เอเจนซีส์
–
เกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.8 ใต้ทะเล
ทางใต้ของญี่ปุ่นในเวลา 20.30 น. เมื่อวานนี้(30) ทำให้รับรู้แรงสั่นสะเทือนบริเวณตึกสูงในกรุงโตเกียว
และแรงสั่นสะเทือนนี้มีไปทั่วประเทศ และในการเกิดแผ่นดินไหวญี่ปุ่นครั้งนี้
ประชาชนในกรุงนิวเดลีสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้เล็กน้อยเกือบนาทีในช่วงค่ำ บีบีซี
สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้(30)ว่า
สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ USGS แถลงว่า
แผ่นดินไหวระดับ 7.8 มีศูนย์กลางห่างจากกรุงโตเกียวไปราว 7.8
แมกนิจูด ซึ่งมีความลึกไม่ต่ำกว่า 660 กม.
โดยเกิดในเวลา 20.30 น. ของวันเสาร์(30)ตามเวลาท้องถิ่น โดยในขณะเกิดเหตุ ตึกระฟ้ากลางกรุงโตเกียวแกว่งเกือบ 1
นาทีในขณะที่แรงสั่นาะเทือนเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ และยังไม่มีรายงานเบื้องต้นความเสียหายร้ายแรงออกมา
รวมไปถึงไม่มีการเตือนภัยสึนามิออกมา
แต่อย่างไรก็ตาม
ตำรวจดับเพลิงได้รับการร้องเรียนจากประชาชนชาวญี่ปุ่นจากการที่รับบาดเจ็บจากการตกที่สูง
สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่น NHK รายงาน นอกจากนี้รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมว่า
ได้มีการระงับการให้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงชินกันเซ็นสายโตเกียว-โอซาก้าชั่วคราวเนื่องจากมีการตัดกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้รถไฟบางส่วนในกรุงโตเกียวถูกระงับการบริการชั่วครวเช่นกันเพื่อความปลอดภัย
ส่งผลทำให้ประชาชนที่ต้องการใช้บริการรวมตัวอยู่ตามบริเวณไม่ห่างจากสถานีรถไฟที่พลุกพล่าน มิจิโกะ โอริตะ (Michiko
Orita) ชาวเกาะฮาจิมะ (Hahajima) ที่อยู่ไม่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว
เปิดเผยกับ NHK ว่า “มันสั่นอย่างรุนแรงมาก
แท่นบูชาพระพุทธรูปของครอบครัวส่ายไปส่ายมาตามแรงแผ่นดินไหว
ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน มันน่ากลัวมาก” ด้าน นาโอกิ ฮิราตะ (Naoki
Hirata) ศูนย์กลางการศึกษาแผ่นดินไหวแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวให้ความเห็นว่า
“นี่เป็นการสั่นไหวที่รุนแรงมาก การสั่นไหวขยายเป็นวงกว้าง
แต่โชคดีที่เกิดในที่ลึก ทำให้มีอันตรายจากสึนามิน้อย” ด้าน NDTV
สื่ออินเดียรายงานว่า ผลจากเหตุแผ่นดินไหวระดับ 7.8 ทางใต้ของญี่ปุ่น นอกจากที่จะเขย่าประเทศหมู่เกาะแห่งนี้
แรงสะเทือนยังรู้สึกได้ที่อินเดีย
ซึ่งสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้เล็กน้อยนานเกือบนาทีในกรุงนิวเดลี
และเมืองเอกของรัฐอื่นๆของอินเดียในค่ำวานนี้(30) ทำให้ผู้คนที่อยู่บนตึกสูงต่างแตกตื่นวิ่งออกมาภายนอก
อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานความเสียหายเบื้องต้นออกมาที่อินเดีย
เอเอฟพี
–
เครื่องบินแอร์บัส A330-300 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ส
เผชิญปัญหาเครื่องยนต์ทั้งคู่ดับกลางอากาศระหว่างเดินทางสู่นครเซี่ยงไฮ้
ส่งผลให้เครื่องลดระดับลงมาถึง 13,000 ฟุต
ก่อนที่นักบินจะสามารถกู้สถานการณ์ได้ทันและพาผู้โดยสารถึงที่หมายอย่างปลอดภัย
ขณะที่สิงคโปร์แอร์ไลน์สได้ตั้งทีมสอบสวนเพื่อหาต้นตอของเหตุการณ์ระทึกขวัญครั้งนี้แล้ว สิงคโปร์แอร์ไลน์ส แถลงในวันนี้(27
