วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

พันธกิจลับ บทเรียนความผิดพลาด ที่ไม่เคยจดจำของอเมริกา

Memorial 9/11 Event


สืบเนื่องจากพิธีรำลึกเหตุการณ์ 9/11 ครบรอบ 10 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา ณ บริเวณ ground zero บริเวณเกาะแมนฮัตตัน นิวยอร์ก ทีผ่านมานี้ ทำให้ผู้เขียนอยากจะนึกทบทวน ย้อนความทรงจำกลับไปว่า อะไรคือที่มาที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม การก่อการร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติในครั้งนั้น แท้ที่จริงแล้วสาเหตุมันเกิดมาจากอะไร อะไรคือต้นสายปลายเหตุของเหตุการณ์ในครั้งนั้น แต่สิ่งเดียวที่จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจเรื่องราวความเป็นมาของชาติมหาอำนาจแห่งนี้ได้ดียิ่งขึ้น ก็คือการย้อนไปทบทวนและตามดูบทบาทของอเมริกาในวาระต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์สำคัญๆ พันธกิจลับต่างๆ บทเรียนความผิดพลาดในอดีตของอเมริกา ที่ประชาคมโลกยังจดจำได้ แต่อเมริกาไม่เคยจดจำ แม้ว่าจะทบทวนบทเรียนไปแล้วครั้งแล้วครั้งเล่า แต่อเมริกายังคงทำผิดซ้ำซากในหลายกรณีหลายเหตุการณ์ อันนี้กระมังที่เป็นมูลเหตุให้เกิดข้อขัดแย้ง ความเข้าใจผิด ความรู้สึกที่ไม่ดีต่ออเมริกาเป็นการสะสมเชื้อร้ายแห่งความโกรธเคือง เคียดแค้นที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ต่อๆ กันมาหลายยุคหลายสมัยของผู้นำหรือรัฐบาล จากศํตรูที่เป็นศัตรูทั้งทางตรงและโดยอ้อม ทั้งศัตรูที่เปิดเผยอย่างประเทศบางประเทศที่ต่อต้านอเมริกาอย่างชัดเจน หรือประเทศที่ไม่ต่อต้านอย่างชัดเจนแต่ก็ให้การสนับสนุนอย่างลับๆ มีทั้งที่เป็นองค์กร ขบวนการ กลุ่มก้อน กองกำลังที่ไม่ได้ขึ้นตรงกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ไปจนถึงประเทศมหาอำนาจใหญบางประเทศ ที่มีนโยบายขัดแย้งกับอเมริกาโดยตรง การมีศัตรูหรือโจทย์มากของอเมริกานี่เอง ที่ทำให้ไม่สามารถทำลายหรือกำจัดศัตรูเหล่านั้นไปได้อย่างหมดสิ้น จนมาถึงเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งแม้ว่าจะทราบตัวผู้บงการวางแผนปฏิบัติการเหตุการณ์ในครั้งนั้น แต่กว่าที่จะตามเช็คบิล นายอุสมะห์ บิล ลาเด็น จนเสียชีวิตไปได้ ก็ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี แต่สหรัฐก็ต้องลงทุน ลงแรงทำสงครามทั้งในอิรัก และอัฟกานิสถาน สูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน เงินทองไปมากมาย เรียกว่าไม่คุ้มกับผลลัพธ์ที่ตามมา จนทุกวันนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาก็พังพินาศจากวิกฤติการเงิน มีหนี้สินสาธารณะจำนวนมากอันสืบเนื่องจากงบประมาณทางทหารที่ใช้ไปในการทำสงคราม งบประมาณที่เสียไปกับการป้องกันการก่อการร้าย หรือระบบการรักษาความปลอดภัยของทั้งประเทศรวมถึงเดือดร้อนไปถึงมิตรประเทศอื่นๆ ก็ต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติตามด้วย จนทุกวันนี้ภัยจากการก่อการร้ายก็ไม่ลดลง ขบวนการก่อการร้ายก็ไม่ได้ถูกกำจัดไปอย่างสิ้นซาก แม้ว่าผู้นำกลุ่มอัลกอฮิดะห์จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ก็ยังมีผู้นำตัวแทนคนอื่นมาสืบทอดตำแหน่ง อำนาจและภารกิจ่ต่อไป เกมสงครามการก่อการร้ายที่อเมริกาคิดขึ้นมานั้นจึงดูเหมือนจะยิ่งเล่นยิ่งเข้าตาจน ไม่มีทางชนะ มีแต่แพ้กับแพ้ และความสูญเสียที่เสี่ยงรออยู่ข้างหน้าอีกไม่รู้จะเท่าไหร่ และอย่างไรด้วย จึงได้แต่ภาวนาว่า ผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐจะคิดได้และหาทางทบทวนบทบาทของประเทศตนเองเสียใหม่ รวมถึงสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นให้ได้ และต้องยอมเสียสละ ลดบทบาทของตนเองลง ไม่เช่นนั้นหายนะที่จะตามมาอีกมากมายอาจเกิดขึ้นได้ในอีกไม่ช้านี้

ประวัติศาสตร์การเมือง และบทบาทของสหรัฐอเมริกาในอดีตก่อนการเป็นมหาอำนาจโลก

-สงครามกลางเมืองในอเมริกา (American Civil War, 1861-1865) จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัฐทางใต้ที่จำต้องพึ่งแรงงานทาสผิวดำกับรัฐทางเหนือที่ต่อต้านการมีทาสนั้น เป็นประเด็นร้อนในอเมริกามานับตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1850 และเมื่ออับราฮัม ลินคอร์น แห่งพรรครีพับลิกัน ซึ่งมีนโยบายคัดค้านการขยายทาส ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 1860 ก็ยิ่งกระตุ้นให้รัฐฝ่ายใต้รวมตัวกันในนาม สหพันธรัฐ (Confederacy) นำโดย เจฟเฟอร์สัน เดวิส ประกาศแยกตัวจากรัฐบาลหรือฝ่ายเหนือ(Union)ที่นำโดยลินคอร์น จนเกิดการสู้รบเป็นสงครามกลางเมืองขึ้นในวันที่ 12 เมษายน 1861 เมื่อกองกำลังฝ่ายใต้เข้าโจมตีกองทหารฝ่ายเหนือที่ป้อมซัมเทอร์ในรัฐเซาท์แคโรไลน่า ทำให้ลินคอร์นต้องรวบรวมกองทัพเพื่อตอบโต้ และจนเมื่อฝ่ายลินคอร์นชนะ จึงได้รวบรวมใจเป็นหนึ่ง ปรองดองสมานฉันท์ ร่วมกันสร้างชาติ ประกาศเสรีภาพให้กับชนชาวอเมริกาทุกคน

-ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War 1, 1914-1918) จุดเริ่มต้น จากการที่อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี ถูกปลงพระชนม์ที่กรุงซาราเจโว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1914 โดยการิวโล พรินซิพ นักศึกษาชาวบอสเนีย (เซิร์บ) ซึ่งถูกใช้เป็นข้ออ้างให้ประเทศมหาอำนาจในยุโรปที่แบ่งเป็น 2 ขั้วใหญ่ ๆ คือ ฝ่ายสัมพันธมิตร (Entente Powers) นำโดยรัสเซีย,อังกฤษ, และฝรังเศส (อเมริกาในตอนนั้นเข้ามาร่วมทีหลังในปี 1917) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) นำโดย ออสเตรีย ฮังการี เยอรมัน และออตโตมัน (ตุรกี) ซึ่งมีความขัดแย้งกันอยู่ก่อนแล้วมาอย่างยาวนาน เปิดศึกเข้าห่ำหั่นกัน กลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 คร่าชีวิตทหารไปร่วมๆ สิบล้านคน ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปมีส่วนร่วม


-ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War 2, 1939-1945) จุดเรี่มต้น ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้หลายประเทศเปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็นสาธารณรัฐ ส่วนการปฏิวัติในรัสเซียในปี 1917 ทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แผ่ขยายไปทั่วยุโรป มันทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมและเผด็จการฟาสซิสม์ขึ้นตอบโต้ เช่น นาซี ในเยอรมันที่นำโดยฮิตเลอร์ และฟาสซิสม์ในอิตาลี นำโดยมุสโสลินี เมื่อความกดดันจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และยังถูกบีบจากสนธิสัญยาแวร์ซายในปี 1919 ให้จ่ายคาชดเชยแก่ประเทศผู้ชนะจำนวนมหาศาล พรรคนาซีจึงฉวยโอกาสขยายอิทธิพลในเยอรมัน แถมด้วยความล้มเหลวของสันนิบาติชาติที่ขาดแรงหนุนจากอเมริกา พอเยอรมันบุกโปแลนด์ในปี 1939 สงครามโลกก็ระเบิดขึ้น เมือ่ฝ่ายสัมพันธมิตร (Allies Powers) นำโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส ตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามกับ ฝ่ายอักษะ (Axis Powers) ที่นำโดยเยอรมันและอิตาลี ส่วนในเอเชีย สงครามครั้งนี้ดูจะเริ่มต้นตั้งแต่ที่ญี่ปุ่นบุกยึดแมนจูเรียในปี 1931 แล้ว ก่อนที่จะหาเรื่องลากอเมริกาเข้าร่วมสงครามด้วยการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ในปี 1941 จนเป็นที่มาที่ทำให้สหรัฐอเมริกา (ต้องการทดลองขีปนาวุธ) ใช้ขีปนาวุธนิวเคลียร์หย่อนลงใจกลางเมืองฮิโรชิม่า และนางาซากิ เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงคราม ซึ่งโศกนาฏกรรมครั้งนี้ของสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตราบาปที่ติดอยู่ในใจคนญี่ปุ่นตราบเท่าทุกวันนี้ และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เองที่ทำให้สหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจหมายเลข 1 ของโลกในยุคปัจจุบัน(สงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นสมรภูมิทางสงครามที่กินพื้นที่ทุกทวีปทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดถึง 70 ล้านคน และ 2 ใน 3 ของจำนวนนี้ เป็นเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยจักรวรรดินาซี)

-ช่วงสงครามเย็น (Cold War, 1947-1991) จุดเริ่มต้น ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเยอรมันและญี่ปุ่นบอบช้ำจากการแพ้สงคราม โซเวียตและอเมริกา ก็เลยก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจ ต่อสู้ห้ำหั่นกันในทุกเรื่อง สร้างความตึงเครียดแผ่ขยายไปทั่วโลก จากการแข่งขันกันในด้านการเผยแพร่แนวความคิดการปกครองซึ่งอยู่กันคนละขั้ว การจารกรรมข้อมูลความลับ, การสะสมอาวุธนิวเคลียร์, การพัฒนาเทคโนโลยี (เช่น เทคโนโลยีด้านอวกาศ) การทำสงครามตัวแทน ในหลายๆ ภูมิภาค สำหรับสงครามตัวแทนที่ชัดเจนที่สุดก็คือ “สงครามเกาหลี” (Korean War, 1950-1953) จุดเริ่มต้น ของสงครามในครั้งนี้ เริ่มต้นจากการที่ประเทศเกาหลีโดนยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้และกลายเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม ประเทศเกาหลีได้รับอิสระจากการตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น ในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่นในการฟื้นฟูดินแดน เนื่องด้วยที่ตั้งของเกาหลีนั้นอยู่ติดกับประเทศอื่นๆรอบด้าน โดยด้านเหนือของเกาหลีติดกับประเทศจีน และทางใต้ติดกับญี่ปุ่นซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของอเมริกานั้น การปกครองที่แตกต่างของประเทศรอบด้านจึงเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศเล็กๆที่ อยู่ตรงกลางระหว่างมหาอำนาจอย่างเกาหลี จีนและสหภาพโซเวียดที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ญี่ปุ่นและอเมริกาที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ทำให้เกาหลีซึ่งได้รับอิสรภาพ จำเป็นต้องมีผู้นำ แต่หากว่าประชากรที่มีในขณะนั้นมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ส่วนที่ติดกับจีนก็เห็นว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ดี แต่อีกด้านที่อยู่ติดกับญี่ปุ่นและอเมริกาก็เห็นด้วยกับการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกการปกครองออกเป็นสองแบบ คือแบบคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตย เมื่อเกาหลีทั้งสองชาติมีความเห็นที่ต่างกันแล้ว เกาหลีที่รับการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มานั้น มีความต้องการอยากที่จะให้เกาหลีที่มีการปกครองที่ต่างกันมีการรวมชาติให้ เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงส่งกำลังทหารเข้ายึดเกาหลีส่วนที่รับการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยวิธีการรวมชาติแบบที่ผิดไป จึงทำให้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกาหลีแบ่งออกเป็นสองส่วน คือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยมีเส้นแบ่งอยู่ที่เส้นขนานที่ 38 โดยวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ทหารฝ่ายเกาหลีเหนืออาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา ในที่สุดวันที่ 28 มิถุนายน ก็สามารถยึดกรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมกอาร์เธ่อร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้ เกาหลีเหนือ ด้วยการส่งกองทัพมาช่วยเหลือ โดยในวันที่ 5 กรกฎาคม ปีเดียวกัน กองทัพสหรัฐได้บุกเข้าสู่เกาหลีเหนือ สหประชาชาติได้ลงมติให้ยกกองกำลังเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้ กองกำลังสหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยกองกำลังของอีก 15 ชาติ รวมถึงประเทศไทย ในตอนแรกนั้นดูเหมือนว่าฝ่ายสหประชาชาตินั้นจะเป็นฝ่ายที่ถอยร่นมาโดยตลอด เป็นเพราะทางสหรัฐมีการดำเนินนโยบายยุโรปก่อนจึงให้กำลังพลกับนายพลแมคอาเธ่อร์ไม่ เต็มที่ ซึ่งทำให้แมคอาเธ่อร์โกรธมากจึงเต็มที่เกาหลีเหนือก็ได้แต่ถอย ร่นจนไปถึงเส้นขนานที่ 38 และเมื่อไม่มีใครจะสามารถมีอำนาจเหนือหรือครอบครองเบ็ดเสร็จได้ จึงมีการเจรจาประกาศทำข้อตกลงยุติศึกหรือเจรจาหยุดยิงชั่วคราว และเป็นที่มาแบ่งเกาหลีออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้แยกเป็น 2 ประเทศเช่นในปัจจุบัน

