วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พัฒนาการของบรรดาศิลปินหญิง Teen Idol (3) ของเมืองไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน (ตอนที่ 3)


ยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด พร้อมการมาของ MP3 และภัยร้ายเทปผี ซีดีเถื่อน ประมาณปี พ.ศ. 2540-2550

ยุคนี้การออกอัลบั้ม มักออกเป็นแผ่นซีดี และตามมาด้วย DVD คอนเสิร์ต หมดยุคเทปคาสเซ็ทท์ รวมถึงแผ่นเสียงไวนิลแล้ว ศิลปินที่ออกมาในยุคนี้ ถ้าไม่ใช่ตัวจริงเสียงจริง ก็มักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ เนื่องจากอัลบั้มซีดีนั้นขายไม่ค่อยดีเหมือนยุคเทปคาสเซ็ทท์แล้ว อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจไม่ดี การมาของเทคโนโลยี MP3 พร้อมๆ กับแผ่นผีซีดีเถื่อน การถือกำเนิดของเว็บไซต์ยูทูป you tube อัลบั้มที่ออกมาส่วนใหญ๋จึงขายไม่ค่อยดี เป็นผลทำให้ค่ายเพลงเล็กๆ ล้มหายตายจากไปตามๆ กัน คงเหลือแต่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ไม่กี่ค่าย ค่ายเล็กๆ ถูกเทคโอเวอร์ หรือต้องไปควบรวมกิจการกันเพื่อความอยู่รอด ในเมื่องานเพลงมีความเสี่ยง ทำให้ค่ายเพลงต้องเข็นศิลปินในรูปแบบกลุ่มขึ้นมาแทน ที่เรียกว่า เกิร์ลกรุ๊ป เป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในยุคนี้กันอย่างเกร่อแพร่หลาย พร้อมๆ กับการผุดอัลบั้มพิเศษ โปรเจ็คท์พิเศษขึ้นมาเพื่อเป็นจุดขายให้กับศิลปินแทน อาทิ การนำศิลปินต่างค่ายต่างแนวมาฟีจเจอริ่งกัน การนำศิลปินมาผสมรวมแบบไฮบริดจ์ คือกลุ่มศิลปินที่มีทั้งชายและหญิงอยู่ในกรุ๊ปเดียวกัน และยุคนี้ยังเป็นจุดกำเนิดของรายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังอย่าง เดอะสตาร์ และเอเอฟ อีกด้วย เพื่อเฟ้นหาศิลปินจากเวทีประกวด ด้วยการสร้างฐานแฟนคลับจากการโหวต และจากการติดตามชมในรายการ เพื่อลดความเสี่ยงในการปั้นศิลปินใหม่ ฯลฯ

ค่ายแกรมมี่ ได้แก่ แอนนิต้า, ไบรโอนี่, บับเบิ้ลเกิร์ล, ทีนเอจเกรดเอ, วงแจมป์, แคทรียา อิงลิช,ไชน่าดอลล์, ซาซ่า,ญาญ่าญิ๋ง, คูน3 ซุปเปอร์แก๊งค์, 2002ราตรี, หนุ่ย นันทกานต์และเอ็กวายแซด, บูโดกัน, ดาและวงเอ็นโดรฟิน, ปาล์มมี่, วงดับเบิ้ลยู ,บีน้ำทิพย์ ,นาตาลี สตีเบิร์ท, มิ้นท์ อรรถวดี, ญารินดา, บัวชมพู ฟอร์ด,อ้นศรีพรรณและแก๊งค์ทีนทอล์ค ,ลานนา คัมมินส์, วงทรีจี, พลอย ณัฐชา ,เจนนิเฟอร์ คิ้ม ,นิวจิ๋ว ,เอ๋ เทเรซ่า ,แคล, เอิร์น กัลยกร ,โย ยศวดี ,วงครีม (แนน วาทิยา)แพท สุธาสินี ,พันช์ วรกาญจน์ เป็นต้น

 
 
 
 
 

ค่ายอาร์เอส  ได้แก่ กรพินธุ์ ,เอิร์น จิรวรรณ,ซินญอริต้า, เดอะซิส ,วงบาซู, โมเม ,นาตาลี-แจสกี้ ,ขนมจีน ,ปอรรัชม์ ยอดเณร ,วงพิ้งค์ ,ราฟฟี่-แนนซี่ ,ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ ,เอ๊ะ ศศิกานต์ ,อ้อน ลัคณา,ไดอาน่า แรนต์ ,แอน มาแนง ,ซิกแซก ,ซับเทนชั่น เป็นต้น
 
ค่ายคีตา ได้แก่ กังสดาล ,แจน ฮาโลวีน

ค่ายโซนี่ ได้แก่ โน๊ต-ตูน ,ซาร่า ผุงประเสริฐ

ค่ายเบเกอรี่ ได้แก่ นีช ,โปรเจ็คท์เอช ,มิสเตอร์ซิสเตอร์ ,ออย ช็อคกิ้งพิ้งค์

ค่ายอิสระอื่นๆ ได้แก่ โรสแมรี่, อ้อน เกวลิน, วงซับใน ,วาเนสซ่า บีเวอร์, วีวีโค

 

