วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2017 (อันดับที่ 1)



อันดับที่ 1 แคมเปญการตลาดเพื่อการกุศล “โครงการก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาล”

โครงการก้าวคนละก้าว เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีก่อน “ตูน”ได้ย้ายมาอยู่บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยปี 2559 นายแพทย์ เชิดชาย ชยวัฑโฒ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพาน ได้เชิญตูนมาร่วมงานวิ่งการกุศล เพื่อนำเงินบริจาคที่เหลือมาซื้ออุปกรณ์การแพทย์ที่ขาดแคลน

จุดริ่มต้นโครงการ “ก้าวคนละก้าวเพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน”
โดย ตูน บอดี้สแลม ได้ทำการระดมทุนด้วยการวิ่งระยะไกล เริ่มต้นจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ถึง โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร ซึ่งก้าวเล็ก ๆ ของคนไทยสามารถระดมเงินได้ถึง 85 ล้านบาท และเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยลุกขึ้นมาออกกำลังกายด้วยการวิ่งจนฮิตเป็นกระแสไปทั่วประเทศ

แต่ปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยไม่ได้หยุดอยู่ที่ รพ.บางสะพาน ยังมีอีกหลายโรงพยาบาลที่เดือดร้อน และต้องการความช่วยเหลือ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาคนไข้ให้เพียงพอต่อความความต้องการที่มากขึ้นในทุก ๆ วัน เสียงเรียกร้องขอความช่วยเหลือจึงส่งกันมาถึงตูน บอดี้สแลม และทีมงาน “ก้าวคนละก้าว” อย่างไม่ขาดสาย

แต่จะทำอย่างไรที่จะส่งความช่วยเหลือไปให้แต่ละโรงพยาบาลให้ได้มากที่สุด ตูน จะต้องวิ่งไกลแค่ไหนถึงจะระดมทุนให้โรงพยาบาลที่เดือดร้อนได้เพียงพอ?

ตูน เริ่มจากการนำข้อมูลที่ได้จากกิจกรรม #ก้าวคนละก้าว ครั้งที่แล้ว มาทำการวิเคราะห์ และพบว่าหนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจคือการระดมทุนช่วยเหลือแก่ “โรงพยาบาลศูนย์” ซึ่งเป็นเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ซึ่งต้องรับหน้าที่เป็น “ศูนย์กลางการรักษาให้จังหวัดใกล้เคียง” ในการส่งเคสการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนมาให้ ซึ่งตูนเชื่อว่า การระดมทุนเพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลศูนย์ต่าง ๆ ทั่วประเทศจะเป็นวิธีการบริจาคที่สามารถกระจายความช่วยเหลือได้กว้างที่สุด

ตูน จึงเดินทางไปกระทรวงสาธารณะสุข โดยได้เข้าพบ นายแพทย์ โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อปรึกษาถึงข้อมูลและความเป็นไปได้ในการทำกิจกรรมวิ่งระดม “ก้าว” ครั้งใหม่และได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งนั่น คือ รายชื่อของโรงพยาบาลศูนย์ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้

ตูน ได้ออกเดินทางไปเยี่ยมโรงพยาบาลประจำจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตั้งแต่ภาคใต้จรดภาคเหนือ เพื่อรับรู้ถึงความเดือดร้อนของโรงพยาบาลต่าง ๆ ด้วยตนเอง และได้ทำการเลือกโรงพยาบาลที่จะทำการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้จำนวน 11 โรงพยาบาล ดังนี้
1.โรงพยาบาลยะลา
2.โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
3.โรงพยาบาลราชบุรี
4.โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
5.โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี
6.โรงพยาบาลขอนแก่น
7.โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
8.โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
9.โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
10.โรงพยาบาลน่าน (ไม่ใช่โรงพยาบาลศูนย์แต่อยู่ในพื้นที่พิเศษห่างไกลจากตัวเมือง)
11.โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
และด้วยจำนวนโรงพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น เงินที่ต้องการก็มากขึ้น กิจกรรมการวิ่งเพื่อระดมทุนครั้งนี้จึงถูกออกแบบให้มีระยะทางไกลขึ้น นานขึ้น โดยยังไม่เคยมีสถิติว่ามีคนไทยคนไหนสามารถวิ่งได้มาก่อน

การลงทุนวิ่งครั้งนี้"ตูน"ได้อะไร?

“จากสุดเขตแดนใต้ Red Zone สู่สูงสุดแดนสยาม”
โดยมีจุดเริ่มต้นจากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รวมระยะทาง 2,191 กิโลเมตรซึ่งควบคุมดูแลการวิ่งโดยผู้เชี่ยวชาญและคณะแพทย์ที่จะตรวจเชคสภาพร่างกายของตูน ในทุก ๆ วัน เพื่อความปลอดภัย
การวิ่งเริ่มต้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และวิ่งติดต่อกัน 4 วันพัก 1 วัน และจะสิ้นสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 25 ธันวาคม 2560 รวมระยะเวลา 55 วัน
จำนวนเงินบริจาค ที่ตูน บอดี้สแลม และทีมงานก้าวคนละก้าว ตั้งเป้าหมายไว้คือ 700 ล้านบาท (เจ็ดร้อยล้านบาท) โดยตูน มีความเชื่อว่า ถ้าคนไทย 70 ล้านคน บริจาคให้กับโครงการเพียงคนละ 10บาท เงิน 700 ล้านบาทก็ไม่ไกลเกินเอื้อม และทุก ๆ คนในประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยของเรากันเองได้ง่าย ๆ และทำได้จริง เห็นผลจริง

