วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2560

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2017 (อันดับที่ 4,3,2)





อันดับที่ 4 สมรภูมิช็อปปิ้งออนไลน์ในไทย เป็นสนามประลองของผู้เล่นรายใหญ่ ทั้งผู้เล่นยักษ์ใหญ่จากตปท.และในประเทศ (รวมถึงผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ซื้อด้วย) และมีช่องว่างที่สามารถเติบโตได้อีกมาก

ประเทศเพื่อนบ้านที่แข่งขันกันอย่างสูสีกับประเทศไทยในอดีตคงจะหนีไม่พ้นเวียดนามและมาเลเซียที่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเทียบเท่าหรือนำหน้าประเทศไทยไปแล้ว โดยบริษัท iPrice ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซใน 7 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เล็งเห็นถึงการแข่งขันที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดของทั้งสามประเทศในตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ จึงได้จัดทำการศึกษาตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม และได้พบผลการศึกษาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ความแตกต่างของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมาเลเซีย และเวียดนาม
ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บริษัทต่างชาติได้เข้ามารุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเข้มข้น เริ่มจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada ซึ่งทำให้อัตราการเข้ามาของบริษัทจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดบริษัท 11 Street จากเกาหลีก็ได้เข้าทำตลาดในประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ยังมี JD.Com ยักษ์ใหญ่อันดับสองจากจีน ที่มาจับมือกับเซ็นทรัลในการลุยธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย
จากผลการศึกษาพบว่าประเทศมาเลเซียมีจำนวนผู้แข่งขันจากต่างประเทศกว่า 24% โดยประเทศไทยมีเพียง 18% และเวียดนาม 14% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียค่อนข้างเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ และมาเลเซียถือเป็นฮับในการทำตลาดที่น่าสนใจเนื่องจากมาเลเซียมีนโยบาย MSC หรือ Multimedia Super Corridor ที่จะเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ
ถ้าหากเจาะลึกถึงรูปแบบสินค้าที่ทางร้านค้าอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศจำหน่ายนั้น ส่วนใหญ่แล้วร้านค้าในประเทศไทยจะเป็นร้านค้ารูปแบบทั่วไป กล่าวคือมีการจำหน่ายสินค้าที่มีความหลากหลายในเว็บไซต์เดียว เช่น Lazada, Central, Shopee, 11Street ที่มีสินค้าทั้งแฟชั่นเทคโนโลยีเครื่องสำอางและอีกมากมาย จากการสำรวจพบว่าร้านค้าประเภทแฟชั่นในประเทศไทยนั้นนิยมใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับผู้บริโภคมากกว่าการใช้เว็บไซต์ เนื่องจากโซเชียลมีเดียสามารถนำเสนอสินค้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถปิดการขายได้ด้วยการติดต่อผ่างทาง Message หรือ LINE ที่ค่อนข้างสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนการใช้เว็บไซต์ จึงทำให้เว็บไซต์ใหญ่ ๆ ไม่นิยมเข้ามาร่วมแข่งขันกับร้านค้าเล็ก ๆ ในตลาดแฟชั่นสักเท่าไรนัก
ในประเทศมาเลเซียซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ในมาเลเซียจะเป็นสินค้าประเภทแฟชั่น เนื่องจากว่าคนดังหรือเซเลบดาราในประเทศมาเลเซียนั้นหันมาปั้นแบรนด์แฟชั่นของตัวเองจนประสบความสำเร็จ โดยเน้นไปทางเสื้อผ้าแฟชั่นแบบมุสลิมเป็นหลัก จึงทำให้ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นเว็บแฟชั่นนั่นเอง โดยตัวอย่างร้านค้าแฟชั่นในประเทศมาเลเซีย ได้แก่ Zalora, Hermo, Fashion Valet เป็นต้น

Lazada ขึ้นเป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซทั้ง 3 ประเทศ
คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Lazadaที่ได้เข้ามาทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 5ปีแล้ว ด้วยเงินทุนที่หนาและการสนับสนุนจากยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาทำให้ Lazada ขึ้นเป็นเจ้าตลาดทั้ง 3 ประเทศในไม่ช้า อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ Lazadaจะเป็นเจ้าตลาดในสามประเทศ แต่สำหรับประเทศเวียดนามแล้ว Lazadaคงจะต้องแข่งขันอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเวียดนามมีคู่แข่งซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเวียดนามที่แข็งแกร่งครองตลาดอยู่เช่นกัน จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า Lazadaเวียดนามมีส่วนทราฟฟิก 19% และรองอันดับอื่น ๆ เช่น Thếgiớidiđộng มีส่วนแบ่งทราฟฟิก 15% และ Sendo 11% เป็นต้นนอกจากนี้ทราฟฟิกของ Lazadaนั้นเป็นเพียง 1 ใน 4 ของตลาดทั้งหมด หมายความว่ายังมีคู่แข่งอีกมากมายที่แชร์ส่วนแบ่งอยู่ในขณะนี้  ซึ่งต่างจากประเทศไทยและมาเลเซียที่ Lazadaมีส่วนแบ่งทราฟฟิกกว่า 50% หมายความว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีการกระจายผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งบริษัทที่กำลังตาม Lazadaในประเทศเวียดนามนั้นอาจจะสามารถขึ้นเทียบเท่าหรือแซงหน้า Lazadaได้ในไม่ช้า

โดยประเทศไทยนั้นอันดับสองในตลาดคงหนีไม่พ้น 11 Street ที่พึ่งเข้ามารุกตลาดประเทศไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาผ่านการทำการตลาดอย่างหนักทั้งการใช้ Influencer และ Outdoor Advertising ที่ช่วยสร้างให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งทราฟฟิกของ 11 Street อยู่ที่ 11% ซึ่งน้อยกว่า Lazadaกว่า 4 เท่า นี่จึงเป็นสัญญาณว่าบริษัทอันดับรอง ๆ เหล่านี้ต้องทำการบ้านหนักขึ้นเพื่อที่จะตามยักษ์ใหญ่ให้ทันเพื่อขึ้นแข่งขันกับเจ้าตลาดอย่าง Lazadaนั่นเอง

บริษัทGoogle และTemasekได้ศึกษาตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าในปี พ.ศ. 2558 ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับมาเลเซียและเวียดนามจากการคาดการณ์ในอีก 8 ปีนับจากนี้ (พ.ศ.2568) ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเติบโต 29% ต่อปี จนมีขนาดใหญ่กว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศมาเลเซียและเวียดนาม โดยจะขึ้นเป็นที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเซียอีกด้วยซึ่งประเทศไทยจะมีขนาดอยู่ที่ 11.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซีย 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเวียดนาม 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  จากการคาดการณ์นี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับนักช้อปออนไลน์ในสามประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย ตัวเลขการเติบโตนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงตัวเลือกที่มีมากขึ้นและคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีขึ้นด้วยนั่นเอง เนื่องจากร้านค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซจะต้องแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อขึ้นเป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภค
(เครดิตบทความ “ใครใหญ่ ? เทียบฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไทย-มาเลเซีย-เวียดนาม” iPrice Insights ,กันต์พจน์ สุริวงศ์ : Senior Content Marketing iPrice Group ,Positioningmag.com)

คนไทยช้อปออนไลน์พุ่งกระฉูด เป็นอันดับ 2 รองจากจีน
ไม่ใช่แค่ช้อปออนไลน์ในประเทศเท่านั้น แต่ตัวเลขคนไทยช้อปออนไลน์ข้ามประเทศ ที่ PayPal ผู้ให้บริการชำระเงิน ทำร่วมกับอิปซอสส์ ร่วมกันทำวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคกว่า 28,000 คนใน 32 ประเทศ รวมทั้งผู้บริโภคคนไทย 800 คน สะท้อนว่า การช้อปออนไลน์ข้ามประเทศของคนไทยก็กำลังเติบโต
ผลสำรวจพบว่า ยอดใช้จ่ายออนไลน์ของนักช้อปชาวไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 16% จากปี 2559 หรือคิดเป็นมูลค่า 325,614 ล้านบาท คาดว่าในปี 2560 จะเพิ่มขึ้นเป็น 376,753 ล้านบาท และในปี 2561 จะเพิ่มขึ้น 13% หรือคิดเป็นมูลค่า 426,655 ล้านบาท

คนไทยนิยมใช้จ่ายผ่านมือถือ
ผลสำรวจยังพบว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีคนไทย 71% ที่ช้อปออนไลน์ผ่านทั้งเว็บไซต์ช้อปิ้งออนไลน์จ แอปพลิเคชั่น และช่องทางโซเชียลมีเดีย  ที่น่าสนใจ ประเทศจีนและประเทศไทยเป็นนักช้อปข้ามประเทศที่นิยมซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถือมากที่สุด ราว 50 ของนักช้อปชาวจีน และไทยที่ซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศเลือกช้อปผ่านแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน
ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด โดยเฉลี่ยจะมีนักช้อปข้ามประเทศที่ซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถืออยู่ที่ 37% ซื่งเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนถึง 27 เปอร์เซ็นต์  เป็นที่สังเกตได้ว่า ยอดการซื้อขายออนไลน์ผ่านมือถือ (mobile-commerce) ของคนไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2558 มียอดใช้จ่าย 98,642 ล้านบาท ในปี 2559 เพิ่มเป็น 141,731 ล้านบาท เติบโตถึง 44% คาดว่าปี 2560 จะเติบโต 19 % หรือคิดเป็นมูลค่า 206,077 ล้านบาท  เพิ่มเป็นจาก 141.7 พันล้านบาทในปี 2559 เป็น 173.6 พันล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนอุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจทั้งสำหรับผู้ซื้อและผู้ค้าออนไลน์

จับตาช้อปข้ามประเทศมาแรง
นอกจากนี้ ยอดการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศของคนไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เมื่อประเมินจากจำนวนผู้ใช้งานอีคอมเมิร์ซในไทยจะมีอยู่ราว 7.9 ล้านคน ในจำนวนนี้ 2 ล้านราย เคยซื้อสินค้าออนไลน์ข้ามประเทศ คิดเป็นมูลค่าราว 6.03 หมื่นล้านบาท และในปี 2560 คาดว่าจะมีโอกาสเติบโตถึง 84% เนื่องจากมีการทำสำรวจต่อว่า ในปีนี้จะมีการซื้อของจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดย 55% ซื้อเพิ่มขึ้นแน่นอน 23% ซื้อเท่าเดิม6% ซื้อลดลง โดยที่คนไทยมียอดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของการซื้อของต่างประเทศอยู่ที่ 30,892 บาท/คน/ปี จากยอดอีคอมเมิร์ซต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่ 41,215 บาท

5 ปัจจัยหนุนช้อปออนไลน์
ผลจากการสำรวจพบว่านักช้อปออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 55% มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 เนื่องจาก 82% เห็นว่า ความสะดวกสบายของการช้อปออนไลน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาหันมาช้อปด้วยวิธีนี้มากขึ้น  ในขณะที่ 37% มองว่าการส่งของที่รวดเร็วเป็นอีกปัจจัยหลัก และ 35% คิดว่าทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่า 30% คาดว่าการจัดส่งสินค้าจะถูกลง 27% มาจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ

ช้อปของใช้ครัวเรือนนิยมแซงหน้าสินค้าแฟชั่น
ในส่วนของประเภทสินค้าที่นิยมช้อปออนไลน์ข้ามประเทศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาพบว่าส่วนใหญ่จะนิยมซื้อเสื้อผ้ารองเท้าสินค้าแฟชั่นเครื่องสำอางท่องเที่ยวสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ดิจิตอลคอนเทนต์เครื่องใช้ไฟฟ้า  ส่วนในปี 2560 คาดว่า ผู้บริโภคชาวไทยจะหันมาซื้อสินค้าที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น โดยสินค้า 3 ประเภทที่คาดว่าจะมีการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 ได้แก่ ของใช้ในครัวเรือน (เติบโต 24%) สินค้าบริโภค (เติบโต 20%) และสินค้าสำหรับเด็ก (เติบโต 16%)
สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย มองว่า นี่คือโอกาสของธุรกิจไทยในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก โดยผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งไม่ต้องใช้ต้นทุนสูงเหมือนกับการขยายสาขาแบบดั้งเดิม

ค่าขนส่ง-ภาษี ข้อจำกัด
แม้โอกาสจะมีอยู่มาก แต่อุปสรรคที่ทำให้คนไทยไม่กล้าช้อปออนไลน์ ยังกังวลค่าใช้จ่ายในการจัดส่งสินค้า และการเสียภาษี และกลัวว่าไม่ได้รับสินค้า
โดย 45% ของผู้สำรวจยังมองว่า ค่าขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำไม่สามารถซื้อของข้ามประเทศได้บ่อยครั้งเท่าที่ควร ปัจจัยรองลงมาคือ การจ่ายค่าภาษีศุลกากร 44% และความชัดเจนของอัตราภาษีศุลกากร 42%

โอกาสของ PayPal
ด้วยผลวิจัยดังกล่าว เป็นโอกาสทางธุรกิจ PayPal ในการผลักดันให้ธุรกิจส่งออกหันมาใช้บริการเพย์เม้นท์ ที่สะดวกปลอดภัย และใช้กันแพร่หลายทั่วโลก แทนที่จะเป็นการเก็บเงินสดปลายทาง โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว ขนส่ง จองตั๋วแพ็กเกจทัวร์สินค้าแฟชั่นเสื้อผ้ากระเป๋า
PayPal มองว่า คู่แข่งไม่ใช่ผู้ให้บริการเพย์เมนต์ แต่เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนจากการชำระเงินสดปลายทาง ซึ่ง ธุรกิจส่วนใหญ่รู้จัก PayPal แต่ยังไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์อย่างไรดังนั้นจึงต้องเน้นไปที่การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก  ปัจจุบัน PayPal ให้บริการออนไลน์เพย์เมนต์มา 18 ปี ใน 200 ประเทศทั่วโลก รองรับสกุลเงินมากกว่า 25 สกุลเงิน แต่ละวินาที จะธุรกรรมผ่าน PayPal 10,900 เหรียญสหรัฐ /วินาที โดยมีพนักงานรวมกันทั่วโลกกว่า1.7 หมื่นคน รองรับบริการหลังการขาย 20 ภาษา โดยมีผู้ใช้งานแล้ว 197 ล้านบัญชี ส่วนในไทย PayPal ได้เข้ามาเปิดสำนักงานเมื่อต้นปีที่แล้ว มีพนักงาน 4 คน
(เครดิตข้อมูล : บทความ “คนไทยช็อปออนไลน์พุ่งกระฉูด เป็นอันดับ 2 รองจากจีน , Positioningmag.com)

11 STREET ปะทะ SHOPEE บนถนนสาย E-Marketplace
ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยกลุ่ม B2C ปีนี้คาดการณ์ 812,612.68 ล้านบาท จาก 703,331.91 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมาตามรายงานของ ETDA เติบโตจากพฤติกรรมคนไทยนิยมช็อปออนไลน์มากขึ้น จากความง่าย สะดวกสบาย ราคาสินค้าบางไอเทมต่ำกว่าตามห้างร้าน และอื่นๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมอยู่เงียบๆ ช็อปเพรียบนะคะ ไม่แปลกเลยที่พฤติกรรมมา eMarketplace อื่นๆ ก็ขอเข้ามาขอแชร์จากพี่ใหญ่ Lazada ด้วยเช่นกัน เห็นได้ว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มี 11 Street แห่งเกาหลีใต้ และ Shopee จากค่ายการีน่า สิงคโปร์ เข้ามาเปิดตลาดขอเป็นแนวร่วมในธุรกิจ eMarketplace ในประเทศไทย ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แม้คนไทยจะมีบัตรเครดิตเพียงสิบกว่าล้านใบก็ตาม
เพราะในวันนี้ อีคอมเมิร์ซ มีระบบการชำระเงินมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โอนผ่านธนาคาร พร้อมเพย์ QR Code บัตรเดบิต หรือแม้แต่เก็บเงินปลายทาง พร้อมบริการขนส่งหลายรายที่แข่งขันในการให้บริการจนไม่รู้จะเลือกใช้บริการใครดี  เรามาดูกันว่า เกมการแข่งขันของ ผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง 11 Street และ Shopee จะเป็นอย่างไร ในโลกของ eMarketplace ไทย

ขอเป็นเบอร์1 อีคอมเมิร์ซไทย
คงจำได้ดีว่าในวันที่ 11 Street จากค่าย SK Telecom เกาหลีใต้มาไทยในช่วงเวลาแรก รุกหนักซื้อพื้นที่สื่อสร้าง Brand Awareness ผ่านแบรนด์แอมบาสเดอร์ ซูเปอร์สตาร์เกาหลี “ซงจุงกิ” และ “มิว นิษฐา จิรยั่งยืน” จนกลายเป็นดราม่ากับการใช้กลยุทธ์สร้างแบรนด์ในสื่อบัตร Rabbit พักใหญ่
จุดมุ่งหมายหลักคือ การสร้างความรู้จักกับคนไทยถึง eMarketplace ใหม่ ของ 11Street และให้คนไทยเชื่อมั่นว่า 11Street จากแดนกิมจิ เอาจริงในตลาดไทยแค่ไหน
เมื่อย้อนกลับไปในวันแรกที่ 11 Street บุกไทย ได้เชื่อว่า ภายใน 6-7 ปี ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะเฟื่องฟูเหมือนกับเกาหลี แม้ในปีที่ผ่านมาตลาดอีคอมเมิร์ซในส่วนค้าปลีกไทยมีสัดส่วนไม่ถึง 1% หรือมีมูลค่า 67,000 ล้านบาทจากตลาดค้าปลีกรวมก็ตาม เมื่อเทียบกับเกาหลีที่มีสัดส่วน 15% หรือมูลค่า 30,000 ล้าน USD มีอัตราการเติบโต 8-10% จากตลาดค้าปลีกรวม
ในปีนี้ 11 Street เชื่อว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในส่วนค้าปลีกไทยจะมีมูลค่า 87,000 ล้านบาท เติบโตประมาณ 30%เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และด้วยศักยภาพการของ 11Street สามารถเป็นเบอร์ 1 ในตลาดอีคอมเมิร์ซค้าปลีกไทยในปี 2564 ได้ไม่ยาก
สิ่งที่ทำให้ฮง โชล จอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อีเลฟเว่นสตรีท ประเทศไทย เชื่อว่า สามารถสยบ พี่ใหญ่อย่าง Lazada ที่มีแบคอัพผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าพ่ออีคอมเมิร์ซอย่างแจ็คหม่า มาจากการทุ่มเงินหลายพันล้านบาทในปีนี้นอกเหนือจากการสร้าง Awareness โปรโมชั่นดึงดูดผู้ซื้อ ยังให้ความสำคัญกับร้านค้า ด้วยการจัดอบรมร้านค้าผ่านศูนย์อบรบ 11Street Campus 6 แห่งทั่วประเทศ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเทรนด์ อีคอมเมิร์ซ บริการอบรมถ่ายภาพสินค้า และอื่นๆ 11Street เชื่อว่ายิ่งมีสินค้ามาก จำนวนลูกค้าที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าก็มากตามมาเช่นกัน  รวมถึงร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ ขยายกลุ่มผู้ขาย เช่นรวมมือกับ Inwshop ให้ร้านค้าใน lnwshop สามารถลิงค์สินค้าของร้านไปยัง 11street ได้สะดวก จับมือกับ Cotton USA จำหน่ายสินค้าจาก 21 แบรนด์ Licensees ดึงกลุ่มผู้ซื้อจาก เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น
พร้อมกิจกรรมต่างๆ ทั้งโปรโมชั่นส่วนลด และโรดโชว์ไปยังภูมิภาคทั่วประเทศ เช่นเชียงใหม่ พัทยา เพื่อแนะนำให้กลุ่มลูกค้านอกเหนือกรุงเทพให้ทดลองใช้บริการ 11Street อย่างต่อเนื่อง
จนในปัจจุบัน 11Street มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 580,000 คน ร้านค้าผู้ขาย มากกว่า 18,000 ราย สินค้ามากกว่า 5.1 ล้านชิ้น และมีผู้เข้าชมมากกว่า 17.3 ล้านครั้งต่อเดือน ซึ่งผู้บริหาร 11Street เชื่อว่า ถ้าสามารถสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปีได้ 11Street จะสามารถเป็นเบอร์ 1 ได้ในปี 2564 และคืนทุนจากรายได้ค่าธรรมเนียมในการให้บริการที่เก็บร้านค้า 5-10% ขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละประเภทได้ภายในปี 2565

