ตลอดเดือนนี้-สิ้นปีนี้ ผู้เขียนจะขอนำเอาความทรงจำในยุค 80's (1981-1990) หรือในช่วงปี พ.ศ. 2524-2533 มารำลึกกันเป็นระยะๆ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองกระแสยุค retro ที่กลับมาอีกครั้ง ถามว่าทำไม ไม่เริ่มจากยุค 60's หรือยุค 70's ก่อน ก็ขอบอกเลยว่า ผู้เขียนมีความทรงจำกับยุค 80's มากที่สุด เป็นช่วงเวลาที่ผู้เขียนมีความสุขกับเหตุการณ์ในยุคสมัยนั้นอย่างดื่มด่ำและมีความสุขที่สุด กล่าวกันว่า เป็นยุคทอง (รุ่งเรืองเฟื่องฟู)ของหลายๆ วงการ ทั้งวงการภาพยนตร์ เพลง ละคร วรรณกรรมหนังสือ นิยาย ศิลปะ ...ของสะสม แฟชั่น การแต่งตัว นวัตกรรม เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการปฏิวัติยุคไอทีพอดีด้วย หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นยุคโลกสวย มีสิ่งน่าจดจำ งดงาม มีค่า ผู้คนยังมีอารมณ์สุนทรีย์ มีจิตวิญญาณในหัวใจ ที่จะผลิตหรือเสพงานศิลปะ หรือความบันเทิงได้อย่างละเอียดลึกซึ้งกว่าคนยุคปัจจุบันมาก การเกิดขึ้นของนักอนุรักษ์ นักสะสม มากมาย ผู้คนมีน้ำใจ เศรษฐกิจเฟื่องฟูกว่ายุคนี้มาก แม้นว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจในโลกยุคปัจจุบันจะสูงกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่คุณค่าและจิตใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ของคนยุคนั้นเทียบกับคนยุคนี้ เทียบกันไม่ติดเลย คุณค่าของผู้คน วัตถุสิ่งของ และเหตุการณ์ ในยุคนั้น รวมกันเป็นความทรงจำที่งดงาม น่าจดจำ ผู้เขียนจึงอยากขอรวบรวมมา (แม้เพียงบางส่วน) ให้ได้ระลึกและคิดถึงกัน โดยจะแทรกมาเป็นหมวด ๆ หรือประเภท คละเคล้ากันไปกับบทความในเรื่องอื่นๆ ตามกระแสปัจจุบัน ที่ไม่เกี่ยวกับความทรงจำยุค 80's
ขอเริ่มที่ปีพ.ศ. 2524 ก่อน หรือตรงกับปี ค.ศ.1981 ใครจำได้บ้างมั๊ย ว่าเป็นปีเกิดของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ในอดีตของบ้านเรา คือค่ายใด เฉลยคือ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น เกิดจากการควบรวมกิจการกันของค่ายเพลง 2 ค่ายคือ NP Promotion ของนฤชา เพ่งผล ดีเจ และ Original Sound หรือ ไทยรัชฎา ของวิเชียร อัศว์ศิวะกุล โดยมีวิทยา ศุภพรโอภาส และสันติ เศวตวิมลเป็นที่ปรึกษาของบริษัท ประกอบการตั้งแต่ประมาณปี 2524 จนถึงช่วงปี 2538 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น นิธิทัศน์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เพราะคุณวิเชียรเจ้าของบริษัทได้เป็น ส.ว.สรรหา และลด Profile ของบริษัทลงเหลือแค่นำผลงานของศิลปินเก่า ๆ ของบริษัทมาจำหน่ายใหม่ ในอดีตนิธิทัศน์ได้ร่วมหุ้นกับบริษัท โรต้าแผ่นเสียง-เทป จำกัด และบริษัท ออนป้า เพื่อผลิตเทปวางจำหน่ายทั่วประเทศ แต่ในปัจจุบันนิธิทัศน์แยกตัวออกจากออนป้าและโรต้ามาจัดจำหน่ายเอง โดยเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น นิธิทัศน์ เอโอเอ (อ้างอิงข้อมูลจากวิถีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์)
