หมวดเหตุการณ์ที่สำคัญ และหมวดวงการเพลง เรื่องที่ 3,4 ศิลปินที่เป็นตำนานระดับโลก กับเพลงในความทรงจำ อู้หู เรียกว่า มันคือมหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติด้านวงการเพลงเลยดีกว่า จุดเริ่มมาจาก ในปี 1984 เมื่อบ็อบ เกลดอฟ เปิดโทรทัศน์ช่องบีบีซี และเห็นการรายงานข่าวที่แสดงสภาพผ่ายผอมเหลือแต่กระดูกของเด็กน้อยและประชากรชาวเอธิโอเปีย ภาพนั้นสะท้านใจนักร้องนำ The Boomtown Rats ถึงขั้นส่งสารไปถึงเพื่อนซี้ มิดจ์ ยัวร์ หัวหอกคนสำคัญของวงนิวเวฟจอมโรแมนติก Ultravox ว่า เขาอย...ากทำอะไรสักอย่างเพื่อบรรเทาความอดอยากปากแห้งของเพื่อนร่วมโลก จะร่วมด้วยไหม แน่นอนว่าคำตอบคือ “แหงอยู่แล้ว” โปรเจ็กต์รวมศิลปินยักษ์ใหญ่ทั่วสหราชอาณาจักรจำนวน 47 ชีวิตจึงเกิดขึ้น เราได้เห็นศิลปินระดับโลกของยุคนั้นอย่าง U2, Spandau Ballet, Duran Duran, จอร์จ ไมเคิล จาก Wham!, พอล แม็กคาร์ตนีย์ จาก The Beatles ฯลฯ มุ่งหน้ามาที่ซาร์ม เวสต์ สตูดิโอในวันที่ 24 พฤศจิกายน เพื่อบันทึกเสียงเพลงพิเศษ ‘Do They Know It’s Christmas?’ ในฐานะกลุ่มศิลปิน Band Aid เพลงนี้วางจำหน่ายทันทีในวันต่อมา พร้อมทำสถิติเป็นซิงเกิ้ลที่ขายดีที่สุดของสหราชอาณาจักรไปอีก 13 ปีให้หลัง และหารายได้เข้ากองทุนได้มากกว่า 8 ล้านปอนด์ มีการนำเพลง ‘Do They Know It’s Christmas?’ มาทำขายใหม่เพื่อการกุศลอีก 2 ครั้ง คือปี 1989 ในนาม Band Aid II (ไคลี มิโน้ก, Bananarama, Wet Wet Wet, ลิซ่า สแตนฟิลด์ ฯลฯ) และในปี 2004 ในนาม Band Aid 20 (คริส มาร์ติน จาก Coldplay, ไดโด้, ร็อบบี้ วิลเลียมส์, โบโน่ จาก U2 ฯลฯ) ซึ่งเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปีของ ‘Do They Know It’s Christmas?’
เรียกว่า มันคือมหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติด้านวงการเพลงเลยดีกว่า จุดเริ่มมาจากไอเดีย Band Aid ของศิลปินนักร้องฝั่ง UK ร่วมกันจัดคอนเสิร์ตหาเงินช่วยเหลือผู้ยากไร้ชาวแอฟริกา ฝั่ง USA จะยอมน้อยหน้าเหรอ จัดใหญ่ จัดเต็ม หน่ะสิครับ คราวนี้ รวมเอาศิลปินตัวพ่อตัวแม่ในยุคนั้นของอเมริกา ในชื่อ USA for Africa
USA for Africa (United Support of Artists for Africa)... เป็นโครงการร่วมมือกันของศิลปินนักร้องฝั่งอเมริกาจำนวน 45 ร่วมกับขับร้องเพลง We are the World และตัดเป็นซิงเกิลการกุศลในปี ค.ศ. 1985 เพื่อหาเงินสมทบกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบทุพภิกขภัย ในแอฟริกา ที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งผิดปกติในปี 1984-1985 และประสบภาวะขาดแคลนอาหารใน 6 ประเทศ ประกอบด้วยเอธิโอเปีย ชาด มาลี ไนเจอร์ ซูดาน และโมซัมบิก คำร้องร่วมกันประพันธ์โดย ไมเคิล แจ็คสัน และลีโอเนล ริชี่ ทำนองเรียบเรียงและโปรดิวซ์โดยควินซี่ โจนส์ แนวความคิดของโครงการนี้จะว่าไปก็เลียนแบบมาจากการบันทึกเสียงเพลง "Do They