เอเอฟพี/เอเจนซีส์ -
แนวร่วมกบฏมุสลิมกลุ่มใหม่ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้ก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของไทย
ได้เปิดตัวที่มาเลเซีย พร้อมเรียกร้องในวันพฤหัสบดี (27
ส.ค.) ให้มีการกลับมาเจรจาสันติภาพกันอีกครั้ง
แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าผู้นำรัฐบาลไทยจะให้การยอมรับพวกเขาหรือไม่ คณะผู้แทนของกลุ่ม
“มารา ปัตตานี” ซึ่งอ้างว่าเป็นปากเป็นเสียงพูดแทนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย
6 กลุ่ม ระบุว่า พวกเขาได้พบกับเจ้าหน้าที่ไทยแล้วระหว่างการพูดคุยกันที่มาเลเซียเมื่อวันที่
25 ส.ค. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ “มารา ปัตตานี” เป็นการร่วมมือกันของกลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย 6 กลุ่ม ได้แก่ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น), แนวร่วมอิสลามปลดปล่อยปาตานี (บีไอพีพี), องค์การปลดปล่อยสหปาตานี
(พูโล) 3 กลุ่ม, ขบวนการมูญาฮิดีนอิสลามปาตานี
(จีเอ็มไอพี) “หลักการของเรา คือ หาวิธีแก้ปัญหาโดยการพูดคุยอย่างสันติ”
อาวัง ยะบะ บอกกับนักข่าวระหว่างการพูดคุยกันที่กัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เขาเป็นประธานกลุ่มมาราปัตตานี
และเป็นผู้แทนจากขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี (บีอาร์เอ็น) “เราหวังว่าจะสามารถยุติการสู้รบและก่อให้เกิดสันติอย่างยั่งยืน”
เขากล่าว เขาบอกด้วยว่า ผู้แทนของไทยที่เข้าร่วมการพูดคุยเมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่ผ่านมา ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจน โดยอ้างว่าต้องขอหารือกับผู้นำ คสช.
เสียก่อน อย่างไรก็ตาม พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย
ได้แสดงท่าทีข้องใจกับการหันกลับมาขอเจรจาสันติภาพครั้งนี้
ระหว่างการให้ความเห็นกับเอเอฟพีที่กรุงเทพฯ “การเจรจาสันติภาพเป็นเรื่องที่ทางหน่วยงานความมั่นคงดูแลอยู่แล้ว
อย่าไปให้ความสำคัญกับกลุ่มที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่เหล่านี้” เขากล่าว การก่อความไม่สงบที่กินเวลายาวนานนับทศวรรษในภาคใต้ของไทยนั้น
มีทั้งการวางระเบิดและยิงกันเกือบทุกวัน บางครั้งก็มีการตัดคอด้วย
เหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดน หนึ่งในนั้นคือ
ปัตตานี ชาวมุสลิมจำนวนมากในพื้นที่ชายแดนใต้ของไทย
มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย การต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเองของกลุ่มก่อความไม่สงบเหล่านี้ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย
ประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ได้ทำให้มีคนตายไปแล้วมากกว่า 6,400 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นพลเรือน มาเลเซีย
เคยจัดให้มีการเจรจาสันติภาพระหว่างกลุ่มก่อความไม่สงบกับรัฐบาลไทยชุดก่อนหลายครั้งแล้วเมื่อปี
2013 แต่มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความขัดแย้งนี้
ระบุว่า
ความพยายามที่จะนำมาซึ่งสันติภาพได้ถูกขัดขวางโดยกลุ่มย่อยของผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้
รวมถึงความคลางแคลงใจในตัวผู้เจรจาครั้งก่อน ๆ ของกลุ่มบีอาร์เอ็น
ว่าเป็นตัวแทนของผู้ที่ก่อความไม่สงบในพื้นที่ตัวจริงหรือไม่ ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ไทยเมื่อวันที่
25 ส.ค. ที่ผ่านมา “มารา ปัตตานี”
ได้ขอให้มีการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับความรุนแรงในอดีตที่เคยทำไว้ เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการกลับมาเจรจาสันติภาพ พวกเขายังบอกด้วยว่า
การเจรจาสันติภาพควรได้รับการบรรจุให้เป็นวาระแห่งชาติโดยรัฐสภาไทย
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การเจรจาในอนาคตต้องล่มอีกครั้ง เพราะการเปลี่ยนรัฐบาล
รวมถึงต้องการให้ไทยยอมรับองค์กร มารา ปัตตานี
เอพี/เอเจนซีส์/ASTVผู้จัดการออนไลน์ – อัยการจีนได้ออกคำสั่งจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและผู้บริหารบริษัทจำนวน
11 คน
หลังต้องสงสัยเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดคลังสินค้าเก็บสารเคมีพิษโซเดียมไซยาไนด์ในนิคมอุตสาหกรรมเทียนจินในช่วงกลางเดือนสิงหาคมล่าสุด
หลังจากที่ยอดผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ไม่ต่ำกว่า 139 คน
และเป็นที่น่าตกใจเมื่อพบว่าทางการจีนได้นำกรงสัตว์ อาทิ กรงกระต่าย กรงไก่
ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมเพื่อทดสอบพิษในอากาศ
ในขณะที่มีรายงานพบฝูงปลาจำนวนมากได้ตายบริเวณแม่น้ำในเทียนจินสร้างความกังวลให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองท่าแห่งนี้
เอพีรายงานในวันนี้(27)ว่า สำนักงานอัยการจีนได้ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ในวันพฤหัสบดี(27)ว่า กลุ่มผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมรวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ยังปฎิบัติหน้าที่และเจ้าหน้าที่ซึ่งเกษียณอายุไปแล้วของเมืองเทียนจิน เมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งของจีน และการจับกุมตัวยังรวมไปถึงพนักงานบริษัทที่บริหารท่าเรือ ซึ่งใหญ่ที่สุดในทางตอนเหนือของจีน ซึ่งในการแถลงได้ระบุข้อกล่าวหาว่า ทั้งหมดละเลยการปฎิบัติหน้าที่และใช้ตำแหน่งในการหาผลประโยชน์ เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า เหตุระเบิดในนิคมอุตสาหกรรมเทียนจินในวันที่ 12 สิงหาคม 2015 ทำให้มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และตำรวจจำนวนไม่ต่ำกว่า 115 คน เสียชีวิต และสาบสูญและทำให้มียอดผู้เสียชีวิตล่าสุดในปัจจุบันสูงถึง 139 คน ในขณะที่การสอบสวนในคดีนี้พุ่งเป้าไปที่การได้รับใบอนุญาตในการเก็บสารเคมีอันตราย โซเดียมไซยาไนด์ และสารเคมีอันตรายอื่นๆของโกดังทั้งสองแห่งในนิคมอุตสาหกรรมเทียนจินถึงแม้ว่าจะละมิดกฏหมายความปลอดภัยที่ห้ามไม่ให้ตั้งอยู่ใกล้กับเขตชุมชนและถนนในรัศมี 