#รำลึกความทรงจำยุค 80's
หมวดวงการเพลง เรื่องที่ 1.ค่ายเพลงนิธิทัศน์โปรโมชั่นและดนตรี ไปรำลึกด้วยการฟังเพลงกันดีกว่า
ปี 1981 เป็นปีถือกำเนิดของ MTV นำเอาระบบ VJ (Video Jockeys) มาใช้ คือมีพิธีกรเกริ่นนำเข้ารายการและแนะนำเพลง แบบเดียวกับ DJ และเป็นครั้งแรกที่ช่องเคเบิ้ลทีวีประเภทสถานีเพลงแห่งนี้ ออกอากาศแบบ 24 ชั่วโมง คือไม่มีวันหยุดพัก เป็นธุรกิจเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นในอเมริกา ภายใต้ Viacom Media Networks มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ New York ออกอากาศวันแรก Aug 1,1981 ด้วยสารคดีเกี่ยวกับการปล่อยยาน Apollo 11 ด้วยแคมเปญที่ว่า "Ladies and gentlemen, rock and roll," spoken by John Lack, and played over footage of the first Space Shuttle launch countdown of Columbia แต่มิวสิควีดีโอตัวแรกที่เปิดฉายทาง MTV ของศิลปิน "The Buggles" ชื่อเพลง Video Killed the Radio Star ติดตามมาโดยของ Pat Benatar's ชื่อเพลง You Better Run ไปลองชมกันมั๊ยว่ามันเป็นอย่างไร
ปี 1981 เป็นปีที่ ภ.เรื่อง Raiders of the Lost Ark (ตอนแรกของนิยาย/ภาพยนตร์ชุด Indiana Jones โครงเรื่องโดย จอร์จ ลูคัสและ ฟิลิปป์ คอฟแมน) เป็นหนึ่งในธีมหนังแฟรนส์ไชส์ เรื่องแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จในระดับบ็อกออฟฟิซ กำกับโดย สตีเฟ่น สปีลเบิร์ก นำแสดงโดย แฮริสัน ฟอร์ด,คาเรน อัลเลน,พอล ฟรีแมน ด้วยทุนสร้าง 18 ล้านเหรียญ, แต่ทำรายได้ในบ็อกออฟฟิซไปอย่างถล่มทลาย 389 ล้านเหรียญ จัดเป็นภาพยนตร์ชุดที่ประสบความสำเร็จในระดับตำนานเรื่องแรกๆ ของโลก จนปัจจุบันยังมีข่าวคราวถึงการจะสร้างภาคต่อ... มีการสร้างภาคต่อมาอีก 3 ภาคคือ The Temple of Doom (1984) , The Last Crusade (1989) ,The Kingdom of the Crystal Skull (2008) และล่าสุดมีข่าวว่าจากสร้างตอนต่อไป ตอนที่ 5 ของภาพยนตร์ชุดนี้ออกฉายในปี 2019 ยังไม่ทราบชื่อตอนใหม่ แต่เป็นโปรเจ็คท์ที่สปีลเบิร์กกับแฮริสัน ฟอร์ด จะโคจรมาร่วมงานกันอีก โอ้โห! ทึ่งในพลังของปู่ทั้งสองคน สังขารคงไม่ใช่อุปสรรคของท่าน ตราบใดที่ไฟยังมี
หมวดวงการภาพยนตร์ ยังอยู่ในปี 1981 ภาพยนตร์ที่ใครหลายคน น่าจะยังจำได้ มี score (ดนตรีประกอบ) ที่ไพเราะและโด่งดังติดหู คือเรื่อง Chariot of Fire เกียรติยศแห่งชัยชนะ (Chariots of Fire) เป็นภาพยนตร์อังกฤษที่ออกฉายในปี 1981 เขียนบทโดย โคลิน เวลแลนด์และกำกับโดย ฮิวจ์ ฮัดสัน เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริงของนักกรีฑาชาวอังกฤษที่แข่งขันวิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ณ กรุงปารีส นักกรีฑา 2 คนนั้น ชื่อ ฮาโรลด์ อับราฮัมส์ และ เอริค ลิดเดล ทั้งคู่สามารถคว้าเห...