วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การตลาดแบบดิจิทัล (Digital Marketing) ทำให้ธุรกิจต้องรับมืออย่างไร กระแสที่กำลังจะเกิดขึ้น


คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การทำธุรกิจในยุคนี้ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาหรือหาข้อมูลรอบตัว ต้องลงลึกรู้จริงในตัวธุรกิจ สินค้า บริการและแม้แต่พฤติกรรมของผู้ซื้อหรือผู้บริโภค เพราะปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และสังคมข้อมูลข่าวสารที่ก้าวหน้าหรือก้าวกระโดดไปไกล จนทำให้หลายธุรกิจปรับตัวไม่ทัน จนต้องล้มระเนระนาด ล้มเหลวทางธุรกิจมีให้เห็นจำนวนมาก การทำธุรกิจในยุคนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากว่าคุณรู้จริง และเข้าใจในปัจจัยต่างๆ ของการทำธุรกิจในทุกด้านอย่างดีพอ สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวข้อสำคัญ และเป็นที่สนใจในยุคนี้ก็คือ การตลาดแบบดิจิทัล เป็นสิ่งที่เรา (คนทำธุรกิจ) จะต้องศึกษา ทำความเข้าใจกับมัน อย่าได้มองข้าม เพราะคุณจะต้องตกยุค ตกสมัย และอาจจะพ่ายแพ้ในเกมธุรกิจก็เป็นได้ เพราะว่าคู่แข่งของคุณเขากำลังใช้มันเป็นเครื่องมือ หรือตัวแปรในการทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จเหนือกว่าธุรกิจของคุณ บทความชิ้นนี้จึงรวบรวมรายละเอียดบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตลาดแบบดิจิทัล ที่เราควรให้ความสนใจ ดังนี้
 
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

การศึกษาพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง (change in consumer buying habits) มีประโยชน์ในการช่วยให้นักการตลาดเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของ

ผู้บริโภค ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตลาดกลุ่มป้าหมายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทุกวันนี้

จะเห็นว่า พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจนดังนี้
 
เปลี่ยนแปลงปริมาณในการซื้อ (size and quantity)

เนื่องจากคนในยุคใหม่นิยมการอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ปริมาณการซื้อสินค้าต่าง ๆ มีขนาดลดลงในแต่ละครั้งที่ซื้อ โดยซื้อปริมาณที่น้อยลงแต่เน้นคุณภาพมากขึ้น

นิยมซื้อที่อยู่ในทำเลที่สะดวก (changing in buying location)

เลที่ตั้งของร้านค้ามีความสคัญมากขึ้นต่อการซื้อสินค้าหรือบริการของลูกค้า จะเห็นว่าอัตราการเติบโตของร้านสะดวกซื้ออยู่ในอัตราที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ร้าน 7Eleven ร้าน Minimart ฯลฯ

ต้องการความสะดวกสบายในการซื้อมากขึ้น (conveniences)

สินค้าหรือบริการนั้นต้องให้ความสะดวกสบายในการซื้อ เน้นบริการที่จัดส่งถึงบ้าน (delivery) เช่น ธุรกิจ Pizza, KFC เป็นต้น

สินค้าที่เน้นการบริการตัวเองเพื่อความรวดเร็ว (selfservices)

เป็นวิธีที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคอย่างมาก เพราะช่วยประหยัดเวลาในช่วงเร่งด่วน

การใช้สินเชื่อ (credit required) ผู้บริโภคนิยมการซื้อสินค้าและบริการจ่ายผ่านทางบัตรเครดิตเพื่อผ่อนชระเป็นงวด ๆ หรือตัดบัญชีผ่านธนาคาร

การซื้อสินค้าและบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต (internet)

ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าและบริการก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ และเป็นการประหยัดเวลาในการเดินทางและค่าขนส่ง เช่น ธุรกิจสายการบิน โรงแรม ธุรกิจทัวร์ สินค้านเข้า เป็นต้น

ลักษณะความสัมพันธ์ที่ผู้บริโภคต้องการ

การสนองตอบที่รวดเร็ว สามารถจัดสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการในเวลาที่ลูกค้ามีอยู่จกัด