พ.ค.)ว่า เครื่องบินแอร์บัส A330-300 ซึ่งพาผู้โดยสาร
182 คนและลูกเรือ 12 คนเดินทางไปยังเซี่ยงไฮ้เมื่อวันที่
23 พ.ค. เผชิญสภาพอากาศเลวร้ายขณะบินอยู่ที่ความสูง 39,000
ฟุต หลังออกจากสนามบินนานาชาติชางงีไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง “เครื่องยนต์ทั้งคู่เกิดดับลงชั่วคราว
นักบินผู้ควบคุมจึงปฏิบัติตามขั้นตอนฉุกเฉิน
จนสามารถกู้เครื่องยนต์ให้กลับมาทำงานตามปกติได้” “เที่ยวบินดังกล่าวได้เดินทางต่อไปจนถึงนครเซี่ยงไฮ้
และลงจอดอย่างปลอดภัยเมื่อเวลา 22.56 น. ตามเวลาท้องถิ่น”
สายการบินระบุว่า เครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ทั้ง 2 ตัวของแอร์บัสลำนี้ “ถูกตรวจสอบทันทีที่ไปถึงเซี่ยงไฮ้ แต่ไม่พบความผิดปกติใดๆ... ขณะนี้เราได้ขอคำปรึกษาจากผู้ผลิตเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ และแอร์บัสแล้ว” เว็บไซต์ติดตามเที่ยวบิน Flightradar24 ได้ทวีตข่าวเมื่อค่ำวานนี้ (26) ว่า เที่ยวบิน SQ836 “ประสบปัญหาเครื่องยนต์ดับทั้งคู่ ทำให้เครื่องบินทิ้งดิ่งลงมา 13,000 ฟุต ก่อนที่เครื่องยนต์จะกลับมาเดินเป็นปกติ” และต่อมาได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เครื่องยนต์ดับระหว่าง “บินฝ่าพายุลูกใหญ่... ขณะอยู่ที่ความสูงสำหรับการเดินทางตามปกติ (cruise altitude)” โดยจุดเกิดเหตุอยู่นอกชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของจีน สิงคโปร์แอร์ไลน์สซึ่งเป็นสายการบินใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตามมูลค่าตลาด มีฝูงบินแอร์บัส A330-300 อยู่ทั้งสิ้น 29 ลำในปัจจุบัน และยังมีเครื่องบินรุ่นซูเปอร์จัมโบ้อย่าง แอร์บัส A380-800 อีก 19 ลำ
สายการบินระบุว่า เครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ทั้ง 2 ตัวของแอร์บัสลำนี้ “ถูกตรวจสอบทันทีที่ไปถึงเซี่ยงไฮ้ แต่ไม่พบความผิดปกติใดๆ... ขณะนี้เราได้ขอคำปรึกษาจากผู้ผลิตเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ และแอร์บัสแล้ว” เว็บไซต์ติดตามเที่ยวบิน Flightradar24 ได้ทวีตข่าวเมื่อค่ำวานนี้ (26) ว่า เที่ยวบิน SQ836 “ประสบปัญหาเครื่องยนต์ดับทั้งคู่ ทำให้เครื่องบินทิ้งดิ่งลงมา 13,000 ฟุต ก่อนที่เครื่องยนต์จะกลับมาเดินเป็นปกติ” และต่อมาได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เครื่องยนต์ดับระหว่าง “บินฝ่าพายุลูกใหญ่... ขณะอยู่ที่ความสูงสำหรับการเดินทางตามปกติ (cruise altitude)” โดยจุดเกิดเหตุอยู่นอกชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของจีน สิงคโปร์แอร์ไลน์สซึ่งเป็นสายการบินใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตามมูลค่าตลาด มีฝูงบินแอร์บัส A330-300 อยู่ทั้งสิ้น 29 ลำในปัจจุบัน และยังมีเครื่องบินรุ่นซูเปอร์จัมโบ้อย่าง แอร์บัส A380-800 อีก 19 ลำ
บีบีซี -
ยอดผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมหลายรัฐในอินเดีย ทะลุ 1,100 ศพ โดยบางพื้นที่อุณหภูมิพุ่งขึ้นไปเฉียดๆ 50 องศาเซลเซียส ทำเอาทางม้าลายถึงขั้นหลอมละลาย
ขณะที่ทางการเตือนประชาชนให้อยู่แต่ในที่ร่ม พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดคือรัฐอานธรประเทศ
ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ หลังพบผู้เสียชีวิต 852 ศพ
