8.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกให้กับพระพุทธศาสนา (และทุกศาสนา) ตลอดยุคสมัยที่ทรงครองราชย์ 70 ปี ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคปัจจุบัน
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙
โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชิรญาณวงศ์
ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จฯ มาทรงปฏิบัติสมณวัตรในสำนักสมเด็จพระราชอุปัชณาย์
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ จึงทรงลาผนวชอยู่ ๑๕ วัน
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นพระที่เลี้ยง
ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้มอบหมายให้สนองพระเดชพระคุณ
จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ได้มีความรู้สึกว่าพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงผนวชตามราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้
แต่ทรงผนวชด้วยพระราชศัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงมิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า
“หัวใหม่” ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญแต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา
ฉะนั้น
ถ้าเป็นบุคลคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า “บวชด้วยศรัทธา”
เพราะทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา
และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด”
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล
พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ตามประเพณีนิยมของชาวไทย เมื่อชายไทยอายุครบกำหนดบวช ก็มักจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย
และอบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรมอันดี ตลอดจนได้รับการถ่ายทอดการฝึกกิริยามารยาทและระเบียบพิธีกรรมต่าง
ๆ ทั้งยังถือว่าเป็นการสนองพระคุณบุรพการี มีบิดามารดาเป็นต้น ดังนั้นจึงปรากฏหลักฐานว่า
พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก่อนครองราชย์สมบัติ ทรงพระผนวชตั้งแต่พระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา
แต่ที่ทรงพระผนวชเมื่อทรงดำรงสิริราชสมบัติแล้วมีเพียง ๔ พระองค์ คือ
พญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่ง กรุงศรีอยุธยา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวชเมื่อพุทธศักราช
๒๔๙๙ จึงเป็นที่ปลื้มปิติยินดีแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะได้ทรงพระผนวชในพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานแล้ว
เพราะทรงพระราชดำริว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติที่ประชาชนส่วนใหญ่ของพระองค์เลื่อมใส
ต่อมาเมื่อทรงมีโอกาสคุ้นเคยกับหลักการและแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ก็มีพระราชศรัทธายิ่งขึ้นเพราะได้ทรงประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า
พระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผลและสัจธรรม ต่อมาระหว่างศก
๒๔๙๙ นี้ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ผู้ที่พระองค์ทรงนิยมนับถือโดยวิสาสะอันสนิท
และทรงถือว่ามีคุณูปการต่อพระองค์มามากนั้น ได้ประชวรลง
พระอาการเป็นที่น่าวิตกจนแทบไม่มีหวัง แต่เดชะบุญ หายประชวรมาได้อย่างน่าประหลาด
จึงทรงพระราชดำริว่า ถ้าได้ทรงพระผนวชโดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว
จะเป็นที่สมพระราชประสงค์ในอันที่จะทรงแสดงพระราชคารวะและพระราชศรัทธาโนพระองค์ท่านเป็นอย่างดี
จึงได้ตกลงพระราชหฤทัยที่จะทรงพระผนวช เพื่ออุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณภายในศกนี้
จากนั้น
มีพระราชดำรัสให้นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ทราบเป็นการหารือ
นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลแสดงความโสมนัส ขอรับพระราชภาระในการนี้ ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย
พร้อมทั้งอัญเชิญกระแสพระราชดำริไปหารือกับสมาชิกรัฐสภา เพื่อที่จะทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ให้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างทรงพระผนวช
วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์
ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และคณะทูตานุทูตมาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูริยพิมานเป็นมหาสมาคม
เพื่อทรงแถลงพระราชดำริในการที่จะเสด็จออกทรงพระผนวช เช่นเดียวกับที่สามัญชนบอกลาบวชแก่ผู้ที่เคารพนับถือและผู้ที่คุ้นเคยจากนั้น
ได้เสด็จสู่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทเพื่อทรงแถลงพระราชดำริแก่ประชาชนชาวไทย
วันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นวันพระราชพิธีทรงพระผนวช
ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังฯ
มีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระวนรัตน์
(ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร เป็นพระอนุศาสนาจารย์ และพระศาสนโสภณ (จวน
อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระสงฆ์นั่งหัตถบาส รวม ๓๐ รูป
ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “ภูมิพโล”
เมื่อเสร็จพระราชพิธีทรงพระผนวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงพระผนวชอันขานพระนามตามหมายของสำนักพระราชวังว่า
“พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เสด็จสู่พระพุทธรัตนสถานในพระบรมมหาราชวังทรงประกอบพระราชพิธีตามราชประเพณีครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช
มีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส ๑๕ รูป เมื่อเสร็จพระราชพิธีแล้ว จึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราชพระราชอุปัธยาจารย์
สู่วัดบวรนิเวศวิหาร ประทับ ณ พระตำหนักทรงพรตเป็นเวลา ๑๕ วัน ในวันนี้ประชาชนชาวไทยจำนวนมากมายประมาณมิได้
ได้พากันมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทตามเส้นทางที่เสด็จพระราชดำเนิน
ทั้งเส้นทางมาพระบรมมหาราชวัง และเส้นทางไปสู่วัดบวรนิเวศวิหาร
ทุกคนได้แสดงออกซึ่งความปิติโสมนัสอนุโมทนาชื่นชมในพระบุญญาธิการอย่างเห็นได้ชัดเจน
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสมณเพศ
ได้ทรงเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเช่นเดียวกับพระภิกษุทั่วไป โดยเวลา ๐๘.๐๐ น. เสด็จพระราชดำเนินลงพระอุโบสถและเสด็จลงทำวัตรเย็นอีกครั้งหนึ่ง
ทรงสดับพระวินัย และพระธรรมที่พระเถระในวัดได้ผลัดเปลี่ยนกันแสดง นอกจากนั้น ยังได้ทรงร่วมกฐินกรรมในพระราชพิธีพระกฐินหลวง
ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
เสด็จพระราชดำเนิน และทรงชักผ้าป่าที่ไวยาวัจกรจัดถวาย
พระราชกิจสำคัญอีกประการ คือ
เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเพื่อทรงมนัสการพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ซึ่งเป็นพระบรมวงศ์พระองค์แรกที่ทรงผนวชจนทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช
หรือสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เสร็จแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เพื่อทรงนมัสการพระพุทธชินราชในพระอุโบสถ และทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เสด็จพระราชดำเนินไปวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เพื่อทรงสักการะพระอัฐิพระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอนุสรณ์รังษีวัฒนา
ในสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบรมราชชนกกรมหลวงสงขลานครินทร์
และเสด็จพระราชดำเนินไปถวายสักการะพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
และทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
กิจสำคัญของพระภิกษุประการหนึ่งคือการออกรับบิณฑบาตจากประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการโปรดสัตว์
เพื่อให้โอกาสแก่ประชาชนได้บำเพ็ญบุญในการทรงพระผนวชนี้ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอัมพรสถาน
เพื่อทรงรับบิณฑบาตโปรดพระบรมวงศานุวงศ์
และเสด็จพระราชดำเนินไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อโปรดคณะรัฐมนตรี
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เช้าวันที่
๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นวันที่ ๑๔ แห่งการทรงพระผนวช
ได้เสด็จพระราชดำเนินออกบิณฑบาตโดยไม่มีหมายกำหนดการ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปตามถนนสายบางลำพู
แล้วเสด็จพระราชดำเนินประทับรถวิทยุ อ.ส. (ก.ท. ส่วนพระองค์) ที่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
ออกไปทางสะพานเฉลิมวันชาติ ผ่านหน้าวังสวนกุหลาบ ถนนราชวิถี ถนนพระรามที่ ๖ อ้อมไปทางสะพานควาย
กลับมาทางถนนพหลโยธินและถนนพญาไท
ทรงแวะรับบิณฑบาตที่บริเวณใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและสี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี
ผู้ที่ออกมาตักบาตรเป็นปกติ
ทั้งคนไทยและคนจีนที่ได้มีโอกาสถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงรู้สึกตื่นเต้นที่มีบุญอย่างยิ่งโดยมิได้คาดฝัน
และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงวัดบวรนิเวศวิหาร มีคนมาถวายอาหารหน้าวัดอีก ๕-๗ ราย
ซึ่งจะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ต่อไปว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระผนวชได้เสด็จพระราชดำเนินออกทรงรับบิณฑบาตจากประชาชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำพระราชพิธีลาพระผนวช
ในวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ เวลา ๑๐.๑๕ น. เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์
ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติเป็นการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะพุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์
เป็นการสนองพระเดชพระคุณพระบรมราชบุรพการี
และยังเป็นการสืบทอดราชประเพณีจากสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และที่สุด เป็นพระราชกรณียกิจที่บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทยชื่นชมและทวีความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตราบเท่ากาลนาน
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย…….เหตุฉะนี้
เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยอย่าให้มีอันตรายมาถึงได้…
จึงเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่เป็นเชื้อชาตินักรบต้องรักษาพระศาสนานี้ให้คงอยู่ในเมืองไทยอีกต่อไป
ต้องรักษาไว้เพื่อให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราทั้งหลาย….เราจะต้องรักษาความเป็นไทยของเราให้ยั่งยืน
เราจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนาการอย่างที่เป็นมาแล้วหลายชั่วโคตรของเราทั้งหลาย
องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. ศาสนวัตถุ เช่น วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา
๒. ศาสนพิธีหมายถึง พิธีกรรม ระเบียบประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่น
พิธีทำบุญ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีบวช พิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า
๓. ศาสนบุคคล หมายถึง บุคคลในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชนทุกคน
๔. ศาสนธรรม หมายถึง หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา กล่าวโดยย่อ
ได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิและปัญญา
ศาสนธรรม เป็นแก่นแท้ของศาสนาที่จะต้องพยายามให้เข้าถึงส่วนศาสนวัตถุ
ศาสนพิธี และศาสนบุคคล เป็นเปลือกหรือกะพี้ ซึ่งก็มีความสำคัญเพราะช่วยห่อหุ้มแก่นไว้
เหมือนเปลือกกะพี้ต้นไม้ที่หุ้มห่อแก่นของต้นไม้ไว้ ต้นไม้ที่มีแต่แก่น
หากไม่มีเปลือกและกะพี้ห่อหุ้มไว้ไม่อาจจะอยู่ได้นานฉันใด พระสัทธรรมที่ขาดศาสนวัตถุ
ศาสนพิธี และศาสนบุคคล ก็ไม่อาจอยู่ได้นานฉันนั้น
การส่งเสริมพระพุทธศาสนาจึงต้องส่งเสริมองค์ประกอบทั้ง ๔
ของพระพุทธศาสนา คือ รักษาส่งเสริมศาสนวัตถุให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น รักษาวัดวาอารามให้สะอาด
น่ารื่นรมย์ ให้เหมาะสมเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม รักษาและปฏิบัติตามศาสนพิธี
คือ พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง สนับสนุนการศึกษา การปฏิบัติธรรม
และการเผยแผ่ธรรมของพระสงฆ์ ส่งเสริมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา
ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
รักษาและปฏิบัติตามศาสนธรรมที่เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่สัทธรรมปฏิรูปหรือสัทธรรมปลอม
