3.ศาสตร์พระราชา เรื่องทฤษฏีใหม่ : แนวทางการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร
เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน
และการประกอบอาชีพทางการเกษตรโดยเฉพาะในเขตที่ใช้น้ำฝนทำนาเป็นหลัก
เกษตรกรจะมีความเสี่ยงสูง เป็นเหตุให้ผลผลิตข้าวอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอต่อการบริโภค
ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหา จึงได้พระราชทาน "ทฤษฎีใหม่" ให้ดำเนินการในพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ประมาณ ๑๕ ไร่
ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาอย่างเหมาะสม
ด้วยการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยให้มีการจัดสร้างแหล่งน้ำในที่ดินสำหรับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล
เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้
ให้มีรายได้ใว้ใช้จ่ายและมีอาหารใว้บริโภคตลอดปี (กรมวิชาการ, ๒๕๓๙: ๗๗) ซึ่งได้ดำเนินการอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
เพื่อการผลิตทางเกษตรกรรมที่ยั่งยืนสำหรับเกษตรกรชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า
"…ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่
สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน
ต้องไม่ใจร้อน…" (สำนักพระราชวัง, ๒๕๔๒: ๓๑)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติ
เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่มาเป็นเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในพื้นที่ส่วนพระองค์ขนาด ๑๖ ไร่ ๒ งาน ๒๓ ตารางวาใกล้วัดมงคล
ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
และทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเสริมโครงการของรัฐ ทั้งนี้ก่อนที่จะทรงนำเอกสารออกเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี
พ.ศ. ๒๕๓๗ นั้น ทรงให้จัดตั้ง "ศูนย์บริหารพัฒนา"
ตามแนวพระราชดำริ อยู่ในความรับผิดชอบของมูลนิธิชัยพัฒนา
เพื่อเป็นต้นแบบสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรโดยประสานความร่วมมือระหว่าง วัด
ราษฎรและรัฐ ทำการเผยแพร่อาชีพการเกษตรและจริยธรรมแก่ประชาชนในชนบท โดยทรงหวังว่าหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางสาธิตในท้องที่อื่นๆ
ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการพัฒนาด้านการเกษตรนั้น
ก็คือแนวคิดและมรรควิธีที่รู้จักกันในนาม "เกษตรทฤษฎีใหม่"
(อำพล, ๒๕๔๒: ๓-๔)
พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ
เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่
ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน
อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต
เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต
และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น
มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน
ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ ๓๐%
ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง
ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย)
พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน
เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี
เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐%
ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน
หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก
กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน
เป็นต้น)
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, ๒๕๔๒)
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, ๒๕๔๒)
ขั้นที่ ๒ ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว
ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง
ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
(๑) การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
(๒) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(๓) ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
(๔) สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
(๕) การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
(๖) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
(๑) การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
(๒) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(๓) ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
(๔) สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ
(๕) การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
(๖) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น
จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน
ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ขั้นที่ ๓ ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น
ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป
คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร
หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
·
เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง
(ไม่ถูกกดราคา)
·
ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ
(ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
·
เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ
เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง)
·
ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร
(เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)
ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน ๒๕
แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม
และกระทรวงศึกษาธิการ
ได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น
(เครดิตข้อมูล เอกสารทางวิชาการสรรพศิลปศาสตราธิราช
สาขาการจัดการทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ดิน น้ำ ลม ไฟในไทย
มีคุณลดโทษด้วยทศพิธราชธรรม
- ทิศทางเกษตร
นับตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติในปี
2489 พระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติ
แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่
ดีขึ้น ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนทั้งชาติด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรง
เสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทย
สมดังที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่น
เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร ไม่ว่าจะเชื้อชาติและศาสนาใด