ส่วนอีกแห่งคือรัฐเตลันกานาที่อยู่ติดกัน มีผู้เสียชีวิต 266 คน ทำให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตจากพิษคลื่นความร้อนนับตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วใน
2 รัฐนี้ ขยับขึ้นเป็นอย่างต่ำ 1,118 คน (ตอนนี้ตัวเลขขยับไปถึง 1,700 คนแล้ว) อย่างไรก็ตามมีรายงานข่าวระบุว่ายังพบผู้เสียชีวิตสืบเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนระอุในรัฐเบงกอลตะวันตกกับรัฐโอริสสา
อีกอย่างต่ำ 24 ศพ
โรงพยาบาลต่างๆได้รับคำสั่งให้เตรียมพร้อมรักษาคนไข้ที่มีอาการของโรคลมแดดและทางการแนะนำประชาชนให้อยู่แต่ในที่ร่ม
อย่างไรก็ตามยังพอมีข่าวดีอยู่บ้าง
เมื่อมีความเป็นไปได้ที่อุณหภูมิในบางพื้นที่จะลดลงในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า คลื่นความร้อนเข้าปกคลุม
2
รัฐที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน
แต่กรณีเสียชีวิตส่วนใหญ่เพิ่งเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในรัฐอานธรประเทศ
ที่สภาพอากาศเลวร้ายที่สุด พบว่าอุณหภูมิพุ่งทะยานถึง 47 องศาเซลเซียสในวันจันทร์(25พ.ค.) ฝ่ายบริหารจัดการภัยพิบัติของรัฐอานธรประเทศ ระบุว่า
ได้ดำเนินการให้ความรู้ผ่านทางโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ โดยบอกประชาชนว่าไม่ควรออกไปข้างนอกโดยที่ไม่มีหมวก
รวมถึงควรดื่มน้ำให้มากและใช้มาตรการป้องกันอื่นๆ "เรายังได้ร้องขอไปยังเอ็นจีโอและหน่วยงานรัฐให้เปิดจุดบริการน้ำดื่ม
เพื่อให้มีน้ำไว้คอยบริการแก่ผู้คนในเมือง" เจ้าหน้าที่บอกกับเอเอฟพี ในรัฐเตลังคานา
เหยื่อส่วนใหญ่เสียชีวิตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางอุณหภูมิที่พุ่งสูงถึง 48
องศาเซลเซียสในช่วงสุดสัปดาห์ อัลเฟรด อินเนส
ที่พักอาศัยในเมืองไฮเดอร์ราบัด เมืองหลวงของรัฐเตลันกานา
บอกว่าประชาชนแทบไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางการเลย "ผมได้เห็นเด็กชายวัย 3
ขวบที่พักอยู่ใกล้ๆกันเสียชีวิตกับตา นั่นเพราะอากาศร้อนจัดมาก
มันน่าเศร้าอย่างยิ่ง รัฐบาลไม่ทำอะไร แต่ละคนต้องพยายามช่วยเหลือตนเอง" อุณหภูมิในเตลันกานา
ลดลงเล็กน้อยเมื่อวันอังคาร(26พ.ค.) ส่วนในรัฐอานธรประเทศ
คาดหมายว่าจะเริ่มลดลงในช่วงปลายสัปดาห์
และเชื่อว่าอุณหภูมิจะเย็นขึ้นเรื่อยๆเมื่อฤดูมรสุมเริ่มขึ้นในสิ้นเดือนนี้ หนังสือพิมพ์ ฮินดูสถาน ไทม์
รายงานว่าอากาศในนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ทำสถิติร้อนระอุที่สุดในรอบ 2
ปี ด้วย 45.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันจันทร์(25พ.ค.) และบนหน้า 1 ของสื่อฉบับนี้ยังได้ตีพิมพ์ภาพถนนเส้นหนึ่งภายในเมือง
ที่หลอมละลายเพราะความร้อน
โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่าทางม้าลายที่เป็นแถบสีขาวนั้นกลายเป็นเส้นโค้งผสมปนเปกับยางมะตอยสีดำ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียระบุคลื่นความร้อนครั้งนี้มีต้นตอจากภาวะแล้งฝน
พร้อมเตือนว่าในรัฐโอริสสา รัฐฌาร์ขันฑ์และรัฐรัฐอานธรประเทศ
อุณหภูมิสูงสุดจะยังคงอยู่เหนือ 45 องศาเซลเซียส มีความกังวลว่าในบางรัฐที่ได้รับผลกระทบรุนแรงอาจเผชิญกับภัยแล้งจนกระทั่งฝนฤดูมรสุมจะมาถึง
ทั้งนี้คาดหมายว่าฤดูมรสุมจะเล่นงานรัฐเกรละราวๆสิ้นเดือน ก่อนพัดพาไปทั่วประเทศ
