เอเอฟพี
- ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุรถบรรทุกพุ่งชนกลางงานวันชาติฝรั่งเศสที่เมืองนีซ (Nice) เพิ่มเป็นอย่างน้อย 80 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก
โดยล่าสุดตำรวจพบเอกสารที่ระบุชื่อชายชาวฝรั่งเศสเชื้อสายตูนิเซีย วัย 31 ปี อยู่ภายในรถคันก่อเหตุ ขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสออกมายืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าข่าย
“ก่อการร้าย” และจะขยายเวลาบังคับใช้ภาวะฉุกเฉินต่อไปอีก
3 เดือน
คนขับรถบรรทุกรายนี้ถูกยิงเสียชีวิต
หลังนำรถขับตะลุยฝ่าฝูงชนที่มาร่วมฉลองวันชาติบนเส้นทางเลียบชายหาด โพรเมอนาด
เดซ็องเกลส์ (Promenade
des Anglais) เป็นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร
จนทำให้ผู้คนหลายร้อยต้องวิ่งหนีตายอลหม่าน
ส่วนผู้เคราะห์ร้ายที่หนีไม่ทันก็ต้องกลายเป็นศพเกลื่อนถนน “ชายคนหนึ่งขับรถบรรทุกพุ่งเข้าใส่ฝูงชน
แต่เขาถูกตำรวจสังหารแล้ว” ปิแอร์-อ็องรี บร็องเดต์
โฆษกกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสแถลง ตำรวจพบเอกสารระบุชื่อชายชาวฝรั่งเศสเชื้อสายตูนิเซีย
อายุ 31 ปี อยู่ภายในรถบรรทุกคันก่อเหตุ รวมถึง “ปืน” และ “อาวุธที่ร้ายแรงยิ่งกว่านั้น”
อีกจำนวนหนึ่ง เหตุนองเลือดครั้งนี้เกิดขึ้นในวันบาสตีย์ (Bastille Day) ซึ่งเป็นวันที่ชาวฝรั่งเศสจะร่วมกันเฉลิมฉลองความเป็นสาธารณรัฐ
ตลอดจนคำขวัญ “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” ที่พวกเขาเชิดชู เหตุโจมตีที่เมืองนีซเกิดขึ้นเพียง 1 วัน
หลังจากที่ฝรั่งเศสได้จัดพิธีสวนสนามกองทัพอย่างยิ่งใหญ่บนถนนฌองส์-เอลิเซ
ในกรุงปารีส สื่อมวลชนแพร่ภาพด้านหน้ารถบรรทุกที่ถูกกระสุนปืนตำรวจยิงใส่จนพรุน
และรถอยู่ในสภาพยางแตก เสียหายอย่างหนัก โรเบิร์ต ฮัลโลเวย์
ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีซึ่งเห็นเหตุการณ์ขณะที่รถบรรทุกตีนผีพุ่งเข้าใส่ฝูงชนด้วยความเร็วสูง
เล่าสถานการณ์ในเวลานั้นว่าเป็น “ความโกลาหลสุดขีด” “เราเห็นผู้คนมากมายถูกรถชน
มีเศษสิ่งของกระจัดกระจาย และผมเองก็ต้องพยายามป้องกันใบหน้าจากเศษวัสดุเหล่านั้น” แบร์นาร์ด คาเซเนิร์ฟ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศส
แถลงยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดไม่ต่ำกว่า 80 ราย
และมีผู้บาดเจ็บอีกหลายคน ในจำนวนนี้มีอยู่ 18 คนที่อาการอยู่ในขั้นวิกฤต
ประธานาธิบดีบารัค
โอบามา แห่งสหรัฐฯ ได้แถลงประณาม “การก่อการร้ายที่เหี้ยมโหดที่สุด”
แม้จะยังไม่มีกลุ่มใดออกมาแสดงความรับผิดชอบก็ตาม ทั้งนี้
หากได้รับการยืนยันว่าเป็นการก่อการร้าย
โศกนาฏกรรมที่เมืองนีซจะถือเป็นการโจมตีฝรั่งเศสครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาไม่ถึง
18 เดือน และพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้ายจะต้องเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ “เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบว่าคนขับรถบรรทุกรายนี้กระทำการคนเดียว
หรือมีผู้ร่วมสมคบคิดที่อาจจะหลบหนีไปแล้ว” โฆษกกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสแถลง ประธานาธิบดีฟรังซัวส์
ออลลองด์ แห่งฝรั่งเศส ได้ออกมาให้กำลังใจและแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับชาวเมืองนีซ
พร้อมระบุด้วยว่า เหตุนองเลือดที่เกิดขึ้นเป็น “การก่อการร้าย” อย่างชัดเจน
และรัฐบาลจะขยายเวลาบังคับใช้ “ภาวะฉุกเฉิน” ที่ประกาศหลังเกิดเหตุวินาศกรรมปารีสเมื่อปีที่แล้ว ต่อไปอีก 3 เดือน “ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะของการก่อการร้าย
และเป็นการใช้ความรุนแรงอย่างสุดโต่งอีกครั้งหนึ่ง” ออลลองด์
แถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติเมื่อเวลา 04.00 น. (09.00
น.วันนี้ตามเวลาในไทย) หลังเหตุโจมตีผ่านไปราว 5-6 ชั่วโมง ก่อนหน้านี้
8 เดือน นักรบของกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม (ไอเอส)
ก็ได้ก่อเหตุโจมตีพร้อมกันหลายจุดที่กรุงปารีส จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 130