รียญทองให้แก่สหราชอาณาจักรได้ ประเด็นสำคัญของเรื่องคือ ฮาโรลด์ อับราฮัมส์มีเชื้อสายยิว จึงเกิดเป็นปมด้อย รู้สึกเป็นคนนอก ถูกผู้คนรอบข้างเฝ้ามองด้วยสายตาหมิ่นเหยียดหยามอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายสูงสุดคือการได้เหรียญทองโอลิมปิก จึงเป็นมากยิ่งกว่าแค่แข่งขันกีฬาตามปกติ ส่วนเอริค ลิดเดล เขาเป็นชาวสก็อตแลนด์ เกิดในครอบครัวหมอสอนศาสนา มีจุดมุ่งหมายในชีวิตเด่นชัดว่า พร้อมอุทิศตนทุ่มเทเพื่อรับใช้พระเจ้า แต่ความสามารถพิเศษในด้านการวิ่ง ทำให้เขาโดดเด่นอีกทาง ทั้งยังต้องขัดแย้งกับน้องสาวผู้เคร่งศาสนา สุดท้าย จุดหมายสูงสุดของเขา ไม่ได้วิ่งเพื่อเหรียญทองหรือชัยชนะใด ๆ แต่เป็นการวิ่งเพื่อนำเกียรติยศมาสู่พระเจ้าที่เขาเคารพศรัทธา ภาพยนตร์เล่าเรื่องสลับไปมาระหว่างตัวเอกทั้ง 2 โดยสะท้อนแง่มุมว่าด้วยการฝึกฝนอยางหนักเพื่อขัดเกลาเอาชนะใจตนเอง ความเป็นสุภาพบุรุษนักกีฬา และไคลแมกซ์สูงสุดของเรื่องคือการพิชิตเหรียญทองในโอลิมปิก อีกฉากหนึ่งที่เป็นฉากที่น่าจดจำคือ ตอนต้นและท้าย ภาพของเหล่านักวิ่งบนชาดหาด ควบคู่กับเพลงประกอบของ แวนเจลิส ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับรางวัลออสการ์ถึง 4 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนั้น (1981) ,บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม, ออกแบบเครื่องแต่งกาย และดนตรีประกอบภาพยนตร์
#รำลึกความทรงจำยุค 80's
หมวดวงการเพลง เรื่องที่ 1.ค่ายเพลงนิธิทัศน์โปรโมชั่นและดนตรี ไปรำลึกด้วยการฟังเพลงกันดีกว่า
หมวดวงการภาพยนตร์ ยังอยู่ในปี 1981 ภาพยนตร์ที่ใครหลายคน น่าจะยังจำได้ มี score (ดนตรีประกอบ) ที่ไพเราะและโด่งดังติดหู คือเรื่อง Chariot of Fire เกียรติยศแห่งชัยชนะ (Chariots of Fire) เป็นภาพยนตร์อังกฤษที่ออกฉายในปี 1981 เขียนบทโดย โคลิน เวลแลนด์และกำกับโดย ฮิวจ์ ฮัดสัน เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริงของนักกรีฑาชาวอังกฤษที่แข่งขันวิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ณ กรุงปารีส นักกรีฑา 2 คนนั้น ชื่อ ฮาโรลด์ อับราฮัมส์ และ เอริค ลิดเดล ทั้งคู่สามารถคว้าเห...รียญทองให้แก่สหราชอาณาจักรได้ ประเด็นสำคัญของเรื่องคือ ฮาโรลด์ อับราฮัมส์มีเชื้อสายยิว จึงเกิดเป็นปมด้อย รู้สึกเป็นคนนอก ถูกผู้คนรอบข้างเฝ้ามองด้วยสายตาหมิ่นเหยียดหยามอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายสูงสุดคือการได้เหรียญทองโอลิมปิก จึงเป็นมากยิ่งกว่าแค่แข่งขันกีฬาตามปกติ ส่วนเอริค ลิดเดล เขาเป็นชาวสก็อตแลนด์ เกิดในครอบครัวหมอสอนศาสนา มีจุดมุ่งหมายในชีวิตเด่นชัดว่า