วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

20 เรื่องที่เราควรรู้ (2) เกี่ยวกับคุณพ่ออเมริกาผู้น่ารัก ตอนที่ 2


เรื่องที่ 2  การค้าทาส การล่าทาส

หากประเทศมหาอำนาจอย่างยุโรปกับอเมริกาจะรังเกียจหรือต่อต้านการค้ามนุษย์ว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจไร้มนุษยธรรม ไม่อาจจะรับได้ จนต้องนำเรื่องนี้มาเป็นเกณฑ์วัดเพื่อพิจารณาประเทศที่มีสถิติการค้ามนุษย์ หรือละเมิดสิทธิมนุษยชนมากๆ ด้วยการกำหนดบทลงโทษ ทั้งกีดกันการค้า หรือจำกัดโควตาการนำเข้าของสินค้าที่ผลิตด้วยแรงงานทาส หรือเป็นประเทศที่ชอบละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไม่เป็นธรรม ก็ต้องถามย้อนกลับไปว่า ประเทศใคร ไหนกันครับ ที่เป็นผู้ริเริ่มการค้าทาส (หรือภาษาแบบผู้ดีอังกฤษ เรียกใหม่ว่า การค้ามนุษย์) ก็ไม่ใช่ประเทศของบรรดาเหล่าชาติตะวันตก หรือประเทศต้นแบบประชาธิปไตยทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่เหรอ ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส รวมถึงอเมริกา แล้วใยพวกท่านจึงชอบทำตัวเป็นพวก "ปากว่าตาขยิบ", "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง”  หรือเป็นพวก "เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลแต่กินน้ำแกง”  ขอบอกว่าประเทศที่อ้างว่าเจริญแล้ว และเป็นแม่แบบการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือเป็นประเทศผู้สร้างกฏเกณฑ์ทางการค้าที่เป็นธรรมที่ให้ประเทศอื่นเดินตามนั้น ล้วนแล้วแต่เคยทำชั่ว ทำสิ่งเลวร้ายที่ว่ามาก่อนแล้วทั้งนั้น ไม่เชื่อก็ลองหาอ่านประวัติความเป็นมาของการล่าทาสดูก็จะรู้ว่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่คอยตั้งมาตรฐานกีดกันทางการค้าจากฝั่งชาติตะวันตกทั้งสิ้น

เดินไปตามเส้นทางค้าทาส

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึง 19 เมืองวีดาห์เป็นศูนย์กลางการค้าทาสแห่งใหญ่ในแอฟริกาตะวันตก. ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในสาธารณรัฐเบนิน และเคยเป็นสถานที่ส่งออกทาสมากกว่าหนึ่งล้านคน. บ่อยครั้ง ชาวแอฟริกาจับชาวแอฟริกาด้วยกันเองมาแลกกับสินค้าต่าง ๆ เช่น แอลกอฮอล์, เสื้อผ้า, สร้อยข้อมือ, มีด, ดาบ, และโดยเฉพาะอย่างยิ่งปืน ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากเนื่องจากสงครามระหว่างเผ่า.

ระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ชาวแอฟริกาประมาณ 12 ล้านคนถูกส่งตัวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานทาสในไร่นาและเหมืองแร่ของโลกใหม่. หนังสือทาสในอเมริกาปี 1619-1877 (ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ของทาส ถูกส่งไปบราซิลและอาณานิคมต่าง ๆ ของอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน, และดัตช์ในแถบแคริบเบียน.ราว ๆ 6 เปอร์เซ็นต์ถูกส่งไปที่อาณานิคมซึ่งภายหลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐ.*

ในตอนเริ่มต้นของการเดินทาง ทาสหลายคนซึ่งถูกล่ามโซ่, ถูกเฆี่ยน, และถูกตีตรา ต้องเดินเป็นระยะทางสี่กิโลเมตรจากป้อมซึ่งปัจจุบันนี้ถูกบูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์วีดาห์ ไปถึงบริเวณชายหาดซึ่งเรียกว่าประตูที่ไม่หวนกลับ. ประตูนี้เป็นจุดสิ้นสุดของเส้นทางลำเลียงทาสและมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ไม่ใช่ตามตัวอักษร เพราะทาสไม่ได้ออกเดินทางจากจุดเดียวกันทั้งหมด. ทำไมการค้าทาสจึงแพร่หลายมากขนาดนั้น?

