งานออสการ์ครั้งที่ 90 ในปีนี้ เป็นการรวบรวมผลงานที่ออกฉายในปี 2017 จะจัดงานกันขึ้นที่
ดอลบี้เธียเตอร์ ฮอลลีวู้ดสตรีท ลอสแอนเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนียเช่นเดิม
ถ่ายทอดโดยสถานีโทรทัศน์ ABC ของสหรัฐ โดยพิธีกรผู้ดำเนินรายการในปีนี้จะกลับมาใช้บริการ
Jimmy Kimmel ปีนี้มาในคอนเซ็ปต์แต่งดำเพื่อไว้อาลัยและต่อต้านการกระทำล่วงละเมิดทางเพศ มีภาพยนตร์ที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจำนวน
9 เรื่อง ในจำนวนนี้มีภาพยนตร์ที่ได้เข้าชิงในสาขาต่างๆ มากที่สุดก็คือ
The Shape of Water จำนวน 13 สาขารางวัล
รองลงมาคือ Dunkirk เข้าชิงจำนวน 8 สาขารางวัล
Three Billboards Outside Ebbing,Missouri
เข้าชิง 7 สาขารางวัล
นอกนั้นก็ลดหลั่นกันลงไป ภาพยนตร์ที่เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนี้มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป
แต่จุดร่วมของหนังที่ได้เข้าชิงสาขาหนังเยี่ยมในปีนี้มีเกือบคล้ายกันทั้งหมดคือสะท้อนสังคมในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่
2 หรือเหตุการณ์เกิดในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อน-หลัง (The Shape of Water,Dunkirk,The
Post,Darkest Hour,Mudbound) ประเด็นเรื่องเพศและการเหยียดผิวหรือกดขี่
(Call me by your name,Get Out,Mudbound) ในกรณีของ The
Shape of Water อันนั้นถึงขนาดข้ามสายพันธ์กันเลยทีเดียว ส่วนBlade
Runner 2049 ไปไกลถึงขั้นคุณธรรมในมนุษย์เทียม อีกทั้งยังมีจุดร่วมที่เหมือนกันอีกประเด็นหนึ่งคือประเด็นดราม่าเข้มข้น
(The Post,Three Billboards,Lady Bird,Mudbound) ก็คืองานด้านกำกับภาพ
องค์ประกอบศิลป์ (The Shape of Water,Dunkirk,Phantom Thread,Call me by
your name) งานด้านภาพวิชวลกราฟฟิกที่โดดเด่น (The Shape of
Water,Blade Runner 2049, Starwars: The Last Jedi) ชนิดกินกันไม่ลง
ดีงามเกือบทุกเรื่องที่เข้าชิง และบทที่เรียกว่ายอดเยี่ยมไม่แพ้กัน
ในบรรดาหนังที่เข้าชิงในปีนี้ที่โดดเด่นด้านการแสดงมากๆ
ก็ได้แก่ ฝ่ายชายเป็นการสู้กันระหว่าง Gary Oldman จาก Darkest Hour และ Daniel Day-Lewis จาก Phantom Thread จริงๆ ในส่วนนักแสดงนำฝ่ายชายที่เจ๋งจริงๆ
ยังมี James Franco จากเรื่อง The Diaster Artist แต่เขาถูกเตะตัดขาจากกรณีอื้อฉาวมีส่วนพัวพันการละเมิดทางเพศต่อสตรี
ซึ่งกำลังเป็นกระแสในอเมริกา พอทันทีที่มีข่าวเรื่องนี้หลุดออกมา
ทำให้คณะกรรมการออสการ์ตัดสินใจตัดสิทธิ์เขาออกจากการได้เข้าชิงทันที
(เป็นเรื่องน่าเสียดายมาก) เช่นเดียวกับกรณีของ Kavin Spacey ถูกหั่นบทออกจากหนังเรื่อง All the Money in the World หนังของ Ridley Scott ทันที ภายหลังจากที่เขาออกมายอมรับว่าเขาเป็นเกย์ และเคยล่วงละเมิดเด็กวัยรุ่นชาย สมัยที่เพิ่งเข้าวงการใหม่ๆ ก็เลยทำให้ถูกถอดจากบท แล้วเอา Christopher Plummer คุณปู่มาแสดงแทน และอานิสงส์ทำให้ได้เข้าชิงในบทสมทบชายยอดเยี่ยมด้วย ส่วนฝ่ายหญิงเป็นการสู้กันระหว่าง Frances
Mcdormand จาก Three Billboards กับ Saoirse
Ronan จาก Lady Bird และ Margot Robbie
จาก I,Tonya แต่รายหลังไม่ได้เข้าชิงในสาขาหนังเยี่ยม
ในปีนี้จะเป็นอีกปีหนึ่งที่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมออสการ์
ในสาขาภาพยนตร์และผู้กำกับอาจจะไม่ใช่เป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เพราะหนังตัวเต็งอย่าง The Post กับ Three Billboards
Outside Ebbing,Missouri ไม่ได้เข้าชิงในสาขาผุ้กำกับ
ได้เข้าชิงเฉพาะสาขาหนังเยี่ยมเท่านั้น นั่นคือ Steven Spielberg และ Martin Mcdonagh ในสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมดูเหมือน
Guillermo del Toro (จาก The Shape of Water) จึงนอนมา อาจมีคู่แข่งที่สูสีเป็น Greta Gerwig (จาก
Lady Bird) แต่ในสาขาบทภาพยนตร์กับหนังเยี่ยมควรจะเป็นเรื่องเดียวกัน
เพราะมิฉะนั้น ความเป็นหนังเยี่ยมจะลดคุณค่าลงทันที
เพราะไม่รู้จะเอาหลักเกณฑ์ใดมาการันตีความยอดเยี่ยมของหนัง ในส่วนของสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมเป็นการสู้กันของหนังเต็งทั้ง
2 เรื่องคือ The Shape of Water VS
Three Billboards Outside Ebbing,Missouri และในสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงนี่คาดเดายากสุด
เอาเป็นว่าผู้เขียนชอบอยู่ 3 ใน 5 เรื่อง
คือ Call me by your name , Mudbound (2 เรื่องนี้ดัดแปลงจากนวนิยายขายดีทั้ง
2 เรื่อง) กับ The Diaster Artist
Best Picture : Nominations 9 choice ผู้เข้าชิงหนังยอดเยี่ยม
ได้แก่
“Three Billboards Outside
Ebbing, Missouri”
“The Post”
“The Shape of Water”
“Dunkirk”
“Lady Bird”
“Get Out”
“Call Me By Your Name”
“Phantom Thread”
“Darkest Hour”
“The Post”
“The Shape of Water”
“Dunkirk”
“Lady Bird”
“Get Out”
“Call Me By Your Name”
“Phantom Thread”
“Darkest Hour”
Best Direction :
Nominations 5 choice
ผู้เข้าชิงผู้กำกับยอดเยี่ยม ได้แก่
Christopher
Nolan, “Dunkirk”
Guillermo del Toro, “The Shape of Water”
Jordan Peele, “Get Out”
Greta Gerwig, “Lady Bird”
Paul Thomas Anderson, “Phantom Thread”
Guillermo del Toro, “The Shape of Water”
Jordan Peele, “Get Out”
Greta Gerwig, “Lady Bird”
Paul Thomas Anderson, “Phantom Thread”
Best Original Screenplay :
Nomination 5 choice
ผู้เข้าชิงบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ได้แก่
“Get Out,” Jordan
Peele
“Lady Bird,” Greta Gerwig
“Three Billboards Outside Ebbing, Missouri,” Martin McDonagh
“The Shape of Water,” Guillermo del Toro and Vanessa Taylor
“The Big Sick,” Emily V. Gordon and Kumail Nanjiani
“Lady Bird,” Greta Gerwig
“Three Billboards Outside Ebbing, Missouri,” Martin McDonagh
“The Shape of Water,” Guillermo del Toro and Vanessa Taylor
“The Big Sick,” Emily V. Gordon and Kumail Nanjiani
Best Adapted Screenplay :
Nomination 5 choice
ผู้เข้าชิงบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม ได้แก่
