ฟรานซิส อัลเบิร์ต "แฟรงก์" ซินาตรา (Francis Albert "Frank" Sinatra) (12 ธันวาคม ค.ศ. 1915 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1998) เป็นดาราและนักร้องชาวอเมริกัน เขาเริ่มอาชีพด้านดนตรีในยุคเพลงสวิง โดยร่วมกับแฮร์รี เจมส์และทอมมี ดอร์เซย์ ซึ่งซินาตราประสบความสำเร็จในฐานะศิลปินเดี่ยวช่วงต้นถึงกลางทศวรรษ 1940 แต่อาชีพเขาก็หยุดไปช่วงทศวรรษ 1950 แต่ก็เกิดใหม่ในปี 1954 หลังจากที่เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยม เขาเซ็นสัญญากับแคปิตอลเรคคอร์ดส และออกอัลบั้มที่ได้รับการชมเชยอย่างมาก อย่างเช่นอัลบั้ม In the Wee Small Hours, Songs for Swingin' Lovers, Come Fly with Me, Only the Lonely และ Nice 'n' Easy ต่อมาเขาออกจากแคปิตอลเรคคอร์ดสและออกมาทำค่ายเพลงของตัวเองที่ชื่อ รีไพรส์เรคคอร์ดส (ที่ประสบความสำเร็จจากอัลบั้มอย่าง Ring-A-Ding-Ding, Sinatra at the Sands และ Francis Albert Sinatra & Antonio Carlos Jobim) เขาออกทัวร์ในระดับนานาชาติ และก่อตั้ง Rat Pack และยังเป็นเพื่อนกับดาราดังมากมายรวมถึงประธานาธิบดี อย่าง จอห์น เอฟ. เคนเนดี เมื่อเขาอายุ 50 ปี เขาบันทึกเสียงอัลบั้ม September of My Years ซึ่งได้รับรางวัลเอมมีจากรายการ Frank Sinatra: A Man and His Music และมีเพลงฮิตที่โด่งดังอย่าง "Strangers in the Night" และ "My Way" ซินาตราพยายามเปลี่ยนแนวทางเข้าสู่วงการเพลงป็อป แต่ยอดขายก็ไม่เยอะเลย และหลังจากนั้นเขาก็แสดงในภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงวิจารณ์ไม่ดีนัก จนเขาเกษียณตัวเองในปี 1971 แต่ก็กลับมาทำงานต่อในปี 1973 และออกผลงานอัลบั้มอีกหลายอัลบั้ม มีเพลงฮิตโด่งดังอย่าง "(Theme From) New York, New York" ในปี 1980 และออกทัวร์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก จนกระทั่งก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี 1998 ซินาตรายังเป็นนักแสดง เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยมจากการแสดงภาพยนตร์เรื่อง From Here to Eternity เขายังเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขานักแสดงนำยอดเยี่ยมจากการแสดงเรื่อง The Man with the Golden Arm เขายังแสดงในละครเพลงอย่าง High Society, Pal Joey, Guys and Dolls และ On the Town เขายังได้รับเกียรติจาก Kennedy Center Honors ในปี 1983 และได้รับเหรียญ Presidential Medal of Freedom จากโรนัลด์ เรแกน ในปี 1985 และเหรียญ Congressional Gold Medal ในปี 1997 ซินาตราได้รับรางวัลแกรมมี่มาแล้ว 11 ครั้ง รวมถึงในสาขาพิเศษอย่าง Grammy Trustees Award, Grammy Legend Award และ the Grammy Lifetime Achievement Award.
เซอร์ คลิฟฟ์ ริชาร์ด (Sir Cliff Richard) หรือชื่อจริง แฮร์รี โรเจอร์ เว็บบ์ (Harry Roger Webb) เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1940 เป็นนักร้อง นักแสดงและนักธุรกิจ ชาวอังกฤษ คลิฟมีอัลบั้มเดี่ยวที่ขายดีเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักรรองจากเอลวิส เพลสลีย์ และวงเดอะบีทเทิลส์ ด้วยการขายไป 21 ล้านหน่วยในสหราชอาณาจักร จากผลรายงานเขาขายได้ 250 ล้านชุดทั่วโลก กับวงแบ็กอัพ เดอะชาโดว์ส คลิฟเป็นนักร้องอังกฤษที่โด่งดังมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ก่อนและระหว่างที่เดอะบีทเทิลส์จะมีเพลงเข้าชาร์ท และก็ยังมีผลงานเพลง ภาพยนตร์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร เพลงดังของเขามีมากมายเช่น Theme For A Dream,Summer holiday,The young ones,Living doll,The next time.We don't talk anymore,Weird For Sound,Some People,Ocean deep etc. ผ่านมา 6 ทศวรรษ คลิฟฟ์ ริชาร์ดมีเพลงเข้าชาร์ทอยู่มากมาย ครองสถิติ (ร่วมกับเอลวิส เพรสลีย์) ที่มีเพลงทุกทศวรรษติดชาร์ทซิงเกิลในสหราชอาณาจักร (ยุค 50-2000) และจากเว็บไซต์ของเขาเองระบุว่ามียอดขาย 250 ล้านชุด[และในชาร์ทในสหราชอาณาจักร คลิฟฟ์ ริชาร์ด มีซิงเกิลมากกว่า 120 ซิงเกิล อัลบั้มและอีพี ติดท็อป 20 มากกว่าศิลปินคนใด คลิฟ ริชาร์ด ได้รับตำแหน่งอัศวินของอังกฤษโดยผู้มอบตำแหน่งคือสมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบ็ธที่ 2 ในปี 1995 เป็นต้นแบบให้ศิลปินหลายๆคนของสหารชอาณาจักรได้รับตำแหน่งอัศวิน
บิล เฮลีย์
(Bill Haley)
(6 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 - 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981) เป็นหนึ่งในนักดนตรีร็อกแอนด์โรลคนแรก
ๆ เขาได้รับการอ้างถึงว่าเป็นบุคคลแรกที่ทำให้ก่อเกิดแนวดนตรีในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ
1950 ในนามกลุ่มที่ชื่อ บิล เฮลีย์ แอนด์ ฮิสโคเมตส์ มีเพลงฮิตอย่าง "Rock
Around the Clock"
บาร์บรา
สไตรแซนด์
(Barbra Streisand) เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ.
1942 เป็นชาวอเมริกันในวงการฮอลีวูดที่มีการบันทึกอาชีพอย่างเป็นทางการ 4 อาชีพ
ได้แก่นักร้อง นักแสดง ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และผู้กำกับ
อีกทั้งมีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลง เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
เคยได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม และเพลงยอดเยี่ยม
นอกจากนั้นยังได้รับอีกหลายรางวัลจากรางวัลเอมมี รางวัลแกรมมี รางวัลลูกโลกทองคำบาร์บรา สไตรแซนด์
เกิดที่ย่านบรูกลิน นครนิวยอร์ก ปู่ของเธอเป็นคนในหมู่บ้านเล็ก ๆ ในฮังการีอพยพมาอยู่ในนิวยอร์ก พ่อเสียชีวิตตั้งแต่เธออายุ 16
เดือน แม่ซึ่งทำงานเป็นเลขานุการที่โรงเรียน และแต่งงานใหม่
แต่เธอไม่ลงรอยกับพ่อเลี้ยงใหม่ ทำให้เธอมักใช้เวลาว่างหลบไปดูละครและภาพยนตร์
และฝันอยากที่จะเป็นดารา เธอเรียนมัธยมที่ Erasmus Hall High School เป็นสมาชิกนักร้องของโรงเรียน
เพื่อนสมาชิกที่สนิทด้วยคือ นีล ไดมอนด์ กับบ็อบบี้ ฟิชเชอร์
เมื่อเธอเข้าเรียนที่วิทยาลัย เธอรับงานพิเศษช่วงกลางคืน เป็นนักร้องที่ The
Bon souir บาร์เกย์ชื่อดังย่านกรีนนิชวิลเลจ ต่อมาในปี ค.ศ. 1961
เธอได้รับการคัดเลือกเป็นตัวประกอบ ในละครบรอดเวย์เรื่อง I can get it for you
Wholesale ที่นี่ทำให้เธอพลรักกับดาราที่ชื่อ เอลเลียต กูลด์
ซึ่งกลายมาเป็นสามีคนแรกของเธอ จากละครเรื่องนี้ทำให้มีแมวมองจากซีบีเอส ขอเซ็นสัญญากับเธอ มีซิงเกิลแรกคือ Happy Days
Are Here Again ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1962
เสียงตอบรับดีพอใช้ ต่อมาต้นปี 1963 เธอออกผลงานอัลบัมชุดแรกที่ชื่อ The
Barbra Streisand Album มีเพลงดังอย่าง "Cry Me A
River" รวมทั้ง "Happy Days Are Here Again" ในงานประกาศรางวัลแกรมมี่ประจำปี บาร์บรา สไตรแซนด์ ได้รับรางวัลแกรมมี่ในสาขานักร้องหญิงดีเด่น
จากความสำเร็จของอัลบั้มชุดหนึ่ง ตามด้วยอัลบั้มชุดสองและชุดสาม
เธอยังคงกลับไปแสดงละครบรอดเวย์ รับบท แฟนนี ไบรซ์ ในละครเพลงเรื่อง Funny Girl
มีเพลงดังอย่าง "People" ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1968 Funny
Girl สร้างเป็นภาพยนตร์ แสดงคู่กับโอมาร์ ชารีฟ ดาราชายชาวอาหรับจาก ดอกเตอร์ชิวาโก ในปี
ค.ศ. 1968 เธอแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Hello Dolly
รับบทตัวเอกคู่กับวอลเตอร์แมตเธา และมีแขกรับเชิญอย่าง หลุยส์ อาร์มสตรอง ส่วนเพลงเอกนอกจาก Hello
Dolly ยังมีเพลง "Before The Parade Passes
By" ในช่วงที่เกิดสงครามเวียดนาม
เธอไม่เห็นด้วยกับนโยบายของประธานาธิบดีนิกสัน ที่เข้าไปแทรกแซงการเมืองในเวียดนาม
เธอเดินขบวนปราศรัยช่วยหาเสียงให้กับวุฒิสมาชิก จอร์จ แม็กกัฟเวิร์น
ในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
เป็นเหตุทำให้เธอถูกขึ้นบัญชีดำจากประธานาธิบดีนิกสัน แต่ทางผู้ชื่นชอบยังให้การต้อนรับเธออยู่
อย่างผลงานภาพยนตร์เรื่อง What's Up Doc? (1972), Up The Sand box (1972)
ไม่ได้รับการต้อนรับเท่าที่ควร แต่เธอมาดังอีกครั้งกับภาพยนตร์เรื่อง The
Way We Were ภาพยนตร์ในปี 1973 แสดงคู่กับ โรเบิร์ต เรดฟอร์ด
ภาพยนตร์ออกฉายประสบความสำเร็จทั้งรายได้จากรอบฉาย และมีเพลงดังอย่าง "The
Way We Were" ที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาเพลงยอดเยี่ยมประจำปี ค.ศ. 1974เธอยังเลือกนักเขียนเพลงรุ่นใหม่อย่างเช่น
ในอัลบั้มชุด Stoney End มีเพลง "If I
Could Read My Mind" เขียนโดย กอร์ดอน ไลต์ฟุต, "Stoney
End" และ "Time And Love" เขียนโดยลอรา ไนโร จากนั้นตามด้วยชุด Barbra
Joan Streisand เพลง "Where You Lead" เขียนโดย คาโรล์ คิง ต่อมาในปี ค.ศ. 1976
เธอโด่งดังอีกครั้งกับหนังเรื่องใหม่ A Star Is born
ที่มีเพลงดังอย่าง "Evergreen" ซึ่งเธอร่วมเขียนกับ
พอล วิลเลียม
และเพลงนี้ยังได้รับรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ต่อมาในปลายปี
ค.ศ. 1978 เพลง "You Don't Bring Me Flowers" จากอัลบั้ม
The Greatest Hits Vol 2
ที่เธอร้องดูเอตกับ นีล ไดมอนด์ ก็สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ตบิลบอร์ด
จากนั้นในปี 1980 เธอขอให้แบร์รี กิบบ์ เขียนเพลงให้กับเธอขับร้องในอัลบั้มชุด Guilty ซึ่งชุดนี้ขายทั่วโลกถึง 20 ล้านก๊อบปี้
หลังจากนั้นเธอได้ก้าวเป็นผู้อำนวยการสร้าง เขียนบท และกำกับภาพยนตร์ เรื่อง Yentl (1983) ถึงแม้รายได้จะไม่ดีนัก แต่ก็ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์
รวมทั้งได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ ในระยะหลังเธอมีผลงานภาพยนตร์อย่างเรื่อง
The Prince Of Tides (1990), The
Mirror Has Two faces (1997) และ Meet The Fickers (2004) เธอกลับมาทำผลงานเพลงอีกครั้ง กับเพลง "As If We
Never Said Goodbye" จากละครเพลงเรื่อง Sunset
Boulevard และในปี 2005 เธอกลับมาร่วมงานกับ แบร์รี กิบบ์ ในอัลบั้ม Guilty Pleasures
แนทาเนียล อดัมส์ โคล (Nathaniel Adams Coles; 17 มีนาคม ค.ศ. 1919 - 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965) หรือที่รู้จักกันในวงการดนตรีว่า แนท คิง โคล (Nat King Cole) นักเปียโน, นักแต่งเพลงและนักร้องเพลงแจ๊ซชาวอเมริกันโคลเริ่มต้นความสำเร็จจากเป็นนักเปียโนแจ๊ซแนวหน้า จากนั้นก็หันมาทุ่มเทให้กับการร้องเพลง จนกระทั่งกลายเป็นหนึ่งในนักร้องที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักแพร่หลายคนหนึ่ง โคลเกิดที่เมืองมอนโกเมอรี่ รัฐอลาบามา วันเกิดของเขาตรงกับวันเซนต์แพทริก ค.ศ. 1919 บิดาของเขาเป็นนักเทศน์ ช่วงที่เขายังเป็นเด็กอยู่ครอบครัวของเขาย้ายไปที่เมืองชิคาโก รัฐอิลินอยส์ ที่นั่นเองบิดาของเขาได้เลื่อนชั้น มารดาของแนทชื่อเพอรินาได้เป็นผู้ดูแลโบสถ์ เธอเป็นผู้สอนให้เขาเล่นออร์แกนจนกระทั่งอายุได้ 12 ปี แนทแสดงการแล่นดนตรีครั้งแรกเมื่ออายุได้เพียง 4 ขวบโดยเล่นเพลง Yes, We have no bananas ไม่เพียงแต่เขาเรียนรู้เพลงแจ๊ซและกอสเปลเท่านั้น แนทยังเรียนเล่นเพลงคลาสสิกแบบยุโรปด้วย เขากล่าวว่าเขาเคยเล่นเพลงของ "ตั้งแต่บาคถึงรัคมานินอฟ" ครอบครัวโคลอาศัยอยู่ในเขตบรอนซ์วิลในเมืองชิคาโก แนทมักแอบออกจากบ้านไปเข้าคลับฟังเพลงจากศิลปินเช่น หลุยส์ อาร์มสตรอง, เอิร์ล "ฟาธา" ไฮน์ และ จิมมี่ นูน เขาเข้าร่วมโครงการดนตรีที่มีชื่อเสียงที่โรงเรียนดูซาเบิล โคลเริ่มยึดการแสดงดนตรีเป็นอาชีพช่วงกลางยุค 1930 โดยมีแรงบันดาลใจจากการเล่นของเอิร์ล ไฮน์ เขายังเป็นวัยรุ่นอยู่ และช่วงนี้เองที่เขาได้คิดชื่อ แนท โคล ขึ้นมาก พี่ชายคนโตของแนทชื่อ เอดดี้ โคล เป็นคนเล่นเบส ต่อมาได้เข้าร่วมวงกับน้องชาย ไม่นานพวกเขาก็ได้อัดแผ่นเสียงครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1936 ภายใต้ชื่อของเอดดี้ พวกเขาเล่นดนตรีที่คลับสม่ำเสมอ แนทได้ฉายาว่า คิง ให้กับชื่อของเขาจากการที่ไปเล่นดนตรีที่คลับเพลงแจ๊ซแห่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นชื่อเล่นที่นำมาจากกลอนเด็กเล่นชื่อ โอลด์ คิง โคล นอกจากนี้แล้ว โคลยังเป็นนักเปียโนในการทัวร์ระดับชาติช่วงยุคฟื้นฟูตำนานดนตรีแบบแร็กไทม์และละครบรอดเวย์ แต่แล้วทัวร์นี้ล้มเหลวที่เมืองลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นี่เองเขาตัดสินใจตั้งรกราก แนทและเพื่อนนักดนตรีอีกสามคนได้ตั้งวง "คิงโคลสวิงเกอส์" ขึ้นที่เมืองลองบีช และเช่นตามบาร์ท้องถิ่น นอกจากนี้แล้วพวกเขายังได้เงิน 90เหรียญต่อสัปดาห์จากการแสดงให้บาร์ลองบีชไพค์ แนทแต่งงานกับนักเต้นชื่อ เมแกน โรบินสันซึ่งเธอเองก็เคยทัวร์การแสดงระดับชาติกับเขามาก่อน จากนั้นทั้งคู่ก็ย้ายไปที่ลอสแอนเจลิส ที่นั่นเองเขาได้ตั้งวง "แนท คิง โคล ทริโอ" ขึ้น โดยมีแนทเล่นเปียโน ออสการ์ มัวร์เล่นกีต้าร์ และวีสลีย์ ปรินซ์เล่นดับเบิ้ลเบส วงทริโอนี้เล่นที่ลอสแอนเจลิสตลอดยุค1930 และยังเข้าเล่นออกอากาศตามสถานีวิทยุอีกหลายแห่ง หน้าที่ของแนทคือเป็นผู้เล่นเปียโนและคนนำวง มีความเชื่อผิดว่าอาชีพนักร้องของแนทจะไม่เริ่มขึ้นถ้าไม่มีเจ้าของบาร์ขี้เมาคนหนึ่งขอให้แนทร้องเพลง Sweet Lorraine ที่จริงแล้ว แนท โคลได้พูดออกอากาศไว้ว่า เรื่องราวที่เล่าแต่งกันมานั้นฟังดูดี ก็เลยปล่อยให้เลยตามเลย ความจริงคือแนทนั้นร้องเพลงอยู่เนืองๆระหว่างเล่นดนตรี เขาสังเกตว่าผู้ฟังเริ่มขอให้มีการร้องเพลงมากขึ้น เขาเลยสนองข้อคำขอจากผู้ฟัง มีบ้างที่คนฟังขอเพลงที่เขาไม่รู้จัก ดังนั้นเขาจึงร้องเพลง Sweet Lorraine ให้ฟังแทน ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง วีสลีย์ ปรินซ์ทิ้งวงไปและแนทได้หาคนมาแทนที่ เขาคนนั้นคือ จอห์นนี่ มิลเลอร์ ซึ่งต่อมาในยุค1950 ตำแหน่งนี้ก็ถูกแทนโดย ชาร์ลี แฮร์ริส ต่อมาวงได้เซ็นสัญญากับแคปิตอลเรคคอร์ดส ปีค.ศ. 1943 โคล นั้นอยู่กับบริษัทเพลงนี้ไปตลอดชีวิตการทำงานของเขา รายได้จากการขายแผ่นเสียงของแนทนั้นทำกำไรให้กับค่ายเพลงมากในยุคนี้ และยังเป็นแหล่งเงินทุนหลักในการสร้างตึกใหม่ให้กับบริษัท ตึกที่ว่านี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1956 มันเป็นตึกทำการทรงกลมตึกแรกของโลกและรู้จักกันในนาม The house that Nat built หรือ บ้านที่แนทเป็นคนสร้าง โคลจัดว่าเป็นนักเปียโนแจ๊ซแนวหน้า การจัดวงทริโอที่ประกอบไปด้วยเปียโน กีต้าร์และเบสในยุคของบิ๊กแบนด์ของเขานั้นจัดว่าเป็นการปฏิวัติวงการเพลงแจ๊ซ ซึ่งต่อมาภายหลังก็เป็นการจัดวงแจ๊ซทริโอที่นิยมสืบต่อมา เสียงร้องของโคลที่ได้รับความนิยมมากนั้นอยู่ในแผ่นเสียงในปีค.ศ. 1943 ในเพลง Straighten Up and Fly Right ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานพื้นบ้านของชาวแอฟริกัน อเมริกัน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นนิทานที่บิดาของโคลเคยหยิบยกมาเป็นบทเทศน์สั่งสอนคนที่โบสถ์ จอห์นนี่ เมอร์เซอร์ เป็นคนเชิญเขามาอัดเพลงนี้ให้แก่ค่ายเพลงแคปิตอลเรคคอร์ดส แผ่นเสียงขายได้มากกว่า 500,000 แผ่น ในยุค1940 โคลได้เริ่มอัดและร้องเพลงที่เป็นป๊อปมากขึ้นสำหรับผู้ฟัง ส่วนมากแล้วเพลงในยุคนี้จะร้องกับวงเครื่องสาย โคลกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมหรือป๊อปไอคอน และเป็นที่จดจำในช่วงยุคเพลง The Christmas Song, Nature Boy (1948) , Mona Lisa (1950) , Too Young (1951) และเพลงที่โด่งดังของเขาอีกเพลงคือ Unforgettable (1951) ช่วงนี้นี่เองที่เขาเปลี่ยนไปร้องเพลงที่เป็นสไตล์ป๊อป ทำให้นักวิจารณ์เพลงแจ๊ซและแฟนเพลงแจ๊ซวิจารณ์เขาว่าเขาได้ละทิ้งแจ๊ซขายตัวเองให้เพลงป๊อป แต่ความจริงแล้วเขาไม่เคยทิ้งแจ๊ซไป เห็นได้จากที่เขาได้อัดเพลงที่เป็นแจ๊ซทั้งอัลบั้มในปีค.ศ. 1956 ในชื่อ After Midnight ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 รายการ แนท คิง โคล โชว์ (Nat King Cole Show) ออกอากาศเป็นครั้งแรกผ่านทางช่อง NBC-TV คนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่า แนท โคลเป็นคนแอฟริกัน อเมริกันคนแรกที่เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ แต่ความจริงแล้วผู้ที่เป็นคนแรกคือ ฮาเซล สก็อต นักร้องและนักเปียโนแจ๊ซในปี1950 รายการของแนทนั้นเป็นรายการโทรทัศน์แรกที่มีดารานักร้องชื่อดังอย่างแนทเป็นพิธีกรเสียมากกว่า เริ่มแรกนั้นรายการออกอากาศทุกคืนวันจันทร์เป็นเวลา15นาที ต่อมารายการได้ขยายเวลาออกไปเป็นครึ่งชั่วโมงในเดือนกรกฎาคมปี1957รายการของโคลนั้นได้เพื่อนนักร้องนักดนตรีหลายคนในวงการช่วยเหลือผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเป็นแขกให้รายการเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน เริ่มต้นจาก แฟรงกี้ แลน นักร้องผิวขาวคนแรกที่มาเป็นแขกให้รายการ ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนทำลายกำแพงสีผิว เอลล่า ฟิตเจอรัลด์, แฮร์รี่ เบลาฟอนเต้, เมล ทอร์เม้, เปกกี้ ลี และเอิร์ธ่า คิท เป็นต้น รายการของเขานั้นส่วนมากผลิตโดยขาดทุนสนับสนุนระดับชาติ รายการออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1957 รายการของโคลอยู่รอดมาได้เพียงปีเดียวเท่านั้นทั้งนี้ก็เป็นเพราะโคลเพียงผู้เดียว ไม่ใช่ช่องNBC ซึ่งทางช่องเองที่เป็นคนตัดสินใจถอดรายการออก ความจริงคือทั้งทางช่องและตัวแนทเองที่ได้ทำรายการทั้งๆที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างมหันต์ คนต่างเชื่อกันว่ารายการของโคลนั้นต้องปิดไปเพราะเหตุนี้ทั้งๆที่ได้รับความนิยมสูง แต่ความจริงแล้วคือรายการของเขานั้นต้องแพ้ให้กับรายการคู่แข่งทางช่อง ABC รายการเพลงเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงโดยมีปัจจัยอย่างคนดูที่ไม่แน่นอน ตัวอย่างรายการที่เกิดขึ้นและดำเนินไปได้เพียงฤดูเดียวได้แก่ของ แฟรงค์ ซินาตร้าในปี1957 จูดี้ การ์แลนด์ในปี 1963 และ จูลี่ แอนดรูส์ในปี 1972 เป็นต้น รายการทีวีของโคลนั้นถูกเพิกถอนเพราะว่าผู้ให้สนับสนุนหลักไม่อยากที่จะให้เงินสนับสนุนรายการที่ออกอากาศศิลปินผิวสี โคลนั้นต่อสู้กับการเหยียดสีผิวมาต่อชีวิต เขาปฏิเสธที่จะเล่นดนตรีในรายการที่มีการแยกสีผิวอย่างเห็นได้ชัด ในปี1956 เขาถูกโจมตีเพื่อที่จะลักพาตัวบนเวทีระหว่างร้องเพลง Little Girl ในเมืองเบอมิงแฮม รัฐอลาบามา โดยสมาชิกสามคนจาก North Alabama White Citizens' Council โคลได้รับบาดเจ็บที่หลัง เขาไม่ได้เล่นจนจบคอนเสิร์ตและไม่เคยหวนกลับไปแสดงดนตรีทางรัฐทางใต้อีกเลย ตลอดยุค 1950 โคลยังคงความนิยมได้อย่างต่อเนื่องเช่น จากเพลง Smile, Pretend, A Blossom Fell และ If I May เป็นต้น เพลงที่เป็นที่นิยมเหล่านี้ได้ผู้เรียบเรียงและควบคุมที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น เนลสัน ริดเดิ้ล, กอร์ดอน เจนคินส์ และราลฟ์ คาร์มิคาเอล เป็นต้น ริดเดิ้ลเป็นคนเรียบเรียงอัลบั้มในยุค1950ของโคล เช่นอัลบัมแผ่นLP 10นิ้วในปี1953 ชื่อ Nat King Cole Sings For Two in Love เจนคินส์เป็นคนเรียบเรียงให้เพลง Love Is The Thing ที่ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในอัลบั้มปี1957เดือนเมษายน ปีค.