พร้อมอุทิศตนทุ่มเทเพื่อรับใช้พระเจ้า แต่ความสามารถพิเศษในด้านการวิ่ง ทำให้เขาโดดเด่นอีกทาง ทั้งยังต้องขัดแย้งกับน้องสาวผู้เคร่งศาสนา สุดท้าย จุดหมายสูงสุดของเขา ไม่ได้วิ่งเพื่อเหรียญทองหรือชัยชนะใด ๆ แต่เป็นการวิ่งเพื่อนำเกียรติยศมาสู่พระเจ้าที่เขาเคารพศรัทธา ภาพยนตร์เล่าเรื่องสลับไปมาระหว่างตัวเอกทั้ง 2 โดยสะท้อนแง่มุมว่าด้วยการฝึกฝนอยางหนักเพื่อขัดเกลาเอาชนะใจตนเอง ความเป็นสุภาพบุรุษนักกีฬา และไคลแมกซ์สูงสุดของเรื่องคือการพิชิตเหรียญทองในโอลิมปิก อีกฉากหนึ่งที่เป็นฉากที่น่าจดจำคือ ตอนต้นและท้าย ภาพของเหล่านักวิ่งบนชาดหาด ควบคู่กับเพลงประกอบของ แวนเจลิส ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับรางวัลออสการ์ถึง 4 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนั้น (1981) ,บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม, ออกแบบเครื่องแต่งกาย และดนตรีประกอบภาพยนตร์
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ฮิวจ์ ฮัดสัน, เขียนบทโดย คอลลิน เวลแลนด์ นำแสดงโดย เบน ครอสส์, เอียน ชาร์ลสัน, ไนเจล ฮาเวอร์ส, เชอร์ริล แคมป์เบล ฯลฯ ด้วยทุนสร้างเพียง 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3 ล้านปอนด์ แต่ทำรายได้ในบ็อกออฟฟิซไปทั้งสิ้น 58.9 ล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าได้ทั้งเงินได้ทั้งกล่อง และยังเป็นภาพยนตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลก มีประเด็นให้ขบคิดมากมายในเรื่อง ทั้งในแง่นักกีฬาที่ต้องต่อสู้เพื่อเป้าหมายเหรียญรางวัล ทั้งในแง่การต่อสู้กับสังคมการเหยียดเชื้อชาติ การต่อสู้กับเป้าหมายในชีวิตของตนเอง พอเราต่อสู้อย่างเต็มที่รางวัลทุกอย่างมันจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่เหรียญรางวัลจากการแข่งขันกีฬาเท่านั้น มันคือรางวัลแห่งชีวิตที่ได้จากการต่อสู้แลกเอามา หรือก็คือเกียรติยศแห่งชัยชนะนั่นเอง
และถ้าพูดถึงปี 1981 จะไม่พูดถึงเธอคนนี้ ก็คงจะไม่ใช่ การรำลึกความทรงจำยุค 80's อย่างสมบูรณ์ ใครๆ ในโลกก็คงจะจดจำเธอจากบทเพลงนี้
และบทเพลงนี้ อย่างแน่นอน Barbra Streisand เธอคือไอค่อน ของยุคนี้ คนหนึ่งเหมือนกัน ถ้ามีการจัดอันดับนักร้องหญิงยอดเยี่ยมที่คนอเมริกันรัก 10 คนแรก ต้องมีเธออยู่ด้วยอย่างแน่นอน คิดถึงแล้ว ไปฟังเพลงกัน
และถ้าพูดถึงปี 1981 จะไม่พูดถึงเธอคนนี้ ก็คงจะไม่ใช่ การรำลึกความทรงจำยุค 80's อย่างสมบูรณ์ ใครๆ ในโลกก็คงจะจดจำเธอจากบทเพลงนี้
และบทเพลงนี้ อย่างแน่นอน Barbra Streisand เธอคือไอค่อน ของยุคนี้ คนหนึ่งเหมือนกัน ถ้ามีการจัดอันดับนักร้องหญิงยอดเยี่ยมที่คนอเมริกันรัก 10 คนแรก ต้องมีเธออยู่ด้วยอย่างแน่นอน คิดถึงแล้ว ไปฟังเพลงกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น