ประวัติศาสตร์อันยาวนานและน่ารังเกียจ

ในช่วงแรก ๆ ผู้ปกครองชาวแอฟริกาได้ขายพวกเชลยศึกให้แก่พวกพ่อค้าชาวอาหรับ. ต่อมา บรรดาประเทศมหาอำนาจในยุโรปได้เข้าร่วมในการค้าทาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการก่อตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกา. ในช่วงนั้น สงครามระหว่างเผ่าและเชลยศึกที่ถูกจับได้ทำให้มีทาสจำนวนมากมาย ซึ่งสร้างรายได้งามให้แก่ทั้งผู้ชนะและผู้ค้าทาสที่ละโมบ. ยิ่งกว่านั้น มีการจับทาสโดยการลักพาตัวหรือโดยการซื้อจากพ่อค้าชาวแอฟริกาซึ่งนำทาสมาจากดินแดนที่อยู่ห่างชายฝั่ง. เกือบทุกคนถูกขายเป็นทาสได้ แม้กระทั่งชนชั้นสูงที่ไม่ได้รับความโปรดปรานจากพระราชาอีกต่อไปแล้ว.

พ่อค้าทาสผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งคือฟรานซิสกู เฟลิกส์ เดอ ซูซา ชาวบราซิล. ในปี 1788 เดอ ซูซาเป็นผู้บังคับบัญชาป้อมปราการแห่งวีดาห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการค้าทาสในอ่าวเบนิน. ในตอนนั้น วีดาห์อยู่ในอาณาจักรดาโฮมีย์. อย่างไรก็ดี เดอ ซูซากับกษัตริย์อะดันโดซันแห่งดาโฮมีย์เกิดความบาดหมางกัน. ดังนั้น ขณะที่เดอ ซูซาอาจอยู่ในคุก เขาได้คบคิดกับน้องชายของกษัตริย์และร่วมกันโค่นล้มบัลลังก์ในปี 1818. ด้วยวิธีนี้ ความสัมพันธ์ซึ่งให้ผลประโยชน์อย่างงามจึงเริ่มขึ้นระหว่างเกโซกษัตริย์องค์ใหม่และเดอ ซูซา ซึ่งถูกแต่งตั้งให้ดูแลการค้าทาส.*

เกโซตั้งใจจะขยายอาณาจักรและต้องการอาวุธของชาวยุโรปเพื่อจะทำเช่นนั้นได้. ดังนั้น เขาแต่งตั้งเดอ ซูซาเป็นอุปราชแห่งวีดาห์เพื่อช่วยบริหารการค้าขายกับชาวยุโรป. เนื่องจากเป็นผู้ผูกขาดการค้าทาสในภูมิภาคนั้นของแอฟริกา ไม่นานเดอ ซูซาจึงร่ำรวยขึ้นอย่างมหาศาล และตลาดค้าทาสซึ่งอยู่ใกล้ ๆ บ้านของเขา กลายมาเป็นศูนย์กลางสำหรับทั้งชาวต่างประเทศและคนท้องถิ่นที่รับซื้อทาส.

ทางเดินที่ชุ่มไปด้วยน้ำตา

สำหรับนักท่องเที่ยวสมัยปัจจุบัน การเยี่ยมชมเส้นทางค้าทาสวีดาห์จะเริ่มที่ป้อมของชาวโปรตุเกสที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่. เดิมทีป้อมนี้ถูกสร้างในปี 1721 และปัจจุบันนี้เป็นพิพิธภัณฑสถานที่กล่าวข้างต้น. เชลยที่ถูกจับเป็นทาสถูกกักตัวไว้ในลานใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง. ส่วนใหญ่ถูกล่ามโซ่และต้องเดินเป็นเวลาหลายคืนกว่าจะมาถึงที่นี่. ทำไมต้องเดินตอนกลางคืน? ความมืดทำให้เชลยหลงทิศและถ้ามีคนหลบหนีก็จะกลับบ้านได้ยากขึ้น.