-ช่วงสงครามเวียดนาม (Vietnam War, 1959-1975) จุดเริ่มต้น สงครามเวียดนามเกิดขึ้นหลังจากมีการทำอนุสัญญาเจนิวา ในปี 2497 ซึ่งได้กำหนดให้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองส่วนโดยใช้เส้นรุ้งที่ 17 เหนือ ก่อนที่เวียดนามเหนือเริ่มรุกรานเวียดนามใต้ในปี 2502 นับเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามที่ยาวนานกว่า 10 ปี สงครามเวียดนามเป็นสงครามระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งสหภาพโซเวียตและจีนให้การสนับสนุน คือเวียดนามเหนือ กับเวียดนามใต้ ซึ่งเป็นฝ่ายประชาธิปไตยที่สหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตร (รวมทั้งประเทศไทย) สนับสนุน สหรัฐฯ ต้องทุ่มเทงบประมาณและสูญเสียชีวิตของทหารไปจำนวนมาก เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับสภาพพื้นที่และการต่อสู้แบบกองโจรของทหารเวียดกง นักศึกษาและประชาชนชาวอเมริกันจำนวนมากออกมาเดินขบวนประท้วงสงครามนี้ ในที่สุดก็มีการลงนามใน ข้อตกลงสันติภาพปารีส (Paris Peace Accords) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2516 หลังจากอเมริกาถอนกำลังทหารออกไป กองทัพเวียดนามเหนือก็บุกยึดไซ่ง่อนได้สำเร็จ เวียดนามทั้งสองรวมเข้าด้วยกันเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2518 แล้วประกาศใช้ชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐเวียดนาม ในเวียดนามเรียกสงครามครั้งนี้ว่า "สงครามปกป้องชาติจากอเมริกา" หรือ "สงครามอเมริกัน" ในสงครามครั้งนั้นมีทหารอเมริกันเสียชีวิตจำนวน 58,226 นาย และบาทเจ็บอีกจำนวน 153,303 นาย คาดว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในสงครามครั้งนี้ประมาณ 900,000 – 4,000,000 คน

-กรณีการลอบสังหาร ปธน.จอห์น เอฟ เคเนดี้ แม้ว่า ลี ฮาร์วี่ย์ ออสวอล์ค ผู้ถูกจับกุมและถูกระบุว่าเป็นมือสังหารจะได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่การคาดเดาถึงมูลเหตุแห่งการลอบสังหารและผู้บงการนั้นยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีการพูดถึงทฤษฏีสมคบคิด (Conspiracy Theory) ที่ลือกันให้แซดว่าเกี่ยวโยงไปถึงบุคคลหรือองค์กรระดับบิ๊กๆ อาทิ ซีไอเอ, เคจีบี, พวกมาเฟีย, ผู้อำนวยการเอฟบีไอ, เจ.เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ,ลินดอน บี.จอห์นสัน ,ริชาร์ด นิกสัน , ฟิเดล คาสโตร,จอร์จ เอช.ดับเบิลยู บุช และกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ เหล่านี้คือรายชื่อของผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการบงการสังหาร ปธน.จอห์น เอฟ เคเนดี้ อันสืบเนื่องมาจากการที่ท่านคงไปล่วงรู้ความลับดำมืด หรือสิ่งชั่วร้ายของใครเข้า หรือที่เรียกว่าขุดไปเจอตอนั่นแหละ รวมถึงประเด็นทางการเมืองทั้งความล้มเหลวในการบุกเบย์ออฟฟิกส์ และการยุติวิกฤติขีปนาวุธคิวบาด้วยสันติ (ที่ไปขัดใจคนใหญ่คนโตในกองทัพบางคนที่เห็นต่างโดยมองว่านั่นเป็นการพ่ายแพ้ เสียศักดิ์ศรีให้กับโซเวียตรัสเซีย) ซึ่งอาจเป็นชนวนสาเหตุหนึ่งของการลอบสังหารท่านผู้นำท่านนี้ อีกประเด็นนึง ทฤษฏีสมคบคิดยังคงเป็นเรื่องที่มีการวิเคราะห์ ถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้

-กรณีคดีวอเตอร์เกต (Watergate Scandal, 1972-1974) จุดเริ่มต้น เหตุการณ์ในวันที่ 17 มิถุนายน 1972 มีชาย 5 คน ถูกจับในข้อหาบุกรุกและพยายามติดเครื่องดักฟังในสำนักงานใหญ่พรรคเดโมแครต ที่อาคารวอเตอร์เกต กลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่ระดับชาติ เมื่อการสอบสวนนำไปสู่ความฉ้อฉลทางการเมือง ซึ่งมีคนของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (ที่สังกัดพรรครีพับลิกัน) อยู่เบื้องหลัง จนนำไปสู่การลาออกของนิกสันในวันที่ 9 สิงหาคม 1974 นี่จึงเป็นกรณีตัวอย่างของจุดด่างพร้อยของตัวผู้นำอเมริกันครั้งแรก

