เข้าไปชมหรือพูดคุยในเฟซบุ๊กแฟนเพจได้ที่ "หยิกแกมหยอก" ตามลิ้งค์นี้ครับ https://www.facebook.com/yikgamyok
วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ประวัติศาสตร์ การมอบรางวัล ออสการ์ แบบผิดฝา-ผิดตัว ตอนที่ 2
4. The Departed หนังของ Martin Scoresese หนังที่ออสการ์ให้รางวัลเพราะความสงสารจริงเหรอ The Departed ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม 4 รางวัลออสการ์ปีล่าสุด(2007) อาจจะเป็นหนังที่เฉียบคมและเร้าใจ แต่ถ้าถามนักวิจารณ์ว่ามันใกล้เคียงกับผลงานที่ดีที่สุดของยอดผู้กำกับ มาร์ติน สกอร์เซซี หรือเปล่า? คงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า 'ยังห่างไกลนัก'
คงไม่มีใครที่จะไม่เห็นด้วยว่าปรมจารย์แห่งวงการภาพยนตร์อย่างเขาเหมาะสมกับรางวัลนี้มากแค่ไหน หลังจากเข้าชิงมาแล้วถึง 5 ครั้งก่อนหน้านี้ และมันยังเป็นการให้คำจำกัดความถึงมาตรฐานในการมอบรางวัลของออสการ์ให้ชัดเจนเข้าไปอีกว่า การให้รางวัลไม่ได้ดูจากผลงานในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว บางครั้งมันจะไปยังบุคคลที่สมควรแก่เวลา ซึ่งในกรณีของสกอร์เซซีเรียกได้ว่าเกือบจะสายเกินไปด้วยซ้ำ หมายความลึกๆ ก็คือ เมื่อใครสักคนได้ออสการ์ ใช่ว่าเรื่องนั้นจะดีที่สุดเสมอไป
ประสบการณ์รสขมในการชิงออสการ์ของเขานั้น นับย้อนไปได้เกือบ 3 ทศวรรษก่อน ในเหตุการณ์ที่แม้แต่แฟนหนังหลายคนยังรู้สึกถึงความอยุติธรรมเมื่อสกอร์เซซีพลาดรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก Raging Bull เมื่อปี 1981 ต่อ Ordinary People ของ โรเบิร์ต เรดฟอร์ด และ Goodfellas เมื่อปี 1991 ที่ต้องพ่ายให้กับ Dances With Wolves ของ เควิน คอสต์เนอร์ ไปอย่างค้านสายตา "ใช่ Departed ไม่ใช่หนังที่จะกลายเป็นผลงานคลาสสิกอย่าง Raging Bull แต่บางครั้งออสการ์ก็เหมือนรางวัลที่ตอบแทนการอุทิศในวิชาชีพ" โจนาธาน คุนซ์ ศาสตรจารย์ด้านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์แห่ง UCLA กล่าว และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมออสการ์ถึงต้องมีรางวัลสาขา lifetime achievement awards เช่นในกรณีของอัลเฟรด ฮิทช์ค็อกและโรเบิร์ต อัลท์แมน ยอดผู้กำกับของโลกที่ไม่เคยได้สัมผัสออสการ์จากการประกวดแบบปกติ กลับมาได้รับรางวัลความประสบความสำเร็จในวิชาชีพทีหลังด้วยกันทั้งคู่ โดยฮิทช์ค็อกได้รับในปี 1968 ขณะที่อัลท์แมน มาได้เอาเมื่อปีที่แล้ว ไม่กี่เดือนก่อนที่เขาจะลาโลกไป
ถามแฟนหนังตัวจริงคนไหนดูก็ได้ เพราะเขาสามารถให้สถิติอันยืดยาวเกี่ยวกับบรรดารางวัลที่มอบให้กับเหล่านักแสดง ที่แม้แต่ตัวนักแสดงเองก็ยังเห็นว่าไม่ควรคู่กับรางวัลที่หมายถึงความ 'ยอดเยี่ยมที่สุด' ในแต่ละปีทั้งนั้น
ลีโอนาร์ด มอลติน นักประวัติศาสตร์ภาพยนตร์คนดังแห่ง Entertainment Tonight ช่วยย้ำเตือนความทรงจำของเราว่า เบตตี เดวิส ซึ่งพลาดออสการ์อย่างน่าเสียดายจาก Of Human Bondage เมื่อปี 1935 กลับมาได้รางวัลอีกครั้งในปีต่อมาจาก Dangerous ซึ่งเขาเห็นว่ามันเป็นการแสดงที่แย่กว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ อลิซาเบธ เทย์เลอร์ ที่ไม่ได้รับรางวัลจากผลงานในเรื่อง Cat on a Hot Tin Roof เมื่อปี 1959 กลับมาได้รับรางวัลใน 2 ปีต่อมาจากเรื่อง BUtterfield 8 ซึ่งแม้แต่ตัวเธอเองยังยอมรับในภายหลังว่าไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
เอาที่ยังไม่ลืมไปจากความทรงจำของผู้คนอย่างในกรณีของ อัล ปาชิโน ผู้ที่ถูกเสนอชื่อในฐานะนักแสดงชายมาถึง 7 ครั้ง ทั้งผลงานใน Dog Day Afternoon และ The Godfather ทั้ง 2 ภาค แต่กลับมาได้ครั้งเดียวใน Scent of a Woman เมื่อปี 1993 "พวกที่โหวตรางวัลออสการ์นั้น สิ่งสุดท้ายที่เขาจะมาคิดกันคือเรื่องที่ว่าใครเหมาะสมกับรางวัลที่สุด เขาแค่อยากจะมอบรางวัลให้กับคนที่พวกเขาชอบ ก็เท่านั้น" ทอม โอ'นิล คอลัมนิสต์แห่งเว็บไซต์ theenvelope.com ให้ความเห็น แถมยังยอมรับว่าการมอบรางวัลของพวกออสการ์นอกจากจะมาช้าเกินไปอยู่เสมอๆ แล้ว หลายๆ กรณียังมาเร็วเกินไปอีกด้วย "ตอนที่ นิโคล คิดแมน ได้ออสการ์จากเรื่อง The Hours ก็เพราะตอนนั้นเธอกำลังไปได้สวยกับสถานะการเป็นซูเปอร์สตาร์ของเธอมากๆ และเมื่อตอนที่ รัสเซล โครว์ คว้ามันมาได้จากเรื่อง Gladiator ก็เป็นเหมือนกับการที่พวกนี้ต้อนรับเขาเข้าสู่สังเวียนแห่งฮอลลีวูดอย่างเป็นทางการ ก็เท่านั้นเอง"