เมื่อทาสกลุ่มใหม่มาถึง จะเปิดการประมูล แล้วหลังจากนั้นผู้ซื้อจะตีตราทาสที่ตนซื้อมา. ทาสที่ถูกส่งออกจะถูกพาไปที่ชายทะเล ลงเรือแคนูหรือเรือเล็กไปขึ้นเรือใหญ่.

สถานที่อีกแห่งหนึ่งบนเส้นทางค้าทาสในประวัติศาสตร์คือบริเวณที่เคยมีต้นไม้แห่งความหลงลืม. ทุกวันนี้มีอนุสาวรีย์อยู่ตรงจุดที่เคยมีต้นไม้อยู่. พวกทาสที่เป็นผู้ชายถูกบังคับให้เดินรอบต้นไม้นั้นเก้ารอบ ส่วนผู้หญิงเจ็ดรอบ. มีการบอกพวกเขาว่าที่ทำอย่างนี้ก็เพื่อลบความทรงจำเกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอน และทำให้พวกเขามีแนวโน้มจะก่อกบฏน้อยลง.

เส้นทางนี้ยังมีอนุสาวรีย์อีกแห่งหนึ่งที่ถูกสร้างเพื่อรำลึกถึงกระท่อมโซมาอี ซึ่งไม่มีอีกต่อไปแล้ว. คำว่าโซมาอี หมายถึงความมืดทึบตลอดทั้งวันและคืนในกระท่อมเหล่านี้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้เชลยที่ถูกขังไว้อย่างแออัดในนั้นคุ้นเคยกับสภาพที่เลวร้ายบนเรือ. ที่จริง พวกเขาอาจถูกขังไว้ในกระท่อมหลายเดือนขณะรอการเดินทาง. คนที่ตายระหว่างช่วงที่ทรมานนี้จะถูกโยนลงในหลุมศพรวม.

อนุสาวรีย์ที่เรียกว่าโซมาชี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและการคืนดี ทำให้เราสะเทือนใจมาก. ที่นั่นในเดือนมกราคมของทุกปี ลูกหลานของทั้งทาสและพ่อค้าทาสได้มาอ้อนวอนขออภัยให้แก่ผู้ที่ได้ทำสิ่งไม่ยุติธรรม.

จุดสุดท้ายในเส้นทางนี้คือ ประตูที่ไม่หวนกลับซึ่งรำลึกถึงช่วงเวลาสุดท้ายของทาสที่อยู่บนแผ่นดินแอฟริกา. ประตูโค้งขนาดใหญ่นี้มีภาพนูนต่ำของเชลยชาวแอฟริกาสองแถวที่ถูกล่ามโซ่ซึ่งมาบรรจบกันบนชายหาด โดยมีมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่เบื้องหน้า. เมื่อถึงที่นี่ กล่าวกันว่าเชลยผู้สิ้นหวังบางคนกลืนทรายเข้าไปเพื่อจะจดจำแผ่นดินเกิดของตน. ส่วนบางคนเลือกความตาย โดยใช้โซ่รัดคอตัวเอง.

การเลิกทาส!

ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 เริ่มมีความพยายามจะเลิกทาส. เรือบรรทุกทาสลำสุดท้ายที่ออกจากวีดาห์มาถึงเมืองโมบิล รัฐแอละแบมา ในเดือนกรกฎาคม 1860. แต่พวกเขาทำงานได้ไม่นานนัก เพราะรัฐบาลสหรัฐประกาศเลิกทาสในปี 1863. ในที่สุด การใช้แรงงานทาสในซีกโลกตะวันตกก็สิ้นสุดลงในปี 1888 เมื่อบราซิลเลิกทาสเช่นกัน.*

