เรื่องที่ 8 อเมริกากับอิสราเอล คู่หูปีศาจ
ที่มีแนวคิดต้องการครอบครองโลก
จากแนวคิดเรื่องของ “โคคา” (Koka) และ “วิโคคา” (Vikoka) “คู่แฝดเขย่าโลก”ที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง จากตำนาน “ปีศาจกาลี”
ศัตรูคู่อาฆาตของ “พระกัลกี” (Kalki) ที่อาจถือเป็น“พระเมซซิอาห์”เวอร์ชั่นอินเดียก็คงพอได้ คือเป็นผู้ที่จะเสด็จมาขจัดความชั่ว
ความเลวทราม ทั้งหลายในโลกนี้ให้หมดสิ้นลงไป เพื่อเปลี่ยนยุคแห่งความชั่ว
หรือกลียุค ให้หวนกลับมาสู่ “สัตตยายุค”หรือยุคที่ความดีถูกฟื้นคืนกลับให้สมบูรณ์ บริบูรณ์ดังเดิมได้ต่อไป
ตลอดช่วงเวลานับเป็นพันๆปีที่ “ความเชื่อ”เหล่านี้ถูกแพร่กระจายในอินเดีย
หรือในประเทศใดๆก็แล้วแต่ที่รับเอาอิทธิพลความเชื่อเช่นนี้สืบต่อกันมา ใคร? หรืออะไร? ที่เป็น หรือที่หมายถึง “โคคา”และ “วิโคคา”ต่างถูกนำเอามาแปลความ ตีความ กันแบบมั่วๆมึนซ์ซ์ซ์ๆกันมาโดยตลอด...ไม่ต่างไปจากผู้ที่ถูกเรียกว่า
“โกก”(Gog) และ “มาโกก” (Magog) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ศาสนาคริสต์
ศาสนายูดาย ซึ่งถือเป็นศัตรูคู่อาฆาตของ “พระเมซซิอาห์”หรือ “ยะอุญจญ์” (Ya’juj)และ “มะอุญจญ์” (Ma’juj)ในคัมภีร์อัล-กุรอ่าน ของชาวอิสลาม ที่เป็นปรปักษ์รายสำคัญของ “พระมะห์ดี”หรือพระเมซซิอาห์เวอร์ชั่นอิสลามอะไรประมาณนั้น
การที่แนวคิดและความเชื่อของศาสนาต่างๆไม่ว่าฮินดู ยูดาย คริสต์ อิสลาม
ดันมาตรงกันเช่นนี้จึงยิ่งทำให้ใครต่อใครที่กระหาย ใคร่รู้ พยายามหันมาตีความ
แปลความ กันชนิดมึนซ์ซ์ซ์กันไปแทบทุกๆศาสนาก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็น “โคคา-วิโคคา” “โกก-มาโกก”หรือ “ยะอุญจญ์-มะอุญจญ์”ก็ตามที
ต่างถือเป็นศัตรูตัวร้ายของศาสนาแต่ละศาสนา แถมยังมีฐานะเป็นผู้ที่จะ “จุดชนวนสงครามครั้งสุดท้ายของมวลมนุษยชาติ” จนผู้คนอาจต้องล้มตายกันชนิดครึ่งค่อนโลก
เอาเลยก็ว่าได้...(คัดลอกและถอดความบางส่วนจากหนังสือ “ปริศนากลียุค? กับโลกใหม่หลังทุนนิยม” เขียนโดย
คุณชัชรินทร์ ไชยวัฒน์,สำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ,2556)การแปลความ ตีความ ตามความเชื่อเหล่านี้...มักเปลี่ยนไป-เปลี่ยนมาตามยุค ตามสมัย คือยุคใดที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือชาติหนึ่ง ชาติใด เป็นที่น่ารังเกียจ น่าเกลียด-น่ากลัว สำหรับชาติอื่นๆ ก็อาจถูกยัดเยียดให้กลายสภาพเป็น ศัตรูตัวร้ายของพระเมซซิอาห์ไปเป็นรายๆ ไล่มาตั้งแต่ชนชาติลึกลับอย่างชาว “ไซเธียน” (Scytian) ที่สูญหายไปจากประวัติศาสตร์ไปนานแล้ว ไปจนถึงชาติเยอรมัน รัสเซีย อังกฤษ ฯลฯ แต่สุดท้ายนักตีความ แปลความ จำนวนไม่น้อย ก็หันมาให้ความสนใจที่จะแปลความหมายของถ้อยคำเหล่านี้ มุ่งไปที่ชาติ “อเมริกา”กับ “อิสราเอล”หนักขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งโดยเฉพาะภายใต้บรรยากาศที่หวิดๆจะเกิด “สงครามโลกครั้งที่ 3” เต็มที...