แล้วระบบการให้ย้อนหน้าย้อนหลังอยู่อย่างนี้ของออสการ์มันเลวร้ายไปทั้งหมดหรือเปล่า นักวิจารณ์ผู้คร่ำหวอดอย่างมอลตินก็เผยว่าเขาเองก็เห็นใจเหล่าคณะกรรมการ ที่เขาเห็นว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนไหวในสถิติเก่าๆ
"เมื่อมีใครซักคนตั้งคำถามพวกเขาว่า ทำไมนักแสดงดีๆ บางคนถึงยังไม่เคยได้รับออสการ์ มันกระทบใจพวกเขามาก ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับโชคและจังหวะ อย่างคำถามที่ว่าทำไม ปีเตอร์ โอ'ทูล ที่อดได้รางวัลนักแสดงนำชายในปีนี้ ถึงไม่ได้มันตั้งแต่บทบาทที่ยอดเยี่ยมที่สุดในชีวิตเขาในเรื่อง Lawrence of Arabia เมื่อปี 1962 แล้ว เหตุนั้นก็เพราะปีนั้นเขาดันต้องไปชนกับนักแสดงดังในตอนนั้นอย่าง เกรกอรี เป็ค ใน To Kill a Mockingbird ผู้ที่สมควรจะได้มันมานานแล้วเช่นกัน แต่บางคนก็เห็นว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง "ผมคิดว่าชัยชนะของสกอร์เซซีครั้งนี้ จะต้องชดใช้ให้กับผู้กำกับคนอื่นที่มีผลงานที่เหมาะสมยิ่งกว่า" ริชาร์ด วอลเตอร์ หัวหน้าภาควิชาการเขียนบทจาก UCLA กล่าว โดยให้นิยามผลงานที่ได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมมาสดๆ ร้อนๆ นี้ว่า "ผลงานที่น่าสนใจน้อยที่สุดแห่งปีของสกอร์เซซี" "พวกเขาควรจะให้เกียรติกับคนที่ทำผลงานออกมาได้ดีที่สุด อีกแง่หนึ่ง ถ้ารางวัลมันล็อกไว้แล้ว ทำไมผู้เข้าชิงที่เหลือจะต้องไปร่วมงานเพื่อดูผลงานที่ด้อยกว่าคว้ารางวัลไปต่อหน้าต่อตาด้วย" วอลเตอร์กล่าว คนที่ดูเหมือนว่าทางออสการ์จะไม่พร้อมที่จะ 'ชดใช้' ความผิดหวังให้กับเขาเสียที คงจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก เควิน โอ'คอนเนล ซาวด์เอ็นจิเนียร์ ผู้ที่เข้าชิงมาแล้วถึง 19 ครั้งในปีนี้ และก็ยังไปไม่ถึงฝั่งฝันอยู่ดี จนสร้างสถิติบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อมากครั้งที่สุดโดยไม่เคยได้รับรางวัลเลย ซึ่งเขากล่าวติดตลกแบบทำใจเอาไว้ก่อนเริ่มงานว่า "ผมนัดจิตแพทย์เอาไว้พรุ่งนี้แล้ว"
การประกาศออสการ์เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีผู้ชมเฝ้าดูการมอบรางวัลครั้งนี้ถึง 39.9 ล้านคน มากกว่าปีที่แล้วที่คนได้ดู Crash คว้าออสการ์ไปด้วยจำนวนผู้ชม 38.8 ล้านคนเมื่อปี 2006
อีกหนึ่งตัวอย่างที่ออสการ์ปฎิเสธที่จะ 'ชดใช้' ให้กับการมองข้ามบุคคลที่เหมาะสมกับรางวัลในอดีต ได้แก่การพ่ายแพ้ของ ปีเตอร์ โอ'ทูล ผู้ที่พ่ายมาแล้วก่อนหน้านี้ถึง 7 ครั้ง และล่าสุดก็ได้ทำสถิติเป็นนักแสดงที่เข้าชิงมากที่สุดถึง 8 ครั้งโดยสะกดคำว่าชัยชนะไม่ได้เลย ซึ่งผู้ที่ขวางเขาจากเกียรติยศในบั้นปลายชีวิตครั้งนี้ได้แก่ ฟอร์เรสท์ วิทเทคเกอร์ จากเรื่อง The Last King of Scotland แต่เป็นรางวัลที่หลายฝ่ายเห็นว่าเป็นการมอบที่เหมาะสมที่สุดแล้ว หลายๆ ตัวอย่างก็พิสูจน์ให้เห็นว่าคุณไม่จำเป็นต้องมีประวัติการทำงานที่ยอดเยี่ยมก็มีโอกาสคว้าออสการ์ได้มากพอๆ กับบรรดานักแสดงรุ่นใหญ่ เช่นในรายของ เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน ที่คว้านักแสดงสมทบหญิงไปได้จากการผลงานการแสดงครั้งแรกในชีวิต ขณะที่เหล่านักเขียนทั้งหลายต้องอิจฉากันเป็นแถว เมื่อ ไมเคิล อาร์ต เจ้าของบทหนัง Little Miss Sunshine ที่สามารถคว้าออสการ์ได้จากผลงานเขียนแค่ชิ้นแรกเท่านั้น สำหรับแฟนหนังที่ยังคงหงุดหงิดข้ามวันข้ามคืน ที่ลูกรักของตนต้องมาพลาดรางวัลเพราะเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ลองเอาคำแนะนำแบบไม่สนใจใยดีต่อการประชันขันแข่งของ แคเธอรีน เฮปเบิร์น นักแสดงหญิงผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการคว้ารางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงมากที่สุดมาแล้วถึง 4 ครั้ง ที่โทรเลขไปถึงนักแสดงสาวรุ่นน้องอย่าง ออเดรย์ เฮปเบิร์น ที่พลาดการเข้าชิงอย่างน่าเสียดายจากบทบาทในเรื่อง My Fair Ladyว่า "อย่ากังวลเลยเรื่องที่เธอไม่ได้เข้าชิง เพราะวันหนึ่งเธอจะได้ออสการ์ในบทที่แม้แต่เธอก็ไม่คิดว่ามันจะได้"