“Call Me By Your
Name,” James Ivory
“Mudbound,” Virgil Williams and Dee Rees
“Molly’s Game,” Aaron Sorkin
“The Disaster Artist,” Scott Neustadter and Michael H. Weber
“Logan,” Scott Frank, James Mangold and Michael Green
“Mudbound,” Virgil Williams and Dee Rees
“Molly’s Game,” Aaron Sorkin
“The Disaster Artist,” Scott Neustadter and Michael H. Weber
“Logan,” Scott Frank, James Mangold and Michael Green
The Shape
Of Water : บทพิศวาทของผู้แปลกแยก (รีวิว 1)
ถ้าเคยมองว่าหนังที่แปะรางวัลช่อมะกอกมาเยอะ
ๆ หรือเข้าชิงออสการ์หลาย ๆ ตัว แล้วจะต้องเป็นหนังที่เคร่งเครียด ต้องตีความดูยาก
มาถึงตรงนี้ก็ขอบอกว่าให้เปลี่ยนทัศนคติเสียนะครับ มันไม่เสมอไป โดยเฉพาะกับ The
Shape Of Water เป็นหนังที่ดูง่าย ได้ทั้งสาระและบันเทิง
ไม่มีนัยยะลึกซึ้งมากมาย เป็นหนังสายรางวัลที่เนื้อหามาทางเอาใจตลาดพอสมควร
นางเอกเป็นแม่พระ ตัวร้ายก็มาแบบเลวสุด ตัวมนุษย์น้ำก็น่ารักน่าสงสาร
มีฉากให้ลุ้นตื่นเต้นเนือง ๆ น่าติดตาม
กิลเลอร์โม
เดลโตโร ยังคงเนื้อหาหนังที่พัวพันกับสัตว์ประหลาดเช่นเคย
สังเกตได้ว่าหนังของกิลเลอร์โม ถ้าตัวเอกของเรื่องไม่เป็นตัวประหลาดอย่าง Blade
, Mimic , Hellboy ก็มักจะต้องมีตัวประหลาดอยู่ในเรื่องเช่น Pacific
Rim , Pan’s Labyrinth และมาถึง The Shape Of Water ที่เจ้ามนุษย์น้ำก็มีความละม้ายกับตัว “เอบ ซาเปียน”
จาก Hellboy อยู่พอสมควร
หนังไม่เล่าถึงที่ไปที่มาของมัน เพียงแต่เอ่ยถึงว่าถูกจับมาจากแม่น้ำในอเมริกาใต้
ซึ่งที่นั่นมันก็ถูกพวกคนป่าถือบูชาดังเช่นเทพเจ้า
มนุษย์น้ำถูกจับมากักขังไว้ในสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์ อยู่ใต้การควบคุมดูแลของริชาร์ด
หัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยที่มีความจงเกลียดจงชังมันป็นทุนเดิม
และยิ่งโดนกัดนิ้วขาดไป 2 นิ้ว ทำให้ริชาร์ดเพิ่มอาฆาตแค้น
จึงยุยงให้ผู้บังคับบัญชาจับมันชำแหละเพื่อการชันสูตรทางวิทยาศาสตร์เสีย
การข่มเหงรังแกจากริชาร์ด อยู่ในสายตาของเอไลซา สาวใบ้พนักงานทำความสะอาด
ที่พยายามผูกมิตรกับมนุษย์น้ำจนสามารถสื่อสารกันได้ กลายเป็นความผูกพัน
และริเริ่มกระทำการอุกอาจด้วยการขโมยตัวมนุษย์น้ำออกจากสถานีทดลองเพื่อไปปล่อยลงทะเล
โทนของThe Shape Of Water ออกมาค่อนข้างหลากหลายอารมณ์
แต่หลักของเรื่องก็คือความรักของสองสายพันธุ์ที่บทสามารถเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ให้เข้าใจความรู้สึกของสองตัวละครหลักได้
เรื่องราวของทั้งคู่ก็ดำเนินไปบนฉากหลังของช่วงสงครามเย็นที่มีการแทรกแซงของสายลับรัสเซียและความตื่นเต้นในฉากขโมยตัวมนุษย์น้ำในครึ่งแรก
ส่วนในครึ่งหลังก็เป็นการตามล่าตัวมนุษย์น้ำคืนของริชาร์ด สตริคแลนด์ บทของไมเคิล
แชนนอน ที่มาในภาพลักษณ์ของตัวร้ายแบบร้ายมาตั้งแต่เกิด
เป็นบทที่กิลเลอร์โมเขียนโดยมีภาพของไมเคิล แชนนอนอยู่ในหัวมาโดยตลอด
เช่นเดียวกับบทเอไลซ่า ที่กิลเลอร์โม ก็จำเพาะเจาะจงให้เป็น แซลลี่ ฮอว์กกิ้น
ตั้งแต่ตอนเขียนบท โดยวาดภาพลักษณ์ให้เอไลซ่า เป็นผู้หญิงแนวบ้าน ๆ
แต่มีเสน่ห์ในตัวเอง ซึ่งแซลลี่
ก็แสดงออกอย่างเห็นได้ชัดว่าทุ่มเทให้กับบทเอไลซ่าแบบเต็มร้อย และไม่หวงตัว
ด้วยโจทย์หลักที่ว่าด้วยความรักอันบริสุทธิ์ของคนและมนุษย์น้ำ
หนังเลือกจะเล่าให้ออกมาสดใสไร้พิษภัยแบบ Beauty And The Beast ตามสไตล์ดิสนีย์ก็ได้
แต่กิลเลอร์โมก็เลือกจะเล่าในทิศทางที่ดิบและดาร์คเจาะเฉพาะกลุ่มคนดูผู้ใหญ่
หนังเลยออกมาเป็นเรต R เพราะมีทั้งฉากเปลือย (บ่อย)
คำหยาบทั้งภาษาพูดและภาษามือ และฉากเซ็กส์ทั้งคนฟีเจอริ่งกันและฉากช่วยตัวเอง
และฉากโหดที่มีเลือดให้เห็นมากพอดู ซึ่งการได้เห็นฉากเหล่านี้ก็รู้สึกผิดคาด
ไม่นึกว่าจะเห็นอะไรมากขนาดนี้
บทภาพยนตร์ฝีมือของกิลเลอร์โม เดลโตโร
เองที่เล่าเรื่องราวแบบง่าย ๆ ตรงไปตรงมา
ดูผิดจากรูปแบบของหนังมากรางวัลที่มักจะมาแนวอึน ๆ เนิบ ๆ แทรกสัญญะมากมายให้ตีความ
แต่กับ The Shape Of Water กิลเลอร์โม
เลือกสร้างตัวละครทุกตัวให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ล้วนมีความผิดแผกในตัวเอง เอไลซา
เอสโปซิโต หญิงสาวที่พูดไม่ได้ แต่หูได้ยินปกติ มีชีวิตในสังคมเล็ก ๆ
ที่มีเพื่อนแค่ 2 คน , ไจลส์
คุณลุงศิลปินที่เก็บตัวทำงานเขียนรูปอยู่ในห้องไปวัน ๆ
แต่เก็บงำความเป็นโฮโมไว้ในใจลึก ๆ และท้ายที่สุดก็คือมนุษย์น้ำ
ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่โดนจับมากักขังทรมานเพียงเพราะเป็นตัวประหลาดในสายตามนุษย์ ,
ทั้ง 3 ต่างมีความเหงาอยู่ในใจด้วยกัน
โดยเฉพาะเอไลซากับมนุษย์น้ำ ที่ใช้ใจสื่อสารถึงกันและสัมผัสความรู้สึกกันได้ในช่วงระยะสั้น
ๆ และพาให้คนดูเข้าถึงจิตใจของทั้งคู่ได้เช่นกัน
หนังย้อนเหตุการณ์ไปในยุค 70s เลยเป็นการบ้านยาก ๆ ของทีมงานที่ต้องจำลองฉากทั้งเรื่องให้ย้อนยุค
รวมไปถึงการออกแบบตัวมนุษย์น้ำด้วย ที่กิลเลอร์โม
ได้แรงบันดาลใจมาจากสัตว์ประหลาดจาก The Black Lagoon (1954) มนุษย์น้ำในเรื่องนี้ยังคงเป็นการแสดงของ ดัก โจนส์
ดาราขาประจำของกิลเลอร์โม , ดั๊ก เคยเล่นเป็น เอบ ซาเปียน ใน
Hellboy เล่นเป็นผีตัวซีดใน Pan’s Labyrinth พอมาถึงบทมนุษย์น้ำนี่เลยเป็นงานง่ายสำหรับเขา ดั๊ก
สามารถทำให้คนดูรู้สึกรักและสงสารได้เพียงแค่ปรากฏตัวออกมาได้ไม่กี่นาที
ดูมีความไร้เดียงสาแบบเด็กแต่ก็ยังคงแฝงความน่ากลัวตามลักษณะชาติพันธุ์ของเขา
และก็มีพิษสงร้ายกาจในยามที่ต้องป้องกันตัวขึ้นมา เขาแฝงความสามารถต่าง ๆ ไว้
และค่อย ๆ เผยออกมา แต่บทก็ไม่ได้พยายามขับเน้นเรื่องความสามารถของมนุษย์น้ำมากนัก
เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่ไปอีกเรื่อง
ลงท้ายว่า The Shape Of Water เป็นหนังที่ดูสนุกเกินหน้าหนังในสายรางวัลด้วยกัน
ได้สัมผัสความน่ารักไร้เดียงสาของตัวประหลาด ได้ลุ้นไปกับโชคชะตาความรักของทั้งคู่
ได้เห็นงานแสดงยอดเยี่ยม งานกำกับศิลป์ที่โดดเด่น
เครดิตบทวิเคราะห์,รีวิวโดย
เว็บแบไต๋
รีวิว The Shape of Water: รักต่างพันธุ์ (รีวิว 2)
“When he looks
at me, he doesn’t know I am incomplete. He sees me as I am.”