ร่องรอยที่เห็นได้ชัดที่สุดเกี่ยวกับการค้าทาสก็คือ ชุมชนชาวแอฟริกาขนาดใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบด้านประชากรและวัฒนธรรมในหลายดินแดนของทวีปอเมริกา. ร่องรอยอีกอย่างหนึ่งก็คือการแพร่หลายของลัทธิวูดู ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเวทมนตร์คาถาซึ่งนิยมกันมากในเฮติ. สารานุกรมบริแทนนิกา กล่าวว่า คำวูดู มาจากคำว่าโวดุน ซึ่งหมายถึงเทพเจ้าหรือวิญญาณในภาษาของชนเผ่าฟอนแห่งเบนิน (เมื่อก่อนคือดาโฮมีย์).

น่าเศร้า การบังคับใช้แรงงานทาสอย่างโหดร้ายยังคงมีอยู่ในทุกวันนี้ แม้จะไม่ใช่ทาสในความหมายตรงตัว. ตัวอย่างเช่น หลายล้านคนตรากตรำทำงานเยี่ยงทาสเพียงเพื่อจะอยู่รอดได้ในสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่. ส่วนบางคนต้องต่อสู้ดิ้นรนภายใต้การปกครองที่กดขี่. (ท่านผู้ประกาศ 8:9) และหลายล้านคนถูกกักขังอยู่ในคำสอนทางศาสนาผิด ๆ และการเชื่อโชคลาง. รัฐบาลมนุษย์จะปลดปล่อยประชาชนจากการเป็นทาสในรูปแบบเหล่านี้ได้ไหม? ไม่ได้. มีเพียงพระยะโฮวาพระเจ้าเท่านั้นที่จะทำได้ และแน่นอนพระองค์จะทำ! อันที่จริง บางคนจะหันมานมัสการพระยะโฮวาอย่างที่ประสานกับความจริงในคัมภีร์ไบเบิลความจริงที่ทำให้มนุษย์เป็นอิสระ. และคัมภีร์ไบเบิลพระคำของพระองค์สัญญาว่า เมื่อถึงเวลา พวกเขาทุกคนจะได้ชื่นชมกับ เสรีภาพอันรุ่งโรจน์แห่งเหล่าบุตรของพระเจ้า.”—โรม 8:21; โยฮัน 8:32

หมายเหตุ ข้อความในกรอบวงเล็บนี้เป็นในส่วนของเชิงอรรถอ้างอิง ประกอบคำอธิบาย

(จากช่วงแรก ๆ ที่มีจำนวนไม่มาก ภายหลังประชากรทาสในสหรัฐมีเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะการเติบโตของประชากรตามธรรมชาติ เนื่องจากทาสเหล่านั้นมีลูกหลานของตัวเอง.

ชื่อ เกโซมีการสะกดหลายวิธี.

มีการพิจารณาทัศนะของคัมภีร์ไบเบิลเรื่องการค้าทาสในบทความทัศนะของคัมภีร์ไบเบิล: พระเจ้าทรงเห็นชอบกับการค้าทาสไหม?” ในตื่นเถิด! ฉบับ 8 กันยายน 2001.

มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์ อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา

หลายคนเชื่อว่าพ่อค้าทาสจับทาสมาโดยการจู่โจมหมู่บ้านต่าง ๆ และจับตัวผู้คนตามใจชอบ. แม้ว่าเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นจริง แต่พ่อค้าทาสคงจะจับผู้คนไปถึงหลายล้านคนไม่ได้ ถ้าไม่มีการร่วมมือจากเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ปกครองและพ่อค้าชาวแอฟริกาดร. โรเบิร์ต ฮามส์ ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์แอฟริกาได้กล่าวไว้เช่นนั้นในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุ. เป็นเรื่องจริงที่ มนุษย์ใช้อำนาจเหนือมนุษย์อย่างที่ก่อผลเสียหายแก่เขา”!—ท่านผู้ประกาศ 8:9, ล.ม. )

(อ้างอิง : คัดลอกจากหน้าเพจของห้องสมุดออนไลน์ของว็อชทาวเวอร์ http://wol.jw.org/th/wol/d/r113/lp-si/102011169 )

กรณีศึกษาเรื่องจริงจากบทความต่อไปนี้ ซึ่งเป็นประสบการณ์จริงจากผู้ที่เคยตกเป็นทาส (เหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งเกิดโดยตรงในประเทศอเมริกา)

บทสัมภาษณ์โปรดิวเซอร์สารคดี "เจ้าชายผู้กลายเป็นทาส"

"Price Among Slaves" - Film sheds light on Islam inU.S.