ป้องกันสัทธรรมปฏิรูปหรือสัทธรรมปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา
ในภาวะวิกฤตของสังคมไทยเช่นในปัจจุบัน
การก่อสร้างศาสนวัตถุใหญ่โตที่ไม่จำเป็น
ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากและรบกวนประชาชน ควรจะระงับไว้ก่อน
สิ่งที่ควรจะสร้างในปัจจุบัน คือ "คน" คือ พยายามนำธรรมะให้เข้าถึงคน
และพยายามนำคนให้เข้าถึงธรรมะ ให้คนได้มีธรรมะเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
อย่าอยู่อย่างคนที่ไร้ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยว
เมื่อมีมรสุมพัดมาก็อาจจะถูกมรสุมพัดพาไปสู่ภัยพิบัติได้โดยง่าย
พระพุทธศาสนากับชาติไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับชาติและศาสนา มีข้อความดังนี้
" ชาติกับศาสนาเป็นสิ่งต่อเนื่องกัน
ถ้าชาติพินาศแล้วศาสนาก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ ถ้าศาสนาเสื่อมทรามจนสูญสิ้นไปแล้ว
ประชาชนก็จะมีคุณธรรมย่อหย่อนลงไป จนท้ายไม่มีอะไรเลย ชาติใดไร้คุณธรรม
ชาตินั้นก็ต้องถึงแก่ความพินาศล่มจม
คงต้องเป็นข้าชาติอื่นที่มีคุณธรรมบริบูรณ์อยู่ "
ในเทศนาเสือป่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงรับสั่งถึงพระพุทธศาสนา มีข้อความดังนี้
" พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด
ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งกว่าคนที่แปลงชาติ เพราะเหตุฉะนั้น
เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา "
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช
ได้ทรงมีพระราชดำรัสแด่พระสันตปาปา จอห์นพอลที่ ๒ ประมุขแห่งศาสนจักร คาทอลิก
ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗
มีข้อความตอนหนึ่งว่า
" คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน
ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ "
" ชาวไทยซึ่งเป็นพุทธมามกะชน มีจิตสำนึกมั่นคงอยู่ในกุศลสุจริตและในความเมตตากรุณา
เห็นว่าศาสนาทั้งปวงย่อมสั่งสอนความดี ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ถูก
ที่ชอบ ที่เป็นประโยชน์ ให้ใฝ่หาความสงบสุขความผ่องใสให้แก่ชีวิต
ทั้งเรายังมีเนติแบบธรรมเนียมให้ต้อนรับนับถือชาวต่างชาติต่างศาสนาด้วยความเป็นมิตร
แผ่ไมตรีแก่กันด้วยเมตตาจิตและด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ
มิให้ดูแคลนเบียดเบียนผู้ถือสัญชาติและศาสนาอื่น
ด้วยจะเป็นการนำความแตกร้าวและความรุนแรงเดือดร้อนมาให้ ดังนี้
คริสต์ศาสนาจึงเจริญงอกงามขึ้นในประเทศนี้ "
พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ได้ทรงประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
จุดเริ่มต้นของการสังคายนา
คัมภีร์พระไตรปิฏก ใหม่ทั้งฉบับ
สังคายนาครั้งที่ 1
สาเหตุปัจจัยที่นำไปสู่การทำสังคายนาครั้งที่
1 นี้มีว่า หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้เพียง 7
วัน พระมหากัสสปเถระได้พาภิกษุจำนวน 500 รูป
ออกเดินทางจากเมืองปาวาเพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ระหว่างทางได้พักแรม ณ โคนไม้แห่ง
หนึ่ง ได้พบกับอาชีวกคนหนึ่งซึ่งเดินทางผ่านมาในมือถือดอกมณฑารพ จึงได้ทราบว่า
พระบรมศาสดาเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ได้ฟังข่าวนี้ต่างก็ปลงสังเวช
แต่ภิกษุอีกส่วนหนึ่งที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ไม่อาจอดกลั้นน้ำตาไว้ได้ ต่างก็ร้องไห้คร่ำครวญ
ภิกษุรูปหนึ่งชื่อ สุภัททะ
ได้กล่าวปลอบพวกภิกษุที่กำลังตกอยู่ในความเศร้าโศกเหล่านั้นว่า ท่านผู้มีอายุ
พวกท่านอย่าร้องไห้คร่ำครวญไปเลย
เมื่อสมณะรูปนั้นขณะที่มีชีวิตอยู่ก็คอยตักเตือนพวกเราว่าอย่าทำอย่างนั้น
อย่าทำอย่างนี้ พวกเราจึงไม่อาจทำในสิ่งที่ต้องการจะทำ นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกเราจะทำอะไรก็ทำได้ตามความพอใจของพวกเรา
จะไม่มีใครติเตียนว่ากล่าวอีกแล้ว
เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ปรารภถึงถ้อยคำของพระสุภัททะนี้แล้ว
เห็นว่าเป็นถ้อยคำที่จ้วงจาบพระธรรมวินัย เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา
จึงได้นำเข้าปรึกษาในที่ประชุมสงฆ์ภายหลังจากพุทธปรินิพพานไปแล้ว 3 เดือน แล้วจัดทำสังคายนาขึ้น