อาจเป็นเพราะทั้งคู่ต่างมีสิทธิ “จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 3”ได้ด้วยกันทั้งคู่ แถมมีฐานะไม่ต่างไปจาก“คู่แฝด”ในเวทีการเมืองโลกมาโดยตลอด ยิ่งถ้าลองไปพลิกคัมภีร์ “กัลกี ปุราณะ”ที่ให้คำอธิบายถึงบุคลิกลักษณะของ “โคคา”และ “วิโคคา”เอาไว้ละเอียดยิบ ยิ่งกว่า “โกก”และ “มาโกก”ในคัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์ตาลมุด หรือ “ยะอุญจญ์”และ “มะอุญจญ์”ในคัมภีร์อัล-กุรอ่าน “สัญลักษณ์”ต่างๆที่ถูกนำมาเปรียบเทียบ อุปมา-อุปมัย มันออกจะสอดคล้องกับความเป็น “อเมริกา”และ “อิสราเอล”อยู่ไม่น้อย เช่น “โคคา”ที่เป็นแฝดผู้พี่นั้น คือผู้ที่มีพละกำลังมากมายมหาศาล สูงใหญ่พอๆกับเปรตอาจารย์กู้ ประมาณ 10 เมตรกว่าๆ ผิวเนื้อดำ-แดง มีพลังอำนาจในการล้างผลาญ ทำลาย ชนิดมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา ไม่สามารถต่อกรได้โดยเด็ดขาด เพียงแต่เคลื่อนไหวเชื่องช้า อุ้ยอ้าย อันเนื่องมาจากความใหญ่โต เทอะทะ ต่างไปจากแฝดผู้น้องคือ “วิโคคา”ที่รูปร่าง ลักษณะ ออกจะแปลกเอามากๆ คือมีผิวสีเขียวแกมน้ำเงิน ตัวเล็กพอๆกับเด็กทารก หรือพอๆกับประเทศอิสราเอลเมื่ออยู่บนแผนที่โลกอะไรประมาณนั้น แต่ผิวหนังกลับเหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ แถมฉลาดเป็นกรด เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมแห่งการคิดคดทรยศยิ่งกว่ามวลมนุษย์ใดๆในโลกนี้ สามารถหยั่งรู้จิตใจผู้คน จนนำไปสู่การหลอกล่อ หลอกลวง มวลมนุษย์ ด้วยกิเลศและผลประโยชน์ได้เสมอๆ แบบเดียวกับการหลอกล่อ หลอกลวง ด้วยระบบทุนนิยมอะไรทำนองนั้น...ฯลฯ ทั้งหมดที่กล่าวมาเพียงเพื่อที่จะเปรียบเปรยอุปมาอุปมัยให้เห็นถึงบุคลิกลักษณะของปีศาจร้ายคู่แฝดคู่หนึ่งที่ถูกระบุไว้ในพระคัมภีร์ของศาสนาสำคัญทั้ง 2 ศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์มากว่าตรงกับบุคลิกลักษณะสำคัญของมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของโลกในยุคปัจจุบันกับคู่แฝดของเขาที่ทำตัวเป็น......? ของโลกอยู่ในเวลานี้ ที่น่าสนใจเอามากๆก็คือว่า...ในการปะทะขั้นแตกหักระหว่าง “พระกัลกี”กับ “โคคาและวิโคคา”นั้น คัมภีร์กัลกี ปุราณะ บรรยายไว้ดังนี้ว่า... “เมื่อองค์ศรีภควันกัลกี โดยความร่วมมือของเทพธรรมะและสัตยา บุกตะลุยฝ่าเข้าไปถึงป้อมค่ายอันเป็นที่มั่นสุดท้ายของปรปักษ์ แต่ทั้งโคคาและวิโคคายังคงยืนหยัดต่อสู้ต่อไปอย่างห้าวหาญ แม้พระองค์จะสังหารเขาด้วยหอก แต่เชื้อสายปิศาจเหล่านี้ ยังได้รับการปกป้องคุ้มครองด้วยมนต์ดำ เขารู้วิธีที่จะฟื้นขึ้นมาจากความตาย แม้จะทรงสังหารเขาทั้งสองครั้งแล้ว ครั้งเล่า แต่ก็ยังสามารถฟื้นคืนกลับมาใหม่จนได้ ถึงถูกตัดศีรษะ สับร่างออกเป็นชิ้นๆ แต่สุดท้าย...