วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

หนังคู่เหมือน เพื่อนกันฉันคือเธอ (หนังเลียนแบบหรือบังเอิญสร้าง)

ปรากฏการณ์ของภาพยนตร์ที่สร้างเลียนแบบพล็อตหนังหรือหน้าหนังกันนั้น ไม่ใช่เรืองใหม่แต่อย่างใด มีมาตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว เหตุก็เพราะว่ามันเป็นสูตรสำเร็จชนิดนึง ซึ่งถ้าภาพยนตร์รูปแบบใดประสบความสำเร็จด้านรายได้หรือสามารถสร้างกระแสความชื่นชมจากนักวิจารณ์ได้ หรือไปได้รางวัลจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับขึ้นมา ก็จะเกิดกระแสที่ลอกเลียนแบบ หรือสร้างตามๆ กันออกมา เป็นกระบิ หรือเป็นโขลงเลยก็ว่าได้ ยกตัวอย่าง ภ.ฮอลลีวู้ดก่อน เช่น ยุคหนังเงียบและตลก (ฟิมล์นัวร์) ,ยุคหนังคาวบอยหรือ western film ,ยุคหนังเพลง (มิวสิคัลและเต้นรำ) ,ยุคหนังการ์ตูนวอลลท์ดิสนีย์ ,ยุคหนังพีเรียด (อิงประวัติศาสตร์ หรือ epic film ) ยุคหนังดราม่า (หนังรัก,หนังโศกนาฏกรรม,หนังฆาตกรรม,อัตชีวประวัติ) ,ยุคหนังแอ็คชั่น (ประเภทคู่หู, สืบสวนสอบสวน, หักมุม หรือสไตล์ฮีโร่ที่สร้างจากการ์ตูน) ,ยุคหนังสงคราม ,ยุคหนังเขย่าขวัญ (หนังผี,หนังฆาตกรโรคจิต) , ยุคหนังไซไฟ, ยุคหนังคอมเมดี้ (รักโรแมนติก,ตลกไร้สาระ) และปัจจุบันยุคหนังแอนิเมชั่น ,ยุคหนัง 3 มิติ ฯลฯ มาทางด้านหนังไทยกันบ้าง ยุคอดีต ก็เช่น ยุคหนังบู๊ (ระเบิดภูเขา เผากระท่อม) ยุคหนังวัยรุ่น (แนวกระโปรงบานขาสั้น,ม.6 ห้องครูวารี,ฉลุย,สยึ๋มกึ๋ย) ของฮ่องกง ก็เช่น ยุคหนังเจ้าพ่อทั้งหลาย ส่วนญี่ปุ่น ก็เช่น ยุคหนังซามูไรทั้งหมด

พอมายุคปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้า และพัฒนาการทั้งด้านโปรดักชั่น การแสดง บทและพล็อตหนัง รวมไปถึงรสนิยมคนดู และวิวัฒนาการทางด้านโรงภาพยนตร์ การจัดทำหนังในรูปแบบวีดีโอ วีซีดี ดีวีดี ไปจนกระทั่งเป็นไฟล์ และในอินเตอร์เน็ต ทำให้แนวของหนังไม่สามารถถูกควบคุมให้จำกัดอยู่แต่เพียงประเภทเดียวกัน เกิดการแข่งขันอย่างสมบูรณ์จากผู้สร้างไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ และจำนวนของผู้สร้างก็มีมากขึ้น กลายเป็นตลาดเสรีและเป็นการแข่งขันกึ่งสมบูรณ์ ผู้ชมมีสิทธิ์เลือกที่จะชมหนังในเวลาเดียวกันได้หลากหลาย ได้แบบเรียลไทม์คือหนังใหม่ต้องดูในโรงภาพยนตร์เท่านั้น หรือหนังเก่ามาหน่อยก็สามารถหาชมหรือดูเป็นในรูปของดีวีดี หรือดูทางยูทูป หรือในเคเบิ้ลทีวีก็ได้ จึงน่าจะหมดยุคของอิทธิพลหรือกระแส ที่สามารถควบคุมทิศทางของแนวหนังให้อยู่ในโทนเดียวกันในช่วงเวลา หรือระยะเวลาหนึ่งได้ ยกเว้นว่าเป็นความนิยม ความคลั่งไคล้ อย่างเช่น ที่ ภ.เกาหลีเคยทำได้อยู่ช่วงนึงแต่ก็เป็นระยะเวลาสั้นๆ

