วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

20 เรื่องที่เราควรรู้ (4) เกี่ยวกับคุณพ่ออเมริกาผู้น่ารัก ตอนที่ 4


เรื่องที่ 4  เบื้องหลังอิทธิพลของตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์ เบื้องหลังอิทธิพลของอเมริกา

ในช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมาของอเมริกา ครอบครัวร็อกกี้เฟลเลอร์ ถูกรู้จักในฐานะครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดทางการเงินและการเมือง ครอบครัวนี้ได้ก่อตั้งมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์” (Rockefeller Foundation) ขึ้นในปี ค.ศ.1913 ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในบรรดาศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดที่เป็นตัวกำหนดการเมืองและเศรษฐกิจของอเมริกา

มูลนิธินี้มีอิทธิพลมากในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศของทำเนียบขาว แม้ว่ามูลนิธินี้ตามรูปการภายนอกแล้วจะทำงานเคลื่อนไหวในกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสาธารณสุขและการศึกษาในระดับโลก แต่ในความเป็นจริงแล้วจัดว่าเป็นบริษัทการค้าข้ามชาติบริษัทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่บริหารควบคุมตลาดการค้าระหว่างประเทศร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ทางด้านการเงินและเศรษฐกิจที่มีอย่างกว้างขวางมากมายของตนเอง

มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) จะทำหน้าที่ควบคุมโครงสร้างหลักของการบริหารระบบการเมืองของอเมริกาและองค์กรสำคัญต่าง ๆ ของประเทศนี้ โดยอาศัยเครือข่ายของตนที่มีอยู่ โดยกล่าวกันว่า นับจากปี ค.ศ. 1945 จวบจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่บุคคลที่มีบทบาทสำคัญของอเมริกาเกือบทั้งหมดที่รับผิดชอบตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ทางด้านการเมือง ทั้งหมดล้วนเคยดำเนินกิจกรรมอยู่ในมูลนิธินี้หรืออยู่ในองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายของมัน หรือเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือจากมูลนิธินี้ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) มีแผนกต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ศึกษาวิจัยขั้นสูง ซึ่งจะดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายของอเมริกาและการเขียนร่างยุทธศาสตร์และนโยบายการเมืองระดับโลกและเกี่ยวกับเศรษฐกิจของอเมริกา เพื่อการแพร่ขยายค่านิยมและสัญลักษณ์ต่างๆ แบบอเมริกันในประเทศต่างๆ นั้น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ทุ่มเทความพยายามเพื่อที่จะเปิดตัวกลุ่มต่าง ๆ ที่หลากหลายที่จะทำหน้าที่เคลื่อนไหวทางภาคการเมืองและภาคประชาชนในประเทศเหล่านี้ ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมก็เป็นอีกโครงการหนึ่งในการศึกษาวิจัยของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ โดยรวมแล้วภารกิจหลักของมูลนิธินี้คือการพิทักษ์รักษาและป้องกันระบอบทุนนิยม

เพื่อที่จะให้บรรลุในภารกิจนี้ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลายาวนานนับหลายทศวรรษ ด้วยการให้การสนับสนุนทางด้านการเงินอันมากมายมหาศาลเกี่ยวกับโครงการต่างๆ และการศึกษาค้นคว้าวิจัย การควบคุมความคิดสาธารณะโดยผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ และได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างมากมาย ในคำรายงานนี้เราจะชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของมูลนิธินี้ ในการบริหารและควบคุมความคิดสาธารณะและการโฆษณาชวนเชื่อ

  

กลุ่มร็อกกี้เฟลเลอร์และการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสงครามจิตวิทยา

นับจากช่วงทศวรรษที่สามสิบเป็นต้นมา มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์นับว่าเป็นแหล่งที่มาหลักของการกำหนดทิศทางความคิดสาธารณะและการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสงครามจิตวิทยาในสหรัฐอเมริกา โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยวางนโยบายต่าง ๆ ของอเมริกา จวบจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงเวลานั้นการสนับสนุนของรัฐบาลในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลไกของการโฆษณาชวนเชื่อยังมีขอบเขตที่จำกัด ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดรูปร่างและทิศทางของความคิดสาธารณะรวมทั้งการสำรวจ ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์  ในความเป็นจริงการดำเนินแผนงานต่างๆ ในระยะยาวของระบอบทุนนิยมของมูลนิธิแห่งนี้ มีความจำเป็นต้องอาศัยผลสรุปจากการศึกษาวิจัยเหล่านี้ มูลนิธินี้จะใช้ประโยชน์จากสองช่องทางเกี่ยวกับการควบคุมความคิดของสาธารณชน คือ 1) การวิจัยและตรวจสอบสภาพจิตใจของประชาชนอเมริกาเกี่ยวกับกรณีการเผชิญหน้ากับสงครามที่มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศนี้ และ 2) การจัดเตรียมค่าใช้จ่ายของสงครามจิตวิทยาและการปราบปรามแนวคิดต่าง ๆ ของฝ่ายต่อต้านในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละตินอเมริกา

สืบเนื่องมาจากการวิจัยและการรับรู้ถึงความอ่อนแอทางการเมืองของรัฐบาลของนาย “แฟรงคลิน รูสเวล” (Franklin Roosevelt) และการไร้ความสามารถของรัฐบาลนี้ในการวางแผนสำหรับการทำสงคราม จากผลของการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวางทั้งภายในและต่างประเทศ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จึงตัดสินใจก่อตั้งสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ขึ้น และได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของโครงการค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับวิทยุคลื่นสั้นของต่างประเทศ

เทคนิคการล้างสมองและทำให้เกิดความกลัว

การวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสื่อสารมวลในอเมริกา หากไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์นั้นย่อมไม่อาจที่จะพัฒนาก้าวหน้าไปได้ถึงขั้นนั้น แฮโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นเขาได้ดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อและการโฆษณาชวนเชื่ออย่างกว้างขวาง พร้อมด้วยนักจิตวิทยาผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อว่า ฮัดลีย์ แคนทริล (Hadley Cantril) ที่ทำงานอยู่ด้วยกัน ทั้งสองได้จัดตั้งองค์กรต่าง ๆ ขึ้น โดยประสานความร่วมมือกันทางด้านความรู้และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการจัดระบบแผนงานต่าง ๆ ของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทาง ในช่วงทศวรรษที่ยี่สิบ ฮัดลีย์ แคนทริล เขาเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับเนลสัน ร็อกกี้เฟลเลอร์ (Nelson Rockefeller) ในวิทยาลัยดาร์ทเมาท์ (Dartmouth College) และในช่วงสมัยหลังสงคราม เขาได้จัดระบบและจัดเตรียมข้อมูลและเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบและการบริหารควบคุมความคิดของสาธารณชนโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ในยุโรป ละตินอเมริกาและสหรัฐอเมริกา เขาได้รับปริญญาเอกในสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย (Harvard University) และได้เขียนหนังสือจิตวิทยาวิทยุขึ้นในปี 1935 ร่วมกับกอร์ดอน อัลพอร์ต (Gordon Allport) อาจารย์ของเขาเอง

บนพื้นฐานของเอกสารหลักฐานที่ได้รับมานั้นเป็นที่ชัดเจนว่า มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี ซึ่งเป้าหมายของพวกเขาก็คือการบรรลุความสำเร็จในเทคนิคต่างๆ ที่จะใช้ในการล้างสมองและการสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นในสังคม ตัวอย่างเช่น ในทศวรรษที่ 40 และ 50 บรรดานักวิจัยของมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ของอเมริกา ได้รับเงินกองทุนขนาดใหญ่จากมูลนิธินี้สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับ "กลไกทางจิตวิทยาของการสื่อสาร"