1 กม. และในการสอบสวนยังพบว่า โกดังเกิดเหตุนั้นเก็บสารเคมีอันตรายจำนวนมากเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต และเก็บในบริเวณขึ้นลงสินค้า ไม่ใช่ในบริเวณเฉพาะซึ่งจัดสำหรับการเก็บสารพิษอันตรายที่ต้องมีความปลอดภัยเป็นพิเศษ เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า แถลงการณ์จากสำนักงานอัยการจีนยังกล่าวต่อว่า “ผู้ต้องสงสัยทุกรายที่ถูกสั่งจับกุมนั้นล้มเหลวในการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อการทำความผิดของบริษัท Ruihai International Logistics ที่ใช้ช่องทางพิเศษรับใบอนุญาตผิดกฎหมายรับรองความปลอดภัยเพื่อเก็บสารพิษในโกดังที่เกิดระเบิดที่ทางบริษัทดำเนินการบริหาร” ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจีนได้จับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวน 12 คนซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท Ruihai International Logistics ซึ่งบริษัทแห่งนี้เก็บสารเคมีพิษต่างกันถึง 40 ชนิด รวมไปถึงโซเดียมไซยาไนด์700 ตัน แอมโมเนียมไนเตรท 800 ตัน และโปแตทเซียมอีก 500 ตัน
ทั้งนี้จากการรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา อ้างอิงการรายงานของสื่อจีน ไชน่าเดลี พบว่า เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจีนได้วางกรงสัตว์ขนาดเล็กเป็นต้นว่า กรงกระต่าย กรงไก่ และกรงนก ซึ่งแต่ละกรงมีสัตว์อย่างละ 2 ตัวไว้บริเวณจุดศูนย์กลางการระเบิดเพื่อทดสอบสภาพอากาศในพื้นที่ว่ามีการปนเปื้อนสารเคมีพิษในอากาศหรือไม่ในวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามสื่อท้องถิ่นจีนรายงานถึงชะตากรรมกระต่ายทดลองในกรงที่วางไว้สูดอากาศเป็นเวลา 2 ชม.ว่า พวกมันรอดตายอย่างราวกับปาฎิหารย์ ทั้งนี้มีความสงสัยในการปนเปื้อนสารพิษในอากาศและทางระบบนิเวศน์หลังเกิดระเบิดเทียนจินขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวเทียนจินหวาดผวา และต่างไม่เชื่อในคำบอกอ้างของรัฐบาลจีนที่ว่า "ทุกสิ่งปกติและอยู่ในความควบคุม" และความกังวลมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อในวันที่ 21 สิงหาคมล่าสุด ชาวเมืองพบภาพปลาจำนวนมากลอยตายเกลื่อนซัดขึ้นฝั่งบริเวณแม่น้ำเทียนจิน แต่ทว่าทางการจีนกลับออกมาอ้างว่า ตรวจไม่พบการปนเปื้อนของสารไซยาไนด์ในแม่น้ำที่มีปลาลอยตายยกฝูงนี้
เอพีรายงานในวันนี้(27)ว่า สำนักงานอัยการจีนได้ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ในวันพฤหัสบดี(27)ว่า กลุ่มผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับกุมรวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ยังปฎิบัติหน้าที่และเจ้าหน้าที่ซึ่งเกษียณอายุไปแล้วของเมืองเทียนจิน เมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งของจีน และการจับกุมตัวยังรวมไปถึงพนักงานบริษัทที่บริหารท่าเรือ ซึ่งใหญ่ที่สุดในทางตอนเหนือของจีน ซึ่งในการแถลงได้ระบุข้อกล่าวหาว่า ทั้งหมดละเลยการปฎิบัติหน้าที่และใช้ตำแหน่งในการหาผลประโยชน์ เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า เหตุระเบิดในนิคมอุตสาหกรรมเทียนจินในวันที่ 12 สิงหาคม 2015 ทำให้มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และตำรวจจำนวนไม่ต่ำกว่า 115 คน เสียชีวิต และสาบสูญและทำให้มียอดผู้เสียชีวิตล่าสุดในปัจจุบันสูงถึง 139 คน ในขณะที่การสอบสวนในคดีนี้พุ่งเป้าไปที่การได้รับใบอนุญาตในการเก็บสารเคมีอันตราย โซเดียมไซยาไนด์ และสารเคมีอันตรายอื่นๆของโกดังทั้งสองแห่งในนิคมอุตสาหกรรมเทียนจินถึงแม้ว่าจะละมิดกฏหมายความปลอดภัยที่ห้ามไม่ให้ตั้งอยู่ใกล้กับเขตชุมชนและถนนในรัศมี 1 กม. และในการสอบสวนยังพบว่า โกดังเกิดเหตุนั้นเก็บสารเคมีอันตรายจำนวนมากเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต และเก็บในบริเวณขึ้นลงสินค้า ไม่ใช่ในบริเวณเฉพาะซึ่งจัดสำหรับการเก็บสารพิษอันตรายที่ต้องมีความปลอดภัยเป็นพิเศษ เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า แถลงการณ์จากสำนักงานอัยการจีนยังกล่าวต่อว่า “ผู้ต้องสงสัยทุกรายที่ถูกสั่งจับกุมนั้นล้มเหลวในการใช้มาตรการที่เข้มงวดต่อการทำความผิดของบริษัท Ruihai International Logistics ที่ใช้ช่องทางพิเศษรับใบอนุญาตผิดกฎหมายรับรองความปลอดภัยเพื่อเก็บสารพิษในโกดังที่เกิดระเบิดที่ทางบริษัทดำเนินการบริหาร” ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจีนได้จับกุมผู้ต้องสงสัยจำนวน 12 คนซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท Ruihai International Logistics ซึ่งบริษัทแห่งนี้เก็บสารเคมีพิษต่างกันถึง 40 ชนิด รวมไปถึงโซเดียมไซยาไนด์700 ตัน แอมโมเนียมไนเตรท 800 ตัน และโปแตทเซียมอีก 500 ตัน
ทั้งนี้จากการรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา อ้างอิงการรายงานของสื่อจีน ไชน่าเดลี พบว่า เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจีนได้วางกรงสัตว์ขนาดเล็กเป็นต้นว่า กรงกระต่าย กรงไก่ และกรงนก ซึ่งแต่ละกรงมีสัตว์อย่างละ 2 ตัวไว้บริเวณจุดศูนย์กลางการระเบิดเพื่อทดสอบสภาพอากาศในพื้นที่ว่ามีการปนเปื้อนสารเคมีพิษในอากาศหรือไม่ในวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามสื่อท้องถิ่นจีนรายงานถึงชะตากรรมกระต่ายทดลองในกรงที่วางไว้สูดอากาศเป็นเวลา 2 ชม.ว่า พวกมันรอดตายอย่างราวกับปาฎิหารย์ ทั้งนี้มีความสงสัยในการปนเปื้อนสารพิษในอากาศและทางระบบนิเวศน์หลังเกิดระเบิดเทียนจินขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวเทียนจินหวาดผวา และต่างไม่เชื่อในคำบอกอ้างของรัฐบาลจีนที่ว่า "ทุกสิ่งปกติและอยู่ในความควบคุม" และความกังวลมีเพิ่มมากขึ้นเมื่อในวันที่ 21 สิงหาคมล่าสุด ชาวเมืองพบภาพปลาจำนวนมากลอยตายเกลื่อนซัดขึ้นฝั่งบริเวณแม่น้ำเทียนจิน แต่ทว่าทางการจีนกลับออกมาอ้างว่า ตรวจไม่พบการปนเปื้อนของสารไซยาไนด์ในแม่น้ำที่มีปลาลอยตายยกฝูงนี้
รอยเตอร์
- เจ้าหน้าที่ตุรกีเผยในวันพฤหัสบดี(27ส.ค.)