อย่างที่บอกทีนไอด้อลหญิงในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบเกิร์ลกรุ๊ปซะเป็นส่วนใหญ่ แต่หากเป็นศิลปินเดี่ยวๆ ก็มักต้องสร้างคาแร็กเตอร์ให้แตกต่างหรือฉีกจากคู่แข่ง ยุคนี้ความสามารถขั้นพื้นฐาน เช่น การร้อง การเต้น การเพอร์ฟอร์มบนเวที เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคไม่ได้คาดหวังเป็นพิเศษอีกแล้ว เพราะเป็นอะไรที่เบสิค ที่ศิลปินคนหนึ่งควรจะต้องมีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดจริงๆ คงอยู่ที่งานเพลงต้องโดดเด่น บุคลิกภาพ และการเอ็นเตอร์เทนคนดูเมื่ออยู่บนเวทีต่างหาก ที่จะเป็นตัวตัดสินว่าศิลปินท่านนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะยอดขายซีดีหรือเทปเพลง ไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดได้อีกต่อไปแล้ว ศิลปินหญิงทีนไอด้อลในยุคนี้ จึงต้องแข่งกันสร้างความแตกต่างและการยอมรับให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคให้ได้ ยุคนี้ศิลปินหญิงทีนไอด้อลที่เด่นจริงๆ จึงนับหัวได้เลย ที่เหลือรอดมาถึงยุคปัจจุบันได้น้อยคนจริงๆ    

ยุคอุตสาหกรรมเพลงล่มสลาย การออกเพลงเป็นซิงเกิ้ล รับจ๊อบงานอีเว้นต์ ออกคอนเสิร์ต หากินกับการดาว์นโหลดเพลง และปั่นยอดวิว ยอดไลค์ในยูทูปแทน ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน

การถือกำเนิดของค่ายเพลงกามิกาเซ่ ที่เน้นผลิตศิลปินในรูปแแบเกิร์ลกรุ๊ป บอยแบนด์ เป็นหัวหอกหลักแทนศิลปินเดี่ยวๆ ในค่าย ซึ่งยุคหลังมานี้ศิลปินทีนไอด้อลของค่ายอาร์เอสก็ไม่สามารถเป็นไอค่อนของบรรดาวัยรุ่นไทยได้ทั้งหมดแล้ว ผลงานเพลงส่วนใหญ่ไม่ติดหูคนฟัง ไม่เป็นที่รู้จัก มีบ้างที่สามารถสร้างปรากฏการณ์ได้ในวงกว้าง


ศิลปินทีนไอด้อลในยุคนี้จึงต้องหันเหไปหากินทางอื่นด้วย เช่น ไปแสดงละคร แสดงภาพยนตร์ ไปเป็นดีเจ วีเจ เปิดเพลงตามรายการวิทยุ เคเบิ้ล บางคนรับจ๊อบถ่ายแบบแนววาบหวิว หรือเดินแบบ ออกงานอีเว้นต์ โชว์คอนเสิร์ตร่วมด้วย จึงจะมีรายได้พอประทังกับรายจ่ายของยุคนี้ได้ บวกกับค่ายเพลงใหญ่หันไปรุกธุรกิจทีวีดาวเทียมม และภายหลังพัฒนาต่อยอดมาเป็นทีวีดิจิตอลแทน ยุคนี้ธุรกิจเพลงกลายเป็นบ่อน้ำที่เล็กลงและเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายได้หลักขององค์กรไปเสียแล้ว ไม่เว้นแม้แต่รายการเรียลลิตี้โชว์ประกวดร้องเพลงที่เฟ้นหานักร้องเสียงดีมาประดับวงการ ท้ายที่สุดกลายมาเป็นนักแสดงเพียงอย่างเดียวก็มี ไม่เพียงศิลปิน นักแต่งเพลง นักดนตรีก็พลอยตกงานกันเพียบ มันหมดยุคอุตสาหกรรมเพลงเฟื่องฟูไปนานแล้ว

ศิลปินทีนไอด้อลหญิงในยุคนี้ ถ้าเป็นเกิร์ลกรุ๊ป ส่วนใหญ่ก็จะรวมกันอยู่ในค่ายกามิกาเซ่ และโมโน เป็นส่วนใหญ่ อาทิ เนโกะ จัมพ์, เฟย์ฟางแก้ว,คิสมีไฟว์,เซเว่นเดย์, โฟร์มด, เกิร์ลลี่เบอร์รี่ (2 รายหลังนี้แยกวงปิดตำนานไปแล้ว) วงแอมไฟน์ ,หวาย, แต๊งกิ้ว,ใบเตย   ส่วน ค่ายโมโน ได้แก่ จี20, แคนดี้มาเฟีย, คัพซี ,เชอร์รี่แบล็ค ค่ายแกรมมี่ มีวงโอลีฟ

ถ้าเป็นทีนไอด้อลหญิง ที่มาจากเวทีประกวดร้องเพลง ก็อาทิ  นิวจิ๋ว,แก้ม,แกรนด์,กิ่ง,นท,เชอรีน,มาตัง,เกรซ,หญิง จากบ้านเดอะสตาร์  ,พัดชา,ซานิ,ลูกโป่ง,เนสต์ จากบ้านเอเอฟ   เต้น,พลอย,อะตอม จากไมค์ไอด้อล  เป็นต้น

ทีนไอด้อลที่เป็นศิลปินเดี่ยวในยุคนี้

ค่ายแกรมมี่ ได้แก่   น้ำชา ธีรณัช, โรส ศิรินทิพย์, เต้น นรารักษ์, ลุลา, ลูกหว้า พิจิกา,แพรว คณิกุล,พลอยชมพู ,พันช์ วรกาญจน์, Taton ,ฟิล์ม บงกช ,โบว์ลิ่ง ,หญิงลี , เป็นต้น ที่เป็นวงแต่นักร้องนำเป็นทีนไอด้อลหญิงก็มี อาทิ วงฟาเรนไฮน์,วงเคลียร์,วงโนมอร์เทียร์ เป็นต้น

 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น