วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

9 เรื่องที่ลูกจะขอจดจำองค์พ่อหลวง (2) ของแผ่นดินตลอดไป ตอนที่ 2



2. พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก!
พระราชวัง กลายเป็นห้องทดลอง และห้องทรงงานที่ใหญ่ที่สุด

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน (Chitralada Villa Royal Residence) เป็นพระตำหนักในพระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่แขวงสวนจิตรลดาเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ภายในพื้นที่พระราชวังแห่งนี้ คงไม่มีที่ใดในโลกเปรียบเหมือน เพราะนอกจากจะเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และที่ทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แล้ว พระองค์ยังสร้าง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ขึ้นภายในบริเวณโดยรอบด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ดำเนินงาน เพื่อศึกษา ทดลองและวิจัยหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่างๆ ซึ่งผลการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแบบอย่างในการนำไปปฏิบัติตาม

โดย โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา นี้ยึดหลักแนวพระราชดำริของพระองค์ที่ว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้าสินค้าจากตต่างประเทศ นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ

๑. โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ

เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ พัฒนาด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพทยากรธรรมชาติ อาทิ

ป่าสาธิต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเก็บเมล็ดไม้ยางนาจากป่าสองข้าง ถนนเพชรเกษม จังหวัดเพชรบุรี โดยเก็บในเดือนเมษายน พ.ศ. 2504 แล้วนำมาเพาะเลี้ยงไว้ใต้ร่มต้นแคบ้าน ในแปลงเพาะชำบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมื่อเมล็ดงอกแล้วได้ย้ายลงปลูกในกระถางดิน และย้ายไปปลูกในแปลงทดลอง

นาข้าวทดลอง

ให้กรมการข้าวทดลองนำข้าวสายพันธุ์ต่างๆ จากทั่วประเทศมาทดลองปลูกในนาข้าวทดลอง ทั้งแบบนาดำและนาหว่าน โดยในปีแรก วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๐๔ พระองค์ทรงขับรถไถแบบสี่ล้อคันแรกของประเทศไทย เพื่อเตรียมแปลงปลูกข้าว ทรงหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว(พันธุ์นางมล) และทรงเกี่ยวข้าวด้วยตัวพระองค์เอง ส่วนหนึ่งนำไปใช้ในพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และส่วนหนึ่งนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกร หรือผู้ที่ต้องทอดลองปลูก ปัจจุบันมีที่แปลงนาสวนขนาด ๔.๖ ไร่ และแปลงข้าวไร่ ทำหารปลูกพันธุ์ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวกว่า ๕๐ สายพันธุ์ อีกทั้งยังมี พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ทานตะวัน เพื่อบำรุงดิน เป็นต้น

การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล

ด้วยความที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นห่วงสุขภาพของประชาชนที่ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และขาดสารอาหารโปรตีน ซึ่งเนื้อสัตว์ราคาถูกที่พอหาทานได้คือ ปลา พระองค์จึงพระราชดำรัสให้กรมประมงนำปลาหมอเทศจากมาเลเซีย มาทดลองเลี้ยง เพื่อพระราชทานแก่ผู้นำชุมชนทั่วประเทศนำไปเลี้ยง ต่อมาเจ้าชายของประเทศญี่ปุ่น ได้ถวายพันธุ์ปลาชนิหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อปลา บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหรฐาน ทรงปล่อยปลาด้วยพระองค์เอง และพระราชทานชื่อว่า "ปลานิล" ปัจจุบันกรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบดูแล รวมถึงปรับปรุงสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย มีทั้งหมด ๓ สายพันธุ์ คือ ปลานิล สยพันธุ์จิตรลดา ๑, ๒ และ ๓ โดยกรมประมงจะแนกจ่ายปลาพระราชทานแก่ประชาชน เพื่อนำไปขยายพันธุ์ และนำไปบริโภค