สูตรสำเร็จของหนังอีกประเภทนึงก็คือ หนังคู่เหมือน ที่ก็มีมานานแล้วเหมือนกัน ไม่รู้ว่าใครเป็นต้นตำรับแต่ที่เห็นได้เด่นชัดก็คือหนังฮอลลีวู้ด ซึ่งไม่แน่เสมอไปว่าหนังที่ออกฉายก่อนจะเป็นหนังต้นแบบ แล้วหนังที่ออกฉายทีหลังจะเป็นหนังเลียนแบบ เพราะบ่อยครั้งที่หนังเลียนแบบชิงออกฉายตัดหน้าหนังต้นแบบก็เป็นไปได้ และมูลเหตุจูงใจของหนังคู่เหมือนก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังนี้

1.เป็นไปได้จากความบังเอิญจริงๆ อันเนื่องมาจากกระแสของแนวหนังนั้น กำลังจะมาหรือเป็นประเด็นใหญ่ทางสังคมหรือประเทศชาติ หรือระดับโลก เช่น ประเด็นด้านเชื้อชาติเหยียดสีผิว,ประเด็นด้านความขัดแย้งสงคราม,ประเด็นด้านความรักชาติหรือฮีโร่ของประเทศ,ประเด็นด้านภัยพิบัติธรรมชาติ,ประเด็นด้านสิทธิหรือเสรีภาพทางสังคม,ประเด็นเรื่องเพศ,ประเด็นเรื่องการก่อการร้าย,ประเด็นด้านจารกรรมสืบราชการลับ,ประเด็นด้านค้นพบวิทยาการใหม่ๆ เช่น จีโนม,ตัดต่อพันธุวิศวกรรม,การโคลนนิ่ง,ประเด็นด้านความก้าวหน้าทางด้านอวกาศ หรือเทคโนโลยีนอกโลก,ประเด็นด้านมนุษย์ต่างดาว เป็นต้น ทำให้เกิดการสร้างหนังที่มีพล็อตเรื่องและหน้าหนังคล้ายกันขึ้นมาในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน และออกฉายใกล้กันหรือเกือบจะชนกันเลย

2.เป็นไปได้ว่าหนังต้นแบบโดยทีมงานของสตูดิโอหนึ่ง ได้วางโครงเรื่องไว้แล้วว่าจะสร้าง แต่ 1 ในทีมงานนั้นหรือหลายคนในทีม แยกตัวไปทำงานกับอีกสตูดิโอหนึ่ง จึงนำเอาไอเดียที่เคยคิดไว้ว่าจะทำกับสตูดิโอเดิมไปทำกับอีกสตูดิโอแห่งใหม่ แล้วจึงเกิดการสร้างหนังที่เป็นคู่เหมือนขึ้นมา ไม่ได้บอกว่าเลียนแบบ แต่อาจเป็นเพราะเป็นทีมงานเดียวกันแต่แยกไปอยู่กับอีกที่นึงแล้ว ซึ่งกลายมาเป็นคู่แข่งกันโดยบังเอิญหรือตั้งใจก็ได้ เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นแล้วกับผลงานของ pixar vs dreamwork การจะกล่าวหาว่าใครลอกเลียนแบบใครจึงเป็นเรื่องยาก แต่ประชาชนคนดูสามารถตัดสินเอาเองได้ว่าพล็อตแบบเดียวกัน ใครทำออกมาแล้วเจ๋งกว่ากันก็เท่านั้น อาทิ a bug’s life กับ Antz ,Toy Story กับ Small Soldier และ Monster Inc กับ Shrek ทุกวันนี้หนังคู่เหมือนจากทั้ง 2 ค่ายนี้คงลดลงไปแล้ว เนื่องจากต่างฝ่ายต่างงัดเอากลยุทธ์และจุดขายที่ไม่เหมือนกันมาสู้กัน แนวทางของหนังจึงฉีกและต่างกันออกไปจากยุคแรกๆ

