หมวดรายการโทรทัศน์ในความทรงจำ ในยุคนั้น ไม่มีใครไม่รู้จักรายการตลกรายการนี้ มันเต็มไปด้วยมุก และการสร้างสรรค์แปลกใหม่มาก เพชฌฆาตความเครียด รายการโทรทัศน์ทางช่อง 9 ในช่วงปี พ.ศ. 2528-2529 เป็นรายการตลก ที่มาฉายประมาณหลังข่าว โดยกลุ่ม ซูโม่สำอาง เช่น ซูโม่ตู้ (จรัสพงษ์ สุรัสวดี) , ซูโม่เจี๊ยบ (วัชระ ปานเอี่ยม) , ซูโม่ตุ๋ย (อรุณ ภาวิไล) , ซูโม่เอ๋ (เกรียงไกร อมาตยกุล) , ซูโม่เป๊ปซี่ (ธีรวัฒน์ ทองจิตติ) , ซูโม่อิฐ (อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์) , ซูโม่โค้ก (ส...มชาย เปรมประภาพงศ์) , ซูโม่สุ่น(ตรี บุญทิวากร) , ซูโม่กิ๊ก (เกียรติ กิจเจริญ) , ซูโม่ตา (ปัญญา นิรันดร์กุล), ซูโม่โญ (ภิญโญ รู้ธรรม) , ดู๋ (สัญญา คุณากร)ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อรายการเป็น สูตรสำเร็จความเครียด โดยใช้กลุ่มนักแสดงชุดเดิม และเพิ่ม ซูโม่โย (ญาณี ตราโมท) เข้ามา ทีมงานส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรายการจะมีมุกต่อเนื่อง โดยเป็นมุกที่เล่นซ้ำกันโดยเปลี่ยนรายละเอียดเช่น "ภาษาไทยคำละวัน" ของ ปัญญา นิรันดร์กุล (ล้อเลียนรายการ "ภาษาไทยวันละคำ" ของ อ. กาญจนา นาคสกุล) "มุกเรียกแท็กซี่" ของซูโม่เป๊ปซี่ หรือ "มุกรอรถเมล์" "มุกสองเกลอ" ของซูโม่เอ๋-ซูโม่อิฐ และมุกอื่นๆ อีกมากมาย ผู้ที่ตั้งชื่อรายการเพชฌฆาตความเครียดนี้คือ ซูโม่ตู้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มซูโม่สำอาง เพื่อให้สื่อถึงการฆ่าความเครียดด้วยการดูรายการนี้ รายการนี้เป็นต้นแบบแรกๆของวงการโทรทัศน์ไทยยุคใหม่ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้ามาเป็นจุดเด่นของรายการ มากกว่าความขึงขังน่าเชื่อถือแบบยุคต้นๆของการผลิตรายการทีวี และทำให้ช่อง 9 ที่เรตติ้งรายการต่ำ คือขายโฆษณายาก (เหมือนช่อง 11) กลับฟื้นและอยู่ตัวมาจนถึงทุกวันนี้
ภาษาไทยวันละคำ (พ.ศ. 2527) รายการสอนภาษาไทย ในเชิงอธิบายความหมายของถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ดำเนินรายการโดย ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ซึ่งได้รับความสนใจ และเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมาก จากผู้ชมทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะเด็กและเยาวชน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของรายการ (รายการนี้ถูกล้อเลียน โดยรายการเพชฌฆาตความเครียด ภายใต้ช่วงว่า "ภาษาไทยคำละวัน" ของ ปัญญา นิรันดร์กุล)
กระจกหกด้าน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทสารคดีสั้น ออกอากาศทุกเย็นวันจันทร์-วันอังคาร เวลา 16.00-16.15 น. ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นพฤหัสบดี - ศุกร์ เวลา 11.15 - 11.30 น. เป็นต้นไป เริ่ม พฤหัสบดี ที่ 2 ตุลาคม 2557 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ปัจจุบัน ย้ายเวลาออกอากาศไปเป็นพุธ - พฤหัสบดี เวลา 15.45 - 16.00 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2526 นับเป็นรายการสารคดีที่มีระดับ...