บ้านพลังงานแสงอาทิตย์

กรมการพลังงานทหาร ได้น้อมเกล้าฯ ถวายบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมับติครบ ๕๐ ปี เพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานแสดงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือก ต่อมากรมการพลังงานทหารได้ร่สมกับบริษัทต่างๆ น้อมเกล้าฯ ถวายบ้านพลังงานแสงอาทิตย์หลังใหม่ เนื่องในโอกาสที่ ทรงครองสิริราชสมับติครบ ๖๐ ปี โซล่าเซล์ล จะทำหน้าที่รับแสงและผลิตกระแสไฟฟ้าไปใช้ในพื้นที่ส่วนต่างๆ โซล่าเซล์ลติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้าน มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุด ๑๒๕ วัตต์ต่อแผง มีจำนวน ๑๘ แผง อายุการใช้งานประมาณ ๒๕ ปี

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุ์พืช และสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ทำให้สามารถขยายพันธุ์พันธุ์ ต้นไม้ในโครงการที่ปลูกไว้ในเขตพระราชฐานมาช้านานที่เป็นพืชพันธุ์ดี และหากยาก เช่น สมอไทย ขนุน พุดสวน ยี่หุบ มณฑา และขนุนไพศาลทักษิณ

กังหันลม

เนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา บริษัท GEM Global Energy Management ได้น้อมเกล้าฯ ถวายกังกันลม พร้อมอาคารควบคุมติดตั้งแบตเตอรี่สำหรับเก็บกระแสไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พลังงานลม การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการทำงานของกังหันลม

โรงงานกระดาษสา

โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติโรงกระดาษสาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบแบ่งออกเป็น ๖ กลุ่มงาน คือ ผลิตกระดาษสา, ออกแบบแปรรูป, ผลิตภัณฑ์กระดาษสา, งานประดิษฐ์ศิลป์, เครื่องหอม และของชำร่วย อีกทั้งการนำกระดาษสาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หัถตศิลป์ เผยแพร่ให้กลุ่มแม่บ้าน, เกษตรกร นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

๒. โครงการกึ่งธุรกิจ

เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร มีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพง อาทิ

กลุ่มงานที่เกี่ยวกับนม
โรงโคนม สวนจิตรลดา

หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระรราชดำเนินประพาสประเทศเดนมาร์ค ทรงศึกษาเรื่องการทำฟาร์มโคนม เพื่อเป็นอาชีพใหม่แก่เกษตรกรไทย ต่อมาพระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างโคนม เพื่อเลี้ยงโคนมที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย เช่น โคพันธุ์เรดเดน, โคพันธุ์บราวน์สวิส และพันธุ์ลูกผสมเรดซินดี้
ครั้งแรกโรงโคนมจิตรลดาจำหน่ายน้ำนมภายในพระตำหนัก ต่อมาได้จำหน่ายแก่บุคคลภายนอก ทำให้มีกำไรสะสม และนำมาพัฒนาภายในโครงการต่อ และการดำเนินงานของที่นี่ได้รับความช่วยเหลือและได้คำแนะนำจากกรมปศุสัตว์มาโดยตลอด

โรงนมผง สวนดุสิต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงนมผง เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๒ และพระราชทานชื่อว่า "โรงนมผงสวนดุสิต"

เมื่อเกิดภาวะน้ำนมล้นตลาด พระองค์ทรงรับซื้อน้ำนมจากเกษตรกร และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อสร้างโรงนมผงเบื้องต้น จนต่อมาพระองค์โปรดเกล้าฯให้หม่อมรางวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างโรงนมผง ในปัจจุบันปัจจุบันโรงนมผงสวนวุสิต ผลิตนมผงได้ประมาณ ๙๐๐ กิโลกรัมจ่อวัน จากน้ำนมโคจำนวน ๘ ต้น