พวกเขาทราบเรื่องแล้วกรณีที่ตำรวจไทยกำลังตรวจสอบการเดินทางเข้าประเทศของพลเมืองเตอร์กิช
ไม่กี่วันก่อนหน้าเกิดเหตุระเบิดใจกลางกรุงเทพฯคร่าชีวิต 20 ศพ
แต่ยังไม่ได้รับคำร้องขอข้อมูลหรือความช่วยเหลือจากทางการไทย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าตำรวจในไทยและนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงบางส่วนหยิบยกความเป็นไปได้ในความเชื่อมโยงของชนกลุ่มน้อยมุสลิมอุยกูร์
จากทางตะวันตกไกลของจีน ซึ่งคร่ำครวญว่าถูกรัฐบาลปักกิ่งกดขี่ข่มเหง
กับเหตุระเบิดบริเวณศาลพรพรหมเอราวัณ บริเวณแยกราชประสงค์ แหล่งสถานสักการะบูชายอดนิยมของนักท่องเที่ยวเอเชีย
คร่าชีวิต 20 ศพ
ในนั้นมากกว่าครึ่งเป็นชาวต่างชาติ รอยเตอร์รายงานว่าเมื่อเดือนที่แล้ว
ไทยบังคับเนรเทศชาวอุยกูร์มากกว่า 100 คนไปยังจีน
เรียกเสียงประณามจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆและการประท้วงด้านนอกสถานกงสุลไทยในอิสตันบูล
ทั้งนี้แนวทางปฏิบัติต่อชาวอุยกูร์เป็นประเด็นที่สำคัญของชาวเติร์กจำนวนมาก
ที่มองว่าพวกเขาเองมีพื้นเพทางศาสนาและวัฒนธรรมร่วมกับชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ ในรายงานข่าวของรอยเตอร์อ้างสื่อมวลชนไทยรายงานว่าตำรวจกำลังสืบสวนพลเมืองตุรกี
15 ถึง 20 คนที่เดินทางเข้าประเทศในช่วง
2 สัปดาห์ก่อนเกิดระเบิด
ขณะที่พอผู้สื่อข่าวสอบถามถึงเรื่องนี้ ทางพล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ
โฆษกตำรวจแห่งชาติ ก็ยืนยันว่าตำรวจอยู่ระหว่างตรวจสอบชาวเตอร์กิซที่เดินทางเข้ามา
"บางทีอาจมีชาวเติร์กเดินทางเข้ามาไทยมากกว่านั้น
เรากำลังสืบสวนกลุ่มต่างๆที่อาจเดินทางเข้ามาในประเทศ" เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวดังกล่าว
ทันจู บิลกิค
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของตุรกีเปิดเผยว่าเขาทราบเกี่ยวกับรายงานข่าวของสื่อมวลชนไทยที่ว่าบางทีอาจมีชาวเติร์กเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด
แต่เน้นว่าอังการายังไม่ได้รับคำร้องขอข้อมูลหรือขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ไทย "รัฐมนตรีต่างประเทศของเราได้ต่อสายถึงรัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของไทยเมื่อวานนี้
และพวกเขาพูดคุยถึงความสัมพันธ์ทวิภาคี เช่นเดียวกับเรื่องต่อสู้กับก่อการร้าย
แต่ในประเด็นที่เฉพาะเจาะจงนี้ไม่ได้มีการหารือกัน" เขาบอกกับผู้สื่อข่าว
"เราบอกกับเจ้าหน้าที่ไทยว่าถ้าคุณมีข้อมูลที่จับต้องได้
กรุณาถ่ายทอดมันมาให้เรา แต่จนถึงตอนนี้ยังเรายังไม่ได้รับข้อมูลใดๆเลย" ผู้ต้องสงสัยหลักในเหตุระเบิดของตำรวจคือบุคคลในภาพกล้องวงจรปิดที่เป็นชายผมดำใส่เสื้อยืดสีเหลืองและวางกระเป๋าเป้ทิ้งไว้หลังจากเข้าไปยังบริเวณศาลพระพรหมและเดินออกมาก่อนเกิดระเบิด
โดยในบรรดาผู้เสียชีวิต 20 คนนั้น เป็นชาวต่างชาติ 12
คน มีทั้งชาวจีน ฮ่องกง อังกฤษ อินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ รายงานของรอยเตอร์อ้างคำพูดของนายแอนโธนี
เดวิส นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงประจำประเทศไทยของวารสารความมั่นคงไอเอชเอส เจนส์
แสดงความเห็น ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศของไทยเมื่อวันจันทร์(24ส.ค.)