จุดมุ่งหมายหลักที่มีต่อโครงการต่างๆ เหล่านี้ก็คือ ความพยายามที่แสวงหาคำตอบเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่ยังไม่เข้าใจ ด้วยวิธีการการที่ทำให้บุคคลเกิดความสับสน อันเนื่องมาจากแนวความคิดต่างๆ ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง โดยจะถูกนำเสนอแก่พวกขาอย่างมึนงงสับสนไม่เป็นระบบ ซึ่งประเด็นที่จะเสนอขายให้กับเขา เป็นวิธีการที่ส่งผลกระทบข้างเคียงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและความคิดต่าง ๆ ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจและความเชื่อ และวิธีการเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนของตัดสินใจและความเชื่อ ในขณะศึกษาเกี่ยวกับประเด็นหนึ่งๆ จากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งของปัจเจกบุคคล เกี่ยวกับขอบข่ายต่างๆ ที่ทีมนักจิตวิทยาและสังคมวิทยาต้องการ ภายใต้การบริหารจัดการของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์

 
งานของกลุ่มสังคมศาสตร์ในมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ 

มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มีแผนกสังคมศาสตร์ โดยมีคาร์ล ไอ.ฮาวแลนด์ (Carl I. Hovland) นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเยล เป็นสมาชิกคนหนึ่งในแผนกนี้ และเป็นผู้รับหน้าที่การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อของคนกลุ่มต่าง ๆ ทิโมธี แกลนเดอร์ (Timothy Glander) เขียนไว้ในหนังสือ ต้นกำเนิดของการวิจัยมหภาค การสื่อสารในระหว่างสงครามเย็นของอเมริกาเกี่ยวกับคาร์ล ไอ.ฮาวแลนด์ว่า “ฮาวแลนด์เป็นหนึ่งในสมาชิกคนสำคัญของสภาผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติหลายแห่ง เช่น สถาบันวิจัยทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพอากาศ, มูลนิธิฟอร์ด, มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากองค์กรที่ฮาวแลนด์ได้ทำงานอยู่ในโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมความคิดสาธารณชน  ในปี ค.ศ. 1948 มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้มอบเงินทุนก้อนใหญ่ให้แก่ฮาวแลนด์ เพื่อทำการค้นคว้าวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยหวังว่าจะได้รับรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงความคิดและความเชื่อต่าง ๆ เพื่อใช้ในระบบการเรียนการสอนของอเมริกาและผู้บริหารงานในองค์กรใหญ่ ๆ รวมทั้งผู้ที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเชื่อทางด้านการเมืองและพฤติกรรมของประชาชน โดยภาพรวมแล้วงานค้นคว้าวิจัยของเขาจะครอบคลุมโครงการทั้งหมดเกี่ยวกับการควบคุมความคิดเห็นของประชาชนและการกำหนดทิศทางมัน


 
สงครามเย็น การระเบิดปูพรมโฆษณาชวนเชื่อต่อประชาชนของอเมริกา

ในช่วงสมัยของสงครามเย็น ส่วนใหญ่ข้อเท็จจริงอันอึกกะทึกคึกโคมทางด้านสื่อสำหรับชาวตะวันตกนั้นเป็นที่ปรากฏชัดในรูปของความฉาวโฉ่ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จึงได้เล็งเห็นว่า จำเป็นจะต้องมีการปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้นกับประชาชนชาวอเมริกา และประชาชนเหล่านี้จะต้องเผชิญกับรูปแบบต่าง ๆ ที่ละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้นในการจัดการทางด้านความคิด เพื่อค่อย ๆ โน้มนำไปสู่การยอมรับแผนงานของรัฐบาลโลก ซึ่งตามกำหนดการนั้นจะถูกนำเสนอในช่วงอีกไม่กี่ปีถัดมา ในรายงานของมูลนิธิในปี 1954 ได้กล่าวไว้เช่นนี้ว่า แม้จะมีความเชื่อที่ว่า ภาพยนตร์ต่าง ๆ โทรทัศน์และหนังสือต่าง ๆ ที่เป็นภาพเล่าเรื่องราว จะเป็นสาเหตุทำให้เยาวชนในประเทศนี้กลายเป็นคนเหลวไหลเสียผู้เสียคน และดูเหมือนว่า เครื่องอำนวยความสะดวกเหล่านี้และสื่อสารมวลชนอื่น ๆ จะมีผลน้อยมากในการสร้างพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ หรือการแพร่กระจายอุดมการณ์ประชาธิปไตยในทางบวกสำหรับสงครามเย็น และเกรงว่าสื่อสารมวลชนของสหภาพโซเวียตจะประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ความคิดของพรรคคอมมิวนิสต์จากด้านหลังของแนวชายแดนเหล็กของตน และในประเทศต่าง ๆ ที่ล้มเหลวไปแล้ว