ปีนี้ผู้ที่ได้เข้าชิงออสการ์สูงสุดคือ The
Shape of Water 13 สาขา
จำนวนน้อยกว่า La La Land ผู้เข้าชิงออสการ์สูงสุดปีที่แล้วไปเพียงสาขาเดียว
ทั้งสองเรื่องไม่ใช่หนังรางวัลที่มีเนื้อหาหนักหน่วงหรือดูยากแต่อย่างใด
แถมยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับความรักหรือความสัมพันธ์เป็นตัวดำเนินเรื่องด้วยเช่นกัน
The Shape of Water เป็นเรื่องราวความรักต่างสายพันธุ์
ระหว่าง Elisa
(Sally
Hawkins จาก Blue Jasmine)
มนุษย์ (หญิงใบ้ภารโรง) กับอมนุษย์
(พรายน้ำผู้เป็นเสมือนเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำอะแมซอน) (Doug
Jones จาก Pan’s Labyrinth)
ที่ถูกจับมาขังและทรมานในแล็บทดลองของ Occam Aerospace
Research Centre ในช่วง 1960s หรือช่วง Cold
War โดย Elisa รักพรายน้ำตนนี้
เพราะเขาเป็นชายคนเดียวที่ฟังเธอ มองเธออย่างที่เธอเป็น ไม่ตัดสิน
หรือมองว่าเธอแตกต่างหรือไม่สมบูรณ์จากคนอื่น
นอกจากนางเอกจะเป็นคนพิการ
(เป็นใบ้)
ตัวละครที่เป็นเพื่อนสนิทของนางเอกก็ล้วนแต่เป็นคนชายขอบที่สังคมรังเกียจ
ไม่ยอมรับ หรือกดขี่ดูแคลน ตั้งแต่ Giles (Richard Jenkins จาก The Visitor) เพื่อนบ้านซึ่งเป็นศิลปินแก่ หัวล้าน ไส้แห้ง และเป็นเกย์ กับ Zelda
(Octavia
Spencer จาก The Help)
เพื่อนภารโรงของเธอซึ่งเป็นคนผิวสี
คนที่จับพรายน้ำมาขังคือ
Richard
Strickland (Michael
Shannon จาก Nocturnal Animals) ผู้โหดเหี้ยมอำมหิต
เหยียดเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ คิดว่าตัวเองเป็นพระเจ้า
แถมยังมีแนวโน้มชอบล่วงละเมิดทางเพศ แต่เปลือกนอกอยู่บ้านสวย ขับรถหรู
และมีครอบครัวที่เหมือนหลุดออกมากจากโปสเตอร์โปรโมตภาพลักษณ์ American
Family ในยุคนั้น ถึงแม้เรื่องราวของหนังจะถูกเซตในปี 1960s แต่เรื่องราวต่าง ๆ ที่เขานำเสนอนั้นเป็นเรื่องที่ยังคงพบเจอในปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเหยียดชนชั้นวรรณะ เหยียดเชื้อชาติสีผิว เหยียดเพศ
ล่วงละเมิดทางเพศ การเหลื่อมล้ำ ฯลฯ อันเป็นปัญหาสังคมที่ไม่เคยหมดไป… หรือแม้แต่จะลดน้อยลง…
เราเชื่อว่า
เรื่องราวเหล่านี้ ผู้กำกับ Guillermo
del Toro … ในฐานะที่เป็นชาวเม็กซิกัน…
คงตั้งใจถ่ายทอดลงมาในแผ่นฟิล์มของเขาทุกรายละเอียด
เพราะเขาคงต้องประสบเรื่องเหยียด ๆ เหล่านี้กับตัวเองมาแทบทั้งชีวิตเช่นกัน และความตั้งใจนั้น
ได้มีส่วนสำคัญให้เขาเนรมิตผลงานผลงานมาสเตอร์พีซที่ดีที่สุดเรื่องนี้ขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นงานภาพ
งานตัดต่อ งานซาวนด์ งานสกอร์ งานคอสตูม งานโปรดักชั่นดีไซน์ งานแคสต์หรือแอ็คติ้ง
ฯลฯ มันอาจจะไม่ใช่ The Best of the Year ในทุก ๆ
ด้าน แต่ทุก ๆ ด้าน เขาใส่ใจทำ มันดีงามลงตัวไปเสียหมด ซึ่งหายากมากในหนังสมัยนี้
(เออ ชอบที่บอกว่า สีเขียวน้ำทะเลคือสีแห่งอนาคต
และใช้มันคลุมโทนทั้งเรื่องอย่างงดงามด้วย) เราเชื่อเลยว่า
เขาอาจจะได้เป็นผู้กำกับเม็กซิกันอีกคนที่จะได้รางวัลออสการ์ตามผู้กำกับ Birdman และ Gravity ก็เป็นไปได้
การดูหนังเรื่องนี้มันคือการได้เอาน้ำสะอาดล้างตาดี
ๆ จากหนังที่สักแต่ทำมาขายให้ดูบางเรื่องที่มีเกร่ออยู่ตามท้องตลาด
มันคือการเสพงานศิลป์ ที่ไม่ได้เข้าถึงยากแต่อย่างใด ตรงกันข้าม
สารที่หนังต้องการจะสื่อนั้นเข้าถึงง่าย มีเนื้อหาทรงคุณค่าเหนือกาลเวลา
และในขณะเดียวกัน ก็มีความบันเทิง ดูสนุก น่าติดตาม และรู้สึกอิ่ม… (ด้วยความที่นางเอกเป็นใบ้ เพื่อนนางเอกเลยพูดมาก ขี้บ่น ติดตลกหมดเลย
เออดี)
คะแนนตามความชอบส่วนตัว 8.5/10 เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว โดย Kwanmanie
The Post: เอกสารลับเพนตากอน
The Post หนังเข้าชิงออสการ์
2
สาขา (Best
Motion Picture of the Year และ Best Performance by an Actress in a
Leading Role – Meryl Streep) เสมือนหนังร่วมสานต่ออุดมการณ์ของ Spotlight ซึ่งเข้าชิงออสการ์
6 สาขา และได้รับรางวัล 2 สาขา
รวมถึงรางวัลใหญ่ที่สุดอย่าง Best
Motion Picture of the Year เมื่อต้นปี 2016
ที่ผู้สื่อข่าวและประชาชนควรดู
ใน The Post ผลงานกำกับของพ่อมดแห่งฮอลลีวู้ด Steven Spielberg (จาก Jaws, E.T., Jurassic Park, Saving Private Ryan ฯลฯ)
พาย้อนกลับไปช่วงปี 1971 เล่าเรื่องทีมข่าว The
Washington Post (และ The
New York Times) เปิดเผยเอกสารลับเพนตากอน
(หมายถึง “Pentagon Papers” หรือ “Report of the Office of the Secretary of Defense Vietnam Task
Force”) ซึ่งเป็นรายงานที่เป็นหลักฐานว่ารัฐบาล
(ตั้งแต่สมัย Dwight D. Eisenhower, John F. Kennedy, Lyndon B. Johnson, และ Richard Nixon รวม 4 สมัยติดต่อกัน) โกหกหลอกลวงโลกเกี่ยวกับสงครามเวียดนาม (Vietnam War) (1955-1975)
มากว่ายี่สิบปี (1945-1967)
บท The Post เขียนโดย Liz Hannah และ Josh Singer (ผู้เขียนบท Spotlight จนชนะรางวัลออสการ์สาขาบทยอดเยี่ยมมาแล้ว)
เริ่มเล่าตั้งแต่ Daniel Ellsberg (Matthew Rhys จาก Burnt) แอบลักลอบเอาเอกสารลับออกมาให้นักข่าว The
New York Times ส่งผลให้รัฐมนตรีกลาโหม Robert
McNamara (Bruce Greenwood จาก Star Trek) และรัฐบาล Nixon ต้องเดือดร้อน
ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองที่ค่อนข้างน่าตึงเครียด
แต่ Steven Spielberg ก็เล่าเรื่องและทำหนังออกมาได้สนุก
บันเทิง น่าติดตาม และมีอารมณ์ขันอยู่เรื่อย ๆ อย่างรู้จังหวะ
ไม่น่าเบื่อเลยสักนิด (มีช่วงแรก ๆ ที่เราอาจตามไม่ทันบ้าง งงบ้าง
เพราะเรามีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองบ้านเขาน้อยเอง
แต่พอเริ่มปะติดปะต่อเรื่องได้แล้ว โอ้โห~ มันสนุกมาก!)
สองตัวละครหลักที่เป็นตัวดำเนินเรื่องคือ เจ้าของสำนักพิมพ์ The
Washington Post ณ ตอนนั้น Katharine
“Kay” Graham (Meryl Streep ผู้เข้าชิงออสการ์…หากรวมเรื่องนี้ด้วย…ก็ชิงมาแล้ว 21 สมัย! และคว้ารางวัลมา 3 ครั้งด้วยกัน) และ
บ.ก.ข่าวของเธอ Ben Bradlee (Tom Hanks เจ้าของรางวัลออสการ์จาก Forrest Gump) ผู้ซึ่งยอมทุกอย่างเพื่อที่จะได้มาซึ่งเอกสารลับและเผยแพร่มันให้โลกรู้
“Quality and
profitability go hand in hand."
Kay
เป็นตัวละคร Feminist ที่เหมาะกับ Feminist
อย่าง Meryl Streep ที่สุด เธอได้รับตำแหน่งนี้หลังจาก Philip Graham สามีของเธอยิงตัวตาย
(จริง ๆ Eugene Meyer บิดาของ Kay เอง
เป็นผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์นี้ แต่ตอนเขาเสียชีวิตแล้ว เขายกให้ลูกเขยดูแล้วแทนที่จะให้ลูกสาวในไส้)
ถึงแม้จะมีตำแหน่ง มีฐานะร่ำรวย มีหน้ามีตาในสังคมชั้นสูง และซี้กับคนใหญ่คนโต
เธอก็ต้องพิสูจน์ตัวเองอย่างหนัก เพราะเธอเป็นผู้บริหารหญิงคนเดียวในบอร์ด
และไม่มีผู้ชายคนไหน (นอกจาก Bradlee) ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของผู้หญิงอย่างเธอ ในห้องประชุมบอร์ดช่วงแรก เธอยังไม่กล้าจะออกความเห็นเสียด้วยซ้ำ เธอต้องเดินตามหลังผู้บริหารชาย บางครั้งก็เหมือนเธอแทบไม่มีตัวตน ณ ตรงนั้น
Kay
ต้องพยายามพยุงให้บริษัทที่เป็นของตระกูลอยู่รอดโดยการเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งมันเป็นอะไรที่ค่อนข้างย้อนแย้ง เพราะธรรมชาติของนักลงทุนหรือพวกแมงเม่าในตลาดซื้อขายนั้น
เขาจะต้องคิดถึงแต่ตัวเงินหรือผลกำไรเท่านั้น แต่สำหรับผู้สื่อข่าวนั้น
เรื่องเงินหรือการแสวงผลกำไรไม่ควรสำคัญเท่าจรรยาบรรณหรือหน้าที่ในการเป็นกระบอกเสียงและเป็นหูเป็นตาให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและมีคุณภาพแก่ประชาชน
(แต่ก็เข้าใจว่ามันจำเป็นที่ Kay ต้องทำทั้งสองอย่างให้ไปด้วยกันให้ได้)
ดังนั้นการตัดสินใจของ Kay ที่จะตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์เอกสารลับเพนตากอน
เป็นเรื่องที่เสี่ยงที่สุดเรื่องหนึ่งที่ผู้หญิงคนหนึ่งและผู้บริหารคนหนึ่งจะกระทำได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนั้นเป็นช่วงที่บริษัทเพิ่งเข้าตลาดหุ้นและ The
New York Times ก็เพิ่งโดนรัฐบาลฟ้องจนต้องขึ้นโรงขึ้นศาลไปหมาด
ๆ
การแสดงของ Meryl Streep ผู้เข้าชิงออสการ์มาแล้ว
21
ครั้ง คงไม่ต้องพูดเยอะ เธอทรงพลังมากจริง ๆ
และทำให้เรารู้สึกว่าเธอกำลังเป็น Kay อยู่จริง ๆ
ประกอบกับการถ่ายภาพของ Janusz Kaminski (เจ้าของรางวัลออสการ์จาก Saving Private Ryan) ก็ยิ่งขยี้อารมณ์ของตัวละครและเรื่องราวในหนังแต่ละซีนได้ยิ่ง
ๆ ขึ้นไปอีก เช่น ตอนที่ Kay กำลังตัดสินใจเรื่องใหญ่นี้
กล้องค่อย ๆ แพนไปที่หน้าของเธอ สื่อถึงอารมณ์ที่กดดันขึ้นทุกวินาที
“The only way to
protect the right to publish is to publish!”