ว่ามีเพียงไม่กี่กลุ่มที่มีแรงจูงใจและความสามารถในการก่อเหตุโจมตีลักษณะนี้ เขาบอกว่าเป็นไปได้อย่างมากที่สุดว่ามือโจมตีจะเป็นสมาชิกขององค์กรชาตินิยมรุนแรงเตอร์กิชกลุ่มหนึ่ง
นามว่า เกรย์ วูล์ฟส (Grey Wolves) เนื่องจากมีศักยภาพในการก่อความรุนแรง
เพื่อมุ่งหมายเอาชีวิตคนจำนวนมาก ส่วนกลุ่มต่างๆ ทางการเมืองนั้น ไม่เคยก่อเหตุเพื่อมุ่งหมายเอาชีวิตคนจำนวนมากขนาดนี้มาก่อน
อีกทั้งการโจมตีที่บริเวณศาลพระพรหมนั้น เป็นความตั้งใจโจมตีสถานที่
ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจีนที่มาเยือนไทย นายเดวิส
บอกว่าแรงจูงใจน่าจะมาจากต้องการแก้แค้นไทยที่ส่งชาวอุยกูร์ไปยังจีน
พร้อมระบุว่ากลุ่มเกรย์ วูล์ฟส
เป็นแถวหน้าของฝูงม็อบที่ลงมือโจมตีสถานกงสุลไทยในอิสตันบูลเมื่อเดือนที่แล้ว
ระหว่างการประท้วงต่อต้านการตัดสินใจส่งตัวชาวอุยกูร์กลับไปยังจีนของทางการไทย
บีบีซีไทย/ข่าวสดออนไลน์
รายงานเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2558 ว่า นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงเสนอแนวคิดใหม่อธิบายเหตุระเบิดราชประสงค์
ตัดประเด็นทั้งการเมืองเรื่องภาคใต้ ไม่เกี่ยวกับไอเอสหรืออัลไคดา
ตีโจทย์คนลงมือต้องเป็นกลุ่มต่างประเทศ เอ่ยชื่อกลุ่มเกรย์ โวลฟส์ในตุรกี
ชี้เป็นการจับมือเฉพาะกิจต้องการแก้แค้นเรื่องอุยกูร์ แอนโทนี เดวิส
นักวิเคราะห์ประจำประเทศไทยของกลุ่มไอเอชเอส - เจนส์
ซึ่งเป็นกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลด้านข่าวความมั่นคงและการทหาร
เปิดประเด็นความเป็นไปได้ของกลุ่มลงมือกรณีระเบิดราชประสงค์ว่า
ต้องเป็นกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษในการใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง เพราะลักษณะของระเบิดที่ใช้และลักษณะของการลงมือชี้ว่าต้องอาศัยการวางแผน
อย่างดี รอบคอบและมีคนสนับสนุน โดยดูจากทั้งที่ราชประสงค์และที่สาทร เดวิสซึ่งอยู่ในประเทศไทยร่วมสามสิบปี
ติดตามงานด้านความมั่นคงตลอดจนปัญหาสามจังหวัดภาคใต้มานานนำเสนอความเห็นของ
เขาในวงเสวนาเรื่อง “ระเบิดในกรุงเทพฯ:
ที่จริงแล้วเรารู้อะไรบ้าง” The Bangkok Bombing : What do we really know?
ที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศค่ำวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมาโดยชี้ว่า
ในความเห็นส่วนตัวของเขา ระเบิดหนนี้ไม่ใช่การลงมือโดยคนคนเดียวอย่างแน่นอน เพราะ
ลักษณะของการลงมือที่บ่งบอกว่าต้องวางแผนมาอย่างดีดังกล่าว มีการจัดวางกำลังชัดเจน
ประการถัดมาสิ่งที่ชัดเจนคือมุ่งหมายทำร้ายชาวต่างชาติ
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน
ซึ่งเรื่องนี้มีนัยสำคัญยิ่งกว่าข้อเท็จจริงที่ว่าเป็นการโจมตีเป้าหมายที่
มีความสำคัญทางศาสนา เขาระบุว่ามีสามกลุ่มที่ควรพิจารณา
กลุ่มแรกคือกลุ่มการเมืองในประเทศที่เกิดจากความแตกแยกกัน
กลุ่มที่สองคือกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐในสามจังหวัดภาคใต้
และกลุ่มที่สามคือกลุ่มจากต่างประเทศ
นักวิเคราะห์ของไอเอชเอส - เจนส์บอกอีกว่า
เขาตัดกลุ่มแรกที่กระทำด้วยมูลเหตุจูงใจในเรื่องการเมืองออกไปเพราะจาก
ประสบการณ์ที่เห็นเมืองไทยมานานทำให้เห็นได้ชัดว่า
ระดับของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับระเบิดราชประสงค์ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เคย
เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ “ระเบิดเมื่อวันจันทร์ที่แล้วเป็นความรุนแรงระนาบใหม่
มันเป็นเกมแบบใหม่ไม่ใช่แบบที่เราเคยเห็นจากประสบการณ์ที่ผมอยู่เมืองไทยมา
สามสิบปี เห็นการนองเลือดมาหลายหนแต่ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้
ลักษณะแบบนี้ไม่ใช่ลักษณะการลงมือแบบไทย”
ส่วนในเรื่องว่าระเบิดนี้อาจจะเป็นการลงมือของกลุ่มผู้เห็นต่างในภาคใต้
ซึ่งที่จะมีศักยภาพทำได้ก็มีเพียงกลุ่มเดียวคือกลุ่มบีอาร์เอ็น เดวิสบอกว่า
ลักษณะระเบิดที่ใช้ไม่เหมือนในภาคใต้ซึ่งใช้วัตถุระเบิดที่แตกต่างกว่ากัน มาก
ระเบิดที่ราชประสงค์เป็น “industrial type” คือมีลักษณะใช้เทคโนโลยีสูง
ในทางเทคนิคไม่ใช่แบบที่ใช้ในภาคใต้
นอกจากนั้นการลงมือส่วนใหญ่ในภาคใต้เพื่อต้องการดึงดูดความสนใจหรือทำเพื่อ
บ่งบอกอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
แม้จะมีคนบาดเจ็บเสียชีวิตแต่ไม่ได้หวังทำลายชีวิตมากเท่านี้
นอกจากนี้เดวิสบอกว่าเขาได้ยินมาว่าบีอาร์เอ็นได้พยายามสื่อสารเงียบๆไปยัง
ฝ่ายต่างๆว่าตนไม่เกี่ยวข้อง “บีอาร์เอ็นเองก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรในอันที่จะยอมให้มีกลุ่มย่อยแยกตัวออกมา
แล้วไปสังหารคนสร้างความเสียหายมากขนาดนี้
เดวิสชี้ว่า
สิ่งที่เป็นไปได้คือระเบิดหนนี้เป็นการทำงานของกลุ่มนอกประเทศ
ต้องเป็นกลุ่มที่มีลักษณะจัดตั้ง มีศักยภาพที่จะทำได้ และมีมูลเหตุจูงใจที่จะทำ