กลยุทธ์ของ Shopee  ใช้  Free ไม่ต้อง Fee แล้วการเติบโตจะตามมา
แม้ Shopee eMarketplace ที่เน้นเจาะตลาด C2C จากค่ายการีน่า จะเข้ามาขยายฐานผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดไทยตั้งแต่ปลายปี 2558 ก่อนจะมามีสีสันอย่างเห็นได้ชัดจากแคมเปญ ญาญ่า ณเดชน์ เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ขยายการรับรู้ในวงกว้าง เจาะกลุ่มลูกค้าหลักคือวัยรุ่นที่มีกำลังซื้อ
ในวันที่ Shopee เข้ามาทดลองตลาดไทยเป็นเวลาปีกว่าเทเรนซ์ แพง ประธานฝ่ายปฏิบัติการ ช้อปปี้ มั่นใจว่าสามารถขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดประเทศไทย และตลาดเซาส์อีสเอเชียอีก 6 ประเทศได้แก่ มาเลเซีย อินโดนิเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไต้หวัน ที่ Shopee เข้าทำตลาดได้ในอนาคตอันใกล้  นอกเหนือจากการสร้าง Branding และ Brand Awareness ในวงกว้างผ่านแบรนด์แอมบาสเดอร์ด้วยงบการตลาด 200 ล้านบาท ช่วยให้เกิดทราฟิกของผู้ซื้อรายใหม่เข้ามาในแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้ผู้ซื้อรายเก่ากลับมาอีกครั้ง จนในปัจจุบันแอป Shopee ถูกคนไทยดาวน์โหลดแล้วมากกว่า 8 ล้านโหลด และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อและผู้ขายว่า Shopee เอาจริงในตลาดไทย
อีกเหตุผลที่ผู้บริหาร Shopee มั่นใจว่าจะนำพา Shopee ก้าวข้ามพี่ใหญ่อย่าง Lazada และการรุกตลาดถึงผู้ขายโดยตรงของ 11Street มาจากการมองตลาดที่แตกต่างจากคู่แข่งที่ทุกรายมุ่งเน้นไปยังตลาด B2C แต่ Shopee เน้นเจาะตลาด C2C ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคทั่วไปเข้ามาเปิดร้านค้าขายสินค้าออนไลน์ใน Shopee ได้ประหนึ่งเหมือนโพสต์ขายในโซเชียลมีเดีย  และดึงดูดให้เปิดขายสินค้าโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมในการบริการ การจัดส่งสินค้า เพื่อให้เกิดความหลากหลายในสินค้าเพราะ Shopee เชื่อว่ายิ่งมีสินค้ามากเท่าไรยอดผู้ซื้อจะตามมา และเมื่อผู้ขายสามารถขายสินค้าได้จริงก็จะยอมจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ Shopee ที่จะเรียกเก็บในอนาคต โดยในปัจจุบัน Shopee มีผู้ขายในระบบมากกว่า 4 แสนราย สินค้าระบบมากกว่า 6 ล้านชิ้น
นอกจากนี้ Shopee ยังนำจุดเด่นของโซเชียลมีเดียเช่น การแชทกับผู้ขาย และการติดตามร้านค้าเป็นจุดอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และฟรีค่าจัดส่งให้กับผู้ซื้อ และแคมเปญการตลาดอื่นเพื่อดึงดูดผู้ซื้ออย่างต่อเนื่อง เช่นจัดแคมเปญ 9.9 Mobile Shopping Day จำหน่ายสินค้าลดราคาพิเศษในวันที่ 9 เดือน 9 ที่ผ่าน ในรูปแบบเดียวกับ 11.11 ของ Alibaba ซึ่งแคมเปญนี้ เทอเรนซ์ ได้สรุปว่าเป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จด้วยจำนวนออเดอร์สูงกว่าวันทั่วไป 3.5 เท่า มีลูกค้าเข้าชมเพิ่ม 5 เท่า
ทั้งนี้ Shopee ในประเทศไทย และอื่นๆ อีก 5 ประเทศยังเป็นธุรกิจที่ยังไม่สร้างรายได้ ส่วนประเทศไต้หวัน เป็นเพียงประเทศเดียวที่เริ่มคิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการกับผู้ขาย และพื้นที่โฆษณา จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการที่สูงเพราะมีประสบการณ์ในการใช้งานอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างดี
คงต้องดูต่อไปว่า 11 Street หรือ Shopee จะเข้ามาโค่นล้ม Lazada ได้จริงๆ ตามเป้าหมายหรือไม่
(เครดิตข้อมูล : บทความ “11 Street ปะทะ Shopee บนถนนสาย Emarketplace ,Positioningmag.com)

LAZADA ประสบความสำเร็จเกินคาดจากโค้ดปริศนา Lazada 11.11 “ช้อปทะลุจักรวาล” 2017
Lazada จัดเต็มแคมเปญ 11.11 “ช้อปทะลุจักรวาล” ลดสูงสุดในรอบปี 11 พ.ย.60 ซึ่งปกติจะมีการลดมากอยู่แล้วแต่ถ้าใช้คูปอง Lazada โค้ดปริศนา (The Hidden code) จะทำให้สามารถลดราคาสินค้าดีลต่าง ๆ ได้มากขึ้นด้วยครับ ดีลราคาสุดพิเศษจากทุกหมวดหมู่บนเว็บไซด์ลาซาด้า อาทิ
• แบรนด์เครื่องสำอางค์ที่คุณชื่นชอบ นำมาลดราคาสูงสุดถึง 50%
• แบรนด์วาโก้จัดเซ็ตชุดชั้นในบราเบอรี่ที่สายสามารถถอดเปลี่ยนได้ พร้อมส่วนลด 80% สำหรับสินค้าอื่นๆจากแบรนด์
• บีเอสซี มอบส่วนลดสูงสุดถึง 70% สำหรับแป้งรองพื้น C – COVER LIGHT POWDER SPF30 PA+++ แบบ refill ปกปิดผิวเนียนเรียบ ให้ผิวสว่างกระจ่างใส ในวันที่ 11 และ 12-14.12
• นมผงเด็กยี่ห้อ NAN (นำเข้าจากเยอรมัน) ให่ส่วนลดพิเศษถึง 30% ในวันที่ 11 และ 12-14.12 และส่วนลด 20% ในวันอื่นๆตลอดแคมเปญ
• ส่วนลดสูงสุดถึง 70% สำหรับทีวี จับคู่สุดพิเศษกับโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป และอื่นๆอีกมากมาย
• ส่วนลดสูงสุดถึง 80% ในหมวดสินค้าแฟชั่น รวมถึงกระเป๋าแฟชั่นและกระเป๋าเดินทาง
• พบกับของใช้ในบ้านกับดีลสุดช็อคที่ลดสูงสุดถึง 90%
• ส่วนลดสูงสุดถึง 80% สำหรับสินค้าในหมวดยานยนต์
และสินค้าราคาพิเศษอีกมากมาย
คูปองส่วนลด โค้ดปริศนา Lazada 11.11 “ช้อปทะลุจักรวาล 11 พฤศจิกายน 2560
รับส่วนลดพิเศษเพียงกรอกโค้ด SUPERNOVA
(เครดิตข้อมูล : บทความ “โค้ดปริศนา Lazada 11.11 ช็อปทะลุจักรวาล 2017” โดย Techmoreview.com)

หลังจากฉลองด้วยรายการทีวีอีคอมเมิร์ซแนวใหม่ที่มาพร้อมความสนุกสุดมันส์จากลาซาด้าครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ่ายทอดสดผ่านช่อง 3 และ ลาซาด้าทีวี ที่นอกจากจะเป็นรายการทีวีที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ ยังมีดารารับเชิญมากมายพร้อมเหล่าคนดังที่มาร่วมเล่นเกมเพื่อเก็บภาพประวัติศาสตร์ไปด้วยกัน สร้างความน่าตื่นเต้นให้กับนักช้อปชาวไทย ทำให้ลาซาด้าได้รับการตอบรับอย่างล้มหลามตั้งแต่วินาทีแรกของการถ่ายทอดสดต่อเนื่องจนถึง 24 ชั่วโมงแรกของวันที่ 11.11
• มีผู้เข้าชมผ่านเว็บไซด์และแอพพลิเคชั่นของลาซาด้ามากกว่า 10 ล้านครั้งใน 24 ชั่วโมงแรกของมหกรรม
• มีจำนวนการสั่งซื้อสินค้ามากกว่าช่วงที่ไม่มีแคมเปญสูงถึง 10 เท่า
• ดีลและแฟลชเซลล์ของลาซาด้า ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประหยัดไปได้ทั้งหมด 870 ล้านบาท
• พื้นที่จัดส่งสูงสุดในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของ 11.11 คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และสมุทรปราการ ตามลำดับ
“การนับถอยหลังเข้า 11.11ด้วยการบุกเบิกรายการทีวีที่สร้างความบันเทิงและแปลกใหม่ในปีนี้ เราได้เห็นการตอบรับเป็นอย่างดีจากชาวไทย ซึ่งทำให้การเริ่มต้นมหกรรม ออนไลน์ เฟสติวัล ผ่านพ้นไปได้อย่างน่าประทับใจ โดยยอดผู้ชมผ่านรายการทีวีและสถิติการเข้าชมทั้งผ่านเว็บไซด์และแอพพลิเคชั่นนั้นเกินความคาดหมายที่เราตั้งไว้มาก เราเชื่อว่าการจัดแคมเปญในวันแบล็คฟายเดย์ ไซเบอร์มันเดย์ รวมไปถึงสามวันสุดท้าย ตั้งแต่ 12 – 14 ธ.ค. นี้ที่จะถึงนี้จะสร้างบรรยากาศที่น่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้นให้กับนักช้อปชาวไทยจากทั่วทั้งประเทศ” อเล็กแซนดรอ บิสชินี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย
นอกจากนี้ ลาซาด้าได้สนองต่อนโยบายของภาครัฐในโครงการช้อปช่วยชาติ โดยมร่วมมือกับผู้ค้าออนไลน์รายใหญ่ สำหรับผู้ที่ช้อปผ่านลาซาด้าและแจ้งขอใบกำกับภาษี ลาซาด้าจะมอบโค้ดส่วนลดเพิ่มขึ้นอีก 7% ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ lazada.co.th/shop-for-thailand-2017

ติดใจ 11.11 จัดต่อ 12.12 บิ๊กอีคอมเมิร์ซ ร่วมวงเซตวัน ช้อปออนไลน์ ปั๊มยอดส่งท้ายปี
หลังจากบรรดาที่บรรดาเว็บอีคอมเมิร์ซในไทย โกยยอดขายจาก การลดราคากระหน่ำในวันคนโสด (Single’s Day) 11.11 ลดราคาส่งท้ายสิ้นปีกันมาแล้ว โดยเฉพาะ 2 รายใหญ่ ลาซาด้า (อาลีบาบาถือหุ้น) และช้อปปี้ อีคอมเมิร์ซ สัญชาติสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ไต้หวัน อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ที่แข่งขันกันดุเดือดชนิดไม่มีใครยอมใคร

ลาซาด้านั้นจัดเต็มคอนเซ็ปต์ช้อปทะลุจักรวาล ทั้งลดถ่ายทอดสดทางทีวี และอีเวนต์ขนดารามาแบบจัดเต็ม โดยได้เผยสถิติทำยอดขาย 4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 171% มียอดเข้าชม 45 ล้านครั้งทั้งเว็บและแอป สินค้ายอดฮิต โทรศัพท์มือถือ ผ้าอ้อม บัตรเติมเงิน แฟชั่น มอยส์เจอไรเซอร์
ส่วน ช้อปปี้ ระบุว่า สามารถทุบสถิติ ด้วยยอดออเดอร์ 2.5 ล้านครั้งภายใน 24 ชั่วโมง ขายสินค้าได้ 7 ล้านชิ้น กับแคมเปญ 11.11 “ลดสะท้านออนไลน์” ลดราคาสูงสุด 90% โดยมีออเดอร์เพิ่มขึ้น 4.5 เท่า การแชตมากกว่า 13 ล้านครั้ง ด้วยผลสำเร็จที่ทั้งคู่ทำได้ ทั้งยอดขาย และยังดึงดูดให้คนมาทดลองซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ ทำให้ลาซาด้าจึงปิดท้ายด้วยเทศกาลออนไลน์ เฟสติวัล ในวันที่ 12 ธันวาคม (12.12) ซึ่งถือเป็นมหกรรมการช้อปออนไลน์ที่ลาซาด้าจัดพร้อมกันทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดครั้งแรกไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555