การทำสังคายนาครั้งที่ 1 นี้ จัดที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
ประเทศอินเดีย ทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 3 เดือน พระอรหันต์จำนวน
500 องค์เข้าร่วมประชุม
โดยมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์และเป็นองค์ปุจฉา (ถาม)
พระอุบาลีเถระเป็นองค์วิสัชนา (ตอบ) พระวินัย พระอานนท์เถระเป็นองค์วิสัชนาพระสูตร
พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์ผู้ครองกรุงราชคฤห์เป็นองค์อุปถัมภก และเป็นประธานฝ่ายฆราวาส
ใช้เวลา 7 เดือนจึงเสร็จ
ข้อที่น่าสังเกตในการทำสังคายนาครั้งที่
1 นี้ คือ คำที่ใช้เรียกหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า จะใช้คำว่า “ธรรมวินัย” ยังไม่ปรากฏมีความว่า “พระไตรปิฎก” และ “พระอภิธรรม”
สังคายนาครั้งที่ 2
การประชุมทำสังคายนาในครั้งที่
2 นี้เกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว 100 ปี
สาเหตุที่นำไปสู่การสังคายนา คือ ภิกษุชาวแคว้นวัชชีจำนวนมากจงใจละเมิดพระวินัย
คือ สิกขาบทอันมีมาในพระปาติโมกข์ 10 ประการคือ
1. สิงคิโลณกัปปะ เก็บเกลือเอาไว้ปรุงอาหารฉันได้
(ผิด เพราะสะสมอาหาร ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
2. ทวังคุลกัปปะ ฉันโภชนะเมื่อเวลาบ่ายตอนที่ตะวันล่วงไปแล้ว
2 องคุลีได้ (ผิด เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
3. คามันตรกัปปะ ภิกษุฉันเสร็จแล้วเข้าไปในละแวกบ้าน
ฉันโภชนะอีกซึ่งเป็นอาหารเหลือได้ (ผิด
เพราะฉันอาหารพร่ำเพรื่อ คือฉันแล้วฉันอีก ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
4. อาวาสกัปปะ มีสีมาเดียวกัน
แต่ทำอุโบสถไม่พร้อมกันได้ (ผิด เพราะไม่สามัคคีกัน ปรับอาบัติทุกกฏ)
5. อนุมติกัปปะ สงฆ์ยังไม่พร้อม
อาจทำสังฆกรรมไปก่อนได้ ผู้มาทีหลังจึงขออนุมัติ (ผิด
เพราะให้ทำฉันทะมาก่อนแล้วยจึงทำสังฆกรรม ปรับอาบัติทุกกฎ)
6. อาจิณณกัปปะ ประพฤติตนตามธรรมเนียมที่อาจารย์เคยประพฤติมาได้
(ผิด เพราะความประพฤติบางอย่างถือว่าไม่สมควร)
7. อมถิตกัปปะ นมสดที่แปรสภาพแต่ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม
ภิกษุฉันอาหารแล้วจะดื่มนมอันเป็นของเหลือ (อนติริตตะ) ได้
(ผิด เพราะโภชนะอันเป็นอนติริตตะ)
8. ชโลคิงปาตุง ดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมาได้
(ผิด เพราะดื่มสุราและเมรัย ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
9. อทสกัง นิสีทนัง ใช้ผ้าปูที่นั่งไม่มีชายได้
(ผิด เพราะละเมิดบัญญัติที่ให้ภิกษุต้องนั่งผ้าปูที่มีชาย ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
10. ชาตรูปรชตัง รับเงินและทองได้
(ผิด เพราะห้ามมิให้ภิกษุรับเงินและทอง ปรับอาบัติปาจิตตีย์)
ในคราวนั้น พระยสกากัณฑบุทต
ชาวเมืองปาฐา จาริกมาถึงเมืองเวสาลี เห็นพวกภิกษุชาววัชชีประพฤติผิดบัญญัติ 10 ประการ
จึงได้นำเอาเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเถระหลายรูป ในที่สุดพระเถระทั้งหลายก็เห็นพ้องกันว่าควรจะชักชวนภิกษุชาวเมืองปาวาและ
ภิกษุชาวเมืองอวันตี มาประชุมทำสังคายนา และการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นในที่สุด
การทำสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ ทำที่วาลิการาม เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย
พระอรหันต์เข้าร่วมประชุมจำนวน 700 รูป พระสัพพกามีเถระ เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์และเป็นองค์วิสัชนา
พระเรวตเถระเป็นองค์ปุจฉา พระเจ้ากาลาโศกราช กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธและวัชชีเป็นองค์อุปถัมภกและเป็นประธานฝ่ายฆราวาส
ใช้เวลาทำสังคายนาครั้งนี้ 8 เดือนจึงเสร็จ
ในการประชุมสังคายนาครั้งนี้มติในที่ประชุมสงฆ์ตัดสินว่า
การที่ภิกษุชาววัชชีประกาศวัตถุ 10 ประการนั้นผิดทุกข้อ
ซึ่งถือว่าเป็นบัญญัติที่หลีกเลี่ยงคำสอนของพระบรมศาสดา เมื่อมติออกมาเช่นนี้
จึงเป็นผลให้ภิกษุชาววัชชีประมาณ 700 รูป แยกตัวออกไป ไม่ยอมปฏิบัติตามหลักพระวินัยเดิมที่พระเถระผู้ใหญ่กำหนดในการทำสังคายนาครั้งนี้
และมีภิกษุอื่น ๆ ที่เห็นด้วยกับพวกภิกษุวัชชีบุตรอีกรวมแล้วประมาณ 10,000 รูป จากนั้นก็พากันจัดทำสังคายนาขึ้นใหม่ เรียกว่า “มหาสังคีติ”
ประกาศขื่อของพวกตนว่า “มหาสังฆิกะ” ซึ่งแปลว่า พวกมากหรือหมู่ใหญ่
นัก
ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่า กลุ่มมหาสังฆิกะ
เป็นกลุ่มที่เป็นต้นกำเนิดนิกายมหายาน เพราะเป็นกลุ่มที่ประกาศแยกออกมาอย่างชัดเจน
แล้วมาร่วมกันรจนาพระธรรมในความหมายใหม่ว่า ธรรมนั้นเป็นพาหนะใหญ่ ช่วยขนเอาสรรพสัตว์ได้อย่างกว้างขวาง
ไม่ยอมถอนวัตถุ 10 ประการ
และยึดถือหลักปฏิบัติตามมติและทิฐิของครูอาจารย์เป็นสำคัญ จึงกลายเป็นฝ่าย
อาจริยวาท (อาจริยวาทิน) แล้วเรียกพวกตนว่า “มหายาน” และเรียกฝ่ายตรงกันข้ามว่า “เถรวาท” หรือ “หีนยาน” ดังนั้นผลของการทำสังคายนาครั้งที่
2 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาแยกออกเป็น 2 นิกายใหญ่
ๆ คือ กลุ่มเถรวาทหรือหีนยาน กับกลุ่มอาจริยวาทหรือมหายาน และทั้ง 2 นิกายนี้ก็ยังแยกออกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก กล่าวคือ
1. กลุ่มเถรวาท บางทีเรียกว่า “สถวีร” แยกเป็นนิกายย่อย ๆ อีก 16 นิกาย (รวมทั้งนิกายเดิมคือ สถวีร)
2. กลุ่มอาจาริยวาท หรือบางทีเรียกว่า
“มหาสังฆิกะ” แยกออกเป็นนิกายย่อย ๆ
อีก 10 นิกาย (รวมทั้งนิกายเดิมคือ มหาสังฆิกะ)
เมื่อพุทธศักราชล่วงไปได้ประมาณ
1,000 ปี ฝ่ายมหายานได้หันเหลัทธิและทิฐิของตนไปผสมผสาน
และปะปนกับลัทธิท้องถิ่นที่เผยแผ่เข้าไปถึงบ้าง ผสมผสานกับลัทธิในศาสนาอื่นบ้าง
เช่น ศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้เกิดลัทธิใหม่ขึ้น เช่น
ลัทธิโยกาจาร เป็นลัทธิที่ผสมผสานระหว่างลัทธิพุทธกับตันตระของพราหมณ์ จนกลายเป็น “พุทธตันตรยาน” และ “วัชรยาน”
ซึ่งเป็นพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ในทิเบต
ที่รู้จักในชื่อว่า ลัทธิลามะของทิเบต
สังคายนาครั้งที่ 3
การทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้ มีสาเหตุมาจากพระพุทธศาสนาได้รับความยอมรับนับถืออย่างกว้างขวาง มีผู้มีศรัทธาขอบวชในพุทธศาสนาจำนวนมาก
จนเป็นสาเหตุให้นักบวชนอกศาสนาขาดลาภสักการะ พวกนี้บางทีเรียกว่า “เดียร์ถีย์” ได้ปลอมบวชในพุทธศาสนา
แสดงลัทธิขัดต่อหลักพุทธศาสนา ทำการเผยแพร่ลัทธิของตนในนามพระพุทธศาสนา
เป็นผลให้เกิดการรังเกียจ แตกแยกและเคลือบแคลงสงสัยในวงการพุทธศาสนา
จนไม่ทำอุโบสถสังฆกรรมร่วมกันเป็นเวลานานถึง 7 ปี
พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ทรงศรัทธาเลื่อมใสพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และทรงเป็นองค์อุปถัมภก
ทรงวิตกว่าหากไม่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะทำให้พุทธศาสนาเสื่อมสลายไป ดังนั้น
พระองค์จึงทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระให้ช่วยชำระสอบสวน และกำจัดพวกเดียร์ถีร์ออกไปจากธรรมวินัยเสีย
ในครั้งนั้นพวกภิกษุที่ปลอมบวชในพระพุทธศาสนาได้ถูกจับสึกเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น
พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงให้อาราธนาภิกษุผู้บริสุทธิ์ร่วมกันทำอุโบสถสังฆกรรม พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเห็นเป็นโอกาสสมควรจึงได้จัดให้มีการทำสังคายนาขึ้น
หลังจากการทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้เสร็จสิ้นลงแล้ว
พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระโมคัลลีบุตรติสสเถระ ได้มีความเห็นร่วมกันว่า
ในอนาคตพุทธศาสนาอาจไม่มั่นคงอยู่ในอินเดีย จึงเห็นควรส่งพระสมณทูตออกไปเผยแผ่ในส่วนต่าง
ๆ ของอินเดียและในต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการส่งพระสมณทูตออกประกาศพุทธศาสนา
โดยแบ่งออกเป็น 9 สาย
ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระสมณทูต 9 สายคือ
สายที่ 1 มีพระมัชฌันติกเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย คือ
แคว้นกัษมีระ (แคชเมียร์) และแคว้านคันธาระ
สายที่ 2 มีพระมหาเทวเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย คือ แคว้น
มหิสมณฑล (ปัจจุบัน คือ รัฐไมซอร์)
สายที่ 3 มีพระรักขิตเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งได้แก่
แคว้นวนวาสีประเทศ
สายที่ 4 มีพระธรรมรักขิตเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาแถบชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย อันได้แก่
แคว้น
อปรันตกชนบท (ปัจจุบัน คือ แถบบริเวณเหนือเมืองบอมเบย์)