Know It's Christmas?" เพื่อระดมทุนในลักษณะเดียวกับโดยศิลปินนักร้องจากฝั่งอังกฤษ ที่นำโดยบ็อบ เกลดอฟ เมื่อปลายปี 1984 โดยเริ่มจากแนวคิดเริ่มแรกของแฮรี เบลาฟอนเต ได้ติดต่อกับเคนนี คราเคน ผู้จัดการส่วนตัวของไลโอเนล ริชชีและเคนนี โรเจอร์ส เพื่อหาลู่ทางจัดคอนเสิร์ตเพื่อหารายได้ช่วยเหลือแอฟริกา แต่คราเคนคิดว่าหากบันทึกเสียงเป็นซิงเกิลวางจำหน่ายน่าจะได้ผลดีกว่า และประสานงานกับไมเคิล แจ็กสัน ไลโอเนล ริชชี ควินซี โจนส์ และติดต่อนักร้องอื่นๆ มาร่วมร้อง การบันทึกเสียงเกิดขึ้นระหว่าง และหลังงานอเมริกัน มิวสิก อวอร์ดส์ ที่ A&M Studios ฮอลลีวูด แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1985 โดยควินซี โจนส์ เป็นผู้ศึกษาสไตล์การร้องของศิลปินแต่ละคน และจับคู่นักร้อง เช่น บิลลี โจเอลกับทีนา เทอร์เนอร์, วิลลี เนลสันกับดิออน วอร์วิค และไมเคิล แจ็กสันกับพรินซ์ (พรินซ์ไม่มาปรากฏตัวเพื่อบันทึกเสียงตามนัด โจนส์จึงให้ไดอานา รอสส์ ร้องคู่กับแจ็กสันแทน ส่วนพรินซ์ได้บันทึกเสียงเพลงอื่นในอัลบั้มแทน) ซิงเกิลเพลงนี้ขึ้นถึงอันดับหนึงของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1985 และขึ้นถึงอันดับหนึ่งในหลายสิบประเทศทั่วโลก เพลงนี้มันยิ่งใหญ่มากในยุคนั้น จัดเป็นเพลงร้องหมู่ที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษก็ว่าได้
ของไทยก็มี อย่าให้น้อยหน้าเขา เราก็มีโครงการที่รวมศิลปิน ทำประโยชน์เพื่อสังคมเหมือนกัน คือ ชีวิตสัมพันธ์ เป็นเพลงที่แต่งโดย ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) ร่วมกับ อัสนี โชติกุล ขับร้องบันทึกเสียงโดยเหล่าศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทยรวม 8 คน โดยเป็นซิงเกิลการกุศลในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งมีเนื้อหาอุทิศแก่มวลมนุษยชาติกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับโครงการอิสานเขียวของกองทัพบก อันเนื่องมาจากปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพื่อเป็นกำลังใจในการต่อสู้หรือเสนอแนวทางต่อปัญหาเหล่านั้นได้
#รำลึกความทรงจำยุค 80's
หมวดวงการเพลง,ภาพยนตร์ ost.ภ.เรื่อง Rocky ภาค 4 มีเพลงดังอยู่เพลงหนึ่งที่ดังมากในปี 1985 นั่นคือ Eye of The Tiger ขับร้องโดยวง Survivor คือถ้าพูดถึง ภ.ชุด Rocky ก็ต้องนึกถึงเพลงนี้มาก่อนเลย
#รำลึกความทรงจำยุค 80's
หมวดวงการภาพยนตร์ ถ้าพูดถึงปี 1985 ภาพยนตร์ที่ดังที่สุดและทำรายได้สูงสุดก็ต้องเป็น Back to The Future เป็นภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1985 แนวผจญภัยวิทยาศาสตร์ ของผู้กำกับ โรเบิร์ต เซเม็กคิส ร่วมเขียนบทโดยบ็อบ เกล และอำนวยการสร้างโดยสตีเฟน สปีลเบิร์ก นำแสดงโดย ไมเคิล เจ. ฟ็อกซ์ รับบทวัยรุ่นที่ชื่อ มาร์ตี้ แม็กฟลาย , คริสโตเฟอร์ ลอยด์ ในบทบาทนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องที่ชื่อ ด็อกเตอร์ เอ็มเม็ต แอล. บราวน์ , คริสพิน โกลเวอร์, ลีอา ธอมป์สัน และโทมัส เอฟ. วิลสัน โดย...