นอกเหนือไปจากเงินบริจาคแล้ว สิ่งที่ตูน บอดี้สแลม คาดหวังคือ “อยากเห็นคนไทยทุกคนออกกำลังกายกันมากขึ้น” เพราะเมื่อทุกคนมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วยก็จะเป็นการลดการใช้บริการสถานพยาบาลต่าง ๆ ไปในตัวอีกด้วย และส่งกำลังใจไปให้แก่แพทย์และพยาบาลผู้เสียสละทุก ๆ ท่านที่กำลังทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งอยู่ในขณะนี้

การวิ่งครั้งนี้จะเป็น “การวิ่งระยะไกลครั้งสุดท้ายของ ตูน บอดี้สแลม” ด้วยระยะทางที่ไกลจนแทบจะเป็นไปไม่ได้นี้ ตูน บอดี้สแลม จะทำได้สำเร็จหรือไม่ ยังไม่มีใครรู้ได้ แต่สิ่งที่คนไทยทุกคนช่วยกันได้คือ ร่วมส่งกำลังใจช่วยกันบริจาคให้กับโครงการ “ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ” ซึ่งร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ในการรวบรวมเงินบริจาคและกระจายเงินบริจาคไปสู่ทั้ง 11 โรงพยาบาล เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย เพื่อพี่น้องชาวไทยของเราทุกคน (เครดิตข้อมูล : เพจครอบครัวข่าว http://www.krobkruakao.com/local/56197)

ตอบข้อสงสัย !?! เจาะลึกงบประมาณ 11 รพ. ในโครงการ "ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ" ทำไม ตูน บอดี้สแลมต้องวิ่ง!

ภายหลังการเปิดตัวโครงการ"ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ" ของนักร้องชื่อดังขวัญใจชาวไทยอย่าง ตูน บอดี้สแลม ที่ถือว่าในครั้งนี้เป็นก้าวที่ยาวที่สุดในชีวิต โดยจะวิ่งจากสุดเขตแดนใต้ ไปจนถึง เหนือสุดแดนสยาม บนระยะทาง 2,191 กม. จากเบตง-แม่สาย เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับ 11 โรงพยาบาลที่ยังขาดแคลน และต้องการความช่วยเหลือ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นขวัญกำลังใจให้ หมอ พยาบาลทั่วประเทศ
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้วิ่งระดมทุนหาเงินบริจาคเพื่อบริจาคเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยได้รับเงินบริจาครวมกว่า 85 ล้านบาท ทำให้ตูน ตัดสินใจกลับมาวิ่งระดมทุนอีกครั้งจากการประสบความสำเร็จในครั้งนั้น 

สำหรับรายชื่อโรงพยาบาลทั้ง 11 แห่ง ประกอบไปด้วย 1. โรงพยาบาลยะลา, 2. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี, 3. โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี, 4. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี, 5. โรงพยาบาลสระบุรี, 6. โรงพยาบาลขอนแก่น, 7. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี, 8. โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่, 9. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์, 10. โรงพยาบาลน่าน ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลศูนย์ แต่อยู่ในพื้นที่พิเศษห่างไกลจากตัวเมือง และ 11. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
แม้จะได้รับคำชื่นชมและเสียงตอบรับในแง่ดีมากมายแต่ก็ยังมีผู้คิดเห็นที่ขัดแย้งจนเกิดเป็นประเด็นดราม่าบนโลกโซเชียลเกี่ยวกับโครงการนี้ และโยงโครงการนี้เข้ากับการจัดการงบประมาณของรัฐว่าประสบความล้มเหลวในการจัดการภาษีหรือไม่ ทางสำนักข่าวทีนิวส์จึงได้ทำการค้นหาตัวเลขงบประมาณของทั้ง 11 โรงพยาบาลในโครงการว่ามีการจัดสรรงบประมาณไปกับการทำอะไรบ้าง ซึ่งมาจากเอกสารงบประมาณฉบับที่ 3 งบประมาณรายจ่ายฉบับปรับปรุง ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่มที่ 10 ดังนี้

1. โรงพยาบาลยะลา
-กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาดิจิตอล โรงพยาบาลยะลา ตำบลสะเตง อําเภอยะลา จังหวัดยะลา
1กล้อง 1,240,000 บาท
- เครื่องปรับอุณหภูมิของ ร่างกายในระหวางผ่าตัดหัวใจ (Heater-Cooler unit) โรงพยาบาลยะลา 1เครื่อง 1,200,000 บาท
- ชุดเครองมือผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด (Open Heart Surgery Set) โรงพยาบาลยะลา
1ชุด 2,000,000 บาท
- เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพระบบรวมศูนย์ 8 เตียง
1เครื่อง 4,380,000 บาท
- อาคารอุบัติเหตและฉุกเฉิน เป็นอาคาร คสล. 10 ชั้น (ปรับราคา 3 จังหวดชายแดนใต้ )
1หลัง 52,371,900 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 391,750,000 บาท
ปี2557 ตั้งงบประมาณ 60,096,600 บาท
ปี2558 ตั้งงบประมาณ 34,347,700 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 52,371,900 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 244,933,800 บาท

2. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
- อาคารพักอาจารย์แพทย์ 4 ชั้น 1 แห่ง 21,232,800 บาท
- เครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกแรกเกิดชนิดความถี่สูง 1 เครื่อง 1,400,000 บาท
- เครื่องดมยาสลบชนิด 3 แก๊ซ 1เครื่อง 1,760,000 บาท
- เครื่องเตรียมชิ้นเนื้ออัตโนมัติ 1 เครื่อง 1,395,000 บาท
- เครื่องดมยาสลบชนิดซับซ้อน 3 แก๊ซพร้อมเครื่องช่วยหายใจและวิเคราะห์แก๊วระหว่างดมยาสลบ 1 เครื่อง 2,140,000 บาท
- อาคารรังสีวินิจฉัยรักษา ชันสูตร คลอด ผ่าตัด ผู้ป่วยหนัก ศูนย์บริการ โรคหัวใจและมะเร็ง เป็นอาคาร คสล. 7 ชั้น 1 หลัง 322,564,000 บาท
งบประมาณทั้งสิน 488,000,000 บาท
ปี 2555 - 2556 ตั้งงบประมาณ 97,180,000 บาท
ปี 2557 ตั้งงบประมาณ 68,256,000 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 322,564,000 บาท
- อาคารพักคนไข้ 596 เตียง (8 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน) เป็นอาคาร คสล. 8ชั้น 1 หลัง 57,438,900 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น531,700,000 บาท
ปี 2557 ตั้งงบประมาณ 88,087,400 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 57,438,900 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 103,362,500 บาท
ปี 2561 ผูกพันงบประมาณ 282,811,200 บาท

3. โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี (ไม่พบรายละเอียดระบุในเอกสาร)

4. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
- เครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกแรกเกิดชนิดความถี่สูง 1 เครื่อง 1,400,000 บาท
- เตียงผ่าตัดทั่วไประบบไฟฟ้าพร้อมรีโมทคอนโทล 1 เตียง 1,760,000 บาท
- อาคารผู้ป่วยนอก และศูนย์วินิจฉัยรั กษาผ่าตัดโรคหัวใจ 6 ชั้น จํานวน 1 หลัง 76,147,200 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 264,400,000 บาท
ปี 2557 ตั้งงบประมาณ 40,000,000 บาท
ปี 2558 ตั้งงบประมาณ 7,063,200 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 76,147,200 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 141,189,600 บาท

5. โรงพยาบาลสระบุรี
-อาคารพักอาจารย์แพทย์ เป็นอาคาร คสล. 4 ชั้น 1 หลัง 21,232,800 บาท
- กล้องจุลทรรศน์สำหรับศัลยกรรมตกแต่งชินเคลื่อนหัวกล้องแบบไร้น้ำหนัก 1 กล้อง 8,885,000 บาท
- เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพระบบรวมศูนย์8 เตียง 1เครื่อง 4,380,000 บาท
- กล้องถ่ายภาพจอประสาทตาดิจิตอล 1 กล้อง 1,240,000 บาท
- อาคารศูนย์บริการโรคหัวใจ มะเร็งและวินิจฉัยรักษา 1 หลัง 195,605,300 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 376,888,900 บาท
ปี 2555 - 2556 ตั้งงบประมาณ 73,437,600 บาท
ปี 2557 ตั้งงบประมาณ 54,327,700 บาท
ปี 2558 ตั้งงบประมาณ 53,518,300 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 195,605,300 บาท
- อาคารสนับสนุนบริการ 1 หลัง 23,129,100 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 115,645,200 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 23,129,100 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 46,258,200 บาท
ปี 2561 ผูกพันงบประมาณ 46,257,900 บาท
- อาคารพักอาจารย์แพทย์ 21,232,800 บาท

6. โรงพยาบาลขอนแก่น
- Medical Simulation System ระบบจำลองสถานการณ์ทางการแพทย์เสมือนจริงเพื่อฝึกทักษะ 7,000,000 บาท
- กล้องส่องตรวจและผ่าตัดในช่องท้องพร้อมระบบวีดีทัศน์ 1 ชุด 2,580,000 บาท
- กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ลำไส้ใหญ่พร้อมระบบวีดีทัศน์ 1 ชุด 3,090,000 บาท
- เครื่องเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปเคลื่อนที่แบบซีอาร์มกำลังไม่น้อยกว่า 15 kw 1 เครื่อง 5,000,000 บาท
- เครื่องดมยาสลบชนิด 3 แก๊ซ และเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและวิเคราอะห์แก๊ซ 2 เครื่อง 3,520,000 บาท
- ตู้กรองอากาศให้ปราศจากเชื้อชนิดกระแสลมแนวดิ่ง 1 ตู้ 1,000,000 บาท
- เครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกแรกเกิดชนิดความถี่สูง 1เครื่อง 1,400,000 บาท
- อาคารศูนย์บริการโรคหัวใจ มะเร็ง และวินิจฉัยรักษา 1 หลัง 135,216,000 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 441,969,700 บาท
เงินนอกงบประมาณ 9,969,700 บาท
เงินงบประมาณ 432,000,000 บาท
ปี 2556 ตั้งงบประมาณ 84,375,000 บาท
ปี 2557 ตั้งงบประมาณ 31,418,500 บาท
ปี 2558 ตั้งงบประมาณ 42,750,500 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 135,216,000 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 138,240,000 บาท
- อาคารบริการและจอดรถ 9 ชั้น 1 หลัง 32,821,700 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 186,700,000 บาท
ปี 2558 ตั้งงบประมาณ 37,377,500 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 32,821,700 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 116,500,800 บาท

7. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ไม่พบรายละเอียดระบุในเอกสาร)

8. โรงพยาบาลนครพิงค์
- เครื่องดมยาสลบชนิดซับซ้อน 3 แก๊ซ 3 เครื่อง 8,025,000 บาท
- เครื่องช่วยหายใจสำหรับทารกแรกเกิด 1 เครื่อง 1,400,000 บาท

9. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
- Medical Simulation System ระบบจำลองสถานการณ์ทางการแพทย์เสมือนจริงเพื่อฝึกทักษะ 7,000,000 บาท
- หอพักนักศึกษาแพทย์ 11,067,500 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 110,508,400 บาท
ปี 2558 ตั้งงบประมาณ 22,101,700 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 11,067,500 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 77,339,200 บาท
- เครื่องจี้ห้ามเลือดในระบบทางเดินอาหาร 1 เครื่อง 1,650,000 บาท
- ชุดอ่างชะล้างแผล ไฟไหม้พร้อมเตียงไฮโดรลิค 1 ชุด 6,000,000 บาท
- เตียงผ่าตัดด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์และกระดูกสันหลัง 1 เตียง 3,090,000 บาท
- โคมไฟผ่าตัดใหญ่ โคมคู่ขนาดไม่น้อยกว่า 130000 ลักซ์หลอดแอลอีดี 4 ชุด 5,800,000 บาท
- เครื่องดมยาสลบชนิด 3 แก๊ซ 2เครื่อง 3,520,000 บาท
- เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพระบบรวมศูนย์ 8 เตียง 1 เครื่อง 4,380,000 บาท
- อาคารพักเจ้าหน้าที่ 7 ชั้น 13,906,200 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 69,530,800 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 13,906,200 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 55,624,600 บาท
- อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 14 ชั้น 1 หลัง (ราคารวมต้านแผ่นดินไหว) 134,070,900 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 349,143,000 บาท
ปี 2555 - 2556 ตั้งงบประมาณ 52,746,000 บาท
ปี 2557 ตั้งงบประมาณ 34,573,500 บาท
ปี 2558 ตั้งงบประมาณ 127,752,600 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 134,070,900 บาท
- อาคารสนับสนุนบริการ (โครงสร้างต้านแผ่นดินไหว) 1 หลัง 23,097,600 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 36,808,500 บาท
ปี 2558 ตั้งงบประมาณ 13,710,900 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 23,097,600 บาท

10. โรงพยาบาลน่าน ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลศูนย์ แต่อยู่ในพื้นที่พิเศษห่างไกลจากตัวเมือง
- เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพระบบรวมศูนย์ 8 เตียง 1 ชุด 4,380,000 บาท
- อาคารพกพยาบาล 1 หลัง 7,361,400 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 36,806,800 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 7,361,400 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 29,445,400 บาท
- แฟลตพักแพทย์ 1 หลัง 5,690,600 บาท
งบประมาณทั้งสิ้น 28,453,000 บาท
ปี 2559 ตั้งงบประมาณ 5,690,600 บาท
ปี 2560 ผูกพันงบประมาณ 22,762,400 บาท

11. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (ไม่พบรายละเอียดระบุในเอกสาร)
(เครดิตข้อมูล : เพจเป็นข่าว http://www.phenkhao.com/contents/10915)


“ตูน”วิ่งถึงแล้ว รพ.บางสะพาน มอบเงิน63ล้าน ประมูลรองเท้าคู่เดียวในโลก ยอด999,999บาท
“ตูน บอดี้สแลม” วิ่งถึงร.พ. บางสะพานแล้ว มีผู้บริจาคระดมทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์ 63 ล้านบาท ใช้เวลาวิ่งจากกทม.ถึงบางสะพาน 10 วันระยะทาง 400 ก.ม. ชาวบ้าน-แฟนเพลงให้กำลังใจตลอดเส้นทาง ก่อนมอบเงินบริจาคให้โรงพยาบาล ด้านร็อกเกอร์หนุ่มเปิดประมูลรองเท้าไนกี้ “รุ่งอรุณ” คู่ที่ใส่วิ่ง-คู่เดียวในโลก มีคนมาประมูลยอดอยู่ที่ 999,999 บาท แถมทีมท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ส่งเสื้อสโมสรพร้อมลายเซ็นนักเตะร่วมประมูลกับโครงการด้วย
วันที่ 10 ธ.ค. หลังจากร็อกเกอร์หนุ่ม “ตูน บอดี้สแลม” หรืออาทิวราห์ คงมาลัย มีโครงการ #ก้าวคนละก้าว เพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์มอบให้โรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยเริ่มออกวิ่งจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา และมีกำหนดวิ่งเป็นระยะทางรวม 400 ก.ม. เป็นเวลา 10 วัน ซึ่งระยะทางที่นักร้องหนุ่มวิ่งผ่านมีชาวบ้านนำเงินมาร่วมบริจาคและให้กำลังใจตลอดเส้นทางจำนวนมาก รวมถึงมีเพื่อนนักร้องและดารามาร่วมวิ่งกันอีกหลายคนด้วย โดยล่าสุดยอดเงินบริจาคอยู่ที่ 63 ล้านบาทแล้ว