เราชอบการเล่าเรื่องของหนังที่ตอกย้ำถึงพลังของ
“สื่อ” หรือ “The pen (อันหมายถึงคำพูดหรือตัวหนังสือ)”
กล่าวคือ เมื่อคำใดได้เผยแพร่ออกไปแล้ว มันย่อมส่งผลกระทบตามมา ไม่ใหญ่ก็เล็ก
ไม่มากก็น้อย ซึ่งคนที่เป็นเจ้าของปากกาหรือสื่อนั้นต้องเตรียมตัวเตรียมใจ
ไตร่ตรองก่อนเผยแพร่ และพร้อมจะรับผิดชอบในผลลัพธ์จากการเผยแพร่นั้น ๆ
ซึ่งส่วนใหญ่หนังจะเล่าเรื่องส่วนนี้ออกมาเป็นภาพหมดเลย
คือเป็นภาพที่สื่อถึงพลังของ power of a pen เช่น พอตัวเอกสั่งตีพิมพ์ปุ๊บ
เครื่องจักรถูกเปิดทำงาน ออฟฟิศมันก็สะเทือนเลือนลั่นครืน ๆ
สื่อถึงความสั่นคลอนหรือความไม่มั่นคงอีกต่อไปแล้วหลังจากตัดสินใจปล่อยข่าวลับนี้
และอีกหลาย ๆ ซีน ที่มันสื่อถึงผลกระทบของการใช้สื่อจริง ๆ
อยากให้ทุกคนลองไปตั้งใจดู ในฐานะที่เราต่างก็เป็นผู้ใช้สื่อ
แต่ประเด็นหลัก
ๆ ที่เป็นแก่นสารที่หนังต้องการจะสื่อ หากเราไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ นั่นก็คือ
เสรีภาพของสื่อ (และสิทธิของสตรี ที่แอบกล่าวไปแล้วในย่อหน้าก่อนหน้า)
ซึ่งเราต้องบอกเลยว่า ในปัจจุบัน
ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย อย่างอเมริกาและไทย
กำลังต้องการหนังแบบนี้… และต้องการทีมข่าวอย่างในหนัง The Post และ Spotlight เหลือเกิน
“The founding
fathers gave the free press the protection it must have to fulfil its essential
role… to serve the governed, not the governors”.
ในช่วงนาทีสุดท้ายของหนัง
เหมือนจะแอบบอกเป็นนัย ๆ ว่า ยังมีเรื่องกรณี Watergate สมัยรัฐบาล Nixon อีกที่ผู้กำกับอยากจะเล่า
ทั้งนี้เราคงต้องติดตามกันต่อไปว่า เขาจะสร้างภาคสองเกี่ยวกับประเด็น Watergate ต่อด้วยหรือไม่
แต่ถ้ามี เราก็รอดูแน่นอน เพราะเราชอบหนังแบบนี้ และอย่างที่บอก… ประเทศเรากำลังต้องการหนังแบบนี้!
ในแง่ของอารมณ์และความรู้สึก
ด้วยความที่เราค่อนข้างอินกับเสรีภาพสื่อและสืทธิสตรี เราอยากให้คะแนน 10-10-10
และปรบมือดัง ๆ ให้หนังยาว ๆ (ใช้ใจล้วน ๆ)
แต่หลังจากตกตะกอนและใช้เหตุผลร่วมด้วยแล้ว The Post ถือเป็นหนังที่ดีมาก
แถมเป็นหนังรางวัลที่ย่อยง่ายและดูสนุก แต่ก็ยังไม่ถือเป็นมาสเตอร์พีซของมาตรฐาน Steven Spielberg สตรองน้อยกว่า Spotlight (แต่ก็บันเทิงกว่านะ) และยังยากที่คนอ่อนประวัติศาสตร์และการเมืองอเมริกาอย่างเราจะเข้าถึงได้ง่ายในช่วงเริ่มเรื่อง
คะแนนตามความชอบส่วนตัว
หลังจากใช้สมองควบคู่กับหัวใจแล้ว ขอให้ที่ 8.5/10 เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว จากเพจ Kwanmanie
Three Billboards Outside Ebbing,
Missouri (หนังเรื่องนี้ยังไม่ได้เข้าฉายในเมืองไทย จึงยังไม่ทราบชื่อไทย และยังไม่มีบทวิจารณ์หรือรีวิวเกี่ยวกับเรื่องนี้)
ผลงานภาพยนตร์ตลกร้ายสุดแสบจากฝีมือการเขียนบทและกำกับของเจ้าของรางวัลออสการ์ Martin McDonagh หนึ่งเดือนผ่านไปหลังจากลูกสาวของเธอถูกฆาตกรรมโดยไม่สามารถจับคนผิดมาลงโทษได้
Mildred Hayes (รับบทโดยเจ้าของรางวัลออสการ์ ฟราสเซส
แม็คดอร์แมน) ได้เริ่มทวงถามอย่างแสบสัน เธอซื้อป้ายบิลบอร์ดสามป้ายริมถนนในเมืองของเธอ
เพื่อส่งข้อความทวงหาผู้กระทำผิดจาก William Willoughby (รับบทโดยผู้ถูกเสนอเข้าชิงออสการ์ วู้ดดี้ ฮาร์เรลสัน)
หัวหน้าตำรวจประจำเมือง นี่คือการต่อสู้ของผู้เป็นแม่
กับกระบวนการยุติธรรมที่เสียดสีสังคมได้อย่างร้ายกาจ
Call Me By
Your Name : รักแรกที่หอมหวานและไม่หวนคืนมา (รีวิว 1)
เป็นหนังที่คอหนังชาวไทยไม่น้อยตั้งหน้าตั้งตารอกันมาตั้งแต่ต้นปีเลย
หลังจากชื่อของมันเริ่มถูกพูดถึงในฐานะหนึ่งในหนังที่ดีที่สุดของเทศกาลซันแดนซ์ประจำปีนี้
เรียกว่ากระแสนั้นมาแรงกว่า Dunkirk เสียอีก เพียงแต่ในแง่แมสแล้วมันยังไม่ไปถึงวงกว้าง
แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือหนังเต็งออสการ์ที่ทางโซนี พิคเจอร์ส จับมือกับ เฮ้าส์
นำเข้ามาฉาย ซึ่งได้รับการจับตามองอย่างมาก โดยอีกหนึ่งไฮไลท์ในเรื่องนี้ก็คือ คุณสยมภู มุกดีพร้อมผู้กำกับภาพคู่ใจ ที่เคยกำกับภาพให้หนังของ ‘เจ้ย’ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล มาแล้วหลายเรื่อง
ไม่ว่าจะเป็น สุดสเน่หา, แสงศตวรรษ รวมทั้ง ผลงานมาสเตอร์พีชอย่าง ลุงบุญมีระลึกชาติ ที่เป็นเหมือนใบเบิกทางของเขาอย่างแท้จริง
สำหรับ Call
Me By Your Name นั้นเป็นหนังที่ดัดแปลงมาจากนิยายโรแมนติกของ
อังเดร เอซิแมน ที่พูดถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างเอลิโอ (ทิโมธี ชาลาเมต) เด็กหนุ่มวัย 17 เชื้อสายอเมริกันอิตาเลียน-ยิว กับ
โอลิเวอร์ (อาร์มี่ แฮมเมอร์) นักศึกษาหนุ่มชาวอเมริกันวัย
24 ปี ขณะมาช่วยงานคุณพ่อของเอลิโอ (ไมเคิล
สตูห์ลบาร์ก) ช่วงปิดภาคฤดูร้อนในช่วงยุค 80
โดยเมื่อมาทำเป็นหนังในเวอร์ชันของผู้กำกับ ลูกา กัวดานิโน(The Big Splash, I Am
Love) นั้นทาง เอซิแมน เองก็เข้ามาร่วมดัดแปลงบทหนังด้วยเช่นกัน
จุดแข็งของ
Call
Me By Your Name ก็คือเรื่องการเดินเรื่อง
ซึ่งด้วยตัวพลอตเดิมนั้นไม่ได้มีเนื้อหาสลับซับซ้อนอะไรอยู่แล้วในแง่บริบท
แต่หนังลงน้ำหนักเต็มที่กับการเล่าในมุมของการสำรวจ เอลิโอ
ตั้งแต่ตัวตนเดิมที่เขาเป็น จนกระทั่งมาเจอกับ โอลิเวอร์
หนังปูแบ็คกราวน์ในด้านอ่อนโยนของเด็กหนุ่มที่ดูภายนอกเหมือนจะมีเสน่ห์ไปในเชิงเพลย์บอยหน่อย
ๆ ด้วยซ้ำ แต่ความอ่อนโยนตรงนั้นแหละ ที่ถูกขยายออกจนประตูอีกบานเปิดออก
ตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาเผยออกมา
เจือปนกับความอยากรู้อยากเห็นและความสับสนในการค้นหาตัวเองในแบบฉบับหนัง coming
of age
ตัวหนังเดินไปอย่างมีจังหวะเป็นธรรมชาติมาก
เรื่อย ๆ เอื่อย ๆ สไตล์แบบ narrative และนี่ไม่ใช่หนังเกย์จ๋า
แต่ออกจะไปทาง Bisexual ผมชอบที่ เอลิโอ
ปลดปล่อยความปรารถนาออกมาแบบไม่มีเหตุผลมาเจือปน ซึ่งหนุ่ม ทีโมธี
ถ่ายทอดออกมาได้ดีมาก มันเป็นความรักแบบที่เราเคยรู้สึกได้สมัยเรียน
วันที่ห้วงอารมณ์ของความรัก ความตื่นเต้น ปนเปรอไปกับความเศร้าและความกลัว
ที่มันตีกันไปหมด มันไม่ใช่ความรักปรุงแต่งที่เป็นเหตุเป็นผลไปถึงหลังวันแต่งงาน
แต่มันเป็นรักที่หากไปถามเอลิโอ ว่าทำไมถึงรักโอลิเวอร์ ปานจะแหกดากดมนัก
เขาคงตอบได้แค่ว่า ‘ก็แค่รัก’ แค่นั้นจริง ๆ
เพราะมันดิบมาก ซึ่งความสวยงามของหนังเรื่องนี้มันอยู่ที่ แววตาและความรู้สึกของ 2
คนนี้แหละ หนังทำให้เราได้ลุ้นว่า ‘เมื่อไหร่’
เอลิโอ และ โอลิเวอร์ จะ ‘คิดเหมือนกัน’
เสียที
Call Me
By Your Name ใช้มุมกล้องที่ให้ความรู้สึกเหมือนหนังสมัยก่อน
ยอมรับว่าชอบมู้ดแอนด์โทนของภาพบรรยากาศในหนังมาก มันกึ่ง ๆ
จะพาเราไปทัศนศึกษาในมิลาน แต่เป็นมิลานที่อยู่ในนิยายฝัน ๆ อีกทีหนึ่ง
สิ่งที่ชัดเจนที่คนดูได้เห็นจากหนังเรื่องนี้เลยก็คือ ความรักที่มาจากสัญชาตญาณของมนุษย์จริง
ๆ ไม่มีค่านิยม มีแต่รสนิยมตรงหน้า เมื่อคุณเป็นเอลิโอ คุณจะเริ่มรักใครสักคน
เปิดใจให้เขาเข้ามาในชีวิตเรา
จากนั้นเมื่อความสัมพันธ์เดินไป
จาก ‘เขา’ ก็กลายเป็น ‘เรา’
และ ‘เรา’ ก็กลายเป็น ‘เขา’
และคน ๆ นี้แหละที่ทำให้ ‘เรา’ เปลี่ยนไปตลอดกาล
ซึ่งนี่ก็คือนิยามรักทรงพลังและแสนจะคลาสสิกในแบบฉบับของ Call