หัวและร่างกายยังคงกลับมารวมตัวและฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ พระพรหมเจ้าจึงได้ตรัสต่อองค์กัลกีว่า เหตุที่ปิศาจทั้งสองมีพลังเช่นนี้ เนื่องจากได้รับประทานพรให้เป็นอมตะ มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้น ที่จะสังหารทั้งคู่ให้ตายลงไปได้ คือ...จะต้องโจมตีในขณะที่แต่ละคนไม่ได้รวมตัวเป็นหนึ่งเดียว และจะต้องฆ่าให้ตายพร้อมๆกัน” เมื่อได้ฟังคำแนะนำเช่นนี้ “พระกัลกี”เลยฉวยจังหวะที่เกิดรอยแยกระหว่างคู่แฝดทั้งสอง แล้วแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างกลาง ใช้มือหนึ่งบีบคอ “โคคา”อีกมือหนึ่งตอกขมับ “วิโคคา”จนเด๊ดสะมอเร่ย์ อิน เดอะ เท่งทึง ลงไปจนได้ นำไปสู่การปิดฉาก “กลียุค”และเริ่มต้นศักราชการรื้อฟื้น “สัตตยายุค”ขึ้นมาใหม่....ที่ว่าน่าสนใจก็เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานมานี้ นายกรัฐมนตรีอิสราเอล นาย “เบนจามิน เนทันยาฮู”ถึงขั้นอุตส่าห์บินข้ามน้ำ ข้ามทะเล เพื่อมา “ด่า”ประธานาธิบดี “โอบามา”ของอเมริกาในสภาคองเกรส อันเนื่องมาจากการยอมเปิดเจรจากับประเทศคู่กัดอย่างอิหร่านในกรณี “นิวเคลียร์”กันโดยเฉพาะ ในเมื่อ “วิโคคา”หันมาเล่นงาน “โคคา”แบบขย้ำกันสดๆ หรือแบบแค้นจัด กัดดะ ฝังเขี้ยวจมน่อง เช่นนี้ เสียดาย...ที่ยังไม่รู้ว่า “พระกัลกี”ท่านเสด็จลงมายังโลกมนุษย์แล้วหรือไม่ เป็นใคร และอยู่ที่ไหน ไม่งั้น...จังหวะงามๆเช่นนี้ โอกาสที่จะบีบคอและตอกขมับ “คู่แฝดเขย่าโลกทั้งสอง”ให้สิ้นชีพตักษัย ไม่ต้องเสียเวลามาหวาดวิตกว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 จะเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อไหร่ มันจะได้หมดๆ จบๆ กันไปซะที... ...(ถอดความจากบทความ “คู่แฝดเขย่าโลก” โดย คุณชัชรินทร์ ไชยวัฒน์,หน้าเพจไอเอ็นเอ็นนิวส์ออนไลน์, 9 มี.ค.2558)
อิสราเอลเป็นประเทศเกิดใหม่ในช่วงไม่ถึงศตวรรษ
แต่ก็เป็นประเทศคู่ขัดแย้งกับโลกมุสลิมมาโดยตลอดอันสืบเนื่องมาจาก
ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (อาหรับ: الصراع العربي
الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi
A'Israili; ฮีบรู: הסכסוך הישראלי-ערבי
Ha'Sikhsukh
Ha'Yisraeli-Aravi)
หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่
19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น
ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม
ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี
1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม
1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว
ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย
ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น
ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า
โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม
ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979
และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี
1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน
การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป
(ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส
แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ
แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์
จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย
แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ
แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน
(คัดลอกจากวิถีพีเดีย,สารานุกรมออนไลน์)ปัญหาอิสราเอล – ปาเลสไตน์ก็มีมาอย่างยาวนานมีสาเหตุที่สำคัญคือ
1. ความเชื่อดั้งเดิมของชาวยิว ชาวยิวเชื่อว่า ดินแดนคานาอัน หรือ ปาเลสไตน์ เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาที่พระเจ้าประธานให้แก่ชาวยิวตาม คำภีร์พันธสัญญาเดิม ชาวยิวเมื่อครั้งก่อนได้กระจัดพัดพรายไปตามดินแดนต่าง ๆ ทั่วยุโรป เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ชาวยิวถูกกวาดต้อนเข้าไปเป็นทาสในอียิปต์ เดินทางไปค้าขายในยุโรปและตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศนั้น ๆ การเป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านค้าขาย การเงิน การคลัง ทำให้ชาวยิวเป็นเจ้าหนี้ในหลาย ๆ ประเทศ แม้กระทั้งกษัตริย์เช่นสเปน ยิวได้เก็บดอกเบี้ยราคาแพง เอาเปรียบลูกหนี้มากมาย เมื่อลูกหนี้ไม่มีเงินใช้จึงเกิดการขับไล้กวาดล้างชาวยิวในที่ต่าง ๆ ผนวกกับการที่ประเทศลูกหนี้นับถือศาสนาคริสต์ทำให้ยิวถูกต่อต้านเช่นในสเปน โปรตุเกส เป็นต้น ยิวบางกลุ่มยอมเปลี่ยนศาสนาเพื่อความอยู่รอด บางกลุ่มที่เคร่งครัดได้หลบหนีไปยังประเทศต่าง ๆ และเหตุการณ์ที่สำคัญคือ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งเป็นของอังกฤษ มีชาวอาหรับเข้ามาอาศัยอยู่มาก (อพยพเข้ามาภายหลัง) ชาวยิวในยุโรปได้หลบหนีสงครามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กลับมาในดินแดนแห่งนี้ อันเนื่องมาจากความเชื่อเดิมตามพันธสัญญาของพระเจ้า และต้องการพึ่งใบบุญอังกฤษ สร้างความไม่พอใจให้กับชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ เกิดการปะทะกันบ่อยครั้ง อังกฤษไม่สามารถควบคุมได้