ศ. 1958 โคลไปที่ฮาวาน่า ประเทศคิวบา เพื่ออัดอัลบั้มเพลงของเขาในภาษาสเปนชื่อ Cole Espanol รสนิยมการฟังเพลงที่เปลี่ยนไปในยุคปี1950 ทำให้การร้องเพลงของโคลไม่เป็นที่นิยมในหมู่คนฟังวัยเยาว์ แม้ว่าเพลง Send For Me จะเอาชัยเพลงสไตล์ร็อก แอนด์ โรล ไต่ชาร์ตสูงสุดที่อันดับที่หก โคลกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในระหว่างยุค1960 ด้วยเพลงที่มีกลิ่นอายเพลงคันทรี่อย่าง Ramblin' Rose, Dear Lonely Hearts, Those Lazy, Hazy, Crazy Days of Summer และ That Sunday, That Summer เป็นต้น โคลร่วมเล่นภาพยนตร์สั้นและซิทคอมหลายเรื่องเช่น เล่นเป็น W.C. Handy ในหนังเรื่อง St. Louis Blues (1958) และปรากฏตัวใน The Nat King Cole Story, China Gate และ The Blue Gardenia (1953) และเรื่อง Cat Ballou ในปี1965 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ออกฉายสองสามเดือนหลังเขาตาย โคลเป็นคนสูบบุหรี่จัด เขาสูบบุหรี่เกือบสามซองต่อวัน เขาตายด้วยโรคมะเร็งปอดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 ระหว่างในช่วงที่เขายังประสบความสำเร็จในอาชีพนักร้องอยู่ หนึ่งวันก่อนเขาตาย เขาได้สัมภาษณ์ออกอากาศผ่านทางวิทยุกล่าวว่า "ผมรู้สึกดีขึ้นกว่าก่อน ผมคิดว่าในที่สุดผมก็จัดการมะเร็งนี่อยู่" หนังสือชื่อ Chicken Soup for the Soul ฉบับปีค.ศ. 1977 เขียนเรื่องของเขาว่า วันที่เขากำลังจะตายนั้น ภรรยาของโคลชื่อ มาเรีย เกือบพลาดมาดูใจเขาเพราะประสบปัญหากับรถยนต์ แต่ว่านี่เป็นเพียงเรื่องเล่าต่อๆกันมาเท่านั้น อัลบั้มสุดท้ายของเขาชื่อ L-O-V-E อัดขึ้นในต้นเดือนธันวาคมปี 1964 เพียงแค่สองสามวันก่อนที่เขาจะเข้าโรงพยาบาลรับการรักษาโรคมะเร็งปอด และเป็นอัลบั้มที่ปล่อยออกไปก่อนที่เขาจะจากโลกนี้ไป เพลง L-O-V-E นั้นขึ้นเป็นอันดับสี่ของบิลบอร์ดชาร์ตในฤดูใบไม้ผลิปี 1965 ต่อมาเพลงที่อัดในปี 1957 อย่าง When I Fall In Love ก็ขึ้นเป็นอันดับสี่ใน UKชาร์ตของสหราชอาณาจักร ในปี1987 ในปี 1983 คนดูแลจัดเก็บเอกสารของ EMI Electrola Records (ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแคปิต็อล) คนพบเพลงของโคลที่อัดไว้แต่ไม่เคยถูกปล่อยออกมา ซึ่งหนึ่งในนั้นมีเพลงที่ร้องเป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาสเปน ชื่อเพลง Tu Eres Tan Amable แคปิต็อลปล่อยเพลงพวกนี้ออกมาในที่สุดในปีหลังๆในรูปของแผ่นLP ชื่อ Unreleased โคลได้รับเกีรยติให้มีชื่อขึ้นใน Alabama Music Hall of Fame และ Alabama Jazz Hall of Fame เขาได้รับเกียรติให้ได้รับรางวัล Grammy Lifetime Achievement Award ในปี 1990 และในปี 1997 ก็ได้รับเกียรติให้มีชื่อใน Down Beat Jazz Hall of Fame ในปี 2007 ใน Hit Parade Hall of Fame ในปี1991 Mosaic Recordsได้ปล่อยอัลบั้ม The Complete Capitol Recordings of the Nat King Cole Trio ซึ่งประกอบไปด้วย ซีดีจำนวน18แผ่น มีเพลงถึง349เพลงด้วยกันในชุด และอัลบั้มพิเศษนี้ยังมีในรูปของแผ่นLPคุณภาพดีจำนวน27แผ่นด้วยน้องชายคนเล็กสุดของแนทชื่อว่า เฟรดดี้ โคล และลูกสาวของแนท นาตาลี โคล ล้วนดำเนินรอยตามเขาโดยการเป็นนักร้องอาชีพ ฤดูร้อนปี 1991 นาตาลีและบิดาของเธอได้รับความนิยมอย่างไม่ได้คาดหมายเอาไว้ จากการที่เธอนำเสียงของเธอและพ่อมารวมเข้าด้วยกันในเพลง Unforgettable โดยเพลงนี้เป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้มของเธอที่มอบให้กับบิดา เพลงและอัลบั้มในชื่อเดียวกันคือ Unforgettable นี้ได้รับรางวัล7รางวัลจาก Grammy Award ในปี 1992
พอล อัลเบิร์ต แองคา (Paul Albert Anka), OC เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ในออตทาวา รัฐออนแทริโอ เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดงชาวแคนาดา ที่มีเชื้อสายเลบานอน เขาเป็นพลเมืองอเมริกันในปี 1990 แองคา โด่งดังในฐานะทีนไอดอลในช่วงปลายทศวรรษ 1950 และทศวรรษ 1960 เขามีเพลงดังอย่าง "Diana", "Lonely Boy", และ "Put Your Head on My Shoulder" เขายังเขียนเพลงดังที่เป็นที่รู้จักอย่างเพลงธีม The Tonight Show Starring Johnny Carson และเพลงดังของทอม โจนส์ ที่ชื่อ She's A Lady และแต่งเนื้อให้กับเพลงประจำตัวของแฟรงก์ ซินาตรา ที่ชื่อ "My Way"
เดอะบีทเทิลส์ (The Beatles) หรือวงสี่เต่าทอง เป็นวงร็อกแอนด์โรลจากเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ในยุค 1960 เป็นหนึ่งในกลุ่มนักดนตรีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดและมีบทบาทอันโดดเด่นอย่างมากในประวัติศาสตร์ดนตรีป๊อป สมาชิกของวงนับจากปี ค.ศ. 1962 ประกอบด้วย แม้ในตอนเริ่มต้นแนวดนตรีจะเป็นแบบสกิฟเฟิ่ลและร็อกแอนด์โรล แต่ในเวลาต่อมาแนวเพลงก็หลากหลาย นับแต่ไปจนถึงไซเคเดลิค บางครั้งก็ผสมแนวดนตรีคลาสสิกหรือเครื่องดนตรีแบบอื่นๆ เดอะบีเทิลส์ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในช่วงปี 1963-1969 เป็นวงที่ถือสถิติเพลงอันดับ 1 มากที่สุดทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา (ในอังกฤษ 17 ซิงเกิลในอเมริกา 20 ซิงเกิล) ส่วนอัลบั้ม วงเดอะบีเทิลส์ ถือเป็นวงดนตรีที่ขายดีที่สุดในโลก คือขายไปมากกว่า 48 ล้านก๊อบปี้ แล้ว ราว 177 เป็นยอดขายเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ในยุคต้นของพวกเขา มีเพลงดังอย่าง She Loves You, Twist And Shout, I Want To Hold Your Hand, Please Please Me ในยุคที่ 2 ในชุด Help, Rubber Soul หรือ Revolver และผลงานอยู่ในช่วงพีคสุดอย่าง Sgt.Pepper Lonely Heart Club Band, Magical Mystery Tour และ White Album ก่อนที่จะจบลงด้วย 2 อัลบั้มสุดท้ายอย่าง Let It Be และ Abbey Road บุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายหรือสารเคมีที่ทำให้ผลงานอันยอดเยี่ยมที่กล่าวมานี้สมบูรณ์แบบเป็นอมตะ ต้องยกให้กับโปรดิวเซอร์ของวงอย่าง จอร์จ มาร์ติน ผู้ที่อยู่เคียงข้างเหล่าสี่เต่าทองตั้งแต่เริ่มเรียนรู้วิธีการเขียนเพลงและการทำงานให้ห้องบันทึกเสียง จนสมาชิกในวงกลายเป็นนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่ของโลกกันหมด ในยุคต้นของพวกเขา มีเพลงดังอย่าง She Loves You, Twist And Shout, I Want To Hold Your Hand, Please Please Me ในยุคที่ 2 ในชุด Help, Rubber Soul หรือ Revolver และผลงานอยู่ในช่วงพีคสุดอย่าง Sgt.Pepper Lonely Heart Club Band, Magical Mystery Tour และ White Album ก่อนที่จะจบลงด้วย 2 อัลบั้มสุดท้ายอย่าง Let It Be และ Abbey Road , จอห์น เลนนอน และพอล แม็คคาร์ทนีย์ คือสมาชิกผู้ก่อตั้งวง ร่วมดัวย จอร์จ แฮริสัน และริงโก สตาร์ กลายเป็นสมาชิกถาวรของวง 4 คนที่ได้รับฉายาว่า 4 เต่าทอง มีอัลบั้มและเพลงฮิตติดชาร์ตบิลบอร์ดและดังไปทั่วโลกมากมาย ปัจจุบันคงเหลือสมาชิกเพียงแค่พอล แม็คคาร์ทนีย์และริงโก สตาร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่สถานภาพของวงได้แยกวงไปตั้งแต่ยุค 70’s แล้ว แต่งานเพลงยังคงเป็นอมตะจนถึงทุกวันนี้
บ็อบ ดีแลน (Bob Dylan) หรือชื่อจริง โรเบิร์ต อัลเลน ซิมเมอร์แมน (Robert Allen Zimmerman) เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เป็นนักประพันธ์ กวี จิตรกร ที่มีผลงานในวงการเพลงป็อปตลอด 5 ทศวรรษ มีผลงานดังส่วนใหญ่ในทศวรรษ 1960 มีเพลงอย่างเช่น "Blowin' in the Wind" และ "The Times They Are a-Changin'" ที่เป็นเหมือนเพลงชาติของการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ผลงานสตูดิโออัลบั้มล่าสุดของเขาคือชุด Modern Times ออกขายเมื่อ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ติดชาร์ทอัลบั้มในอเมริกาที่อันดับ 1 และในปีเดียวกันนิตยสารโรลลิงสโตนยกให้เป็นอัลบั้มแห่งปี เนื้อเพลงของดีแลนยุกแรก จะเกี่ยวกับการเมือง สังคม ปรัชญา และอิทธิพลจากกวี ที่ต่อต้านเพลงป็อปที่มีอยู่และดึงดูดวัฒนธรรมที่แปลกต่างจากที่มีอยู่ในสังคมที่มีอยู่กว้างขวาง ขณะที่ใส่ดนตรีของตัวเองเข้าไป เขาพบว่าธรรมเนียมของเพลงอเมริกา จากเพลงโฟล์ก, บลูส์ และเพลงคันทรี ไปสู่ดนตรีกอสเปล, ร็อกแอนด์โรล และร็อกอะบิลลี สู่เพลงโฟล์กแบบอังกฤษ สก็อต และไอริช, หรือแม้แต่แจ๊ส สู่เพลงสวิง ดีแลนเล่นกีตาร์ ,เปียโน และฮาร์โมนิกา โดยมีนักดนตรีช่วยเสริม เขาทัวร์ตั้งแต่ปลายยุค 1980 โดยใช้ชื่อทัวร์ว่า "Never Ending Tour" ถึงแม้จะประสบความสำเร็จด้านการแสดงดนตรีและเป็นศิลปินเพลง ผลงานการเขียนเพลงของเขาก็ยังยอดเยี่ยมอีกด้วย ตลอดอาชีพเขา ดีแลนได้รับรางวัลมากมายทั้งผลงานการเขียนเพลง การเล่นดนตรี และผลงานเพลง ซึ่งผลงานเพลงเขาได้รับรางวัลแกรมมี่ รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลออสการ์ เขายังมีชื่ออยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม, แนชวิลซองไรเตอร์สฮอลออฟเฟม และ ซองไรเตอร์สฮอลออฟเฟม และในปี 2008 เขาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ รางวัลพิเศษ "สำหรับสร้างผลกระทบต่อวงการเพลงป็อปและวัฒนธรรมอเมริกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยเนื้อเพลงที่มีพละกำลังด้านกวีอย่างพิเศษ"
เดอะ คิงค์ส
(The Kinks) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติอังกฤษ
ตั้งแต่ปี 1963 ประกอบด้วยสมาชิกด้วย เรย์ เดวีส์
เดฟ เดวีส์
และ มิก เอโวรี มีชื่อเสียงในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ
1960 จากซิงเกิ้ลดังอย่าง "You Really Got Me"
จีมี เฮนดริกซ์ - เจมส์ มาร์แชลล์ เฮนดริกซ์ (James Marshall Hendrix) หรือชื่อเกิด จอห์นนี อัลเลน เฮนดริกซ์ (Johnny Allen Hendrix) (27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 - 18 กันยายน ค.ศ. 1970) เป็นนักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นนักกีต้าร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรีร็อก โดยนักดนตรีและนักวิจารณ์มากมายในแวดวงบันเทิง และเป็นหนึ่งในบุคลสำคัญที่มีบทบาทต่อดนตรีหลายๆ แนวในยุคของเขา หลังจากประสบความสำเร็จในยุโรปในช่วงแรก จึงเริ่มมีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา หลังจากการแสดงใน มอนเทอเรย์ป็อปเฟสติวัล ต่อมาเขาก็ได้เล่นเป็นวงหลักในเทศกาลวู้ดสต็อกปี 1969 และเทศกาลไอเซิลออฟไวต์ ในปี 1970 บ่อยครั้งเฮนดริกซ์ชอบที่จะใช้เสียงโอเวอร์ไดรว์ฟแบบดิบๆ จากตู้แอมป์ร่วมกับ Gain (ปริมาณเสียงที่ส่งมาจากกีต้าร์) จำนวนมาก รวมไปถึง Treble (เสียงย่านแหลม) ด้วย ซึ่งได้ช่วยพัฒนาเทคนิคในการทำให้เกิดเสียง Feedback (เสียงหอน) จากแอมป์กีต้าร์ เฮนดริกซ์เป็นหนึ่งในนักดนตรีที่ทำให้แป้นเหยียบวาห์-วาห์ ได้รับความนิยมในดนตรีร็อกกระแสหลัก ซึ่งเขามักจะใช้เพื่อขยายขอบเขตของระดับเสียงในโซโล่ของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการดันสายที่เป็นเสียงสูง และการใช้เลกาโตที่ยืนพื้นบนสเกลเพนตาโทนิก เขาได้รับอิทธิพลในการเล่นมาจากศิลปินในแนวบลูส์ เช่น B. B. King, Muddy Waters, Howlin' Wolf, Albert King และ Elmore Jame นักกีต้าร์แนวอาร์แอนด์บีและโซล อย่าง Curtis Mayfield, Steve Cropper เช่นเดียวกับดนตรีโมเดิร์นแจ๊ส ในปี 1966 เฮนดริกซ์ผู้ซึ่งได้ร่วมเล่นและบันทึกเสียงกับวง ลิตเทิล ริชาร์ด ในระหว่างปี 1964 ถึง 1965 ได้เคยบอกว่า "ผมอยากจะทำกับกีต้าร์ของผมในสิ่งที่ลิตเทิล ริชาร์ดทำกับเสียงร้องของเขา คาร์ลอส ซานตาน่า ได้ให้ความเห็นว่าดนตรีของเฮนดริกซ์อาจจะได้รับอิทธิพลมาจากวิถีชีวิตของชาวอเมริกันของเขา ในฐานะโปรดิวเซอร์ เฮนดริกซ์ได้ใช้ห้องบันทึกเสียงในการต่อยอดความคิดของเขา ซึ่งเขาเป็นคนแรกๆ ที่ได้ทดลองเกี่ยวกับเสียงแบบสเตอริโอ และ เทคนิค Phasing สำหรับบันทึกเสียงเพลงร็อก เฮนดริกซ์ ได้รับรางวัลที่มีเกียรติเกี่ยวกับวงการเพลงร็อกมากมายตลอดชีวิตเขา และยังได้รับเพิ่มมาหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้วอีกมาก รวมถึงได้มีชื่ออยู่ในยูเอสร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ในปี 1992 และยูเคมิวสิกฮอลออฟเฟมในปี 2005 ที่อังกฤษก็มีป้ายชื่อของเขา ณ บ้านที่เขาเคยอาศัยที่ถนนบรู๊ก ใน ลอนดอน เมื่อเดือนกันยายนปี 1997 ดาวที่เป็นชื่อของเขาที่ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม(ตั้งอยู่ที่ 6627 ฮอลลีวูด บูเลวาร์ด) ได้ถูกทำขึ้นมาในปี 1994 ในปี 2006 ผลงานอัลบั้มเปิดตัวในยูเอสของเขา อาร์ ยู อิคเพียเรียนซ์ (Are You Experienced) ได้รับเลือกให้อยู่ใน United States National Recording Registry และนิตยสารโรลลิงสโตน ให้เฮนดริกซ์อยู่อันดับ 1 ในบรรดานักกีตาร์ ในหัวข้อ 100 อันดับ นักกีตาร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล ในปี 2003 เขายังเป็นคนแรกที่ถูกเสนอชื่อเข้าสู่ Native American Music Hall of Fame อีกด้วย
เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์ (The Velvet Underground) เป็นวงร็อกอเมริกัน ก่อตั้งวงในนิวยอร์กซิตี มีผลงานระหว่างปี ค.ศ. 1964 ถึง 1973 มีสมาชิกที่เป็นที่รู้จักคือ ลู รีด และจอห์น เคล ทั้งคู่ประสบความสำเร็จจากผลงานเดี่ยว วงได้รับคำวิจารณ์ว่าเป็นหนึ่งในวงสำคัญที่มีอิทธิพลต่อยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 แอนดี้ วอร์ฮอล มีส่วนเกี่ยวข้องกับวง เขาได้ให้บ้านของเขาเป็นสตูดิโอ
เดอะโรลลิงสโตนส์ (The Rolling Stones) เป็นวงร็อกอังกฤษ ก่อตั้งวงในปี 1962 ในลอนดอน โดยหัวหน้าวงดั้งเดิม ไบรอัน โจนส์ และนักเปียโน เอียน สจ๊วต ร่วมด้วยนักร้อง มิก แจ็กเกอร์ และมือกีตาร์ คีธ ริชาร์ดส ในช่วงแรกแจ็กเกอร์และริชาร์ดส ร่วมในฐานะผู้ร่วมเขียนเพลง จากนั้นเริ่มนำวงหลังจากเกิดปัญหาและความไม่เอาแน่เอานอนของโจนส์ ต่อจากนั้น มือเบส บิลล์ ไวแมน และมือกลอง ชาร์ลีย์ วัตส์ ก็เข้ามาเป็นสมาชิกในยุคแรก และสจ๊วตรู้สึกว่าไม่เหมาะสมกับการเป็นทีนไอดอล จึงออกจากวงอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1963 แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการวงในช่วงออกเดินทางทัวร์ และเป็นมือคีย์บอร์ด จนเขาตายในปี 1985 ในช่วงแรกผลงานส่วนใหญ่จะนำเพลงเก่าในรูปแบบบลูส์อเมริกันและอาร์แอนด์บี มาทำใหม่ หลังจากที่วงประสบความสำเร็จครั้งแรกในสหราชอาณาจักร พวกเขาก็เริ่มประสบความสำเร็จในอเมริกาหลังจากออกรายการ "British Invasion" ในต้นยุคทศวรรษ 1960 วง เดอะโรลลิงสโตนส์มีภาพลักษณ์ที่ขัดกับวงคู่แข่งอย่าง เดอะบีทเทิลส์อย่างเห็นได้ชัดคือ มีภาพลักษณ์เป็นพวกยาวรุงรังและต่อต้านสังคม มีซิงเกิลดังในปี 1965 อย่าง "(I Can't Get No) Satisfaction" และมีผลงานอัลบั้ม Aftermath หลังจากนั้นโจนส์เสียชีวิตในปี 1969 หลังจากถูกไล่ออกจากวง และแทนที่โดย มิก เทย์เลอร์ ซึ่งเทย์เลอร์ร่วมบันทึกเพลงกับวง 5 สตูดิโออัลบั้มก่อนออกจากวงในปี 1974 หลังจากนั้นมือกีตาร์ รอนนีย์ วูด เข้ามาในวง จากนั้นไวแมนออกจากวงในปี 1983 และดาร์รีล โจนส์ เข้ามาเป็นสมาชิกวงอย่างไม่เป็นทางการ เขาทำงานกับวงตั้งแต่ปี 1994 เดอะโรลลิงสโตนส์ ออกสตูดิโออัลบั้มมา 22 อัลบั้มในสหราชอาณาจักร (24 ชุดในสหรัฐอเมริกา) มีอัลบั้มคอนเสิร์ต 8 ชุด (9 ชุดในสหรัฐอเมริกา) และมีอัลบั้มรวมเพลงอีกหลายชุด มียอดขายรวม 200 ล้านชุดทั่วโลก อัลบั้มล่าสุดของพวกเขาคือ A Bigger Bang ออกในปี 2005 และเขายังมีสถิติในชุด Sticky Fingers (1971) ที่ถือเป็นอัลบั้มอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ถึง 8 ชุด นอกจากนี้พวกเขายังมีชื่ออยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ในปี 2004 และติดอันดับ 4 ของการจัดอันดับนิตยสารโรลลิงสโตนในหัวข้อ 100 ศิลปินที่เยี่ยมที่สุดตลอดกาล
เดอะดอร์ส
(The Doors)
เป็นวงดนตรีร็อคจากอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี 1965 ที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
พร้อมโดย จิม มอร์ริสัน -
ร้องนำ , เรย์ แมนซาเรก - คีย์บอร์ด,
ร็อบบี้ ครีเจอร์ - กีตาร์ และ จอห์น เดนสมอร์ - กลอง