สายที่ 5 มีพระมหาธรรมรักขิตเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบอมเบย์ อันได้แก่
แคว้นมหาราษฎร์
สายที่ 6 มีพระมหารักขิตเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่โยนกประเทศ (กรีซ)
สายที่ 7 มีพระมัชฌิมเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางดินเดียภาคเหนือ
(แถมเทือกเขาหิมาลัยและประเทศเนปาล)
สายที่ 8 มีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ
เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบสุวรรณภูมิ (ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ไม่อาจตกลงกันได้ว่าที่ใด
แต่มีความเป็นกว้าง ๆ ว่า คือดินแดนที่เป็นประเทศพม่า (เมียนมาร์)
ไทย ลาว ญวน เขมร และมลายู)
สายที่ 9 มีพระมหินทเถระ
เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป (ปัจจุบัน คือ ศรีลังกา)
สังคายนาครั้งที่ 4
การ ทำสังคายนาครั้งที่ 4
นี้ ไม่ได้ทำในประเทศอินเดีย แต่จัดทำขึ้นที่ลังกา เมื่อพุทธศักราช
236 (บางแห่งว่า พ.ศ. 238) โดยพระมหินทเถระที่เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่ลังกา
ได้เป็นพระเถระองค์สำคัญในการจัดทำสังคายนาครั้งนี้ โดยจัดขึ้นที่ถูปาราม อนุราชบุรี
ประเทศศรีลังกา วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดครั้งนี้ก็เพื่อความตั้งมั่นแห่งพุทธศาสนาและเป็น
การวางรากฐานให้ชาวศรีลังกาท่องจำพุทธวจนะตามแนวที่จัดระเบียบไว้แล้วใน อินเดีย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทำอยู่นานเท่าไรจึงสำเร็จ
ตามที่หลักฐานปรากฏในบางแห่งระบุว่า
การทำสังคายนาครั้งที่ 4 นี้
จัดทำที่เมืองบุรุษปุระในอินเดียภาคเหนือ ซึ่งเป็นการจัดทำของฝ่ายมหายาน
(อาจาริยวาท) โดยความอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะ แต่ฝ่ายเถรวาทได้แก่ ไทย ลาว พม่า
เขมร ลังกา ไม่ยอมรับรอง เพราะถือว่าเป็นการสังคายนาของนิกายอื่น ผลอันหนึ่งของการสังคายนาครั้งนี้
คือ ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต ในการจารึกพระไตรปิฎก
สังคายนาครั้งที่ 5
การทำสังคายนาครั้งที่ 5 นี้ จัดขึ้นที่มหาวิหาร ประเทศลังกา เมื่อพุทธศักราช 450 ปี (บางแห่งเป็น พ.ศ. 433) สาเหตุของการจำทำครั้งนี้เกิดจากพระราชดำริของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย
(บางแห่งเป็นทุฏฐคามินีอภัย) กษัตริย์ปกครองลังกา
ที่ว่าเมื่อกาลเวลาล่วงไป หากยังคงใช้วิธีการท่องจำพระพุทธวจนะ โดยไม่มีการจารึกไว้หเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
ความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดอาจเกิดขึ้น
ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้คำสอนของพุทธศาสนาผิดไปจากเดิม ในที่สุดพุทธศาสนาก็จะเสื่อมสูญไปตามกาลเวลา
อาศัยพระราชดำริของกษัตริย์ลังกานี้เอง
จึงเกิดการทำสังคายนาครั้งที่ 5 ขึ้น
โดยพระองค์ทรงโปรดให้พระพุทธทัตตเถระกับพระมหาติสสเถระร่วมกันดำเนินการ มีพระสงฆ์เข้าร่วมประชุมจำนวน
1,000 รูป สังคายนาครั้งนี้มีความสำคัญ สรุปได้ 2 ประการคือ
1. นับเป็นครั้งแรกที่มีการจดบันทึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลาน
ด้วยภาษาบาลี ตามตำนานระบุว่าได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย
2. พระธรรมวินัยที่ถูกจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งนี้
ถือว่าเป็นต้นฉบับของพระไตรปิฎก ของฝ่ายเถรวาท ซึ่งภายหลังปรากฏว่า มีผู้นำเอาไปแปลเป็นภาษาของตน
การทำสังคายนาครั้งที่ 5 นี้ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของกลุ่มเถรวาท
ความจริงการสังคายนานั้นมีการจัดทำกันหลายครั้งในที่หลายแห่ง ฝ่ายที่จัดทำก็มีทั้งฝ่ายเถรวาทและอาจริยวาท
โดยต่างคนต่างทำในฝ่ายของตนเอง และต่างก็ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน
แม้ในฝ่ายเถรวาทเองก็ได้จัดทำสังคายนาหลายครั้งหลังจากการทำสังคายนาครั้งที่
5 ผ่านไปแล้ว
แผนผังสรุปการสังคายนาทั้ง
5 ครั้ง
ครั้งที่
|
สังคายนาเมื่อ
|
องค์ประธานฝ่ายสงฆ์
|
องค์อุปถัมภก
|
จำนวนผู้เข้าร่วม
|
สถานที่
|
1
|
หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน เวลา 7 เดือน
|
พระมหากัสสปเถระ
|
พระเจ้าอชาตศัตรู
|
พระอรหันต์ 500 องค์
|
ถ้ำสัตตบรรณคูหา
เขาเวภาระเมืองราชคฤห์ อินเดีย
|
2
|
หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปีเวลา 8เดือน