ปีนี้ ไม่ได้จัดแค่หนึ่งวัน แต่จัดต่อเนื่องสามวันเต็ม 12 - 14 ธันวาคม 2560 นี้ เรียกว่า เมกาเดย์เซลส์ จะนำสิ่งที่ลูกค้าชื่นชอบเมื่อครั้ง11.11 กลับมา เช่น ดีลที่สุดฮอตทำให้มีการเข้าชมมากกว่า 10 ล้าน และให้ ส่วนลดสูงสุดมากกว่า 90% และดีล 12 บาท แฟลชเซลส์ทุกสองชั่วโมง ดีลสินค้าทุกชิ้นราคาต่ำกว่า 499 บาท คูปองส่วนลดพิเศษ รายการทีวีจากเหล่าเซเลบเมืองไทย เกมลุ้นรับรางวัลใหญ่
ในแต่ละวันจะแบ่งตามประเภทสินค้า เช่น วันที่ 1 จะเน้นแบรนด์สินค้าความงาม และแบรนด์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ วันที่ 2 จะเป็นสินค้าจากไทยและต่างประเทศ และสินค้าจาก Taobao Collection และวันที่ 3 สำหรับวันสุดท้าย จะทิ้งทายด้วย 30 ล้านดีล และส่วนลดสูงสุดกว่า 90% แฟลชเซลส์ทุกสองชั่วโมง สินค้าลดล้างสต็อก  มหกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ของลาซาด้า จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2555 มีผู้บริโภคกว่าหนึ่งร้อยล้านคนทั่วทั้งภูมิภาค เคยทำยอดขายวันแรก 4,000 ล้านบาท เป็นอัตราการเติบโตต่อปีถึง 171% แน่นอนว่า "ช้อปปี้” ไม่ยอดพลาด ร่วมปิดท้ายมหกรรมช้อปในช่วงโค้งสุดท้าย ในวันที่ 12 ธันวาคม ด้วยการส่งแคมเปญ 12.12 Shopee Super Sale มาช่วงชิงลูกค้า ด้วยการลดราคาสินค้า และจับรางวัล มูลค่าของรางวัลรวมสูงถึง 10 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เมอร์เซเดส เบนซ์ รุ่น CLA 200 Urban 3 คัน, ทองคำมูลค่ากว่า 9 แสนบาท และแพ็กเกจทัวร์ท่องเที่ยวประเทศญี่ปุน
ในวันที่ 12 ธันวาคม Flash Sales ลดราคาสินค้าพิเศษ จัด 7 รอบตลอดวันที่ 12 ธันวาคม
พร้อมกับ ลดล้างสต็อกสินค้าทุกประเภทสูงสุด 90 และร่วมกับ 24 แบรนด์ เช่น ยูนิลีเวอร์, เนสท์เล่, ซัมซุง และเบบี้เลิฟ ลดกระหน่ำสูงสุด 80%  มาปีนี้ ผู้ประกอบการของไทย ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) ที่กำลังใส่เกียร์เร่งเดินหน้า อัดงบโฆษณาหน้าจอทีวีโปรโมตโฮมช้อปปิ้งมาแล้ว มาครั้งนี้ก็ขอกระโดดเข้าสู่ “ช้อปออนไลน์” ด้วยการเข้ามหกรรมลดราคาส่งท้ายปี 12.12 ครั้งนี้ กับแคมเปญ 12.12 TV Direct Online Festival ลดราคาสูงสุด 80% ทั้งสินค้า Daily Deal จำนวนจำกัด สินค้า OUTLET และสินค้าอื่นๆ กว่า 2,000 รายการ ในราคาพิเศษ จัดส่งสินค้าฟรีทั่วประเทศ โดยดาวน์โหลดแอป TV Direct หรือเข้าไปที่ www.tvdirect.tv เพื่อร่วมซื้อสินค้า

ส่วนค่ายมายแคชแบ็ก (myCashback) อีคอมเมิร์ซสัญชาติไทย ที่ชูจุดขาย ให้เงินคืน (cashback) เข้าร่วมแจมด้วยแคมเปญ “12.12.17 myCashback รับเงิน x3” เมื่อช้อปปิ้งสินค้าและบริการจากเว็บไซต์ผ่าน myCashback ครบ 3 ชิ้น (สำหรับการสั่งซื้อสามชิ้นแรกของวันต่อท่าน) ภายในวันที่ 12 เดือน 12 รับเงินคืน 3 เท่า ของส่วนลดที่ได้รับจากร้านค้า โดยมีสินค้ามากกว่า 10,000,000 รายการเข้าร่วม และโปรจากคู่ค้าชั้นนำ อาทิ ลาซาด้า, เซ็นทรัล ออนไลน์, ออฟฟิศเมท, โรบินสัน, ร้านนายอินทร์, iStudio, 3M delivery, Karmart, Koncept เป็นต้น

ต้องดูว่าส่งท้ายปีใครจะเก็บสถิติ โกยยอดขายได้มากกว่ากัน แต่ที่แน่ๆ การเซตวันลดราคา กำลังเป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์ของบรรดาเว็บอีคอมเมิร์ซ ต้องลงมาแข่งขันกันอย่างดุดเดือด เพราะสามารถกระตุ้นยอดขาย และดึงให้ลูกค้ามาทดลองใช้บริการ. (เครดิตข้อมูล : บทความ “ติดใจ 11.11 จัดต่อ 12.12 บิ๊กอีคอมเมิร์ซ ร่วมวงเซตวัน ช้อปออนไลน์ ปั๊มยอดส่งท้ายปี” จากหน้าเพจ Positioningmag.com)


อันดับที่ 3 ตลาด Food Delivery เติบโตจนน่าตกใจ ไทยจะเป็นฮับ Food Delivery ของอาเซียน
เราเคยได้ยินคำว่า ไทยจะเป็นครัวของโลก มาซักพักนึงในรอบ 10 กว่าปีมานี้ แต่ก็ไม่เห็นได้เป็นซักกะที จนคนไทยชินชาเสียแล้วกับคำนี้ แต่ความจริงที่ว่า ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการปรุงอาหาร หรืออาหารไทยไปสร้างชื่อให้ประเทศ คนทั่วโลกรู้จักอาหารไทยเป็นอย่างดี จนไปติดอันดับต้นๆ ของโลกจากการจัดอันดับของสื่ออย่าง CNN หรือสถาบันมีชื่อเสียงจากต่างชาติอยู่บ่อยๆ แต่ในช่วง 3-4 ปีมานี้ กระแสความนิยม และพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคสื่อโซเชียลบูมนั้น ก็คือ ความนิยมในการสั่งอาหารผ่าน application หรือทางสื่อโซเชียล อินเตอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้น และกลายเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมากในเวลานี้ (สรุปภาพรวมตลาดอาหารเดลิเวอรี่ในประเทศไทย เข้าลิ้งค์นี้ http://fic.nfi.or.th/webtour/pdf/th-food-mkt.pdf)

จับตาปี’ 60 สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด DELIVERY โตร้อยละ 11-15
ปี 2559 มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดธุรกิจร้านอาหารจำนวนมาก ประกอบกับยังมีกลุ่มทุนรายใหญ่ ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับร้านอาหาร และธุรกิจอื่นๆ เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ประเภทอาหารและร้านอาหารมีความหลากหลาย ในขณะเดียวกัน สถานการณ์การแข่งขันในตลาดธุรกิจร้านอาหารก็เป็นไปอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการจึงปรับกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น นำเข้าแบรนด์ร้านอาหารใหม่ๆ จากต่างประเทศ ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ร้านอาหาร จัดโปรโมชั่นกระตุ้นการใช้บริการ เป็นต้น โดยมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบความสำเร็จจนกระทั่งเลิกกิจการไป
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2560 สถานการณ์การแข่งขันในตลาดธุรกิจร้านอาหารยังคงเป็นไปอย่างรุนแรงมากขึ้น โดยต้องจับตาตลาดบริการจัดส่งอาหาร (Delivery) ที่ตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขีดความสามารถให้ร้านอาหารทั่วไปสามารถแข่งขันกับเชนร้านอาหาร นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ ทั้งเชนร้านอาหาร และร้านอาหารทั่วไป เผชิญความท้าทายที่แตกต่างกัน โดยยังคงต้องปรับกลยุทธ์อย่างเข้มข้นเพื่อแข่งขันช่วงชิงเม็ดเงินรับประทานอาหารนอกบ้านในปี 2560

สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด Delivery ปี’ 60 เติบโตร้อยละ 11-15 จับตา ร้านอาหารทั่วไปเป็นพันธมิตรกับตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ แข่งขันกับเชนร้านอาหาร
• สั่งอาหารออนไลน์หนุนตลาด Delivery ปี’ 60 เติบโตร้อยละ 11-15 สวนทางภาพรวมธุรกิจร้านอาหารที่เติบโตเพียงร้อยละ 2-4

รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ มีข้อจำกัดด้านเวลา ต้องการความสะดวกสบาย รวมถึงต้องการหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด ส่งผลให้ผู้คนมีแนวโน้มเลือกใช้บริการจัดส่งอาหาร (Delivery) เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการใช้บริการร้านอาหารส่วนใหญ่กระจุกตัวเฉพาะช่วงกลางวัน ช่วงเย็น และในช่วงเทศกาลต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ผู้ประกอบการ ทั้งเชนร้านอาหาร และร้านอาหารทั่วไป จึงหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากบริการ Delivery ด้วยการกระตุ้นการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์
โดยความสะดวกในการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่น ทั้งผ่านช่องทางที่ผู้ประกอบการพัฒนาขึ้นเอง และผ่านตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ น่าจะช่วยหนุนให้เกิดการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และช่วยหนุนให้ธุรกิจร้านอาหารมีรายได้จากบริการ Delivery เพิ่มสูงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดบริการจัดส่งอาหาร หรือ Delivery โดยผู้ประกอบการร้านอาหารในปี 2560 น่าจะมีมูลค่า 26,000-27,000 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 11-15 จากในปี 2559 โดยการเติบโตอย่างโดดเด่นของตลาดบริการ Delivery ในปี 2560 สวนทางกับภาพรวมตลาดธุรกิจร้านอาหารในปี 2560 ที่คาดว่า น่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 2-4 จากในปี 2559
• จับตา ร้านอาหารทั่วไปเป็นพันธมิตรกับตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันกับเชนร้านอาหาร
ในปี 2560 นี้ ผู้ประกอบการ ทั้งเชนร้านอาหาร และร้านอาหารทั่วไป น่าจะหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากบริการ Delivery ด้วยการกระตุ้นให้ลูกค้าสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเข้มข้น โดยเชนร้านอาหารที่มีการพัฒนาช่องทางการสั่งอาหารทางออนไลน์เป็นของตนเอง ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้สามารถขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เชนร้านอาหารก็มีต้นทุนค่าคอมมิสชั่นที่ต้องจ่ายให้ตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ความท้าทายของเชนร้านอาหารน่าจะอยู่ที่การสร้างความสมดุลระหว่างการกระตุ้นให้ลูกค้าใช้บริการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นเอง และตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์
สำหรับร้านอาหารทั่วไปที่ไม่มีช่องทางการสั่งอาหารทางออนไลน์เป็นของตนเอง ส่วนใหญ่จะร่วมมือเป็นพันธมิตรกับตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้า และทำการตลาดร่วมกัน ส่งผลให้ร้านอาหารทั่วไปมีรายได้จากบริการ Delivery เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านอาหารในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ให้บริการครอบคลุม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าตลาดบริการ Delivery โดยร้านอาหารทั่วไปน่าจะขยายตัวอย่างโดดเด่น โดยมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 12 ต่อปี ส่งผลให้สัดส่วนมูลค่าตลาดบริการ Delivery โดยร้านอาหารทั่วไปในปี 2560 คิดเป็นร้อยละ 33 ของมูลค่าตลาดบริการ Delivery โดยรวม เพิ่มสูงขึ้นจากในปี 2557 ที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของมูลค่าตลาดบริการ Delivery โดยรวม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การร่วมมือเป็นพันธมิตรกับตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ร้านอาหารทั่วไปแข่งขันกับเชนร้านอาหาร โดยนอกจากการขยายฐานลูกค้า และการทำการตลาดแล้ว ร้านอาหารทั่วไปยังสามารถใช้ประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะบุคคลของลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาทำการตลาดกระตุ้นการใช้บริการ Delivery สำหรับลูกค้า แข่งขันกับเชนร้านอาหารที่มีการพัฒนาช่องทางการสั่งอาหารทางออนไลน์เป็นของตนเอง นอกจากนี้ ร้านอาหารทั่วไปยังสามารถเพิ่มรายได้จากบริการ Delivery ด้วยการร่วมมือกับตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์จัดโปรโมชั่นร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรโมชั่นเกี่ยวกับค่าบริการจัดส่ง เพื่อกระตุ้นการสั่งอาหารจากลูกค้ากลุ่มที่มองว่าการสั่งอาหารผ่านตัวกลางให้บริการสั่งอาหารออนไลน์มีค่าบริการจัดส่งระดับสูง