ชื่อวงนำมาจากหนังสือของอเดาว์ ฮัตเลย์ The Door Of Perception ดนตรีของเดอะดอร์สเป็นการผสมผสานเพลงการาจร็อก,
บลูส์ และเอซิดร็อก รวมกัน พวกเขามักตกอยู่ในข้อพิพาทหลายกรณี
อันเนื่องจากเนื้อหาของเพลงรวมถึงการแสดงบนเวทีที่คาดเดาไม่ได้ของมอร์ริสัน
หลังจากที่มอร์ริสันเสียชีวิตเมื่อ 3 กรกฎาคม 1971 พวกเขายังคงมีวงต่อมากับสมาชิก
3 คนที่เหลือ จนแตกวงไปในปี 1973 จากการรายงานของ RIAA พวกเขามียอดขายอัลบั้มมากกว่า
32 ล้านชุดเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่เดียว การก่อตั้งเดอะดอร์สเกิดขึ้นจาก จิม มอร์ริสัน
และ เรย์ แมนซาเรน
ขณะที่พวกเขาศึกษาในมหาวิทยาลัยภาพยนตร์ UCLA School of Theater, Film and
Television, ในแถบหาดเวนิส เดือนกรกฎาคม 1965
มอริสันกล่าวกับแมนซาเรนว่าเขาสามารถประพันธ์เนื้อเพลงได้
และจิมยังเป็นคนประพันธ์เนื้อเพลง Moonlight Drive
ร่วมกับแมนซาแรด โดยสมาชิกมีพื้นทางดนตรีที่ต่างกันออกไป แจ็ส , ร็อค , บลูส์ , โฟลค์ มือคียบอร์ดแมนซาเรน ได้เป็นสมาชิกในวง Rick & the
Ravens และพี่น้องของเขา ริค และ จิม แมนซาเรน พร้อมทั้งมือกลอง John
Densmore ในนามวง The Psychedelic Rangers และพี่น้องตระกูลแมนซาเรนก็ขอแยกตัวออกมาจากวง เดือนสิงหาคม
, Densmore ได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม , และเปลี่ยนชื่อเป็นเดอะดอร์ส
, โดยสมาชิกมี 5 คน พร้อมทั้ง Patty Sulivan มือเบส , ได้อัดเพลงเดโมจำนวน 6 เพลงในเดือนกันยายน
1965
เดอะบีชบอยส์ (The
Beach Boys) เป็นวงร็อกอเมริกัน ก่อตั้งในปี 1961 วงมีชื่อเสียงในการร้องเสียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเนื้อเพลงทีสะท้อนที่วัฒนธรรมของวัยรุ่นแคลิฟอร์เนีย
อย่างรถ และการโต้คลื่น ความทะเยอทะยานของไบรอัน วิลสัน
ที่ต่อมาได้เปลี่ยนพวกเขาให้เป็นกลุ่มศิลปินรูปแบบใหม่
ทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีและมีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลัง สมาชิกประกอบด้วย นักร้อง-นักดนตรี-นักแต่งเพลง
อย่างไบรอัน วิลสัน, น้องชายของเขา คาร์ลและเดนนิส, ลูกพี่ลูกน้องของเขา ไมค์ เลิฟ และเพื่อนของเขา อัล จาร์ดีน
สมาชิกหลักทั้ง 5 คนก็ยังมีสมาชิกในช่วงแรกอย่าง เดวิด มาร์ก
และบรูซ จอห์นสัน พวกเขายังมีชื่ออยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ในปี 1988 ชื่อของเดอะบีชบอยส์ มักจะถูกเรียกว่า "วงแห่งอเมริกัน"และทางเว็บไซต์ออลมิวสิก
ยังกล่าวไว้ว่า "ด้วยความสามารถของวงที่เที่ยงตรง...ทำให้พวกเขาเป็นวงร็อกอเมริกันที่ดีที่สุดวงแรก" พวกเขามีเพลงฮิตติดในท็อป 40 ในสหรัฐอเมริกา อยู่ 36 เพลง (มากที่สุดในบรรดาวงร็อกอเมริกัน)
และ 56 เพลงฮิตในชาร์ทฮ็อต 100
รวมถึงมีซิงเกิลอันดับ 1 ถึง 4 ซิงเกิล
นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับพวกเขาอยู่ใน 100 อันดับศิลปินที่เยี่ยมที่สุดตลอดกาล
นอกจากนี้นิตยสารบิลบอร์ด ในแง่ของยอดขายซิงเกิลและอัลบั้ม เดอะบีชบอยส์เป็นวงอเมริกันที่มียอดขายมากที่สุดเป็นอันดับ
1 ตลอดกาล มีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปในอาชีพของพวกเขา
ไม่ว่าจะทั้งแนวเพลงและสมาชิก สิ่งหนึ่งคือการป่วยทางจิตของไบรอัน วิลสัน
และการใช้ยา รวมถึงการเสียชีวิตของเดนนิสและคาร์ล วิลสัน ในปี 1983 และ 1998 ตามลำดับ และยังมีการต่อสู้ทางด้านกฎหมายของสมาชิกภายในวงอีกด้วย
หลังจากการเสียชีวิตของคาร์ล วิลสัน ทำให้อัล จาร์ดีนถูกขับไล่ออกจากวงโดยไมค์
เลิฟ ต่อมาในปี 2008 เดอะบีชบอยส์ ออกทัวร์
โดยมีเลิฟอยู่ในวง, จอห์นสตัน เป็นวงสนับสนุน
เลิฟได้สิทธิโดยชอบธรรมในชื่อเดอะบีชบอยส์หลังจากความขัดแย้งด้านกฎหมาย อัล จาร์ดีน และไบรอัน วิลสัน
ยังคงทัวร์กับวงแบ็กอัพของตัวเองพิงก์ ฟลอยด์ (Pink Floyd) เป็นวงดนตรีร็อกจากประเทศอังกฤษ ที่ประสบความสำเร็จ และมีอิทธิพลต่อวงการดนตรีร็อกมากที่สุดวงหนึ่ง มียอดขายอัลบั้มทั่วโลกถึง 250 ล้านชุด ยอดขายเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ประมาณ 73.5 ล้านชุด อัลบั้ม The Dark Side of the Moon ของทางวง ติดอันดับ 1 ใน 200 อันดับแรกของนิตยสารบิลบอร์ดต่อเนื่องนานถึง 741 สัปดาห์ หรือ 15 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1973-1988 เป็นสถิติยาวนานที่สุด และสามารถสร้างสถิติในอังกฤษด้วยการอยู่บนชาร์ทได้นาน 301 สัปดาห์ ถึงแม้จะขึ้นสูงสุดที่อันดับ 2 Pink Floyd ยังมีเพลงฮิตได้แก่ "Time" "Money" "Run Like Hell" "Comfortibly Numb" และเพลงอันดับหนึ่งของนิตยสารบิลบอร์ด Hot 100 ครั้งแรกและครั้งเดียวของวง อย่าง "Another Brick in the Wall (Part 2)" Pink Floyd วงดนตรีวงนี้ถือกำเนิดขึ้นจากประเทศอังกฤษ ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สมาชิกรุ่นดั้งเดิมประกอบด้วย 4 นักศึกษาคณะศิลปกรรม Syd Barrett ซึ่งทำหน้าที่เป็นมือกีตาร์ ร้องนำ และเขียนเพลง Roger Waters ทำหน้าที่เป็นมือเบส Nick Mason ทำหน้าที่เป็นมือกลอง และ Rick Wright ทำหน้าที่มือคีย์บอร์ด Pink Floyd เป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการทางดนตรียาวนานถึง 30 กว่าปี แนวเพลง ซึ่งพัฒนาเรื่อยๆ ทั้ง Psychidelics ,Syphonic Rock , Progressive Rock , Art Rock จงไปถึง Serious Music และผู้นำของวงในแต่ละยุคซึ่งแตกต่างกันไปภายหลัง Syd Barrett ได้ออกจากวงไป โดยได้ David Gilmour มาทำหน้าที่เป็นมือกีตาร์แทน Rick Wright ได้ถูกไล่ออกจากวงในช่วง ทำอัลบั้มชุด The Wall และได้กลับเข้าวงใหม่ในช่วงอัลบั้ม A Momentary Lapse Of Reason และภายหลังทำอัลบั้ม The Final Cut ในปี ค.ศ. 1983 Roger Waters ก็ประกาศลาออกจากวง จึงทำให้วงเหลือสมาชิกเพียงแค่ 3 คน คือ David Gilmour,Nick Mason, Rick Wright
ครีเดนซ์ เคลียร์วอเทอร์ รีไววอล (Creedence Clearwater Revival) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อย่อ ซีซีอาร์ - CCR หรือ ครีเดนซ์ เป็นวงดนตรีร็อกอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วยนักดนตรี 4 คน คือ จอห์น โฟเกอร์ที (กีตาร์, ร้องนำ, ฮาร์โมนิกา, เปียโน), ทอม โฟเกอร์ที (กีตาร์, เปียโน), สตู คุค (เบส) และ ดั๊ก คลิฟฟอร์ด (กลอง และเพอร์คัสชัน) วงซีซีอาร์ มีจุดเริ่มต้นมาจากวง The Blue Velvets ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 สมาชิกวงประกอบด้วย จอห์น โฟเกอร์ที, สตู คุค, ดั๊ก คลิฟฟอร์ด ต่อมา ทอม โฟเกอร์ที พี่ชายของจอห์น เริ่มเข้ามาร่วมวงด้วยตั้งแต่ พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) ในปี 1964 ทางวงเซ็นสัญญาบันทึกกับบริษัท แฟนตาซีเรคคอร์ดส์ เปลี่ยนชื่อวงเป็น The Visions และ The Golliwogs ผลงานของวงในช่วงนี้ไม่ประสบความสำเร็จนัก ในปี 1967 บริษัท แฟนตาซีเรคคอร์ดส์ เปลี่ยนผู้บริหาร และเสนอที่จะออกอัลบั้มให้กับวง โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเปลี่ยนชื่อวงใหม่ ทั้งสี่คนตั้งชื่อวงใหม่ว่า ครีเดนซ์ เคลียร์วอเทอร์ รีไววอล โดย ครีเดนซ์ มาจากชื่อ ครีเดนซ์ นูบอล เพื่อนของทอม, เคลียร์วอเทอร์ มีความหมายถึง การรักษาสิ่งแวดล้อม และ รีไววอล หมายถึง การกลับมารวมวงอีกครั้ง ซีซีอาร์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซิงเกิล "Suzie Q" ของวง เป็นเพลงแรกที่ขึ้นไปถึงอันดับ Top 40 ในปี 1968 ในปีต่อมาเพลง "Proud Mary" ขึ้นถึงอันดับ 2 จัดอันดับโดยนิตยสารบิลบอร์ด เพลงนี้กลายเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดของวง ถูกนำมาร้องใหม่หลายครั้ง รวมทั้งโดย ไอค์และทิน่า เทอร์เนอร์ ทางวงมีผลงานอัลบั้มทั้งสิ้น 7 ชุด มีซิงเกิลขึ้นถึงอันดับ 2 ของอเมริกาทั้งสิ้น 7 เพลง ก่อนจะประกาศยุบวงในเดือนตุลาคม 1972 หลังจากยุบวง สตู คุค และดั๊ก คลิฟฟอร์ด ยังมีผลงานร่วมกันในชื่อวง Creedence Clearwater Revisited ตั้งแต่ปี 1995 ส่วน ทอม โฟเกอร์ที เสียชีวิตเมื่อปี 1990 ด้วยโรคเอดส์ ซึ่งติดมาจากการถ่ายเลือด ในประเทศไทย เพลงของซีซีอาร์ ที่เป็นที่นิยม คือเพลง Have You Ever Seen The Rain? ซึ่งมาขับร้องใหม่โดย Joan Jett and The Blackhearts เมื่อปี 1990
เดอะฮู (The Who) เป็นวงดนตรีร็อกจากอังกฤษ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1964 ได้รับการยอมรับ และมีอิทธิพลต่อวงการดนตรี มีชื่อเสียงในการแสดงสด สมาชิกสำคัญในวงประกอบด้วย พีท ทาวเซนด์ (กีตาร์), โรเจอร์ ดาลเทรย์ (ร้องนำ, ฮาร์โมนิกา), จอห์น เอนทวิสเทิล (เบส) และ คีธ มูน (กลอง) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1964 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เดิมตั้งชื่อวงว่า The Detours ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น The High Numbers วง เดอะฮู นี้ เป็นที่รู้จักกันดีด้วยมุขการทำลายเครื่องดนตรีบนเวทีแสดง โดยเฉพาะ พีท ทาวเซนด์ มือกีตาร์ของวง เป็นที่รู้จักกันดีในการฟาดกีตาร์ และ มือกลองอย่าง คีธ มูน ได้นำเอากระเดื่องกลองคู่มาใช้กับวงเป็นคนแรกๆ ในระยะแรกของวง มีภาพลักษณ์ตัวเองว่าเป็นพวกมอด โด่งดังมากจากเพลงสัญลักษณ์วัยรุ่นในยุคนั้น คือเพลง My Generation (1965) ต่อมาในปี ค.ศ.1978 คีธ มูน ก็เสียชีวิตเพราะเสพยาเสพติดเกินขนาด แล้วก็ได้มือกลองมาใหม่ ชื่อ เคนนี โจนส์ แต่ต่อมาอีก 3 ปีก็แยกวงกัน แล้วก็กลับมารวมตัวกัน และก็มาแยกวงกันอีก และก็กลับมารวมตัวกัน แล้วก็มาแยกวงกันอีก จนกระทั่ง ปี 2002 จอห์น เอนทวิสเทิล มือเบสของวงก็เสียชีวิตเพราะเสพโคเคนเกินขนาด พวกเขากลับมารวมตัวกันอีกครั้งในปี 2004 โดยออกตระเวนแสดงสดทั่วโลก และยังได้มือกลองอย่าง แซ๊ก สตาร์คกี้ มือกลองของวงoasis และเป็นลูกชายของ ริงโก้ สตารร์ อดีตมือกลองของวง เดอะ บีทเทิลส์ มาเป็นมือกลองให้กับเดอะฮู อีกด้วย จนกระทั่งปัจจุบัน
จอห์น วิลเลียม "เทรน" โคลเทรน (23 กันยายน ค.ศ. 1926 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1967) นักแซกโซโฟน นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงดนตรีแจ๊ซชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงในฐานะนักดนตรีแนวบีบ็อพ ฮาร์ดบ็อพ ต่อมาได้ร่วมวงกับไมล์ส เดวิส และทีโลเนียส มังค์ เป็นแนวหน้าในการพัฒนาดนตรีในแนวฟรีแจ๊ซ จอห์น โคลเทรนได้การยอมรับว่าเป็นนักเทเนอร์แซกโซโฟนคนสำคัญคนหนึ่งของวงการดนตรีแจ๊ซ ที่มีอิทธิพลต่อนักดนตรีรุ่นหลังเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องในการประกาศผลรางวัลพูลิตเซอร์ ประจำปี 2007 สำหรับ "masterful improvisation, supreme musicianship and iconic centrality to the history of jazz." จอห์น โคลเทรนเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 40 ปี จากโรคมะเร็งตับ ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1967
เกรทฟุล เดด (Grateful Dead) อเมริกันร็อกแบนด์ชื่อดังในยุค 60’s โดยมี เจอร์รี การ์เซีย คือ นักร้อง, มือกีตาร์ และนักแต่งเพลงหลักของ Grateful Dead และ เบรนต์ ไมด์แลนด์ (ไม่ได้เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของวง) เข้ามารับตำแหน่งมือคีบอร์ดในปี 1979 ก็ช่วยพาให้ Grateful Dead กลับมามีพลังอีกครั้ง ถือว่าเข้ามาเติมเต็ม และเป็นส่วนผสมอันลงตัวจนวงกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในยุค 80s ตลอดสามทศวรรษของวงก็ยังออกแสดงไปแล้วถึง 2,314 รอบ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะเขาต้องการใช้เงินนั้นเอง การใช้ยาเสพติดยังทำให้ การ์เซีย มีปัญหาทางกฎหมายอยู่เป็นระยะ สุขภาพก็ย่ำแย่น้ำหนักตัวลดลงอย่างควบคุมไม่ได้ ถึงขั้นถูกส่งเข้าห้องโคม่าในปี 1986 และไม่รู้สึกตัวไปถึง 5 วัน เขาต้องเข้ารับการบำบัดหลายครั้ง ซึ่งหนสุดท้ายก็คือในปี 1995 ที่ การ์เซีย ต้องเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย ในคลินิกบำบัดผู้ติดยาแห่งหนึ่ง โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ยาเสพติดอย่างยาวนาน ในส่วน ไมด์แลนด์ ก็ต้องเสียชีวิตอย่างกะทันหันในวันที่ 2 ก.ค. 1990 จากอาการเสพยาเกินขนาดที่บ้านในแคลิฟอร์เนีย ว่ากันว่าในช่วงท้ายๆ ของชีวิต มือคีย์บอร์ดผู้นี้มีปัญหาส่วนตัวอย่างหนัก การทัวร์คอนเสิร์ตทำให้เขาต้องห่างเหินกับครอบครัว นอกเวทีคอนเสิร์ตดูราวกับว่าเขาจะถูกความหดหู่เข้าครอบงำ แต่กลับมีพลังอย่างประหลาดเมื่ออยู่บนเวที นอกจากนั้นยังมีการพูดกันไปว่าการจากไปของ ไมด์แลนด์ ยังมีส่วนให้ เจอร์รี การ์เซีย กลับไปติดยาอีกครั้งด้วย (คัดลอกบางส่วนจากบทความ : ยาเสพติด หนทางสู่จุดจบแบบร็อกแอนด์โรล, ผู้จัดการออนไลน์ 9 ธันวาคม 2554)
ชาลส์ "ชาร์ลี" มิงกัส จูเนียร์ (22 เมษายน ค.ศ. 1922 - 5 มกราคม ค.ศ. 1979) นักดับเบิลเบสแจ๊สชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงในฐานะนักดนตรี นักแต่งเพลง หัวหน้าวง และนักต่อสู้เพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว ชาลส์ มิงกัส เกิดในค่ายทหารในรัฐแอริโซนา เติบโตที่ลอสแอนเจลิสในครอบครัวที่เคร่งศาสนา มารดามีเชื้อสายจีนและอังกฤษ ส่วนบิดามีเชื้อสายชาวผิวดำ และสวีเดน มิงกัสเริ่มหัดเล่นดนตรีแจ๊สจากความชื่นชอบในดนตรีของดุ๊ก เอลลิงตัน โดยเริ่มหัดเล่นทรอมโบน ก่อนจะหันมาเล่นเชลโล และดับเบิลเบสในระหว่างเรียนชั้นมัธยม พร้อมกับเริ่มแต่งเพลงด้วยตัวเอง โดยได้รับอิทธิพลจากดนตรีของชาร์ลี พาร์กเกอร์ ในวัย 20 ปี มิงกัสเริ่มออกตระเวนแสดงร่วมกับหลุยส์ อาร์มสตรอง ตั้งแต่ ค.ศ. 1943 และมีผลงานบันทึกเสียงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1945 ร่วมกับวงดนตรีของรัสเซล จาร์คเค จากนั้นได้ร่วมงานกับนักดนตรีอีกหลายคน รวมทั้งชาร์ลี พาร์กเกอร์ ก่อนจะมาตั้งวงของตัวเอง ชาลส์ มิงกัส ได้ชื่อว่าเป็นนักดนตรีที่มีอารมณ์ร้อน ระหว่างการแสดงในไนท์คลับหลายครั้ง มิงกัสสั่งให้วงดนตรีของตนหยุดเล่นอย่างกะทันหันเป็นเวลาหลายนาที พร้อมกับตะโกนต่อว่าผู้ชมบางคนที่พูดคุย หรือทำเสียงดัง ในบางครั้งเขาไม่พอใจการเล่นของนักดนตรีร่วมวง ถึงกับไล่นักดนตรีหลายคนลงจากเวที ในช่วงทศวรรษ 1970 มิงกัสป่วยเป็นโรคเอแอลเอส (Amyotrophic lateral sclerosis) เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ไม่สามารถเล่นดนตรีได้ เขายังคงแต่งเพลงและควบคุมการบันทึกเสียง จนกระทั่งเสียชีวิตในวัย 56 ปี เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1979 ที่เม็กซิโก เถ้ากระดูกของเขาถูกโปรยลงในแม่น้คงคา ผลงานอัลบั้มชิ้นสุดท้ายของมิงกัส ชื่อ Mingus เป็นผลงานร่วมกับโจนี มิตเชลล์ มีนักดนตรีที่ร่วมบันทึกเสียงเช่น เวย์น ชอร์ตเตอร์ เฮอร์บี แฮนค็อก และจาโค พาสโทเรียส
ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล (Simon & Garfunkel) เป็นชื่อในการแสดงดนตรีของนักร้อง นักดนตรีโฟล์กร็อกชาวอเมริกัน พอล ไซมอน และอาร์ต การ์ฟังเกล ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในช่วงปี 1966-1970 พอล ไซมอน และอาร์ต การ์ฟังเกล เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็ก ในชั้นเรียนที่โรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยมฟอเรสต์ฮิลส์ ในเขตควีนส์ เมืองนิวยอร์ก มีผลงานร่วมกันครั้งในปี 1957 ในชื่อ "ทอม แอนด์ เจอรี" (การ์ฟังเกลใช้ชื่อแฝงว่า "ทอม กราฟ" ไซมอนใช้ชื่อแฝงว่า "เจอรี แลนดิส") และแยกย้ายไปทำงานส่วนตัว ทั้งคู่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในชื่อ "ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล" ในปี 1964 และเริ่มมีชื่อเสียงจากซิงเกิล "The Sounds of Silence" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ The Graduate ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล มีผลงานอัลบัมร่วมกัน 5 ชุด มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จเช่น "The Sounds of Silence", "Mrs. Robinson", "Bridge over Troubled Water", "Scarborough Fair", "El Condor Pasa (If I Could)" และ "The Boxer" ก่อนจะแยกย้ายกันไปทำงานส่วนตัว และกลับมาแสดงดนตรีสดร่วมกันเป็นครั้งคราว โดยครั้งที่ประสบสำเร็จสูงสุดคือ การแสดงสดที่เซ็นทรัลพาร์ก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 1981 ซึ่งมีผู้ชมมากกว่า 500,000 คน
ไมล์ส เดวีย์ เดวิส ที่ 3 (Miles Dewey Davis III) หรือ ไมล์ส เดวิส นักทรัมเปต นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักดนตรีที่มีอิทธิพลต่อวงการดนตรีที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 เป็นผู้ที่พัฒนาการเล่นดนตรีแจ๊สแนวทางใหม่หลายแนว โดยเป็นแถวหน้าในการทดลองดนตรีแนวคูลแจ๊ส ฮาร์ดบ็อพ ฟรีแจ๊สและฟิวชันแจ๊ส มีนักดนตรีแจ๊สคนสำคัญหลายคนได้ร่วมงานกับวงดนตรีของเขา เช่น จอห์น โคลเทรน เฮอร์บี แฮนค็อก บิล อีแวนส์ ชิค โคเรีย จอห์น แมคลาฟลิน จูเลียน แอดเดอร์ลีย์ คีธ จาร์เรต ไมล์ส เดวิส ได้รับการบรรจุชื่อไว้ในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล เมื่อปี ค.ศ. 2006 ผลงานที่มีชื่อเสียงและมียอดขายสูงสุด คือชุด Kind of Blue ในปี ค.ศ. 1959 ที่ทดลองเปลี่ยนแนวทางการเล่นดนตรีจากแนวฮาร์ดบ็อพในอัลบั้มก่อนหน้า เป็นแนวทางใหม่ จนถึงปัจจุบัน ได้รับการรับรองยอดขาย 4 ล้านแผ่นโดย RIAA เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2008 และได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารโรลลิงสโตน ติดอันดับ 12 จาก 500 อัลบั้มยอดเยี่ยมตลอดกาล จัดอันดับเมื่อปี ค.ศ. 2003