ซีเอ็นเอ็น - มาเลเซีย แอร์ไลน์ส
ใกล้ได้ข้อสรุปแผนปฏิรูปโครงสร้างขนานใหญ่ ซึ่งรวมถึงการปรับลดพนักงานลงราว 1 ใน 3 ในความพยายามฟื้นฟูบริษัท
หลังเกิดโศกนาฏกรรมเลวร้ายกับเที่ยวบินของสายการบินแห่งนี้ถึง 2 เที่ยวเมื่อปีก่อน การปลดพนักงานถูกคาดหมายว่าน่าจะมีขึ้นเร็วๆนี้และน่าจะส่งกระทบกับพนักงานราว
6,000 คนจากทั้งหมด 20,000 คน
แต่รายงานข่าวบางแห่งบ่งชี้ว่าตัวเลขอาจสูงถึง 8,000 คน
ขณะเดียวกัน มาเลเซีย แอร์ไลน์ส
ก็จะแต่งตั้งผู้บริหารระดับอาวุโสเข้ามาดูแลในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านด้วย "พนักงานทุกคนจะได้รับจดหมายยกเลิกสัญญา อาจเป็นหนังสือเข้าร่วมบริษัทใหม่
หรือไม่ก็สำหรับลงทะเบียนช่วยหางานใหม่หลังโดนเลิกจ้าง(Outplacement)"
โฆษกบริษัทระบุ ขณะที่ คริสตอฟ มุลเลอร์ ซีอีโอของมาเลเซีย
แอร์ไลน์ส ยืนยันว่าแม้มีการเปลี่ยนแปลง
แต่ปฏฺิบัติการต่างๆของบริษัทจะดำเนินต่อไปตามปกติ สายการบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส
ต้องสั่นสะเทือนท่ามกลางชื่อเสียงในทางลบที่ถาโถมเข้าใส่เมื่อปีที่แล้ว
ตามหลังการสูญหายอย่างลึกลับของเที่ยวบิน MH370 และเที่ยวบิน
MH17 ถูกยิงตกในยูเครน ทางสายการบินถอนตัวออกจากตลาดหุ้นและถูกเข้าควบคุมกิจการโดยคาซานาห์
เนชันแนล กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลมาเลเซีย
ซึ่งท้ายที่สุดก็เผยแผนปฏิรูปโครงสร้างมูลค่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แผนการปฏิรูปหลักๆ
ประกอบด้วยตัดลดเส้นทางการบินที่ไม่ทำกำไร
ตั้งผู้บริหารระดับสูงคนใหม่และปรับลดพนักงาน ทั้งนี้ใช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
มาเลเซีย แอร์ไลน์ส ได้ค่อยๆทยอยขายสินทรัพย์ต่างๆนานา ส่วนหนึ่งในแผนฟื้นฟูองค์กร
ในนั้นรวมถึงหุ้นที่ถือครองในอาบาคัส บริษัทผู้กระจายบริการท่องเที่ยว นอกจากนี้ทางสายการบินยังได้ดึงตัวนายมุลเลอร์
ซีอีโอคนปัจจุบันมาจากสายการบินเออร์ลิงกัส โดยขณะที่ดำรงตำแหน่ง ณ
สายการบินของไอร์แลนด์ นายมุลเลอร์ นำพาบริษัทผ่านการต่อสู้ที่เข้มข้น
จนกลายเป็นต้นแบบธุรกิจที่แข็งแกร่งและทำกำไรอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มาเลเซีย แอร์ไลน์ส ต้องการ ก่อนหน้าเกิดโศกนาฏกรมกับเที่ยวบิน
MH370 และเที่ยวบิน MH17 สายการบินมาเลเซีย
แอร์ไลน์ส ก็เผชิญความยากลำบากอยู่ก่อนแล้ว โดยบริษัทแห่งนี้ไม่มีกำไรมาตั้งแต่ปี 2008
และในช่วง 3 ปีจนถึงปี 2013 พวกเขามีผลประกอบการขาดทุนสะสมรวม 1,300 ล้านดอลลาร์
แม้ก่อนหน้านี้ได้เคยปฏิรูปและได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อพยุงฐานะทางการเงินก็ตามรอยเตอร์ - การประชุมซึ่งมีเป้าหมายจัดการวิกฤตคนอพยพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุงเทพฯช่วงปลายสัปดาหห์นี้ ไม่น่าจะก่อข้อตกลงที่มีผลผูกมัดหรือแผนปฏิบัติใดๆสำหรับปกป้องชีวิตผู้คนหลายพันคนที่ยงตกค้างอยู่บนเรือที่ล่องลอยอยู่ในอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน หนึ่งในผู้เข้าร่วมหารือเปิดเผยกับรอยเตอร์ในวันพฤหัสบดี(28พ.ค.) การประชุมในวันศุกร์(29พ.