คน
และยังบั่นทอนภาพลักษณ์ของปารีสในฐานะเมืองซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศภาวะฉุกเฉินตั้งแต่เกิดเหตุวินาศกรรมปารีสเมื่อวันที่ 13
พ.ย.ปีที่แล้ว และก่อนหน้านั้นก็มีผู้เสียชีวิตไปอีก 17 รายจากเหตุกราดยิงสำนักงานนิตยสารเสียดสี “ชาร์ลี
เอ็บโด” และซุปเปอร์มาร์เก็ตยิวเมื่อช่วงต้นปี กลุ่มติดอาวุธไอเอสได้ประกาศย้ำหลายครั้งว่าฝรั่งเศสคือ
“เป้าหมายหลัก” ของพวกเขา
เนื่องจากแค้นใจที่รัฐบาลปารีสใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อต้านนักรบไอเอสทั้งในอิรักและซีเรีย นักรบญิฮyดจากฝรั่งเศสหลายร้อยคนได้เดินทางไปต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับไอเอสในตะวันออกกลาง หาดทรายกรวดและน้ำทะเลสีฟ้าใสสะอาดทำให้เมืองนีซกลายเป็นเมืองตากอากาศชื่อดังของฝรั่งเศสที่บรรดามหาเศรษฐี
และนักท่องเที่ยวผู้ชื่นชอบสายลมและแสงแดด นิยมเดินทางมาพักผ่อน หลังเกิดเหตุนองเลือดขึ้น
ถนนโพรเมดนาด เดซ็องเกลส์ ถูกกันพื้นที่ไม่ให้ประชาชนเข้า
โดยมีเพียงตำรวจและรถพยาบาลที่เข้าไปได้ ขณะที่ทางการจังหวัด อาลป์ส-มารีตีมส์
ขอร้องให้ประชาชนอยู่ในแต่อาคารบ้านเรือน
รอยเตอร์
- “เทเรซา
เมย์” ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษอย่างเป็นทางการในวันพุธ
(13 ก.ค.) หลังเข้าเฝ้าฯ ควีนเอลิซาเบธ ให้คำมั่นจะทุ่มเทความพยายามเพื่ออนาคตใหม่ที่ห้าวหาญในโลกใบนี้
ขณะที่เธอเริ่มภารกิจสำคัญในการนำพาประเทศออกจากสหภาพยุโรป
ในนั้นคือการตั้งตำแหน่งรัฐมนตรีใหม่ เพื่อดำเนินการเจรจา “เบร็กซิต”
โดยเฉพาะเมย์ วัย 59
ปี เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการหลังเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จากนั้นก็ขับรถมุ่งตรงสู่บ้านหลังใหม่
บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิ่ง ที่ว่างลงไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้
ตามหลังการลาออกของนายเดวิด คาเมรอน
“เราจะลุกขึ้นสู้ความท้าทาย ในขณะที่เราออกจากสหภาพยุโรป
เราจะหล่อหลอมบทบาททางบวกใหม่ที่ห้าวหาญสำหรับตัวเราเองในโลกใบนี้
และเราจะสร้างอังกฤษให้เป็นประเทศที่ไม่ได้ทำเพื่อผู้มีสิทธิพิเศษจำนวนเล็กน้อย
แต่เพื่อพวกเราทุกคน” เธอกล่าว นายคาเมรอน
ลาออกจากตำหน่งหลังจากชาวอังกฤษปฏิเสธคำเตือนของเขาและโหวตแยกตัวจากอียูในการลงประชามติเมื่อเดือนที่แล้ว
กัดเซาะความพยายามหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวของยุโรปและก่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทั่วกลุ่ม
28 ชาติสมาชิก
เมย์ ต้องพยายามจำกัดความเสียหายทางการค้าและการลงทุนของอังกกฤษ
ในขณะที่ต้องเจรจาด้านความสัมพันธ์ของประเทศกับพันธมิตร 27 ชาติอียู
นอกจากนี้เธอยังต้องพยายามประสานรอยร้าวภายในพรรคคอมเซอร์เวทีฟและความแตกแยกต่างๆนานาภายในประเทศที่พบเห็นจากศึกประชามติ นายกรัฐมนตรีรายใหม่ยอมรับว่าชาวอังกฤษคงต้องเผชิญปัญหาต่างๆ นานา
แต่บอกว่า “รัฐบาลที่ดิฉันเป็นผู้นำ
จะขับเคลื่อนไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์แก่อกิสิทธิชนบางส่วน แต่เพื่อพวกคุณทุกคน
เราจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อให้พวกคุณได้ควบคุมชีวิตตัวเอง” สหรัฐฯ แสดงความยินดีกับเมย์ และแสดงความมั่นใจในความสามารถของเธอในการกุมบังเหียนอังกฤษผ่านพ้นการเจรจาออกจากสหภาพยุโรป
“จากคำพูดต่อสาธารณะที่เราได้ยินจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่
เธอมีความตั้งใจไล่ตามเส้นทางที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของประธานาธิบดีโอบามา”
จอช เออร์เนสต์ โฆษกทำเนียบขาวระบุ ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการพบเป็นภาพเมย์
ถอนสายบัวถวายความเคารพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่
13 ของอังกฤษ และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศ ต่อจากนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ เหล่าผู้นำอียู
ต้องการก้าวไปข้างหน้าตามหลังผลโหวตเบร็กซิตอันน่าช็อก ด้วยการเร่งรัดให้ เมย์