2. การจัดตั้งรัฐยิว เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษมอบปาเลสไตน์ให้กับองค์การสหประชาชาติดูแล องค์การสหประชาติ (อเมริกาซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่) มีมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์เป็น 2 รัฐ คือ รัฐยิวและรัฐอาหรับ ส่วนนครศักดิ์สิทธิ์เยลูซาเลมให้อยู่ในภาวะทรัสตี ฝ่ายยิวยอมรับมติดังกล่าว แต่ฝ่ายอาหรับไม่ยอมรับเพราะเห็นว่าสหประชาชาติตัดสินไม่ยุติธรรม โดยให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ว่า พวกตนเคยทำสงครามเพื่อดินแดนของพระมูฮัมหมัดนี้ในศตวรรษที่ 7 จึงอ้างสิทธิในการครอบครองดินแดน ส่วนฝ่ายยิวอ้างว่า ตนเคยครองครองดินแดนแห่งนี้ในสมัยกษัตริย์เดวิท (ผู้รวบรวมชนชาติยิวตามคัมภีร์เดิม) จึงมีสิทธิในการครอบครองดินแดน ความขัดแย้งที่กล่าวมากลายเป็นชนวนสงครามที่ยาวนานนับครั้งใหญ่ได้ 4 ครั้ง และครั้งย่อย ๆ อีกมากมายสืบมาจนถึงปัจจุบัน สาเหตุปัจจุบันที่ทำให้เกิดความขัอแย้งขั้นรุนแรงคือ การก่อตั้งรัฐยิวนั่นเอง
สงครามยิวอาหรับ
สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 1 ปี 1948
วันที่ 14 พ.ย. 1948 ยิวประกาศความเป็นชาติโดยจัดตั้งรัฐอิสราเอล สร้างความไม่พอใจให้กับชาวอาหรับ อีก 2 วัน ต่อมา กองทัพอาหรับ 6 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ (ผู้นำ) ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิรักและซาอุดิอารเบียเข้าโจมตีอิสราเอล สงครามครั้งนี้อิสราเอลเป็นฝ่ายชนะ ยึดดินแดนได้มากกว่าที่สหประชาชาติให้ และถือว่าเป็นสงครามเพื่ออิสรภาพของชาวยิว แต่ฝ่ายอาหรับสามารถยึดกรุงเยรูซาเลมฝั่งตะวันตกและเขตเวสแบงค์ได้
สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 2 ปี 1956
อิสราเอลเป็นฝ่ายโจมตีอียิปต์ เพราะอียิปต์ได้เสริมกำลังเพื่อล้มล้างอิสราเอลอย่างเพียงพอ อีกทั้งยังยึดคลองสุเอชแต่เพียงผู้เดียว สงครามครั้งนี้อังกฤษและฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงเพราะไม่พอใจที่อียิปต์ยึดครองคลองสุเอส และยังสร้างความวุ่นวายต่อไปอีกคือ รัสเซียยื่นคำขาดต้องการให้อังกฤษกับฝรั่งเศสถอนตัว ซึ่งเอมริกาเห็นด้วยกับรัสเซีย เรียกสงครามครั้งนี้ว่า “วิกฤตการณ์คลองสุเอส” ผลคือ อิสราเอล อังกฤษ ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากดินแดนอียิปต์ อิสราเอลได้ผลประโยชน์คือ สิทธิในการใช้น่านน้ำอากาบาตังเดิม และได้รับความคุ้มครองในฉนวนกาซ่าจากกองกำลังสหประชาชาติ
สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 3 ปี 1967
อียิปต์ปิดอ่าวอากาบา ห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน สร้างความเสียหายให้กับเศราฐกิจอิสราเอล อียิปต์ร้องให้กองกำลังสหประชาติถอนกำลังจากฉนวนกาซ่าและพรมแดนระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล เมื่อกองกำลังสหประชาชาติถอนตัว กองทัพอียิปต์เคลื่อนพลเข้ามาแทนที่เข้ายึดฉนวนกาซา สงครามจึงเกิดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 1967 สงคราม กินเวลาเพียง 6 วัน ครั้งนี้อิสราเอลยึดดินแดนอาหรับได้มากมาย เช่น ฉนวนกาซา คาบสมุทรไซนาย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนหรือเขตเวสต์แบงก์ ทั้งหมด และยึดเยรูซาเลมกลับมาได้ อีกทั้งยังยึดที่ราบสูงโกลานของซีเรียได้อีกด้วย ทำให้ดินแดนของอิสราเอลขยายตัวออกไปถึง 4 เท่า นับว่าเป็นความสูญเสียมากที่สุดของชาติอาหรับ เรียกสงครามครั้งนี้ว่า “สงคราม 6 วัน”