แปลโดย วาริษาฮ์ อัมรีล


สถานีโทรทัศน์ช่องพีบีเอส (PBS ช่อง 13 เป็นช่องเพื่อการศึกษาของอเมริกาเพิ่งฉายสารคดีโทรทัศน์เรื่อง "Prince Among Slaves" (เจ้าชายผู้กลายเป็นทาสไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ที่ผ่านมา สารคดีความยาว 1 ชั่วโมงเรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริงของเจ้าชายอาฟริกาผู้ถูกชาวผิวขาวนักล่าทาสจับมาขายในอเมริกาเมื่อปี 1788 และตกเป็นทาสยาวนานถึงกว่า 40 ปี ก่อนจะได้รับอิสรภาพ และกลายเป็นบุคคลที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งในยุคสมัยนั้น

สารคดีโทรทัศน์ Prince Among Slaves ได้รับรางวัลสารคดียอดเยี่ยมปี 2007 จากเทศกาล American Black Film Festival (ภาพยนตร์อเมริกันผิวดำกำกับการแสดงโดย แอนเดรีย คาอิน และบิล ดุก ผู้กำกับเจ้าของรางวัลเอ็มมี่ (Emmy Award) โดยผ่านงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย จดหมายเหตุ และไดอารี่ รวมทั้งการสัมภาษณ์นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง โดยมี มอส เดฟ (Mos Def), นักร้อง-นักแสดงอเมริกันผิวดำผู้เป็นมุสลิมใหม่เป็นดารานำแสดงและ อเล็กซ์ โครนีเมอร์ (Alex Kronemer), เจ้าของบริษัท Unity Productions Foundation (UPF) ผู้เป็นมุสลิมใหม่เป็นโปรดิวเซอร์ของสารคดีเรื่องนี้

เรื่องราวของ Prince Among Slaves มาจากหนังสือชีวประวัติซึ่งเขียนโดย ดร.เทอรรี่ อัลฟอร์ด

Prince Among Slaves เป็นเรื่องจริงสุดรันทดของ อับดุล-ราฮ์มานเจ้าชายอาฟริกันมุสลิมซึ่งโดนนักล่าทาสผิวขาวจับได้ในปี 1788 แม้เขาจะบอกว่าเขาเป็นเจ้าชายและพร้อมจะให้บิดานำค่าไถ่ตัวมาให้ ก็ไม่มีผู้ใดเชื่อ ท้ายที่สุดอับดุล-ราฮ์มานถูกนำตัวไปขายเป็นทาสในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา เขาต้องผ่านความทุกข์เวทนาแสนสาหัส จนในที่สุดตกเป็นสมบัติของชาวไร่ยากจนและอ่านหนังสือไม่ออกที่ชื่อ โทมัส ฟอสเตอร์ แห่งนัทเชส รัฐมิสซิสซิปปี

อับดุล-ราฮ์มานตกเป็นทาสถึง 40 ปีเต็มก่อนจะได้รับอิสรภาพอย่างไม่น่าเชื่อ เขาเขียนจดหมายร้องเรียนผ่านรัฐสภาสหรัฐฯ เป็นเวลานาน (อับดุล-ราฮ์มานอ่านออกเขียนได้ แต่นายทาสเจ้าของไร่ของเขากลับไม่รู้หนังสือจากนั้นเขาได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งแห่งยุคสมัย และเดินทางกลับอาฟริกาในสถานภาพของเจ้าชาย