เริ่มกระบวนการถอนตัวอย่างเป็นทางการเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อช่วยคลายความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม
เธอบอกว่าจะไม่ดำเนินการแยกตัวจากอียูก่อนสิ้นปี
โดยขอเวลาอังกฤษร่างยุทธศาสตร์เจรจาถอนตัวก่อน
ทั้งนี้แม้เธออยู่ฝ่ายสนับสนุนอยู่ในอียูต่อ แต่ เมย์ ย้ำว่าผลโหวต
"แยกตัวก็คือแยกตัว" และจะไม่มีความพยายามจัดลงประชามติใหม่อีก ประชามติอันสุดช็อกเป็นผลสะท้อนบางส่วนของความไม่พอใจต่อกฎของอียูเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเสรีที่เป็นต้นตอของวิกฤตผู้อพยพ
ประเด็นที่เป็นจุดอ่อนทางการเมืองของ เมย์
ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยมาตลอด 6 ปีหลัง ทว่าเหล่าผู้นำอียูยืนยันชัดเจว่าการเคลื่อนไหวเสรีจะเป็นหลักการพื้นฐานในการเข้าถึงตลาดเดี่ยวเสรีของทางกลุ่ม
จุดยืนที่จะก่อความซับซ้อนแก่เมย์ ในภารกิจเจรจาเงื่อนไขทางการค้าใหม่ นายเดวิด คาเมรอน
กล่าวกับรัฐสภาในการปรากฏตัวของเขาครั้งสุดท้ายก่อนลาออกจากตำแหน่ง ระบุว่า “คำแนะนำถึงผู้สานต่อตำแหน่งของผม
ผู้ที่เป็นนักเจรจาชั้นยอด คือเราควรพยายามใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป
เนื่องจากเราจะได้ประโยชน์ด้านการค้า ความร่วมมือและความมั่นคง” ระหว่างปรากฏตัวที่ถนนดาวนิ่งพร้อมกับนางซาแมนธา ภรรยาและลูกๆในเวลาต่อมา
นายคาเมรอน กล่าวว่า “มันไม่ใช่เส้นทางที่ง่ายดาย
และแน่นอนว่าเราไม่อาจตัดสินใจได้ถูกต้องทั้งหมด แต่ผมเชื่อว่าในวันนี้
ประเทศของเรามีความเข้มแข็งกว่าเดิมมาก”
ผู้นำใหม่ของอังกฤษได้รับคาดหมายว่าจะเริ่มตั้งคณะรัฐมนตรี
ในความเคลื่อนไหวสร้างสมดุลทางการเมืองอันซับซ้อน
ซึ่งเธอจะพยายามสร้างความพึงพอใจแก่ฝ่ายต่อต้านภายในพรรคของเธอเอง เบื้องต้นเธอบอกว่ามีแผนตั้งกระทรวงใหม่สำหรับเป็นผู้นำกระบวนการแยกตัวจากอียู
ซึ่งรัฐมนตรีจะเป็นคนที่มาจากฝ่ายรณรงค์ถอนตัว และในเวลาต่อมา เมย์
แถลงว่าผู้ที่จะเข้ามานั่งเก้าอี้รัฐมนตรี “เบร็กซิต”
ก็คือนายเดวิด เดวิส อดีตรัฐมนตรียุโรป
ซึ่งจะมีหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะเจรจาแยกตัวจากอียู “สมเด็จพระราชินี
ทรงเห็นชอบการแต่งตั้ง ส.ส.เดวิด ดวิส เป็นรัฐมนตรีเพื่อการถอนตัวจากสหภาพยุโรป”
ทำเนียบนายกรัฐมนตรีระบุในถ้อยแถลงรอยเตอร์/เอเอฟพี - ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุรถไฟโดยสาร 2 ขบวนพุ่งประสานงา บริเวณทางภาคใต้ของอิตาลีในวันอังคาร(12ก.ค.) เพิ่มเป็นอย่างน้อย 20 ศพ และบาดเจ็บอีกหลายสิบคน ขณะที่กระทรวงคมนาคมส่งคณะสืบสวนเข้าตรวจสอบโศกนาฏกรรมครั้งนี้แล้ว แรงกระแทกส่งผลให้ตู้โดยสารหลายโบกี้ยับยู่ยี่และเศษซากกระเด็นเข้าไปยังพุ่มไม้ข้างทาง ที่ขนาบข้างรางรถไฟในแถบชนบทระหว่างเมืองคอราโตและอันดรีอา "เคราะห์ร้ายที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 20 ศพ" จูเซปเป คอร์ราโด รองห้วหน้าเขตท้องถิ่นกล่าว พร้อมร้องขอผู้ประสงค์บริจาคเลือดให้ไปตามโรงพยาบาลท้องถิ่นต่างๆ ขณะที่สื่อมวลชนอิตาลีรายงานว่ามีผู้โดยสาร 34 คนถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และในนั้น 18 รายอาการสาหัส ตัวเลขนี้สอดคล้องกับข้อมูลของ วิโต มอนตานาโร ผู้อำนวยการทั่วไปขององค์การสาธารณสุขบารี ที่ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 20 คนและบาดเจ็บ 35 ราย อุบัติเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นตอนเวลา 11.30น.