มีชื่อเสียงอย่าง ซิงกูล่า เป็นต้น และล่าสุดคุณชมพูได้ลาออกจากบริษัทโซนี่ มิวสิค (ไทยแลนด์) จำกัด เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2554

ผลงานอัลบั้มเพลงในนามของวงฟรุ้ตตี้ ได้แก่ เหมือนนกไร้ปีก (2526) คนข้างเคียง (2527) 2 สไตล์ (2528) รอยนิรันดร์ (2529) อยากบอกรัก (2530) 5.5 (2530) คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง (2531) Fruity (aka.มีก็เหมือนไม่มี) (2532) สุดขีด (2533) คั้น-รวมฮิต (2534) อัลบั้มพิเศษร่วมกับศิลปินอื่น รวมดาว (2527) พบดาว (2527) รวมดาว 2 (2528) นพเก้า (2528) มรดกไทย (2528) นพเก้า 2 (2529) พบดาว 2 (2529) นพเก้า 3 (2530)ตราบนิรันดร์ 1-3 (2531) เพลง ความรักไม่รู้จบ อยู่ในอัลบั้ม ตราบนิรันดร์ 2 ผลงานการแต่งเพลงประกอบละครเรื่องสายโลหิต ,ความรัก...ไม่มีวันละลาย (สายโลหิต) ญาติกา ,อาณาจักรแห่งรัก (ญาติกา) ด้วยแรงอธิษฐาน ,ดั่งดวงหฤทัย,รัตนโกสินทร์,รักเธอไม่มีพรมแดน (ภูตพิศวาส)ภูตพิศวาสอาญารัก,ปริศนา,ฝากรัก (ปริศนา)ดวงตาสวรรค์,กนกลายโบตั้น,เสียงสะอื้น (แม่อายสะอื้น)รักไม่มีคำตอบ (บ้านไร่-เรือนรัก)รัก (เงาราหู)มีสักวัน (เงาราหู)บอกกับฉัน (น้ำผึ้งขม)มณีร้าว,คู่กรรม












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น