เพื่อที่จะขจัดความวิตกกังวลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และเพื่อที่จะขยายพื้นฐานทางด้านความรู้เกี่ยวกับบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงทางด้านสื่อสารมวลชน มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ตัดสินใจเพิ่มการช่วยเหลือทางด้านการเงินให้กับการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมความคิดสาธารณะและสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ในช่วงปี 1954ได้จ่ายไปเป็นจำนวนเงินถึง 200,000 ดอลลาร์ ซึ่งในช่วงปีดังกล่าวถือว่าเป็นเงินทุนที่มากมายมหาศาล งบประมาณที่มากมายดังกล่าวนี้เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้นจากบรรดาค่าใช้จ่ายอันมาศาลที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้มอบให้กับนักคนคว้าวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ เพื่อศึกษาวิจัยและปลูกฝังแนวความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อใช้ในทิศทางของวัตถุประสงค์ในการล่าอาณานิคมของมูลนิธินี้ หนึ่งในผลของการศึกษาวิจัยเหล่านี้ คือการปรากฏให้เห็นถึงมิติทางด้านสังคมของความรู้สึกหวาดกลัวในตัวของมนุษย์ และการใช้ประโยชน์ในทางมิชอบจากมัน โดยทีมงานปลูกฝังความคิดของมูลนิธินี้ บรรดานักค้นคว้าวิจัยของมูลนิธิได้พบว่า ความหวาดกลัวนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยวิธีการปลูกฝังความคิดหรือจะโดยวิธีการใด ๆ ก็ตาม จะเป็นสาเหตุให้บุคคลหนึ่งกลายเป็นเหยื่อที่น่าพึงพอใจสำหรับชนชั้นสูง

 
มิติทางด้านสังคมของความรู้สึกหวาดกลัวในตัวมนุษย์ และการใช้ประโยชน์ในทางมิชอบจากมัน

ฮาวแลนด์ได้กล่าวไว้ในที่หนึ่งว่า เพื่อที่จะทำให้เกิดความหวาดกลัว พวกท่านไม่จำเป็นต้องสร้างความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมาน เพราะเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าของสมองมนุษย์จะรับผิดชอบหน้าที่ในการทำงานโดยธรรมชาติของมันเกี่ยวกับความหวาดกลัว ตัวเรามีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะสามารถจินตนาการว่าสิ่งใดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แล้วเราจะได้สัมผัสกับอารมณ์ขั้นพื้นฐาน ประเด็นดังกล่าวนี้จะส่งผลที่ดีในการพัฒนาการของเรา แต่ทว่ามันสามารถที่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อย่างเช่นความหวาดกลัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่ามันจะเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นไปได้ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน สุดท้ายแล้วจะสาเหตุทำให้เกิดความเครียดขึ้นในตัวเรา ซึ่งสามารถจะนำไปสู่การยอมรับการยุยงส่งเสริมจากบุคคลอื่น ๆ 