ปี’60 ธุรกิจร้านอาหารเผชิญความท้าทาย ยังต้องปรับกลยุทธ์ชิงเม็ดเงินรับประทานอาหารนอกบ้าน
ในปี 2560 ผู้ประกอบการ ทั้งเชนร้านอาหาร และร้านอาหารทั่วไป เผชิญความท้าทายที่แตกต่างกัน โดยยังคงต้องปรับกลยุทธ์อย่างเข้มข้นเพื่อแข่งขันช่วงชิงเม็ดเงินรับประทานอาหารนอกบ้านที่เติบโตเพียงเล็กน้อย
สำหรับเชนร้านอาหารยังคงขยายสาขาอย่างระมัดระวังในปี 2560 โดยเลือกแบรนด์ร้านอาหารอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับทำเลศักยภาพ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การขยายสาขาน่าจะส่งผลให้เชนร้านอาหารสามารถให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุม รวมถึงสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม การขยายสาขาไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของเชนร้านอาหาร น่าจะส่งผลให้ลูกค้ามีแนวโน้มกระจายตัวใช้บริการสาขาใหม่ๆ ที่อาจส่งผลให้รายได้ของสาขาเดิมลดลง หรือเติบโตอย่างชะลอตัวลง
ประกอบกับเชนร้านอาหารให้ความสำคัญกับการขยายสาขาแบรนด์ร้านอาหารระดับกลางเพื่อเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มแมส ที่มีค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารต่อคนยังไม่สูงมากนัก จึงส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อสาขาของเชนร้านอาหารยังไม่สามารถเพิ่มสูงขึ้นได้ สอดคล้องกับข้อมูลของเชนร้านอาหารที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนสาขาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะที่ผ่านมา แต่รายได้เฉลี่ยต่อสาขายังไม่สามารถเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างโดดเด่น
ดังนั้น ความท้าทายในการขยายสาขาของเชนร้านอาหารในปี 2560 จึงอยู่ที่การกระตุ้นยอดขายของสาขาใหม่เพื่อให้สามารถถึงจุดคุ้มทุน ควบคู่กับการรักษาระดับการเติบโตของยอดขายของสาขาเดิม เพื่อให้ยอดขายแต่ละแบรนด์ร้านอาหารเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงมีรายได้เฉลี่ยต่อสาขาของแต่ละแบรนด์ร้านอาหารเพิ่มสูงขึ้น ในภาวะที่มีเชนร้านอาหารรายใหม่ๆ ที่เป็นกลุ่มทุนรายใหญ่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด โดยเชนร้านอาหารยังคงต้องตรึงราคาอาหารไว้ แล้วหันมาตั้งเป้าหมายด้านการเพิ่มรายได้จากการนำเสนอเมนูอาหารใหม่ๆ ควบคู่กับการจัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ามีค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารต่อคนเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับร้านอาหารทั่วไปส่วนใหญ่มีแนวโน้มเลือกเปิดร้านอาหารที่อยู่ในกระแสความนิยมตามกัน ในทำเลเดียวกัน โดยผู้ประกอบการที่เข้าสู่ตลาดรายแรกๆ และร้านอาหารติดตลาดแล้ว ย่อมมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่สูงกว่า ในขณะที่ผู้ประกอบการที่เข้าสู่ตลาดรายหลังๆ ต้องอาศัยการจัดโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า ส่งผลให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความท้าทายในการเข้าสู่ตลาดธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในปี 2560 อยู่ที่การนำเสนออาหารประเภทใหม่ๆ สู่ตลาดเป็นรายแรกๆ ในทำเลที่การแข่งขันยังไม่รุนแรง เพื่อคว้าโอกาสในการเจาะลูกค้ากลุ่มที่นิยมทดลองใช้บริการร้านอาหารใหม่ๆ (เครดิตข้อมูล : Marketeer.co.th/archives/102135)

ปัจจุบันตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ มีผู้เล่นหลักๆ อยู่ 5 รายใหญ่ ได้แก่ Foodpanda, LINE MAN, UberEATS, Grab Bike, และ Ginja แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. ธุรกิจสั่งอาหารโดยตรง มีรายได้จากการเก็บส่วนแบ่งค่าอาหารเป็นเปอร์เซ็นต่จากทางร้านค้า ประเภทนี้ได้แก่ Foodpanda, UberEATS และ Ginja และ 2.เป็นธุรกิจบริการจัดส่งสินค้าอาหาร แต่มีบริการ “ฝากซื้ออาหาร” ด้วย ได้แก่ LINE MAN และ Grab Bike

Foodpanda เป็นรายแรกๆ ที่ลงมาในตลาดก่อน จึงมีพันธมิตรเครือข่ายร้านอาหารมากที่สุดกว่า 1,000 ร้าน รวมทั้งร้านดังๆ ในพื้นที่ และมีพื้นที่ให้บริการที่กว้างขวาง อาทิ กรุงเทพ ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ พัทยา เป็นต้น แต่จะมีเวลาให้บริการเพียงแค่ช่วงเวลา 10.00-23.00 น. โดยสามารถสั่งอาหารได้หลายช่องทาง อาทิ โทรศัพท์, ผ่าน App เว็บไซต์ ส่วนในรายอื่นๆ ที่มาทีหลัง ก็สร้างความแตกต่างด้วยการเพิ่มร้านค้าที่เป็นข้างทางหรือ สตรีทฟู้ดเข้ามาในลิสต์ด้วย และผู้เล่นที่น่ากลัว เมื่อเข้ามาในตลาดก็กลายเป็นเบอร์ 1 ทันทีก็คือ LINE MAN


ถึงมาใหม่แต่พี่ใหญ่สุด LINE Man ฉลอง 1 ปี ด้วยตำแหน่งเบอร์ 1 Food Delivery
ฉลองครบรอบขวบปีแรก สำหรับบริการผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง LINE Man (ไลน์แมน) ที่มีคอนเซ็ปต์นำเสนอบริการหลากหลายเพื่อให้ชีวิตประจำวันของทุกคนสะดวกขึ้น ภายใต้ 4 กลุ่มบริการ ได้แก่ ส่งอาหาร, ส่งของ, ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ และบริการน้องใหม่ส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ โดยเฉพาะบริการส่งอาหารที่ตอนนี้ฮ็อตสุดๆ จนขึ้นแท่นแชมป์ Food Delivery สามารถสร้างเครือข่ายร้านอาหารเจ้าดังได้กว่า 3 หมื่นราย พร้อมจำนวนลูกค้าเฉลี่ย 5 แสนคนต่อเดือน เรียบร้อยโรงเรียนไลน์แมนไปแล้ว
และเมื่อถอดรหัสความสำเร็จแบบเจาะลึกของบริการ Food Delivery แล้ว พบว่ามาจาก 3 ส่วน
1. ผู้ใช้งานที่มีจำนวนมหาศาล ปัจจุบันคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็จถึง 44 ล้านคน และในจำนวนนี้ใช้ LINE ถึง 94% หรือคิดเป็น 41 ล้านราย ก่อนหน้านี้ในประเทศไทยมีผู้ให้บริการเป็นตัวกลางรับ-ส่งอาหารมาแล้ว หลายราย เช่น Zab Delivery, Food Panda แต่ถ้าเทียบการเข้าถึงของผู้ใช้งาน และทำให้การสั่งซื้ออาหารเป็นเรื่องง่ายแล้วละก็ LINE เป็นแพล็ตฟอร์มที่ได้เปรียบในเรื่องนี้
2. พันธมิตรร้านอาหาร ซึ่งมีทั้งร้านขนาดใหญ่ และร้านขนาดเล็กแต่ได้รับความนิยม โดยอาศัยฐานข้อมูลส่วนหนึ่งจาก วงใน (www.wongnai.com) แพล็ตฟอร์มกูรูด้านร้านอาหาร
3. พันธมิตรด้านการส่งสินค้า ที่ได้บริการจัดส่งจากลาล่ามูฟ ที่มีคนขับรถจำนวนมาก เพียงพอกับการบริการ
ไลน์แมนจะเป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับทั้งฝั่งของเจ้าของร้านค้าและลูกค้า รวมทั้งความแตกต่างจาก Food Delivery รายอื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาด ที่ส่วนใหญ่จะเป็นบริการเดลิเวอรี่จากเชนร้านอาหารใหญ่ๆ เท่านั้น แต่สำหรับ ไลน์แมนรวบรวมเครือข่ายร้านอาหารเหล่านี้มาไว้ในบริการเดียว โดยบริการ Food Delivery นี้ เป็นบริการที่ไลน์ ประเทศไทย ค่อนข้างภูมิใจ เพราะเป็นบริการที่คิดค้นโดยประเทศไทย เพื่อลูกค้าคนไทยโดยเฉพาะ
ความนิยมในเรื่องอาหารการกินของคนไทยช่วยผลักดันให้ตอนนี้ไลน์แมนในภาพรวมมียอดผู้ใช้งาน 5 แสนรายต่อเดือน มีอัตราการเติบโตที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นราว 10% ต่อเดือน ทำให้คาดการณ์ว่าภายในปีหน้า ไลน์แมนจะมีผู้ใช้งานทะลุ 1 ล้านราย โดยสัดส่วนบริการของไลน์แมนในตอนนี้แบ่งเป็น เป็นบริการส่งอาหาร 70% โดยอีก 30% จะเฉลี่ยๆ กันไปทั้งบริการส่งของ, บริการฝากซื้อสินค้าจากร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ที่บริการตลอด 24 ชั่วโมง และบริการล่าสุดส่งของผ่านไปรษณีย์ โดยไลน์ได้พันธมิตรอย่าง “อัลฟ่า” ซึ่งมีความแข็งแรงในการส่งพัสดุมาให้บริการ

คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ ไลน์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ร้านอาหารในไลน์แมน ส่วนใหญ่ที่มีเป็นร้านเล็กๆ แต่รสชาติดี เป็นอาหารที่ทุกคนชื่นชอบ เช่น ร้านเจ๊โอ ร้านขนมปังเยาวราช ข้าวมันไก่ประตูน้ำ การเข้ามาของไลน์แมนยังทำให้ภาพรวมธุรกิจ E-Commerce เติบโตเพิ่มมากขึ้น จาก 1% ในปี 2015 เป็น 3.8% ในปี 2016 โดยเฉพาะในกลุ่ม Food Delivery เติบโตมากที่สุดในรอบหลายปี โดยปี 2015 มีการเติบโต 3.7% และเพิ่มเป็น 4.9% ในปี 2016 ซึ่งยังมีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมาก”
นับจากนี้ ไลน์ ประเทศไทย ยังคงพยายามที่จะมองหาบริการใหม่ๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคได้เพิ่มเติมในอนาคต ในรูปแบบ O2O หรือออนไลน์สู่ออฟไลน์ ด้วยความแข็งแรงในการเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีผู้ใช้กว่า 41 ล้านคน ให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่อยู่ในภาคของออฟไลน์ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

การเชื่อมโยงประสบการณ์ O2O นี่ กำลังมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค 4.0 ที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคกำลังเข้าสู่ปรับตัวเข้าสู่การใช้ดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือซื้อขาย และจากตัวเลขที่ไลน์ ประเทศไทยเปิดเผยออกมาในครั้งนี้ ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า บริการของไลน์ อย่างเช่น ไลน์แมน มีส่วนทำให้การค้าขายแบบ E-Commerce เติบโตขึ้นไปด้วย (เครดิตข้อมูล : www.brandbuffet.in.th/2017/06/lineman-1st-year-anniversary/






อันดับที่ 2 ถ้าตรรกะ Content is King ในอุตสาหกรรมบันเทิงทั่วโลกมีจริง แล้วในไทย ใคร? คือ King of Content ผู้ครองความเป็นที่ 1 อย่างแท้จริง

ในยุคฟรีทีวีอนาล็อก (3,5,7,9,11 TPBS) จะเห็นว่าไม่มีบริษัทใด บริษัทหนึ่งโดดเด่นเป็นจ้าวแห่งคอนเท้นต์ หรือจ้าวแห่งรายการทีวีอย่างถาวร แต่ก็จะมีบริษัทใหญ่ๆ ที่ผลิตรายการโทรทัศน์ป้อนทีวีทุกช่อง หลักๆ ก็จะมีอยู่ 4-5 บริษัทคร่าว อาทิ เจเอสแอล,กันตนา,แกรมมี่,เวิร์คพ้อยท์,มีเดียส์ออฟมีเดีย,บีอีซี เทโร,แฮ็ปอะกู๊ดดรีม,เซิร์ส เอ็นเตอร์เทน ฯลฯ แต่พอก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลแล้ว ผู้เล่นที่เป็นผู้แข่งขันในด้านคอนเท้นต์รายใหญ่กลับ scope ลงเหลือไม่กี่เจ้า แต่เป็นเจ้าที่ใหญ่จริง และแข่งกันในระดับเป็นเจ้าของช่องทีวีเป็นของตัวเอง และมีสื่อในมือที่สามารถฟาดฟันกันได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาสถานีโทรทัศน์ของคนอื่น หรือพูดง่ายๆ ไม่ต้องไปอยู่ภายใต้ร่มเงาของช่องใหญ่ (ช่อง3,7) อีกต่อไป
เรากำลังพูดถึง GMM grammy VS Workpoint Entertainment เป็นหลัก ซึ่งมีสถานีโทรทัศน์เป็นของตนเองแล้วในเวลานี้ ซึ่งอดีตเคยเป็นผู้ผลิตคอนเท้นต์หรือรายการโทรทัศน์ป้อนทีวีช่องหลักมาก่อน (ขอตัด กันตนา,เจเอสแอล ออกไปก่อน เพราะไม่มีสถานีโทรทัศน์เป็นของตนเองและไม่ได้เชี่ยวชาญ social media เทียบเท่า 2 บริษัทยักษ์ใหญ่) ส่วนมีเดียส์ออฟมีเดีย และบีอีซีเทโร ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า เขาเป็นบริษัทลูกของช่อง 7,3 ที่ทำรายการโทรทัศน์ป้อนให้กับสถานี แต่ก็มีศักยภาพที่อยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศเช่นกัน อีกทั้งคอนเท้นต์ที่ผลิตก็มีกระแส และเรตติ้งอยู่ในระดับนำด้วย แต่ทว่า ที่ไม่นำมาเป็นมวยคู่เอกในการเปรียบเทียบว่าใครเป็นที่ 1 หรือ King of Content ก็เนื่องจากมีปัจจัยหรือเกณฑ์ที่นำมาพิจารณาหลายข้อแล้ว ตัดเกณฑ์แล้วเขาสู้ GMM grammy กับ Workpoint ไม่ได้

เกณฑ์หรือปัจจัยในการพิจารณาหาว่าใครคือ King of Content

1.มีสถานีโทรทัศน์เป็นของตนเอง หรือใบอนุญาติสัมปทานกระจายเสียงและคลื่นความถี่โทรทัศน์
2.มีทีมงาน,บุคลากร ทีมงานเบื้องหลังในระดับครีเอทีฟชั้นนำระดับประเทศอยู่ในเครือข่ายจำนวนมาก รวมถึงศิลปิน นักแสดง ที่อยู่ในสังกัดเป็นของตนเอง รวมทั้งมีสตูดิโอถ่ายทำเป็นของตนเอง
3.มีผลงาน,พอร์ตโฟลิโอ ด้านรายการโทรทัศน์,รายการละคร,ภาพยนตร์,ผลงานเพลง,วาไรตี้โชว์,เกมส์โชว์,เรียลลิตี้โชว์,สารคดี,การแข่งขันกีฬา,คอนเสิร์ต,การแสดง ผลิตเองหรือนำเข้าจากต่างประเทศ
4.มีทุนจดทะเบียนบริษัทมูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาท (หรือเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ)
5.ผลงานของบริษัทเคยได้รับรางวัลการันตี จากเวทีแจกรางวัลระดับนานาชาติ อาทิ Asian TV Award หรือมีผลงานได้รับรางวัลจากเวที,สถาบันรางวัลภายในประเทศอย่างสม่ำเสมอ อาทิ โทรทัศน์ทองคำ ,เมขลา, ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ด, นาฏราช, คมชัดลึกอวอร์ด เป็นต้น



เทียบฟอร์ม แกรมมี่ VS เวิร์คพ้อยท์ ใครเป็นผู้นำในด้านอะไรบ้าง
กีฬา : น้ำหนักเท่ากัน (เวิร์คพ้อยท์,แร็บบิท ในเครือแกรมมี่)
สารคดีปกิณกะ : แร็บบิท ในเครือแกรมมี่
ข่าว : ข่าวเช้าช่อง ONE,ข่าววันศุกร์,อีเอฟเอ็มนิวส์ แกรมมี่
ละคร : เอ็กซ์แซ็กท์,วันเอ็นเตอร์ไพร์ซ (เครือแกรมมี่)
ซิทคอม : น้ำหนักเท่ากัน ตลก 6 ฉาก,ระเบิดเถิดเทิง,เป็นต่อ,เสือชะนีเก้ง (เวิร์คพ้อยท์,ซีนาริโอ้ ในเครือแกรมมี่)
ซีรีส์ : คลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์,จีเอ็มเอ็มทีวี,บราโว่,นาดาว (เครือแกรมมี่)
คอมเมดี้ : จำอวดหน้าม่าน-หน้าจอ, ช่วงละครตลกในชิงร้อยชิงล้าน  เวิร์คพ้อยท์
ภาพยนตร์ สตูดิโอ : ฉลาดเกมส์โกง  GDH 559 (เครือแกรมมี่) 
แอนิเมชั่น : น้ำหนักเท่ากัน ยักษ์ vs เบิร์ดแลนด์แดนมหัศจรรย์ (เวิร์คพ้อยท์,แกรมมี่)
ละครเวที : รัชดาลัย เธียเตอร์ เครือซีนาริโอ้  (เครือแกรมมี่)
งานเพลง : ไวท์มิวสิค,แกรมมี่โกลด์,จีนี่เรคคอร์ด,มิวสิคครีม ในเครือแกรมมี่
งานแสดง,งานโชว์,คอนเสิร์ต : เอไทม์โชว์บิซ,เกเร,เอ็กซ์แซ็กท์และซีนาริโอ ในเครือแกรมมี่
ช่องทางวิทยุ :  เอไทม์มีเดีย  ในเครือแกรมมี่
ช่องทางทีวีดิจิตตอล  :   เวิร์คพ้อยท์ทีวี
ควิซโชว์ : ปริศนาฟ้าแลบ ,แฟนพันธุ์แท้ (super fan) เวิร์คพ้อยท์
เกมส์โชว์ : เกมจารชน, เวทีทอง เวทีเธอ เวิร์คพ้อทย์
ประกวดร้องเพลง,เรียลลิตี้โชว์ : เวิร์คพ้อยท์ (ไมค์หมดหนี้,The Mask Singer)
เรียลลิตี้เกมส์ : เวิร์คพ้อยท์ (Let me in Thailand)
ทอล์คโชว์ : ทอล์คกะเทยทูไนท์,คลับฟรายเดย์โชว์,คุยแซ่บโชว์ แกรมมี่
วาไรตี้โชว์ : เท่งโหน่งวิทยาคม,ชิงร้อยชิงล้าน,I can see your voice,คุณพระช่วย เวิร์คพ้อยท์
รายการเด็ก : ซุปเปอร์เท็น,สมอลล์ทอล์ค เวิร์คพ้อยท์
พิธีกร : น้ำหนักเท่ากัน (ปัญญา,กันต์,เสนาลิง,ป๋อมแป๋ม,พี่อ้อยพี่ฉอด,เกลือ กิตติ)
นักแสดง,ทีมงานเบื้องหลัง น้ำหนักเท่ากัน (เวิร์คพ้อยท์,แกรมมี่)
ปริมาณแฟนคลับโซเชียลมีเดีย : น้ำหนักเท่ากัน 10 ล้านวิวในยูทูป (แกรมมี่,เวิร์คพ้อยท์)
ความเชี่ยวชาญสื่อโซเชียลมีเดียยุคใหม่ (ยูทูป,เฟซบุ้ค,ทวิตเตอร์,ไอจี) และจำนวนผู้ติดตาม เวิร์คพ้อยท์ ชาแนล
ความเชี่ยวชาญสื่อโซเชียลยุคเก่า (พันทิป,เด็กดี,สนุก,เอ็มไทย,กระปุก) แกรมมี่

ผลงานในปีนี้ของ แกรมมี่ vs เวิร์คพ้อทย์ ที่โกอินเตอร์

-แกรมมี่ GMM Grammy
ค่ายจีเอ็มเอ็มทีวี ส่งออกซีรีส์ U-Prince, Sotus ,Secret Seven, Kiss ,Lovey Dovey,รุ่นพี่ Secret Love (My Lil Boy) ,Puppy Honey , Slam Dance ทุ่มฝันสนั่นฟลอร์, My Dear Loser etc.
ค่ายนาดาว ส่งออกซีรีส์ I hate you,I Love you, S Project The Series
ค่ายบราโว่ ผลิตซีรีส์ Half World Season 2 ป้อนช่อง HBO
ค่ายเอ็กซ์แซ็กท์ (ช่อง one) เกมมายา,เธอคือพรหมลิขิต
ค่ายจีดีเอช559 Bad Genius The Movie ฉลาดเกมส์โกง (เรื่องนี้ทำรายได้ทั่วเอเชียเกิน 1,000 ล้าน และเดินสายกวาดรางวัลในระดับเทศกาลภาพยนตร์ และนานาชาติ ,The Promise The Movie เพื่อนที่ระลึก
ค่ายซีนาริโอ,ค่ายจีดีเอช559   KAAN Show, Ong Bak Show