หรืออยู่ห่างไกลสักเพียงใดก็มิทรงย่อท้อ ทรงเข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข
การศึกษาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงานการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น
เป็นการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมไทย
และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยทรงเน้น “การพัฒนาคน” เป็นตัวตั้ง และยึดหลักผลประโยชน์ของปวงชน
และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของประชาชน
เป็นประการสำคัญตลอดจนภูมิสังคมที่คำนึงความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
และการพึ่งตนเอง โดยรู้จักประมาณตนและดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และ “ทำตามลำดับขั้น” อย่างบูรณาการ ซึ่งอาศัยความ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการ “รู้ รัก สามัคคี” ของทุกฝ่าย
ส่งผลให้ประชาชนและชุมชนในชนบทที่ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริมีความเป็น
อยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม มีเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ดำเนินการได้อย่างประหยัด และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน อันนำไปสู่ชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขอย่างต่อ
เนื่องตลอดมา
จวบจนปัจจุบันมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกิดขึ้น กว่า 4,200 โครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ราษฎรทั่วประเทศ ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร การอาชีพ สิ่งแวดล้อม คมนาคม และอื่น ๆ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (สำนักงาน กปร.) ทำหน้าที่ในการประสานงานส่วนงานที่เกี่ยวข้องพร้อมจัดสรรงบประมาณเพื่อการ ดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย
จวบจนปัจจุบันมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกิดขึ้น กว่า 4,200 โครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้แก่ราษฎรทั่วประเทศ ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ การเกษตร การอาชีพ สิ่งแวดล้อม คมนาคม และอื่น ๆ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (สำนักงาน กปร.) ทำหน้าที่ในการประสานงานส่วนงานที่เกี่ยวข้องพร้อมจัดสรรงบประมาณเพื่อการ ดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย
แนวพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น
การพัฒนา และอนุรักษ์ดินเพื่อการเกษตรกรรม
เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้นหรือรักษาไว้ไม่ให้ตก ต่ำ
มรรควิธีส่วนใหญ่เป็นวิธีการตามธรรมชาติที่สร้างความสมดุลของระบบนิเวศ
และสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้น เช่น ให้มีการปลูกไม้ใช้สอยร่วมกับการปลูกพืชไร่
เพื่อประโยชน์ให้ได้ร่มเงาและรักษาความชุ่มชื้น
หรือการปลูกพืชบางชนิดในพื้นที่ซึ่งดินไม่ดี เพื่อบำรุงดินโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี
พื้นที่บางแห่งไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผล ทรงแนะนำให้ใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น
ฟื้นฟูเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยมีพระราชดำริว่า “…การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถ
หรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้น ที่ยังเหลืออยู่
เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื่นของผืนดิน...”
พระองค์ทรงแนะนำให้ใช้วิธี “การแกล้งดิน”
ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดินพรุที่
มีสารประกอบของกำมะถันทำให้ดินเป็นกรดจัดเมื่อดินแห้ง
แล้วลดความเป็นกรดลงให้อยู่ในระดับที่จะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวได้
พื้นที่ดินในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความลาดชันสภาพเสื่อมโทรม
เนื่องมาจากการชะล้างพังทลายของดิน
ทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารในดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยแนววิถีทางธรรมชาติ
ด้วยการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำทรงตระหนักว่าภัยแล้งและน้ำเพื่อ
การเกษตรและอุปโภคบริโภคเป็นปัญหาที่รุนแรง และสำคัญที่สุด
การจัดการทรัพยากรน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำ นับเป็นงานที่มีความสำคัญ
และมีประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ดังพระราชดำรัส ณ
สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ความตอนหนึ่งว่า “...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค
น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ
คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...” ด้วยเหตุนี้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,200
โครงการ จึงมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทั่วทุก
ภูมิภาคของประเทศกว่า 2,200 โครงการ โดยเป็นโครงการเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก
และอุปโภค บริโภค ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร
เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
และเพื่อการบรรเทาอุทกภัย
โครงการชั่งหัวมันตามแนวพระราชดำริ
จังหวัดเพชรบุรี เป็นอีกหนึ่งโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดให้จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิด
และเพื่อเป็นแนวทางในการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริให้กับ เกษตรกร
โดยได้มีพระราชดำรัสให้นำพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์
พร้อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ติดตั้งกังหันลมจำนวน 10 ตัว
เพื่อเป็นตัวอย่างทางด้านพลังงาน มีกำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุด 100kW ปัจจุบันสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) ได้อีกด้วย
ด้วยพระปรีชาและพระอัจฉริยภาพ
ประกอบกับสายพระเนตรอันกว้างไกล แม้คำว่า “พระบิดาแห่งการพัฒนาไทย” ก็ยังมิอาจเทียบกับผลที่ได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์
ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาประเทศ
พระองค์ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงหลักการแห่งการพัฒนาอย่างถ่องแท้ทั้งดิน น้ำ ลม และไฟ
ซึ่งหากมองผิวเผินเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมที่ต้องดูแลรักษา
แต่พระองค์ทอดพระเนตรสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น พระองค์ทรงสร้างสิ่งที่เรียกว่า “คุณอนันต์” และทรงป้องกัน “โทษมหันต์”
จากดิน น้ำ ลม และไฟ จวบจนในทุกวันนี้.
(เครดิตข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น