สารคดีเรื่องนี้จบลงด้วยงานเลี้ยงพบปะสังสรรค์ของลูกหลานอับดุล-ราฮ์มานทั้งที่อาศัยในอาฟริกาและในอเมริกา ที่เมืองนัทเชส รัฐมิสซิสซิปปี

อเล็กซ์ โครนีเมอร์ เจ้าของสารคดีโทรทัศน์เรื่องนี้หวังว่าตัวเองจะมีส่วนช่วยในการยุติการปะทะระหว่างอารยธรรม ซึ่งเขาบอกว่าเป็นสงครามที่เขาได้เผชิญในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาตั้งแต่วัยเด็ก

พ่อของอเล็กซ์เป็นชาวยิว ส่วนแม่เป็นคริสเตียน อเล็กซ์ก็เลยเติบโตมาท่ามกลางความสับสนด้านศรัทธา การที่แม่ของเขาเป็นมิชชันนารีโปรแตสแตนท์บอกว่ามนุษย์ส่วนใหญ่จะตกนรกยิ่งทำให้ทัศนะด้านศาสนาของอเล็กซ์ยิ่งแย่ไปใหญ่

แต่เมื่อเขาได้แสวงหาความจริง อเล็กซ์กลับได้พบสิ่งนั้นในอิสลาม

แม้อเลกซ์ซึ่งตอนนี้อายุได้ 57 ปีบอกว่าศาสนาเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ชะตากรรมของชาวมุสลิมในสหรัฐฯ หลังเหตุการณ์ 9/11 ได้บังคับให้เขาต้องใช้ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่จะทำให้ชาวอเมริกันได้รู้จักอิสลามเพิ่มขึ้น เขาร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Unity Productions Foundation(UPF) ซึ่งได้ผลิตสารคดีโทรทัศน์ที่ได้รับรางวัลหลายเรื่อง ซึ่งรวมทั้ง Muhammad: Legacy of a Prophet (มุฮัมมัดมรดกแห่งศาสนฑูตและCity of Light: The Rise and Fall of Islamic Spain (อาณาจักรแห่งแสงสว่างความรุ่งโรจน์และความเสื่อมถอยของอิสลามในสเปน)

และในสารคดีเรื่องใหม่ของเขา Prince Among Slaves อเลกซ์ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแรงบันดาลใจของเขาและสารคดีเรื่องนี้

คำถามคุณหันมาให้ความสนใจในสารคดีเกี่ยวกับอิสลามได้อย่างไร

คำตอบมันเกิดขึ้นเมื่อปี 1998 ตอนนั้นผมกำลังถ่ายทำรายการสารคดี Hajj to Mecca (พิธีฮัจย์ที่เมกกะของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (CNN)ซึ่งซีเอ็นเอ็นก็ได้แพร่ภาพสารคดีชุดนี้ออกไปทั่วโลก มีผู้ชมถึงกว่า 500 ล้านคน นั่นแหละที่ทำให้ผมได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ในการถ่ายทอดเรื่องราวสู่ผู้ชมจำนวนมากมายมหาศาลทั่วทุกมุมโลก

ก่อนเกิดเหตุการณ์ 9/11 ชาวอเมริกันส่วนใหญ่แทบไม่รู้เรื่องของโลกภายนอก อย่าว่าแต่เรื่องอิสลามหรือมุสลิมเลย ชาวอเมริกันไม่รู้เรื่องศาสนาของโลกตะวันออกแม้แต่น้อย เราก็เลยพยายามเติมช่องว่างตรงนี้ ถ่ายทอดเนื้อหาที่ช่วยให้ผู้คนได้เข้าใจเรื่องราวเบื้องหลังพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์และทีวีทั้งหลาย เป้าหมายของเราคือสันติภาพผ่านสื่อมวลชน