-เวิร์คพ้อยท์ Workpoint Entertainment
ส่งออก/ขายรายการเกมส์โชว์ ออกต่างประเทศได้แล้ว (ข้อมูลปี 2559)
ได้แก่ ปริศนาฟ้าแลบ,ตลก 6 ฉาก,ราชรถมาเกย,ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวๆๆ,แก๊งค์นมกล่อง,หลานปู่กู้อีจู้,สายลับจับแกะ,ซุปเปอร์มวยไทย




'เวิร์คพอยท์' ขายลิขสิทธิ์นำร่อง ปูทางผลิตคอนเทนต์ตลาดตปท.
กว่า 26 ปี ในฐานะบริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์รายการวาไรตี้และเกมโชว์อันดับ 1 ของประเทศ สู่การขึ้นเป็นบริษัทที่มีสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศในระบบดิจิตอล ภายใต้ชื่อ "ช่อง Workpoint" เมื่อปี 2558 พร้อมกับการลดจำนวนการผลิตรายการให้กับช่องอื่นลง เหลือเพียงรายการ Thailand Got Talent ซีซั่น 6 ออกอากาศทางช่อง 3 เพียงรายการเดียวเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา หลังจากนั้น บริษัทยังคงรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์อยู่ โดยจะมีลักษณะเป็นการรับจ้างผลิต รายการที่ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ เช่น รายการ Bao Young Blood, เซียนนักซื้อ และ SMEs ตีแตก ส่วนรายการที่ออกอากาศในช่องอื่นในปี 2559 มีจำนวน 1 รายการ คือ Thailand Got Talent ซีซั่น 6 ทางช่อง 3 เท่านั้น
ปัจจุบัน เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ มุ่งผลิตคอนเทนต์ป้อนให้กับช่องทีวีดิจิตอลของตัวเองเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นรายการประเภทวาไรตี้ ควิซโชว์ เกมโชว์ และ เรียลลิตี้โชว์ เป็นรายการที่มุ่งเน้นให้ผู้ร่วมรายการและผู้ชมรายการได้รับทั้งความบันเทิงและสาระ โดยการสอดแทรกเนื้อหา แง่คิดและความรู้ต่างๆ ไว้ในรายการ ผ่านคำถามที่ถามผู้เล่นเกม หรือการสัมภาษณ์ผู้ร่วมรายการหรือวิทยากรรับเชิญ โดยผู้ชมรายการโทรทัศน์จะได้รับทั้งสาระและความบันเทิงผ่านการนำเสนอที่หลากหลาย สนุกสนาน เช่น รายการไมค์ทองคำ, ปริศนาฟ้าแลบ, ซูเปอร์หม่ำ, ชิงร้อยชิงล้าน ว้าวว้าวว้าว, สายลับจับแกะ, แก๊งนมกล่อง, ลักกี้ นัมเบอร์, คนอวดผี เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีละคร และซิทคอม ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ หากเป็นซิทคอมก็จะเป็นแนวสนุกสนาน เลือกที่จะมองชีวิตมนุษย์ในแง่ขบขัน ถ้าเป็นละคร ทางบริษัทจะเน้นบทประพันธ์ที่มีความแตกต่างจากช่องอื่นๆ โดยจะเน้นความสมจริง เสนอแง่มุมแตกต่าง เพื่อสร้างความหลากหลายและเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ชม เช่น เกมริษยา, 7 วัน จองเวร และดอกไม้ลายพาดกลอน รวมทั้ง ยังผลิตรายการข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งข่าวอาชญากรรม เศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมทั้ง กีฬา ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย เช่น ข่าวมื้อเช้า, ข่างเปรี้ยงเที่ยงตรง และคุยข่าวรอบวัน
"คุณธนศักดิ์ หุ่นอารักษ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการผลิตธุรกิจ บริษัท เวิร์คพอยด์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด เปิดเผยถึงการต่อยอดคอนเทนต์ของเวิร์คพอยท์ว่า "ในช่วงที่ผ่านมา เวิร์คพอยท์ฯ ได้รับรางวัลจากงาน Asian Television Awards ทั้งหมด 50 รางวัล เป็นรางวัลชนะเลิศ 18 รางวัล โดยในปีที่ผ่านมา เราได้รับมา 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล Asian Television Awards 2016 for Best Comedy Programme สำหรับรายการระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้, รางวัล Asian Television Awards 2016 for Best Entertainment Presenter / Host สำหรับคุณปัญญา นิรันดร์กุล และรางวัล Asian Television Awards 2016 for Highly Commended Best Game or Quiz Programme สำหรับรายการปริศนาฟ้าแลบ รวมทั้ง เรายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอ็มมีซึ่งเป็นรางวัลทางโทรทัศน์ที่พิจารณาผู้ทำงานด้านโทรทัศน์ เทียบเท่าได้กับรางวัลออสการ์ของทางฝั่งภาพยนตร์ ถึง 3 ครั้ง เพราะฉะนั้น เรามีฐานในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ความคิดสร้างสรรค์อยู่ ทำให้กลยุทธ์การบุกตลาดต่างประเทศจึงถูกสร้างขึ้นภายใต้แบรนด์ "เวิร์คพอยท์"

ปัจจุบัน เวิร์คพอยท์ฯ ขายลิขสิทธิ์ผ่านรายการแล้วประมาณ 23 รายการ ทั้งในรูปแบบรายการ (Format) และเทปรายการ (Finished Program) เช่น ตลกหกฉาก, ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว, แก๊งนมกล่อง, หลานปู่กู้อีจู้, เกมริษยา, ดอกไม้ลายพาดกลอน, ราชรถมาเกย, หน้ากากนางเอก, ซูเปอร์มวยไทย, สายลับจับแกะ เป็นต้น จำนวนกว่า 10 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อังกฤษ, สวีเดน, เปรู, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา และอิตาลี โดยเริ่มออกขายลิขสิทธิ์ในตลาดต่างประเทศมาประมาณ 3-4 ปี ซึ่งมองเห็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ ในปี 2559 เวิร์คพอยท์ฯ ทำรายการได้มากกว่า 17 ล้านบาท โตขึ้นจากปี 2558 ประมาณ 10% ในปี 2560 คาดว่าเราจะเติบโตขึ้นอีกประมาณ 20% อันเป็นผลของการออกบูธตลาดใหญ่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 ตลาดมาเป็น 5 ตลาด ได้แก่ NATPE Miami ประเทศสหรัฐอเมริกา, World Content Market ประเทศรัสเซีย, MIP Cancun ประเทศเม็กซิโก, MIPCOM ประเทศฝรั่งเศส และ Asia TV Forum & Market ประเทศสิงคโปร์ รวมทั้ง ยังมีอีกหลายคอนเทนต์ที่ยังอยู่ในช่วงเจรจา

สำหรับการขายลิขสิทธิ์รายการในต่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจใหม่ที่เรามองเห็นโอกาสที่มีรายได้เข้ามาในอนาคต และถือเป็นใบเบิกทางนำสู่โอกาสดีต่างๆ ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งหากพิจารณาในแต่ละก้าวของเวิร์คพอยท์ฯ เราคือผู้ผลิตรายการที่มีคุณภาพ และสร้างสรรค์ ก้าวต่อมาคือ การต่อยอด โดยการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างๆ เพื่อออกอากาศในต่างประเทศ หรือผลิตในรูปแบบของแต่ละประเทศ และก้าวต่อไปคือ เราเห็นโอกาสในการร่วมผลิตกับสถานีโทรทัศน์ในต่างประเทศ ดังนั้น การขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์จึงเป็นใบเบิกทางเพื่อนำไปสู่โอกาสต่างๆ ที่จะเข้ามาอีกมากมาย เพราะหากคุณไม่นำรายการออกสู่ตลาดได้ทำความรู้จักแล้ว เขาจะไม่รู้จักตัวคุณด้วยเหมือนกัน ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 ปี อาจจะได้เห็นความร่วมมือ โดยขณะนี้มีประเทศทั้งในแถบเอเชีย และอเมริกา ให้ความสนใจ

จุดเด่นสำหรับเวิร์คพอยท์ฯ ทำให้ได้รับการยอมรับและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ คอนเซ็ปต์รายการ คุณภาพของรายการนั้นๆ อาทิ ไมค์ปลดหนี้ เป็นรายการที่มีความแตกต่างจากรายการประกวดร้องเพลงในตลาดคอนเทนต์ค่อนข้างเยอะ นี่คือความน่าสนใจ ข้อแรกคือ นักร้องเสียงคุณภาพ สองเป็นรายการที่ให้โอกาสหรือพลิกชีวิตคน นั่นคือ การปลดหนี้ โดยในแต่ละประเทศมีคนที่มีพรสวรรค์และขาดโอกาสเช่นเดียวกัน ซึ่งนี่คือจุดหลักของไมค์ปลดหนี้ที่ได้รับการยอมรับในหลายๆ ประเทศ
ปริศนาฟ้าแลบ เป็นรายการเกมโชว์ที่มีความผสมผสานกับธีมปาร์ค ขณะที่ผู้แข่งขันตื่นเต้นกับโรลเลอร์โคสเตอร์ ผู้แข่งขันก็ตองรวบรวมสติเพื่อตอบคำถามในเวลาเดียวกัน และคำถามในรายการปริศนาฟ้าแลบ ไม่ใช่คำถามวิชาการ แต่เป็นคำถามสนุกสนาน ทำให้อเมริกาสนใจ ดังนั้น พื้นฐานของรายการวาไรตี้และเกมโชว์ทั่วโลกจะเหมือนกัน คือ ความรู้ กับความสนุก แต่การนำเสนอเป็นข้อแตกต่างของแต่ละบริษัทที่จะต้องคิดและนำเสนอ นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า เวิร์คพอยท์ฯ มีความคิดสร้างสรรค์และแตกต่าง  ทั้งนี้ คอนเทนต์จากตลาดไทยในตลาดโลก ถือได้ว่าได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดเอเชีย หากเจ้าของลิขสิทธิ์รายการรุกตลาดต่างๆ มากขึ้น ผมเชื่อว่าเขาสามารถเติบโตได้ โดยเรามีคู่แข่งในตลาดเอเชียคือประเทศเกาหลี, ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นจะแข็งแรงเรื่องรูปแบบรายการ (Format) เพราะเขาอยู่ในตลาดมากว่า 10 ปี ส่วนประเทศมาเลเซีย จะแข็งแรงเรื่องซีรีส์ เพราะใช้ภาษาเดียวกันกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเซีย แต่อย่างไรก็ตาม การได้รับการยอมรับในตลาดยุโรปและอเมริกา ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเรา เนื่องจากเราต้องท้าทายกับรสนิยมของผู้ชม และรูปแบบรายการให้ตรงกับรสนิยมหรือพฤติกรรมของคนดู เพราะอเมริกาเชื่อมั่นว่าเขาคือต้นฉบับในการคิดรายการ ดังนั้นการจะพิจารณาความคิดสร้างสรรค์ของรายการเอเชีย เขาจะพิจารณาแล้วพิจารณาอีก มีเรื่องของรสนิยมของคนในอเมริกาซึ่งไม่ตรงกับเอเชีย ความแตกต่างของรูปแบบเกมที่มีความแตกต่างจากรูปแบบเกมที่มีในประเทศอเมริกามากหรือไม่ ดังนั้น จึงมีไม่มากสำหรับรายการฟอร์มแมตจากต่างประเทศที่จะเข้าไปอยู่ในตลาดยุโรปและอเมริกา ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถขยายโอกาสไปได้เรื่อยๆ อย่างในแถบยุโรปเราเริ่มต้นจากรายการแฟนพันธุ์แท้ในประเทศสวีเดน เมื่อ 3-4 ปีก่อน ตามมาด้วยแฟนพันธุ์แท้ในประเทศอังกฤษ และเมื่อปีที่ผ่านมา รายการซูเปอร์มวยไทยก็ออกอากาศในประเทศฝรั่งเศส และจะมีเพิ่มเติมอีกรายการคือรายการสายลับจับแกะ ที่ประเทศอิตาลี
ในส่วนของตลาดในภูมิภาคเอเชีย ตลาดหลักเราจะอยู่ที่ประเทศเวียดนาม โดยมี 4 รายการที่ได้ทำการซื้อไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ รายการ ตลกหกฉาก, ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว, แก๊งนมกล่อง และหลานปู่กู้อีจู้ รายการชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากหลังจากออกอากาศ และกำลังจะมีซีซั่น 2 คาดว่าปลายปีนี้จะเริ่ม และกำลังเจรจาอีก 1 รายการ ส่วนละคร ได้แก่เรื่อง ดอกไม้ลายพาดกลอย, เกมริษยา, ซิทคอม Love Blood นอกจากนี้ เรากำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับตลาดจีน โดยเรากำลังเจรจากับสถานีโทรทัศน์ในประเทศจีนรวมถึง ผู้จัดจำหน่ายด้วย เพื่อเข้าไปบุกตลาดนี้ ดังนั้น ถือได้ว่าเรามีตลาดครอบคลุมทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ (เครดิตข้อมูล : หน้าเพจ workpoint.co.th)