เขาชี้ว่า กลุ่มที่อยู่ในข่ายคือกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส
ซึ่งไม่จำเป็นต้องปฏิบัติการจากพื้นที่ในครอบครองในตะวันออกกลางเท่านั้น
แต่เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนในต่างแดนตอบสนองด้วย
มีกลุ่มผู้สนับสนุนที่ไปร่วมรบไอเอสทั้งในอินโดนีเซียและมาเลเซีย
และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีกลุ่มที่ขึ้นต่อไอเอสเรียกว่า Katibah
Nusantara และประเด็นที่เป็นมูลเหตุจูงใจก็คือไม่พอใจวิธีที่รัฐบาลไทยปฏิบัติต่อ
มุสลิมในประเทศ กลุ่มต่างประเทศกลุ่มถัดมาที่เดวิสเห็นว่ามีศักยภาพทำได้คือกลุ่มอัลไคดา
ซึ่งก็มีกลุ่มย่อยที่มีความเชื่อมโยงเป็นพันธมิตรที่เรียกว่า Turkistan
Islamic Party ซึ่งก็คือกลุ่มคนเชื้อชาติเดียวกันกับอุยกูร์
แต่แอนโทนี เดวิสชี้ว่า
ทั้งสองกลุ่มนี้ก็ยังไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการวางระเบิดที่ราชประสงค์
เพราะแม้จะมีศักยภาพและมีมูลเหตุจูงใจ แต่ทั้งไอเอสและอัลไคดา
ดำเนินการก่อเหตุเพราะต้องการดึงดูดความสนใจ ในขณะที่ระเบิดราชประสงค์ผ่านไปแล้วหนึ่งสัปดาห์โดยที่ไม่มีใครตัวอ้างเป็น
ผู้ลงมือ อีกอย่าง ลักษณะการลงมือของกลุ่มเหล่านี้มักมีจุดเด่นคือเป็นลักษณะพลีชีพ นักวิเคราะห์ไอเอชเอส -
เจนส์สรุปว่า
กลุ่มที่เขาเห็นว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากในบรรดากลุ่มต่างๆที่กล่าวมา
เป็นกลุ่มจิฮาดในต่างประเทศที่เขาใช้คำว่า “พันธุ์ผสม”
และไม่จำเป็นต้องมีชื่อหรือเป็นที่รู้จัก
แต่มีลักษณะของการเป็นองค์กรจัดตั้งและเกี่ยวพันกับกลุ่มในตุรกี
เดวิสชี้ให้จับตากลุ่ม Grey Wolves ซึ่งเป็นกลุ่มใช้ความรุนแรงขวาสุดโต่ง
เกี่ยวพันกับการก่อเหตุมาแล้วในอดีตในความขัดแย้งหลายกรณีตั้งแต่นากอร์โน คาราบัค
เชชเนีย ไซปรัส เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันรวมๆ
สนับสนุนอุยกูร์อย่างมากและมีบทบาทอยู่แถวหน้าในการประท้วงและเข้าโจมตีสถาน
ทูตไทยในตุรกีหลังเหตุการณ์ไทยส่งอุยกูร์ให้จีน
เขาเชื่อว่ากลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาชญากรรมของคนเชื้อสายตุรกีทั่ว
ไปไม่ว่ากลุ่มที่ทำเรื่องลักลอบค้ายาเสพติดหรือค้ามนุษย์
และกลุ่มที่เป็นกลุ่มอาญากรรม
จับมือกับกลุ่มที่มีแนวความคิดหรืออุดมการณ์ลงมือในงานนี้โดยเฉพาะ
แต่ทั้งนี้เขาระบุว่า “ผมไม่ได้บอกว่าอุยกูร์เป็นคนลงมือ
อุยกูร์ต่อสู้ในประเทศไม่มีอะไรเลย ศักยภาพไม่ถึงขั้น” ด้าน
พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและโฆษก สตช.กล่าวว่า
คดีนี้เป็นคดีที่ยากเป็นพิเศษ ลักษณะระเบิดใช้วัสดุที่หายากในไทย
ทำลายตัวเองเกือบหมด มีแรงทำลายล้างสูง ไม่ใช่ระเบิดที่จะทำได้โดยง่าย
ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีกรณีเช่นนี้
เมื่อถามว่าระเบิดนี้น่าจะประกอบในไทยหรือไม่
พล.ต.ท.ประวุฒิชี้ว่าน่าจะประกอบในไทยแต่ไม่ใช่ในกรุงเทพฯ
ส่วนเรื่องที่ว่าเจ้าหน้าที่กำลังตามหาชายคนหนึ่งพร้อมระบุชื่อด้วยนั้น
พล.ต.ท.ประวุฒิกล่าวปฏิเสธ พร้อมกันนั้นชี้กับผู้สื่อข่าวว่า ต้องให้เวลาเจ้าหน้าที่ทำงาน
ที่ผ่านมาทุกคนทำงานกันเต็มที่จนหลายคนไม่ได้นอน “มันเพิ่งผ่านมาเจ็ดวันนะครับ
ไม่ใช่เจ็ดปี”
เอเจนซีส์/ASTVผู้จัดการออนไลน์ –
นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียล่าสุดออกมาร้องขอให้ประชาชนในรัฐคุชราตอยู่ในความสงบหลังจากเกิดเหตุประท้วงของคนในวรรณะปาเทล(Patel
Caste)ที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลซึ่งมีจำนวนร่วม 20% จากประชากรทั้งหมดในรัฐนี้เพื่อร้องขอโอกาสความเท่าเทียมในการจ้างงาน
การศึกษา และนำไปสู่ความรุนแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย
สถานีตำรวจในพื้นที่ถูกเผาไม่ต่ำกว่า 40 แห่ง
และรถเมล์โดยสารอีกอย่างน้อย 70 คันถูกจุดไฟวอด ซึ่งทางกลุ่มอ้างว่า
เพราะกฏหมายความเท่าเทียมทำให้โควตาในการเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยต้องถูกแบ่งปันไปให้ชาวคุตราตที่มีวรรณะต่ำกว่า
และเป็นเพราะการเติบโตอุตสาหกรรมระดับกลางและล่างช้าลง
ทำให้ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจโดยตรงกับคนวรรณะปาเทล ซึ่งทำให้โอกาสการได้งานลดลง บีบีซี
สื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้(26)ว่า นายกรัฐมนตรีอินเดีย
นเรนทรา โมดีได้กล่าวถึงความรุนแรงในรัฐคุชราตที่โมดีเคยดำรงตำแหน่งมุขมนตรีก่อนก้าวเข้าสู่ทำเนียบนิวเดลีว่า
“ความรุนแรงไม่เคยให้ประโยชน์กับผู้ใด” และหลังจากมีความรุนแรงเกิดขึ้น
เคอร์ฟิวถูกนำมาใช้ที่รัฐทางภาคตะวันตกของอินเดีย
หลังจากมีการปะทะในเหตุประท้วงระหว่างชาวปาเทล(Patel Caste)และตำรวจปราบจลาจลอินเดียและประชาชนชาวคุชราตเชื้อสายอื่นที่มีวรรณะต่ำกว่า
เรียกร้องขอโควตาตำแหน่งงานของเจ้าหน้าที่รัฐสำหรับพวกตน ซึ่งผู้สื่อข่าวบีบีซีในพื้นที่รายงานเพิ่มเติมว่า
เคอร์ฟิวถูกประกาศใช้ใน9 เขตภายในเมืองอาห์เมดาบาด (Ahmedabad)