ความรอบรู้ในงาน ผู้ผลิต และผู้ให้บริการที่มีความเป็น

มืออาชีพ ต้องสามารถให้คแนะนและแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้าได้

การเตรียมความพร้อม มีการจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์

และจัดสิ่งอนวยความสะดวกในการให้บริการ เช่น จัดส่งสินค้าให้ จัดบริการให้คปรึกษาแนะนหลังการขาย

การรักษาความลับของลูกค้า ในเรื่องการขอประวัติส่วนตัวต้องรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า (privacy) ไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าก่อนได้รับอนุญาต

ความเข้าอกเข้าใจลูกค้า เห็นใจรับฟังปัญหาที่ลูกค้าได้รับและแก้ไขให้สเร็จได้

ความมั่นคงปลอดภัย สินค้าและบริการมีการรับรองคุณภาพและมีหลักประกัน เป็นที่น่าเชื่อถือ

การติดตาม ตรวจสอบผลการให้บริการ มีการรับฟังข้อมูลย้อนกลับจากลูกค้าเพื่อนมาปรับปรุงคุณภาพสินค้า/บริการ

ความถูกต้องชัดเจน มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยแก่ลูกค้า ไม่มีข้อผิดพลาด

การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและบริการ

การรู้ถึงความต้องการ รสนิยม ไลฟ์สไตล์ของลูกค้า โดยสามารถเลือกสรรสินค้า/บริการที่แปลกใหม่ อยู่ในความสนใจ โดยจัดหาได้ตรงใจที่เหนือความคาดหวังของผู้บริโภค

(เครดิตอ้างอิง :  บทความ กลยุทธ์การตลาด ตอนที่ 2 One to One Marketing การตลาดยุคสนองตอบลูกค้า, พัชรนันท์ กลั่นแก้ว  ที่ปรึกษา Lead Assesement Consultant,Co.,Ltd. , Marketing & Branding for Quality Vol.17 No.160  February 2011)

1. Personalized Marketing

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของเครื่องมือดิจิทัลก็คือ สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการวัดผลโฆษณาได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะมีคนมองเห็นโฆษณา เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ หรือกรอกข้อมูลเพื่อรับรายละเอียด รวมไปถึงการพูดคุยเกี่ยวกับแบรนด์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็ล้วนเป็นข้อมูลที่เจ้าของธุรกิจใช้เพื่อติดตาม และจัดเก็บได้ทั้งสิ้น เมื่อรู้ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายชัด ก็ทำให้การสื่อสารครั้งต่อไปแม่นยำขึ้น การทำการตลาดดิจิทัลในปีหน้า ธุรกิจจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ด้วยคอนเทนต์ที่ที่ให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับพวกเขาเหล่านั้นโดยตรง

=> คำแนะนำ คนทำธุรกิจ

 เจ้าของธุรกิจ ควรใส่ใจกับการติดตาม จัดเก็บ และใช้งานฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อที่จะจำแนกได้ว่า ลูกค้ากลุ่มไหน มีลักษณะอย่างไร หรือมีสถานภาพในการซื้อสินค้าเป็นแบบไหน โดยเราจะได้วางแผนส่ง Content ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้ากลุ่มนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 อาจแบ่งกลุ่มลูกค้าง่ายๆ โดยใช้เกณฑ์ด้านประชากร ( เช่น เพศ อายุ ) หรือ แบ่งกลุ่มตามพฤติกรรม และความสนใจ (เช่น จำนวนครั้งที่เข้าชม จำนวนการกรอกฟอร์มในแลนดิ้งเพจ ระดับความต้องการซื้อ หรือ ความถี่ในการซื้อ เป็นต้น )

 ควรทำ Content Marketing ด้วยการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แคบลง แต่ตรงขึ้น (Micro-Targeting) โดยเลือก Content ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย (Persona Profiles) ที่สำคัญ ต้องมีเรื่องที่จะพูดชัดเจน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าแบรนด์ กำลังพูดคุยและเรียกหาเขาอยู่