Me By Your Name โดยในช่วงท้ายของหนังนั้นก็แอบมีหักมุมเล็ก
ๆ ซึ่งเป็นมุมที่มีแล้วเติมเต็มและอธิบายความรักให้ เอลิโอ ได้ดีที่สุด
สิ่งที่น่าพิศวงและคาดเดายากพอ ๆ กับความตายก็คือ ‘ความรัก’
นี่แหละ มันเป็นสิ่งที่ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะอายุเท่าไหร่
จะเป็นผู้ใหญ่ผ่านร้อนหนาวมาแค่ไหน ก็ยังเป็นเพียง ‘เด็กน้อย’
ในเรื่องของความรักอยู่วันยันค่ำ
ส่วนตัวนั้นชอบองค์ประกอบของหนังมาก
โดยเฉพาะคอสตูมและการเซ็ตอัพฉากขึ้นมาในแต่ละซีน
สามารถดึงความโดดเด่นเรื่องเทรนด์ในยุค 80 ออกมาได้คูลมาก ๆ
แถมเก็บรายละเอียดทุกเม็ดสมราคาเต็งออสการ์
และถึงแม้ว่ามันอาจจะยากหน่อยที่เราจะได้เห็นหนังแนว LBGTQ คว้าออสการ์
2 ปีติด (ต่อจาก Moonlight)แต่ก็ถือว่าด้วยคุณภาพนั้น
มีสิทธิ์ลุ้นได้ยาว ๆ ครับ
เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว โดย เว็บแบไต๋
รีวิว Call Me by Your Name (รีวิว 2)
“We rip out so much of
ourselves to be cured of things faster than we should that we go bankrupt by
the age of thirty and have less to offer each time we start with someone new.
But to feel nothing so as not to feel anything – what a waste!”
เรื่องราว Call
Me by Your Name เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี
1983 ณ ทางตอนเหนือของอิตาลีอันแสนสุขสงบ
เมื่อชายอเมริกันรูปงาม Oliver (Armie
Hammer จาก The Social Network)
มาพักอยู่ที่บ้านของ ศจ. Perlman (Michael
Stuhlbarg จาก The Shape of Water)
และภรรยาชาวอิตาเลียน Annella (Amira
Casar) เป็นเวลา 6 อาทิตย์ เพื่อช่วยทำงานวิจัย
ในเวลาเพียงไม่นานเขาก็ตกหลุมรักกับ
Elio
(Timothée
Chalamet จาก Lady Bird)
ลูกชายวัย 17 ปีของเจ้าบ้าน ซึ่ง ณ
ตอนนั้นก็เหมือนจะคบ ๆ คุย ๆ อยู่กับเพื่อนสาวฝรั่งเศส Marzia (Esther
Garrel) นั่นคือจุดที่ Elio
ต้องค้นหาตัวเอง… เปิดเผย และปกปิดตัวเอง…
Call
Me by Your Name เป็นหนังที่คนไทยได้เข้าใกล้ออสการ์ที่สุดในประวัติศาสตร์
เพราะหนังเข้าชิงออสการ์ 4 สาขาเรื่องนี้
(รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี) มีผู้กำกับภาพเป็นคนไทย นั่นคือคุณ Sayombhu
Mukdeeprom (จาก Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives หรือ ลุงบุญมีระลึกชาติ (2553))
ซึ่งถึงแม้เขาจะยังไม่ได้เข้าชิงออสการ์สาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม
แต่ก็ได้รับคำชมอย่างล้นหลาม และได้เข้าชิงบนเวทีอื่น ๆ อยู่บ้างเหมือนกัน เช่น
เวที Critics Choice Award, Indiewire Critics’ Poll ฯลฯ
โดยส่วนตัวของเราก็มองว่า
งานภาพของเรื่องนี้มีความละมุน สวยงาม ดูเพลิน สบายตา และชวนดึงดูดอย่างบอกไม่ถูก
ประกอบกับวิถีชีวิตอันเรียบง่ายกับบ้านเมืองอันสวยงามของพวกเขาเอง
ที่ทำให้เราหลงใหลและชื่นชมมันอย่างไม่รู้สึกเบื่อ
สองตัวหลักของเรื่อง
อย่าง Armie
Hammer และ Timothée
Chalamet ก็มีความหล่อเหลาเอาการปานเทพบุตรหรือถอดแบบมาจากรูปปั้นกรีก
โดยเฉพาะนุ้งคนหลังที่มองกี่ทีก็ชวนเคลิ้ม การแสดงก็โดดเด่นจนเตะตากรรมการออสการ์
ยิ่งซีนสุดท้ายนี่ทำให้คนดูเจ็บปวดตาม เหมือนถูกบีบหัวใจไปพร้อม ๆ กับนุ้ง
ด้วยความเป็นหนังเกี่ยวกับความรักชายกับชายที่เซตสตอรี่ไว้ช่วงปี
1980s
ถ้าเป็นหนังรักแฮปปี้ชื่นมื่น นั่นก็คงแปลกประหลาด ยิ่งเป็นหนังความรักฤดูร้อนด้วยแล้ว ย่อมคาดเดาได้ล่วงหน้าลยว่า
ความรักครั้งนี้ต้องไม่ยั่งยืนด้วยเหตุผลประการใดประการหนึ่ง
หรืออาจจะมีทั้งสุขสมหวังและเศร้าผิดหวังคละเคล้ากัน
คนที่จะเข้าไปดูหนังเรื่องนี้จึงอาจจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจที่จะเข้าไปเจ็บปวดประมาณหนึ่
แต่หากใครคาดหวังจะเข้าไปดูฉากเซ็กส์ที่หวือหวาฉบับชายรักชาย
คุณจะไม่ได้เห็นมันในหนังเรื่องนี้ เพราะ Luca
Guadagnino (ผู้กำกับ A Bigger Splash) ถ่ายทอดมุมมองความรักของผู้ชายสองคนในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์ธรรมดา
ที่มีความรักและความสัมพันธ์เหมือนกับคู่รักชายกับหญิงทั่วไป
ไม่ว่าจะเป็นในช่วงพบรัก แอบชอบ บอกรัก คบหาพูดคุย หรือกระทั่งตอนมีเพศสัมพันธ์
พวกเขามีความรู้สึกและความปรารถนาเหมือนกับคู่รักชายหญิง
ต่างกันอยู่แค่ว่าสังคมยังไม่ยอมรับ
หนังเรื่องนี้คือหนังรักที่จะทำให้คนดูเข้าใจและเปิดใจมากขึ้นกับความรักของพวกเขา
อีกทั้งให้เรารู้จักเก็บเกี่ยวช่วงเวลาที่มีความสุขและคิดถึงมันให้มากกว่าความเศร้าโศก
และที่แน่ ๆ หนังมีความละมุนจริง ๆ นิยามได้คำเดียวเลยว่า “ละมุน” และที่สำคัญ นี่เป็นหนังตอนจบก็ “กัดกิน” หัวใจเรามากที่สุดเรื่องหนึ่งเท่าที่เคยดูมา คะแนนตามความชอบส่วนตัว 8/10 เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว โดย Kwanmanie
Lady Bird : เข้าโรงหนังควรระวัง อาจตกหลุมรักหนังไม่รู้ตัว
ตอนดูตัวอย่างหนัง
ก็ยังมองไม่ออกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังขวัญใจผู้ชมตามเวทีประกวดได้ยังไง
เรื่องดูจะออกดราม่าแถมบุคลิกของตัวละครก็ไม่ได้เป็นมิตรนักด้วย
แต่พอได้ดูหนังจริงก็ต้องยอมรับล่ะว่าตัวอย่างถ่ายทอดอารมณ์หนังมาได้ไม่หมด
และจริง ๆ หนังมี “ของ” มากกว่าที่คิดเยอะมาก
จากคิดว่าเข้าไปเครียด ๆ อย่างมากก็ซึ้ง ๆ กลายเป็นทั้งตลก ทั้งน้ำตารื้น
และที่สำคัญได้คิดและตรึกตรองชีวิตของเราเองด้วย
ยอมรับเลยสมราคาคุยมากครับเรื่องนี้ เดินเข้าโรงกันระวัง ๆ ล่ะ อาจตกหลุมรักเอาง่าย
ๆ เลย
Lady
Bird เป็นผลงานของเรื่องที่ 2 ของผู้กำกับ/นักเขียนบท/นักแสดงชื่อดัง อย่าง เกรต้า เกอร์วิก ที่บางคนอาจคุ้นหน้าเธอจากหนังหลาย ๆ เรื่อง
อย่างเรื่องล่าสุดที่เราเคยรีวิวไป 20th
Century Women (2016) ในบท แอ๊บบี้ เป็นต้น แต่ผลงานที่โดดเด่นของเธอคงไม่พ้นการร่วมงาน
ทั้งการรับบทนำและเขียนบทให้ผู้กำกับอินดี้ชื่อดัง โนอาห์ บอมบาค ในเรื่อง Frances
Ha (2012) และ Mistress America (2015) ซึ่งฉายแววการเป็นนักเขียนบทที่ไม่ธรรมดาของเธอเฉกเช่นเดียวกับงานแสดง
ครั้งนี้เธอเลือกเล่าเรื่องการก้าวข้ามวัย
ของ เลดี้เบิร์ด (เซอร์ช่า
โรแนน) เด็กสาวที่ไม่พอใจในชีวิตตัวเองสักอย่าง
เป็นวัยว้าวุ่นที่ยังมองไม่ออกว่าควรให้ค่าสิ่งใดในชีวิตดีเช่นเดียวกับวัยรุ่นทั่วโลก
เธอไม่ชอบเมืองเกิดอย่างซาคราเมนโตที่แม้เป็นเมืองหลวงของรัฐแคลิฟอร์เนียแต่แทบไม่มีใครรู้จัก
เธอไม่ชอบชีวิตในรั้วไฮสคูลคาทอลิกสุดเข้มงวดที่ผู้ชายผู้หญิงยังต้องแยกห้องเรียน
เธอเกลียดความไม่เก่งอะไรสักอย่างของตัวเอง
เธอไม่ชอบใจที่ถูกแม่ดุด่าอยู่เสมอราวกับทำอะไรก็ไม่เคยถูกต้อง
และที่สำคัญเธอเกลียดชื่อ คริสติน ที่พ่อแม่ตั้งให้ และเลือกประกาศชื่อ เลดี้เบิร์ด คือนามอันแท้จริงของตัวเอง
แต่ภายใต้ความไม่เข้าใจต่อแม่ของเธอ ต่อโลกของเธอ หนังก็ค่อย ๆ
เผยมุมที่แสนอบอุ่น ตลกและปวดร้าวไปพร้อมกัน
“หนูเกลียดโรงเรียนคาทอลิกนั่น”
“ฉันต้องเข้าเวรเพิ่มในโรงพยาบาลโรคจิต
เพื่อส่งแกเรียนโรงเรียนนั้น
ก็เพราะพี่ของลูกเคยเห็นคนถูกแทงตายหน้าโรงเรียนรัฐไงล่ะ
แกอยากเข้าโรงเรียนแบบนั้นเหรอ”
“แม่เคยภูมิใจในตัวหนูมั้ย?”