-กรณีอิหร่านคอนทรา (Iran-Contra Affair, 1986-1987) จุดเริ่มต้น ช่วงต้นยุค 80’s สมัย ปธน.โรนัลด์ เรแกน ความตึงเครียดของสงครามเย็นปะทุขึ้น จากบทเรียนของสงครามเวียดนาม ทำให้อเมริกาหันมาใช้ยุทธวิธีการต่อต้านการรบแบบกองโจรที่รวดเร็วและประหยัดกว่า แต่ที่อื้อฉาวก็คือการที่คนในรัฐบาลบางคนขายอาวุธให้กับประเทศศัตรูอย่างอิหร่าน และใช้เงินนั้นอย่างผิดกฎหมาย เพื่อสนับสนุนกลุ่มกบฏคอนทราในนิการากัว ที่มุ่งโค่นล้มรัฐบาลซานดินิสตา ที่หนุนหลังโดยโซเวียต แถมเงินที่คอนทราได้รับส่วนหนึ่งยังมาจากเงินค้ายาเสพติดด้วย เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้จำนวนมากถูกทำลาย หรือไม่ก็ถูกยับยั้งโดยทีมผู้บริหารของเรแกน และเมื่อเรื่องการขายอาวุธปูดขึ้นมาในปี 1986 โดยสื่อเลบานอนที่ระบุว่าอเมริกาขายอาวุธให้อิหร่านก็เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวประกันชาวอเมริกันที่ถูกกลุ่ม เฮซบอลเลาะห์ จับตัวไป ตอนแรก เรแกนออกมาแถลงข่าวปฏิเสธทุกอย่าง แต่สัปดาห์ต่อมา เขาก็กลับแถลงข่าวอีกครั้ง โดยยอมรับว่าได้มีการส่งอาวุธไปอิหร่านจริง แถมยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนตัวประกันแต่อย่างใด

-กรณีสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf War, 1990-1991) จุดเริ่มต้น เหตุผลหลักๆ 2 ข้อที่ทำให้อิรักต้องหาเรื่องยกทัพบุกคูเวต คือ 1 เหตุผลทางเศรษฐกิจ หลังจากสงครามอิรัก อิหร่าน (1980-1988) อิรักเป็นหนี้ซาอุดิอาระเบียและคูเวตมหาศาล 2. อิรักอ้างว่าคูเวตเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน จนทำให้กองทัพสัมพันธมิตรจาก 35 ชาติ (นำโดยอเมริกา) ไฟเขียวโดยสหประชาชาติ บุกถล่มอิรักถึงถิ่นภายใต้“ปฏิบัติการพายุทะเลทราย” ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นช่วงปี 1973-1990 คนอเมริกาเองเคยให้ความช่วยเหลืออิรักโดยขายอาวุธให้เป็นมูลค่าถึง 200 ล้านเหรียญ กรณีสงครามอ่าวเปอร์เวียเกิดในสมัย ปธน.จอร์จ บุช ผู้พ่อ ซึ่งในตอนนั้นยังมีความชอบธรรม เพราะชาตินาโต้เห็นด้วยและเข้าร่วมในการปฏิบัติการ เพื่อช่วยคูเวต และสั่งสอนอิรัก อีกทั้งเป็นการป้องปรามมิให้อิรักได้ใจบุกไปยึดต่อถึงซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นมิตรประเทศของสหรัฐ และยังเป็นชาติที่ผลิตน้ำมันรายใหญ่สุดของโลกด้วย

-กรณีอื้อฉาวไวท์วอเตอร์ & นศ.ฝึกงานลูวินสกี้ (Whitewater Controversy,1992-1993 & Lewinsky Scandal, 1998) จุดเริ่มต้น ก่อนหน้าคดีฉาวของ ปธน.บิลล์ คลินตันกับนศ.สาวลูวินสกี้ จะเกิดขึ้นนั้น คลินตันยังมีคดีฉาวโฉ่อยู่ก่อนแล้ว นั่นคือ กรณีไวท์วอเตอร์ ชื่อเต็มคือ Whitewater Development Corporation เรื่องนี้ปูดขึ้นมาในปี 1993 เมื่อคลินตันถูกกล่าวหาว่าในสมัยที่ยังเป็นผู้ว่าการรัฐอาคันซัส ได้บังคับให้มีการปล่อยเงินกู้ผิดกฎหมายจำนวน 3 แสนเหรียญดอลล่าร์ ให้กับ ซูซาน แม็คคูกัล หุ้นส่วนในกิจการไวท์วอเตอร์ ของคลินตัน แต่ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีช่องโหว่ ทำให้ตัว ปธน.บิลล์ คลินตัน และภรรยา คือนางฮิลลารี่ คลินตัน จึงรอด ไม่ถูกฟ้องร้องในคดีดังกล่าว เพราะหลักฐานอ่อน ไม่เพียงพอ แต่ในกรณีของ นศ.ฝึกงานในทำเนียบขาวที่ชื่อ นส.โมนิก้า ลูวินสกี้ นั้นกลายเป็นจุดตายที่ทำให้คลินตันคะแนนเสียงตก และถึงขั้นต้องเข้าสู่กระบวนการถอดถอน ปธน.ออกจากตำแหน่ง เป็นคนแรกและครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้นำต้องเข้าสู่กระบวนการถอดถอน และแม้ว่าเขาจะรอดตายจากการถูกถอดถอนมาได้โดยศาลยกประโยชน์ให้จำเลยก็คือ ปธน.ไปได้ แต่เขาก็ต้องมาพ่ายเกมเลือกตั้ง ปธน.โดยเลือกตั้งแพ้ให้กับ ปธน.จอร์จ ดับเบิลยู บุช สิ่งที่เราได้เห็นตลอดเวลาของการต่อสู้เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดในอำนาจนั้น คือการเล่นเกมทำลายความน่าเชื่อถือของโจทย์อย่างลูวินสกี้ การจ้างมืออาชีพในการสร้างภาพพจน์ให้กับตัว ปธน.การเล่นเกมสกปรก คือเกมสร้างภาพ โฆษณาชวนเชื่อ โกหก ตบตาประชาชนชาวอเมริกันด้วยกันเอง