 Content Marketing ที่ดี ต้องสร้างเสน่ห์ จูงใจ ด้วยการเล่าเรื่อง (Story-telling) มากกว่าการบอกเล่าว่าธุรกิจเราขายอะไร ราคาเท่าไร อีกทั้ง ผู้ประกอบการ ควรวางกลยุทธ์ให้กับการทำ Content Marketing เริ่มจากการทำ Editorial Mission Statement หรือ การกำหนดชัดว่า กลุ่มเป้าหมายหลักของเราเป็นใคร เราจะส่ง Content แบบใดให้กับกลุ่มเป้าหมายนั้น และเราคาดหวังให้กลุ่มเป้าหมายได้รับสิ่งใดจาก Content ของเรา

 แม้จะมีข้อมูลเชิงปริมาณ ที่เป็นตัวเลขมากมาย ให้ตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม ควรเหลือที่ว่างให้ความคิดสร้างสรรค์ เพราะจะทำให้ Content Marketing ของเรา ดูแตกต่าง โดดเด่น และเป็นที่น่าจดจำ ที่สำคัญ ยังเอื้อต่อการเข้าถึงผู้คนบนโลกออนไลน์แบบธรรมชาติ (Organic Reach) อีกด้วย

กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาด

กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการตลาด คือ การหาข้อมูลที่เหนือกว่าคู่แข่งเพื่อนนำไปสู่ชัยชนะ (สุภัท ตันสถิติกร ฟันธงการตลาดโดยชมรม Y-ME สมาคมการตลาด, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, 2543)

1. ตลาดต้องเป็นแบบตัวต่อตัว (one-to-one marketing)เป็น การทให้ลูกค้าร้สึก ว่า เราร้จักเขาเป็น พิเศษจริงๆรู้ว่าลูกค้า แต่ละคนชอบไม่ชอบอะไรในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทงาน สุดท้าย คือ การให้ความรู้สึกต่อลูกค้าว่าเขาเป็นเสมือนหุ้นส่วนที่แท้จริง
 
2. เข้าให้ถึงตลาดกลุ่มเป้าหมาย ต้องรู้จักทั้งกายภาพและจิตใจ เริ่มต้นตั้งเป้าหมายทางการตลาดไว้ก่อนว่าจะเลือกตลาดไหนในการแข่งขัน รู้ความเป็นไปของคู่แข่ง และรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด

อยู่ตลอดเวลา รู้ว่าจะต้องทำวิจัย วิเคราะห์พฤติกรรม และวิเคราะห์วิถีชีวิตของผู้คนในตลาดอย่างไร เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงสินค้าและบริการให้เหมาะกับผู้บริโภค เช่น ตลาดผู้เกษียณอายุ ผู้อยู่ในวัยทอง ผู้อยู่ในวัยทงาน เป็นต้น
 
3. มีนวัตกรรมทั้งด้านสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการต้องเป็นฝ่ายสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นในตลาด และผลักดันสินค้าและบริการสู่ตลาดตลอดเวลา เพราะการเป็นผู้นในตลาดจะต้องคิดสร้างสรรค์

ให้เกิดผลิตภัณฑ์ และมีการนเสนอสินค้าและบริการที่เหนือความคาดหมายให้แก่ลูกค้า ต้องคิดว่าจะทอย่างไรให้เป็นผู้นตลาดที่ทำเพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าได้มากที่สุด

4. ความภักดีและคุณค่าของลูกค้า (customer loyalty & lifelong value) เป็นสิ่งที่ต้องทุ่มเทเอาใจใส่เพื่อดูแลลูกค้า ตามหลักของOne-to-One จะแบ่งการบริหารจัดการลูกค้าเป็น 3 ประเภท คือ กลุ่มที่ 1 คือ ลูกค้าที่มีคุณค่ามาก เป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องเอาใจใส่ที่สุด กลุ่มที่ 2คือ ลูกค้าที่มีอัตราการเติบโตสูง แต่มีการซื้อผลิตภัณฑ์ในวงเงินที่ไม่สูง ต้องพยายามดึงความสนใจลูกค้าให้มียอดซื้อที่สูงขึ้น และ กลุ่มที่ 3 คือลูกค้าที่กลังลดการซื้อสินค้าลง เป็นกลุ่มที่ดูเหมือนจะไม่มีค่า แต่ห้าม