ความนิยมสูงสุด ชื่อรายการ กระจกหกด้าน มาจากคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ว่า คนเราทุกวันนี้ ดีแต่ส่องกระจกด้านหน้าแต่เพียงด้านเดียว ให้เอากระจกหกด้านมาส่องเสียบ้าง แล้วจะเห็นเอง สารคดีสั้นทุกชุดของรายการ นางสุชาดี มณีวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตรายการ รับหน้าที่บรรยาย และคัดสรรข้อมูลที่นำมาผลิต นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ยังมีการเปิดเว็บไซต์ www.krajokhokdan.com ที่รวบรวมสารคดีที่ออกอากาศไปแล้ว โดยแบ่งเป็น 6 หมวดหมู่ ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตและสิ่งแวดล้อม อาหารและโภชนาการ สุขภาพและวิทยาศาสตร์ บุคคลและสังคม รวมถึงปกิณกะสาระคติ นับตั้งแต่การออกอากาศเป็นครั้งแรกมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพลงประกอบไตเติลของรายการ ใช้เพลง Dancing Flames ของวง Mannheim Steamroller โดยภายหลังยังคงใช้เพลง Dancing Flames มาใส่ทำนองในแนวอินเดียแต่ยังคงทำนองเดิมไว้ แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงภาพกราฟิก ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการ
มาตามนัด เป็นเกมโชว์ ผลิตโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดรัชฟิล์มทีวี ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2527 ถึง 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาแล้วสามครั้ง โดยจะคงคำว่า "มาตามนัด" ไว้เสมอคือ มาตามนัด (2527-2535, 2537-2538) ก้าว-ห้า-มาตามนัด (2535 - 2536) และ มาตามนัด ฮาวมัช (2536-2537) โดยมีการเล่นเกมที่ได้รับความนิยมคือ ใบ้คำ วาดภาพ และเปิดป้าย[ต้องก...ารอ้างอิง] เพื่อหาผู้ชนะประจำสัปดาห์ ("เดอะวินเนอร์") และชิงของรางวัลสูงสุดเป็นรถยนต์ ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 รายการกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ในชื่อใหม่ว่า มาตามนัด รีเทิร์นส์ ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี โดยมีบริษัท ฟันแอนด์ฟอร์จูน จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 18:00-19:00 น. แต่ได้สิ้นสุดออกอากาศเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556 รายการ มาตามนัด ได้นำตัวอย่างรูปแบบเกมโชว์ชื่อ "Pyramid" จากสหรัฐอเมริกามาดัดแปลง และมีการตั้งคำถามให้เข้ากับบรรยากาศและรสนิยมของคนไทย เพื่อการนำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ หรือ หลังข่าวภาคค่ำ[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นช่วงที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่องเสนอละครหรือภาพยนตร์ แต่เนื่องจากละครของรัชฟิล์มทีวีไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงนำรายการเกมโชว์มาเสนอในช่วงเวลาดังกล่าวจนได้ผล[ต้องการอ้างอิง] โดยนัดแรกเริ่มออกอากาศวันที่ 5-7 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยมีอภิชาติ หาลำเจียก กับอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ เป็นพิธีกร เดิมทีรายการวางตัวพิธีกรไว้เป็นอภิชาติ กับพรพรรณ เกษมมัสสุ แต่เนื่องจากถ่ายทำเทปแรกไปแล้ว พรพรรณไม่สามารถทำหน้าที่ให้ดีได้ จึงเปลี่ยนพิธีกรหญิงเป็นอัจฉราพรรณในที่สุด เกมการแข่งขันในยุคแรก กำหนดให้มีผู้แข่งขันสัปดาห์ละ 5 ท่าน ซึ่งมาจากความมีชื่อเสียงทางด้านการแสดง และทางบ้านที่ส่งจดหมายสมัครเข้าร่วมรายการ โดยเริ่มเกมการตอบปัญหาในวันแรก ด้วยคำถาม 