(เครดิตข้อมูลจากบทความ “Departed : ออสการ์ที่ได้มาเพราะความสงสาร?” คอลัมน์ซุปเปอร์บันเทิง,MGR online , 27 ก.พ. 2550)
5.กระแสความขัดแย้งเรื่องคนผิวสีกับคนผิวขาวในอเมริกา เป็นปัญหาคลาสสิก ที่มีมาตั้งแต่ครั้งก่อตั้งประเทศ หรือสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกา บ่อยครั้งที่ในบางช่วงเวลา มีกรณีความขัดแย้งที่เกิดจากน้ำผึ้งหยดเดียว หรือฟางเส้นสุดท้าย ซึ่งหากปีใดมีกระแสข้อพิพาทของสังคมมากๆ ในกรณีของคนผิวสีกับคนผิวขาว และในปีนั้นมีหนังที่เข้าชิงออสการ์ ที่มีหน้าหนังและนักแสดงนำเป็นคนผิวสี เชื่อขนมกินได้เลยว่า ออสการ์จะยอมเทรางวัลให้กับหนังเรื่องที่ว่าเป็นผู้ชนะ เพื่อต้องการลดกระแสความขัดแย้ง และเพื่อต้องการเอาน้ำเย็นลูบให้คนผิวสีในสังคมอเมริกัน รู้สึกถึงความภาคภูมิใจ ความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และเป็นผู้ชนะบ้าง ไม่ใช่ชนชั้น 2 ในสังคม และในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หนังที่เคยได้รางวัลออสการ์ ที่เป็นหนังที่มีหน้าหนังหรือนักแสดงนำเป็นคนผิวสี หรือเป็นเรื่องราวของคนในสังคมคนผิวสี ที่ได้รางวัลชนะเลิศ ส่วนใหญ่เป็นหนังในยุคหลังๆ ไม่เกิน 10 ปีมานี้เอง ที่ออสการ์เปิดใจกว้างมากขึ้น นับตั้งแต่ได้ ปธน.เป็นคนผิวสี นามว่า บารัค โอบาม่า และหนังที่ได้ Best Picture เพื่อหวังลดกระแสความขัดแย้งเรื่องคนผิวสีกับคนผิวขาว อาทิ 12 Years a Slave และก็เมื่อปีกลาย ปีล่าสุดก็คือ Moonlight ก่อนหน้านี้เคยมีหนังคนผิวสีได้เข้าชิงมาทุกยุคทุกสมัยแต่ก็พลาดรางวัลใหญ่ไป อาทิ The Color Purple (1985),Precious ,The Blind Side (2009), Djanco Unchained (2012), *12 Years a Slave (2014), Selma (2015) ,Fences, Hidden Figures,Manchester by The Sea (2016) ,*Moonlight (2017) ,Get Out (2018)
จะเห็นว่า ในประวัติศาสตร์หนังออสการ์ หนังของคนผิวสี ที่จะได้รางวัลออสการ์ มีเพียง 2 เรื่องเท่านั้น ในปี 2014 เรื่อง 12 Years a Slave และก็ปี 2017 เรื่อง Moonlight แล้วเป็นปีที่มีความขัดแย้ง ภายในสังคมคนอเมริกัน เกี่ยวกับคนผิวสีกับคนผิวขาวจริงๆ ด้วย ทั้งๆ ที่ในปีนั้น 2014 มีหนังที่เป็นตัวเต็งออสการ์ อีกหลายเรื่อง อาทิ American Hustle, Her, Dallas Buyers Club เป็นต้น ส่วนปี 2017 ก็มีหนังที่เป็นตัวเต็งออสการ์ อาทิ La La Land,Manchester by the Sea เป็นต้น
6.ออสการ์ไม่ค่อยกล้าให้รางวัลกับหนังที่เป็นเพศทางเลือก หรือหนัง LGBT ถ้ามันไม่เจ๋งจริง คือจะตีตกไปเลย ถ้ามันไม่อะไรใหม่หรือกระแทกความรู้สึกคนดูถึงขนาดใ้ห้ได้พูดถึงเป็นกระแส แต่ก่อนหน้านี้ เคยมีหนังที่กวาดรางวัลมาจากหลายๆ สถาบัน กี่รางวัลก็แล้วแต่ แต่พอเข้ามาชิงในออสการ์ ก็จะมาตกม้าตาย ไม่ได้รางวัล Best Picture ยกตัวอย่างเช่น Brokeback Mountain (2005) หนังเกย์ของ อั้งลี่ ที่เป็นตัวเต็ง และเป็นที่พูดถึงมานับตั้งแต่ไปเดินสายกวาดรางวัลมาแทบทุกสถาบันเกี่ยวกับภาพยนตร์ทั่วทั้งอเมริกาและออสเตรเลีย กวาดรางวัลจากลูกโลกทองคำ เป็นขวัญใจนักวิจารณ์ทั่วโลก และอีกหลายสถาบันหลักๆ ทั้งที่เป็นตัวเต็งและคู่ควรกับรางวัล Best Picture แต่ในปีนั้นที่เข้าชิงออสการ์ ไปพ่ายแพ้ให้กับเรื่อง Crash แล้วในประวัติศาสตร์มีหนังของเพศทางเลือก (LGBT) เคยได้รางวัลออสการ์มั๊ย คำตอบคือมี แต่มันนานมาแล้ว ดังนี้
-ปี 1963 เรื่อง Tom Jones (ยุคพระเจ้าเหา)
-ปี 1999 เรื่อง American Beauty (เรื่องนี้ถือว่ายอดเยี่ยมจริงๆ คือกวาดหมดใน 5 รางวัลใหญ่ (เบญจภาคี) ทั้ง หนัง,บท,ผู้กำกับ,นำชาย,นำหญิง ซึ่งจะมีหนังแบบนี้ซักกี่เรื่อง ใน ปวศ.)
-ปี 2010 เรื่อง The King's Speech (มันคือหนังเกย์ตรงไหนหว่า ผู้เขียนก็ยังงง แต่ในลิสต์บอกอย่างนั้น)
-ปี 2017 เรื่อง Moonlight เรื่องล่าสุด แต่ไม่เป็นกระแส เป็นหนังอินดี้ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง ตอนแจกรางวัลปีที่แล้ว ยังมีคนค่อนขอดว่า สงสารหนังเรื่อง Moonlight เพราะคนดูเทใจให้ La La Land ไปหมดแล้ว
-ปี 1999 เรื่อง American Beauty (เรื่องนี้ถือว่ายอดเยี่ยมจริงๆ คือกวาดหมดใน 5 รางวัลใหญ่ (เบญจภาคี) ทั้ง หนัง,บท,ผู้กำกับ,นำชาย,นำหญิง ซึ่งจะมีหนังแบบนี้ซักกี่เรื่อง ใน ปวศ.)