เมืองซูราต(Surat)ศูนย์กลางการค้าเพชรที่มีคนวรรณะปาเทลควบคุม
และเขตเมห์ซานา(Mehsana) และจากรายงานพบว่าปาเทลเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในรัฐคุชราชย์
ซึ่งประชาชนอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้เรียกตนเองว่าวรรณะปาเทล ถือเป็น 20% ของประชาชนทั้งหมดในรัฐคุชราตที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติอาศัยรวมกัน ซึ่งชุมชนปาเทลไดรับผลประโยชน์ในกฎหมายปฏิรูปที่ดินในศตวรรษที่
19 จากประเทศเจ้าอาณานิคมอังกฤษในขณะนั้น
และทำให้คนวรรณะปาเทลมีความมั่งคั่ง และในปัจจุบันนี้ชาววรรณะปาเทลที่จัดว่าเป็นกลุ่มคนมั่งคั่ง
ดำรงชีพจากเกษตรกรรม และเป็นเจ้าของที่ดินให้เช่าทำกิจการต่างๆ เช่น ธุรกิจ หรือ
โรงแรมขนาดเล็กเป็นต้น และยังควบคุมในอุตสาหกรรมหลักและธุรกิจหลักต่างๆในรัฐคุชราต นอกจากนี้บีบีซีรายงานเพิ่มเติมว่า
การเรียกร้องผละงาน 1 วันจากคนวรรณะปาเทลยังเป็นที่ถูกจับตาอีกด้วย อาห์เมดาบาด
เมืองเอกของรัฐคุชราต และเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 7 ของอินเดีย
ศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย
อีกทั้งเป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตยาที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย 2 บริษัท คือ Zydus Cadila and Torrent Pharmaceuticals ซึ่งอาห์เมดาบาดเหมือนถูกปิดตายไปโดยปริยาย
และกองทัพอินเดียรวมไปถึงกองกำลังทหารอาสาอินเดียได้ถูกสั่งให้ลงควบคุมสถานการณ์ในเมืองแห่งนี้
และรวมไปถึงที่ซูราต นอกจากนี้การให้บริการอินเตอร์เนตโทรศัพท์มือถือได้ถูกระงับลงชั่วคราว โรงเรียนถูกสั่งปิด
บริษัทและห้างร้านหยุดการทำงาน
และการให้บริการขนส่งสามธารณะในเมืองอาห์เมดาบาดหยุดลงชั่วคราว
รวมไปถึงส่วนอื่นๆของรัฐคุชราต บีบีซีรายงานเพิ่มเติมว่า ในเหตุประท้วงที่กลายเป็นความรุนแรงนั้น
มีพ่อและลูกชายอยู่ในกลุ่มคนที่เสียชีวิต และสถานีตำรวจพื้นที่อย่างน้อย 40
แห่งถูกวางเพลิงเผา และรถเมลอย่างน้อย 70 คันถูกจุดไฟเผาโดยกลุ่มผู้ประท้วง สื่ออังกฤษรายงานต่อว่า
เหตุปะทะเกิดขึ้นในอาห์เมดาบาด ซูราต และ ราจโกต(Rajkot) รวมไปถึงเขตบานาสกานรธา(
Banaskantha)ในวันพุธ (26)
เอเจนซีส์ - กระแสรณรงค์ควบคุมอาวุธปืนในอเมริกาตื่นตัวขึ้นอีกครั้ง หลังเหตุการณ์อดีตพนักงานจ่อยิงนักข่าวและตากล้องของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นที่ตนเองเคยทำงานอยู่ เสียชีวิตคาที่ระหว่างออกอากาศสดเมื่อวันพุธ (26 ส.ค.) โดยทิ้งข้อความระบายความรู้สึกยาวเหยียดก่อนยิงตัวตายตาม ระบุว่า ตนคือ “ถังดินปืนมนุษย์” ที่รอวันระเบิด จากการถูกเหยียดผิวและกลั่นแกล้งในที่ทำงาน เพียงเพราะเป็น “เกย์ผิวสี” เวสเตอร์ ลี ฟลานาแกน วัย 41 ปี หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไบรซ์ วิลเลียม ซึ่งเป็นมือปืนที่ก่อเหตุสะเทือนขวัญครั้งนี้ ได้โพสต์คลิปการสังหาร อลิสัน พาร์คเกอร์ ผู้สื่อข่าวสาววัย 24 ปี และ อดัม วอร์ด ตากล้องวัย 27 ปี ของสถานีทีวีช่อง WDBJ ในเครือ CBS แห่งเมืองโรอาโนค มลรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันพุธ ลงบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ คลิปดังกล่าวซึ่งดูเหมือนว่า ฟลานาแกน เป็นผู้ถ่ายเอง ได้เผยให้เห็นว่าผู้เสียชีวิตทั้งคู่ถูกยิงในระยะเผาขน แต่หลังจากโพสต์ขึ้นไปไม่นานนักก็ถูกลบออก ทั้ง พาร์คเกอร์ และ วอร์ด ดูเหมือนมองไม่เห็นตัวมือปืนที่กำลังคุกคามเข้าใกล้พวกเขา ระหว่างเกิดเหตุ พาร์คเกอร์กำลังสัมภาษณ์ วิกกี การ์ดเนอร์ วัย 62 ปี ประธานหอการค้าสมิธ เมาน์เทน เลค ที่บริดต์วอเตอร์ รีสอร์ต ในเมืองโมนิตา ใกล้ ๆ กับเมืองโรอาโนค ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเวอร์จิเนีย โดยการ์ดเนอร์เป็นคนเดียวที่รอดชีวิต และล่าสุด ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยมีอาการทรงตัวแล้วภายหลังเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน ทั้งนี้ เหยื่อทั้งสามต่างเป็นคนผิวขาว จากคลิปเหตุการณ์ซึ่งถูกนำออกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ระหว่างที่พาร์คเกอร์สัมภาษณ์การ์ดเนอร์ ก็มีเสียงปืนหลายนัดและเสียงกรีดร้องดังขึ้น แล้วกล้องร่วงจากมือวอร์ดลงสู่พื้น เผยให้เห็นภาพระทึกขวัญที่มือปืนเล็งอาวุธลงที่พื้น ก่อนที่สถานีจะตัดภาพกลับไปที่ผู้ประกาศข่าวในห้องส่งที่มีอาการตื่นตระหนกอย่างชัดเจน ในเวลาต่อมา ฝ่ายข่าวของเครือข่ายโทรทัศน์เอบีซี (เอบีซี นิวส์) ที่นิวยอร์ก รายงานว่า ได้รับแฟกซ์ความยาว 23 หน้าจากชายที่ระบุชื่อว่า ไบรซ์ วิลเลียมส์ หลังเหตุจ่อยิงผ่านไปเกือบ 2 ชั่วโมง แล้วจากนั้น ชายคนดังกล่าวยังโทรศัพท์ไปที่สถานีเพื่อสารภาพว่า ตนเป็นคนยิงนักข่าวและตากล้องของ WDBJ พร้อมบอกว่า กำลังถูกเจ้าหน้าที่ทางการตามล่าก่อนวางสายไป ต่อมา ฟลานาแกนได้ยิงตัวเองระหว่างขับรถหนีการติดตามของตำรวจบนทางหลวงของมลรัฐเวอร์จิเนีย