สำหรับการวิ่งในวันสุดท้ายที่เหลือระยะทางอีก 38.6 ก.ม. ตูนเริ่มออกวิ่งรอบแรกเมื่อเวลา 05.30-07.30 น. จากหน่วยบริการประชาชนบ้านอ่างทอง อ.ทับสะแก วิ่งมาตามถนนสายโคกตาหอมบ้านกรูด ถึงเบย์วิว รีสอร์ต ระยะทางการวิ่ง 10 ก.ม. โดยมี ชาวบางสะพานร่วมก้าวคนละก้าวไปกับตูน บอดี้สแลม ด้วย
จากนั้นนักร้องหนุ่มออกวิ่งในช่วงที่ 2 เวลา 07.30-09.00 น. จากเบย์วิว รีสอร์ต ถึงบ้านกรูด เรสสิเดนท์ ระยะวิ่ง 9 ก.ม. โดยวิ่งเลียบชายทะเลบ้านกรูด ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของ อ.บางสะพาน ท่ามกลางสภาพอากาศที่สดชื่น แดดยังไม่ร้อนมาก ทำให้ตูน บอดี้สแลม สามารถวิ่งได้อย่างสบายๆ โดยในช่วงวิ่งระยะที่ 2 มีแฟนคลับของบอดี้สแลมที่ติดตามมาจากกรุงเทพฯ มารอให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก รวมถึงชาวบ้านกรูดด้วยที่มารอมอบเงินบริจาคและต้อนรับตูนกันอย่างล้นหลามตลอดสองข้างทาง
ส่วนในช่วงที่สาม ตูนออกสตาร์ตเวลา 09.00-10.30 น. จากบ้านกรูด เรสสิเด้นท์ ถึงกรีน ซี วิว รีสอร์ต ระยะวิ่ง 8.6 ก.ม. ก่อนพักการวิ่งสำหรับในช่วงเช้า จากนั้นนักร้องหนุ่มเริ่มวิ่งอีกครั้งในช่วงสุดท้ายเวลา 16.00 น. ออกจากกรีน ซี วิว รีสอร์ต มุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทางร.พ.บางสะพาน ระยะทางสุดท้ายอีก 11 ก.ม. โดยมีนายทวี นริศสิริกุล ผู้ว่าฯ ประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อนศิลปินร่วมวิ่งด้วย นำโดยแท่ง-ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, ก้อย-รัชวิน วงศ์วิริยะ, เปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์, แจ๊ค แฟนฉัน-เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์, วงแคลช นำโดยพล-คชภัค ผลธนโชติ, แฮ็ค-ฐาปนา ณ บางช้าง และยักษ์-อนันต์ ดาบ เพ็ชรธิกรณ์ ใช้เส้นทางวิ่งมาถึงแยกท่ามะนาว แล้วเลี้ยวขวาผ่านวัดท่ามะนาว ผ่านบริษัท สหวิริยา ป่ายาง ถึงสามแยกแล้วเลี้ยวขวาไปวัดเขาโบสถ์ ซึ่งจะเป็นจุดรวมพลของคนที่จะร่วมวิ่งกับ “ตูน บอดี้สแลม” ไปจนถึงร.พ. บางสะพาน ในเวลา 17.30 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการวิ่งช่วงสุดท้ายที่บริเวณแยกร.พ.บางสะพาน คณะนักวิ่งและประชาชนทั้งหมดได้หยุดวิ่งเพื่อให้ “ตูน บอดี้สแลม” เป็นผู้วิ่งไปจนถึงเส้นชัย โดยมีคุณพ่อคุณแม่ของนักร้องหนุ่มยืนรอรับ พร้อมกับประชาชนที่มาต้อนรับและส่งเสียงปรบมือให้กำลังใจดังสนั่น ก่อนจะขึ้นไปทำพิธีการบนเวที พร้อมกับมอบเงิน 63,000,000 บาท ให้กับร.พ.บางสะพาน