-ปี 2010 เรื่อง The King's Speech (มันคือหนังเกย์ตรงไหนหว่า ผู้เขียนก็ยังงง แต่ในลิสต์บอกอย่างนั้น)
-ปี 2017 เรื่อง Moonlight เรื่องล่าสุด แต่ไม่เป็นกระแส เป็นหนังอินดี้ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง ตอนแจกรางวัลปีที่แล้ว ยังมีคนค่อนขอดว่า สงสารหนังเรื่อง Moonlight เพราะคนดูเทใจให้ La La Land ไปหมดแล้ว
ชอบออสการ์ ติดตามออสการ์ อย่าลืม งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งที่ 90th Academy Award ในปีนี้จะประกาศในวันที่ 5 มีนาคมนี้ แล้วเพจจะเอาผลรางวัลมาโพสต์อีกที
บทวิเคราะห์โดย เพจหยิกแกมหยอก
วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ประวัติศาสตร์ การมอบรางวัล ออสการ์ แบบผิดฝา-ผิดตัว ตอนที่ 1
ไม่ว่าจะเป็นความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว กรณีแบบนี้คือความบกพร่องโดยสุจริตก็เป็นได้ คือไม่มีใครอยากให้เกิด และรางวัลที่มอบให้แบบผิดฝาผิดตัว ผู้เขียนขอประมวลมาให้อ่านแบบคร่าวๆ เท่าที่นึกออกตอนนี้ มีดังนี้
1.กรณีล่าสุดเมื่อปีที่แล้วนี่เอง การประกาศรางวัล BEST PICTURE 2017 ผิด (แบบไม่น่าให้อภัย,และเป็นความผิดพลาดในการประกาศชื่อผู้ชนะผิดเป็นหนแรกในประวัติศาสตร์ออสการ์ นอกนั้นเป็นการประกาศถูก แต่ค้านสายตาเฉยๆ) ออสการ์สุดอื้อฉาว! เกิดอะไรขึ้นในวินาทีช็อกโลก? และทำไมจดหมายจึงผิดซองไปได้?
• ผู้ประกาศรางวัลออสการ์ขึ้นมากล่าวบนเวทีว่า การประกาศรางวัลให้ La La Land คือภาพยนตร์ยอดเยี่ยมนั้นผิดพลาด โดยแก้ไขว่าภาพยนตร์ที่ชนะคือ Moonlight สร้างความงงงวยและโกลาหลไปทั่วทั้งงาน จนหลายคนคิดว่านี่คือมุกตลก!
• วอร์เรน บีตตี (Warren Beatty) ผู้ที่ถือซองจดหมายผู้ชนะอธิบายว่า ซองจดหมายรางวัลที่สร้างความเข้าใจผิดนั้นคือ ซองจดหมายประกาศรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมที่ประกาศให้ เอ็มมา สโตน จากเรื่อง La La Land
• Moonlight นับเป็นภาพยนตร์ม้ามืดที่ไม่ได้อยู่ในโผผู้ชนะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์ผิวสีวัยรุ่น แต่Moonlight เคยกวาดรางวัลมาแล้วจากเวที Goden Globes และ Gotham Awards
• การเก็บซองจดหมายรางวัลออสการ์จะมีระเบียบขั้นตอน และถูกเก็บเป็นความลับ
ถือเป็นการประกาศรางวัลออสการ์ที่ช็อกโลกที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจาก วอร์เรน บีตตี (Warren Beatty) นักแสดงชาวอเมริกันรุ่นเก๋าขึ้นมาประกาศกลางเวทีว่า La La Land ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม หลังจากบรรดาผู้กำกับและทีมนักแสดงจากภาพยนตร์รางวัล La La Land ขึ้นไปรับรางวัล และกล่าวแสดงความยินดีไปแล้วถึง 2 นาที!
วอร์เรน บีตตี และ เฟย์ ดันอเวย์ (Faye Dunaway) คือสองนักแสดงรุ่นใหญ่ที่ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ประกาศรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แต่หลังจากประกาศเสร็จไปแล้วว่าผู้ชนะคือ La La Land ด้าน วอร์เรน บีตตี ก็กลับขึ้นมากลางเวทีและประกาศกลางงานว่า การประกาศรางวัลโดย เฟย์ ดันอเวย์ นักแสดงหญิงรุ่นใหญ่เมื่อสักครู่นั้นผิดพลาด และอธิบายว่าซองที่ประกาศรางวัลเมื่อสักครู่คือซองรางวัลที่จะให้ เอ็มมา สโตน (Emma Stone) นักแสดงนำหญิงจากเรื่อง La La Land ไม่ใช่รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โดยแก้ไขว่าแท้จริงแล้วภาพยนตร์ที่ได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมคือ Moonlight ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์วัยรุ่นผิวสีในชุมชนใกล้กับไมอามี กำกับโดย แบร์รี เจนกินส์ (Barry Jenkins)
ขณะนั้นเหล่าทีมผู้สร้าง La La Land กำลังกล่าวขอบคุณครอบครัวและศิลปินที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คำประกาศช็อกโลกนี้จึงทำให้ทุกคนในงานสงสัยว่านี่คือมุกตลกหรือเปล่า แต่ วอร์เรน บีตตี ย้ำว่า
“ผมไม่ได้พยายามจะเล่นมุกตลก ขอผมอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสักครู่ ผมเปิดซองรางวัล และในนั้นระบุว่า เอ็มมา สโตน จาก La La Land และตอนนั้นจะเห็นว่าทำไมผมถึงมองไปที่เฟย์และทุกคนอยู่สักพักใหญ่” ซึ่งวอร์เรน บีตตี คือคนที่ยื่นซองรางวัลให้กับ เฟย์ ดันอเวย์ ก่อนที่เธอจะประกาศว่าผู้ชนะคือ La La Land
หลังจากนั้นความโกลาหลก็เกิดขึ้นในการประกาศรางวัลออสการ์ และทีมงานจาก La La Land ต้องลงจากเวที ในขณะที่เหล่านักแสดงและทีมงานจาก Moonlight ยืนอยู่ข้างล่างเวทีด้วยความตะลึง
“แน่นอนว่าแม้แต่ในฝัน ผมก็คิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง” แบร์รี เจนกินส์ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Moonlightประกาศกลางเวที “แต่ช่างความฝันเหล่านั้นเถอะ เพราะนี่คือเรื่องจริง โอ้ พระเจ้า”
Moonlight ภาพยนตร์ม้ามืดที่คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมไปครอง
Moonlight ถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่อยู่นอกโผผู้ชนะ เพราะทุกคนต่างคาดการณ์ว่า La La Land ภาพยนตร์ยอดฮิตจะได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากออสการ์ไปครอง และเอาชนะภาพยนตร์อีก 8 เรื่อง เช่น Manchester by the Sea และภาพยนตร์ที่กวาดรายได้มหาศาลอย่าง Hidden Figures
Moonlight ยังคว้ารางวัลจากเวทีออสการ์ไปอีก 2 รางวัลคือ Best Adapted Screenplay และ Best Supporting Actor
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ Moonlight ได้รับรางวัลมาแล้วหลายเวที ทั้งรางวัล Best Drama จาก Golden Globes และ Best Feature จาก Gotham Awards รวมถึงถูกนำไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ Telluride Film Festival ในปี 2016
(เครดิตข้อมูลจาก บทความของคุณกานต์กลอน รักธรรม,ในเพจ The Momentum.co)
2.การเมืองที่มีอยู่ในสถาบันผู้จัดการมอบรางวัลออสการ์ หรือที่เรียกว่า สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ เรียกย่อๆ ว่า AMPAS กรณีนี้เกิดขึ้นในปี 1999
ในปี 1999 ที่ Shakespeare in Love ได้รางวัลออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแบบค้านสายตาชาวโลก แทนที่จะเป็น Saving Private Ryan ของสตีเวน สปีลเบิร์ก ซ้ำร้ายกวินเนธ พัลโทรว์ ยังคว้าออสการ์นักแสดงนำหญิงตัดหน้าเคท แบลนเชตต์ จากElizabeth มันแทบไม่ต่างอะไรจากการที่โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ แทนที่จะเป็นฮิลลารี คลินตัน (สิ่งที่ต่างกันคือออสการ์มีทุกปี แต่ประธานาธิบดีอยู่นานถึงสี่ปี)
รางวัลออสการ์ก็ไม่ต่างอะไรกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช่ คุณภาพของหนังและความสามารถของนักแสดงเป็นเรื่องสำคัญ (เราไม่ได้บอกว่า Shakespeare in Love, Crash หรือ How Green Was My Valley คือหนังที่แย่) แต่การวางแผนสร้างแคมเปญเพื่อออสการ์ของสตูดิโอนั้นก็สำคัญพอกัน หรืออาจสำคัญกว่าด้วยซ้ำ เพราะสุดท้ายรางวัลออสการ์ที่มอบในทุกสาขาก็มีผลมาจากการโหวต... ถ้าพูดด้วยความจริงที่โหดร้ายก็คือ หนังและนักแสดงที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีไม่ได้หมายความว่า ‘ยอดเยี่ยมที่สุด’ แต่หมายความว่า ‘มีคนโหวตให้มากที่สุด’ ต่างหาก
Academy Awards หรือชื่อเล่นว่าออสการ์ เป็นรางวัลที่จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences - AMPAS) เริ่มจัดการมอบรางวัลขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1929 และกลายเป็นรางวัลทางด้านภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2017 ถือเป็นครั้งที่ 89 ซึ่งจะจัดงานมอบรางวัลกันในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ (ตรงกับเช้าวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ในประเทศไทย) ณ ดอลบีเธียเตอร์ในฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส
ออสการ์มีระบบการโหวตกันอย่างไร?
รางวัลออสการ์ทุกสาขามาจากการโหวตของสมาชิกสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ที่มีสมาชิกในปัจจุบัน 5,783 คน โดยมีการแบ่งกลุ่มตามสาขาอาชีพ เช่น นักแสดง ผู้กำกับ ผู้เขียนบท ผู้กำกับภาพ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ฯลฯ ในจำนวนทั้งหมดนี้มีนักแสดงมากที่สุด 1,311 คน หรือ 22 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละปีบริษัทผู้สร้างจะส่งหนังของตนเองให้คณะกรรมการพิจารณา โดยมีข้อกำหนดว่าหนังเรื่องนั้นๆ ต้องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย ภายในรอบปีปฏิทิน (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) จะฉายแบบจำกัดโรงก็ได้ แต่ต้องฉายติดต่อกันนานอย่างน้อย 7 วัน
ยกตัวอย่างในกรณีของหนังเรื่อง The Hurt Locker ที่ได้รางวัลออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในการจัดงานปี 2010 นั้น จริงๆ เข้าฉายในเทศกาลหนังเวนิสของอิตาลีตั้งแต่เดือนตุลาคม 2008 แต่เปิดตัวฉายที่แอล.เอ. ในเดือนมิถุนายน 2009 เลยถือว่ามีสิทธิ์เข้าชิงออสการ์ประจำปีที่เปิดตัวฉาย แต่ประกาศผลในต้นปีถัดไป
โปรดิวเซอร์ของหนังจะต้องส่งรายชื่อเสนอ (Submission) เป็นชื่อหนัง นักแสดง หรือผู้กำกับไปให้สถาบันภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละสาขา ไล่มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนธันวาคม หลังจากปิดรับรายชื่อในช่วงปลายปี สถาบันจะส่งบุ๊กเล็ตที่ชื่อว่า Reminder List of Eligible Releases ที่มีรายชื่อหนังและนักแสดงที่อยู่ในเกณฑ์ไปให้สมาชิกทุกคน จากนั้นสมาชิกทุกคนก็โหวตเลือกผู้เข้าชิงตามสาขาอาชีพของตน (ผู้กำกับโหวตผู้กำกับ นักแสดงโหวตนักแสดง ผู้เขียนบทโหวตผู้เขียนบท) ยกเว้นในกรณีของสาขาใหญ่อย่างหนังยอดเยี่ยม (Best Picture) ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์โหวตหนังที่อยากให้เข้าชิง โดยสมาชิกทุกคนสามารถโหวตได้ 5 รายชื่อ เรียงลำดับตามความชอบจากมากไปหาน้อย