ละเลยและต้องนมาวิเคราะห์ว่าทไม เพราะอะไรจึงซื้อสินค้ากับเราน้อย ต้องทอย่างไรถึงจะทให้เขาเปลี่ยนใจกลับมาเป็นลูกค้ากลุ่มที่1 และ 2 ได้ต่อไป

5. มุ่งที่ตัวบุคคล (focus on the individual) มองที่บุคลากรในองค์การ เน้นถึงการให้อนาจและส่งเสริมการใช้อนาจตัดสินใจการแสดงความชื่นชมและการให้รางวัล การฝึกอบรมและพัฒนา การวางแผนอนาคตในหน้าที่การงาน การสร้างตัวตายตัวแทน การให้เงินรางวัลตามผลงาน
 
6. การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-marketing) คือ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเป็นสื่อกลางไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ต ผสมผสานกับวิธีทางการตลาดอย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เป็นส่วนผสมแนวคิดทางการตลาด และเทคนิคทางด้านการออกแบบ การพัฒนา การโฆษณา และการขาย 

 
(เครดิตอ้างอิง :  บทความ กลยุทธ์การตลาด ตอนที่ 2 One to One Marketing การตลาดยุคสนองตอบลูกค้า, พัชรนันท์ กลั่นแก้ว  ที่ปรึกษา Lead Assesement Consultant,Co.,Ltd. , Marketing & Branding for Quality Vol.17 No.160  February 2011)

 

2. App Economy

จากผลการวิจัยของ ComScore ในปี 2015 พบว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ในสหรัฐฯ โมบายล์แอพ เติบโตกว่า 90% ขณะที่ผู้บริโภคใช้เวลากับโมบายล์แอพเพิ่มขึ้นกว่า 77 % โดยแบรนด์ระดับโลก เช่น กาแฟ Starbucks หรือห้างสรรพสินค้า WalMart ก็พร้อมใจกันหันมาใช้แอพ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้า หรือรับคูปอง โปรโมชั่นต่างๆ โดยแต่ละแบรนด์ มุ่งให้ลูกค้าเดิมใช้แอพของตน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน นับว่าได้แอพ กลายเป็นมาส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ที่แบรนด์มีต่อลูกค้า ในระบบเศรษฐกิจยุคดิจิทัล และเมื่อความต้องการใช้แอพเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าข้อจำกัดต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายที่สูง ระยะเวลาการพัฒนาที่ยาวนาน ก็จะค่อยๆหมดไป

=> คำแนะนำ คนทำธุรกิจ

สำหรับธุรกิจที่มีฐานลูกค้าเดิม โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีก การศึกษา ท่องเที่ยว และสถานพยาบาล นอกจากจะทำการตลาดด้วยอีเมลแล้ว ควรมองหาโมบายล์แอพ ที่มีราคาไม่สูง พัฒนาได้ไว ไม่ต้องรอนาน เน้นฟังก์ชั่นพื้นฐานครบไว้ก่อน เพื่อให้สามารถแจ้งข่าวสาร ส่งโปรโมชั่น ได้อย่างรวดเร็ว หรือให้โมบายล์แอพ เป็นอีกช่องทางในการพูดคุย ระหว่างลูกค้ากับธุรกิจได้ เพื่อการสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืน อันจะนำมาซึ่งผลกำไรจากลูกค้าเดิมอย่างต่อเนื่อง

3. Virtual Reality

เมื่อผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับ Wearable Device ซึ่งเป็นเทรนด์ในปีที่ผ่านมา ปีหน้า ผู้ใช้งานจะกลายเป็นศูนย์กลางของประสบการณ์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ผสมผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่สร้างบรรยากาศของความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) เช่น ฟังก์ชั่น VDO 360 degree ของ Facebook ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน รับชมวีดีโอคอนเทนต์ ที่มีการแสดงผลสอดคล้อง กับการเคลื่อนไหวอุปกรณ์ ทำให้มองเห็นวีดีโอคอนเทนต์นั้นๆได้จากทุกทิศ ทุกทาง ทุกครั้งที่เคลื่อนไหวสมาร์ทโฟน ครบทั้ง 360 องศา หรืออุปกรณ์สวมใส่ของแบรนด์ Oculus ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ความบันเทิงเสมือนจริง จากการเล่นเกม เป็นต้น จากเทรนด์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นด้วยว่า Contetn ประเภทวีดีโอ บนอุปกรณ์ที่พกพาได้ จะเข้ามามีบทบาทในการทำการตลาดดิจิทัลเพิ่มขึ้น ด้วยความสามารถในการสร้างประสบการณ์ที่เหนือกว่า Content ประเภทภาพนิ่งหรือตัวอักษร 