แซม คุก (Sam Cooke) หรือแซมูเอล คุก (Samuel Cook) (22 มกราคม ค.ศ. 1931-11 ธันวาคม ค.ศ. 1964) เป็นนักร้องแนวกอสเปล อาร์แอนด์บี ดนตรีโซล และป็อป เป็นนักแต่งเพลง ผู้บริหาร ชาวอเมริกัน ถือเป็นผู้บุกเบิกรุ่นแรก ๆ ของวงการเพลงโซล คุกมีเพลงฮิตติดท็อป 40 ในอเมริกา 29 เพลง ในระหว่างปี 1957-1965 มีเพลงดังสำคัญ ๆ อย่าง "You Send Me", "A Change Is Gonna Come", "Chain Gang", "Wonderful World" และ "Bring It on Home to Me" คุกยังเป็นนักร้องและนักแต่งเพลงผิวดำคนแรก ๆ ที่ก้าวสู่วงการธุรกิจ เขาก่อตั้งค่ายเพลงและบริษัทสิ่งพิมพ์ เพื่อขยับขยายงานทางด้านร้องเพลงและแต่งเพลงของเขา ทางด้านงานสังคมเขายังเป็นส่วนหนึ่งของ American Civil Rights Movement
เดอะเบิร์ดส (The Byrds) อเมริกันร๊อคจากยุค 60 ที่เริ่มเล่นดนตรีแบบโฟล์คร๊อคก่อนพัฒนากลายเป็นไซเคเดลิคเต็มขั้น พวกเขาสร้างเพลงอันซับซ้อน ชวนค้นหา ไม่มีอะไรมากมายนักกับการอธิบายวงนี้นอกจาก " ตำนาน " และ " สุดยอด " Eight Miles High
ดิแอนิมอลส์ (The Animals) เป็นกลุ่มดนตรีสัญชาติอังกฤษในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกา โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวบริติชอินเวชัน เป็นที่รู้จักในเรื่องการใช้ดนตรีอย่าง ความกล้าหาญซึ่งมีจังหวะหนัก ช้าและเศร้า และเสียงร้องที่ดูลึกของหัวหน้าวง อีริก เบอร์ดอน มีเพลงประจำวงอย่าง "The House of the Rising Sun", "Sky Pilot" และ "We Gotta Get out of This Place" วงดิแอนิมอลส์มีการเปลี่ยนสมาชิกหลายครั้งและเป็นที่รู้จักในฐานะทำให้เพลงไซเคเดลิกร็อกเป็นที่รู้จัก ก่อนที่จะหายไปในปลายทศวรรษ พวกเขากลับมาอีกครั้งในปี 1983 และได้เริ่มออกเวิลด์ทัวร์ ในต้นปี 1984 ก็แตกวงไป พวกเขามีการรวมตัวกันใหม่หลายครั้งโดยสมาชิกดั้งเดิม โดยมีเบอร์ดอนและมือกลองดั้งเดิม จอห์น สตีล ออกทัวร์ร่วมกัน ในวงแอนิมอลส์ใหม่ ในชื่อ อีริก เบอร์ดอนแอนด์ดิแอนิมอลส์ และแอนิมอลส์แอนด์เฟรนส์ ตามลำดับ
เรย์ ชาร์ลส (Ray Charles) (23 กันยายน ค.ศ. 1930 - 10 มิถุนายน ค.ศ. 2004) เป็นนักเปียโน นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน ที่เป็นผู้ทำให้เพลงริธึมแอนด์บลูส์ เป็นรูป เป็นร่าง เขานำจิตวิญญาของเพลงคันทรีเข้ากับป็อปสแตนดาร์ด ผ่านการบันทึกเสียงสมัยใหม่ เขายังนำเพลง "America the Beautiful" มาทำใหม่ จน เอ็ด แบรดลีย์ แห่งรายการ 60 Minutes เรียกว่า "เป็นเวอร์ชันของเพลงธีมเพลงชาติ ที่คลาสสิก ที่จะมีคนร้องมันได้" แฟรงก์ ซินาตรา เรียกเขาว่า "อัจฉริยะตัวจริงของวงการเพลง" ในปี 2004 นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับชาร์ลสอยู่ที่อันดับ 10 ของศิลปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล และเขายังได้รับการโหวดให้เป็นอันดับ 2 ของการจัดอันดับในเดือนพฤศจิกายน 2008 ในหัวข้อ 100 นักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล
อารีธา แฟรงคลิน
(Aretha Franklin) เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1942 เป็นนักร้องชาวอเมริกัน
ร้องเพลงสไตล์โซล,อาร์แอนด์บี และ กอสเปล เธอเกิดที่เมมฟิส รัฐเทนเนสซี
แต่มาโตที่ ดีทรอยท์,รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา
เธอได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งเพลงโซล หรือบางคนก็เรียกว่า เลดี้โซล
เธอได้รับรางวัลแกรมมี่มาแล้ว 18 ครั้ง (11 ครั้งจากสาขา Best Female
R&B Vocal Performance) อารีธามีเพลงอันดับ 1 บนบิลบอร์ดชาร์ท 2
เพลงคือ "Respect" และ "I Knew You
Were Waiting (For Me)" ที่ร่วมร้องกับจอร์จ ไมเคิล
เจมส์ โจเซฟ บราวน์ จูเนียร์ (James Joseph Brown, Jr.) (3 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 - 25 ธันวาคม ค.ศ. 2006) เป็นนักร้อง นักแสดง เอนเทอร์เทนเนอร์ ชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักในฐานะผู้มีอิทธิผลมากที่สุดคนหนึ่งในวงการเพลงป็อปในคริสตวรรษที่ 20 ด้วยเอกลักษณ์ด้านน้ำเสียงและท่าเต้น เขาเป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักเต้น หัวหน้าวง บราวน์เป็นผู้ขับเคลื่อนวงการเพลง เขาเป็นอิทธิพลให้กับศิลปินหลายศิลปิน และยังมีอิทธิพลต่อวงการเพลงป็อปแอฟริกัน อย่างเช่น แอฟโฟรบีต, jùjú และ mbalax และยังเป็นต้นแบบของแนวเพลง โก-โก บราวน์เริ่มในวงการเพลงในปี 1953 และมีชื่อเสียงในทศวรรษ 1950 และต้นทศวรรษ 1960 แต่ด้วยมีปัญหาหลายอย่างส่วนตัวจึงก้าวถอยไปบ้าง แต่เขาก็ยังมีผลงานเพลงฮิตในทุกทศวรรษจนถึงยุคทศวรรษ 1980 ฉายาของบราวน์ เช่น Soul Brother Number One, Sex Machine, Mr. Dynamite, The Hardest Working Man in Show Business, The King of Funk, Minister of The New New Super Heavy Funk, Mr. Please Please Please Please Her, และ the Godfather of Soul
ครีม (Cream) ได้รับการยอมรับว่าเป็นวง
3 คนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกดนตรีร็อก ประกอบด้วยนักดนตรี 3
คือ Eric Clapton มือกีตาร์, Jack
Bruce มือเบสส์ และ Ginger Baker มือกลอง
ด้วยองค์ประกอบชนิดลงตัวของทางกีตาร์บลูส์ของ Clapton เสียงร้องทรงพลังและเสียงเบสเน้นหนักแน่นของ
Bruce และทางแจ๊ซระดับพระกาฬในเสียงกลองของ Baker ส่งให้รูปลักษณ์ดนตรีของ Cream โดดเด่นในความเป็นลูกผสมของดนตรีบลูส์,
พ็อพ และ psychedelic rock ทุกวันนี้แผ่นเสียงของวงบลูส์-ร็อกที่มีอายุวงสั้นๆเพียงแค่
2 ปี มียอดจำหน่ายกว่า 35 ล้านอัลบั้มทั่วโลก
"Wheels of Fire" ได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นอัลบั้มดนตรีชุดแรกของโลกที่ขายเกิน
1 ล้านชุด ความหลากหลายในแนวดนตรีของ Cream พิจารณาได้จากแนวทางดนตรีบลูส์แบบจารีต
(traditional blues) อย่างเพลง "Crossroads"
ของ Robert Johnson, "Spoonful" ของ
Willie Dixon รวมทั้ง "Born Under a Bad
Sign" ของ Booker T. Jones, William Bell และ "Sitting on Top of The World" ของ Howlin'
Wolf แม้กระทั่งดนตรีที่ฉีกแบบแผนอย่าง "Strange
Brew" "Tales of Brave Ulysses" และ "Toad"
และองค์ประกอบทั้งหลากหลายและแปลกแยกที่นำไปสู่อวสานของวง
เป็นที่มาของความสำเร็จ สร้างเพลงยอดนิยมตลอดกาลฝากฟากฟ้าดนตรีเอาไว้ ทั้ง Cream และ The Jimi Hendrix Experience ในอีกซีกโลกหนึ่ง
ได้ให้นวัตกรรมใหม่ทางด้านดนตรีด้วยสำเนียงอันหนักหน่วง
ปูพื้นฐานให้แก่การเกิดของวงที่เกิดขึ้นตามมาอย่างเช่น Led Zeppelin, Deep
Purple และ Jeff Beck Group ในช่วงปลายทศวรรษ 1960
และที่ยิ่งไปกว่านั้น
การแสดงบนเวทีคอนเสิร์ตสดๆนั้นก็เปี่ยมพลังแบบดนตรีอย่าง The Allman
Brothers Band และ Rush หรือ Grateful
Dead ไปพร้อมกับแนว heavy metal เช่น Black
Sabbath นั่นคือที่มาของอิทธิพลทางดนตรีที่ส่งผลต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า
3 ทศวรรษ ทั้งๆที่ชีวิตในสตูดิโอของ Cream นั้นแสนจะสั้น แม้ ว่าจะได้รับการยอมรับเป็นวงร็อกวงแรกที่ก้าวขึ้นสู่ขั้นซูเปอร์สตาร์
แต่ก่อนกลางปี 1966 สมาชิกทั้ง 3 ยังเป็นที่รู้จักกันในวงแคบๆ
จะมีก็แต่ Clapton ที่ชื่อเสียงในเกาะอังกฤษเริ่มขจรขจายกว่าเพื่อนอีก
2 คน ด้วยฝีมือกีตาร์ที่โดดเด่น เพียงร่วมงานครั้งแรกกับ Yardbirds
ต่อด้วยการเพิ่มเติมบรรยากาศและสีสันของบลูส์ กับวง Bluesbreakers
ภายใต้การนำของ John Mayall เจ้าของสมญา
"The Father of British Blues" แต่ถึงกระนั้นก็ตามทางฝั่งสหรัฐก็ยังไม่มีใครรู้จัก
เหตุผลสำคัญคือ Clapton ออกจากวง Yardbirds ก่อนที่อัลบั้ม "For Your Love" จะติดอันดับท็อปเทนในอเมริกาในปี
1965 สำหรับ Bruce และ Baker นั้น เคยร่วมงานกันมาก่อนแล้วในวง Graham Bond Organisation วงคอมโบ R&B ที่ค่อนข้างเน้นทางแจ๊ซ และ Bruce
เคยเป็นสมาชิกช่วงสั้นๆกับวง Bluesbreakers ในเวลาไล่เลี่ยกับที่
Clapton ออกมาแล้ว รวมทั้งวง Manfred Mann อีกด้วย หลังจากประกาศตั้งวงกันไม่ทันไร
Cream ก็ได้รับคำเชิญเข้าร่วมการแสดงดนตรีในรายการ "Windsor
Jazz & Blues Festival" ในเดือนกรกฎาคม 1966 ทั้งๆที่ยังมีเพลงของตัวเองไม่กี่เพลง
แต่ก็เหมือนระเบิดลูกใหญ่ที่กัมปนาทขึ้นท่ามกลางผู้ชมแน่นขนัด
ด้วยเพลงบลูส์ดั้งเดิมที่นำมาเล่นในท่วงทำนองใหม่ด้วยกีตาร์ไฟฟ้าและเบสที่
กระหึ่มเวที จากนั้นการตอบรับของแฟนเพลงก็โถมเข้าใส่ 3 หนุ่มชนิดตั้งตัวไม่ทันทีเดียว
อัลบั้มปฐมฤกษ์ "Fresh Cream" วางจำหน่ายเมื่อวันที่
9 ธันวาคม 1966 และเพียงต้นปี 1967
ก็ก้าวสู่อันดับ 6 ในยูเคชาร์ตและอันดับที่ 39
ของอเมริกันชาร์ต เพลงส่วนใหญ่เป็นบลูส์เก่าที่นำมาทำใหม่ "Four
Until Late" "Rollin' and Tumblin'" "Spoonful"
"I'm So Glad" และ "Cat's Squirrel" ความโดดเด่นคือสไตล์การพลิ้วกีตาร์โซโลของ Clapton การสะบัดไม้กลองของ
Baker และเสียงร้องหนักแน่นของ Bruce ในเพลงส่วนใหญ่
นอกจากนั้นก็เป็นเพลงบลูส์ของ Bruce ใน "Sleepy
Time Time" "Wrapping Paper" และ "I
Feel Free" และเพลง "Toad" ของ
Baker ซึ่งถือเป็นต้นแบบการกระหน่ำกลองในโลกของดนตรีร็อก RIAA หรือ Recording Industry Association of America ประกาศรับรอง gold records เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1968 และจนถึงปี 2003 Rolling Stone
magazine นิตยสารทางด้านดนตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกฉบับหนึ่ง
จึงประกาศให้ "Fresh Cream" อยู่ในอันดับที่ 101
ใน "500 greatest albums of all time" ในอัลบั้มถัดมาแนวทางดนตรีที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้นก็ผงาดเหนือฟ้าดนตรีร็อก
"Disraeli Gears" เป็นการผสมผสานแนวดนตรีแบบ psychedelic
หลังจากหมกตัวในสตูดิโอของบริษัท Atlantic Record ที่นิวยอร์คอยู่ 5 วันเต็มๆ ระหว่าง วันที่ 11
ถึง 15 พฤษภาคม 1967 และวางตลาดชนิดระเบิดเถิดเทิงไปทั้ง
2 ฟากมหาสมุทรแอ็ตแลนติกด้วยกันขึ้นชาร์ตท็อปไฟว์ในเวลาไล่เลี่ยกัน
หลังจากวางแผงเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนในอังกฤษ และ 9 ธันวาคมในสหรัฐ เพลงเปิดอัลบั้มอย่าง "Strange Brew" และอีกหลายเพลง
"Dance the Night Away" "Tales of Brave Ulysses" รวมทั้ง "S.W.L.A.B.R." ให้ความทรงจำและเกือบจะเป็นแบบฉบับของท่อน
riff ของโซโลกีตาร์มาจนทุกวันนี้
แต่ความโดดเด่นไปอยู่ที่แทร็คที่ 2 "Sunshine of Your Love" และที่เป็นพิเศษ อยู่เพลงช่วงท้ายอัลบั้ม "Take It Back"
ที่คงเสียงสอดประสานของ harmonica หรือแม้แต่เพลงขี้เมาตามร้านเหล้าข้างถนนอย่าง
"Mother's Lament" หน้าปกแนว psychedelic เป็นผลงานของศิลปินชาวออสเตรเลีย
Martin Sharp ซึ่งพักอาศัยอยู่อาคารเดียวกับ Clapton ซึ่งตอนที่ทั้งคู่พบกันในคลับแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน Clapton เล่าให้ฟังถึงทำนองเพลงที่ยังไม่มีเนื้อร้อง Sharp ไม่รอช้าที่จะคว้าผ้ากันเปื้อนสำหรับเช็ดปากในโต๊ะอาหารขึ้นมาเขียนบทกวี
ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง และ Clapton นำไปบันทึกเสียงในสตูดิโอในเพลง
"Tales of Brave Ulysses"
RIAA ประกาศรับรอง gold records เมื่อวันที่
22 พฤษภาคม 1968 และ platinum ในวันที่ 10 พฤจิกายน 1993 การ แสดงสดตามเวทีคอนเสิร์ตต่างๆ
ยิ่งสร้างปรากฏการณ์แปลกใหม่ยิ่งขึ้นไปอีก
เมื่อหลายๆเพลงเป็นการร่วมบรรเลงกันอย่างเมามันถึงกว่า 20 นาที
ในขณะที่อีกบางเพลงคงรายละเอียดไว้เท่าที่ทำกันในสตูดิโอมาจนทุกวันนี้ อย่าง
"Sunshine of Your Love" "Crossroads" และ
"Tales of Brave Ulysses" ในปี 2003 อีกเช่นกันที่ Rolling
Stone magazine จัดให้ "Disraeli Gears" อยู่ในอันดับที่ 112 ใน 500 greatest albums
of all time ในขณะอยู่ในอันดับที่ 87 ของ 100
Greatest Artists of Hard Rock ที่ประกาศโดย VH1’s (Music
First) ซึ่งเป็นการจัดอันดับโดยเครือข่ายเคเบิลทีวีของนิวยอร์คซิตี้
ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับอย่างสูงช่วงปี 1985-2003 นอกเหนือจากการผลิตป้อนตลาดดนตรีซ้ำแล้วซ้ำอีกมากครั้ง
ในปี 2004 "Disraeli Gears" ก็จัดทำเป็นแผ่นคู่ Deluxe
edition ถือเป็นการจัดทำที่สมบูรณ์แบบที่สุด ที่ประกอบไปด้วยแทร็คทั้ง
mono และ stereo รวมตลอดถึง demos,
alternate takes และการแสดงสดที่ออกอากาศทางวิทยุ BBCปรากฏการณ์แปลกใหม่ในการ แสดงดนตรีตามเวทีคอนเสิร์ตต่างๆ ช่วงท้ายของปี 1967
สำหรับวงร็อก 3 คนอย่าง Cream นั่นคือหลายๆเพลงเป็นการร่วมบรรเลงกันอย่างเมามันชนิดถึงใจกินเวลากว่า 20
นาที ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีวงดนตรีใดแม้แต่จะคิดทำอย่างนั้น
ผลก็คือ แฟนเพลงแท้ๆของวง
ต่างขวนขวายหาทางเข้าชมการแสดงในครั้งต่อๆไปกันสุดลิ่มทิ่มประตู Cream ปล่อยผลงานเพลงชุดที่ 3
เป็นอัลบั้มคู่ "Wheels of Fire" ออกสู่ตลาดเมื่อวันที่
1 สิงหาคม 1968 แผ่นแรกเป็นการบันทึกเสียงในสตูดิโอ
พร้อมกับการค่อยเปลี่ยนแปลงแนวดนตรีจาก blues ไปสู่ semi-progressive
rock ที่มีการนำเครื่องดนตรีมาใช้หลากหลายขึ้น
การไต่อันดับขึ้นสู่จุดสูงสุดของอเมริกันชาร์ตและอันดับ 3 ในสหราชอาณาจักร
ส่งผลให้ Cream ก้าวสู่ความเป็นวงดนตรีร็อกระดับโลก
ตีคู่กับความสำเร็จของ The Beatles และ Jimi Hendrix ปรมาจารย์ psychedelic rock ผู้ล่วงลับ ในเวลาต่อมา
ในปี 2003 อีกเช่นกันที่ Rolling Stone magazine ประกาศให้ "Wheels of Fire" อยู่ในอันดับที่
203 ใน 500 greatest albums of all time ส่วน
ซองใส่แผ่นเสียงก็ได้ศิลปินออสซี่เจ้าเก่า Martin Sharp ใช้กราฟิคลายเส้นสีดำบนพื้นแวววาวของอลูมินั่มฟอยล์
และได้รับรางวัลออกแบบอัลบั้มยอดเยี่ยมจาก New York Art Directors Prize ในปี 1969 "White
Room" เพลงเปิดอัลบั้มสำหรับแผ่นแรกในชุดได้รับการเรียกร้องให้เปิดในรายการวิทยุ
อย่างท่วมท้นล้นหลาม ซึ่งแทบไม่ต้องพูดถึงยอดขายถล่มทลายในฐานะแผ่นซิงเกิล
และแม้ทุกวันนี้ผู้คนร่วมสมัยก็ยังคงจดจำไว้ในฐานะผลงานอมตะเสมอมา
ตามมาด้วยบลูส์หนักๆอย่าง "Sitting on Top of the World" ในแทร็คที่ 2 ไล่เรื่อยมาจน "Politician"
และ "Born Under a Bad Sign" ซึ่งเป็นการนำเพลงของ
Albert King อีกตำนานเพลงบลูส์มาเล่นซ้ำในสไตล์ที่เป็นตัวของตัวเองของ
Cream สำหรับ
แผ่นที่ 2 ของชุดเป็นการบันทึกการแสดงสดจาก Winterland
Ballroom ใน Fillmore เมืองหลวงของเวทีดนตรีบลูส์ของสหรัฐ
ต้องถือเป็นรายการพลาดไม่ได้สำหรับคอดนตรีแสดงสดๆ กับการโซโลกีตาร์ของ Clapton
ใน "Crossroads" หรือ อย่าง "Spoonful"
ในความยาว 16 นาทีที่กลายเป็นเรื่องเล่าขานไม่รู้จบสิ้น
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโซโลกลองของ Baker ใน "Toad"
ก็ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นหนึ่งในการกระหน่ำกลองกันสดๆในประวัติศาสตร์ดนตรีร็อก แต่แล้วทันทีที่อัลบั้ม "Wheels
of Fire" เสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิต
สมาชิกวงก็เกิดความรู้สึกร่วมกันว่า "พอแล้ว"
สำหรับการร่วมงานอันสุดแสนมหัศจรรย์ในช่วงเวลาสั้นๆ
แต่ละคนเดินทางมาถึงจุดที่พร้อมจะไปแสวงหนหนทางที่เป็นเอกเทศ ในวิถีทางของใครของมันอย่างจริงจัง
Baker สารภาพในปี 2006 ถึงการที่ Clapton
มาบอกตรงๆกันตัวต่อตัวว่า "ฉันพอแล้วว่ะ"
พร้อมกับที่ตัวเขาเองก็บอกกลับไปว่ารู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน Baker เล่าว่าปีสุดท้ายกับ Cream
เป็นเรื่องเหลือทนของเขา แม้จนทุกวันนี้ก็ไม่อยากหวนไปคิดถึงมันอีกต่อไป
ความประทับใจในจุดเริ่มต้นในปี 1966 ไม่อาจหวนคืนมาอีกแล้ว
ประสบการณ์ดนตรีที่ไม่อาจหาสิ่งใดมาเทียบเทียม กับช่วงปลายปี 1968 ดูราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคนละโลกกันทีเดียว Bruce กับ Baker มักพาตัวเองไปสู่สถานการณ์ที่พร้อมจะระเบิดอารมณ์เข้าใส่กันได้ง่ายๆ
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตระเวนเปิดการแสดงคอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่อง
แทบไม่มีเวลาได้พักหายใจ ผลกระทบที่ตามมาคือ Clapton ถูกบังคับให้กลายทูตสันติภาพ
ที่ต้องคอยทำหน้าที่หย่าศึกอยู่ตลอดเวลา
หลังการตระเวนทัวร์คอนเสิร์ตในสหรัฐ
และเป็นห้วงเวลาก่อนที่จุดจบของวงจะมาถึง Cream ก็หันหน้ามาร่วมกับทำอัลบั้มสั่งลา
ในชื่อ "Goodbye" ปลายปี 1968 นั้นเอง
ซึ่งกว่ากระบวนการผลิตจะสำเร็จเสร็จสิ้นออกจำหน่ายก็ช่วงเดือนมีนาคม 1969 ซึ่งวงก็สลายไปแล้ว แต่ชุดสุดท้ายนี้เองที่ไปถึงอันดับที่ 1 ในยูเคชาร์ต พร้อมกับอันดับที่ 2 ในฝั่งสหรัฐ
และได้รับการรับรอง gold records จาก RIAA เมื่อวันที่ 21 เมษายน นั้นเอง อัลบั้มนี้มีแค่ 6
เพลง ซึ่ง 3 เพลง คือ "I'm So
Glad" "Politician" และ "Sitting on Top
of the World" เป็นการบันทึกการแสดงสดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1968 ที่ The Forum ใน Los
Angelis ส่วนอีก 3 เพลงเป็นการบันทึก 3
เพลงใหม่ในสตูดิโอ แทร็คที่เด่นที่สุดคือ "Badge" ซึ่งเป็นเพลงที่ George Harrison สมาชิกของ The
Beatles มีส่วนร่วมในการแต่งและมาเล่นกีตาร์เบสด้วย ตามมาด้วยอีก 2
เพลงคือ "Doing That Scrapyard Thing" และ "What a Bringdown"
"I'm So Glad" ได้รับการบรรจุครั้งแรกในสตูดิโออัลบั้ม
"Fresh Cream" และเป็นบันทึกการแสดงสดในอัลบั้มสุดท้ายนี้
เป็นเพลงเดียวของ Cream ที่ปรากฏทั้งในอัลบั้มเบิกฤกษ์และสั่งลา คอนเสิร์ตท้ายสุดที่ Royal
Albert Hall ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 1968
ถือเป็นหนึ่งในบันทึกการแสดงดนตรีที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในโลกดนตรีร่วมสมัย
ของศตวรรษที่ 20.