(ตรงกับเมืองไทย 16.30น.) ขณะที่หน่วยดับเพลิงต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อน งัดแงะไปตามซากหักพังและตู้โดยสารที่ยับยู่ยี่ในความพยายามค้นหาเหยื่อคนอื่นๆ "ปฏิบัติการกู้ภัยยุ่งยากซับซ้อนเพราะมันเกิดขึ้นกลางพื้นที่ชนบท" ลูคา คารี โฆษกหน่วยดับเพลิงกล่าว ยังไม่พบเงื่อนงำว่าอะไรเป็นต้นตอที่ทำให้รถไฟ 2 ขบวนแล่นเข้าหากันบนรางเดียวกัน และกระทรวงคมนาคมเผยว่าได้ส่งเจ้าหน้าที่สืบสวน 2 คนไปยังแคว้นปูลยา เพื่อตรวจสอบอุบัติเหตุครั้งนี้แล้ว "เราจะไม่หยุดจนกว่าเราจะสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน" มันเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลีกล่าวกับผู้สื่อข่าว โดยผู้นำรายนี้ได้ตัดลดโปรแกรมเยือนเมืองมิลาน ทางภาคใต้ของอิตาลี เพื่อกลับมายังกรุงโรม และมีกำหนดลงพื้นที่แคว้นปูลยาในวันเดียวกันนี้ รถไฟแต่ละขบวนบรรทุกตู้โดยสาร 4 โบกี้ ขณะที่ภาพถ่ายของหน่วยดับเพลิงพบเห็นตู้โดยสาร 3 โบกี้ถูกกระแทกแยกเป็นส่วนๆ บ่งชี้ว่ารถไฟอย่างน้อย 1 ขบวนกำลังแล่นด้วยความเร็วสูง "มันดูราวกับเครื่องบินตกเลย" มัสซิโม มัซซิลลี นายกเทศมนตรีเมืองคอราโตกล่าว เส้นทางรถไฟสายนี้บริหารงานโดย เฟอร์โรแทรมเวียเรีย บริษัทการรถไฟระดับแคว้น อย่างไรก็ตามไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามีผู้โดยสารอยู่บนรถไฟทั้งสองขบวนมากน้อยแค่ไหนในตอนที่มันชนประสานงากัน ภาพข่าวทางสถานีโทรทัศน์พบเห็นหน่วยฉุกเฉินกำลังเร่งมือช่วยผู้โดยสารออกจากโบกี้รถไฟที่พังยับและกระเด็นตกรางเดี่ยวแถวๆเมืองอันดรีอา ใกล้ๆกับบารี อุบัติเหตุทางรถไฟครั้งใหญ่หนสุดท้ายของอิตาลี เกิดขึ้นเมื่อปี 2009 โดยรถไฟบรรทุกสินค้าเกิดตกรางในวิอาเรจจิโอ แถบตอนกลางของประเทศ ก่อนเกิดไฟลุกไหม้และทำให้ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ติดกับรางเสียชีวิตมากกว่า 30 ศพ
รอยเตอร์/เอเจนซีส์ -
ศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในกรุงเฮกวันนี้ (12 ก.ค.)
ประกาศคำตัดสินคดีว่าจีนไม่สามารถอ้างสิทธิตามประวัติศาสตร์ว่าเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ
ภายในน่านน้ำแทบทั้งหมดของทะเลจีนใต้
นอกจากนั้นปักกิ่งยังได้ละเมิดสิทธิอธิปไตยของฟิลิปปินส์จากความประพฤติการปฏิบัติต่างๆ
ในบริเวณดังกล่าว
ทางด้านปักกิ่งได้ออกคำแถลงตอบโต้ในทันทีว่าไม่ยอมรับผลการตัดสินและไม่ยอมรับว่าศาลแห่งนี้มีอำนาจวินิจฉัย
ขณะที่มะนิลาเรียกร้องให้ทุกๆ ฝ่ายยับยั้งชั่งใจและมีสติรอบคอบ จีนซึ่งคว่ำบาตรไม่ให้ความร่วมมือใดๆ กับการพิจารณาไต่สวนคดีนี้ใน “ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร” ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเฮก,
เนเธอร์แลนด์ ได้ประกาศอีกครั้งว่าไม่สนใจกับคำตัดสินนี้
รวมทั้งบอกด้วยว่ากองทัพของตนจะพิทักษ์ปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ทางทะเลของตนอย่างแข็งขัน
เพียงไม่น่านหลังจากมีการเผยแพร่คำตัดสิน สำนักข่าวซินหวาของทางการจีน
ประกาศว่าเครื่องบินพลเรือนของจีนลำหนึ่งประสบความสำเร็จในการทดสอบความถูกต้องได้มาตรฐานของสนามบินแห่งใหม่
2 แห่งในหมู่เกาะสแปรตลีย์
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน่านน้ำพิพาทในทะเลจีนใต้นี้ นอกจากนั้น กระทรวงกลาโหมจีนก็ประกาศว่า
เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีลำหนึ่งได้ถูกนำเข้าประจำการอย่างเป็นทางการแล้ว ณ
ฐานทัพเรือบนเกาะไห่หนาน (ไหหลำ) ซึ่งรับผิดชอบดูแลอาณาเขตทะเลจีนใต้ ทางด้าน เอียน สตอรีย์
แห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ไอเซียส ยูซอฟ อิสฮัค อินสติติวท์
ของสิงคโปร์ ให้ความเห็นว่า
ผลการตัดสินคราวนี้ถือเป็นการกระหน่ำตีในทางกฎหมายที่สร้างความเสียหายยับเยินให้แก่ข้ออ้างความชอบธรรมของจีนในกรรมสิทธิ์ต่างๆ
ในทะเลจีนใต้ เขาคาดหมายว่าจีนจะต้องตอบโต้ด้วยความโกรธเกรี้ยว โดยที่แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องมีการแสดงความเกรี้ยวกราดทางวาจา
แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีการปฏิบัติการในทะเลอย่างแข็งกร้าวมากขึ้นอีกด้วย จีนนั้นอ้างกรรมสิทธิเหนือน่านน้ำแทบทั้งหมดของทะเลจีนใต้
โดยที่ชาติเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย, บรูไน, รวมทั้งไต้หวัน
ก็อ้างสิทธิอยู่บางส่วนเช่นเดียวกัน
ในการพิจารณาคำฟ้องรวม 15 ประเด็นของฝ่ายฟิลิปปินส์
คณะผู้พิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งนี้วินิจฉัยว่า
การที่จีนอ้างสิทธิต่างๆ ตามประวัติศาสตร์เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของทรัพยากรต่างๆ