-กรณีเหตุการณ์ 9/11 และสงครามต่อต้านการก่อการร้าย จุดเริ่มต้นก็คือโศกนาฏกรรมช็อคโลก เมื่อวันที่ 11 กันยายน ปี 2001 เครื่องบิน 2 ลำพุ่งชนตึกอาคารเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นตึกแฝด ใจกลางกรุงนิวยอร์ค ทำให้ตึกพังพินาศ มีผู้เสียชีวิตทันที 3 พันกว่าคน และผู้สูญหายอีกเป็นจำนวนมาก ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว นายอุซมะห์ บิน ลาเด็น ผู้นำกลุ่มอัลไกด้า ได้ออกมายอมรับว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังบงการให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง และ ปธน.จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ก็เปิดปฏิบัติการตอบโต้เอาคืนทันที ด้วยการส่งกองกำลังไปถล่มอัฟกานิสถาน ซึ่งมีรัฐบาลเป็นกลุ่มตาลีบันที่ให้แหล่งที่พักพิงแก่นายบินลาเด็นกับพวก และตามมาด้วยการบุกอิรักต่อในปี 2003 โดยอ้างว่าซัดดัม ฮุสเซ็นเป็นภัยก่อการร้าย มีการสะสมอาวุธนิวเคลียร์จำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นมิตรกับกลุ่มอัลกอฮิดะห์ (กลุ่มอัลเคด้า) ของนายบิน ลาเด็นอีกด้วย การตัดสินใจบุกอิรักในครั้งนั้นทำให้สามารถล้มรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซ็นลงได้ มีการจับตัวและใช้กลไกทางศาลเล่นงาน ถึงขั้นประหารชีวิตนายซัดดัม ฮุสเซ็นสำเร็จ แต่สิ่งที่ตามมาก็คือสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ สูญเสียชีวิตทหารอเมริกัน และพันธมิตรไปจำนวนมาก สูญเสียงบประมาณทางการทหาร อาวุธไปเป็นจำนวนเงินมหาศาล จนเป็นต้นตอที่ทำให้หนี้สาธารณะของอเมริกาพุ่งสูงขึ้น และกลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจมาถึงปัจจุบัน ต้องถือว่าการบุกอิรักในครั้งนี้ขาดความชอบธรรมในหมู่ชาติสมาชิกในสหประชาชาติ เพราะหลายประเทศไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะจีนกับรัสเซีย เนื่องจ่ากสิ่งที่อเมริกาอ้างว่าเรื่องการมีขีปนาวุธนิวเคลียร์นั้นไม่มีหลักฐานชัดเจน และภายหลังก็มีการพิสูจน์ทราบว่าแท้ที่จริงแล้วอิรักไม่มีอาวุธนิวเคลียร์จริงอย่างที่สหรัฐอ้าง ดังนั้นข้ออ้างเรื่องการมีอาวุธนิวเคลียร์ของบุช จึงเป็นแผนตบตาประชาชนเพราะแท้ที่จริงแล้ววาระซ่อนเร้นจริงๆ ก็คือผลประโยชน์ด้านน้ำมันมหาศาล เพราะอย่าลืมว่าตระกูลบุช เป็นตระกูลที่ทำธุรกิจน้ำมันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ อีกทั้งอิรักเป็นชาติที่มีผลิตน้ำมันขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก กุศโลบายการบุกยึดอิรักจึงเป็นเพียงข้ออ้างในการจะเข้าไปยึดสัมปทานขุดเจาะน้ำมันหรือหาแหล่งพลังงานของจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุชนั่นเอง

-กรณีเลห์แมนบราเธ่อร์ วานิชธนกิจใหญ่ 1 ใน 5 ของอเมริกาล้ม ตามมาด้วยบรรษัทขนาดใหญ่ วิกฤติซับไพร์ม ซีดีโอ ที่เรียกว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2008 จนรัฐบาลของปธน.โอบาม่า เข้ามาบริหารประเทศต่อจากบุช และคลอดมาตรการ QE1 QE2 ตามมาเพื่อพยุงเศรษฐกิจสหรัฐไว้ไม่ให้ล้ม ปธน.โอบาม่า จึงอยู่ในช่วงห้วเลี้ยวหัวต่อ หรือรอยต่อที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นภารกิจใหญ่คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ตกต่ำที่สุดกลับคืนมาให้ได้ และการต้องจัดสมดุลทางทหารเพื่อจะปกป้องและรักษาฐานอำนาจที่สำคัญ และยุทธศาสตร์ทางทหารที่สำคัญในภูมิภาคตะวันออกกลาง และยังต้องต่อสู้กับสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่อาจมาในรูปแบบแปลกใหม่ และจะต้องเป็นฝ่ายตั้งรับอยุ่เสมอ

ใช่ว่าผู้เขียนจะไม่ให้ความสำคัญกับการไว้อาลัยต่อการสูญเสียชีวิตของบรรดาผู้เคราะห์ร้ายในเหตุการณ์ 9/11 การรำลึกเหตุการณ์และไว้อาลัยย่อมกลายเป็นประเพณีปฏิบัติไปเสียแล้วสำหรับวันที่ 11 เดือน 9 ของทุกๆ ปี แต่สิ่งที่จะต้องจดจำ และมีสติทบทวนยิ่งกว่าก็คือผลแห่งการกระทำต่างๆ ที่อเมริกาไปสร้างเรื่องราวเอาไว้มากมาย ซึ่งก็กลายเป็นบทเรียนทั้งต่อตัวประเทศสหรัฐอเมริกาเอง และเป็นบทเรียนกรณีศึกษาให้กับประเทศอื่นๆ ได้ดูไว้เป็นอุทาหรณ์สอนใจ เพราะประวัติศาสตร์เป็นสิ่งทีเราสามารถศึกษาไว้เป็นบทเรียนสอนใจได้ แต่กลับไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นเป็นผลพวงจากการกระทำของเราในปัจจุบัน หากเราอยากให้เหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้าออกมาดี เราก็ต้องทำปัจจุบันของเราให้ดีที่สุด เพราะผลแห่งการกระทำไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต มันมีที่มาจากเหตุปัจจัยที่กระทำลงไปก่อนหน้านั้นทั้งสิ้น ดังนั้นพิธีกรรมในการรำลึกเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมต่างๆ จะไม่มีค่าอะไรเลย หากผู้ทีเกี่ยวข้องจะไม่นำเอาบทเรียนต่างๆ ไปขบคิดแก้ไขเรื่องราวความผิดพลาดเหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยของเดิมอีกในอนาคต

ความเป็นมา และการก่อเกิดของกลุ่มอัลกออิดะห์ (หรือกลุ่มก่อการร้ายอัลไกด้า)