(คัดลอกจากบทความ "Cream"
สุดยอดวง Trio Blues-Rock ตลอดกาล โดยรุ่งโรจน์
วรรณศูทร ปรับปรุงจากตีพิมพ์เป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์ "โลกวันนี้" คอลัมน์ "แผดเสียง"
เขียนโดย "ขาบ เจรียง" สงวนลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537)เดอะซูพรีมส์ (The Supremes) เป็นวงนักร้องหญิงล้วนอเมริกัน เป็นศิลปินแรกของค่ายโมทาวน์ ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ก่อตั้งครั้งแรกในชื่อ เดอะพริเมตส์ ในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1959 บทเพลงของวงที่เป็นที่รู้จักดี มีในแนวเพลงดู-ว็อป ป็อป โซล เพลงละครบรอดเวย์ ไซเคเดลิกโซล และดิสโก้ พวกเธอถือเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของค่ายโมทาวน์ กับซิงเกิ้ลฮิตอันดับ 1 ถึง 12 ซิงเกิลบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 โดยเพลงฮิตส่วนมากเขียนและมีโปรดิวเซอร์เป็น ทีมและนักเขียนหลักของโมทาวน์ที่ชื่อ Holland-Dozier-Holland ในช่วงจุดสูงสุดของวงในช่วงกลางทศวรรษ 1960 เดอะซูพรีมส์ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของวงเดอะบีทเทิลส์ ในความนิยมทั่วโลก และประสบความสำเร็จเปิดทางให้กับเพลงแนวแอฟริกัน-อเมริกัน อาร์แอนด์บี และนักดนตรีให้ประสบความสำเร็จในกระแสหลัก สมาชิกยุคก่อตั้งวงประกอบด้วย ฟลอเรนซ์ บัลลาด,แมรี วิลสัน, ไดอาน่า รอส และเบตตี แม็กโกล์น ทั้งสี่คนเติบโตในย่าน Brewster-Douglass ในดีทรอยต์ โดยก่อตั้งวงในชื่อเดอะพริเมตส์ วงเสริมให้กับเดอะไพรมส์ (กับพอล วิลเลียมส์และเอดดี เคนดริกส์ ที่ก่อตั้งวงเดอะเทมเทชันส์) ต่อมาบาร์บารา มาร์ตินมาแทนที่ แม็กโกล์น ในปี 1960 และทางวงได้เซ็นสัญญากับโมทาวน์และเปลี่ยนชื่อในปีนี้ว่า เดอะซูพรีมส์ ต่อมามาร์ตินได้ออกจากวงช่วงต้นปี 1962 จนรอส, บัลลาด และวิลสัน ก็ยังคงวงในฐานะศิลปินกลุ่มสามคน ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1960 เดอะซูพรีมส์ประสบความสำเร็จในกระแสนิยมอย่างมาก ด้วยรอสเป็นนักร้องนำของวง ใน ค.ศ. 1967 เบอร์รี กอร์ดี ประธานของค่ายโมทาวน์ได้เปลี่ยนชื่อวงมาเป็น ไดอาน่า รอสแอนด์เดอะซูพรีมส์ และมีซินดี เบิร์ดซองมาแทนบัลลาดแทน รอสออกไปทำงานเป็นนักร้องเดี่ยวในปี 1970 และต่อมาวงก็มี Jean Terrell มาแทน จากจุดนี้วงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นเดอะซูพรีมส์อีกครั้ง หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1972 สมาชิกของวงก็ได้เปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง โดยมี ลินดา ลอเรนซ์, เชอร์รี เพย์น และซูเซย์ กรีน ต่างเป็นสมาชิกของกลุ่มในช่วงระหว่างกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1970 จนเดอะซูพรีมส์ก็ได้ยุบวงในที่สุดในปี ค.ศ. 1977 หลังจากก่อตั้งวงมา 18 ปี
บีจีส์ (Bee Gees) ประกอบด้วยสามพี่น้องตระกูลกิ๊บส์ "มอริซ, โรบิน, แบร์รี" ทั้งสามคนเกิดที่เกาะมาน ประเทศอังกฤษ ในช่วยวัยเด็ก เขาอาศัยอยู่ในเขต คอลตัน,แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ก่อนที่เขาจะย้ายไปพำนักอยู่ที่ บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ในปลายยุค 1950 และเริ่มต้นทำวงดนตรีที่นั่น และหลังจากที่เขาประสบความสำเร็จกับซิลเกิ้ลเพลง Spicks and Specks (ภายหลังเป็นซิงเกิ้ลที่ 12 ของวง) บนเกาะออสเตรเลีย พวกเขาก็ตัดสินใจกลับไปที่ประเทศอังกฤษ ในเดือน มกราคม ค.ศ.1967 และเขาได้พบกับ โรเบิร์ต สติงวู้ด และเป็นโปรดิวเซอร์ของเขาเป็นต้นมา และทำให้พวกเขาโด่งดังไปทั่วโลก และมีงานเพลงที่ขายดีที่สุด ทำรายได้ถึง 220 ล้าน พวกเขาถูกบันทึกใน Rock and Roll Hall of Fame ในปี ค.ศ. 1997 ติดอันดับ 1 ใน 5 งานดนตรีที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์เพลงป็อป เป็นรองก็แต่งานของอภิมหาศิลปินอย่าง “เอลวิส เพรสลีย์” “เดอะ บีเทิลส์” “ไมเคิล แจ็กสัน” “การ์ธ บรูกส์” และ “พอล แมคคาร์ตนีย์” แต่หลังจากที่ มอริช กิบบ์ ได้เสียชีวิตลงอย่างประทันหันเมื่อ 12 มกราคม ค.ศ. 2003 พวกเขาจึงประกาศที่จะยุบวง บีจีส์ ลงอย่างเป็นทางการ ภายหลังครบรอบ 45 ปี ของวงบีจีส์ แต่แล้วในปี ค.ศ. 2009 ทั้ง แบร์รี่ และ โรบิน กิบบ์ ตกลงที่จะทำวง บีจีส์ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง สามพี่น้องตระกูลกิบบ์ส "มอริซ, โรบิน, แบร์รี" ทั้งสามคนเกิดที่เกาะมาน ประเทศอังกฤษ โดย มอริซและโรบินเป็นฝาแฝดกัน ปี 2498 สามพี่น้องกิบบ์ เริ่มโตพอที่จะออกตระเวนโชว์ความสามารถตามงานเทศกาล และรายการโทรทัศน์ต่างๆ โดยในช่วงนี้พี่น้องกิบบ์ใช้ชื่อวงหลายชื่ออาทิ “บูลแคตส์” และ “แร็ตเทิ้ล สเน็กส์” จนปี 2501 ต่อมาย้ายไปพำนักในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย พร้อมกับตั้งชื่อวงใหม่ว่า บีจีส์ (Bee Gees) ซึ่งย่อมาจากคำเต็ม ซึ่งคิดขึ้นจากดีเจวิทยุ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) จากการนำชื่อย่อของเขาเอง และของ บิลล์ กู๊ด (Bill Goode) (ที่เห็นพวกเขาแสดงที่ Speedway Circuit เมืองบริสเบน) -นำมารวมกัน- ดังนั้นจึงไม่ได้ตั้งจำเพาะเจาะจงหมายถึง "Brothers Gibb"ตามความเข้าใจกันส่วนใหญ่ ค.ศ. 1962 บีจีส์เซ็นสัญญาทำอัลบั้มชุดแรก “เดอะ บีจีส์ ซิง แอนด์ เพลย์ 14 แบร์รี่ ซองส์” กับสังกัด“เฟสทีฟเร็กคอร์ด” แต่ไม่ประสบความสำเร็จในออสเตรเลีย ทำให้พี่น้องกิบบ์ตัดสินใจไปประเทศอังกฤษ (แต่ภายหลัง เพลง Spicks and Specks กลับได้ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในหนังสือพิมพ์เพลง โก-เซ็ต ของออสเตรเลีย ในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1966 ) ต่อมาใน ค.ศ. 1966 ในยุคที่เดอะ บีทเทิลส์โด่งดังเป็นอันมาก พวกเขามีโอกาสได้ร่วมงานกับ “โรเบิร์ต สติกวู้ด” จนมีผลงานชุด “นิวยอร์กไมนิ่ง ดิสแอสเตอร์ 1941” ออกวางตลาดกลาง ค.ศ. 1967 อัลบั้มชุดนี้ติดอันดับบนชาร์ตเพลงยอดนิยมทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลง “ทูเลิฟซัมบอดี” และมีเพลงฮิตอื่นอย่าง “ฮอลิเดย์” มีเพลง "Word"ออกมาเป็นซิงเกิลฮิตในขณะนั้นด้วยแต่ไม่ได้อยู่ในอัลบั้ม "Bee Gees First" ชุดต่อมา "Horizontal" มีเพลงฮิตคือ "Massachusetts" และ "World" ชุดต่อมาก็ประสบความสำเร็จอีกเช่นกันก็คือ "Idea" มีเพลงฮิตอย่าง "I Started a Joke" และ "I've Gotta Get a Message to You" ส่วนอีกชุดต่อมา "Odessa"ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แล้ว โรบิน ก็ออกจากวงไปทำงานเดี่ยว เหลือแต่ แบรรี่กับมอริซ ในชุด "Cucumble castle" แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกันจนต้องยุบวง "The Bee Gees" ลงไป ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจะกลับมารวมตัวกันใหม่ใน ค.ศ. 1970 ในอัลบั้ม " Two years on" แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกันในช่วงที่ยุบวง มอริซเข้าไปหลงใหลในแวดวงสังคมคนดัง กับศิลปินซุปเปอร์สตาร์ยุคนั้น เช่น เดอะ บีทเทิ้ลส์,เดวิด โบวี่ และไมเคิล เคน มอริซได้สมรสกับ “ลูลู่” นักร้องเพลงป็อปชื่อดังที่วิวาห์กันใน ค.ศ. 1967 แต่ชีวิตคู่ก็ต้องพังทลายในปี ค.ศ. 1974 จนมาแต่งงานครั้งที่สองกับ “อีวอน สเปนเซอร์ลีย์” โรคติดเหล้าของมอริซจึงดีขึ้น มอริซกลับมาดื่มหนักอีกครั้ง เมื่อแอนดี้น้องชายคนเล็กเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 เพราะเสพยาเกินขนาด "The Bee Gees" ได้สร้างเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเพลงของบีจีส์คือ เป็นเพลงป็อปเน้นเสียงประสานด้วยเสียงหลอกบีบเสียงให้สูงผิดธรรมชาติหรือที่ เรียกว่า “ฟอลเซตโต” เริ่มในช่วงปี ค.ศ.1975 กับอัลบั้มที่ชื่อว่า "Main Course" ซึ่งประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก ชุดต่อมา "Children of the World" ก็ประสบความสำเร็จค่อนข้างมากเช่นกัน ในยุคสมัยดนตรีดิสโก้เฟื่องฟู ชื่อเสียงบีจีส์ขจรขจายไปทั่วโลก ภายหลังปล่อยอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ “แซตเทอร์เดย์ไนต์ฟีเวอร์” ที่มีจอห์น ทราโวตา แสดงนำประกอบด้วยเพลง “มอร์แดนอะวูแมน”“สเตอิ้ง อะไลฟ์” “ไจฟ์ ทอล์กกิ้น” ความสำเร็จได้รับการตอกย้ำด้วยอัลบั้ม “สปิริตส์แฮฟวิ่งโฟลว” ปี 2522 ซึ่งมีเพลงอันดับ 1 อย่าง เพลง “ทราจีดี้” ,“ทูมัชเฮฟเวน” และ“เลิฟยูอินไซด์เอาต์” จากนี้เองได้สร้างสถิติทำให้บีจีส์มีเพลงอันดับ 1 ในอเมริกาติดต่อกัน 6 เพลง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาร์ทเพลงอเมริกา (ซึ่งต่อมาวิทนีย์ ฮูสตันทำได้อีกครั้ง) อัลบั้มชุดนี้ทำยอดขาย 30 ล้านชุดทั่วโลก แต่เมื่อยุคดิสโก้ถึงคราวดับสูญในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แนวดนตรียุคนั้นก็เข้าสู่กระแสของ “พังก์ร็อกและนิวเวฟ” ชื่อเสียงของบีจีส์ก็เงียบตามไปด้วย แต่ก็มีเพลงฮิตบนเกาะอังกฤษในปี พ.ศ. 2530 กับเพลง “ยูวินอะเกน” จากอัลบั้ม อี.เอส.พี. บีจีส์ ประคับประคองชื่อเสียงแบบเสมอตัวได้ต่อมาอีก 10 ปี และออกอัลบั้ม “Still Waters” ค.ศ. 1997 ซึ่งมีเพลงดังอย่าง “อะโลน” และมีอัลบั้มสตูดิโอชุดท้ายชื่อ "This is where i came in" ในปี ค.ศ.2001 เนื้อเพลง "The Bee Gees" จะเน้นบทเพลงในด้านความรัก และจะมีมุมมองแปลกๆจากบทเพลงที่พวกเขาได้แต่งขึ้น มอริซ กิบบ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2003ส่วน โรบิน กิบบ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
เดอะคาร์เพนเทอส์ (The Carpenters) เป็นวงดนตรีสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพี่น้องกัน คือ แคเรน คาร์เพนเทอร์ และ ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ หนึ่งในสุดยอดวงดนตรียุค 70 แม้ว่าในช่วงยุคทศวรรษที่ 70 จะนิยมเพลงร็อกหนัก ๆ แต่ ริชาร์ดและแคเรน ก็ทำเพลงในสไตล์ที่แตกต่าง ด้วยคุณภาพของน้ำเสียงที่เป็นหนึ่งในยุค 70s ของแคเรนและการเรียบเรียงเสียงประสานอันสุดยอดของริชาร์ด ทำให้พวกเขาได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้และสามารถทำยอดขายมากที่สุดตลอดกาล ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ ([Richard Carpenter]) เกิดวันที่ 15 ตุลาคม 1946 ที่เมือง New Heaven Connecticut ส่วนแคเรน คาร์เพนเทอร์ ([Karen Carpenter]) ผู้เป็นน้องสาว เกิดวันที่ 2 มีนาคม 1950 ที่เมือง New Heaven Connecticut เช่นกัน ครอบครัวประกอบไปด้วย Harold Carpenter ผู้เป็นพ่อ และ Agnes Carpenter ผู้เป็นแม่ เป็นครอบครัวคนชั้นกลางในอเมริกา ตั้งแต่สมัยเด็ก ริชาร์ดชอบที่จะขลุกอยู่กับห้องเก็บแผ่นเสียงของพ่อซึ่งเป็นคนที่ชอบสะสมแผ่นเสียงต่าง ๆ โดยริชาร์ดจะชอบฝึกเล่นเปียโนมากกว่าออกไปเล่นฟุตบอลเหมือนเด็กคนอื่น แต่เขาก็มีพรสวรรค์ทางดนตรีให้เห็นตั้งอายุยังน้อย ซึ่งเป็นที่ชื่นชมของ Agnes ผู้เป็นแม่เป็นอย่างมาก ว่าลูกชายเป็นคนเก่งและมีความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี ถึงแม้ว่าแคเรนจะมีพรสวรรค์ แต่ขณะนั้นยังไม่มีใครมองเห็น เมื่อริชาร์ดเริ่มเรียนในสาขาดนตรี เขาสนใจในการแต่งและเรียบเรียงเสียงประสาน ในขณะที่แคเรนผู้เป็นน้องสาวจะมีลักษณะเป็นทอมบอยที่ชอบออกไปเล่นกีฬากลางแจ้ง เธอมักจะตามริชาร์ดเสมอ เพราะริชาร์ดคือคนที่เธอเชื่อและเหมือนไอดอล เมื่อริชาร์ดเริ่มเล่นดนตรีจึงเป็นแรงผลักดันให้เธอเล่นดนตรีด้วย โดยในปี 1965 แคเรนฝึกเล่นกลองชุดเพื่อให้สามารถร่วมวงกับพี่ชายได้ นอกจากนี้เธอยังสามารถเล่นเบสได้ จากการสอนของ Gary Sims ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งในวง และยังเป็นเพื่อนชายของเธอ ณ ขณะนั้นด้วย เริ่มก่อตั้งวงครั้งแรกในปี ค.ศ.1965 โดยมีสมาชิก 3 คน คือ ริชาร์ด, แคเรน และ เวส จาคอปส์ ซึ่งเป็นเพื่อนของริชาร์ด ชื่อว่า "วงริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ ทริโอ" เล่นเพลงแจ๊ส (ริชาร์ด: เปียโน, แคเรน: กลอง และ เวส จาคอปส์: เบสและทูบา) ในปี 1966 โจ ออสบอร์น ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของค่ายเพลง Magic Lamp Records ที่เป็นค่ายเพลงเล็ก ๆ (สำนักงานดัดแปลงจากโรงรถ) สนใจในน้ำเสียงของแคเรน จึงได้รับเป็นศิลปินในสังกัด และได้ออกซิงเกิลชื่อ Looking For Love ประมาณ 500 แผ่นเท่านั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดการโปรโมตของค่าย ในกลางปี 1966 วงริชาร์ดคาร์เพนเทอร์ทริโอได้เข้าแข่งขันรายการ Hollywood Bowl Battle of the Bands และชนะเลิศในรายการดังกล่าว ทำให้พวกเขาได้รับความสนใจและเซ็นสัญญาเข้าสังกัด RCA Records พวกเขาได้บันทึกเสียงหลายเพลงด้วยกัน แต่เนื่องจากรูปแบบที่ทำออกมาไม่ได้เป็นไปตามกระแสนิยมของตลาดช่วงนั้น ซึ่งเพลงร็อกแอนด์โรลยังเป็นที่นิยมอย่างมาก ทำให้พวกเขาถูกระงับการออกอัลบั้ม ในปี 1967 ริชาร์ดได้ตั้งวงขึ้นมาใหม่ในชื่อ Spectrum และยุบวงในปี 1968 แต่อย่างไรก็ดี ริชาร์ดได้ตัดสินใจทำงานดนตรีทั้งหมดด้วยตัวเองขึ้นมา ในชื่อ "คาร์เพนเทอร์ส" (ตั้งชื่อไม่ให้มี "เดอะ" นำหน้า เนื่องจากไม่ต้องการให้เหมือนชื่อวงดนตรีอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมขณะนั้น โดยพวกเขา (ริชาร์ดและแคเรน) ทำงานกันเองทั้งหมด ทั้งการแต่งเนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงดนตรี บรรเลง ร้องนำ และ ร้องประสาน ด้วยความที่ริชาร์ดเชื่อมั่นในน้ำเสียงของแคเรน ว่าสามารถเป็นนักร้องนำได้ เขาได้ส่งเทปเดโมไปยังค่ายเพลงต่าง ๆ จนในที่สุด Herb Alpert เจ้าของค่าย A&M Records ได้สะดุดกับการเรียบเรียงดนตรีของริชาร์ด และน้ำเสียงของแคเรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำเสียงของแคเรนประทับใจ Herb Alpert เป็นอย่างมาก ทำให้ Herb Alpert ตกลงใจที่จะรับให้พวกเขาเข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดในต้นปี 1969 และในปลายปีนั้นเองก็ได้ออกอัลบั้มแรกในนามของวงคาร์เพนเทอร์ส Offering (เปลี่ยนชื่อและปกเป็น Ticket To Ride ตามซิงเกิลแรกที่ได้รับความนิยมในปี 1970) เป็นอัลบั้มแรกของพวกเขา โดยมีเพลง Ticket To Ride ซึ่ง cover มาจาก The Beatles ปล่อยมาเป็นซิงเกิลแรก โดยได้นำมาเรียบเรียงดนตรีใหม่ทั้งหมด จากเพลงเร็วกลายเป็นบัลลาดช้า ๆ ที่ไม่เหมือนของเดิมเลย Ticket To Ride ติดชาร์ทอันดับที่ 54 ของอเมริกา อัลบั้มดังกล่าวมียอดขายที่ไม่มากนัก (ภายหลังมีการออกจำหน่ายใหม่โดยมีการเปลี่ยนปกและชื่ออัลบั้มเป็น "Ticket To Ride" แทน) แต่อย่างไรก็ดี Herb Alpert ก็ไม่ได้ให้เขาออกจากสังกัด แต่ยังให้โอกาสกับพวกเขาออกอัลบั้มที่ 2 อีกด้วย ในขณะเดียวกันนั้น Burt Bacharach ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงมือฉมัง ที่แต่งเพลงฮิตให้กับ Dionne Warwick มากมายหลายเพลง ได้ยินเพลง Ticket To Ride ในเวอร์ชันของคาร์เพนเทอร์สและสนใจพรสวรรค์ในการเรียบเรียงเสียงประสานของพวกเขา จึงได้ติดต่อกับ Herb ว่า เขาต้องการให้วงคาร์เพนเทอร์สซึ่งเป็นศิลปินในสังกัดได้ร่วมเปิดการแสดงให้เขาในงานคอนเสิร์ทการกุศล โดยให้พวกเขาเล่นเพลงที่แต่งโดย Burt Bacharach และ Hal David ซึ่งทาง Herb ก็ยินดีและได้ให้ชีทเพลงของ Bacharach และ David กับริชาร์ดหลายเพลงเพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อใช้แสดงในงานงานคอนเสิร์ตการกุศลดังกล่าว Herb ได้ถามริชาร์ดว่ารู้จักเพลง (They Long To Be) Close To You หรือไม่ เพราะจะให้นำมาใช้เล่นเป็นเมดเล่ย์ในคอนเสิร์ตด้วย แต่ริชาร์ดเองก็ไม่คุ้นเคยกับเพลงดังกล่าวอย่างใด เนื่องจากเพลงนี้ไม่ได้เป็นเพลงที่ฮิตของ Bacharach และ David แต่หลังจากที่ริชาร์ดได้นำชีทเพลงนี้ไป เขากลับมาบอกกับ Herb ว่าเปลี่ยนใจที่จะนำใช้แสดงในคอนเสิร์ต แต่จะนำมาทำเป็นเพลงของคาร์เพนเทอร์สเอง โดยหลังจากความพยายามของการเรียบเรียงและการปรับแก้ของ Herb ถึงสามครั้ง สุดท้ายสำเร็จอย่างที่ทุกคนต้องการ (They Long To Be) Close To You ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลที่ 