มีเรื่องราวเกี่ยวกับมาร์ตี้ แม็กฟลาย วัยรุ่นที่บังเอิญย้อนเวลากลับจากปี 1985 ไปในปี 1955 เขาได้พบกับพ่อแม่ของเขาเมื่อครั้งยังเรียนอยู่ในระดับไฮสคูล และบังเอิญทำให้แม่ของเขาหลงชื่นชอบตัวมาร์ตี้ เขาต้องแก้ไขความผิดพลาดที่จะทำลายประวัติศาสตร์ที่เป็นต้นเหตุโดยทำให้พ่อแม่ของเขากลับมารักกัน ขณะเดียวกันเขาก็ต้องหาวิธีกลับไปในปี 1985 ให้ได้ เซเม็กคิสและเกล ร่วมกันเขียนบทหลังจากที่เกลคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเขากับพ่อของเขาเองได้เข้าเรียนด้วยกัน หลาย ๆ สตูดิโอภาพยนตร์ปฏิเสธบทภาพยนตร์นี้ จนกระทั่งภาพยนตร์ของเซเม็กคิสเรื่อง Romancing the Stone ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้ จึงทำให้เกิดโครงการนี้โดยยูนิเวอร์ซัลพิกเจอร์ส โดยมีสปีลเบิร์ก เป็นผู้อำนวยการสร้าง เดิมทีอีริก สตอลต์ซ จะมารับบทเป็นมาร์ตี้ แม็กฟลาย แต่ในระหว่างการถ่ายทำเขาและผู้สร้างภาพยนตร์ตัดสินใจที่จะทำการคัดตัวนักแสดงใหม่ นั่นหมายถึงการถ่ายทำใหม่เช่นกัน และขั้นตอนหลังการถ่ายทำที่ต้องดำเนินให้เสร็จในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 ซึ่งเป็นวันกำหนดฉาย เมื่อออกฉาย ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปีนั้น ด้วยรายได้รวม 380 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกและได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดี ได้รับรางวัลออสการ์ 1 สาขา คือ สาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม, รางวัลฮูโกสาขาการถ่ายทอดทางด้านดราม่ายอดเยี่ยม และรางวัลแซทเทิร์น ในสาขาภาพยนตร์แต่งแนววิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ในสาขาอื่นๆ, รางวัลบาฟต้า และรางวัลลูกโลกทองคำ ทั้งนี้โรนัลด์ เรแกน ยังเคยพูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยในการแถลงนโยบายประจำปี 1986 และในปี 2007 หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ได้คัดเลือกภาพยนตร์เรื่องนี้ในหอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีการออกฉายภาคต่อใน เจาะเวลาหาอดีต ภาค 2 และ เจาะเวลาหาอดีต ภาค 3 ต่อเนื่องกันในปี 1989 และ 1990 ตามลำดับ และผลพวงที่ตามมาอีก ก็คือมีซีรีส์แอนิเมชันทางโทรทัศน์และยานในสวนสนุกที่จำลองจากฉากในหนังมาเป็นของจริง
#รำลึกความทรงจำยุค 80's