ศูนย์รวมนม ศูนย์จิตรลดา

ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมมากขึ้น สร้างเป็นศูนย์กลางรับโคนมจากสหกรณ์ และฟาร์มโคนมต่างๆ นำนมมาผลิตเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน และโรงเรียนต่างๆ มีทั้งกลิ่น วานิลลา, สละ, โกโก้, กาแฟ เป็นต้น อีกทั้งนมพาสเจอร์ไรส์บรรจุถุงของที่นี่ผสมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ได้รับความร่วมมือจากกรมอนามัย คณะแพทย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์

โรงนมเม็ด สวนดุสิต

โรงนมเม็ด สวนดุสิต ได้เริ่มทดลองผลิตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยได้รับคำแนะนำจาก ม.ล.อัคนี นวรัตน์ ในการผลิตนมอัดเม็ด ตลอดจนหาอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องผนึกซอง ต่อมาเภสัชกรมงคลศิลป์ และ ดร.ปราโมทย์ จากม.มหิดล ได้ช่วยเหลือให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับ พร้อมทั้งมอบเครื่องตอกนมอัดเม็ด จนในปัจจุบันได้มีเครื่องโรตารี่ที่ช่วยในการผลิตและบรรจุซอง ภายในเราจะได้เห็นขั้นตอนการผลิตต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ บรรจุซอง

โรงเนยแข็ง สวนจิตรลดา
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พ.ศ. 2530 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สร้างโรงเนยแข็ง น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนยแข็งชนิดแรกที่ทำการผลิต คือ เนยแข็งชนิดเกาดา (
Gouda cheese) ต่อมาทดลองผลิตเนยแข็งเช็ดด้า (Chedda cheese) และเนยแข็งชนิดปรุงแต่ง (Processed cheese) ซึ่งมีจุดประสงค์หลัก คือนำเอาเนยแข็งที่มีคุณภาพบกพร่องในเรื่อง สี กลิ่น รส มาแปรรูปใหม่ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น โดยใช้เนยแข็งเกาดาเป็นวัตถุดิบในการผลิตในระยะแรก ปัจจุบันจะใช้เนยแข็งเกาดา และเนยแข็งเช็ดด้า เป็นวัตถุดิบในการผลิตเนยแข็งปรุงแต่ง

โรงน้ำดื่ม สวนจิตรลดา

โรงน้ำดื่ม เดิมเป็นส่วนหนึ่งของโรงนมผง โดยใช้น้ำที่เหลือจากขบวนการระเหยนม มาผลิตเป็นน้ำดื่ม และเนื่องจากมีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูง มีปริมาณมากพอสมควรที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ในการผลิตน้ำกลั่น เพื่อใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์ชนิดตะกั่วกรดได้อีกด้วย จึงได้ขอความร่วมมือให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ช่วยดำเนินการวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพน้ำกลั่นที่ได้ให้มีความบริสุทธิ์ จนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสามารถนำมาใช้บริโภคอย่างปลอดภัย

โรงนมยูเอชที สวนจิตรลดา

เนื่องจากปัญหาน้ำนมล้นตลาด โรงงานนี้สร้างขึ้นเพื่อช่วยสาธิตการผลิตนมยูเอชทีจากนมโคสดแท้ แทนการใช้นมผงมาละลายน้ำ ภายในเราจะได้เห็นขั้นตอนตั้งแต่ การรับน้ำนม ถังเก็บน้ำนม เข้าสู่กระบวนการเทอร์ไมส์เซชั่น และขั้นตอนอื่นๆ ไปจนถึง การบรรจุกล่อง และบรรจุลงถุง

กลุ่มงานที่เกี่ยวกับการเกษตร
โรงสีข้าวตัวอย่าง สวนจิตรลดา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ในการดำเนินงาน โดยมีหน่วยงานต่างๆ เป็นผู้ควบคุมดูแล

โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ประกอบไปด้วยการศึกษา วิจัย และพัฒนา ในด้านเทคนิคการเก็บรักษาข้าวเปลือก และการสีข้าว อีกทั้งภายในเราจะได้เห็นการลำเลียงข้าวเปลือกจากฉางสู่กระบวนการสีข้าว ทำความสะอาดข้าวเปลือก แยกแกลบ และผ่านการขัดสี เป็นต้น

โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์

สวนจิตรลดาผลิตน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ในระดับอุตสาหกรรม จำหน่ายให้กับผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันมานิยมดื่มน้ำผลไม้ที่มีประโยชน์ และเป็นการส่งเสริมเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ภายในจะได้เห็นวิธีการทำขั้นตอนต่างๆในการแปรรูป ซึ่งเราสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้

โรงผลิตภัณฑ์อบแห้ง

โรงผลิตภัณฑ์อบแห้งนี้ ปัจจุบันมีด้วยกันหลายแบบ เช่น เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องอบแห้งแบบใช้ลมร้อนที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอบใหม่ๆ หลายชนิด อาทิ ขนมปัง, คุกกี้เนยสด, เค้กฝอยทอง, ชิฟฟ่อนโรล มัฟฟิน เค้กหน้ากล้วยตากน้ำผึ้ง และเค้กโรลวนิลาลายเสือ เป็นต้น

ในตอนแรกนั้น โรงหล่อเทียนหลวง นี้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ เพื่อผลิตเทียนหลวงสำหรับใช้ในราชสำนักพระราชวังแทนการฟั่นเทียนด้วยมือ ตลอดจนฝึกหัดบุคลากรของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาให้มีความรู้ความสามารถด้านศิลปกรรมของไทย

โรงหล่อเทียน มีการหล่อเทียนหลายแบบซึ่งเทียนของที่นี่จะทำจากขี้ผึ้งทั้งหมด อีกทั้งมีการสร้างลวดลายใหม่ๆ ล่อเทียนขึ้ผึ้งลวดลายสวยงามเพื่อจำหน่ายเป็นที่ระลึก ล่อเทียนทำชุดสังฆทานจิตรลดา ข้อดีของเทียนหลวง สวนจิตรลดา คือ มีความยือดหยุ่นสูง สามารถดัดโค้งได้ ตกแล้วไม่แตกหัก จุดแล้วน้ำตาเทียนจะน้อย เป็นต้น

โรงเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง

สาหร่ายเกลียวทอง มีองค์ประกอบทางโภชนาการที่สำคัญต่อสุขภาพมากมาย ได้แก่ โปรตีนที่มีอยู่สูงถึงร้อยละ 62-68 พร้อมอุดมไปด้วยวิตามินหลายชนิดและธาตุอหาารสำคัญหลายอย่างสายพันธุ์สาหร่ายเกลียวทอง ที่เพาะเลี้ยงในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคลังเก็บสายพันธุ์สาหร่าย ของห้องปฏิบัติการสาหร่าย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีทั้ง การเพาะเลี้ยงในห้องควบคุม, การเพาะเลี้ยงในอ่างขยายกลางแจ้ง, การเพาะเลี้ยงในอ่างผลิต

โรงเพาะเห็ด

การเพาะเลี้ยงเห็ดในสมัยแรก จะมีการเพาะเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า และเห็ดหลินจือ แต่ในปัจจุบันมีผู้ต้องการบริโภคเห็ดหลินจือ เป็นจำนวนมาก ทำให้โรงเพาะเห็ดต้องเพิ่มกำลังการผลิตเห็ดหลินจือ โดยโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้เลือกเลี้ยงสายพันธุ์ G2 ซึ่งจัดว่าเป็นเห็ดที่มีความสำคัญด้านเภสัช เพราะมีสรรพคุณบำบัดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น