15 ข้อ พิธีกรจะอ่านคำถาม ถ้าตอบถูกจะได้คะแนนหรือแย่งคะแนนจากผู้เข้าแข่งขันที่เลือกคำถาม ตอบผิดติดลบหรือโดนแย่งคะแนน วันที่สองเป็นการ "ใบ้คำ" โดยเหลือผู้เล่นเพียง 4 คน แบ่งเป็นทีมละ 2 คน โดยกำหนดให้เป็นผู้ใบ้คำและผู้ทาย ทีมใดทายคำได้คะแนนมากที่สุดจะผ่านเข้ารอบในวันสุดท้าย ซึ่งเป็นการแข่งรถจำลอง เพื่อหาผู้ชนะเพียงคนเดียวหรือ "The Winner" เข้ารอบแจ็กพอต โดยถ้าหากเปิดแผ่นป้ายต่อรูปรถเก๋งให้เต็มคันจะได้รับของรางวัลสูงสุดเป็นรถเก๋ง และผู้เข้าแข่งขันที่ร่วมรายการทุกคน จะได้รับของรางวัลปลอบใจ ซึ่งจะมีเกมรอบสะสมรางวัล (โบนัส) ในแต่ละวัน มาตามนัดเป็นรายการแรกของวงการโทรทัศน์ไทย ที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยดำเนินรายการ ผสานกับการดำเนินรายการของคู่พิธีกร ที่อาศัยไหวพริบปฏิภาณและเป็นกันเองมาก จึงได้รับความสนใจและความนิยมเพิ่มมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง] โดยการแข่งขันเกมในแต่ละครั้ง จะมีการถ่ายทำในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ที่สตูดิโอรัชฟิล์ม ก่อนการออกอากาศประมาณ 2 สัปดาห์ โดยบุญชาย ศิริโภคทรัพย์ ผู้บริหาร 72 โปรโมชั่น เจ้าของรายการโลกดนตรี ก็เคยเป็นผู้กำกับรายการมาตามนัดในยุคแรก
#รำลึกความทรงจำยุค 80's
หมวดวงการเพลง เรื่องที่ 1.ค่ายเพลงในความทรงจำ ปี 2529 มีค่ายเพลงเกิดใหม่อยู่ค่ายนึง ที่แตกหน่อมาจากค่ายครีเอเทีย อาร์ทติสท์ และบางส่วนมาจากเจเอสแอล กลายเป็นคีตา คีตา เรคคอร์ดส เป็นชื่อของอดีตค่ายเพลงค่ายหนึ่งในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2529 และอัลบั้มชุดแรกของค่ายออกวางแผงเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2530 คืออัลบั้ม ดนตรีออกเดิน ของ หนุ่มเสก โดย สมพงษ์ วรรณภิญโญ (สมพงษ์ วิศิษฐ์วานิชย์) ลาวัลย์ ชูพินิจ และ จำนรรค์ อัษฎามงคล จาก เจเอสแอล เ...ป็นผู้ก่อตั้ง มี วรชัย ธรรมสังคีติ จากบริษัท เมโทรแผ่นเสียงและเทป ร่วมเป็นหุ้นส่วน บริหารงานโดย สมพงษ์ และ ประภาส ชลศรานนท์ โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่า บริษัท คีตา แผ่นเสียงและเทป จำกัด และในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คีตาประกาศแยกตัวจากเจเอสแอล จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น คีตา เรคคอร์ดส คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ และ คีตามิวสิค ตามลำดับ (ในสมัยนั้นประเทศไทยจะมีค่ายเพลงใหญ่ อยู่ 4 ค่าย คือ แกรมมี่ คีตา อาร์เอส และ นิธิทัศน์ โปรโมชั่น) และในวันที่ 1-2-3 เมษายน พ.ศ. 2537 คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ได้จัดการแสดงรถบิ๊กฟุตขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่สนามกีฬากองทัพบก และมีการแสดงคอนเสิร์ตโดยศิลปินร็อกในสังกัด คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ บิลลี่ โอแกน ปัจจุบัน คีตามิวสิค ได้ปิดกิจการลงไปแล้วโดยได้ขายลิขสิทธิ์เพลงของคีตาให้กับ บริษัท ไรท์บียอนด์ จำกัด ประภาส ชลศรานนท์ ไปก่อตั้ง มูเซอร์ เรคคอร์ดส และบริหารบริษัท เวิร์คพอยท์ ส่วน สมพงษ์ วรรณภิญโญ ไปก่อตั้งบริษัท ทีวี ธันเดอร์ และศิลปินเบอร์แรก ๆที่ ผู้เขียนชื่นชอบก็คือ หนุ่มเสก ไปย้อนรำลึกเพลงของพี่หนุ่มเสกกัน