คำถามการที่ในวัยเด็กคุณมาจากครอบครัวที่มีศาสนาหลากหลายช่วยในงานนี้ได้อย่างไร

คำตอบช่วยได้มากเลยละ ผมเข้าใจว่าไม่จำเป็นที่ศาสนาใดศาสนาหนึ่งจะทำให้คนแต่ละคนเป็นคนดีหรือเลว แต่เป็นที่ตัวคนๆ นั้น ความพยายามของเขาและข้อจำกัดของเขาที่นำเขาไปสู่ความเป็นคนดี ผมว่ามนุษย์ทุกคนมีข้อบกพร่อง แต่ศาสนานี่ละที่จะนำพาผู้คนไปสู่หนทางที่ดี ทางนำที่ถูกต้อง

แต่กระนั้นก็ตาม คุณจะเห็นว่ามีตัวอย่างมากมายที่คนทำผิดในนามศาสนา

คำถามชาวอเมริกันก่อนสงครามรู้เรื่องอิสลามและมุสลิมอย่างไรบ้าง

คำตอบก็รู้ละ และรู้มากกว่าชาวอเมริกันในยุคปัจจุบันตั้งเยอะ มีความสัมพันธ์มากมายของบรรดาบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและอเมริกายุคบุกเบิกกับอิสลามและโลกอาหรับ โมร็อคโคเป็นประเทศแรกที่ประกาศรับรองประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากอเมริกาประกาศตนเป็นเอกราชไม่ขึ้นกับอังกฤษ โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson ค.ศ.1743-1826ประธานาธิบดีคนที่สามของสหรัฐฯ มีคัมภีร์อัล-กุรอานไว้ในห้องสมุดส่วนตัว ดูสิ...ชายผู้ชาญฉลาดเหล่านี้ซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมา เป็นนักอ่านหนังสือตัวยง และพวกเขาอ่านตำราที่มาจากโลกอิสลามด้วย

คำถามสิ่งนี้ส่งผลต่อความคิดที่ว่าอเมริกาคือชาติยิว-คริสต์อย่างไร

คำตอบผมว่าต้องดูด้วยว่าอิสลามได้มีบทบาทต่อการก่อตั้งประเทศอเมริกาอย่างไร ซึ่งผสมปนเปกันไป ความเชื่อมโยงของชาวมุสลิมในประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้นของอเมริกาเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง อย่างเช่นทาสจากอาฟริกานั้นคาดว่ามีร้อยละ 25 ที่เป็นชาวมุสลิม พวกเขานำวิทยาการที่เหนือกว่ามาเผยแพร่ให้กับนายทาสที่ซื้อตัวพวกเขา นำความรู้ที่เป็นประโยชน์มาช่วยสร้างประเทศอเมริกา

อเมริกาเป็นหนี้บุญคุณทาสชาวมุสลิมแน่นอน

คำถามสารคดีเรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างไรบ้าง

คำตอบจำนวนมากบอกว่าพวกเขาไม่เคยตระหนักเลยว่าอเมริกาในยุคก่อตั้งนั้นมีมุสลิมจำนวนมากทีเดียวและก็เรื่องราวของเจ้าชายอับดุล-ราฮ์มานผู้กลายเป็นทาสก็บอกไว้แล้ว เรื่องราวของเขาก็คือ เขาอาศัยในโลกที่เป็นสากล เรื่องราวยุคเริ่มต้น เจ้าชายผู้กลายเป็นทาส และเรื่องราวของคนที่ตกจากที่สูงสุดลงสู่ที่ต่ำสุดเป็นเรื่องราวที่รันทดเสมอ.