3. เป็นไปได้ที่สุดว่าสตูดิโอที่คิดจะทำหนังต้นแบบของตนเอง ดันทำข่าวรั่วหรือความลับแตก เรื่องไปถึงหูหรือโดนล้วงความลับจากสตูดิโอคู่แข่ง ทำให้คู่แข่งคิดจะทำหนังแบบเดียวกันออกมาชนเสียเลยในเวลาไล่เลี่ยกัน เพื่อวัดกันไปเลยเรื่องรายได้และกระแสตอบรับ แต่ว่ามีจุดที่น่าสังเกตก็คือว่า คู่แข่งนั้นรู้ข้อมูลรายละเอียดหรือกิมมิคของหนังต้นแบบมากน้อยเพียงใดหรือไม่ด้วย เพราะหลายกรณีพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าหนังที่เลียนแบบหลายเรื่องแล้วออกฉายตัดหน้าคู่แข่งนั้น พังพาบไม่เป็นท่า และรายได้ก็สู้หนังต้นแบบไม่ได้ หรืออีกกรณีนึงที่สตูดิโอของหนังต้นแบบสืบรู้ว่า หนังของตนกำลังจะถูกสร้างเลียนแบบจึงมีการปรับบท ปรับหน้าหนังเสียใหม่ ไม่ให้เหมือนหนังคู่แข่ง สุดท้ายแล้วกลายเป็นหนังของตนซึ่งเป็นหนังต้นแบบแป้กไม่เป็นท่า ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ดังนั้น บางทีหนังต้นแบบก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จเสมอไปที่หนังต้นแบบจะสร้างและทำรายได้ได้ดีกว่าหนังเลียนแบบ หากฝีมือห่วยหรือสู้ไม่ได้นั่นเอง ยังไม่นับเงินทุนที่ถูกนำมาสร้างด้วยว่าหนังต้นแบบหรือหนังเลียนแบบใครลงทุนถึงกว่ากัน

4. เป็นไปได้ว่าสตูดิโอ 2 แห่ง คิดตรงกัน ประกาศว่าจะสร้างหนังในแบบพล็อตที่ใกล้เคียงกันหรือหน้าหนังเหมือนกันออกมา ฝั่งไหนประกาศก่อนก็ถือเป็นหนังต้นแบบ อีกฝั่งประกาศทีหลังจึงกลายเป็นหนังเลียนแบบไปโดยปริยาย แล้วจากนั้นก็มาแย่งชิงความได้เปรียบว่าใครจะสร้างเสร็จแล้วได้เข้าฉายก่อนกัน หนังคู่เหมือนในกรณีนี้ จัดเป็นคู่เหมือนที่ไม่มีความใกล้เคียงกันซักเท่าไหร่ เนื่องจากต่างฝ่ายต่างเก็บงำความลับของตนเอาไว้ และก็ชิงความได้เปรียบกันแบบสูสี หมัดต่อหมัด บางครั้งเหมือนสร้างเสร็จออกฉายแล้ว แทบจะไม่ใช่หนังคู่เหมือนกันเลยก็เป็นได้ ไม่ได้มีความคล้ายคลึงอะไรกันเลย แม้แต่กระทั่งหน้าหนัง มีเพียงแนวของหนังและพล็อตเรื่องที่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียว

10 กรณีของหนังคู่เหมือนที่ทางนักวิจารณ์จากฮอลลีวู้ดนำมาจับผิด ได้แก่

1.คู่แรกระหว่าง Antz กับ A Bug’s Life "Antz" (Dreamworks Animation/Universal) - Oct. 2, 1998 Global box office: $171 million vs "A Bug's Life" (Pixar/Disney) - Nov. 25, 1998 : Antz ออกฉาย ตุลาคม ปี 1998 ทำรายได้ทั่วโลกไปทั้งหมด 171 ล้านเหรียญ : ส่วน A Bug’s Life ออกฉายพฤศจิกายน ปี 1988 เช่นเดียวกัน Global box office: $363 million : แต่ทำรายได้มากกว่าไปถึง 363 ล้านเหรียญ ทุกคนทั้งโลกทราบว่า A Bug’s Life คือหนังต้นแบบ ด้วยรูปลักษณ์ และคาแร็กเตอร์ที่สดใสและภาพสีสันที่สวย ฉูดฉาด ประทับใจกว่า Antz จริงๆ