หมวดวงการภาพยนตร์ ปี 2528 มีหนังไทยอยู่เรื่องนึงดังมาก เป็นต้นแบบของหนังวัยรุ่น นั่นคือ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย เป็นภาพยนตร์ไทยลำดับแรกของ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ มี จรัญ และ วิสูตร พูลวรลักษณ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับโดย ธนิตย์ จิตนุกูล, อดิเรก วัฏลีลา โดยเริ่มแรกจะใช้ชื่อว่า ซอย15 แต่สุดท้ายได้เปลี่ยนชื่อเป็น ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย ออกฉายในปลายปี พ.ศ. 2528 ที่โรงภาพยนตร์เพชรรามา และโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์ นำแสดงโดย บิลลี่ โอแกน หรือ จิตต์... จิตนุกูล, เพ็ญ พิสุทธิ์, สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, ธัชชัย ปาละกูล, ศุภกร อุดมชัย, วชิรพจน์ บุรพรัตน์, กนกวรรณ บุรานนท์, ท้วม ทรนง, จุรี โอศิริ โดยนักแสดงตัวเอกของเรื่องล้วนเป็นดาราหน้าใหม่ทั้งสิ้น และ ผู้จัดและผู้กำกับมือใหม่เช่นกัน เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับ รางวัลตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดประจำปี 2528 จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ทำรายได้ 5 ล้านบาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 จึงได้ถูกสร้างเป็นละครอีกครั้งทางช่อง 3 โดยค่ายบรอดคาซท์ นำแสดงโดย นิธิ สมุทรโคจร, ปิยธิดา วรมุสิก, อรรถพร ธีมากร, ชาติชาย งามสรรพ์, บริบูรณ์ จันทร์เรือง, ตี๋อ้วน, ธิติมา สังขพิทักษ์, มนตรี เจนอักษร, อรัญญา ประทุมทอง, วรเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ, กัลยา เลิศเกษมทรัพย์ และไพโรจน์ ใจสิงห์ และภาพยนตร์เรื่องนี้มี ost. ที่ดังมาก ติดหูคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ เพลง ตัดใจไม่ลง ร้องโดย คุณเพ็ญ พิสุทธิ์ นักแสดงนำของเรื่อง ว่าแล้วก็อยากไปฟังอีกรอบ
#รำลึกความทรงจำยุค 80's
หมวดวงการเพลง เรื่องที่ 1.ค่ายเพลงในความทรงจำ ในปี 2528 มีค่ายเพลงสุดชิค สุดคูล ถือกำเนิดขึ้นมา กลายเป็นตำนานแห่งความทรงจำอีกค่ายนึง นั่นคือ ครีเอเทีย อาร์ติสต์ เป็นบริษัทค่ายเพลงในอดีตของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อช่วงพ.ศ. 2528 โดยเกิดจากแนวความคิดของ ชนินทร์ โปสาภิวัฒน์ ออร์กาไนเซอร์ชื่อดังที่คิดว่าต้องการให้ค่ายเพลงนี้เป็นที่รวบรวมเหล่าคนเบื้องหลังและคนเบื้องหน้าที่มีความสามารถเข้ามาไว้ด้วยกัน ครีเอเทีย อาร์ติสต์ มี ปั่น หรือชื่อจริง ไพบูลย์เกียรติ เขีย...วแก้ว เป็นศิลปินเบอร์แรก หลังจากนั้นก็มีศิลปินตามมาอีกเช่น รวิวรรณ จินดา, เฉลียง, วงกะท้อน ซึ่งค่ายนี้ได้รวบรวม ครีเอทีฟ นักแต่งเพลง และ นักดนตรี ฝีมือดีไว้มากมาย เช่น จิระ มะลิกุล, ประภาส ชลศรานนท์, ธเนศ สุขวัฒน์, พนเทพ สุวรรณะบุณย์, อิทธิ พลางกูร เป็นต้น ครีเอเทีย อาร์ติสต์ เกิดปัญหาขึ้นเมื่อชนินทร์ เจ้าของบริษัทเกิดอาการทางประสาทขึ้นเนื่องจากใช้สมองในการคิดมากเกินไป จึงถูกส่งตัวไปรักษา ทำให้ภายในค่ายก้าวต่อไปไม่ได้ หลังจากนั้นไม่นานค่ายครีเอเทีย อาร์ติสต์ ก็ปิดตัวลง ลองไปฟังเพลงที่ทำให้เราหวนระลึกไปถึงเพลงในยุคนั้น ที่เป็นผลงานของค่ายนี้กัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น