“ตูน บอดี้สแลม” กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโครงการก้าวคนละก้าวฯ ว่า ตนเป็นคนจ.สุพรรณบุรี แต่มีโอกาสมาใช้ชีวิตอยู่ที่อ.บางสะพาน ตั้งแต่เมื่อสองปีที่แล้ว แล้วก็คิดว่าตัวเองเป็นคนบางสะพานคนหนึ่ง จึงทราบปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือแพทย์และพูดคุยกับผอ.โรงพยาบาล จนเกิดเป็นโครงการวิ่งการกุศลครั้งนี้ขึ้น ทุกอย่างที่ทำไม่ใช่เพราะอยากจะมีชื่อเสียงโด่งดังหรือสร้างภาพ เพราะตอนแรกตั้งใจจะวิ่งเงียบๆ แต่มีโอกาสได้คุยกับพี่ปิงปอง ที่นิตยสารอะเดย์ เพื่อขอให้ช่วยลงข่าวให้ ซึ่งพี่ปิงปองแนะนำว่าเรื่องดีๆ แบบนี้ต้องทำให้เสียงดัง เพื่อที่คนอื่นจะได้รู้และร่วมช่วยเหลือได้ด้วย ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะได้รับการบริจาคจากคนไทยทั่วประเทศเป็นจำนวนเยอะขนาดนี้ คิดว่าได้ 4-5 ล้านบาทก็ดีใจแล้ว พอเห็นยอดวันนี้สูงถึง 63,000,000 บาท ต้องขอพูดคำว่าขอโทษที่ดูถูกน้ำใจคนไทยไปหน่อย
“สิ่งที่ผมทำในวันนี้อยากจะสะท้อนปัญหาให้คนทั้งประเทศได้เห็น ไม่ใช่แค่โรงพยาบาลบางสะพานเพียงอย่างเดียว ยังมีโรงพยาบาลอื่นๆ อีกมากมายที่ขาดเครื่องมือแพทย์ในการรักษา ถ้าช่วยเหลือกันได้ก็จะช่วยชีวิตคนได้อีกจำนวนมาก ที่สำคัญคือไม่อยากให้โครงการในวันนี้สูญเปล่า หลังจากนี้ไปหากทุกคนช่วยเหลือกันได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ผมก็เป็นแค่คนตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่หลายคนเคยพูดว่าหุ่นขี้ยา ใครที่เคยว่าผมว่าเป็นขี้ยาลองมาวิ่ง 400 กิโลเมตรกับผมดูมั้ย ตัวเล็กๆ แบบผมอาจจะสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่คนไทยทั้งประเทศถ้าร่วมมือกันก็จะสามารถช่วยโรงพยาบาลอื่นๆ ได้ด้วย ผมต้องขอบคุณ ทุกคนที่ช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้การก้าวครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แล้วในอนาคตก็จะมีก้าวต่อไปด้วยกันครับ” นักร้องหนุ่มทิ้งท้ายนอกจากนี้เพจ Bodyslamband ได้เปิดประมูลรองเท้าวิ่งยี่ห้อไนกี้ รุ่น Lunarepic Flyknit Shield iD ชื่อ “รุ่งอรุณ” ซึ่งนักร้องหนุ่มใส่ วิ่งตลอด 10 วันที่ผ่านมา ซึ่งชื่อรุ่งอรุณ “ตูน บอดี้สแลม” ได้ตั้งชื่อให้บริษัทไนกี้ และที่สำคัญรองเท้าคู่นี้เป็นรุ่นที่ตูนเป็นผู้ออกแบบเอง จึงเป็นรองเท้าคู่เดียวในโลก ราคาประมูลเริ่มที่ 9,999 บาท โดยล่าสุดราคาประมูลอยู่ที่ 999,999 บาทแล้ว
ขณะที่สโมสรท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ซึ่งเป็นทีมฟุตบอลที่ “ตูน บอดี้สแลม” ชื่นชอบตั้งแต่เด็ก ได้ส่งเสื้อสโมสรพร้อมลายเซ็น นักเตะมาให้ เพื่อร่วมโครงการก้าวคนละก้าว ก่อนเปิดประมูลเริ่มต้นที่ 999 บาท (เครดิตข้อมูลจาก ข่าวสดออนไลน์)