และตำรวจเผยว่ามือปืนรายนี้ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ในแฟกซ์ดังกล่าว ฟลานาแกน ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน และถูก WDBJ ปลดออกในปี 2013 บอกว่า ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์มือปืนหนุ่มผิวขาวบุกกราดยิงโบสถ์คนดำในมลรัฐเซาท์แคโรไลนาเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และบอกว่า ตนเองเป็น “ถังดินปืนมนุษย์ที่รอวันระเบิด” เขายังบรรยายเอาไว้ในแฟกซ์ที่ใช้ชื่อว่า “บันทึกการฆ่าตัวตายส่งถึงเพื่อนและครอบครัว” โดยระบุว่า ถูกเลือกปฏิบัติจากสีผิวและถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานเพราะเป็น “เกย์ผิวสี” ทางด้าน เจฟฟรีย์ มาร์คส์ ผู้จัดการทั่วไปของ WDBJ ให้สัมภาษณ์ว่า ฟลานาแกนถูกเลิกจ้างหลังจากแสดงพฤติกรรมโกรธแค้นออกมาอย่างชัดเจนหลาย ๆ ครั้ง นอกจากสร้างความเศร้าโศกในหมู่เพื่อนฝูง ครอบครัว และชุมชนแล้ว โศกนาฏกรรมครั้งนี้ซึ่งเกิดขึ้นใกล้กับที่เกิดเหตุกราดยิงในมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เทค เมื่อปี 2007 ยังปลุกกระแสการวิจารณ์การควบคุมปืนในอเมริกาอีกครั้ง ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีในเครือ ABC ในเมืองฟิลาเดลเฟีย ว่า สะเทือนใจทุกครั้งที่ได้รับรู้ข่าวทำนองนี้ ขณะที่ แอนดี พาร์คเกอร์ พ่อของผู้สื่อข่าวหญิงที่เสียชีวิต เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อควบคุมการเข้าถึงอาวุธปืน อย่างไรก็ดี แม้มีเหตุกราดยิงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทว่า บรรดาสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ กลับลังเลที่จะสนับสนุนกฎหมายที่ควบคุมการเข้าถึงปืนเข้มงวดขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่อยากขัดใจกลุ่มผู้สนับสนุนของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มล็อบบี้ทรงอิทธิพลที่ยืนหยัดปกป้องสิทธิ์ในการพกพาอาวุธอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามรายงานข่าวระบุว่า อาวุธปืนที่ฟลานาแกนใช้นั้นซื้อหามาโดยถูกกฎหมาย นอกจากนั้น เหตุการณ์นี้ยังก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการที่อินเทอร์เน็ต กลายเป็นช่องทางเผยแพร่อาชญากรรมสะเทือนขวัญอย่างรวดเร็วทันใจแต่ไร้การกลั่นกรอง
เอเจนซีส์ - กระแสรณรงค์ควบคุมอาวุธปืนในอเมริกาตื่นตัวขึ้นอีกครั้ง หลังเหตุการณ์อดีตพนักงานจ่อยิงนักข่าวและตากล้องของสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นที่ตนเองเคยทำงานอยู่ เสียชีวิตคาที่ระหว่างออกอากาศสดเมื่อวันพุธ (26 ส.ค.) โดยทิ้งข้อความระบายความรู้สึกยาวเหยียดก่อนยิงตัวตายตาม ระบุว่า ตนคือ “ถังดินปืนมนุษย์” ที่รอวันระเบิด จากการถูกเหยียดผิวและกลั่นแกล้งในที่ทำงาน เพียงเพราะเป็น “เกย์ผิวสี” เวสเตอร์ ลี ฟลานาแกน วัย 41 ปี หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไบรซ์ วิลเลียม ซึ่งเป็นมือปืนที่ก่อเหตุสะเทือนขวัญครั้งนี้ ได้โพสต์คลิปการสังหาร อลิสัน พาร์คเกอร์ ผู้สื่อข่าวสาววัย 24 ปี และ อดัม วอร์ด ตากล้องวัย 27 ปี ของสถานีทีวีช่อง WDBJ ในเครือ CBS แห่งเมืองโรอาโนค มลรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันพุธ ลงบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ คลิปดังกล่าวซึ่งดูเหมือนว่า ฟลานาแกน เป็นผู้ถ่ายเอง ได้เผยให้เห็นว่าผู้เสียชีวิตทั้งคู่ถูกยิงในระยะเผาขน แต่หลังจากโพสต์ขึ้นไปไม่นานนักก็ถูกลบออก ทั้ง พาร์คเกอร์ และ วอร์ด ดูเหมือนมองไม่เห็นตัวมือปืนที่กำลังคุกคามเข้าใกล้พวกเขา ระหว่างเกิดเหตุ พาร์คเกอร์กำลังสัมภาษณ์ วิกกี การ์ดเนอร์ วัย 62 ปี ประธานหอการค้าสมิธ เมาน์เทน เลค ที่บริดต์วอเตอร์ รีสอร์ต ในเมืองโมนิตา ใกล้ ๆ กับเมืองโรอาโนค ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเวอร์จิเนีย โดยการ์ดเนอร์เป็นคนเดียวที่รอดชีวิต และล่าสุด ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยมีอาการทรงตัวแล้วภายหลังเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน ทั้งนี้ เหยื่อทั้งสามต่างเป็นคนผิวขาว จากคลิปเหตุการณ์ซึ่งถูกนำออกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ระหว่างที่พาร์คเกอร์สัมภาษณ์การ์ดเนอร์ ก็มีเสียงปืนหลายนัดและเสียงกรีดร้องดังขึ้น แล้วกล้องร่วงจากมือวอร์ดลงสู่พื้น เผยให้เห็นภาพระทึกขวัญที่มือปืนเล็งอาวุธลงที่พื้น ก่อนที่สถานีจะตัดภาพกลับไปที่ผู้ประกาศข่าวในห้องส่งที่มีอาการตื่นตระหนกอย่างชัดเจน ในเวลาต่อมา ฝ่ายข่าวของเครือข่ายโทรทัศน์เอบีซี (เอบีซี นิวส์) ที่นิวยอร์ก รายงานว่า ได้รับแฟกซ์ความยาว 23 หน้าจากชายที่ระบุชื่อว่า ไบรซ์ วิลเลียมส์ หลังเหตุจ่อยิงผ่านไปเกือบ 2 ชั่วโมง แล้วจากนั้น ชายคนดังกล่าวยังโทรศัพท์ไปที่สถานีเพื่อสารภาพว่า ตนเป็นคนยิงนักข่าวและตากล้องของ WDBJ พร้อมบอกว่า กำลังถูกเจ้าหน้าที่ทางการตามล่าก่อนวางสายไป ต่อมา ฟลานาแกนได้ยิงตัวเองระหว่างขับรถหนีการติดตามของตำรวจบนทางหลวงของมลรัฐเวอร์จิเนีย และตำรวจเผยว่ามือปืนรายนี้ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ในแฟกซ์ดังกล่าว ฟลานาแกน ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน และถูก WDBJ ปลดออกในปี 2013 บอกว่า ได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์มือปืนหนุ่มผิวขาวบุกกราดยิงโบสถ์คนดำในมลรัฐเซาท์แคโรไลนาเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และบอกว่า ตนเองเป็น “ถังดินปืนมนุษย์ที่รอวันระเบิด” เขายังบรรยายเอาไว้ในแฟกซ์ที่ใช้ชื่อว่า “บันทึกการฆ่าตัวตายส่งถึงเพื่อนและครอบครัว” โดยระบุว่า ถูกเลือกปฏิบัติจากสีผิวและถูกกลั่นแกล้งในที่ทำงานเพราะเป็น “เกย์ผิวสี” ทางด้าน เจฟฟรีย์ มาร์คส์ ผู้จัดการทั่วไปของ WDBJ ให้สัมภาษณ์ว่า ฟลานาแกนถูกเลิกจ้างหลังจากแสดงพฤติกรรมโกรธแค้นออกมาอย่างชัดเจนหลาย ๆ ครั้ง นอกจากสร้างความเศร้าโศกในหมู่เพื่อนฝูง ครอบครัว และชุมชนแล้ว โศกนาฏกรรมครั้งนี้ซึ่งเกิดขึ้นใกล้กับที่เกิดเหตุกราดยิงในมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เทค เมื่อปี 2007 ยังปลุกกระแสการวิจารณ์การควบคุมปืนในอเมริกาอีกครั้ง ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีในเครือ ABC ในเมืองฟิลาเดลเฟีย ว่า สะเทือนใจทุกครั้งที่ได้รับรู้ข่าวทำนองนี้ ขณะที่ แอนดี พาร์คเกอร์ พ่อของผู้สื่อข่าวหญิงที่เสียชีวิต เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อควบคุมการเข้าถึงอาวุธปืน อย่างไรก็ดี แม้มีเหตุกราดยิงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทว่า บรรดาสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ กลับลังเลที่จะสนับสนุนกฎหมายที่ควบคุมการเข้าถึงปืนเข้มงวดขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่อยากขัดใจกลุ่มผู้สนับสนุนของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มล็อบบี้ทรงอิทธิพลที่ยืนหยัดปกป้องสิทธิ์ในการพกพาอาวุธอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามรายงานข่าวระบุว่า อาวุธปืนที่ฟลานาแกนใช้นั้นซื้อหามาโดยถูกกฎหมาย นอกจากนั้น เหตุการณ์นี้ยังก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการที่อินเทอร์เน็ต กลายเป็นช่องทางเผยแพร่อาชญากรรมสะเทือนขวัญอย่างรวดเร็วทันใจแต่ไร้การกลั่นกรอง
เอเอฟพี - ตำรวจเยอรมนีออกแถลงการณ์วันนี้
(26 ส.ค.) ว่า มีศูนย์ผู้อพยพ 2 แห่งทางตะวันออกของเยอรมนีถูกกลุ่มผู้ประท้วงขวาจัดใช้ระเบิดเพลิงขว้างเข้าไปข้างในไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
อังเกลา แมร์เคิลจะเดินทางไปเยือน เอเอฟพีรายงานในวันพุธ (26) ว่า
ตำรวจท้องถิ่นเยอรมนีแถลงถึงเหตุโจมตีค่ายผู้อพยพในวันนี้ (26) ว่ามีคนพบเห็นชายคนหนึ่งได้ขว้างระเบิดเพลิงเข้าไปยังศูนย์ผู้อพยพในเมืองไลป์ซิก
(Leipzig) ทางตะวันออกของเยอรมนีซึ่งมีผู้อพยพอยู่ในศูนย์แห่งนี้จำนวน
56 คน และความเสียหายเกิดขึ้นกับที่นอนถูกไฟไหม้
แต่ทางคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุสามารถรับมือได้ฉับไว ในวันเดียวกัน ตำรวจท้องที่สามารถจับกุมตัวชายต้องสงสัย 2 คนไว้ในเมืองพาร์คิม (Parchim) ทางตะวันออกของเยอรมันในข้อหาใช้มีดเป็นอาวุธในศูนย์ผู้อพยพที่ตั้งอยู่ในเมืองนี้
โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับศูนย์ผู้อพยพพาร์คิมได้แจ้งให้ตำรวจในท้องหลังจากพบเห็น
1 ใน 2 ของผู้ถูกจับกุมมีมีดยาวร่วม 8.5
นิ้วในความครอบครองในขณะที่ชายทั้งสองได้ตะโกนร้องต่อต้านการไหลทะลักของผู้อพยพเข้ามาในเยอรมนี
และมีรายงานว่าตำรวจเมืองพาร์คิมได้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอร์ในเลือดของชายทั้งสอง อย่างไรก็ตาม เอเอฟพีรายงานว่า
เจ้าหน้าที่ตำรวจเยอรมันระวังอยู่เสมอหลังจากเกิดเหตุลอบโจมตีศูนย์อพยพอยู่อย่างต่อเนื่อง
จากการที่เยอรมนีอ้าแขนโอบอุ้มรับผู้อพยพจำนวน 800,000 คนในประเทศ
ซึ่งสูงกว่า 4 เท่าของจำนวนผู้อพยไหลเข้าเยอรมนีในปีที่ผ่านมา มีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
อังเกลา แมร์เคิล จะเข้าเยี่ยมศูนย์ผู้อพยพไฮเดเนา (Heidenau) ในเยอรมนีตะวันออกในวันนี้
ซึ่งแมร์เคิลได้กล่าวประณามกลุ่มผู้ประท้วงขวาจัดในเยอรมนีในวันจันทร์ (24)
ว่า “เป็นพวกชั่วร้าย” โดยแมร์เคิลไม่จำกัดการประณามไปเพียงแค่เฉพาะกลุ่มนีโอนาซี
แต่ยังรวมไปถึงครอบครัวของคนเหล่านั้นที่มีทั้งผู้หญิงและเด็กที่เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านการลี้ภัย
โดยกล่าวว่าการสนับสนุนการประท้วงเช่นนี้ “ช่างน่าละอาย” และมีรายงานว่า
ในการเดินทางไปถึง แมร์เคิลถูกกลุ่มผู้ประท้วงที่รวมตัวสองข้างทางราว 150 คนโห่ขับไล่
หมายเหตุ
อ้างอิงและคัดลอกจากแปลข่าวคอลัมน์ข่าวต่างประเทศ ผู้จัดการออนไลน์ ,ข่าวสดออนไลน์