2.คู่ต่อมาระหว่าง Deep Impact กับ Armagedon "Deep Impact" (Paramount Pictures) - May 8, 1998 Global box office: $349 million vs "Armaggedon" (Touchstone Pictures) - July 1, 1998 : Deep Impact ออกฉายพฤษภาคม ปี 1998 ทำรายได้ทั่วโลกไปถึง 349 ล้านบาท : ในขณะที่ Armagedon ออกฉายกรกฏาคม ปี1998 เช่นกัน Global box office: $554 million : ทำรายได้ทั่วโลกไปถึง 554 ล้านบาท เรียกว่าชนะขาดลอย แต่หนังคู่เหมือนคู่นี้ แม้ว่าพล็อตเรื่องจะคล้ายคลึงกัน แต่แนวทางค่อนข้างต่างกันอย่างชัดเจน Armagedon ไปทางแอ็คชั่นกึ่งฮีโร่ แต่ Deep Impact มาทาง Sci-Fi ที่ค่อนไปทางดราม่าเสียมากกว่า

3.คู่ระหว่าง Gordy vs Babe "Gordy" (Miramax) - May 12, 1995 Global box office: $3.9 million vs "Babe" (Universal Pictures) - Aug. 4, 1995  Global box office: $254 million เป็นหนังเกี่ยวกับหมูน่ารักทั้งคู่ ออกฉายปีเดียวกัน คือ 1995 แต่ Babe นั้นกินขาด แถมได้เข้าชิงออสการ์ด้วยในปีนั้น รายได้ที่แตกต่างกันลิบลับ เป็นผลจากความน่ารักมีเสน่ห์ของเจ้า Babe จริงๆ แม้ว่าจะเข้าฉายทีหลัง แต่ดังกว่าทั้งๆ ที่เจ้า Gordy เป็นหนังในเครือของค่ายวอลท์ดิสนี่ย์และเป็นเจ้าหมูน้อยในนิทานของต้นตำรับเสียด้วย

4.คู่ระหว่าง Capote vs Infamous "Capote" (Sony Pictures Classics) - Sept. 30, 2005  Global box office: $49. 2 million  VS "Infamous" (Warner Independent) - Oct. 13, 2006  Global box office: $2.6 million หนังคู่เหมือนคู่นี้สร้างและออกฉายคนละปีกัน โครงเรื่องเดียวกันแต่สร้างออกมาแตกต่างกัน Capote ทำออกมาได้ดี ทำให้ Infamous ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก

5.คู่ระหว่าง 'First Daughter' vs. 'Chasing Liberty' "First Daughter" (20th Century Fox) - January 9, 2004 Global box office: $10.4 million vs "Chasing Liberty" (Warner Bros.) - Sept. 24, 2004 Global box office: $12.3 million หนังคู่เหมือนคู่นี้ ผู้เขียนยอมรับสารภาพเลยว่าไม่เคยได้ดูทั้ง 2 เรื่อง และไม่รู้จักหรือได้ยินชื่อมาก่อน แต่เข้าใจว่าคงมีเค้าโครงที่เหมือนกันมาก จนเป็นที่สนใจและจับมาเป็นประเด็นอีก 1 คู่

6.คู่ระหว่าง'Dante's Peak' vs. 'Volcano' "Dante's Peak" (Universal Pictures) - Feb. 7, 1997 Global box office: $178 million vs "Volcano" (20th Century Fox) - April 25, 1997 Global box office: $122 million หนังคู่เหมือน 2 เรื่องนี้ฉายในระยะเวลาใกล้กันปี 1997 ทำรายได้ก็ใกล้เคียงกันทั้งคู่ มีดาราแม่เหล็กพอๆ กัน พล็อตเรื่องคล้ายกัน ความสนุกก็พอๆ กัน จัดเป็นหนังคู่เหมือนที่สูสีที่สุดคู่นึง