ภายในอาณาบริเวณที่เรียกกันว่า แนวแผนที่เส้นประ 9 เส้น
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ราว 90% ของทะเลจีนใต้นั้น
เป็นเรื่องที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆ รองรับเลย คำตัดสินบอกอีกว่า
จีนได้แทรกแซงขัดขวางสิทธิในการทำประมงตามประเพณีที่เคยเป็นมาของฟิลิปปินส์
ในเขตแนวปะการังสคาร์โบโร โชล
หนึ่งในแนวปะการังและโขดหินหลายร้อยแห่งซึ่งตั้งกระจัดกระจายอยู่ในทะเลแห่งนี้
รวมทั้งยังล่วงละเมิดสิทธิอธิปไตยของฟิลิปปินส์
ด้วยการเข้าไปสำรวจขุดค้นหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในบริเวณใกล้ๆ รีด แบงก์
ซึ่งก็เป็นแผ่นดินที่โผล่พ้นพื้นน้ำอีกแห่งหนึ่งในทะเลจีนใต้ ไม่เพียงเท่านั้น
คำตัดสินยังวินิจฉัยว่าไม่มีแนวปะการังหรือแผ่นดินว่างเปล่าแห่งใดเลยในหมู่เกาะสแปรตลีย์ซึ่งจีนควบคุมอยู่
สามารถนิยามได้ว่าเป็น “เกาะ” ซึ่งจะทำให้ได้พื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะ
200 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ตามที่ฝ่ายจีนกล่าวอ้าง คำตัดสินระบุด้วยว่า
จีนยังได้สร้างความเสียหายอย่างถาวรให้แก่ระบบนิเวศของแนวปะการังในหมู่เกาะสแปรตลีย์
จากการถมทะเลสร้างเกาะเทียมขึ้นมาหลายแห่ง
ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศจีนได้ปฏิเสธไม่ยอมรับคำตัดสินคราวนี้
โดยบอกว่าประชาชนของตนมีประวัติศาสตร์มากกว่า 2,000 ปีอยู่ในทะเลจีนใต้
และเกาะต่างๆ ของตนก็มีสิทธิที่จะอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะ อีกทั้งแดนมังกรได้ประกาศต่อโลกให้ทราบถึงแผนที่เส้นประของตนมาตั้งแต่ปี
1948 แล้ว “อธิปไตยทางดินแดนและสิทธิตลอดจนผลประโยชน์ทางทะเลต่างๆ ของจีนในทะเลจีนใต้
ไม่ว่าในสถานการณ์เช่นใดก็จะไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากคำตัดสินเหล่านี้
จีนนั้นคัดค้านและจะไม่มีวันยอมรับการกล่าวอ้างหรือการกระทำใดๆ
บนพื้นฐานของคำตัดสินเหล่านี้” อย่างไรก็ตาม
กระทรวงยังคงกล่าวย้ำด้วยว่า
จีนเคารพและยึดมั่นปฏิบัติตามในเรื่องเสรีภาพในการเดินเรือและในการบินผ่านทะเลจีนใต้
อีกทั้งจีนยังคงพร้อมที่จะแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสันติ
โดยผ่านการหารือกับรัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรง รัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้
ของจีน ก็ได้ออกมากล่าวว่า คดีนี้เป็นละครตลกมาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ
และนำเอาข้อพิพาทเข้าไปอยู่ในดินแดนอันตรายซึ่งความตึงเครียดและการเผชิญหน้ากำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ แต่ หวัง
ซึ่งแสดงความคิดเห็นคราวนี้โดยสื่อของรัฐนำออกมาเผยแพร่
ก็มีน้ำเสียงในทางรอมชอมมากขึ้นเช่นกัน
โดยกล่าวว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำสิ่งต่างๆ
กลับคืนเข้าสู่เส้นทางเดินอันถูกต้อง พร้อมกับชี้ว่ารัฐบาลใหม่ของฟิลิปปินส์ดูมีความจริงใจในการใช้จังหวะก้าวซึ่งสาธิตให้เห็นว่ามีความปรารถนาที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกัน
สำหรับฟิลิปปินส์ได้จัดการแถลงข่าวภายหลังทราบผลการตัดสินของศาลในกรุงเฮก
โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศ เปอร์เฟคโต ยาซาย อ่านคำแถลงที่เตรียมไว้ซึ่งระบุว่า “พวกผู้เชี่ยวชาญของเรากำลังศึกษาคำตัดสินนี้ด้วยความรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ผลการวินิจฉัยอันสำคัญของอนุญาโตตุลาการนี้สมควรที่จะได้รับ” “เราเรียกร้องให้ทุกๆ
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความยับยั้งชั่งใจและความมีสติ
ฟิลิปปินส์นั้นขอยืนยันอย่างหนักแน่นว่าให้ความเคารพคำตัดสินอันเป็นหลักหมายสำคัญคราวนี้
โดยถือเป็นคุณูปาการอย่างสำคัญให้แก่ความพยายามที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขคลี่คลายข้อพิพาทต่างๆ
ในทะเลจีนใต้”
เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - คณะผู้พิพากษา 5
คนของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์
เมื่อวันอังคาร (12 ก.ค.)