คำว่าอัลกออิดะห์เป็นภาษาอาหรับหมายถึงมูลนิธิ ที่มั่น บิน ลาดินให้สัมภาษณ์แก่วารสาร al Jazeera ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ว่าคำว่าอัลกออิดะห์นี้ใช้ตั้งแต่สมัยที่กลุ่มมุญาฮิดีนต่อสู้กับสหภาพโซเวียตโดยเรียกค่ายฝึกว่าอัลกออิดะห์ คำว่าอัลกออิดะห์นำมาใช้เป็นครั้งแรกโดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ในการสอบสวนผู้ต้องหาสี่คนที่นิวยอร์กจากคดีการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกเมื่อ พ.ศ. 2541 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 กลุ่มนี้ปรากฏในชื่อกออิดะห์ อัล ญิฮาด (ที่มั่นแห่งญิฮาด)

จุดกำเนิดของกลุ่มเริ่มขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์หลังโซเวียตรุกรานอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2522 โดยการบริหารของชาวอาหรับจากต่างประเทศในชื่อมุญาฮิดีน สนับสนุนทางการเงินโดยบิน ลาดินและการบริจาคของชาวมุสลิม สหรัฐมองว่าการรุกรานอัฟกานิสถานของโซเวียตเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น หน่วยสืบราชการลับได้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าวผ่านทางปากีสถาน  อัลกออิดะห์พัฒนาจากกลุ่ม Maktab al-Khadamat ที่เป็นส่วนหนึ่งของมุญาฮิดีน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นทหารชาวปาเลสไตน์ และได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐเช่นเดียวกับมุญาฮิดีนกลุ่มอื่นๆ การสู้รบดำเนินไป 9 ปี จนสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลสังคมนิยมของ โมฮัมเหม็ด นาจิบุลลอห์ ถูกมุญาฮิดีนล้มล้าง แต่เนื่องจากผู้นำกลุ่มมุญาฮิดีนไม่สามารถตกลงกันได้ ความวุ่นวายจากการแย่งชิงอำนาจจึงตามมา


การขยายตัวหลังจากสงครามต่อต้านโซเวียตในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลงนักรบมุญาฮิดีนบางกลุ่มต้องการขยายการต่อสู้ออกไปทั่วโลกในนามนักรบอิสลามเช่นความขัดแย้งในอิสราเอลและแคชเมียร์ หนึ่งในความพยายามนี้คือการตั้งกลุ่มอัลกออิดะห์โดยบิน ลาดินใน พ.ศ. 2531

สงครามอ่าวเปอร์เซียและเริ่มต้นต่อต้านสหรัฐ

เมื่อสงครามในอัฟกานิสถานสิ้นสุดลง บิน ลาดินเดินทางกลับสู่ซาอุดีอาระเบีย เมื่อเกิดการรุกรานคูเวตของอิรักใน พ.ศ. 2533 บิน ลาดินได้เสนอให้ใช้นักรบมุญาฮิดีนของเขาร่วมมือกับกษัตริย์ฟาฮัด เพื่อปกป้องซาอุดีอาระเบียจากการรุกรานของอิรักที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียปฏิเสธและหันไปอนุญาตให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในซาอุดีอาระเบีย ทำให่บิน ลาดินไม่พอใจ เพราะเขาไม่ต้องการให้มีกองทหารต่างชาติในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม (คือเมกกะและเมดีนา) การที่เขาออกมาต่อต้านทำให้เขาถูกบีบให้ไปซูดานและถูกถอนสัญชาติซาอุดีอาระเบีย

ในซูดานใน พ.ศ. 2534 แนวร่วมอิสลามแห่งชาติซูดานขึ้นมามีอำนาจและเชื้อเชิญกลุ่มอัลกออิดะห์ให้ย้ายเข้ามาภายในประเทศ อัลกออิดะห์เข้าไปประกอบธุรกิจในซูดานเป็นเวลาหลายปี และสนับสนุนเงินในการสร้างทางหลวงจากเมืองหลวงไปยังท่าเรือซูดาน พ.ศ. 2539 บิน ลาดินถูกบีบให้ออกจากซูดานเนื่องจากแรงกดดันของสหรัฐ เขาจึงย้ายกลุ่มอัลกออิดะห์ไปตั้งมั่นในเมืองจะลาลาบาด อัฟกานิสถาน

บอสเนียการประกาศเอกราชของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาออกจากยูโกสลาเวียในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ทำให้เกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติและศาสนาแห่งใหม่ในยุโรปในบอสเนีย ชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมแต่ก็มีชาวเซิร์บที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์ทอดอกซ์และชาวโครแอตนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เป็นสามเส้าขึ้น โดยเซอร์เบียและโครเอเชียหนุนหลังชาวเซิร์บและชาวโครแอตที่มีเชื้อชาติเดียวกันตามลำดับ เหล่านักรบอาหรับในอัฟกานิสถานเห็นว่าสงครามในบอสเนียเป็นโอกาสอันดีที่จะปกป้องศาสนาอิสลาม ทำให้กลุ่มต่างๆเหล่านี้ รวมทั้งอัลกออิดะห์เข้าร่วมในสงคราม ตั้งเป็นกลุ่มมุญาฮิดีนบอสเนีย โดยนักรบส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับไม่ใช่ชาวบอสเนีย

การลงนามในข้อตกลงวอชิงตันในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2537 ทำให้สงครามระหว่างบอสเนีย-โครแอตสิ้นสุดลง กลุ่มมุญาฮิดีนยังสู้รบกับชาวเซิร์บต่อไป จนกระทั่งบันทึกสันติภาพเดย์ตันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ทำให้สงครามสิ้นสุดลง และเหล่านักรบต่างชาติถูกบีบให้ออกนอกประเทศ ส่วนผู้ที่แต่งงานกับชาวบอสเนียหรือไม่มีที่กลับได้รับสัญชาติบอสเนียและอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้

ผู้ลี้ภัยในอัฟกานิสถานหลังจากการถอนตัวของสหภาพโซเวียต อัฟกานิสถานอยู่ในสภาพวุ่นวายถึง 7 ปี จากการสู้รบของกลุ่มที่เคยเป็นพันธมิตรกัน ในช่วง พ.ศ. 2533 มีกลุ่มใหม่เกิดขึ้นคือกลุ่มตาลีบันหรือตอลิบาน (แปลตามตัว = นักเรียน) เป็นกลุ่มเยาวชนที่เกิดในอัฟกานิสถานยุคสงครามได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (มัดรอซะ; madrassas) ในเมืองกันดาฮาร์ หรือค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนปากีสถาน-อัฟกานิสถาน