2 ของพวกเขา เพียงไม่กี่อาทิตย์ก็ขึ้นสู่อันดับที่ 1 บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของอเมริกา และครองอันดับ 1 ได้นานถึง 4 สัปดาห์ เป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นแรกของพวกเขา และสามารถขึ้นชาร์ทอันดับที่ 6 ในอังกฤษได้ ทำให้พวกเขากลายเป็นศิลปินหน้าใหม่ที่ได้รับการความนิยมอย่างมาก อัลบั้ม Close To You กลายเป็นอัลบั้มขายดีขึ้นชาร์ทอันดับที่ 2 ของอเมริกา และตามมาด้วยซิงเกิลที่ 3 We've Only Just Begun จากอัลบั้มนั้นเอง ก็ได้รับความนิยมมากไม่ต่างจาก (They Long To Be) Close To You โดยขึ้นสู่อันดับที่ 2 บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของอเมริกาได้นานถึง 4 สัปดาห์ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สองของพวกเขาในปีเดียวกัน อัลบั้ม Close To You สามารถขึ้นอันดับ 2 ในสหรัฐ และ 23 ในอังกฤษ โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านแผ่น (ณ ขณะนั้น) และเพลง (They Long To Be) Close To You ก็ทำให้พวกเขาได้รับรางวัล Grammy ถึง 2 รางวัลในปี 1970 คือ Best New Artist (ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม) และ Best Contemporary Vocal Performance by a Duo, Group or Chorus (ปัจจุบันทั้ง (They Long To Be) Close To You และ We've Only Just Begun ถูกบรรจุไว้ใน Grammy Hall of Fame awards) ซึ่งตำนานของวงคาร์เพนเทอร์สได้เริ่มต้นขึ้น ณ จุดนั้นเอง นอกจากนี้ยังมีเพลงหลายเพลงในชุด Close To You ที่ได้รับเช่น Reason To Believe (ริชาร์ดชอบเพลงนี้เป็นพิเศษและคิดจะตัดเพลงนี้เป็นซิงเกิลถัดไปด้วย), Maybe It's You (เป็นเพลงจากช่วงยุคก่อนวงคาร์เพนเทอส์ และกลายเป็นเพลงไฮไลทของชุดทีเดียว), Mr. Guder (เป็นเพลงที่ริชาร์และ John แต่งเพื่อร้องล้อเลียนนาย Guder ซึ่งเป็นหัวหน้างานของพวกเขาขณะที่พวกเขาทำงานพิเศษร้องเพลงในดิสนีแลนด์ แต่เนื่องจากไปร้องเพลงของ Beatle ตามคำขอของนักท่องเที่ยวซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ร้องในดิสนี่แลนด์ทำให้พวกเขาถูกไล่ออก!!! เพลงนี้ได้รับความนิยมจากคนดูคอนเสิร์ทมาก), Love Is Surrender และ Help (ในครั้งแรกเพลงนี้ถูกวางแผนให้ตัดเป็นซิงเกิลแรกของชุด แต่หลังจากที่ Herb ได้ยินเพลง (They Long To Be) Close To You แล้วจึงเปลี่ยนความคิดทันที)
ปลายปี 1970 พวกเขาได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ตามมาคือ Merry Christmas, Darling ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงเทศกาลคริสต์มาส โดยเพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งในคริสต์มาส ชาร์ทในปี 1970 และ 1971 หลังจากความสำเร็จอย่างท้วมท้นของซิงเกิล (They Long To Be) Close To You และ We've Only Just Begun ทำให้พวกเขาค่อนข้างเครียดกันมากว่าเพลงอะไรจะเป็นซิงเกิลต่อไปของพวกเขา เป็นปัญหาที่ริชาร์ดแก้ไม่ตกที่เดียว จนกระทั่งคืนที่พวกเขาไปแสดงเปิดคอนเสิร์ทให้กับ Engelbert Humperdinck ขณะช่วงเวลาพักผู้จัดการส่วนตัวของพวกเขาได้แนะนำให้พวกเขาไปผ่อนคลายด้วยการดูภาพยนตร์เรื่อง Lovers and Other Strangers เมื่อริชาร์ดได้ฟังเพลงประกอบภาพยนตร์นั่นเองทำให้เขาพบกับทางออกของปัญหา นั่นคือเพลง For All We Know ในเรื่องสะดุดหูริชาร์ดเป็นอย่างมากเขาคิดว่าเพลงนี้ไม่ใช่แค่เหมาะกับเสียงร้องของแคเรนเท่านั้นแต่ยังเหมาะกับสไตล์ของวงอีกด้วย ทั้งคู่จดจำท่วงทำนองและนำกลับมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในแนวของคาร์เพนเทอส์ ซึ่งก็แน่นอนหลังจากเพลงนี้ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลก็เริ่มไต่สู่ชาร์ท For All We Know กลายเป็นเพลงฮิตเพลงที่ 3 ของพวกเขา ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 3 ในอเมริกา และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สาม ด้วยความดังของเพลงนี้ในเวอร์ชันคาร์เพนเทอส์ ทำให้เวอร์ชันเพลงประกอบภาพยนตร์ได้รับอิทธิพลไปด้วย ทำให้เพลงนี้ชนะรางวัลออสกาสาขา Academy Award for Best Original Song ในปี 1971 จากนั้นก็ได้เวลาของอัลบั้มชุดที่ 3 ของพวกเขา "Carpenters" อัลบั๊มนี้นอกจากจะมีเพลง For All We Know แล้ว ยังมีซิงเกิลฮิตอีก 2 เพลงตามมาคือ Rainy Days And Mondays และ Superstar ซึ่งทั้ง 2 เพลงก็เป็นเพลงฮิตที่ได้รับความนิยมสูงมาก ขึ้นอันดับ 2 ในอเมริกา และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สี่และห้าของพวกเขาอีกด้วย สำหรับอัลบั๊ม Carpenters เป็นอัลบั๊มแรกที่พวกเขาเริ่มใช้โลโก้ "Carpenters" ที่คุ้นตาไว้บนหน้าปกอย่างเป็นทางการอีกด้วย อัลบั๊ม Carpenters ขึ้นสู่อันดับที่ 2 บนชาร์ทอัลบั๊ม 100 อันดับของอเมริกา ทำยอดขายได้เกินล้านแผ่น และได้รับรางวัล Grammy "Best Pop Vocal Performance by a Duo or Group" ในปี 1971 อีกด้วย ซึ่งนอกจาก 3 ซิงเกิลดังแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ เพลงที่เป็นที่นิยมของแฟนเพลงเช่น Let Me Be The One, (A Place To) Hideaway และ One Love เพลง Let Me Be The One เป็นเพลงหนึ่งที่ริชาร์ดรู้สึกชื่นชอบเป็นพิเศษและคิดว่าถ้าหากตัดเป็นซิงเกิล เพลงคงจะเป็นหนึ่งในเพลงดังของวงอย่างแน่นอน (Let Me Be The One ถูกตัดเป็นแผ่นซิงเกิลในปี 1991 เพื่อโปรโมทอัลบั้มชุด "From The Top") เพลง (A Place To) Hideaway เป็นเพลงที่แฟนเพลงคาร์เพนเทอส์หลายคนโหวตว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดของวงเพลงหนึ่งเลยทีเดียว ด้วยการที่พวกเขามีอัลบั้มฮิตต่อเนื่อง 2 ชุด (Close To You และ Carpenters) รวมกับ 5 ซิงเกิลแผ่นเสียงทองคำ ทำให้สถานภาพและอนาคตของวงราบรื่นทีเดียว ซิงเกิลถัดไปเริ่มด้วย Hurting Each Other ซึ่ง cover จากวง Ruby and the Romantics ออกจำหน่ายปลายปี 1971 เป็นการเปิดตัวอัลบั๊มที่ 4 ของพวกเขา A Song For You โดยออกจำหน่ายก่อนอัลบั๊มนานถึง 9 เดือน Hurting Each Other กลายเป็นเพลงฮิตเพลงถัดไปของพวกเขา โดยขึ้นอันดับ 2 ในอเมริกา และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่หก ตามมาด้วย It's Going To Take Some Time ซึ่ง cover งานของ Carole King และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ซิงเกิล Ticket To Ride ที่ซิงเกิลของพวกเขาไต่ไม่ถึง 3 อันดับแรกของชาร์ท It's Going To Take Some Time ขึ้นอันดับ 12 ในอเมริกา และตามด้วยซิงเกิลลำดับที่ 3 Goodbye To Love ซึ่งเป็นเพลงที่ริชาร์ดและเพื่อนสนิทของเขา John Bettis แต่งขึ้น เป็นเพลงแรกที่ริชาร์ด โดยให้ Tony Peluso หนึ่งในสมาชิกหลักของวงซึ่งริชาร์ดพึ่งชวนเข้ามาร่วมงานในวง โซโลกีต้าร์ในช่วงกลางและท้ายเพลง ด้วยการโซโลกีต้าร์ที่ดุเดือด โดยเฉพาะท่อนโซโลท้ายเพลงที่นานกว่า 2 นาที ทำให้เพลง Goodbye To Love ออกมาเหมือนเป็นเพลงร็อกมากกว่าเพลงในสไตล์ที่วงเคยทำออกมา ทำให้พวกเขาได้รับจดหมายต่อว่าจากเพลงเป็นจำนวนมากว่าพวกเขาดังแล้วเปลี่ยนสไตล์ ไม่รักษารูปแบบเดิมอย่างที่ควรเป็น แต่อย่างไรก็ดี Goodbye To Love ก็กลายเป็นเพลงฮิต ขึ้นอันดับ 7 ในอเมริกา และ 9 ในอังกฤษ และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเพลงป๊อปที่มีการโซโลกีต้าร์ที่ดีที่สุดเพลงหนึ่งด้วย และการโซโลกีต้าร์ของ Tony Peluso ก็กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวงไปด้วย อัลบั๊ม A Song For You ขึ้นอันดับ 4 ของชาร์ทอเมริกา และมียอดจำหน่ายเกินล้านชุด นอกจากนี้ยังมีเพลงฮิตอื่น ๆ ในชุดรวมอยู่ด้วยเช่น Bless The Beasts And Children ซึ่งเป็นเพลง ost จากภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน โดยเพลงนี้เปิดตัวครั้งแรกในด้านบี (side B) ของ Superstar โดยสามารถขึ้นอันดับที่ 67 ในสหรัฐ และยังได้มีโอกาสเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบด้วยเช่นเดียวกันกับ For All We Know แต่ไม่ได้รางวัล A Song For You เป็นเพลงแรกของแผ่นโดยแฟนเพลงส่วนใหญ่จะรู้จักเพลงนี้ดีอยู่แล้ว เป็นงานโคฟเวอร์ที่แฟนเพลงส่วนใหญ่คิดว่าเพลงนี้น่าจะถูกตัดเป็นซิงเกิลด้วยเช่นกัน, Crytal Lullaby, I Won't Last A Day Without You และ Top Of The World (สองเพลงหลังตัดเป็นซิงเกิลในช่วงเวลาต่อ) ด้วยการที่พวกเขามีอัลบั้มฮิตต่อเนื่อง 2 ชุด (Close To You และ Carpenters) รวมกับ 5 ซิงเกิลแผ่นเสียงทองคำ ทำให้สถานภาพและอนาคตของวงราบรื่นทีเดียว ซิงเกิลถัดไปเริ่มด้วย Hurting Each Other ซึ่ง cover จากวง Ruby and the Romantics ออกจำหน่ายปลายปี 1971 เป็นการเปิดตัวอัลบั๊มที่ 4 ของพวกเขา A Song For You โดยออกจำหน่ายก่อนอัลบั๊มนานถึง 9 เดือน Hurting Each Other กลายเป็นเพลงฮิตเพลงถัดไปของพวกเขา โดยขึ้นอันดับ 2 ในอเมริกา และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่หก ตามมาด้วย It's Going To Take Some Time ซึ่ง cover งานของ Carole King และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ซิงเกิล Ticket To Ride ที่ซิงเกิลของพวกเขาไต่ไม่ถึง 3 อันดับแรกของชาร์ท It's Going To Take Some Time ขึ้นอันดับ 12 ในอเมริกา และตามด้วยซิงเกิลลำดับที่ 3 Goodbye To Love ซึ่งเป็นเพลงที่ริชาร์ดและเพื่อนสนิทของเขา John Bettis แต่งขึ้น เป็นเพลงแรกที่ริชาร์ด โดยให้ Tony Peluso หนึ่งในสมาชิกหลักของวงซึ่งริชาร์ดพึ่งชวนเข้ามาร่วมงานในวง โซโลกีต้าร์ในช่วงกลางและท้ายเพลง ด้วยการโซโลกีต้าร์ที่ดุเดือด โดยเฉพาะท่อนโซโลท้ายเพลงที่นานกว่า 2 นาที ทำให้เพลง Goodbye To Love ออกมาเหมือนเป็นเพลงร็อกมากกว่าเพลงในสไตล์ที่วงเคยทำออกมา ทำให้พวกเขาได้รับจดหมายต่อว่าจากเพลงเป็นจำนวนมากว่าพวกเขาดังแล้วเปลี่ยนสไตล์ ไม่รักษารูปแบบเดิมอย่างที่ควรเป็น แต่อย่างไรก็ดี Goodbye To Love ก็กลายเป็นเพลงฮิต ขึ้นอันดับ 7 ในอเมริกา และ 9 ในอังกฤษ และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเพลงป๊อปที่มีการโซโลกีต้าร์ที่ดีที่สุดเพลงหนึ่งด้วย และการโซโลกีต้าร์ของ Tony Peluso ก็กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวงไปด้วย อัลบั๊ม A Song For You ขึ้นอันดับ 4 ของชาร์ทอเมริกา และมียอดจำหน่ายเกินล้านชุด นอกจากนี้ยังมีเพลงฮิตอื่น ๆ ในชุดรวมอยู่ด้วยเช่น Bless The Beasts And Children ซึ่งเป็นเพลง ost จากภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน โดยเพลงนี้เปิดตัวครั้งแรกในด้านบี (side B) ของ Superstar โดยสามารถขึ้นอันดับที่ 67 ในสหรัฐ และยังได้มีโอกาสเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบด้วยเช่นเดียวกันกับ For All We Know แต่ไม่ได้รางวัล A Song For You เป็นเพลงแรกของแผ่นโดยแฟนเพลงส่วนใหญ่จะรู้จักเพลงนี้ดีอยู่แล้ว เป็นงานโคฟเวอร์ที่แฟนเพลงส่วนใหญ่คิดว่าเพลงนี้น่าจะถูกตัดเป็นซิงเกิลด้วยเช่นกัน, Crytal Lullaby, I Won't Last A Day Without You และ Top Of The World (สองเพลงหลังตัดเป็นซิงเกิลในช่วงเวลาต่อ) หลังจากที่ Top Of The World ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นแล้ว ทีมงาน A&M ได้ปล่อยเพลง Jambalaya (On The Bayou) จากอัลบั้ม Now And Then ซึ่ง cover งานเพลงเก่าของราชาเพลงคันทรี Hang William ออกเป็นซิงเกิลจำหน่ายในหลายประเทศยกเว้นที่อเมริกา (ซึ่งริชาร์ดอาจจะไม่ได้คิดถึงในจุดนี้) ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเกินคาดเพราะสามารถขึ้นอันดับที่ 12 ได้ในอังกฤษ รวมถึงมียอดจำหน่ายในระดับแผ่นเสียงทองคำในประเทศญี่ปุ่นและฮอลแลนด์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮอลแลนด์ Jambalaya (On The Bayou) กลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของคาร์เพนเทอส์ทีเดียว หลังจากออกอัลบั้ม Now And Then แล้วพวกเขาแทบไม่มีวัตถุดิบในการทำงานชุดใหม่เหลือเลย อีกทั้งยังเหนื่อยมากจากการทัวร์คอนเสิรทที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้วยเหตุนี้ในปี 1974 นี้ พวกเขาจึงยังไม่มีอัลบั้มใหม่ออกมา แต่มีซิงเกิลใหม่ตามออกมานั่นคือ I Won't Last A Day Without You เพลงจากอัลบั้ม A Song For You ในปี 1972 ด้วยเหตุผลที่คล้ายกันกับ Top Of The World ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงที่ 6 ที่ถูกตัดเป็นซิงเกิลจากอัลบั้ม A Song For You (นับรวม Bless The Beasts And Children) I Won't Last A Day Without You ประสบความสำเร็จอย่างดี เมื่อขึ้นชาร์ทอันดับที่ 11 ในอเมริกา และ 32 ในอังกฤษ (เพลงนี้ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 9 ในอังกฤษพร้อมกันกับ Goodbye To Love ในปี 1972 มาแล้วครั้งหนึ่ง) นอกจากนี้เพลงนี้ยังชนะรางวัล "World Disc Grand Prix" ในสาขาซิงเกิลแห่งปี 1974 ในประเทศญี่ปุ่นด้วย ซึ่ง ณ ขณะนี้ความนิยมของวงคาร์เพนเทอส์ในญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นมากในระดับที่เทียบเท่ากับวง The Beattle ซึ่งในปีนั้นเองพวกเขาได้มีกำหนดการที่จะออกทัวร์คอนเสิร์ทตามประเทศต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนหนึ่งในนั้นคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ทำให้ทีมงาน A&M ประจำญี่ปุ่นนำการแสดงสดดังกล่าวมาทำและจัดจำหน่ายเป็นอัลบั้มคู่ Live In Japan ซึ่งก็ได้รับความนิยมและจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำเช่นกัน ในปลายปี 1974 พวกเขากลับเขาสตูดิโออีกครั้งพร้อมกับบันทึกเสียงซิงเกิลใหม่ Please Mr. Postman เพลง cover จากกลุ่มนักร้องสาวผิวสี Marvelettes โดยได้เรียบเรียงเสียใหม่ให้มีความกระชับกว่าเดิม ผลปรากฏว่า Please Mr. Postman ขึ้นชาร์ทอันดับ 1 ในอเมริกาเป็นเพลงที่ 3 และยังขึ้นชาร์ทอันดับที่ 2 ในอังกฤษ และในอีกหลาย ๆ ประเทศ เพลงนี้ได้รับแผ่นเสียงทองคำในอเมริกาเป็นเพลงที่ 10 ของพวกเขา ริชาร์ดกล่าวว่า เขาเคยคิดว่าเพลง Yesterday Once More เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมที่สุดของพวกเขา แต่ตอนนี้ Please Mr. Postman คือเพลงที่โด่งดังที่สุดของพวกเขา หลังจากนี้พวกเขายังปล่อยเพลง Santa Claus Is Comin' To Town ซึ่งเป็นเพลงคริสต์มาสต์เพลงที่ 2 ของพวกเขาเป็นซิงเกิลถัดมา แม้จะไม่ได้รับความนิยมมากเท่า Merry Christmas, Darling แต่เพลงนี้ก็ยังขึ้นอันดับ 35 ในฝั่งอังกฤษ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง เป็นช่วงที่แคแรนเริ่มอาการของแอนนอริเซีย เนฟโวซา (Anorexia nervosa) ซึ่งเป็นโรคกลุ่มอาการผิดปกติในเรื่องการกินอาหาร หลังจาก Please Mr. Postman ประสบความสำเร็จโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว ซิงเกิลถัดมา Only Yesterday ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของริชาร์ดร่วมกับคู่หู John Bettis เช่นเคย เพลงนี้ขึ้นอันดับ 4 ในอเมริกา และ 7 ในอังกฤษ และโด่งดังในหลาย ๆ ประเทศ (โดยเพลงนี้ทำให้ริชาร์ดต้องเสียเงินค่าพนันจำนวน 1,000 เหรียญให้กับนักวิศวกรเสียง ด้วยเหตุว่าเขาคิดว่าเพลงนี้ไม่น่าจะดัง) และตามมาด้วยอัลบั้มที่ 6 ของพวกเขา Horizon แต่ช่วงกลางยุค 70s บรรยากาศแนวดนตรีเริ่มเปลี่ยนไป รวมถึงมีนักร้องคลื่นลูกใหม่ออกมาก เช่น ดิ อีเกิ้ล ทำให้ความนิยมของวงคาร์เพ็นเตอร์สในอเมริกาเริ่มลดลง โดยเห็นได้จากชาร์ตอัลบั้มที่ขึ้นไปที่อันดับ 13 แต่ความดังของพวกเขากับเพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อังกฤษและญึ่ปุ่น ที่ Horizon สามารถขึ้นอันดับ 1 ได้ ซิงเกิลที่ 3 ที่ตัดออกมา Solitaire ขึ้นอันดับ 17 ในอเมริกา และ 32 ในอังกฤษ อย่างไรก็ดี อัลบั้มดังกล่าวก็ยังมียอดจำหน่ายที่ดีในระดับแพลตินั่มในอเมริกา (เกินล้านแผ่น) อีกทั้งแฟนเพลงและนักวิจารณ์ชื่นชมกับอัลบั้มชุดนี้มากเกี่ยวกับน้ำเสียงและเทคนิคที่แคเรนร้อง (แคเรนใช้คีย์เสียงในระดับฐานของเสียง ซึ่งริชาร์ดบอกไว้ว่าเป็นคีย์เสียงที่ดีและไพเราะที่สุดของแคเรน) ทั้งบทเพลงและดนตรีที่ลงตัว