ประกาศคำตัดสินในคดีซึ่งฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนเกี่ยวกับข้อพิพาทในทะเลจีนใต้
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างมองกันว่าเป็นการวินิจฉัยที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงในทางกฎหมายต่อเหตุผลข้ออ้างกรรมสิทธิ์ของปักกิ่ง
ขณะที่เป็นผลดีต่อมะนิลา ต่อไปนี้คือประเด็นหลักๆ ในคำฟ้องของฟิลิปปินส์
และจุดสำคัญๆ ในคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร
ประเด็นหลักๆ ในคำฟ้องของฟิลิปปินส์
คำฟ้องที่รัฐบาลยื่นต่อศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่เมื่อปี 2013 นั้นมี 15 ประเด็นด้วยกัน แต่อาจสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. จีนไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องบังคับใช้สิ่งที่ปักกิ่งเรียกว่า “สิทธิตามประวัติศาสตร์” เหนือน่านน้ำต่างๆ ซึ่งอยู่เกินเลยข้อจำกัดที่นิยามเอาไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) อันเป็นสนธิสัญญาซึ่งทั้งฟิลิปปินส์และจีนต่างก็เป็นภาคีอยู่
2. แผนที่ “เส้นประ 9 เส้น” (nine dash line) ของจีน ไม่มีพื้นฐานใดๆ รองรับเลยในกฎหมายระหว่างประเทศ
3. แผ่นดินลักษณะต่างๆ ในทะเล ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จีนใช้ในการยืนยันการอ้างกรรมสิทธิ์ของตนในทะเลจีนใต้นั้น ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็น “เกาะ” (island) ตามที่จีนกล่าวอ้าง ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีศักยภาพทางกฎหมายที่จะก่อให้เกิดสิทธิ์ตามที่กล่าวอ้าง นอกจากนั้น การที่จีนทำการสร้างเกาะเทียมขึ้นมาจำนวนมากในช่วงหลังๆ นี้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวนี้ได้
ทั้งนี้ ตาม UNCLOS หากเป็นแผ่นดินที่โผล่ขึ้นมาเมื่อน้ำลง เช่น แนวปะการัง (reef) ไม่ถือว่าก่อให้เกิดสิทธิใดๆ แก่ชาติที่ครอบครอง แต่ถ้าเป็นก้อนหิน (Rock) จะสามารถอ้างน่านน้ำอาณาเขตห่างจากชายฝั่ง 12 ไมล์ทะเล และถ้าเป็นเกาะ (Island) จะสามารถอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEF) เป็นระยะห่างจากชายฝั่ง 200 ไมล์ทะเล
4. จีนละเมิด UNCLOS จากการขัดขวางไม่ให้ฟิลิปปินส์ใช้สิทธิอันถูกต้องชอบธรรมของตนในการทำประมงและในการสำรวจขุดค้นทรัพยากร
5. จีนสร้างความเสียหายให้แก่สภาพแวดล้อมอย่างชนิดไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้ ด้วยการทำลายแนวปะการัง, ใช้วิธีการทำประมงที่สร้างอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และจับสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์ในทะเลจีนใต้ จุดสำคัญในคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร
แผนที่ “เส้นประ 9 เส้น” ของจีนนั้นใช้ไม่ได้
-คณะผู้พิพากษาทั้ง 5 พบว่า ชาวประมงจีนก็เช่นเดียวกับชาวประมงอื่นๆ ในอดีต โดยได้เคยใช้สอยหาประโยชน์จากเกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆ เลยว่าในอดีตจีนได้เคยประกาศใช้สิทธิควบคุมแต่เพียงผู้เดียวเหนือน่านน้ำเหล่านั้นหรือทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ในเขตน่านน้ำเหล่านั้น
“คณะผู้พิพากษาสรุปว่าจีนไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆ เลยที่จะอ้างสิทธิตามประวัติศาสตร์ต่อทรัพยากรต่างๆ ภายในพื้นที่ทะเล ซึ่งตกอยู่ภายใน “เส้นประ 9 เส้น”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลปี 1982 ย่อมเป็นสิ่งที่ลบล้างแผนที่ “เส้นประ 9 เส้น” ซึ่งจีนได้ใช้เป็นพื้นฐานในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ราวๆ 85% ของทะเลจีนใต้มาเป็นเวลา 69 ปีแล้ว
เกาะทั้งหลายที่ถมทะเลสร้างขึ้นมาไม่มีสิทธิอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
-บรรดาเกาะเทียมทั้งหลายที่จีนกำลังเร่งรีบสร้างขึ้นในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ ไม่มีศักยภาพที่จะให้ประชากรอยู่อาศัยเลี้ยงชีพได้ ดังนั้นภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ จึงไม่สามารถอ้างสิทธิมีเขต “เศรษฐกิจจำเพาะ” 200 ไมล์ทะเล แบบเกาะที่มีประชากรพำนักอาศัยได้
“คณะผู้พิพากษาชี้ว่า การปรากฏตัวในปัจจุบันของพวกบุคลากรของทางการในแผ่นดินจำนวนมากเหล่านี้ ต้องขึ้นต่อและพึ่งพาการสนับสนุนจากภายนอก และไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของแผ่นดินนั้นๆ ... (และ) ... (แผ่นดิน) ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ไม่มีแห่งใดเลยซึ่งมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิด (การอ้างสิทธิ) เขตทะเลเพิ่มเติมได้
“คณะผู้พิพากษาพบว่า โดยที่ยังไม่ต้องกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเขตแดน คณะผู้พิพากษาก็สามารถประกาศได้แล้วว่าพื้นที่ทะเลหลายๆ แห่งเหล่านั้นอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ไม่ได้ถูกเหลื่อมซ้อนโดยการอ้างสิทธิใดๆ ที่มีความเป็นไปได้ของฝ่ายจีนเลย”
ประเด็นหลักๆ ในคำฟ้องของฟิลิปปินส์
คำฟ้องที่รัฐบาลยื่นต่อศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ในกรุงเฮก, เนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่เมื่อปี 2013 นั้นมี 15 ประเด็นด้วยกัน แต่อาจสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ได้ 5 ประเด็น ดังนี้
1. จีนไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องบังคับใช้สิ่งที่ปักกิ่งเรียกว่า “สิทธิตามประวัติศาสตร์” เหนือน่านน้ำต่างๆ ซึ่งอยู่เกินเลยข้อจำกัดที่นิยามเอาไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) อันเป็นสนธิสัญญาซึ่งทั้งฟิลิปปินส์และจีนต่างก็เป็นภาคีอยู่
2. แผนที่ “เส้นประ 9 เส้น” (nine dash line) ของจีน ไม่มีพื้นฐานใดๆ รองรับเลยในกฎหมายระหว่างประเทศ
3. แผ่นดินลักษณะต่างๆ ในทะเล ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จีนใช้ในการยืนยันการอ้างกรรมสิทธิ์ของตนในทะเลจีนใต้นั้น ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็น “เกาะ” (island) ตามที่จีนกล่าวอ้าง ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีศักยภาพทางกฎหมายที่จะก่อให้เกิดสิทธิ์ตามที่กล่าวอ้าง นอกจากนั้น การที่จีนทำการสร้างเกาะเทียมขึ้นมาจำนวนมากในช่วงหลังๆ นี้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวนี้ได้
ทั้งนี้ ตาม UNCLOS หากเป็นแผ่นดินที่โผล่ขึ้นมาเมื่อน้ำลง เช่น แนวปะการัง (reef) ไม่ถือว่าก่อให้เกิดสิทธิใดๆ แก่ชาติที่ครอบครอง แต่ถ้าเป็นก้อนหิน (Rock) จะสามารถอ้างน่านน้ำอาณาเขตห่างจากชายฝั่ง 12 ไมล์ทะเล และถ้าเป็นเกาะ (Island) จะสามารถอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEF) เป็นระยะห่างจากชายฝั่ง 200 ไมล์ทะเล
4. จีนละเมิด UNCLOS จากการขัดขวางไม่ให้ฟิลิปปินส์ใช้สิทธิอันถูกต้องชอบธรรมของตนในการทำประมงและในการสำรวจขุดค้นทรัพยากร
5. จีนสร้างความเสียหายให้แก่สภาพแวดล้อมอย่างชนิดไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้ ด้วยการทำลายแนวปะการัง, ใช้วิธีการทำประมงที่สร้างอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และจับสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์ในทะเลจีนใต้ จุดสำคัญในคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร
แผนที่ “เส้นประ 9 เส้น” ของจีนนั้นใช้ไม่ได้
-คณะผู้พิพากษาทั้ง 5 พบว่า ชาวประมงจีนก็เช่นเดียวกับชาวประมงอื่นๆ ในอดีต โดยได้เคยใช้สอยหาประโยชน์จากเกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆ เลยว่าในอดีตจีนได้เคยประกาศใช้สิทธิควบคุมแต่เพียงผู้เดียวเหนือน่านน้ำเหล่านั้นหรือทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ในเขตน่านน้ำเหล่านั้น
“คณะผู้พิพากษาสรุปว่าจีนไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายใดๆ เลยที่จะอ้างสิทธิตามประวัติศาสตร์ต่อทรัพยากรต่างๆ ภายในพื้นที่ทะเล ซึ่งตกอยู่ภายใน “เส้นประ 9 เส้น”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลปี 1982 ย่อมเป็นสิ่งที่ลบล้างแผนที่ “เส้นประ 9 เส้น” ซึ่งจีนได้ใช้เป็นพื้นฐานในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ราวๆ 85% ของทะเลจีนใต้มาเป็นเวลา 69 ปีแล้ว
เกาะทั้งหลายที่ถมทะเลสร้างขึ้นมาไม่มีสิทธิอ้างเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
-บรรดาเกาะเทียมทั้งหลายที่จีนกำลังเร่งรีบสร้างขึ้นในระยะไม่กี่ปีหลังมานี้ ไม่มีศักยภาพที่จะให้ประชากรอยู่อาศัยเลี้ยงชีพได้ ดังนั้นภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ จึงไม่สามารถอ้างสิทธิมีเขต “เศรษฐกิจจำเพาะ” 200 ไมล์ทะเล แบบเกาะที่มีประชากรพำนักอาศัยได้
“คณะผู้พิพากษาชี้ว่า การปรากฏตัวในปัจจุบันของพวกบุคลากรของทางการในแผ่นดินจำนวนมากเหล่านี้ ต้องขึ้นต่อและพึ่งพาการสนับสนุนจากภายนอก และไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของแผ่นดินนั้นๆ ... (และ) ... (แผ่นดิน) ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ไม่มีแห่งใดเลยซึ่งมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิด (การอ้างสิทธิ) เขตทะเลเพิ่มเติมได้