1ปี"รพ.บางสะพาน"ดอกผลแห่งความสำเร็จจากก้าวคนละก้าวของ "ตูน บอดี้สแลม
ภาพการพูดคุยกับ "ตูน-บอดี้สแลม" เมื่อเกือบหนึ่งปีก่อนยังแจ่มชัดในความทรงจำของ นพ.เชิดชาย ชยวัฑโฒ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพาน เมื่อนักร้องหนุ่มขออาสาเป็นแกนนำวิ่งระดมหาเงินทุนซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ จากเดิมที่โรงพยาบาลต้องการจัดวิ่งการกุศลกระตุ้นให้คนมาออกกำลังกาย และให้ตูนมาร่วมเป็นเซเลปหรือกระบอกเสียงเท่านั้น ครั้งนั้นท้ายที่สุดเขาสร้างปรากฎการณ์ระดับประเทศ สามารถระดมทุนได้มากถึง 85 ล้านบาท จากระยะทางวิ่ง 400 กม. ในเวลา 10 วัน เกือบ 1 ปีที่ผ่านมา น่าสนใจว่า ดอกผลความสำเร็จจากการระดมทุนของร็อกเกอร์หนุ่มนั้นเป็นอย่างไร.. นพ.เชิดชาย ชยวัฑโฒ เล่าว่า เงิน 85 ล้านบาทถูกจัดสรรเปลี่ยนแปลงเป็นอุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ การก่อสร้างอาคารและซ่อมแซมอาคาร ส่วนที่เหลืออีกกว่า 30 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อโครงการในอนาคต “อุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์นั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้เเก่ รพ.บางสะพานเองประมาณ 25.7 ล้านบาท รพ.บางสะพานน้อยที่มีขนาด30 เตียง 1.1 ล้านบาท อีกส่วนเป็นอุปกรณ์และครุภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 14 แห่ง ประมาณ 6.9 แสนบาท” “ในเรื่องการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หนึ่งการซ่อมแซมอาคารประมาณ 7 ล้านบาท หลังจากประสบกับภาวะน้ำท่วม อีกส่วนเป็นงบในก่อสร้างอาคารราว 10 ล้านบาท โดยทำการปรับปรุง ออกแบบเเละก่อสร้างอาคารหลายแห่งเช่น อาคารแพทย์แผนไทย อาคารซ่อมบำรุงเเละระบบประปา อาคารดูแลเครื่องเอ็กซเรย์ ให้สูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภัยน้ำท่วม” นพ.เชิดชาย บอกต่อว่า ปัจจุบันเหลือเงินอีกกว่า 30 ล้านบาท อยู่ระหว่างการหารือกับทางคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลเพื่อดำเนินการในแผนต่อไป อุปกรณ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลบางสะพานจัดซื้อนั้นมีมากกว่า 70 รายการ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ตัวอย่างเช่น เตียงผู้ป่วย ถังออกซิเจน เครื่องนับเม็ดเลือดขาวชนิดไฟฟ้า เครื่องดูดเสมหะ ที่นอน ตู้อบเด็กทารกเคลื่อนที่ เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องบันทึกการบีบตัวของมดลูก เครื่องมือผ่าตัดตา เครื่องไตเทียม รถเข็นผู้ป่วยพร้อมสายน้ำเกลือ เครื่องวัดความดันโลหิต ฯลฯ ทั้งหมดทำให้ศักยภาพและความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลนั้นยกระดับแบบก้าวกระโดด นพ.เชิดชายบอกว่า ตัวเลขการเข้ารับบริการรักษาของผู้ป่วยนั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากเดิมอัตราการครองเตียงของผู้ป่วยในเฉลี่ยอยู่ที่ 90-100 คนต่อวัน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 150-180 คนต่อวัน ขณะที่อัตราผู้ป่วยนอก จากเดิม 300-400 คน เพิ่มเป็น 400-500 คน “เหมือนได้โรงพยาบาลใหม่ รองรับการบริการได้มากขึ้น ชาวบ้านมีความสุขมาก สามารถใช้บริการได้สะดวกกว่าในอดีต ส่วนความสามารถในการในการรักษาพยาบาล เมื่อมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการรักษาเพิ่มขึ้นก็สามารถรองรับแพทย์เฉพาะทางมาช่วยเหลือรักษาได้มากขึ้นเช่นกัน” ผอ.รพ.บางสะพาน บอกว่า การยกระดับของโรงพยาบาลบางสะพาน สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของภาคประชาชน ที่มีบทบาทสำคัญในการทำในสิ่งที่รัฐบาลอาจมีข้อจำกัดหรือใช้เวลาจัดการค่อนข้างนาน (เครดติข้อมูลจาก Posttoday.com






สุ่โครงการก้าวคนละก้าว ครั้งที่ 2
ปี 2559 คนไทยทั่วประเทศร่วมใจกันเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลขนาดกลางแห่งหนึ่งในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นหลายรายการ ในโครงการ "ก้าวคนละก้าวเพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน" โดย ตูน บอดี้สแลม ซึ่งทำการระดมทุนด้วยการ วิ่งระยะไกล เริ่มต้นจาก กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่ โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร และสามารถระดมทุนจากคนไทยทั่วประเทศได้ถึง 85 ล้านบาท และเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทยลุกขึ้นมาออกกำลังกายด้วยการวิ่งจนฮิตเป็นกระแสไปทั่วประเทศ
แต่ปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยไม่ได้หยุดอยู่ที่ รพ.บางสะพาน เพียงแห่งเดียว ยังมีอีกหลายโรงพยาบาลที่เดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาคนไข้ให้เพียงพอต่อความความต้องการที่มากขึ้นทในทุกๆวัน เสียงเรียกร้องขอความช่วยเหลือจึงส่งกันมาถึงตูน บอดี้สแลม และทีมงาน "ก้าวคนละก้าว" อย่างไม่ขาดสาย 

"ก้าวครั้งใหม่" จึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับระยะทางที่ยาวขึ้น นานขึ้น และจำนวนโรงพยาบาลที่จะทำการบริจาคมากขึ้น ในชื่อโครงการ "ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ" เบตง – แม่สาย 2,191 กิโลเมตร

ติดตามความเคลื่อนไหว และไทม์ไลน์การวิ่งในแต่ละระยะทาง รวมถึงช่องทางการบริจาคได้ที่ เพจก้าวคนละก้าว ดังนี้
https://www.facebook.com/kaokonlakao/ และ/หรือhttps://www.kaokonlakao.com/