รวมถึงการมิกซ์เสียง แต่อาจเนื่องจากเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มชุดนี้จะเป็นบัลลาดหนัก ๆ เสียส่วนใหญ่ ทำให้ในยุคนั้นคนยังนิยมเพลงแนวบุพพาชนเสียส่วนใหญ่ และนอกจากนี้ด้วยคอนเซ็ปของชุดนี้ที่เริ่มจากเพลง Arora และปิดท้ายด้วย Eventide ซึ่งทั้ง 2 เพลงมีทำนองและดนตรีเหมือนกันต่างเพียงเนื้อร้องและด้วยความที่มีความยาวของเพลงสั้นประมาณ 1:33 นาที ทำให้ทั้ง 2 เพลงเหมือนเป็น jingle ที่ทำหน้าที่เปิดและปิดอัลบั้มเท่านั้น ทำให้คนฟังมีความรู้สึกเหมือนว่าชุดนี้มีเพลงเพียงแค่ 8 เพลง แทนที่จะมี 10 เพลงเป็นอย่างน้อยเหมือนชุดอื่น ๆส่วนเพลงอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมของแฟนเพลง เช่น (I'm Caught Between) Goodbye And I Love You, Happy (เป็นเพลงที่มีจังหวะเร็วกว่าเพลงอื่นในชุด ทำให้ริชาร์ดคิดว่าถ้าตัดสินใจใหม่ได้จะเลือกเพลงนี้เป็นซิงเกิลแทน Solitaire), Love Me For What I Am และ Desperado (งานโคฟเวอร์ของดิ อีเกิ้ล ซึ่งครั้งแรกที่ริชาร์ดได้ยินเพลงนี้หลังการมิกซ์เสร็จก็ตัดสินใจที่จะเลือกเป็นซิงเกิลถัดไปเช่นกัน แต่เนื่องจากมีศิลปินมากมายนำไปโคฟเวอร์แล้ว ความคิดดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไป) ในปี 1976 ริชาร์ดค่อนข้างกังวลกับปัญหาในเรื่องของความนิยมต่อวงคาร์เพนเทอส์ในอเมริกาที่กำลังลดลง ดังนั้นเขาจึงค่อนข้างที่จะหวังกับอัลบั้มถัดไปอย่างมาก โดยปล่อยเพลง There's A Kind Of Hush ซึ่งเป็นการโคฟเวอร์งานเก่าของวง Herman's Hermits ออกมาเป็นซิงเกิลแรก ซึ่งก็ขึ้นชาร์ท 12 ในอเมริกา และ 22 ในอังกฤษ และตามมาด้วย I Need To Be In Love ซิงเกิลที่สองอันเป็นผลงานการประพันธ์ของริชาร์ดร่วมกับคู่หู ซึ่งตัวริชาร์ดเองค่อนข้างหวังไว้กับเพลงนี้สูงมาก เนื่องจากเป็นเพลงที่เขาตั้งใจแต่งและเพลงนี้ยังเป็นเพลงที่แคเรนชอบมากที่สุดที่เธอได้ร้องไว้ แต่ผลจากความนิยมที่ลดลง ทำให้เพลงดังกล่าวขึ้นชาร์ทได้เพียงอันดับที่ 25 ในอเมริกา และ 36 ในอังกฤษ (อย่างไรก็ดีเพลงนี้ถูกนำมาตัดเป็นซิงเกิลใหม่ในปี 1995 ในญี่ปุ่น สามารถขึ้นสู่ชาร์ดได้ในอันดับที่ 5 และมียอดจำหน่ายกว่า 4 ล้านแผ่น ซึ่งสูงสุดในยอดจำหน่ายของปีนั้นที่เดียว สร้างปรากฏการณ์ที่หน้าประหลาดใจให้กับริชาร์ดเป็นอย่างมาก) และตามมาด้วยซิงเกิลที่ 3 Goofus ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับแฟนเพลงทั่วโลกในการเลือกเพลงนี้มาเป็นซิงเกิล โดยชาร์ทที่ตามมาก็ไม่น่าประหลาดใจ อยู่ในอันดับที่ 56 ในอเมริกา ทำให้อัลบั้มที่ 7 ของพวกเขา A Kind Of Hush ขึ้นอันดับที่ 33 ในอเมริกา แต่ยังสามารถรักษาความนิยมในอังกฤษได้อันดับที่ 3 อย่างไรก็ดี A Kind Of Hush ยังมียอดจำหน่ายที่ดีในระดับแผ่นเสียงทองคำในอเมริกาอยู่ เพลงที่ได้รับความนิยมเพลงอื่น ๆ ได้แก่ You เป็นงานโคฟเวอร์เช่นกัน แต่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดเพลงหนึ่งของวงด้วย ด้วยเสียงร้องที่โด่ดเด่นไพเราะของแคเรน เพลงนี้ได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น โดยมีแฟนเพลงจำนวนมากคิดว่าเพลงนี้น่าจะออกเป็นซิงเกิล แต่ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดที่ทำให้เพลงนี้ไม่ได้ถูกทำเป็นซิงเกิลแต่เลือกเพลง Breaking Up Is Hard To Do เป็นซิงเกิลที่ 3 สำหรับญี่ปุ่นแทน (สร้างความผิดหวังให้กับแฟนเพลงหลายคนทีเดียว ใครทราบสาเหตุรบกวนเล่าให้ฟังด้วยครับ), Sandy เป็นเพลงโปรดเพลงหนึ่งของริชาร์ด เขาแต่งเพื่อบรรยายถึงแซนดี้ ซึ่งเป็นช่างผมช่างแต่งตัวให้กับแคเรนและเขาก็เคยมีเดทกันนิดหน่อย (ซึ่งสุดท้ายก็ต้องเลิกกันไปสาเหตุเพราะแคเรนและแอกเนส), Can't Smile Without You เป็นเพลงที่อยู่แผนการตัดเป็นซิงเกิลเช่นกัน โดยมีการทำออกมาเวอร์ชันในปี 1978 และในปีเดียวกันนั้น Berry Manilow ได้โคฟเวอร์เพลงนี้จนทำให้กลายเป็นเพลงดังที่คนรู้จัก และ I Have You ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้เองวงคาร์เพนเทอส์มีงานทัวร์คอนเซิร์ททั่วโลกทั้งอังกฤษและญี่ปุ่นแทบเต็มตาราง ทำให้อาการป่วยของแคเรนจากโรคแอนนอริเซีย เนฟโวซา เริ่มแสดงอาการให้เห็นจากการที่เธอเป็นลมล้มลงกลางเวทีหลังจากร้องเพลง Top Of The World จนสุดท้ายต้องยกเลิกการแสดงทัวร์ที่ญี่ปุ่นไป ขณะเดียวกันริชาร์ดก็เริ่มใช้และติดยานอนหลับด้วย เนื่องจากปัญหาความนิยมของวงที่ลดลงในสหรัฐอเมริกา (ทั้งยอดจำหน่ายอัลบั้มและชาร์ทซิงเกิล) รวมถึงขณะนั้นเป็นยุคทองของเพลงดิสโก้ ส่งผลให้เกิดแรงกดดันที่มหาศาลกับ ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นทุก ๆ อย่างในการผลิตอัลบั้มของวงเรื่อยมา ทำให้อัลบั้มใหม่นี้เขาไม่ต้องการให้ความนิยมของวงตกลงโดยไม่ได้มีการจัดการอะไร... นั่นจึงเป็นที่มาของอัลบั้ม Passage ซึ่งเขาลดบทบาทของเขาลงหลายอย่างและทดลองเพลงหลาย ๆ แนวในชุดนี้โดยที่พยายามคงความเป็นวงคาร์เพนเทอส์เอาไว้ไม่ให้อิงไปกับกระแสดิสโก้ เช่นการใช้วงซิมโฟนี่และการประสานเสียงเต็มวง (เพลง Don't Cry For Me Argentina และ Calling Occupants Of Interplanetary Craft) รวมถึงเป็นอัลบั้มแรกที่ไม่มีเพลงที่เขาและคู่หูแต่งอยู่เลย โดยเพลงในชุดนี้จะมีความหลากหลายของแนวเพลงมากที่สุด โดยที่มีเพลง All You Get From Love Is A Love Song เป็นซิงเกิลแรก ซึ่งขึ้นชาร์ทได้ 35 ในสหรัฐ และตามมาด้วย Calling Occupants Of Interplanetary Craft (ซิงเกิลที่แปลกที่สุดและยาวที่สุดของวง) เป็นซิงเกิลที่ 2 ซึ่งขึ้นชาร์ทที่ 32 ในสหรัฐ แต่สามารถขึ้นชาร์ทที่ 9 ได้ทั้งในอังกฤษและออสเตรเลีย สร้างความประหลาดใจให้กับพวกเขาเป็นอย่างมาก ถัดมาเป็นเพลงคริสต์มาส The Christmas Song (Chestnut Roasting On An Open Fire) (ไม่ได้บรรจุในชุด Passage) และตามด้วยเพลง Sweet, Sweet Smile ในต้นปี 1978 ซึ่งขึ้นอันดับ 44 ในสหรัฐและ 40 ในอังกฤษ และเป็นครั้งแรกที่เพลงของวงสามารถขึ้นชาร์ทเพลงครันทรีได้ (อันดับที่ 9) นอกจากนี้ในอัลบั้ม Passage ยังมีเพลงที่น่าสนใจอีกเพลงคือ I Just Fall In Love Again ซึ่งจริง ๆ แล้วริชาร์ดต้องการจะตัดเพลงนี้เป็นซิงเกิลถัดไปมากกว่า แต่เนี่องจากช่วงเวลาดังกล่าวดีเจที่เปิดแผ่นจะไม่เปิดเพลงที่มีความยาวเกินกว่า 4 นาที (I Just Fall In Love Again มีความยาว 4:04) ทำให้เพลงนี้ถูกลืมไป แต่อย่างไรก็ดีในปี 1978 แอน เมอร์เรย์ ได้โคฟเวอร์เพลงดังกล่าวและสามารถขึ้นชาร์ทลำดับที่ 12 ในสหรัฐได้ (ทำให้ริชาร์ดทราบว่าเขาตัดสินใจเกี่ยวกับเพลงนี้ผิดไป) อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าอัลบั้มชุดนี้จะมีความพยายามที่จะทำให้เกิดความแปลกใหม่อย่างมากมาย แต่ผลตอบรับก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย Passage ขึ้นอันดับ 49 ในสหรัฐและ 12 ในอังกฤษ และเป็นครั้งแรกที่ยอดจำหน่ายของอัลบั้มต่ำกว่าระดับแผ่นเสียงทองคำ (ตั้งแต่ Close To You จนถึง A Kind Of Hush ทุกชุดมียอดจำหน่ายเกินทั้งหมด) ในปี 1978 พวกเขาเตรียมทำอัลบั้มคริสต์มาสโดยมีการทำรายการทีวีออกมาก่อน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และตามมาด้วยอัลบั้มเต็ม Christmas Portait ซึ่งในชุดนี้มีเพลง Merry Christmas, Darling ที่ได้ตัดเป็นซิงเกิลออกมาตั้งแต่ปี 1970 บรรจุอยู่ (ขับร้องใหม่โดยแคเรนในปี 1978) อัลบั้มชุดนี้ขึ้นอันดับ 145 ในสหรัฐ โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า หนึ่งล้านแผ่นเลยทีเดียว ในยุคนั้นโดยปกติแล้วมีศิลปินไม่กี่คนเท่านั้นที่ทำอัลบั้มคริสต์มาสแล้วจะได้รับการตอบรับและประสบความสำหรับ ซึ่ง Christmas Portait เป็นหนึ่งในอัลบั้มดังกล่าวที่ปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมเปิดกันในเทศกาลคริสต์มาสจนถึงทุกวันนี้ เพลงอื่น ๆ ที่เป็นไฮไลทของชุดนี้ได้แก่ Ave Maria, White Christmas, Silent Night, Have Youself A Merry Little Christmas และ Christmas Waltz ปลายปี 1978 พวกเขาได้บันทึกเสียงเพลงใหม่ ๆ สำหรับเตรียมออกอัลบั้มใหม่ และได้ออกซิงเกิลเพลงใหม่หนึ่งเพลงคือ I Believe You ซึ่งขึ้นอันดับ 68 ในสหรัฐ นอกจากนี้ยังออกอัลบั้มรวมเพลงฮิตชุดที่ 2 "The Singles 1974-1978" ซึ่งออกจำหน่ายเฉพาะในอังกฤษ และสามารถขึ้นชาร์ทได้ในอันดับที่ 2 (ขณะนั้นความนิยมของวงในอเมริกาลดลงจึงไม่ได้ออกจำหน่าย) ในช่วงต้นปี 1979 สุขภาพของทั้งคู่ย่ำแย่ลง ทั้งอาการติดยานอนหลับอย่างรุนแรงของริชาร์ด และอาการแอนนอริเซีย เนฟโวซา ของแคเรนก็พัฒนาอาการไปอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งจะเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพจากหนังสือพิมพ์ วิดีโอ ทีวี) จนริชาร์ดตัดสินใจว่าเขาจะหยุดพักงานเพื่อบำบัดอาการติดยานอนหลับของเขาให้หายดีก่อน รวมถึงอาการป่วยของแคเรนด้วย แล้วจึงค่อยกลับเข้าห้องอัดใหม่ โดยที่แคเรนเองก็ต้องเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาลในเมืองนิวยอร์ก ซึ่งตัวแคเรนไม่ค่อยเห็นด้วยกับพี่ชายนักในเรื่องการพักการออกอัลบั้มใหม่ ทำให้เธอตัดสินใจทำงานเดี่ยวไปด้วยในช่วงที่เธอพักรักษาตัว โดยได้ฟิล รามอน มาเป็นโปรดิวเซอร์ อัลบั้มดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นงานเพลงที่แต่งเองจากนักดนตรีที่ร่วมงานในขณะนั้นทำให้เพลงส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ อีกทั้งฟิล รามอน เองก็อยากให้เสียงร้องของแคเรนในงานเดี่ยวมีความแตกต่างจากที่เป็นแคเรนของวงคาร์เพนเทอส์ ดังนั้นเมื่ออัลบั้มเสร็จออกมาจึงมีความแตกต่างจากงานที่เคยทำร่วมกับพี่ชายมาก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี การเรียบเรียง เนื้อเพลง รวมถึงวิธีการร้องของแคเรนด้วย (ชุดนี้มีกลิ่นไอของดิสโก้อยู่มาก ซึ่งริชาร์ดได้เคยพูดห้ามในเรื่องนี้เอาไว้) ผลคือทำให้เมื่อนำเดโมที่เสร็จแล้วไปให้ริชาร์ดและผู้บริหารบริษัทเอแอนด์เอ็มฟัง ก็ไม่เป็นที่ประทับใจเท่าไหร่ ทำให้เธอตัดสินใจที่จะระงับการจำหน่ายอัลบั้มเดี่ยวดังกล่าวของเธอ (ซึ่งสร้างความสะเทือนใจกับแคเรนเป็นอย่างมาก) การทำอัลบั้มดังกล่าวยังใช้เงินส่วนตัวของแคเรนไปถึง 400,000 เหรียญสหรัฐด้วย อัลบั้มดังกล่าวเสร็จสิ้นในปี 1980 แต่ถึงแม้ว่าแคเรนจะเสียชีวิตแล้วในปี 1983 ไปแล้วก็ตามแต่อัลบั้มดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจำหน่าย แม้ว่าแฟนเพลงจำนวนมาก (ที่ทราบว่าอัลบั้มดังกล่าวมีอยู่จริง ๆ) ได้เขียนจดหมายถึงริชาร์ดว่าต้องการให้ออกจำหน่าย ซึ่งสุดท้ายแล้วอัลบั้ม Karen Carpenter ก็ได้ฤกษ์ออกจำหน่ายในปี 1996 ซึ่งหลาย ๆ เพลงในชุด Karen Carpenter ก็มิได้แย่จนถึงขั้นที่จะต้องถูกระงับการจำหน่ายเลย ในอัลบั้มนี้มีซิงเกิลหนึ่งเพลงคือ If I Had You (ริชาร์ดได้ให้ความคิดเห็นว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดในชุด แต่โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนรู้สึกชอบ My Body Keeps Changing My Mind และ Making Love In The Afternoon มากกว่า) อย่างไรก็ดีริชาร์ดได้นำเอาเพลง 4 เพลงจากงานเดี่ยวดังกล่าวมาบรรจุไว้ในอัลบั้ม Lovelines (1989) ของวงคาร์เพนเทอส์ด้วย (Lovelines, If We Try, Remember When Lovin' Took All Night และ If I Had You)ในกลางปี 1980 แคเรนได้พบรักและแต่งงานกับนักธุรกิจ โทมมัส เบอริส โดยงานจัดที่ Crystal Room of the Beverly Hills Hotel และมีเพลงที่แต่งสำหรับงานดังกล่าว Because We Are in Love (The Wedding Song) ซึ่งบรรจุอยู่ในอัลบั้ม Made In America
หลังจากการบำบัดอาการติดยานอนหลับของริชาร์ดจนหายดี และการเสร็จสิ้นการรักษาอาการแอนนอริเซีย เนฟโวซา ของแคเรน (ซึ่งยังไม่ได้หายขาด) พวกเขาก็เตรียมตัวเข้าห้องอัดเพื่อออกอัลบั้มใหม่เลย นั่นคือ Made In America โดยเริ่มจากเพลง Touch Me When We're Dancing เป็นซิงเกิลที่ 2 (I Believe You เป็นซิงเกิลแรก) ได้รับการตอบรับดีในระดับหนึ่ง (อันดับ 16 ในสหรัฐ และเป็นเพลงฮิต top 20 เพลงสุดท้าย) โดยริชาร์ดไม่ค่อยพอใจกับอันดับชาร์ทมากนักเนื่องจากเพลงนี้เป็นเพลงที่ดีที่น่าจะสามารถได้รับความนิยมในระดับ top 5 ได้ แต่เนื่องจากขณะนั้นมันพ้นช่วงยุคทองของวงไปแล้ว (ดีเจไม่ค่อยโปรโมทเพลงของวงคาร์เพนเทอส์ เพราะไม่ใช่เพลงในแนวกระแสในช่วงยุค 80) เพลงถัดมา (Want You) Back in My Life Again ขึ้นอันดับ 72 ในสหรัฐ ตามมาด้วย Those Good Old Dreams ขึ้นอันดับ 63 ในสหรัฐ (ริชาร์ดให้ความเห็นเกี่ยวกับเพลงนี้ว่าน่าจะขึ้นชาร์ทได้สูงกว่านี้) และ Beechwood 4-5789 ขึ้นอันดับ 74 ในสหรัฐ (และเป็นเพลงสุดท้ายที่สามารถขึ้นชาร์ท top 100 ในสหรัฐได้) Made In America ไต่ชาร์ทอันดับที่ 52 ในสหรัฐและ 12 ในอังกฤษ ปลายปี 1982 อาการแอนนอริเซีย เนฟโวซา ของแคเรนก็ยังไม่ดีขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหนักของแคเรนที่ลดลงอย่างมาก (ประมาณ 35 กิโลกรัม) ประกอบกับการที่เธอไม่ได้กลับมาทานอาหารอย่างปกติ แต่ใช้วิธีการฉีดสารอาหารเข้าสู่หลอดเลือดทำให้น้ำหนักของเธอกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพฤติกรรมการไม่ทานอาหาร การใช้สารทำให้อาเจียร (บูลิเมียร์) หลังจากทานอาหารเสร็จ รวมถึงการใช้การกลุ่มกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานก็ยังเป็นอยู่ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อทั้งหลอดเสียงของเธอ ยังทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดแดงที่หัวใจบางและเปาะ รวมถึงกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนัก (ปกติแล้วร่างกายคนที่ขาดอาหารจะไปลดอัตราการเต้นของหัวใจรวมถึงเมตตาบอริซึ่มเพื่อลดการใช้พลังงานลง แต่การใช้สารกระตุ้นการทำงานของหัวใจกับสภาพร่างกายของแคเรนที่ขาดสารอาหารยิ่งไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานมากขึ้น) ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะสมและค่อย ๆ ทำลายกล้ามเนื้อหัวใจของเธอเรื่อยมาจนวันหนึ่ง ในคืนก่อนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1983 แคเรนได้โทรศัทพ์ไปคุยกับ ฟิล รามอน โดยเธอถามถึงอัลบั้มเดี่ยวที่เขาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ โดยถามเขาว่าอัลบั้มดังกล่าวมันแย่มากเลยเหรอ? ก่อนที่จะได้รับคำตอบแล้วจบบทสนธนาสุดท้ายกันไป และในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1983 ก่อนวันเกิดครบรอบ 33 ปีของแคเรนไม่กี่อาทิตย์ เธอล้มฟุบลงกับพื้นห้องแต่งตัวที่บ้านของ แอกเนส แม่ของเธอ ก่อนที่จะมีคนพบและเรียกรถพยาบาลมารับตัวเธอ ซึ่งวันนั้นจะเป็นวันที่เธอต้องไปจดทะเบียนหย่าโดยมีแอกเนสไปเป็นเพื่อน หลังจากนั้นทางโรงพยาบาลได้แจ้งว่าเธอได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยสาเหตุหัวใจล้มเหลว ซึ่งข่าวดังกล่าวกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกทั้งเรื่องการเสียชีวิตของเธอ และโรคแอนนอริเซีย เนฟโวซา ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในอเมริกาอย่างมากมาย (ประมาณ 50% ของผู้หญิงทั้งหมด) ซึ่งทำให้อเมริกาตื่นตัวกับโรคดังกล่าวอย่างจริง ๆ จัง ๆ และที่หน้าหลุมฝังศพของเธอมีการจารึกไว้ว่า "A star on earth - A star in heaven" และในเดือนตุลาคม 1983 วงคาร์เพนเทอส์ก็ได้รับการจารึกชื่อไว้ที่ star on the Hollywood Walk of Fame ด้วย ในปี 1983 ริชาร์ดได้ออกอัลบั้ม Voice Of The Heart ซึ่งเป็นการรวบรวมงานเพลงที่ยังไม่ได้นำออกมาจำหน่าย ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพลงที่ถูกคัดออกจากอัลบั้มต่าง ๆ จากปี 1976 จนถึง 1981 โดยมีเพลงที่ร้องใหม่สำหรับชุดนี้จริง ๆ 2 เพลง (แคเรนร้องไว้ก่อนเสียชีวิต) คือ Now (เพลงสุดท้ายที่แคเรนร้องในห้องอัดเสียง) และ Your Baby Doesn't Love You Anymore (จากคำวิจารณ์ของแฟนเพลงหลายคนรวมถึงผู้เขียนต่างเห็นฟ้องต้องกันว่าเพลงในชุดนี้หลายเพลงมีคุณภาพดีกว่า Made In America หรือ Passage ด้วยซ้ำ) ซิงเกิลแรกของชุดนี้คือ Make Believe It's Your