จากนั้นสถาบันจะนำผลการโหวตทั้งหมดมาจัดประมวลผลเป็นคะแนนและคัดเหลือรายชื่อผู้เข้าชิงรอบสุดท้าย โดยใช้ระบบแบบ Plurality Voting หรือการเลือกแบบเสียงข้างมาก ยกเว้นกรณีสาขาหนังยอดเยี่ยมที่นับจากออสการ์เปลี่ยนกฎในปี 2009 ให้มีหนังที่เข้าชิงรอบสุดท้ายได้มากกว่า 5 เรื่อง สมาชิกก็สามารถกากบาทเลือกหนังที่ตนเองชอบได้มากกว่าหนึ่งเรื่อง แต่ไม่เกิน 10 เรื่อง หนังเรื่องใดที่มีคะแนนโหวตมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์จะถือว่าได้เข้าชิง นั่นคือเหตุผลที่ทำไมในแต่ละปีมีหนังเข้าชิงไม่เท่ากัน บางปีมี 8 เรื่อง บางปีมี 10 เรื่อง กฎเกณฑ์นี้ยกเว้นรางวัลหนังภาษาต่างประเทศ, รางวัลหนังสารคดี และรางวัลหนังแอนิเมชั่น ที่ทำการคัดเลือกผู้เข้าชิงโดยคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจากสมาชิกแบบคละทุกสาขา
เมื่อได้รายชื่อผู้เข้าชิงรอบสุดท้ายในทุกสาขาดังเช่นที่ประกาศให้สาธารณชนได้ทราบกันแล้ว สมาชิกทุกคนจะโหวตผู้ชนะอีกครั้ง โดยคราวนี้เลือกได้เพียงหนึ่งคน/หนึ่งเรื่องต่อสาขา ซึ่งใช้วิธีเดิมคือโหวตตามสาขาของตน ยกเว้นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่ทุกคนมีสิทธิ์โหวต ช่วงระยะเวลาในการส่งรายชื่อเสนอนี่แหละสำคัญที่สุด ท้าทายที่สุด และสนุกที่สุด
ทุ่มเงินกันเป็นล้านๆ
ถ้าเปรียบเทียบออสการ์เหมือนการเลือกตั้งทางการเมือง ช่วงปลายปีจนถึงเดือนมกราคมก็คือช่วงเวลาหาเสียงนั่นเอง สตูดิโอสร้างหนังต่างพากันทุ่มงบหลายล้านเหรียญในการโปรโมทแคมเปญต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากสมาชิกของสถาบันเกือบหกพันคน
“มันเป็นช่วงเวลาที่วุ่นวายสุดๆ” ซินเธีย สวอร์ตซ์ กล่าว เธอคือผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางแผนประชาสัมพันธ์แคมเปญออสการ์ หรือพูดง่ายๆ คือตัวแม่ในวงการที่หลายสตูดิโอต่างวิ่งเข้าหา สวอร์ตซ์คือผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังแคมเปญหนังออสการ์อย่าง Crash, Pulp Fiction, Chicago, The Hurt Locker จนถึง The Revenant “ทุกคนอยากจะใช้การเสนอชื่อเข้าชิงให้เป็นประโยชน์เหมือนกับเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใช้บริหารธุรกิจ นี่จึงเป็นหลายสัปดาห์ที่เต็มไปด้วยความกดดัน”
ซินเธีย สวอร์ตซ์ พูดถูก การได้รางวัลออสการ์หรือแค่ได้เสนอชื่อเข้าชิงคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้หนังทำเงิน โดยเฉพาะหนังหวังกล่องที่ส่วนใหญ่จะเข้าฉายในช่วงปลายปีเพื่อให้เข้ากับฤดูกาลล่ารางวัลที่มักเปิดหัวด้วยรางวัลจากสถาบันนักวิจารณ์ต่างๆ ไล่ไปจนถึงรางวัลสำคัญอย่างลูกโลกทองคำ (Golden Globes) ต่อด้วยบาฟต้า (BAFTA) ของฝั่งอังกฤษ ปิดท้ายด้วยรางวัลจากสมาคมนักแสดง (Screen Actors Guild หรือ SAG) ก่อนจะไปสิ้นสุดที่พี่ใหญ่อย่างออสการ์ การจับหนังล่ารางวัลมาลงในช่วงนี้เหมือนได้สองเด้ง เพราะนอกจากจะทำให้หนังอยู่ในกระแสเพื่อเรียกคะแนนโหวตจากคณะกรรมการของสถาบันต่างๆ แล้ว (ที่ผ่านมา 56 เปอร์เซ็นต์ของหนังที่ได้ออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม มักเข้าฉายในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ยังชวนให้คนดูพากันตีตั๋วเข้าชมหนังที่เดินสายเข้าชิงหรือได้รางวัลกันในช่วงนี้
หนึ่งในแผนโฆษณาที่นิยมใช้กันและมักปล่อยออกมาเป็นเฟสแรก คือแคมเปญ For Your Consideration ที่ค่ายหนังนิยมซื้อหน้าในนิตยสารหนังอย่าง Variety และ The Hollywood Reporter (ราคาหน้าโฆษณาของนิตยสาร The Hollywood Reporter ในฤดูออสการ์ตกราคาหน้าละประมาณ 72,000 เหรียญ) รวมไปถึงแบนเนอร์ในเว็บไซต์บันเทิงต่างๆ เพื่อลงภาพโปสเตอร์หนังที่มีข้อความนำเสนอให้พิจารณาหนังหรือนักแสดงที่ได้เข้าชิงรางวัลในสาขาต่างๆ ที่เห็นสมควร เฟสแรกนี้มักเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนธันวาคม ก่อนปิดลงคะแนนโหวตเลือกผู้เข้าชิง
ว่ากันว่าแค่เฟสแรกนี้ สตูดิโอก็ทุ่มงบกันตั้งแต่ 3 ล้านถึง 10 ล้านเหรียญ (ขึ้นอยู่กับสเกลของหนัง) ส่วนเฟสที่สองนั้นสตูดิโอสามารถเปิดฉายหนังที่ได้เข้าชิงให้สมาชิกชมได้ แต่ต้องไม่เกินเรื่องละสี่รอบและห้ามเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มในงาน นอกจากนั้นยังมีการส่งดีวีดีหนังที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษไปถึงบ้านสมาชิกอีกด้วย ในปีหลังๆ บางสตูดิโอเปลี่ยนวิธีให้ทันสมัยขึ้นด้วยการส่งพาสเวิร์ดสำหรับให้สมาชิกสามารถชมแบบสตรีมมิ่งได้เลย
การเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมีความสำคัญมาก กรณีศึกษาที่เห็นได้ชัดและประสบความสำเร็จมากคือเคต วินสเล็ต ในปี 2008 เธอได้รับบทนำในหนังสองเรื่องที่โดดเด่นพอกันคือ The Reader และ Revolutionary Road บนเวทีลูกโลกทองคำ วินสเล็ตกวาดไปทั้งสองรางวัลคือนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจาก The Reader และนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก Revolutionary Roadเมื่อถึงเวทีออสการ์ กลับมีชื่อเคต วินสเล็ต เข้าชิง ‘นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม’ จาก The Reader เพียงชื่อเดียว เนื่องจากกฎของออสการ์คือในหนึ่งสาขาจะมีนักแสดงเข้าชิงได้ชื่อเดียวเท่านั้น นั่นหมายถึงวินสเล็ต (หรือสตูดิโอ) ต้องเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่งในการเข้าชิงนักแสดงนำหญิง ซึ่งในกรณีนี้ ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน เจ้าพ่อแห่งการล็อบบี้จาก The Weinstein Company ใช้กลยุทธ์ผลักดันให้วินสเล็ตได้เข้าชิงและชนะนักแสดงนำหญิงบนเวทีออสการ์ได้สำเร็จ
แต่ที่ดูไม่ชอบมาพากลคือก่อนหน้านี้ ไวน์สตีนโปรโมทหนัง The Reader ในแคมเปญ For Your Consideration โดยเสนอให้วินสเล็ตเข้าชิงนักแสดงสมทบหญิง แต่จู่ๆ ชื่อวินสเล็ตกลับไปโผล่อยู่ในสาขานักแสดงนำหญิง ประเด็นนี้ดูเคลือบแคลงแต่ก็ไม่ถือว่าผิดซะทีเดียว เนื่องจากบทสาววัยกลางคนที่ไปมีเพศสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มใน The Reader มีความก้ำกึ่งระหว่างบทนำกับบทสมทบ ขณะที่บทภรรยาที่ชีวิตคู่มีปัญหาใน Revolutionary Road นั้นเป็นบทนำอย่างชัดเจนแต่ต้องโดนปัดตกไปตามกฎของออสการ์
(เครดิตข้อมูลจากบทความ “ออสการ์ : การเมืองแห่งโลกฮอลลีวู้ด”,ในเพจ vogue.co.th)
3.การมอบรางวัลโดยให้จากบารมีที่สะสมมาของนักแสดง มิใช่ผลงานดีเด่นที่อยู่ตรงหน้าฉาก พูดอย่างนี้คงจะนึกภาพไม่ออก ขอยกตัวอย่างเลยแล้วกัน กรณีนักแสดง จูดี้ เดนช์ รับบทเป็น ราชินีอลิซาเบธ ปรากฏตัวในฉากภาพยนตร์เรื่อง Shakespeare in Love เพียง 6 นาที แต่ได้รางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม และในเรื่องเดียวกันนี้ นักแสดง กวินเนธ พัลโทรว์ รับบทเป็นวิโอลา เดอ เลสเซ็ปส์ คนรักของเช็คสเปียร์ ก็สามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมไปแบบค้านสายตา ซึ่งตัวเต็งอย่าง เคท แบลนเช็ตต์ จากเรื่อง Elizabeth ได้รับบทหนักท้าทาย และเล่นดีกว่า แต่กลับพลาดไม่ได้รางวัลนักแสดงนำหญิงไปในปีนั้น และที่ค้านสายตาสุดๆ ยิ่งกว่าคือรางวัลใหญ่ในปีนั้น คือรางวัล Best Picture ตัวเต็งอย่าง Saving Private Ryan ยังต้องพ่ายแพ้ให้กับ Shakespeare in Love ไปแบบน่ากังขา (ย้อนดูรายละเดียดในข้อ 2) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงทุกวันนี้ ถามว่าความดีงามของหนังเรื่อง Shakespeare in Love มันไม่มีเลยเหรอ ถึงบอกว่ามันค้านสายตา ก็มีอยู่ เพียงแต่เปรียบเทียบในองค์ประกอบในทุกส่วนแล้ว ก็ยังสู้มาตรฐานของเรื่องอื่นๆ ที่เป็นผู้ท้าชิงในปีนั้นไม่ได้ ผู้เขียนจึงคิดว่าการประกาศรางวัลออสการ์ในปีนั้น (1999) ถูกขนานนามไว้มากที่สุดว่า หลายรางวัลค้านสายตาสุดๆ แหกโผสุดๆ หรือมีการล็อคผลรางวัล(โหวต) มาอย่างไรอย่างนั้นเลย
บทวิเคราะห์โดย เพจหยิกแกมหยอก
(ยังไม่จบ มีต่อตอนที่ 2 โปรดติดตาม)
ผลรางวัล "เปลือกทุเรียนอวอร์ด" ประจำปี 2560
ประกาศผลรางวัล “เปลือกทุเรียน” อวอร์ด ประจำปี 2560 ในแต่ละสาขา มีดังนี้
1.ละครส่งเสริมการทะเลาะเบาะแว้ง และตบตีกันในครอบครัวดีเด่น (บ้านแตก ชีวิตรันทด)
ได้แก่ ละครเรื่อง
พริ้งคนเริงเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7HD
ทีวีเพื่อคุณ (ช่อง 35) และ
ละครเรื่อง ป่ากามเทพ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
GMM25
2.ละครส่งเสริมการยกพวกตีกัน ดีเด่น (ยิงกันหูดับ ผู้ร้ายตายหมด พระเอกเดินชิลล์ๆ
อย่างเท่)
ได้แก่ ละครเรื่อง มือเหนือเมฆ
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
7HD ทีวีเพื่อคุณ (ช่อง 35)
3. ละครส่งเสริมการใช้ภาษาไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงดีเด่น (ด่ากันทั้งเรื่อง)
ได้แก่
ละครเรื่อง พริ้งคนเริงเมือง และ
ละครเรื่อง เพลิงพระนาง
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
7HD ทีวีเพื่อคุณ (ช่อง 35)
4. ละครส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ ,เบี่ยงเบนทางเพศ
ดีเด่น (เบลอภาพ)
ได้แก่
ซีรีส์เรื่อง Water
Boyy The Series ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
GMM25 และ
ซีรีส์เรื่อง Together with Me อกหักมารักกับผม ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง PPTV
5. ละครส่งเสริมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ สินค้าดีเด่น (โฆษณาแฝง)
ได้แก่
ซีรีส์ชุด Project
“S” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
GMM25 และ
ซีรีส์เรื่อง Secret 7 เธอคนเหงากับเขาทั้ง 7 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ONE31
6. สถานีโทรทัศน์ดีเด่น ด้านการส่งเสริมการนัดชุมนุมของยุง ดีเด่น (ช่องละครน้ำเน่า)
ได้แก่
สถานีโทรทัศน์ช่อง 7HD ทีวีเพื่อคุณ
(ช่องดิจิตอล 35)
7. ละครยอดเยี่ยมสาขา ยืดย้วย มาราธอนแห่งปี (ฉายนาน
ยืดตอน)
ได้แก่
ซีรีส์ชุด Club
Friday The Series และ
ซีรีส์ชุด Love Songs Love Stories
ทางสถานีโทรทัศน์
GMM25 (ช่อง 25)