=> คำแนะนำ คนทำธุรกิจ

ธุรกิจอาจสร้างสรรค์ VDO Content ที่ถ่ายทำเองได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนสูง เช่น ถ่ายทำลูกค้าที่เคยใช้สินค้า ให้มาบอกเล่าความประทับใจ จากการใช้สินค้า หรือการสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่แตกต่าง สร้างสรรค์ แล้วนำไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญ วีดีโอคอนเทนต์นั้น ต้องแสดงผลบนโมบายล์ แท็บเลต หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ อย่างเหมาะสม
 
กระแสเกม Pokemon Go ที่ทำให้คลั่งกันไปทั่วโลก ซึ่งกำลังถูกลิ้งค์เข้าสู่ธุรกิจ ร้านค้าที่ขอเป็นพันธมิตรร่วม win-win ทั้งสองฝ่าย 
 

4. Fin Tech

ผลจากการเติบโตของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SME และกลุ่ม Starts Up ที่ใช้ดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทางธุรกิจ ทำให้ภาคการเงิน การธนาคารนำ Fin Tech หรือ Financial Technology เทคโนโลยีทางการเงิน มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ในการทำธุรกรรม ที่สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ทุกเวลา เช่น Mobile Payment โมบายล์แอพของธานคารต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถฝาก ถอน โอน ได้ง่ายๆสบายๆผ่านบนสมาร์ตโฟน หรือ Alipay บริการแบบ Cross-Border E-Payment Service ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อสินค้าในอีมาร์เกตเพลส Alibaba สามารถทำธุรกรรม หรือวิเคราะห์สินเชื่อได้ นอกจากนี้ ยังมีแอพใหม่ๆ ที่ช่วยเรื่องการทำบัญชี ขณะเดียวกันแอพที่ช่วยในการระดมทุนสาธารณะ ผ่านทางออนไลน์ (Crowd-Funding) อย่าง Indiegogo และ kickstarter ก็ได้รับความนิยมต่อเนื่องจากนักลงทุน ที่มองหาความเป็นไปได้ จากผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ใหม่ๆเช่นกัน

=> คำแนะนำ คนทำธุรกิจ

ผู้ประกอบการ ที่ต้องการสร้างยอดขาย ต้องลดขั้นตอนทางธุรกรรม ด้วยการทำให้ลูกค้า ชำระเงินได้ง่ายและเร็วที่สุด ผ่าน mobile payment รูปแบบต่างๆ อีกทั้งหน้าเว็บไซต์ในส่วนของการชำระเงิน ก็ต้องแสดงผลบนแบบ Responsive ดูเหมาะสมทุกหน้าจอ มีเนื้อหาเข้าใจง่าย เงื่อนไข ข้อจำกัดน้อย และให้หลักฐานทางการเงิน ที่ครบถ้วนสมบูรณ์

5. Local Advertising

การทำโฆษณาออนไลน์สำหรับธุรกิจที่มีหน้าร้าน จะสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงได้แม่นยำขึ้น เพื่อส่งเสริมยอดขาย และจูงใจให้คนเข้ามาใช้บริการที่หน้าร้าน อย่างเช่นที่ Facebook เปิดตัวฟังก์ชั่น Local Awareness ที่ช่วยส่งข่าวสารในรูปแบบการโฆษณา Facebook ให้กับผู้ที่อยู่ในละแวกเดียวกับร้านค้านั้นๆ เข้ามาซื้อสินค้า รับสิทธิพิเศษ โปรโมชั่น หรือร่วมกิจกรรมทางการตลาดที่หน้าร้าน หรือฟังก์ชั่น Location Extension ในการทำโฆษณา Google AdWords ที่สามารถกำหนให้แสดงผลการเสิร์ช ตามพื้นที่ๆกลุ่มเป้าหมาย อยู่ใกล้กับร้านค้าที่ทำโฆษณาออนไลน์นั้นๆ