การเพาะเลี้ยงเห็ดจะทำแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การแยกเชื้อบริสุทธิ์ การเลี้ยงเชื้อในเมล็ดธัญพืช การเตรียมวัสดุเพาะซึ่งประกอบไปด้วย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว ดีเกลือ และน้ำตาลทรายแดง การเพาะเลี้ยงจนเก็บเกี่ยวเห็ดได้ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก่อนนำไปอบแห้ง บรรจุใส่ถุงพลาสติก แล้วนำไปจำหน่าย ต่อมาได้พัฒนาเป็นเห็ดหลินจือบรรจุแคปซูล

โรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง

โครงการส่วนพระองค์รับซื้อน้ำผึ้งบริสุทธิ์จากกลุุ่มเกษตรกรที่อยู่ทางภาคเหนือ มาบรรจุในหลอดพลาสติก และขวดแก้ว ต่อมาเพิ่มรูปแบบในการบรรจุ ในกระปุก

โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง

โรงผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง ได้รับความร่วมมือจาก พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ออกแบบก่อสร้างโรงงาน เริ่มผลิตน้ำผลไม้กระป๋อง อีกทั้งนำปลายข้าวที่เหลือจากการสีข้าว มาแปรรูปมผลิตเป็นโจ๊กหมูและโจ๊กไก่บรรจุกระป๋อง ปัจจุบันมีผลิตหลายชนิด อาทิ น้ำมะม่วง, น้ำขึ้นฉ่าย, น้ำลำไย, น้ำขิง,น้ำกระเจี๊ยบ, น้ำมะขาม เป็นต้น, ผลิตน้ำผลไม้พร้อมดื่มตราภูฟ้า, แปรรูปสาหร่ายเกลียวมองเป็นซุปครีมสาหร่ายเกลียวทองบรรจุกระป๋อง อีกด้วย

กลุ่มพลังงานทดแทน
โรงบดแกลบ

แกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และทำเป็นเชื้อเพลิงแท่ง เป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์และยังช่วยอนุรักษ์ทรัพยากร

หน่วยทดลองผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิง

งานทดลองเชื่อเพลิงนี้เริ่มดำเนินการตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยให้ทำการศึกษาต้นทุนการผลิตแอลกอฮอลล์จากอ้อย เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่า ในอนาคตอาจเกิดเหตุการณ์น้ำมันขาดแคลน หรืออ้อยราคาตกต่ำ การนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้

โครงการแก๊สโซฮอล์

จากแนวพระราชดำริ ให้นำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน จนขยายกำลังการผลิตแอลกอฮอลล์เพื่อให้มีปริมาณเพียงงพอที่จะใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอลล์ นำมาใช้สำหรับรถยนต์ของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ต่อมาได้มีการวิจัยเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตดีโซฮอลล์ สำหรับใช้ในเครื่องยนต์ดีเซล ที่ทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาทำร่วมกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

โครงการไบโอดีเซล

ในปี ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสให้นำน้ำมันบริสุทธิ์มาทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล โดยเริ่มจากศึกษาจากน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ พบงว่าน้ำมันพืชสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ จึงเข้าสู่กระบวนการทำการทดลอง ศึกษาเรื่องไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว จนได้รับความร่วมมือจาก บางจาก ปิโตรเลียม เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้มีคุณภาพดีขึ้นและลดต้นทุนการผลิตลง

สำหรับท่านใดที่สนใจเข้าเยี่ยมชมโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการส่วนพระองค์ฯ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 02-282-8200 , 02-281-7999 ต่อ 2104
ระเบียบปฏิบัติภายในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และพิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น สวนจิตรลดา คลิ๊กอ่าน
ขอบคุณข้อมูล รูปภาพ : http://kanchanapisek.or.th/, http://www.thongkasem.com/, http://topicstock.pantip.com, สายหมอกและก้อนเมฆhttp://www.bloggang.com/, web.ku.ac.th, www.rdi.ku.ac.th
เรียบเรียงข้อมูล Travel.mthai.com

เครดิตข้อมูลและภาพจาก msn.com

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น