ผู้นำของตอลิบาน 5 คนจบการศึกษาจากโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม Darul Uloom Haqqania ใกล้กับเมืองเปศวาร์ในปากีสถาน แต่ผู้เข้าเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพจากปากีสถาน โรงเรียนนี้สอนศาสนาตามลัทธิซาลาฟีย์ และได้รับการสนับสนุนจากชาวอาหรับโดยเฉพาะบิน ลาดิน ชาวอาหรับในอัฟกานิสถานและตอลิบานมีความเกี่ยวพันกันมาก หลังจากโซเวียตถอนตัวออกไป ตอลิบานมีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถก่อตั้งรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ใน พ.ศ. 2537 ตอลิบานเข้ายึดครองพื้นที่ในเมืองกันดาฮาร์และเข้ายึดกรุงคาบูลได้เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2539

หลังจากซูดานได้บีบให้บิน ลาดินและกลุ่มของเขาออกนอกประเทศ เป็นเวลาเดียวกับที่ตอลิบานมีอำนาจในอัฟกานิสถาน บิน ลาดินจึงเข้าไปตั้งมั่นในเขตจะลาลาบาด ในเวลานั้นมีเพียงปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เท่านั้นที่ยอมรับว่าตอลิบานเป็นรัฐบาลของอัฟกานิสถาน บิน ลาดินพำนักในอัฟกานิสถาน จัดตั้งค่ายฝึกนักรบมุสลิมจากทั่วโลก จนกระทั่งรัฐบาลตอลิบานถูกขับไล่โดยกองกำลังผสมภายในประเทศร่วมกับกองทหารสหรัฐใน พ.ศ. 2544 หลังจากนั้นเชื่อกันว่า บิน ลาดินยังคงพำนักกับกลุ่มตอลิบานในบริเวณชายแดนปากีสถาน

เริ่มโจมตีพลเรือนพ.ศ. 2536 Ramzi Yousef ผู้นำคนหนึ่งของอัลกออิดะห์ ใช้การวางระเบิดในรถยนต์ โจมตีตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก แต่ไม่สำเร็จ และ Yousef ถูกจับในปากีสถาน แต่ก็เป็นแรงดลใจให้กลุ่มของบิน ลาดิน ทำสำเร็จเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2544

อัลกออิดะห์เริ่มสงครามครูเสดใน พ.ศ. 2539 เพื่อขับไล่กองทหารต่างชาติออกไปจากดินแดนอิสลามโดยต่อต้านสหรัฐและพันธมิตร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 บิน ลาดินและ Ayman al-Zawahiri ผู้นำของกลุ่มญิฮาดอียิปต์และผู้นำศาสนาอิสลามอีกสามคน ร่วมลงนามใน “ฟัตวาห์”, หรือคำตัดสินภายใต้ชื่อแนวร่วมอิสลามโลกเพื่อญิฮาดต่อต้านยิวและครูเสด (World Islamic Front for Jihad Against the Jews and Crusaders; ภาษาอาหรับ: al-Jabhah al-Islamiyya al-'Alamiyya li-Qital al-Yahud wal-Salibiyyin)โดยประกาศว่าเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกประเทศในการสังหารชาวสหรัฐและพันธมิตรทั้งทหารและพลเรือนเพื่อปลดปล่อยมัสยิดอัลอักซาในเยรูซาเลมและมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ในเมกกหลังจากนั้นได้เกิดการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกภายในปีเดียวกัน มีผู้เสียชีวิต 300 คน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เกิดระเบิดพลีชีพในกองทัพเรือสหรัฐในเยเมน

วินาศกรรม 11 กันยายน และปฏิกิริยาของสหรัฐดูบทความหลักที่ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

ความสูญเสียจากการก่อวินาศกรรม 11 กันยายนการก่อวินาศกรรม 11 กันยายน ทำให้สหรัฐและนาโตออกมาต่อต้านอัลกออิดะห์ และฟัตวาห์ พ.ศ. 2541 การโจมตีครั้งนี้ถือเป็นวินาศภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน รวมทั้งความเสียหายจากการพังทลายของตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์และตึกเพนตากอนถูกทำลายลงไปบางส่วน หลังจากนั้น สหรัฐได้มีปฏิบัติการทางทหารโต้ตอบเรียกร้องให้ มุลลาห์ โอมาร์ ผู้นำตอลิบานส่งตัวบิน ลาดินมาให้ แต่ตอลิบานเลือกที่จะส่งตัวบิน ลาดินให้ประเทศที่เป็นกลาง สหรัฐจึงส่งกองทัพอากาศทิ้งระเบิดทำลายที่มั่นที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกบดานของอัลกออิดะห์ และส่งปฏิบัติการทางทหารภาคพื้นดินร่วมกับพันธมิตรฝ่ายเหนือเพื่อล้มล้างรัฐบาลตอลิบาน

หลังจากถูกกวาดล้าง กลุ่มอัลกออิดะห์พยายามรวมตัวอีกครั้งในเขต Gardez แต่ยังคงถูกโจมตีจากฝ่ายสหรัฐ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2545 กองทัพอัลกออิดะห์ถูกทำลายจนลดประสิทธิภาพลงมาก ซึ่งเป็นความสำเร็จในขั้นต้นของการรุกรานอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม ตอลิบานยังมีอิทธิพลอยู่ในอัฟกานิสถาน และผู้นำคนสำคัญของอัลกออิดะห์ยังไม่ถูกจับ ใน พ.ศ. 2547 สหรัฐกล่าวอ้างว่าจับตัวผู้นำของอัลกออิดะห์ได้ 2 – 3 คน แต่อัลกออิดะห์ก็ยังดำเนินกิจกรรมต่อไปได้


กิจกรรมในอิรักบิน ลาดิน เริ่มให้ความสนใจอิรักตั้งแต่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2533 อัลกออิดะห์ติดต่อกับกลุ่มมุสลิมชาวเคิร์ด Ansar al-islam ใน พ.ศ. 2542 ระหว่างการรุกรานอิรักใน พ.ศ. 2546 อัลกออิดะห์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ หน่วยทหารของอัลกออิดะห์เริ่มวางระเบิดกองบัญชาการของสหประชาชาติและกาชาดสากล พ.ศ. 2547 ฐานที่มั่นของอัลกออิดะห์ในเมืองฟาลูยะห์ ถูกโจมตีและปิดล้อมด้วยกองทหารสหรัฐ แต่อัลกออิดะห์ยังคงโจมตีทั่วอิรัก แม้จะสูญเสียกำลังคนไปมาก ในระหว่างการเลือกตั้งในอิรัก พ.ศ. 2548 กลุ่มอัลกออิดะห์ออกมาประกาศความรับผิดชอบระเบิดพลีชีพ 9 ครั้งในแบกแดด