=> คำแนะนำ คนทำธุรกิจ

ร้านค้าที่มีหน้าร้าน ควรเพิ่มโอกาส สร้างยอดขายที่หน้าร้าน ด้วยการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในการทำโฆษณาทั้ง Facebook หรือ Google AdWords ด้วยฟังก์ชั่นดังกล่าว เพื่อเป็นการจูงใจลูกค้า ที่อยู่ใกล้ให้เข้ามาที่หน้าร้าน และเป็นการประหยัดต้นทุนการสื่อสาร ด้วยสื่อดั้งเดิมอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ ใบปลิวโฆษณา ที่ไม่มีประสิทธิภาพในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ที่มีศักยภาพในการซื้อ

อาจมอบโปรโมชั่น หรือสิทธิพิเศษ เพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง สร้างแรงจูงใจให้มาซื้อสินค้าและบริการที่หน้าร้านไวขึ้น อาจใช้กับโฆษณาประเภท Re-Targeting ที่ช่วยกระตุ้นย้ำเตือนกลุ่มเป้าหมายให้ตัดสินใจได้ไวขึ้น

6. Mobile to Multi-Platform

คอมพิวเตอร์ อาจเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคย ในฐานะอุปกรณ์ที่เชื่อมเราเข้าสู่โลกออนไลน์ แต่ในยุคดิจิทัล โมบายล์อย่างสมาร์ตโฟน หรืออุปกรณ์ประเภทแท็บเลต ที่สะดวกต่อการพกพา กลายเป็นอุปกรณ์อันดับ 1 ที่คนทั่วโลกนิยมใช้ในการท่องโลกดิจิทัล ฉะนั้น 2016 ไม่ใช่ปีที่ผู้ประกอบการจะเริ่มพูดว่า ธุรกิจเราควรมีตัวตนออนไลน์ (Online Presence) อีกต่อไป แต่เป็นปีที่ต้องทำให้ ธุรกิจมีตัวตนบนโมบายล์ (Mobile Presence) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงเราได้ง่ายที่สุด ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนั้นแล้ว การใช้แพลตฟอร์มที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ Google Facebook Instagram ก็จะยิ่งช่วยให้เรามีโอกาสพบกลุ่มเป้าหมาย ในแพลตฟอร์มอื่นๆได้มากขึ้น

=> คำแนะนำ คนทำธุรกิจ

อาจใช้โมบายล์เว็บ ที่มี ลักษณะ Responsive สามารถแสดงผลภาพได้เหมาะสมกับทุกขนาดหน้าจอ ในการสร้างตัวตนบนโมบายล์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายค้นพบคุณได้ง่ายขึ้น

การสร้างตัวตน หรือทำโฆษณาออนไลน์ บนแพลตฟอร์มใดๆเพิ่มเติม ควรพิจารณา ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย และหมวดธุรกิจที่ทำ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้งานในแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองต้นทุนในการผลิตคอนเทนต์ หรืองบประมาณการทำโฆษณา ตัวอย่างเช่น สินค้าอุตสาหกรรม จำพวกอะไหล่รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ เมื่อเกิดความต้องการสินค้า จะใช้วิธีเสิร์ชหาบน Google ฉะนั้น การขยายตัวตนทางธุรกิจ ไปทำโฆษณาบน Facebook จึงอาจไม่เกิดประสิทธิภาพในการสร้างยอดขาย เทียบเท่ากับการสร้างตัวตนบนโมบายล์เว็บ และทำโฆษณาด้วย Google AdWords
(เครดิตอ้างอิง : บทความ 6 เทรนด์การตลาดดิจิทัล กับคำแนะนำคนทำธุรกิจ , Suppakorn Chudabala, Ready Planet Blog , December 22, 2015)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น