‘GMMTV’ มาแรง!! ส่งออกซีรีส์ไทยทั่วเอเชีย อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.komchadluek.net/news/ent/265178 เรียกว่าตอนนี้กำลังรุ่งพุ่งแรง สำหรับ “จีเอ็มเอ็ม ทีวี” ที่กับการผลิตซีรีส์ไทย เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จเป็นพลุแตกใน ในประเทศไทย และล่าสุดก็ดังไกลไปยังต่างแดน โดยเฉพาะในพื้นที่เอเชีย โดย “ถา” สถาพร พานิชรักษาพงศ์ ผู้บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี ได้เผยกับ “บันเทิง คมชัดลึก” ถึงการลุยตลาดเอเชียของซีรีส์ไทยให้ฟังว่า “ปีนี้เราทำซีรีส์มากกว่าปีที่แล้ว จริงๆ เราเตรียมไว้ประมาณ 7 เรื่อง แต่เอามาเปิดตัวแค่ 6 เรื่อง อีกเรื่องหนึ่ง จะตามออกมาเร็วๆ นี้ ซึ่งก็เป็นซีรีส์วัยรุ่น ที่ปีนี้เราผลิตผลงานออกมาเยอะ เพราะด้วยปีที่แล้ว ผลงานที่เราทำออกมา ได้รับการตอบรับดีมาก 5 เรื่องของเรา ถือว่าประสบความสำเร็จทั้งหมด ปีนี้เราเลยขยายกำลังการผลิตเพิ่ม อย่างปีที่แล้วกระแสตอบรับไม่ใช่แค่ในประเทศไทยอย่างเดียวด้วย ตอนนี้เราก็มีการเปิดตลาดต่างประเทศด้วย พูดง่ายๆ อย่างโซตัส เดอะซีรีส์ ดังไปไกลมาก ประเทศทีขอแฟนมีทติ้งของนักแสดงโซตัสฯ ไม่ใช่ประเทศจีนเท่านั้น แต่ยังมีเกาหลีใต้ กัมพูชา และยังมีอีกหลายประเทศในเอเชีย โดยหลังจากนี้เราจะมีแฟนมีททัวร์ทั่วประเทศ เริ่มต้นที่กทม. แล้วไปต่างจังหวัด และไปต่างประเทศอีก ซึ่งซีรีส์เรื่องนี้ จบไปพักใหญ่แล้ว แต่กระแสยังไม่จบ พอเราประกาศว่าเราทำซีซั่น 2 โซตัส เอส เดอะซีรีส์ ก็ยิ่งทำให้กระแสต่อเนื่องไปถึงปลายปีเลย ก็เลยทำให้ ”คริส“ (พีรวัส) และ ”สิงโต“ (ปราชญา) รวมถึงนักแสดงในเรื่อง ได้ต่อยอดไป สามารถทำให้คนดูได้เห็นเขาต่อเนื่องไปจนกว่า ซีรีส์ซีซั่น 2”ถากล่าว กลัวเรื่องอาถรรพ์ภาค 2 ไหม เพราะคนมักจะบอกว่าภาค 2 จะเปรี้ยงสู้ภาคแรกไม่ได้ “ไม่กลัวนะ เพราะว่าถ้าเรามองในแง่ดี เมื่อภาคแรกมันดังไปแล้ว เราก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปแล้ว ภาค 2 จะดังยังไงก็คงไม่แย่ไปกว่าภาคแรก ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเลือกว่าภาคแรกไม่ดัง แล้วไม่มีภาค 2 สู้เราเลือกภาคแรกดัง แล้วภาค 2 จะยังไงค่อยว่ากันดีกว่า” มองเรื่องของตลาดซีรีส์ไทยในต่างประเทศไว้ยังไง “จริงๆ ตอนนี้ซีรีส์ของเราขายหมดแล้วในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดใหญ่อย่างจีน อย่างรักนะเป็ดโง่ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ก็ขายได้ หรือจะเป็นยู-พริ๊นท์เองก็ขายไปแล้ว อย่างในประเทศกัมพูชาเหมาเราทุกเรื่องนะตอนนี้” สถาพรกล่าวปิดท้าย (เครดิตข้อมูล : คมชัดลึกออนไลน์)

HBO สหรัฐอเมริกา เลือกซีรีส์ผลงานคนไทย เป็น “BEST OF HBO INTERNATIONAL” [PR]
เป็นปลื้มแทน เอกชัย เอื้อครองธรรม ครีเอเตอร์บอสใหญ่แห่งค่ายสร้างคอนเท้นท์ GMM Bravo และผู้กำกับไทยคนแรกที่ได้กำกับซีรีส์ของเอชบีโอ (HBO) เมื่อทราบข่าวว่า “HALFWORLDS 2” ซีรีส์ฝีมือคนไทยที่เขากำกับและเป็นผู้อำนวยการสร้างร่วมให้เอชบีโอ เอเชีย (HBO Asia) ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในซีรีส์ชุด “BEST OF HBO INTERNATIONAL” ซึ่งเอชบีโอ สหรัฐอเมริกา (HBO U.S.) จะออกอากาศให้คนในอเมริกาและทั่วโลกได้ชมผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง และ VOD ทั้งหมดของเอชบีโอ (HBO) โดยเริ่มธันวาคมนี้ ถือเป็นปรากฎการณ์ครั้งแรกที่เอชบีโอ (HBO) ได้ประกาศปล่อย Original Content ที่สร้างโดยบริษัทในเครือนอกอเมริกาผ่านแพลตฟอร์มทั้งหมด โดย เอชบีโอ (HBO) ยังประกาศด้วยว่าจะลงทุนให้เอชบีโอ เอเชีย (HBO Asia) สร้างออริจินัลคอนเท้นท์ (Original Content) เพิ่มอีกด้วย

เอกชัย เอื้อครองธรรม เปิดเผยว่า “สำหรับผม การได้มีโอกาสร่วมงานกับเอชบีโอในระดับเอเชียถือเป็นความภูมิใจมากอยู่แล้วครับ และการที่ผลงานของผมยังได้รับการคัดเลือกจากเอชบีโอ สหรัฐอเมริกา ให้เป็นหนึ่งในซีรีส์ที่เอชบีโอจะนำไปออกอากาศผ่านทุกแพลตฟอร์มของเอชบีโอในอเมริกาและทั่วโลก ยิ่งทำให้รู้สึกดีใจมากครับ เบื้องหลังความสำเร็จนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ผม แต่เป็นทีมงานคนไทย ไม่ว่าจะเป็น ตากล้อง โปรดักชั่นดีไซเนอร์ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ผู้ออกแบบคิวแอ็คชั่น และนักแสดงคนไทยทุกคนที่ได้ร่วมกันสร้างงานซีรีส์เรื่องนี้ ถือว่าครั้งนี้เป็นอีกความสำเร็จของคนไทยที่เอชบีโอเล็งเห็นว่าคุณภาพงานของเรามีศักยภาพทัดเทียมระดับโลก และเป็นนิมิตหมายที่ดีของอุตสาหกรรมสร้างคอนเท้นท์ของประเทศไทย เนื่องจากในขณะนี้ตลาดโลกเริ่มให้ความสนใจอินเตอร์เนชั่นแนลซีรี่ส์ (International Series) มากขึ้นอีกด้วยครับ” (เครดิตข้อมูล : ฺฺBrandbuffet.in.th)

การที่เวิร์คพ้อยท์กับแกรมมี่ ต่างบลั๊ฟกันว่าตนเองเป็นเจ้าบันเทิง มียอดวิวเพจในยูทูป ถึง 10 ล้านวิว ในชาแนลของตนเอง ก่อนเป็นเจ้าแรกในอาเซียน ซึ่งผู้เขียนไม่ได้มองเป็นสาระสำคัญ เพราะต้องดูผลงานในอดีต ปัจจุบันและอนาคต รวมถึงศักยภาพของทีมงาน และปัจจัย 5 ข้อ รวมถึงการยอมรับในระดับสากลด้วย 

ถ้าดูผลงานเฉพาะในปีนี้ (2560) โดยรวม ก็ต้องถือว่า ผลงานของ GMM grammy โดดเด่นกว่าทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ และการยอมรับในระดับ International ในหลายๆ ผลงาน แต่หากนับผลงานในอดีตในช่วง 3-4 ปีย้อนหลัง ก็ถือได้ว่า Workpoint โดดเด่นกว่า ปีนี้จึงจำยอมยกตำแหน่ง King of Content ให้กับ GMM grammy เหนือกว่า Workpoint อยู่ติ่งนึง (เส้นยาแดงผ่าแปด) ในมุมมองของเพจหยิกแกมหยอก
อ่านบทความประกอบตามลิ้งค์นี้ https://www.marketingoops.com/…/interview-exc…/grammy-music/
และ https://positioningmag.com/1143128

บทความ 10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2017 โดย เพจหยิกแกมหยอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น