“แม่เชื่อว่าลูกเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ลูกเป็นได้”
“แล้วถ้าดีที่สุดของหนูมันได้แค่นี้ล่ะ
แม่จะชื่นชมหนูมั้ย?”
หนังความยาวเพียงชั่วโมงครึ่ง
แต่เราได้เห็นแง่มุมชีวิตราวเข้าไปสิงอยู่ในชีิวิตประจำวันของเลดี้เบิร์ด
แม้หนังจะทุ่มเวลามากกว่า 99%
บนจอไปกับการมีเลดี้เบิร์ด แต่ก็ต้องยอมรับว่าหนังเต็มไปด้วยผู้คนที่อยู่รอบข้างเธอ
ซึ่งล้วนแต่มีชีวิตที่น่าสนใจ
และที่สำคัญพวกเขาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเลดี้เบิร์ดอย่างที่เธอไม่เคยรู้ตัวมาก่อน
จนวันที่อาจต้องเสียพวกเขาไป หนังถ่ายทอดแง่มุมนี้ได้อย่างงดงาม
เปี่ยมด้วยมุกตลกเกินคาด และที่สำคัญมันมีสารบางอย่างที่เข้าถึงคนทุกคนที่เคยผ่านการเป็นวัยรุ่นหรือยังเป็นอยู่
แถมเข้าแล้วยังปักตามเราออกมายันนอกโรงเลยด้วย
ใครที่กลัวหนังรางวัล หรือหนังดราม่าครอบครัว
นี่คือหนังที่ผ่านการพิสูจน์จากหลายเวที หลายรอบผู้ชมแล้วว่า
มันคือหนังฟีลกู้ดน้ำดี ที่ดูออกมาจะทำให้อารมณ์ดีและมองโลกเปลี่ยนไป อาจไม่ใช่หนังที่ลงทุนใหญ่โตมีดาราดังมากมาย
แต่หัวใจของหนังเรื่องนี้โตกว่าทุนของมันไปไกลเลยครับ
วิเคราะห์การเข้าชิงออสการ์
หนังเรื่องนี้เข้าชิง 5 สาขา โดยเป็นสาขาสำคัญทั้งสิ้นเลย คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม
และบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยก่อนหน้านี้หนังเคยคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
และนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเวทีลูกโลกทองคำมาได้ก่อนแล้ว
จึงเป็นตัวเต็งสำคัญในเวทีออสการ์นี้เช่นกันครับ
แต่มองจากที่ผ่านมานั้นเวทีออสการ์ไม่ค่อยตามผลจากเวทีลูกโลกทองคำนัก
ถ้าไม่ใช่หนังสายแข็งมาแรงจริง ๆ
ส่วนตัวคิดว่าหนังเรื่องนี้น่าจะมีลุ้นในสาขาที่เหลือมากกว่า
โดยเฉพาะสาขาสมทบหญิง แต่กระนั้นก็ต้องฟาดฟันกับคู่แข่งที่ยากเช่นกัน มองอย่างนี้หนังอาจประสบความสำเร็จในเวทีอื่น
แต่คงไม่ใช่ออสการ์ครั้งนี้ครับ ซึ่งก็เช่นเดียวกับหนังอินดี้มวยรองเรื่องอื่น ๆ
เช่นกันที่ต้องเจอคู่แข่งตัวเก็งสุดน่ากลัว ทั้ง The
Shape of Water และ Three Billboards Outside
Ebbing, Missouri ครับ
เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว จากเว็บแบไต๋
Get Out : ตัวอย่างที่ดีของหนังทุนต่ำแต่ทำได้สนุก
– นี่คือหนังม้ามืดที่ได้เสียงฮือฮาจากเทศกาลซันแดนซ์
– นี่คือหนังที่ได้คะแนนโหวตจากนักวิจารณ์ในเว็บ rottentomatoes สูงถึง 99% ให้มะเขือเทศสด 223 คน ให้มะเขือเทศเน่าเพียงคนเดียว
– นี่คือหนังที่ขึ้นอันดับ 1 ได้ในสัปดาห์แรกที่เข้าฉาย เตะแชมป์เก่าอย่าง The Lego Batman Movie ลงไปอันดับที่ 2
– นี่คือหนังที่ใช้ทุนสร้างเพียง 4.5 ล้านเหรียญ ใช้ดารานำหน้าใหม่ทั้งสิ้น ใช้เวลาถ่ายทำเพียง 28 วัน แต่ทำเงินไปแล้วถึง 155 ล้านเหรียญ
– นี่คือหนังที่เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จอร์แดน พีล ดาราตลกที่เปลี่ยนแนวมาเขียนบทและกำกับหนังสยองขวัญได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีจุดเริ่มต้นเพียงแค่มุกตลกสั้น ๆ จากเอ็ดดี้ เมอร์ฟีย์ จากเวทีเดี่ยวไมโครโฟน ที่เขาเล่าเรื่องตอนไปเยี่ยมพ่อแม่แฟนผิวขาว
– นี่คือหนังที่ได้คะแนนโหวตจากนักวิจารณ์ในเว็บ rottentomatoes สูงถึง 99% ให้มะเขือเทศสด 223 คน ให้มะเขือเทศเน่าเพียงคนเดียว
– นี่คือหนังที่ขึ้นอันดับ 1 ได้ในสัปดาห์แรกที่เข้าฉาย เตะแชมป์เก่าอย่าง The Lego Batman Movie ลงไปอันดับที่ 2
– นี่คือหนังที่ใช้ทุนสร้างเพียง 4.5 ล้านเหรียญ ใช้ดารานำหน้าใหม่ทั้งสิ้น ใช้เวลาถ่ายทำเพียง 28 วัน แต่ทำเงินไปแล้วถึง 155 ล้านเหรียญ
– นี่คือหนังที่เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จอร์แดน พีล ดาราตลกที่เปลี่ยนแนวมาเขียนบทและกำกับหนังสยองขวัญได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีจุดเริ่มต้นเพียงแค่มุกตลกสั้น ๆ จากเอ็ดดี้ เมอร์ฟีย์ จากเวทีเดี่ยวไมโครโฟน ที่เขาเล่าเรื่องตอนไปเยี่ยมพ่อแม่แฟนผิวขาว
·
นี่คือหนังม้ามืดที่ได้เสียงฮือฮาจากเทศกาลซันแดนซ์
·
นี่คือหนังที่ได้คะแนนโหวตในเว็บ
rottentomatoes
สูงถึง 99% นักวิจารณ์ให้มะเขือเทศสด 223
คน ให้มะเขือเทศเน่าเพียงคนเดียว
·
นี่คือหนังที่ขึ้นอันดับ 1 ได้ในสัปดาห์แรกที่เข้าฉาย เตะแชมป์เก่าอย่าง The Lego Batman
Movie ลงไปอันดับที่ 2
·
นี่คือหนังที่ใช้ทุนสร้างเพียง
4.5
ล้านเหรียญ ใช้ดารานำหน้าใหม่ทั้งสิ้น ใช้เวลาถ่ายทำเพียง 28
วัน แต่ทำเงินไปแล้วถึง 155 ล้านเหรียญ
·
นี่คือหนังที่เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ
จอร์แดน พีล
ดาราตลกที่เปลี่ยนแนวมาเขียนบทและกำกับหนังสยองขวัญได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก
โดยมีจุดเริ่มต้นเพียงแค่มุกตลกสั้น ๆ จากเอ็ดดี้ เมอร์ฟีย์ จากเวทีเดี่ยวไมโครโฟน
ที่เขาเล่าเรื่องตอนไปเยี่ยมพ่อแม่แฟนผิวขาว
หนังมีพลอตง่าย
ๆ เรื่องของคริส และโรส คู่รักต่างสีผิวที่กำลังรักกันดูดดื่ม
แล้วโรสก็ต้องการพาคริสไปรู้จักกับพ่อแม่ในวันสุดสัปดาห์
คริสรู้สึกประหม่าเพราะโรสไม่ได้บอกว่าเขาเป็นคนผิวดำ
แต่สุดท้ายคริสก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพ่อแม่ และเจเรมี น้องชาย แต่คริสเริ่มรู้สึกแปลก
ๆ กับจอร์จีนา และวอลเตอร์ คนรับใช้ที่มองเขาด้วยสายตาแปลก ๆ
และมีพฤติกรรมที่ดูน่าสงสัย ยิ่งพอเข้าวันที่ 2 ที่เป็นเทศกาลรวมญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของครอบครัวอาร์มิเทจ
คริสก็ได้พบกับ แอนดรูว์ คนผิวดำคนแรกในหมู่บ้านนี้ แต่แล้วเขาก็ได้พบกับปฎิกิริยาชวนช็อค
จนคริสรู้สึกว่าเขาอยู่ที่บ้านหลังนี้ต่อไม่ได้แล้ว แต่คริสจะได้ออกไปไหม?
เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว จากเว็บแบไต๋
เป็นหนัง 100 นาทีที่เรื่องราวเดินหน้าได้เร็ว
ครึ่งแรกหยอดพฤติกรรมชวนสงสัยจากผู้คนรอบข้างมาตลอดทั้งพ่อแม่ คนรับใช้
กดดันให้คนดูยิ่งอยากรู้ว่าจุดประสงค์ของครอบครัวนี้คืออะไร
มีใครรู้เห็นเป็นใจกันบ้าง แล้วโรสแฟนของเขาล่ะยังรักยังเป็นพวกเขาไหม
ยิ่งนานขึ้นก็ยิ่งเพิ่มตัวละครมาทวีความน่าสงสัยใคร่รู้ให้มากขึ้น
จนไปเผยในครึ่งหลังแบบค่อย ๆ ปล่อยเซอร์ไพรส์ออกมา 2-3 ขั้น
เป็นหนังที่ดูไปเดาไปได้อย่างสนุกสนาน
ในฐานะคนที่ชอบดูหนังสยองขวัญก็ต้องยอมรับว่าเดาผิดไปเยอะครับ
ก็ชื่นชมที่ว่าผลงานสยองขวัญเรื่องแรกของ จอร์แดน พีล นั้นเขียนออกมาได้อย่างมีชั้นเชิงไม่ตื้นขนาดเดาทางไปได้ทั้งหมด
แม้จะมีช่องโหว่อยู่บ้างแต่ก็อยู่ในมาตรฐานฮอลลีวู้ดที่ไม่น่าเกลียดเกินไปนัก
งานตามสูตรหนังสยองขวัญมาครบ ทั้งความโหด เลือด ฉากเงียบให้ลุ้น
และตุ้งแช่ที่มีแบบพอควร แต่ผู้กำกับก็รู้ว่าหนังออกจะเครียดเกินไปก็เลยให้บท รอด
วิลเลียมส์ เพื่อนตุ้ยนุ้ยผู้น่ารักของคริส
ทำหน้าที่เป็นตัวยิงมุกให้หนังทุกครั้งที่โผล่หน้ามา อลิสัน วิลเลียมส์
ที่มารับบทโรส นางเอกของเรื่องก็สวยดี
และเรื่องนี้ก็เป็นหนังโรงเรื่องแรกของเธอเลย นอกนั้นเป็นดาราหน้าใหม่เกือบหมด
มีรู้จักอยู่คนเดียวคือ แคทเธอรีน คีเนอร์ ในบทมิสซี่ แม่ของโรส
ที่ชอบมากคือการปูบรรยากาศไม่น่าไว้ใจ
ค่อย ๆ กดดันคริส ส่งให้คนดูรู้สึกอึดอัดตามไปได้ หลาย ๆ
องค์ประกอบล้วนทำหน้าที่ได้ดีทั้งเพลงประกอบแบบหลอน ๆ ภาพครึ้มทะมึน
และการแคสติ้งตัวแสดงที่เลือกแต่ละคนมาได้ดูโรคจิตดี โดยเฉพาะเบ็ตตี้ กราเบียล
ผู้รับบทจอร์จีนา คนรับใช้ รายนี้โผล่มาทีไรหลอนทุกที เธอเล่นได้ดีมากและผู้กำกับก็รู้ว่าเธอเข้าถึงบทได้ดี
ถึงกับยกซีนหนึ่งให้เธอไปเลย
ด้วยการโคลสอัพหน้าจอร์จีน่าที่แสดงออกถึงความรู้สึกสับสนที่ตีกันทั้งหัวเราะร้องไห้
แต่โดยรวมแล้วชวนหลอนมาก
ทั้งหมดล้วนทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกที่คริสตกอยู่ในแวดล้อมของกลุ่มคนน่าสงสัยที่ค่อย
ๆ บีบคั้นจนต้องระเบิดออก
แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เขียนให้คริสเป็นพระเอกที่เก่งเวอร์แบบซูเปอร์แมน
หนังจบแบบเผยทุกปริศนาได้หมดจด การวางพื้นฐานอาชีพของตัวพ่อตัวแม่
และบรรดาเพื่อนบ้านล้วนมาลงตัวกับบทเฉลย และปิดจบแบบไม่ต้องเหลืออะไรไว้ให้ต่อภาค 2
จอร์แดน
พีล ผู้กำกับและเขียนบท
เนื่องด้วยเป็นหนังฟอร์มเล็ก ไร้ดาราขายชื่อ
ไร้สเปเชี่ยลเอฟเฟ็คต์ นอกจากชื่อเสียงของตัวหนังเองที่สั่งสมมาจากฝั่งอเมริกา
หนังน่าจะเข้าฉายบางโรงและออกภายในหนึ่งสัปดาห์
ถ้าใครเป็นคอหนังสยองขวัญแล้วพลาดไปเสียดายแทน
เพราะมันเป็นหนังที่ตอบสนองคอหนังสยองขวัญได้อย่างอิ่มเอม โดยเฉพาะถ้าดูในโรง
ถ้าปีที่แล้ว Don’t Breathe เป็นหนังสยองขวัญสร้างเซอร์ไพรส์ ปีนี้ก็เป็นปีของ Get Out ล่ะครับ
เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว จาก เว็บแบไต๋
รีวิว Dunkirk: ดันเคิร์ก
“Survival
is enough,”
เสน่ห์ของหนัง Christopher
Nolan ที่เราชอบคือ
เกือบทุกเรื่องของเสด็จพ่อ เราดูรอบเดียวไม่เคยพอ ไม่ว่าจะเป็น Interstellar, The Dark Knight, Inception, The Prestige, และ Memento ฯลฯ มันต้องดูซ้ำเพื่อเก็บรายละเอียด
หรือดูรอบสองเพื่อทำความเข้าใจในจุดที่เรามองข้ามไปตอนดูรอบแรก
รวมถึงประเด็นที่เสด็จท่านต้องการจะสื่อให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น พูดง่าย ๆ คือ
เราชอบที่เราได้ใช้สมองในขณะที่ได้ดูหนังที่สนุก
แต่สำหรับ Dunkirk เราไม่จัดอยู่ในหมวดของหนัง Nolan ที่เรารู้สึกว่าเราจำเป็นต้องดูซ้ำ
เพราะเรื่องนี้แทบไม่มีเนื้อเรื่องและไดอะล็อกอะไรให้ใช้สมองคิดตามมากมายเลย
ถ้าจะดูอีก ก็คงเป็นเพราะอยากไปเสพงานภาพ งานซาวนด์ และงานสกอร์ของ Hans
Zimmer ในโรง IMAX อีกก็เท่านั้น (ใครไม่รู้จัก ไป Google ดูผลงานเขาได้
ชิงออสการ์มาหลายเรื่องมาก)หนังไม่เท้าความอะไรเยอะ ไม่บอกเล่าเก้าสิบเลยว่า Dunkirk คืออะไร เป็นมาอย่างไร และบทสรุปของสงครามเป็นอย่างไร เพราะเน้นแต่สถานการณ์การเฉียดตาย
การเอาตัวรอด และอารมณ์ความรู้สึกของชายอังกฤษผู้อยู่ในสมรภูมิรบ
จากข้อมูลในวิกิพีเดีย
เราได้ความมาว่ายุทธการ Dunkirk เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 26 พ.ค. – 4 มิ.ย. 1940 ในขณะนั้นทหารอังกฤษกับฝรั่งเศส (ฝ่ายสัมพันธมิตร) กว่า 400,000 นายกำลังถูกพวกเยอรมันหรือนาซีล้อมไว้ตลอดชายฝั่งช่องแคบ
อังกฤษก็พยายามส่งเรือรบมารับทหารอพยพกลับมาตุภูมิให้ได้มากที่สุดก่อนที่พื้นที่จะถูกยึดและทหารจะถูกสอยกันไปหมด
สำหรับหนัง Dunkirk เสด็จพ่อ Nolan ยังคงเล่นอยู่กับเรื่องของ time หรือเวลา แต่เรื่อง Dunkirk ถือว่าดูง่ายที่สุด ซับซ้อนที่สุด และหนังสั้นที่สุด เมื่อเทียบกับ Interstellar, Inception, และ Memento
หนัง Dunkirk เล่าตัดสลับไปมาระหว่างกลุ่มคนสามกลุ่ม ดังนี้…
1. The
Mole / on the beach / a week / to survive
o กลุ่มนี้นำโดยสามหนุ่มบอยแบนด์
ประกอบไปด้วย Tommy (Fionn Whitehead), Gibson (Aneurin Barnard), และ Alex
(Harry Styles วง One Direction) แล้วก็มีผู้บัญชาการยศใหญ่อยู่หนึ่งคนคือ Commander
Bolton (Kenneth Branagh จาก Jack Ryan:
Shadow Recruit)
o เป็นพลทหารเกณฑ์
ไม่รู้ตาสีตาสา เน้นเอาตัวรอด ขึ้นเรือให้ได้ หลบกระสุน/ระเบิดให้ทัน
และมีจุดมุ่งหมายเดียวคือ กลับบ้าน
o ต้องแข่งกับเวลา
ต้องรีบออกจากพื้นที่ให้ทันก่อนเยอรมันจะแห่กันมา
o ชัยชนะของพวกนี้คือ
การชนะความตายนี่แหละ ถ้ารอดกลับถึงบ้านได้ก็เท่ากับชนะ
o แต่จริง
ๆ กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ทำอะไรไม่ได้มาก หนีไปไหนไม่ได้เลย
ชีวิตจะอยู่จะไปก็ขึ้นอยู่กับดวงล้วน ๆ ที่เห็นทำได้ก็ได้แต่รอเวลา
รอเรือมาช่วยไปวัน ๆ (หรือรอเวลาตายซึ่งจะมาเมื่อไหร่ก็ได้ทุกนาที) ซึ่งแน่นอนว่า
เวลารอคอยอะไรสักอย่าง มันมักจะแลดูนานแสนนาน
o ประเด็นที่น่าสนใจของพาร์ทนี้นอกจากการเอาตัวรอดคือ
การแบ่งแยกกีดกัน เช่น เรืออังกฤษจะรับแต่ทหารอังกฤษเท่านั้น
ทหารฝรั่งเศสขึ้นไม่ได้
ทั้งที่ทั้งสองชาติสู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่อยู่ฝ่ายเดียวกันมาแท้ ๆ
o พูดไม่ค่อยเยอะ
มีแต่ Harry Styles ที่ดูพูดเยอะสุด
(ถือว่าออกเยอะอยู่เมื่อเทียบกับนักร้องดังคนอื่นที่มาโผล่บนแผ่นฟิล์ม)
o
ตลอดเวลาความยาว 1 ช.ม. 46 นาทีของหนังที่เราดู
คนพวกนี้อยู่ที่หาดนี้เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 สัปดาห์
2. The
Sea / on the boat / a day / to rescue
o กลุ่มนี้มีตัวละครหลักเป็นพลเรือนขับเรือยอร์ชสามคน
ได้แก่ Mr.