First Time (101 ในสหรัฐ และ 60 ในอังกฤษ) และตามมาด้วย Your Baby Doesn't Love You Anymore เป็นซิงเกิลที่ 2 Voice Of The Heart ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 46 ในสหรัฐ และ 6 ในอังกฤษ โดยมียอดจำหน่ายในระดับแผ่นเสียงทองคำทั้งในสหรัฐและอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีเพลงที่สำคัญเพลงอื่น ๆ ได้แก่ Look To Your Dreams (เป็นเพลงที่แคเรนขอร้องให้ริชาร์ดแต่งให้ แต่เนื่องจากตัวเพลงมีกลิ่นไอเพลงเก่าทำให้เพลงนี้ไม่ถูกนำมาบรรจุไว้ในอัลบั้มก่อนหน้านี้ Look To Your Dreams กลายเป็นเพลงที่แอกเนส มารดาของพวกเขาชอบมากที่สุด), At The End Of A Song, Sailing On The Tide และ You're Enough เนื่องจากโครงการทำอัลบั้ม Christmas Portrait พวกเขาได้บันทึกเสียงไปจำนวนหลายเพลงมาก ทำให้มีหลายเพลงที่ยังไม่ได้นำมาใช้ ในปีถัดมา ริชาร์ดได้จัดการมิกซ์ดนตรีของเพลงที่เหลือซึ่งแคแรนร้องไว้จำนวน 6 เพลง รวมกับที่ริชาร์ดบันทึกเสียงใหม่อีก 7 เพลง และอีก 1 เพลงเก่าที่พวกเขาเคยตัดเป็นซิงเกิลไว้แล้วในปี 1974 Santa Claus Is Comin' to Town มารวมไว้ในอัลบั้มคริสต์มาสชุดที่ 2 An Old-Fashioned Christmas ซึ่งชุดนี้มีเพลง Little Altar Boy ตัดเป็นซิงเกิล โดยมีเพลง Do You Hear What I Hear? เป็น B-side ในปี 1989 ได้มีการสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง "The Karen Carpenter Story" ซึ่งได้รับความนิยมสูง ทำให้อัลบั้มเก่าต่าง ๆ ของวงคาร์เพนเทอส์ได้รับความสนใจอย่างมากและทำให้ยอดจำหน่ายสูง (ตั้งแต่ปี 1989 - 1991) สื่อต่าง ๆ ให้การยอมรับผลงานของพวกเขาในด้านความไพเราะความเป็นอมตะมากขึ้น ในปีนั้นเองริชาร์ดได้วางแผนออกอัลบั้มถัดมาของวง Lovelines อัลบั้มนี้คล้ายกับ Voice Of The Heart คือเป็นเพลงที่ถูกคัดทิ้ง (ไม่ได้ถูกนำมาใช้) มีหลายเพลงที่นำมาจากทีวีซีรีส์ที่คาร์เพนเทอส์เป็นโฮส และอีก 4 เพลงจากอัลบั้มเดี่ยวของแคเรน (Karen Carpenter) ซึ่งซิงเกิลในชุดนี้คือ Honolulu City Lights ซื่งได้ตัดออกมาแล้วในปี 1985 เพลงหลายเพลงในชุดนี้กลายเป็นเพลงที่แฟนเพลงชื่นชอบ เช่น Where Do I Go From Here?, When I Fall In Love, Little Girl Blue, Slow Dance, You're The One และ Kiss Me The Way You Did Last Night (Kiss Me The Way You Did Last Night บันทึกเสียงในช่วงอัลบั้ม Made In America แต่ด้วยความที่เพลงนี้ยากต่อการมิกซ์เสียงและสมัยนั้นเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย ทำให้ไม่ได้บรรจุอยู่อัลบั้มดังกล่าว แต่หลังจากที่มีเทคโนโลยีใหม่มาช่วยเพลงนี้จึงมีโอกาสให้แฟนเพลงได้รับฟังกัน) อัลบั้มชุดนี้ขึ้นอันดับ 73 ในอังกฤษ โดยแฟนเพลงหลายคนให้คำวิจารณ์ชื่นชอบอัลบั้มชุดนี้เช่นกัน ด้วยเหตุที่ริชาร์ดมีโปรเจกต์การออกอัลบั้ม Karaoke เพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่น ในช่วงที่เตรียมเทปมาสเตอร์สำหรับโปรเจกต์ ริชาร์ดได้รื้อพบเทปที่ถูกลาเบลไว้ว่า "Only Yesterday" ซึ่งเมื่อนำมาตรวจสอบดูพบว่า เป็นเพลง Tryin' To Get The Feeling Again ที่แคเรนเคยร้องไว้ในปี 1975 ช่วงทำอัลบั้ม Horizon ซึ่งไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในชุดนั้น แต่จากการลาเบลผิดและเก็บไว้ผิดที่จึงทำให้ต้นฉบับเพลงนี้ถูกลืม เพลง Tryin' To Get The Feeling Again ถูกร้องไว้ครั้งแรกโดยแคเรน แต่เนื่องจากไม่ได้บรรจุใน Horizon และถูกเก็บลืม ซึ่งแคเรนได้ร้องเอาไว้ก่อนที่ Berry Manilow จะบันทึกเสียงและได้รับความนิยมในปี 1978 (3 ปีให้หลัง) จากเหตุผลนี้เองจึงเป็นที่มาของอัลบั้มชุดนี้ "Interpretations" และนอกจากนี้ยังเป็นการฉลองครบรอบ 25 ปี ที่วงคาร์เพนเทอส์ได้เซ็นสัญญาอยู่กับค่าย A&M ด้วย ภาพรวมของชุดนี้จะประกอบไปด้วยเพลงเก่าที่ริชาร์ดไม่ได้แต่งเอง 18 เพลง ทั้งที่เป็นเพลงฮิตและไม่ใช่ (หมายถึงการตีความหมายของเพลงที่พวกเขาเอามาร้องตามสไตล์ของคาร์เพนเทอส์) รวมกับ 3 เพลงใหม่ โดยที่ 2 เพลงจะมาจากรายการทีวี และเพลง Tryin' To Get The Feeling Again ซึ่งถูกตัดเป็นซิงเกิลออกมา สามารถขึ้นอันดับ 44 ในอังกฤษ อัลบั้มขึ้นได้ถึงอันดับที่ 29 ในอังกฤษ จากผลงานอัลบั้มเดี่ยวในปี 1979-1980 ของแคเรนที่ถูกระงับการจำหน่าย ด้วยการตกลงกันอย่างลงตัวระหว่างโปรดิวเซอร์ ฟิล รามอน และริชาร์ด ทำให้อัลบั้ม Karen Carpenter มีโอกาสได้ออกจำหน่ายจริง ๆ ในปี 1996 ซึ่งแฟนเพลงจำนวนเผ้ารออัลบั้มชุดนี้ตลอด นอกจาก If I Had You ที่ถูกตัดเป็นซิงเกิลในปี 1989 แล้ว ยังมีเพลง Make Believe It's Your First Time (ในเวอร์ชันก่อน Voice Of The Heart) ที่จำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น เพลงที่เป็นไฮไลทของชุดนี้ ได้แก่ My Body Keeps Changing My Mind, Making Love In The Afternoon, Still Crazy After All These Years Lovelines และ If We Try นอกจากนี้ยังมีเพลงที่เหลือจากโปรเจกต์งานโซโลเดี่ยวนี้อีกนับสิบเพลงที่ยังไม่ได้มีการมิกซ์เสียง (ลองหาดาวน์โหลดฟังดู) ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะมาการปล่อยออกมาจำหน่ายอย่างเป็นทางการหรือไม่ ริชาร์ดได้กล่าวไว้ว่าอัลบั้ม As Time Goes By เป็นสตูริโออัลบั้มสุดท้ายของวงคาร์เพนเทอส์ เพลงส่วนใหญ่ถูกนำมาจากรายการทีวีต่าง ๆ บางเพลงเป็นเดโมสมัยช่วงยุคก่อนวงคาร์เพนเทอส์ (ก่อน 1969) บางเพลงมาจากการร้องสดในห้องส่ง โดยมี 2 เพลงเป็นเพลงที่ถูกคัดทิ้งจากชุด Made In America และกลายเป็นซิงเกิลหนึ่งเดียวที่ทำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่น คือ The Rainbow Connection เพลงนี้เพลงเป็นหนึ่งที่แฟนเพลงได้ส่งจดหมายไปหาริชาร์ดให้นำเพลงนี้ออกมาจำหน่าย เนื่องจากมีแฟนเพลงกลุ่มหนึ่งทราบว่าแคเรนได้ร้องเอาไว้แต่ไม่ได้นำมาบรรจุไว้ในอัลบั้มชุดใด เพลงนี้ขึ้นอันดับ 47 ในญี่ปุ่น อัลบั้มนี้สามารถขึ้นอันดับ 18 ในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีเพลงที่น่าสนใจ เช่น Leave Yesterday Behind, You're Just In Love และ And When He Smile (ร้องสด) และใน As Time Goes By จะมีเพลงเมดเลย์ที่แคเรนได้ร้องดูเอ็ดไว้กับสุดยอดนักร้องหญิงอเมริกัน Ella Fitzgerald ผู้ที่ได้รับสมญาว่า The First Lady Of Song อีกด้วย คาร์เพนเทอส์ มีเพลงอันดับ 1 บนชาร์ทบิลบอร์ดอยู่ 3 เพลง บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของฝั่งอเมริกา ได้แก่ (They Long To Be) Close To You, Top Of The World และ Please Mr.Postman มีเพลงอันดับท๊อป 10 อยู่ 9 เพลง บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับ ได้แก่ We've Only Just Begun (2), For All We Know (3), Rainy Days And Mondays (2), Superstar (2), Hurting Each Other (2), Goodbye To Love (7), Sing (3), Yesterday Once More (2) และ Only Yesterday (4) และ อันดับ 1 อีก 15 เพลงบนชาร์ท Adult Contemporary Singles Charts คาร์เพนเทอส์มียอดขายอัลบั้มและซิงเกิล รวมกันมากกว่า 100 ล้านชุด ปัจจุบันเพลง We've Only Just Begun และ (They Long To Be) Close To You ได้ถูกบรรจุอยู่ใน Hall of fame ตลอดเวลา 14 ปี คาร์เพนเทอส์ออกอัลบั้มอยู่ 11 ชุด มี 4 อัลบั้มที่มีเพลงติดใน 5 อันดับแรกบนชาร์ทคือ Close to You (2), Carpenters (2), A Song for You (4) และ Now & Then (2) โดยมีอัลบั้มรวมเพลง The Singles 1969-1973 ขึ้นอันดับหนึ่งทั้งฝั่งอเมริกาและอังกฤษ และออกซิงเกิล 40 ซิงเกิล , รายการโทรทัศน์ภาคพิเศษ 5 ครั้ง และออกละครโทรทัศน์ 1 ครั้ง พวกเขายังทัวร์ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ และเบลเยี่ยม จนกระทั่งแคเรนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 ปัจจุบันพวกเขามียอดจำหน่ายแผ่นมากกว่า 100 ล้านแผ่นทั่วโลก
คาโรล คิง (Carole King) เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน เธอประสบความสำเร็จในฐานะศิลปินเดี่ยวในต้นยุค 70 มีเพลงดังอย่าง "It's Too Late" / "I Feel the Earth Move," และเธอประสบความสำเร็จในการแต่งเพลงต่าง ๆ ให้ศิลปินอาทิ "Go Away Little Girl" (ร้องโดย Steve Lawrence และ Donny Osmond),"The Loco-Motion" (ร้องโดย Little Eva, Grand Funk Railroad, ทีน่า เทอร์เน่อร์, ไคลี มิโนค) เป็นต้น เธอได้รับรางวัลแกรมมี่มาแล้ว 4 ครั้ง และยังได้รับรางวัล Songwriter's Hall of Fame และ the Rock and Roll Hall of Fame สำหรับการแต่งเพลง คู่กับคู่หูอย่าง Gerry Goffin อัลบั้มที่มีชื่อเสียงที่สุดของเธอคืออัลบั้ม Tapestry ขึ้นอันดับ 1 ในอเมริกานาน 15 สัปดาห์ และขายได้มากกว่า 15 ล้านชุดทั่วโลก
ดิออน วอร์วิค (Dionne Warwick) เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เป็นนักร้องชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลแกรมมี่ 5 ครั้ง เป็นนักแสดง นักสังคมสงเคราะห์ ทูตองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ผลงานเพลงของเธอเป็นที่รู้จักดีโดยทำงานร่วมกับนักประพันธ์เพลง โปรดิวเซอร์ ชื่อดังอย่าง เบิร์ท บาคารัค และ ฮัล เดวิด ดิออน วอร์วิคเติบโตในรัฐนิวเจอร์ซีย์ เมื่อตอนยังเด็กได้ร้องเพลง กับคณะร้องเพลงประสานเสียงในโบสถ์ หลังจากนั้นก่อตั้งคณะทรีโอกับญาติ คือดี ดี วอร์วิคและซิสซี่ ฮูสตัน(แม่ของวิทนีย์ ฮูสตัน) วอร์วิคร้องเพลงไว้เยอะมากที่โด่งดัง มีหลายเพลงที่ทำงานร่วมกับ เบิร์ท บาคารัค และ ฮัล เดวิด อย่างเช่นเพลง Walk On By, I'll Never Fall in Love Again, Heartbreaker, I Say A Little Prayer เป็นต้น และมีเพลงที่ขึ้นอันดับ 1 Billboard อย่างเพลง 'That's What Friends Are For' ที่ร้องร่วมกับสตีวี่ วันเดอร์ เอลตัน จอห์น และแกลดี้ส์ ไนท์ ดิออนมีจำนวนเพลงติดอันดับ Billboard มากที่สุดเป็นอันดับที่สองของนักร้องหญิงรองจากอารีธา แฟรงคลิน
เดอะเทมป์เทชันส์ (The Temptations) เป็นกลุ่มนักร้องชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จจากการเป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่สุดรายหนึ่งของค่ายโมทาวน์ ผลงานของวงมีความหลากหลายในช่วง 5 ทศวรรษในการทำงาน อาทิ แนวเพลง อาร์แอนด์บี, ดู-ว็อป, ฟังก์, ดิสโก้, โซล และอเดาต์คอนเทมโพแรรี ก่อตั้งวงที่เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน ในปี ค.ศ. 1960 ในชื่อวง ดิเอลจินส์ (The Elgins) (อย่าสับสนกับกลุ่มศิลปินอีกกลุ่มของค่ายโมทาวน์ในชื่อนี้ เป็นคนละกลุ่มกัน) เดอะเทมป์เทชันส์จะมีสมาชิกนักร้อง/นักเต้น ผู้ชายอย่างน้อย 5 คน พวกเขาเป็นที่จดจำได้ในลักษณะท่าเต้น เสียงร้องอันโดดเด่นและกลมกลืน และเสื้อผ้าบนเวที เดอะเทมป์เทชันส์ได้รับการพูดถึงว่า "มีอิทธิพลให้กับแนวเพลงโซล เฉกเช่น เดอะบีตเทิลส์มีอิทธิพลให้เพลงแนวป็อปและร็อก" มียอดขายอัลบั้มมากกว่า 10 ล้านอัลบั้ม เดอะเทมป์เทชันส์ถือเป็นหนึ่งในศิลปินกลุ่มที่ประสบความสำเร็จด้านดนตรีทีสุดกลุ่มหนึ่ง สมาชิกดั้งเดิมของกลุ่ม ประกอบด้วย นักร้องเทเนอร์ที่สอง โอทิส วิลเลียมส์, นักร้องเทเนอร์แรก เอลบริดจ์ "อัล" ไบรอันต์ (ทั้ง 2 คนมาจากวงเดอะดิสแทนส์) และเสียงเบส เมลวิน แฟรงคลิน และอีกสองสมาชิกที่มาจากวงเดอะไพรม์ส เสียงเทเนอร์/ฟอลเซตโต เอ็ดดี้ เคนดริกส์ และเทเนอร์ที่ 2/แบริโทน พอล วิลเลียมส์ (ไม่ได้เป็นญาติกับโอทิส วิลเลียมส์) ส่วนนักร้องนำในภายภาคหน้าที่มีชื่อเสียงอาทิ เดวิด รัฟฟิน และเดนนิส เอ็ดเวิร์ดส (ทั้งคู่ต่อมาเป็นศิลปินเดี่ยว), ริชาร์ด สตรีต, เดม่อน แฮร์ริส, เกล็น ลีโอนาร์ด, รอน ไทสัน, อาลี-ออลลี วูดสัน, ธีโอ พีเพิลส์ และ จี.ซี. แคเมรอน เช่นเดียวกับวงอื่นพวกเขาได้เปลี่ยนสมาชิกวงต่อมาอีกหลายครั้ง ตลอดกาลทำงาน เดอะเทมป์เทชันส์ มีซิงเกิลอันดับ 1 บนบิลบอร์ดฮอต 100 จำนวน 4 ซิงเกิล และอันดับ 1 บนบิลบอร์ดอาร์แอนด์บี จำนวน 14 ซิงเกิล พวกเขาได้รับรางวัลแกรมมี่ 3 ครั้ง ขณะที่อีก 2 รางวัลได้รับในฐานะนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ ในเพลงฮิตในปี ค.ศ. 1972 เพลง "Papa Was a Rollin' Stone" เดอะเทมป์เทชันส์ เป็นวงแรกของโมทาวน์ที่ได้รับรางวัลแกรมมี่ และกับสมาชิก 6 คน (เดนนิส เอ็ดเวิร์ดส, เมลวิน แฟรงคลิน, เอ็ดดี้ เคนดริกส์, เดวิด รัฟฟิน, โอทิส วิลเลียมส์ และพอล วิลเลียมส์) มีชื่ออยู่ในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลในปี ค.ศ. 1989 เพลงฮิตของวงเพลง "My Girl", "Ain't Too Proud to Beg", และ "Papa Was a Rollin' Stone" ติดอยู่ในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล สำหรับ 500 เพลงที่เป็นรูปร่างของร็อกแอนด์โรล
ดิ ออสมอนด์ส
(The Osmonds)
เป็นกลุ่มนักร้องพี่น้องเพลงป็อป ประสบความสำเร็จในช่วงทศวรรษ 1970 ประกอบด้วยสมาชิก อลัน
ออสมอนด์,เวย์น ออสมอนด์ ,เมอร์ริลล์ ออสมอนด์ และเจย์ ออสมอนด์ ต่อมามีสมาชิกเพิ่มคือ ดอนนี ออสมอนด์ ,มารี ออสมอนด์ และจิมมี ออสมอนด์ โดยดอนนีเป็นชุดสนใจ
(เหมือนในวงเดอะ แจ็กสัน ไฟฟ์ ที่มีไมเคิล แจ็กสัน) ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงปี
1971-1972 จนมาหยุดอยู่ที่ปี 1974 หลังจากนั้นก็มีสมาชิกเริ่มผันตัวไปทำรายการโทรทัศน์ (ดอนนีและมารี)
ส่วนสมาชิกคนอื่นไปเป็นศิลปินแนวคันทรี พวกเขามีเพลง
"One Bad Apple" ที่ขึ้นอันดับ 1 ในชารทซิงเกิลของอเมริกาเป็นเวลา 5 สัปดาห์[
เดอะแจ็กสันไฟฟ์ (The Jackson Five หรือ The Jackson 5ive ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น
The Jacksons) เป็นกลุ่มครอบครัวศิลปินเพลงตระกูลแจ็กสัน
ที่มาจากแกรี อินดีแอนา ประกอบด้วยสมาชิกเริ่มแรกคือ แจ็กกี ,เจอร์เมน, มาร์ลอน และไมเคิล โดยเริ่มแรกใช้ชื่อว่า The
Jackson Brothers ที่ประกอบด้วย 3 พี่น้องคนโต พวกเขามีผลงานตั้งแต่ปี
1966 ถึง 1989 โดยเล่นเพลงในแนวอาร์แอนด์บี ดนตรีโซล ฟังก์ และต่อมาเป็นดิสโก้ ในขณะที่พวกเขาอยู่กับสังกัดโมทาวน์ พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในยุคทศวรรษ 1970
หลังจากนั้น เจอร์เมนและไมเคิลไปออกผลงานเดี่ยว เดอะแจ็กสันไฟฟ์
เป็นวงแรกที่มี 4 ซิงเกิลแรก ติดอันดับเพลงอันดับ 1 ("I Want You Back", "ABC", "The Love You Save"
และ "I'll Be There")
ในอเมริกา และยังมีเพลงท็อป 5 เพลงอื่นอย่าง "Mama's Pearl",
"Never Can Say Goodbye" และ "Dancing
Machine"
เดอะมังกี้ส์ (The
Monkees) วงดนตรีป็อปขวัญใจวัยรุ่นยุค 60’s
มีนักร้องนำชื่อ เดวี่ โจนส์ (เพิ่งเสียชีวิตไปด้วยวัย 66 ปี)เดอะ มังกี้
ถือกำเนิดขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายการสร้างวงดนตรีที่คล้ายกันกับ เดอะ บีเทิ้ล
แม้จะเทียบชั้นกันได้ไม่ทั้งหมด แต่เดอะมังกี้ก็ได้สร้างตำนานเพลงร็อคแอนด์โรลอันลือลั่นอยู่จนถึงทุกวันนี้
โดยเฉพาะเพลง "เดย์ดรีม บิลีฟเวอร์" และ "แอม อะ บิลีฟเวอร์
นอกจากนี้ยังมีศิลปินชื่อดังในยุคนี้อีกมากทั้งที่อยู่ในวงการเพลงแนวคันทรี่,แนวโฟล์ก,แนวแจ๊ส,แนวร็อคแอนด์โรล หรือแนวอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ศิลปินแนวแจ๊สมีใครบ้าง เข้าไปดูที่ลิ้งค์นี้ http://rateyourmusic.com/list/SGT/150_greatest_jazz_musicians/ หรือศิลปินแนวโฟล์กคันทรี่ มีใครบ้าง เข้าไปดูที่ลิ้งค์นี้ http://folkmusic.about.com/od/artistsaz/tp/BestFolkArtists.htm
ต่อไปจะกล่าวถึงยุค 70's ในตอนหน้า
(หมายเหตุ คัดลอกและเรียบเรียงข้อมูลจาก วิถีพีเดีย
สารานุกรมออนไลน์)นอกจากนี้ยังมีศิลปินชื่อดังในยุคนี้อีกมากทั้งที่อยู่ในวงการเพลงแนวคันทรี่,แนวโฟล์ก,แนวแจ๊ส,แนวร็อคแอนด์โรล หรือแนวอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ศิลปินแนวแจ๊สมีใครบ้าง เข้าไปดูที่ลิ้งค์นี้ http://rateyourmusic.com/list/SGT/150_greatest_jazz_musicians/ หรือศิลปินแนวโฟล์กคันทรี่ มีใครบ้าง เข้าไปดูที่ลิ้งค์นี้ http://folkmusic.about.com/od/artistsaz/tp/BestFolkArtists.htm
ต่อไปจะกล่าวถึงยุค 70's ในตอนหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น