ในความเป็นจริงแล้ว ประโยคเหล่านี้ คือปัจจัยพื้นฐานของการวางแผนงานระดับมหภาคในระบอบของอเมริกา ในการเล่นเกมกับความคิดทางสาธารณะของประชาชนของตัวเอง ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ขั้นแรกนั้นความหวาดกลัวที่เป็นเรื่องโคมลอยใหญ่โตจะถูกสร้างขึ้นมาก่อน จากนั้นความน่ากลัวดังกล่าวนี้จะถูกขยายผลให้เข้มแข็งและจริงจังขึ้นในสังคม โดยผ่านสื่อต่าง ๆ และนำไปสู่ความเครียดและความวิตกกังวล จนกระทั่งนำไปสู่ความตื่นตระหนกของมวลชนโดยรวม เมื่อถึงเวลานั้นผู้วางแผนในระดับมหภาคก็จะเข้าสู่วงจรและจะนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาและทางออกต่างๆ ที่หลากหลาย โดยผ่านสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ต่อมาเมื่อประชาชนเกิดความตื่นตระหนกและหวาดกลัวอย่างรุนแรง โดยที่ในสมองของพวกเขามีแต่จินตนาการถึงผลลัพธ์ของภัยคุกคามที่ใหญ่โต มันก็จะส่งเสริมให้พวกเขายอมรับวิธีการแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธีการ และเป็นไปตามขั้นตอนดังกล่าวนี้เองที่จะทำให้นโยบายการแผ่ขยายอิทธิพล การโหมกระพือไฟสงคราม การยาตราทัพ นโยบายต่าง ๆ ในการล่าผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และแม้แต่นโยบายในทางต่อต้านมนุษยชาติและต่อต้านสัญชาติญาณทางด้านวัฒนธรรม ก็จะถูกเปิดทางอย่างง่ายดายสำหรับพวกเขา

 
การโฆษณาชวนเชื่อ ปัญหาที่เป็นโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 การศึกษาวิจัยเหล่านี้ก็พัฒนาเป็นเชิงปฏิบัติการมากยิ่งขึ้น และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้เริ่มการให้สินบนต่าง ๆ อย่างมหาศาลแก่นักข่าว และรับผิดชอบทางด้านแหล่งเงินทุนแก่บรรดาสื่อรายใหญ่ เพื่อใช้ประโยชน์ในทิศทางเป้าหมายของตน หลังจากนั้นประเด็นต่าง ๆ อย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิน ฟ้า อากาศและน้ำของโลก ถูกนำเสนอและโหมโฆษณาชวนเชื่ออย่างรุนแรงในสื่อต่าง ๆ ในรูปของปรากฏการณ์ที่เป็นโศกนาฏกรรม ที่เป็นผลมาจากการแทรกแซงของมนุษย์ในระบบนิเวศวิทยาและสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิต หรือการนำอาหารต่าง ๆ ที่ถูกตัดต่อเลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม แล้วนำมาเสนอในฐานะยาเพื่อใช้ในการเยียวยาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บทั้งมวลได้

ในความเป็นจริงแล้ว บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยอย่างกว้างที่ดำเนินการโดยแผนกสังคมศาสตร์ของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ และภายหลังจากยึดครองสื่อสารมวลชนแล้วนั้น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของกระบวนการเล่นเกมกับอารมณ์ความรู้สึกและความคิดสาธารณชน ได้ถูกป้อนให้กับประชาชนของอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ในระยะยาวของระบอบทุนนิยมของอเมริกา รายงานในปี 1974 ของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ กล่าวว่า 
บรรณาธิการบทความทางวิทยาศาสตร์หลายคนได้เรียกร้องว่า ในการประชุมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในมูลนิธิที่พวกเขาเข้าร่วมนั้น ขอให้มีการตรวจสอบปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การผลิตอาหาร ความต้านทานของพืชต่อยาปราบแมลงศัตรูพืช ชลประทานเพื่อการเกษตร และความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างประเทศ ต่อจากนั้นรายงานจากการประชุมเหล่านี้ก็ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส (New York Times) และสำนักข่าวเอพี (Associated Press) ก็ได้ตีพิมพ์คำรายงานที่มีเนื้อหาครอบคลุมออกเผยแพร่ ในทั้งสองกรณีนี้ ผู้เขียนคำรายงานต่าง ๆ ได้เข้าพบปะกับบรรดาเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำโครงการต่าง ๆ ของเรา และมีการเจรจากับพวกเขา (ความเป็นจริงแล้วในปัจจุบันนี้ บรรดาเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำโครงการและวางแผนงานต่าง ๆ ก็จะพบปะกับนักข่าวหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ และจะมีการเจรจาพูดคุยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้หัวข้อข่าวมากมายที่เกี่ยวกับมันจะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น เรื่องของการผลิตอาหาร ปัญหาการเพิ่มของประชากร ปัญหาสิ่งแวดล้อมและศิลปะ)


ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายอย่างไร้ยางอาย

ในหลายกรณีและในบทความที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่นั้น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ใช้ประโยชน์ในทางมิชอบอย่างเปิดเผยจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ด้วยการคุยโวโป้ปดและการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับโครงการของตน และในอีกด้านหนึ่งก็ไม่มีการทักท้วงและคัดค้านใด ๆ เกิดขึ้นกับสื่อทั้งหลายเลยแม้แต่น้อย ในความเป็นจริงแล้ว ความร่วมมือกันอย่างไร้ยางอายของทั้งสองฝ่ายในการเล่นเกมกับความคิดของประชาชน กลุ่มเป้าหมายและการควบคุมความคิดของพวกเขานั้นได้ก่อรูปขึ้นแล้ว  รายงานในปี 1974 มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ได้ยกย่องสรรเสริญบิล โมเยอร์ส (Bill Moyers) นักเขียนรายงานของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และได้กล่าวถึงเขาว่าเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ด้วยกับการจัดเตรียมคำรายงาน 25 หมวด เกี่ยวกับเรื่องสภาพของอาหารในโลก บิล โมเยอร์ส (Bill Moyers) นักเขียนรายงานของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส (New York Times) ได้กลายเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากมูลนิธิ และเขาได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ซื่อสัตย์ที่ก้าวไกลไปข้างหน้ากับผู้เชี่ยวชาญส่วนมากของเรา บรรดาผู้เชี่ยวชาญของเราได้จัดเตรียมข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ที่มีความจำเป็นสำหรับบิล โมเยอร์ส (Bill Moyers) ในการผลิตคำรายงานต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ของเขา ในเรื่องที่เกี่ยวกับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระดับสากล นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จต่าง ๆ ของเราในการสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับบุคคลที่ทำงานในด้านสื่อมวลชน

แนวคิดเกี่ยวกับรัฐบาลโลก

ด้วยกับเป้าหมายในการสร้างกรอบแนวคิดเกี่ยวกับรัฐบาลโลกให้แก่สังคมนั้น การศึกษาวิจัยทางสังคมที่ถูกดำเนินการขึ้นโดยทีมงานของผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ถือว่ามีคุณค่ามาก ดังเช่นที่เราเห็นถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ถูกค้นพบโดยที่จวบจนถึงปัจจุบันนี้ยังคงรักษาประสิทธิภาพของตนเอาไว้ได้ และขณะนี้ก็ยังคงถูกนำมาใช้งานอยู่

บนพื้นฐานของหลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยามวลชนนั้น ระบอบของอเมริกาในช่วงยุคสมัยต่าง ๆ ได้ทำให้ประชาชนของประเทศนี้เผชิญหน้ากับความหวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้พวกเขาตกเป็นเหยื่อของเป้าหมายต่าง ๆ ของตนได้อย่างง่ายดาย ในยุคสมัยหนึ่ง คือความหวาดกลัวต่อภัยคุกคามของสหภาพโซเวียต ช่วงเวลาหลังจากนั้น คือภัยคุกคามของซัดดัม ฮุสเซน ต่อจากนั้นก็เป็นภัยคุกคามของกลุ่มอัลกออิดะฮ์ และตามมาด้วยขณะนี้ก็เช่นกัน คือภัยคุกคามของลัทธิก่อการร้าย และการสร้างภาพให้เห็นถึงความน่าหวาดกลัวของอิสลาม (Islamophobia) ที่กำลังถูกนำมาใช้เพื่อเป้าหมายในการแสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยผ่านสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบรรดานักการเมืองที่ก้มหัวรับใช้ตระกูลร็อกกี้เฟลเลอร์ ในฐานะเป็นเครื่องมือในการสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนชาวอเมริกา


หมายเหตุ  อ้างอิงข้อมูล คัดลอกข้อมูลจากเพจ http://www.oknation.net/blog/nidnhoi/2012/06/25/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น