8.ละครยอดเยี่ยมสาขา เดจาวู ซ้ำซาก หลอกหลอนแห่งปี (รีเมกบ่อย)
ได้แก่ ละครพื้นบ้านเรื่อง อุทัยเทวี
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
7HD ทีวีเพื่อคุณ (ช่อง 35)
9.ละครยอดเยี่ยมสาขา คอสตูม,แคสนักแสดงป่วย แห่งปี (แคสผิดฝาผิดตัว,แต่งหน้าจัดเต็ม)
ได้แก่ ละครเรื่อง
บ่วงบรรจถรณ์
ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง
3HD คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสี (ช่อง 33)
10. ละครหวานน้ำตาลขึ้นตา ส่งเสริมการเป็นโรคเบาหวานแห่งปี
(ลูกกวาด,ขายคู่จิ้น)
ได้แก่
ละครเรื่อง มัสยา
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
7HD ทีวีเพื่อคุณ (ช่อง 35)
11.ละครยอดเยี่ยมสาขา ตัดต่อ/ลำดับภาพ/เทคนิคด้านภาพ แห่งปี (ซีจีอลังการงานสร้าง)
ได้แก่
ละครพื้นบ้าน เรื่อง
เทพสามฤดู
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
7HD ทีวีเพื่อคุณ (ช่อง 35)
12. ละครยอดเยี่ยมสาขาส่งเสริมการหย่าร้าง คบชู้ แห่งปี (ตบตีแย่งสามี ภรรยาชาวบ้าน)
ได้แก่ ละครเรื่อง
เพลิงบุญ
ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง
3HD คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสี (ช่อง 33)
13. ไดอะล็อกสุดจี๊ด ประโยคจำแห่งปี (วลีฮิตติดเทรนด์)
ได้แก่
“ถึงเวลาเอาแหวนกับผัวกูคืนมา...” ,
“พี่ภีมจะเอาคำตอบในฐานะเพื่อนหรือเมีย”
จากละครเรื่อง เสน่หาไดอารี่ ตอนบ่วงเสน่หา และ
“ความพยาบาทเป็นของหวาน” จากละครเรื่อง ล่า
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
ONE31 ละครดี ดูที่ช่อง ONE (ช่อง 31)
14. นักแสดงนำหน้าช้ำ ฝ่ายชายดีเด่น (คีพคาแร็กเตอร์เดียว
เล่นวนหลายเรื่อง)
ได้แก่ ไนกี้
นิธิดล ป้อมสุวรรณ จากละคร ราชินีหมอลำ,ป่ากามเทพ,Club Friday The Series 9
รักครั้งหนึ่งที่ไม่ถึงตาย ตอนรักต้องแลก,เพลิงรักไฟมาร,เปิดสวิตซ์ให้ติดรัก
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
ONE31,GMM25 และช่อง 8
15. นักแสดงนำหน้าช้ำ ฝ่ายหญิงดีเด่น (คีพคาแร็กเตอร์เดียว
เล่นวนหลายเรื่อง)
ได้แก่ เต้ย จรินทร์พร จุนเกียรติ จากละคร คลื่นชีวิต,บัลลังก์ดอกไม้,The Cupids บริษัทรักอุตลุด
: กามเทพหรรษา
ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง
3HD คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสี (ช่อง 33)
16. นักแสดงสมน้ำหน้าดีเด่น (จอมขโมยซีนแห่งปี)
ได้แก่ อัค อัครัฐ กับบท อีแจ็ค จากละครเรื่อง เสน่หาไดอารี่ ตอนบ่วงเสน่หา และ
รัดเกล้า
อามระดิษ กับบท เซนเซยูกิ จากละครเรื่อง ล่า
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
ONE 31
17. นักแสดงคู่โปรโมตดีเด่น (ฟินแต่ในละคร)
ได้แก่ บี้-เอสเธอร์ จากละครเรื่อง เธอคือพรหมลิขิต และ
เต๋อ-ใหม่ จากละครเรื่อง ชายไม่จริงหญิงแท้
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
ONE 31
18. ละครยอดเยี่ยม ขวัญใจแม่ค้าทุเรียน ยุงชุม ณ คลองแสนแสบ แห่งปี (น้ำเน่าแห่งปี)
ได้แก่ ละครเรื่อง
พริ้งคนเริงเมือง และ
ละครเรื่อง
ละอองดาว
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
7HD ทีวีเพื่อคุณ (ช่อง 35)
19.รางวัลพิเศษ Lifetime Achivement Award ซึ่งเป็นรางวัลพิเศษ
ที่ถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกิติมศักดิ์อาวุโส
โดยไม่ผ่านการเสนอชื่อโดยสมาชิก หรือการโหวดจากสมาชิก
แต่ได้รับการเห็นชอบร่วมกันเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิกิติมศักดิ์อาวุโส
จำนวน 11 ท่าน เพื่อมอบรางวัลให้แก่บุคคล
หรือองค์กร หน่วยงานที่มีส่วนในการส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีเด่นให้กับวงการละครไทย
และสอดคล้องกับแนวคิดของชมรมคนรักคลองแสนแสบ สมาพันธุ์แม่ค้าทุเรียนตลาดแตก
สมาพันธุ์ผู้เพาะพันธุ์ยุงแห่งประเทศไทย โดยในปีนี้ผลการพิจารณารางวัลอันเหมาะสม
ขอมอบรางวัลนี้ให้แก่
-คุณชินกร
ไกรลาศ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2541,
-สำนึก
สูตะบุตร หรือนามปากกา “บุษยมาส”
นักเขียนนวนิยายชื่อดัง
-ลือชัย
นฤนาท นักแสดงชาวไทย
ที่เคยมีผลงานอันโด่งดังในยุค 70’s
-สุภักดิ์
ปิติธรรม นักแสดงชาวไทย
-สินีนาฏ
โพธิเวส นักแสดงชาวไทย
-พิมพ์พรรณ
บูรณะพิมพ์ นักแสดงชาวไทย
-ฐิติมา
สุตสุนทร นักร้องและนักแสดงชาวไทย
-ชุมพร
เทพพิทักษ์ นักแสดง,ผู้กำกับชาวไทย
-เทียมใจ
วงษ์คำเหลา นักแสดงตลกชาวไทย
-ธนัท
ฉิมท้วม นักร้องและนักแสดงชาวไทย
-เพชร
ดาราฉาย นักแสดงตลกชาวไทย
-วรนุช
อารีย์ นักร้องแนวลูกกรุงชาวไทย
ขอสดุดี
บุคคลเหล่านี้ ที่เคยสร้างผลงานให้กับวงการละครและโทรทัศน์ไทย
และกลายเป็นบุคคลผู้ล่วงลับไปในปีที่ผ่านมา 2560 และควรค่าแก่การมอบรางวัลในสาขา Lifetime Achivement Award หรือรางวัลสาขาบุคคลแห่งปี-ผู้อุทิศตนเพื่อวงการละครและโทรทัศน์ไทย
จนกว่าจะพบกันใหม่
กับการประกาศรางวัล “เปลือกทุเรียนอวอร์ด”
ได้ใหม่ในปีหน้า 2561 สวัสดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)