Abu Musab al-Zarqawi ทหารชาวจอร์แดนเป็นผู้จัดตั้งองค์กร "Jama'at al-Tawhid wal-Jihad" เมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และประกาศเป็นตัวแทนของอัลกออิดะห์ในอิรัก หลังจากเขาถูกฆ่าจากการโจมตีทางอากาศโดยสหรัฐเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่ Baqubah เชื่อกันว่า Abu Ayyub al-Masri ขึ้นเป็นผู้นำอัลกออิดะห์ในอิรักแทน แม้ว่าการต่อสู้ของอัลกออิดะห์ในอิรักยังไม่ประสบผลในการขับไล่กองทหารอังกฤษและสหรัฐ รวมทั้งล้มล้างรัฐบาลของผู้นับถือนิกายชีอะห์ แต่ก็ได้สร้างความรุนแรงกระจายไปทั่วประเทศ

อัลกออิดะห์ในแคชเมียร์เมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ชายลึกลับอ้างตัวเป็นสมาชิกอัลกออิดะห์โทรศัพท์ไปที่นักข่าวท้องถิ่นในศรีนคร ประกาศว่าขณะนี้อัลกออิดะห์เข้ามาในแคชเมียร์แล้ว เพื่อปกป้องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่ถูกรัฐบาลอินเดียกดขี่ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะห์แทรกซึมเข้ามาในบริเวณนี้ตั้งแต่ก่อนการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐ และน่าจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายในปากีสถาน

ที่มา : เว็บไซต์วิถีพีเดีย,สารานุกรมไทย

สถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มอัลกออิดะห์

เครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์ยืนยันเมื่อวันศุกร์(6) อุซามะห์ บินลาดิน เสียชีวิตแล้ว และสาบานจะแก้แค้นให้แกนนำหมายเลข 1 ของพวกเขาที่ถูกหน่วยคอมมานโดบุกสังหารถึงที่พักสุดสัปดาห์ที่แล้ว

ศูนย์จับตาความเคลื่อนไหวกลุ่มก่อการร้าย(เอสไอทีอี) ตรวจพบว่าในถ้อยแถลงที่โพสต์ลงบนเว็บไซต์หัวรุนแรง กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีสหรัฐฯ 9/11 ระบุว่าด้วยเตรียมเผยแพร่เทปเสียงของผู้ก่อตั้งเชื้อสายซาอุดีอาระเบียรายนี้ที่บันทึกไว้หนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิต  "เลือดของบิน ลาเดน จะยังคงอยู่ ด้วยการอนุญาตของอัลเลาะห์ ผู้ทรงอำนาจเหลือคณา คำสาปแช่งจะติดตามคุกคามชาวอเมริกันและผู้ใช้อำนาจแทนพวกเขา ทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศสหรัฐฯ" คำแถลงของกลุ่มอัลกออิดะห์ แจ้งเตือนและบอกว่า "ความสุขสันต์จะแปรเปลี่ยนกลายเป็นความเศร้าโศก หยดเลือดของพวกเขาจะหลั่งหลอมรวมเข้ากับหยาดน้ำตา เราขอเรียกร้องให้ชาวมุสลิมในปากีสถาน ซึ่งเป็นดินแดนที่ชีคอุซามะห์ถูกสังหาร จงออกมาลุกฮือและก่อการปฏิวัติ"

คำแถลงฉบับดังกล่าวระบุว่า บินลาดิน จะไม่สูญเสียเลือดเนื้อไปอย่างไร้ค่า เพราะกลุ่มอัลกออิดะห์จะเดินหน้าโจมตีสหรัฐฯและชาติพันธมิตรต่อไป และความตายของบินลาเดน จะกลายเป็น "คำสาป" คุกคามสหรัฐฯ ตลอดจนจะนำไปสู่การลุกฮือในปากีสถาน

อัลกออิดะห์เผยแพร่วิดีโอทางอินเทอร์เน็ตในโอกาสครบรอบ 10 ปีการก่อวินาศกรรมสหรัฐฯเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 โดย อัยมาน อัล-ซอวาฮิรี ผู้นำคนใหม่ของกลุ่มก่อการร้ายนี้บอกว่า เขาสนับสนุนการลุกฮือขึ้นต่อต้านระบอบปกครองของประชาชนในตะวันออกกลาง และกล่าวด้วยว่า เวลานี้ชาวอาหรับไม่กลัวเกรงสหรัฐฯอีกต่อไปแล้ว


“สิบปีผ่านไปแล้วนับตั้งแต่การโจมตีอันศักดิ์สิทธิ์ต่อนิวยอร์กและวอชิงตัน และเพนซิลเวเนีย นับเป็นเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ทรงพลังที่ได้โยกคลอน และยังคงสั่นคลอนประดาเสาหลักของนักรบไม้กางเขนในทั่วโลก” ซอวาฮิรี กล่าวในวิดีโอความยาว 62 นาที ที่ใช้ชื่อวิดีโอว่า “รุ่งอรุณแห่งชัยชนะที่กำลังจะมาถึง” (The Dawn of Imminent Victory) วิดีโอนี้ยังประกอบด้วยคำปราศรัยของ อุซามะห์ บิน ลาดิน ผู้นำอัลกออิดะห์คนก่อน ที่ถูกทหารหน่วยซีลส์ของสหรัฐฯบุกสังหารในปากีสถานเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

เอสไอทีอี (SITE) หน่วยงานเฝ้าติดตามวิดีโอเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตของสหรัฐฯ ระบุว่า คลิปภาพบิน ลาดินในวิดีโอนี้ ดูเหมือนจะเป็นคลิปเดียวกันกับที่หน่วยซีลส์ค้นพบ เมื่อตอนบุกสังหารเขาในที่ซ่อนตัวในปากีสถาน และวอชิงตันได้เคยนำออกเผยแพร่แล้วทว่าไม่มีเสียงประกอบ  ในวิดีโอนี้ บิน ลาดิน ได้กล่าวเตือนชาวอเมริกันว่า อย่าได้ “ตกเป็นทาส” อยู่ในความควบคุมของพวกบริษัทใหญ่ๆ และ “ทุนการเงินชาวยิว”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น