บางคนอาจเห็นแย้งว่า โครงการ "ก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาล" ทำไมถึงจัดเป็นปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี ในอันดับ 1 ได้ ในทัศนะของผู้เขียน/เพจหยิกแกมหยอก โครงการนี้จัดเป็นแคมเปญทางการตลาดได้ชนิดหนึ่ง เข้าองค์ประกอบในทุกด้าน แม้จะไม่ใช่การตลาดเพื่อหารายได้หรือผลกำไรในเชิงธรุกิจก็ตาม แต่มันมีเรื่องของผลลัพธ์ในแง่เชิงการตลาด มูลค่าทางการตลาด ทางมองในมิติทางการตลาด มีดังนี้
- ตัวพี่ตูน เป็นโปรดักท์ มีมูลค่าทางการตลาดมหาศาลขึ้นมาแล้ว (จีนี่เรคคอร์ด/แกรมมี่ ได้ผลประโยชน์ทางอ้อมไปเต็มๆ)
-มีเรื่องของผลประโยชน์เกี่ยวกับสินค้า สปอนเซอร์เข้ามาเกี่ยวข้องมั๊ย ตอบว่ามี อาทิ รองเท้าที่พี่ตูนใส่ กี่คู่ รุ่นอะไร ราคาเท่าไหร่ แบรนด์อะไร พวกนี้เป็นโฆษณาแฝงทั้งสิ้น ยังไม่นับรวมเสื้อผ้าที่ใส่ ผ้าโพกศีรษะ ผ้าเช็ดเหงื่อ ของแบรนด์อะไร น้ำดื่มที่เป็นสปอนเซอร์ให้ดื่มระหว่างทาง นาฬิกาที่ใช้จับเวลา สถานีโทรทัศน์ที่ติดตามทำข่าวหรือถ่ายทอดบันทึกเทปรายการ แม้ว่าจะไม่ออกตัวหรือโฆษณาตัวเอง และเป็นการสปอนเซอร์ให้ฟรี เพราะเป็นโครงการเพื่อการกุศล แต่มันมีมูลค่าการตลาดที่แอบแฝงอยู่ ที่ตีเป็นมูลค่าได้มากมาย
-ระยะทางที่วิ่งไปของจุดเริ่มต้นโครงการ (เบตง) -จนถึงจุดหมายปลายทาง (แม่สาย) ผ่านกี่จังหวัด ผ่านสถานที่สำคัญ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว แหล่งวัฒนธรรมประวัติศาสตร์สำคัญของประเทศ แหล่งชุมชนการค้า พวกนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ตัวประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ไปเต็มๆ โดยไม่ต้องเสียเงินโฆษณาเลย แคมเปญนี้ของพี่ตูนดังไปทั่วโลกแล้วในเวลานี้ ใครๆ ก็พูดถึง
-ผลพลอยได้ ไม่ใช่แค่ตัวเงิน คือ เป้าเงินบริจาค 700 ล้านบาท (ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะแตะถึงระดับ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ ตัวเลขแตะ 890 ล้านบาทเศษแล้ว) แต่ผลพลอยได้ที่จะตามมาก็คือ การที่คนไทยสมัครสมานสามัคคี และจุดประกาย/สร้างแรงบันดาลใจให้สังคมคนไทยกล้าที่จะลุกขึ้นมาทำความดี โดยไม่หวังผลตอบแทน และการทำความดีไม่เอาหน้า ไม่ต้องลงทุนมาก ลงแต่แรงกายเท่านั้น ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการออกกำลังกาย ผลพลอยได้อีกข้อก็คือสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย ,คนไทยได้ตระหนักรู้ถึงปัญหาการสาธารณะสุขของประเทศ ที่เงินงบประมาณไม่เพียงพอ ไม่มีทางที่เงินบริจาคจะสามารถช่วยเหลือการสาธารณะสุขได้ตลอดไป ตราบใดที่คนในสังคมไม่เรียนรู้ที่จะดูแล รักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง มิเช่นนั้นก็จะเห็นแต่การสร้างโรงพยาบาล โครงการหาเงินบริจาคช่วยเหลือโรงพยาบาลรัฐแบบต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุด การออกกำลังกายจึงเป็นคำตอบของทางออกในการแก้ปัญหาที่ง่าย และลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้ประโยชน์สูงสุด






สังคมไทยในปี พ.ศ.นี้จึงต้องขอบคุณตูน อาทิวราห์ คงมาลัย ที่เขากล้าที่จะออกมา ก้าวเท้าออกมา เป็นผู้นำความคิด หัวขบวนในการลุกขึ้นมาทำโครงการดีๆ แบบนี้เพื่อคนจำนวนมากในสังคมไทยนี้ เราขอปรบมือให้รัวๆ

แคมเปญการตลาดนี้ สร้างแรงกระเพื่อม แรงสั่นสะเทือนในสังคมในหลากหลายมิติ และทั่วทุกวงการ เราจึงขอมอบตำแหน่งสุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2017 ให้แก่โครงการก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาลของพี่ตูน ชนะเลิศ ครองอันดับ 1 ในปีนี้ไปแบบวิ่งนำขาดลอย เข้าเส้นชัยไปเลย พี่ตูนวิ่งมารับเหรียญทองในหัวใจคนไทย ไปคล้องคอขึ้นแป้นรับเหรียญไปอย่างสง่างาม -The Ending-

บทความ 10 สุดยอดปรากฏการณ์ทางการตลาดแห่งปี 2017 โดย เพจหยิกแกมหยอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น