สงครามยิว-อาหรับ ครั้งที่ 4 ปี 1973
ฝ่ายอาหรับเริ่มบุกใน “วันยมคิปเปอร์” ซึ่งเป็นวันหยุดงานของชาวยิว ฝ่ายอาหรับนำโดยอียิปต์รุกข้ามคลองสุเอซ ขณะที่ซีเรียบุกทางเหนือ การบุกอย่างราวเร็วแบบศึกกสองด้านนี้เพราะ การได้เปรียบบนโต๊ะประชุมที่มีการเจรจากันก่อนหน้านี้, กลัวอิสราเอลจะเริ่มสงครามก่อนเพราะต้องแก้แค้นที่ถูกโจมตีครั้งใหญ่ถึง 3 ครั้ง, ต้องการได้ดินแดนที่เสียไปคืนมาอย่างรวดเร็ว, ชาติอาหรับต้องการล้างอายในสงครามครั้งที่ผ่าน ๆ มา ในครั้งแรกอิสราเอลเป็นฝ่ายถอย แต่ก็สามารถตีโต้อาหรับกลับไปทั้งสองด้าน และยังสามารถยึดฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซไว้ได้อีก สงครามครั้งนี้เกิดความวุ่นวายไปทั่วโลก อเมริกาเข้าช่วยฝ่ายอิสราเอล รัสเซียเข้าช่วยอาหรับ อาหรับใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรอง เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันไปทั่วโลก การปะทะกันเป็นไปอย่างรุนแรงจนจะกลายเป็นสงครามนิวเคียร์ สหประชาติส่งทหารเข้ามาระงับเหตุ ทั้งสองฝ่ายจึงลงนามหยุดยิง
ผลกระทบของสงครามที่มีผลต่อนาน ๆ ประเทศ
- ความเสียหายทางเศรษฐกิจ สงครามทั้ง 4 ครั้งทำลายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก ผู้คนขาดที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจของอิสราเอลและอียิปต์ตกต่ำ โดยเฉพาะอียิปต์สูญเสียรายได้จากการเก็บค่าผ่านคลองสุเอส และต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในการซ่อมแซมคลองสุเอส
- ความแตกแยกภายในกลุ่มประเทศอาหรับ เมื่อสงครามสงบลง อียิปต์ทำตามข้อตกลงที่แคมป์เดวิด กลุ่มประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรกับอียิปต์ มองว่าอียิปต์เป็นผู้ทรยศ จนนำไปสู้การลอบสังหารประธานาธิบดีซาดัสของอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1982 กลุ่มประเทศอาหรับเกิดการแตกแยก ไม่ยอมทำตามผู้นำโลกอาหรับเช่นอียิต์เหมือนเช่นเคย
- เพิ่มการเป็นศตรุและความเกลียดชังให้กับชาวยิวและชาวอาหรับ การที่ชาวยิวยึดดินแดนของชาวอาหรับได้จำนวนมากถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- ผู้คนทั้งชาวยิวชาวอาหรับบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมหาศาล ผู้คนจำนวนมากขาดแคลนที่อยู่อาศัย ทำให้เป็นภาระของนา ๆ ประเทศโดยเฉพาะองค์กรสหประชาติเข้ามาช่วยเหลือ
- เนื่องจากเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน จึงมีผลโดยตรงวต่อการผลิตน้ำมันและราคาน้ำมัน ทำให้น้ำมันขาดแคลนและราคาน้ำมันขึ้นสูง