“คณะผู้พิพากษาพบว่า โดยที่ยังไม่ต้องกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเขตแดน คณะผู้พิพากษาก็สามารถประกาศได้แล้วว่าพื้นที่ทะเลหลายๆ แห่งเหล่านั้นอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ไม่ได้ถูกเหลื่อมซ้อนโดยการอ้างสิทธิใดๆ ที่มีความเป็นไปได้ของฝ่ายจีนเลย”
จีนประพฤติปฏิบัติตนอย่างผิดกฎหมาย
เนื่องจากพื้นที่ต่างๆ ที่เป็นประเด็นปัญหานั้นอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ การที่จีนทำการก่อสร้างเกาะเทียมของตน และการที่จีนแทรกแซงขัดขวางกิจกรรมในการทำประมงและการขุดค้นทรัพยากรแร่ธาตุของฟิลิปปินส์ จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
“จีนได้ละเมิดสิทธิอธิปไตยของฟิลิปปินส์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ คณะผู้พิพากษายังเห็นต่อไปอีกว่า พวกเรือบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายจีนได้กระทำการผิดกฎหมาย จากการก่อให้เกิดความเสี่ยงอันร้ายแรงที่จะเกิดการชนกัน เมื่อเรือเหล่านี้เข้าขัดขวางในทางกายภาพต่อเรือของฝ่ายฟิลิปปินส์”
จีนสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
การที่จีนดำเนินการถมทะเลสร้างเกาะเทียมอย่างขนานใหญ่ “ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง และละเมิดพันธกรณีของจีนที่จะต้องสงวนรักษาและปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศอันเปราะบาง”
จีนยังสะเพร่าเลินเล่อ จากความล้มเหลวที่ไม่ได้หยุดยั้งไม่ให้ชาวประมงของตน “ทำการจับเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์, เก็บปะการัง และจับหอยมือเสือ” จนอาจก่อให้เกิดอันตราย
การสร้างเกาะเทียมควรต้องยุติลงในระหว่างอยู่ในกระบวนการตัดสินข้อพิพาท
คณะผู้พิพากษาบอกว่า ตนไม่มีอำนาจในการตัดสินกรณีการประจันหน้ากันทางทหารที่บริเวณแนวปะการัง เซกันด์ โธมัส โชล ระหว่างเรือของกองทัพฟิลิปปินส์ กับเรือของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของจีน
อย่างไรก็ตาม “การที่จีนทำการถมทะเลและก่อสร้างเกาะเทียมต่างๆ อย่างใหญ่โตในช่วงหลังๆ มานี้ เป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีซึ่งรัฐหนึ่งๆ พึงต้องปฏิบัติในระหว่างกระบวนการแก้ไขข้อพิพาท ในเมื่อจีน ... ได้ทำลายหลักฐานเกี่ยวกับสภาวการณ์ตามธรรมชาติของแผ่นดินลักษณะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิพาทโต้แย้งของคู่กรณี” (เครดิตอ้างอิง : คัดลอกจากข่าวแปล คอลัมน์ข่าวต่างประเทศ, MGR online)
เนื่องจากพื้นที่ต่างๆ ที่เป็นประเด็นปัญหานั้นอยู่ภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ การที่จีนทำการก่อสร้างเกาะเทียมของตน และการที่จีนแทรกแซงขัดขวางกิจกรรมในการทำประมงและการขุดค้นทรัพยากรแร่ธาตุของฟิลิปปินส์ จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
“จีนได้ละเมิดสิทธิอธิปไตยของฟิลิปปินส์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของฟิลิปปินส์ คณะผู้พิพากษายังเห็นต่อไปอีกว่า พวกเรือบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายจีนได้กระทำการผิดกฎหมาย จากการก่อให้เกิดความเสี่ยงอันร้ายแรงที่จะเกิดการชนกัน เมื่อเรือเหล่านี้เข้าขัดขวางในทางกายภาพต่อเรือของฝ่ายฟิลิปปินส์”
จีนสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
การที่จีนดำเนินการถมทะเลสร้างเกาะเทียมอย่างขนานใหญ่ “ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมของแนวปะการัง และละเมิดพันธกรณีของจีนที่จะต้องสงวนรักษาและปกป้องคุ้มครองระบบนิเวศอันเปราะบาง”
จีนยังสะเพร่าเลินเล่อ จากความล้มเหลวที่ไม่ได้หยุดยั้งไม่ให้ชาวประมงของตน “ทำการจับเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์, เก็บปะการัง และจับหอยมือเสือ” จนอาจก่อให้เกิดอันตราย
การสร้างเกาะเทียมควรต้องยุติลงในระหว่างอยู่ในกระบวนการตัดสินข้อพิพาท
คณะผู้พิพากษาบอกว่า ตนไม่มีอำนาจในการตัดสินกรณีการประจันหน้ากันทางทหารที่บริเวณแนวปะการัง เซกันด์ โธมัส โชล ระหว่างเรือของกองทัพฟิลิปปินส์ กับเรือของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของจีน
อย่างไรก็ตาม “การที่จีนทำการถมทะเลและก่อสร้างเกาะเทียมต่างๆ อย่างใหญ่โตในช่วงหลังๆ มานี้ เป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีซึ่งรัฐหนึ่งๆ พึงต้องปฏิบัติในระหว่างกระบวนการแก้ไขข้อพิพาท ในเมื่อจีน ... ได้ทำลายหลักฐานเกี่ยวกับสภาวการณ์ตามธรรมชาติของแผ่นดินลักษณะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการพิพาทโต้แย้งของคู่กรณี” (เครดิตอ้างอิง : คัดลอกจากข่าวแปล คอลัมน์ข่าวต่างประเทศ, MGR online)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น