7. คู่ระหว่าง 'Truman Show' vs. 'EDtv' "The Truman Show" (Paramount Pictures) - June 5, 1998 Global box office: $264 million VS "EDtv" (Universal Pictures) - March 26, 1999 Global box office: $35 million หนังคู่เหมือนคู่นี้สร้างและออกฉายคนละปีกัน โครงเรื่องเดียวกันแต่ สร้างออกมาแตกต่างกัน The Truman Show ถูกวิจารณ์และได้รับคำชมในวงกว้างมากกว่า EDtv เป็นหนังดีทั้งคู่ ส่วนรายได้นั้น แน่นอนว่า The Truman Show นั้นทำรายได้ไปอย่างถล่มทลายมาก

8. คู่ระหว่าง'The Illusionist' vs. 'The Prestige' "The Illusionist" (Yari Film Group) - Aug. 18, 2006 Global box office: $88 million vs "The Prestige" (Touchstone Pictures) - Oct. 20, 2006 Global box office: $110 million เป็นหนังคู่เหมือนที่ออกฉายปีเดียวกันคือ 2006 เก็บรายได้ไปพอจะใกล้เคียงบ้าง แต่ The Prestige ได้รับการกล่าวขวัญถึงในวงกว้างกว่า คนทั่วไปแทบไม่รู้เลยว่าหนังอย่าง The Prestige จะมีคู่เหมือนด้วย ถ้าอย่างนั้นใครเป็นต้นแบบกันแน่ ในเมื่อ The Illusionist ออกฉายก่อน


9. คู่ระหว่าง 'Prefontaine' vs. 'Without Limits' "Prefontaine" (Hollywood Pictures) - January 24, 1997 Box office: $589, 000 vs "Without Limits" (Warner Bros. ) - Sept. 11, 1998 Box office: $777,000 เป็นหนังคู่เหมือนที่ออกฉายคนละปี รายได้ต่ำทั้งคู่ แม้ว่าโครงเรื่องจะเหมือนกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันบ้าง ไม่ค่อยได้รับการกล่าวขวัญถึงด้วยกันทั้งคู่

10.คู่ระหว่าง 'Tombstone' vs. 'Wyatt Earp' "Tombstone" (Buena Vista Pictures) - Dec. 24, 1993 Domestic box office: $56 million vs "Wyatt Earp" (Warner Bros.) - June 24, 1994 Domestic box office: $25 million เป็นหนังคู่เหมือนที่ออกฉายคนละปี รายได้แตกต่างกันมาก โดยโครงเรื่องที่คล้ายกัน แต่รายละเอียดเนื้อหาไม่เหมือนกัน โดยที่ Tombstone เป็นหนังที่ผู้คนจดจำได้มากกว่า Wyatt Earp



ยังมีหนังคู่เหมือนในตำนานอีกคือเรื่อง Saving Private Ryan กับ The Thin Red Line ที่โครงเรื่องเนื้อหาดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่เนื้อหาฉีกแนวไปกันคนละทาง อีกทั้งยังได้ชิงรางวัลออสการ์ หนังปี 1998 ด้วยกันทั้งคู่ หรืออย่าง Mission to Mars กับ Red Planet หนังเกี่ยวกับดาวอังคารที่ออกฉายในปี 2000 ,Abyss กับ Leviathan หนังเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับใต้มหาสมุทร ออกฉายปี 1989 ,Bicentennial Man (1999) กับ A.I.(2001) หนังเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์แม้จะฉายคนละปี แต่แนวคิดเดียวกัน, Powder(1995) กับ Phenomenon (1996) หนังที่พูดถึงมนุษย์ที่มีพลังวิเศษเหมือนกัน

หนังคู่เหมือนเมื่อปีที่แล้วอย่าง Mirror Mirror กับ Snow White and The Huntsman หนังที่ว่าด้วยเรื่องของสโนว์ไวท์ด้วยกันทั้งคู่แต่นำเสนอในประเด็นต่างกัน และหนังคู่เหมือนของปีนี้อย่าง After Earth กับ Oblivion หนังที่ว่าด้วยประเด็นมนุษย์ที่ต้องเอาตัวรอดภายหลังยุคโลกเสื่อมสลายไปแล้ว , Olympus Has Fallen กับ White House Down หนังที่ว่าด้วยประเด็นการโจมตีทำเนียบขาวเหมือนๆ กันจากผู้ก่อการร้าย ซึ่งไม่รู้ว่าใครลอกเลียนแบบใครหรือเป็นความบังเอิญอีกแล้วครับท่าน









 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น