นอกจากสงครามทั้ง
4 ครั้งที่กล่าวไป ยังมีการสู้รบย่อย ๆ
อีกบ่อยครั้งซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไม่พอใจของชาวอาหรับที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ชาวยิวปกครอง
เช่น ที่ราสูงโกลาน เขตเวสแบงค์ ฉนวนกาซา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เป็นต้น
ผู้นำในการก่อความวุ่นวายเช่นกลุ่มฮามาส ชาวอาหรับไม่พอใจต่อการปกครองของชาวยิวที่กดขี่
ไม่เป็นธรรม ไร้มนุษยธรรม เช่นการจำกัดที่อยู่ของชาวอาหรับ
การเข้ายึดที่ดินเดิมของชาวอาหรับ
การให้สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นต้น ชาวอาหรับจึงทำการสู้รบแบบกองโจน
ระเบิดพลีชีพ ลอบสังหารผู้นำคนสำคัญและบุคคลสำคัญของชาวยิว เป็นต้น เพื่อปลดแอกตนเองการปกครองของชาวยิว
จัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ เรียกการต่อสู้ของชาวอาหรับนี้ว่า “ขบวนการอินติฟาดา”
(Intifada) ซึ่งยังมีอยู่เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (คัดลอกจากบทความ “ตะวันออกกลาง
: ปัญหาอิสราเอล – ปาเลสไตน์ (สงครามยิว – อาหรับ 4 ครั้ง)” หน้าเพจอารยธรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดีโดย
วาทิน ศานติื สันติ ,gotoknow.org)
ส่วนคำถามที่ว่าเหตุใดอเมริกาจึงถือหางสนับสนุนอิสราเอลในทุกเรื่อง
ทุกกรณี กลายเป็นคู่หูนรกแตก อยู่ตลอดเวลานั้น มีนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์
นักทฤษฏี ตลอดจนผู้เชียวชาญการเมืองระหว่างประเทศได้ตั้งข้อสังเกตไว้หลายกรณี
หลายทฤษฏี แต่กล่าวโดยสรุปรวมก็คือ เขามีผลประโยชน์ร่วมกัน ต่างพึ่งพาอาศัยราวกับ
ผีเน่าและโลงผุ ซึ่งไม่อาจจะแยกจากกันได้ แต่เป็นการสนับสนุนกันทำเรื่องชั่วๆ
แทบทั้งสิ้น และเป็นที่มาของความขัดแย้งไปเกี่ยวข้องกับโลกมุสลิมในตะวันออกกลาง
และยังโยงใยไปเกี่ยวข้องอยู่เบื้องหลังการเมืองในหลายประเทศ รวมถึงอเมริกา
และอยู่เบื้องหลังบรรษัท องค์กรใหญ่ๆ ที่มีอิทธิพลครอบงำโลกอยู่ในเวลานี้
ตัวอย่างบทความ
“ทำไมสหรัฐอุ้มยิว..คิดง่ายๆไม่ต้องใช้ทฤษฎี”
Shaffi : เขียน (19 มกราคม 2009)
นักคิดจากโลกอาหรับ
แย้งว่าเหตุผลที่อ้างตามทฤษฎีใหม่นี้ ทั้งหมดเป็นเรื่องศาสนาล้วนๆ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในสังคมอเมริกัน
โดยยืนกรานอย่างแข็งขัน ด้วยสมมติฐานเดิมๆต่อไปว่า
ถ้าไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ที่อเมริกันได้รับ อเมริกันจะช่วยยิวไปทำไม? แล้วถ้าไม่มียิวในแวดวงการเมืองอเมริกันที่คอยไปล็อบบี้
ทำไมรัฐบาลอเมริกันจึงจัดงบประมาณช่วยเหลืออิสราเอลมากเป็นอันดับหนึ่งถึงปีละสามหมื่นล้านดอลล่าห์
ซึ่งความจริงข้อนี้ก็น่าสงสัยไม่น้อย
และทำให้เราละเลยทฤษฎีจากโลกอาหรับไม่ได้เหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น