(อ้างอิง : คัดลอกจากหน้าเพจ musachiza บทความชื่อ จากเจ้าชายในอัฟริกา ต้องกลายเป็นทาสในอมริกา http://www.oknation.net/blog/musachiza/2011/08/09/entry-1 )
ปีนี้เป็นวาระ 207 ปี ที่รัฐสภาอังกฤษได้ออกกฎหมายห้ามการค้าทาส เมื่อ ค.ศ.1807 การค้าทาสรุ่งเรืองในยุคของการค้นพบโลกใหม่ คือทวีปอเมริกา และการอพยพชาวยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งต้องการแรงงานในการบุกเบิก การทำเหมืองแร่ และเกษตรกรรม และแรงงานส่วนใหญ่ก็คือ คนผิวดำที่ถูกนำตัวมาจากทวีปแอฟริกา ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ประมาณว่ามีชาวแอฟริกา จำนวน 12-15 ล้านคน ถูกส่งตัวลงเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังดินแดนอันห่างไกล โดย 85 เปอร์เซ็นต์ ถูกส่งไปยังบราซิล และอาณานิคมต่างๆ ของสเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา ในทะเลแคริบเบียน และประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ถูกส่งไปยังสหรัฐ ซึ่งในเวลานั้นอยู่ในความปกครองของอังกฤษ  ภาพของทาสผิวดำที่เห็นจากหนังสือ และภาพยนตร์ ก็คือมนุษย์ที่ถูกล่ามโซ่ ใส่ขื่อคา ถูกเฆี่ยนตี และทำร้ายร่างกาย หรือทรมานด้วยวิธีการอันทารุณโหดร้าย รวมทั้งถูกนาบด้วยเหล็กที่เผาไฟจนแดงเพื่อประทับตราของเจ้าของทาส ไม่ต่างจากวัวควาย  การค้าทาสเริ่มต้นด้วยสงครามระหว่างชนเผ่า และผู้ที่ตกเป็นเชลยก็จะถูกขายแก่พ่อค้าชาวอาหรับ ต่อมาชาติตะวันตกก็ได้เข้าร่วมในการค้าทาสอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทำให้สงครามระหว่างเผ่า นอกจากความขัดแย้งในเรื่องต่างๆ แล้ว ยังกลายเป็นการหาสินค้าคือเชลย มาขายแก่พวกพ่อค้าทาส เมื่อความต้องการทาสในทวีปอเมริกาสูงขึ้น ก็ทำให้เกิดการลักพาตัว ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่งทวีปแอฟริกา และขบวนการล่าชนพื้นเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีปด้วยน้ำมือของคนแอฟริกันด้วยกันเอง เพื่อนำมาขายแก่พ่อค้า ซึ่งบางครั้งก็เพียงแค่แลกเปลี่ยนกับของเล็กๆ น้อยๆ เช่น เหล้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ มีด ดาบ และปืน  การค้าทาสในสมัยนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับการค้าปศุสัตว์ คนผิวดำทั้งที่เป็นเชลยและถูกจับมาจะถูกล่ามโซ่ติดกันและเดินทางเป็นระยะทางไกลในเวลากลางคืน เพื่อให้หลบหนีได้ยาก จนมายังสถานที่เป็นศูนย์กลางการค้าทาส ที่นั่นจะมีการประมูลทาส เมื่อประมูลได้แล้วเจ้าของก็จะประทับตราของตนลงบนตัวทาส และส่งต่อไปยังชายทะเลเพื่อลงเรือเล็กไปขึ้นเรือใหญ่ต่อไป สภาพในเรือก็อดอยาก สกปรก แออัด และทุกข์เข็ญ จนหลายคนเสียชีวิตกลางทาง ซึ่งก็จะถูกจับโยนลงทะเลเหมือนซากสัตว์  การค้าทาสเป็นการส่งเสริมให้มีการทำสงครามระหว่างเผ่า การลักพาตัว ขณะเดียวกันก็เป็นการโยกย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจของชาวแอฟริกันจำนวนมหาศาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม ของทวีปแอฟริกาโดยรวม จากอดีตถึงปัจจุบัน และการค้าทาสก็เป็นอาชญากรรม และความเลวร้ายที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว  อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการห้ามค้าทาสมาเป็นเวลา 207 ปีแล้ว แต่ปัจจุบัน การค้ามนุษย์ก็ยังดำเนินอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เปลี่ยนไปตามสภาพของสังคม แต่ความทุกข์ทรมาน ความปวดร้าวจิตใจ และการสูญเสียคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ย่อมจะไม่ต่างไปจากทาสในสมัยก่อน หรอกครับ  “คุณประภัสสร เสวิกุล  ได้กล่าวไว้ใน นสพ. คมชัดลึก”
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น