Dawson (Mark Rylance นักแสดงออสการ์จาก Bridge of Spies), ลูกชายของเขา Peter (Tom Glynn-Carney), และเพื่อนของลูกชายของเขา George (Barry Keoghan จาก ’71) ที่กำลังแล่นเรือไปช่วยชีวิตทหารที่รอดชีวิต
o ถึงพาร์ทนี้จะไม่มีความบู๊แอ็คชั่น
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นพาร์ทที่สวยงามที่สุดในหนังสงครามเรื่องนี้ และ Mark
Rylance แสดงดีที่สุดในเรื่อง
o กลุ่มนี้เน้นทำดี
เข้าไปช่วยชีวิตทหารอย่างไม่รักตัวกลัวตาย (แต่ในขณะเดียวกัน
ก็รู้วิธีเอาตัวเองให้รอดก่อนจะไปช่วยชาวบ้านด้วย) แต่เราก็แอบเข้าไม่ถึงกับตัวละครเด็ก George
อยู่นิดนึงนะ งืม ๆ
o ต้องแข่งกับเวลาเหมือนกัน
คือต้องไปช่วยพวกทหารกลุ่มแรกให้ทันก่อนทหารเยอรมันจะมายึดพื้นที่
เวลาของพวกเขาอาจเท่ากับจำนวนทหารที่รอดตายกับทหารที่ไม่รอดตายเลยก็ว่าได้
o ระหว่างทางได้เก็บทหารขึ้นเรือมาด้วยคนนึง
(Cillian Murphy จาก Inception) ซึ่งช็อค เพิ่งผ่านเหตุการณ์ร้ายมา ไม่อยากกลับไปยังสมรภูมิอีก
o
ตลอดเวลาความยาว 1 ช.ม. 46 นาทีของหนังที่เราดู
พวกเขาอยู่บนเรือลำนี้เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 วัน
3. The
Air / on the plane / an hour / to protect
o กลุ่มนี้เป็นนักบิน
RAF
(Royal Air Force) มีแค่ Farrier (Tom Hardy จาก Mad Max) กับ Collins (Jack Lowden จาก ’71)
o มีหน้าที่คอยยิงคุ้มกันทหารราบ
และสอยเครื่องบินรบของเยอรมันให้เรียบก่อนที่มันจะฆ่าพี่น้องของเขา
o ตัวละครของ Tom Hardy มีความเป็นทหารหรือนักบินอาชีพ
เสียสละ เห็นแก่คนอื่นมากกว่าตัวเอง ซึ่ง Tom Hardy แสดงออกมาทางท่าทางและแววตาหมด
เล่นดี ๆ (เรื่องนี้เขาต้องใส่หน้ากากทั้งเรื่องอีกแล้ว!)
o ต้องแข่งกับเวลา
เพราะเครื่องบินของเขาน้ำมันจะหมด มาตรวัดขีดน้ำมันก็เสีย
(คือน้ำมันจะหมดเมื่อไหร่ก็ไม่รู้) เวลาของเขาจึงเหมือนผ่านไปเร็วมาก
และทุกวินาทีโคตรมีค่า (มีค่าเท่ากับเพื่อนทหารเป็นหมื่นเป็นแสนนาย)
o ตลอดเวลาความยาว
1
ช.ม. 46 นาทีของหนังที่เราดู
พวกเขาไฟต์อยู่กลางอากาศเป็นเวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง
โดยส่วนตัว
เราก็ชอบ Dunkirk ในฐานะที่เป็นหนังสงครามในแบบที่เราไม่เคยดูมาก่อน คือมันไม่มีฉากโหด ๆ
เลือดสาด ไส้ทะลัก ฯลฯ อย่าง Saving
Private Ryan กับ Hacksaw
Ridge และไม่เห็นหน้าทหารเยอรมันสักคนเลยด้วยซ้ำ
แต่พาเราไปเน้นสัมผัสประสบการณ์การเฉียดตายหวุดหวิดและการพยายามดิ้นรนเอาตัวรอดอย่างเสี่ยงโชคของพวกทหารเหล่านี้
มันก็เป็นหนังดี
มีความบีบคั้น ลุ้นระทึก และชวนเครียดอยู่ไม่น้อยทีเดียว
แต่นั่นเพราะการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงพาไปล้วน ๆ
ซึ่งตรงนี้ต้องยกเครดิตความดีความชอบให้งานซาวนด์-งานสกอร์เลย
ที่บิลด์อารมณ์ได้สุด ๆ (ออกจากโรง กลับบ้านไปแล้ว ทำอะไร ๆ
ยังได้ยินเสียงนาฬิกาติ๊กต่อก ๆ ๆ คาอยู่หัวแทบตลอดเวลาอยู่เลย)
สิ่งที่ชอบที่สุดในเรื่องนี้เห็นจะเป็นประสบการณ์การดูหนัง IMAX 7omm film ดูทหารหลายร้อนพันหมื่นแสนนายตัวเท่ามดยืนเรียงรายนับหัวไม่ถ้วนบนภาพใหญ่ยักษ์อลังการไร้ขอบจอ
เสมือนเราได้ไปอยู่ใจกลางเวลาและมหาสมุทรที่ไม่เห็นจุดสิ้นสุดของขอบฟ้าขอบทะเล
คือถ้าไม่ใช่โรง IMAX สาขาสยามพารากอน ไม่มีทางดูแล้วฟินเบอร์นี้ได้แน่นอน
ให้ไปดูที่อื่นโรงอื่นที่ไม่ใช่โรงแบบนี้ก็ไม่ได้ฟีลนี้อะ ถ้าไปดู Dunkirk ที่อื่นโรงอื่นที่ไม่ใช่โรงแบบนี้ มันก็เหมือนยังไม่ได้ดูของจริงอะ
แต่ถ้าพูดตามตรง Dunkirk ก็ไม่ได้เป็นหนังที่เราอยากจะดูซ้ำอยู่ดีนะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้ดูบนจอ IMAX 7omm film ด้วยแล้วก็คงยิ่งแล้วไปใหญ่
เพราะอย่างที่บอกในตอนต้น ปกติเราชอบหนัง Nolan เพราะมันเป็นหนังดูสนุกที่ได้ใช้สมอง เคยร้อง Wow! หรือหมกมุ่นกับการตีความกับหนังของเขามาแทบทุกเรื่อง
(เราไม่ใช่สายที่เสพงาน Nolan เพราะเราคลั่งไคล้ในภาพ ซาวนด์ หรือสกอร์ของหนัง) แต่พอ Dunkirk มันขาดสิ่งที่เราชอบที่สุดในตัวหนัง Nolan ไป ผลสรุปเราจึงเฉย ๆ กับมัน… ถึงแม้มันจะเป็นหนังที่เกือบจะเพอร์เฟ็กต์ในระดับหนึ่ง
โดยส่วนตัวเราอินและเอ็นจอยกับเรื่อง Hacksaw
Ridge ที่เพิ่งดูไปต้นปีมากกว่า
อันนั้นคือมันก็ลุ้นระทึกเหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่า เราดูเรื่องนั้นแล้ว
เราได้อะไรมากกว่าแค่ “ประสบการณ์ร่วมกับตัวละคร” อย่างเดียวน่ะนะ (แต่ก็แล้วแต่ความชอบส่วนตัว วอนสาวกลัทธิ Nolan อย่าว่ากัน)
คะแนนตามความชอบส่วนตัว
สำหรับ Dunkirk ขอให้ที่ 8/10 (รวมคะแนนพิเศษแก่ความเบ้าหน้าบริติชที่หล่อเหลาเอาการทั้งหลายแล้ว) เครดิตบทวิจารณ์,รีวิว โดย Kwanmanie
บทความโดย บล็อกหยิกแกมหยอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น