ค.) จะประกอบไปด้วยผู้แทน 17 ประเทศจากทั่วอาเซียนและชาติอื่นๆในเอเชีย เช่นเดียวกับสหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงองค์กรสากลอย่างสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ(UNHCR) อย่างไรก็ตามรอยเตอร์อ้างข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศของไทย ระบุว่าผู้เข้าร่วมจำนวนมากไม่ใช่ระดับรัฐมนตรี และบางทีการประชุมอาจไม่บรรลุผลดังที่ฝ่ายจัดในกรุงเทพฯหวังไว้ โดย 3 ประเทศที่เป็นแก่นกลางของวิกฤต ทั้งพม่า อินโดนีเซียและมาเลเซีย ไม่มีผู้แทนระดับรัฐมนตรีเข้าร่วมหารือแต่อย่างใด นอกจากนี้แล้วพม่ายังเปิดเผยในวันพฤหัสบดี(28พ.ค.) ว่าพวกเขาไม่มีแผนบรรลุข้อตกลงใดๆในกรุงเทพฯ "เราจะไปที่นั่น ก็เพื่อแค่ร่วมหารือเกี่ยวกับวิกฤตภูมิภาคซึ่งทุกชาติในอาเซียนกำลังเผชิญ" เถ่ง ลิน อธิบดีประจำกระทรวงการต่างประเทศของพม่าและหัวหน้าคณะผู้แทนจากพม่าบอกกับรอยเตอร์ มีผู้อพพจากบังกลาเทศและพม่ากว่า 3,000 คน ขึ้นฝั่งอินโดนีเซียและมาเลเซียในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ไทยดำเนินการปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์อย่างจริงจังเมื่อช่วงต้นเดือน อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายังมีผู้อพยพอีกราวๆ 2,600 คนที่ยังคงตกค้างอยู่กลางทะเลบนเรือที่ถูกปล่อยทิ้ง จำนวนมากของผู้อพยพที่ถูกพาขึ้นฝั่งแล้ว เป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจาของพม่า ที่ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางภาวะเหมือนถูกแบ่งแยกเชื้อชาติในรัฐยะไข่ของพม่า ส่วนที่เหลือเป็นผู้อพยพชาวบังกลาเทศ รอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวจากองค์กรนานาชาติแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนาม บอกว่าระดับตัวแทนที่ชาติต่างๆส่งเข้าร่วมประชุมนั้นน่ากังวลอย่างยิ่ง "พวกเขาเป็นผู้เล่นสำคัญ มันจะประสบความสำเร็จได้อย่างไรด้วยผู้แทนระดับนั้น" ส่วน โวลเคอร์ เติร์ก ผู้ช่วยข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อร่วมประชุมในวันศุกร์(29พ.ค.) เตือนว่าวิกฤตที่ซับซ้อนนี้คงไม่อาจแก้ปัญหาได้ในวันเดียว "มันเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ซับซ้อน ผมไม่คิดว่ามันจะสามารถคลี่คลายได้ในการประชุมแค่วันเดียว แต่อย่างน้อยมันก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีและเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ" เขาให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ทางโทรศัพท์ พม่าไม่รับรองสิทธิพลเมืองแก่ชาวโรฮีนจา เป็นผลให้พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ไร้สัญชาติ อย่างไรก็ตามพม่าไม่ยอมรับคำกล่าวหาว่าเลือกปฏิบัติต่อชาวโรฮีนจาหรือตามประหัตประหารอย่างที่พวกเขารู้สึก ทั้งนี้มีผู้คนเกือบ 140,000 คนต้องไร้ถิ่นฐานจากเหตุปะทะระหว่างมุสลิมโรฮีนจากับชาวพุทธในรัฐยะไข่เมื่อปี 2012 โดยชาวโรฮีนจาราว 100,000 คนได้หลบหนีทางทะเลนับตั้งแต่นั้น เติร์ก บอกว่าการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการไร้สัญชาติในพม่าคือแก่นกลางที่จะคลี่คลายวิกฤตผู้อพยพดังกล่าว "หากมันยังเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบันอันสืบเนื่องจากตัวบทกฎหมาย ก็ทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้รับสถานะที่เท่าเทียม สถานะทางกฎหมาย มันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคลี่คลายวิกฤตนี้"