|
พระสัพพกามีเถระ
|
พระเจ้ากาลาโศกราช
|
พระอรหันต์ 700 องค์
|
วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
อินเดีย
|
3
|
หลังพุทธปรินิพพาน 218 ปีเวลา 9เดือน
|
พระโมคคัลลีบุตร
ติสสเถระ
|
พระเจ้าอโศกมหาราช
|
พระอรหันต์ 1,000 องค์
|
อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร อินเดีย
|
4
|
ปีพ.ศ. 236
|
พระมหินทเถระ
|
-
|
-
|
ถูปาราม อนุราชบุร ีศรีลังกา
|
5
|
ปีพ.ศ. 450
|
พระพุทธทัตตเถระ
|
พระเจ้าทุฏฐคามีนีอภัย
|
พระสงฆ์ 1,000รูป
|
มหาวิหาร ศรีลังกา
|
มูลเหตุของการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นอย่างไร
สมัยพุทธกาล
การรวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาเริ่มมีขึ้นเมื่อครั้งที่นิครนถนาฏบุตร
ศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตลง และสาวกของท่านไม่ได้เก็บรวบรวมคำสอนไว้ ทำให้เหล่าผู้นับถือศาสนาเชนจึงเกิดการแตกแยก
และถกเถียงกันว่าแท้จริงแล้วศาสดาของตนสอนไว้เช่นไร พระจุนทเถระทราบเรื่องจึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า
พระองค์จึงได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำสังคายนา เพื่อรักษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป
เมื่อพระสารีบุตรทราบถึงเรื่องราวปัญหาของศาสนาเชน
ก็ได้แสดงวิธีสังคายนาไว้เป็นตัวอย่างต่อหน้าที่ประชุมคณะสงฆ์ โดยรวบรวมข้อธรรมต่างๆ
ให้อยู่ตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ
เมื่อพระสารีบุตรแสดงธรรมจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานสาธุการแก่หลักธรรมที่พระสารีบุตรแสดงไว้
ทั้งนี้
ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฎก แต่ก็มีคำเรียกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า
พฺรหฺมจริย หรือพรหมจรรย์ และ ธมฺมวินย หรือธรรมวินัย
การสังคายนาครั้งที่ 1 ที่ชมพูทวีป
การทำสังคายนาครั้งแรกเกิดขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
3 เดือน ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์
ประเทศอินเดีย ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู โดยมีพระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน
และเป็นผู้คอยซักถาม มีพระอุบาลีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย และมีพระอานนท์เป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อธรรม
การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์มาประชุมร่วมกันทั้งหมด 500 รูป ดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 เดือน จึงเสร็จสิ้น ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการสังคายนาครั้งนี้
มูลเหตุการสังคายนา
1. มูลเหตุในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นมีภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อสุภัททะ
กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม เมื่อสมัยที่พระพุทธเจ้ายังอยู่
พระองค์ทรงเข้มงวดกวดขัน คอยชี้ว่านี่ถูก นี่ผิด นี่ควร นี่ไม่ควร ทำให้พวกเราลำบาก
บัดนี้พระองค์ปรินิพพานไปแล้ว พวกเราจะได้ทำอะไรตามใจชอบเสียที
เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ฟังดังนี้ก็รู้สึกสลดใจ ดำริว่าแม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปใหม่ๆ
ยังปรากฏผู้มีใจวิปริตจากธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ถ้าปล่อยไว้นานเข้า
คำสอนทางพระพุทธศาสนาอาจถูกบิดเบือนไปได้
2. เพื่อความยั่งยืนของพระธรรมวินัย
และความถูกต้อง
3. เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ข้อกำหนดในการสังคายนา
ในการสังคายนามีข้อกำหนดที่สามารถเป็นเหตุผลยืนยันถึงความจริงความถูกต้องของพระธรรมวินัย
ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมสังคายนาต้องเป็นพระอรหันต์
และต้องมีปฏิสัมภิทา 4 ( เป็นความเชี่ยวชาญเกิดจากปริยัติธรรม
ได้แก่ 1. เชี่ยวชาญในสารประโยชน์ 2. เชี่ยวชาญในหลักธรรม
3. เชี่ยวชาญในภาษา 4. มีความเชี่ยวชาญในการมีไหวพริบ)
และต้องมีอภิญญา 6 (เป็นคุณธรรมพิเศษที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมจนได้ฌาน
ได้แก่ 1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ 2. ทิพพจักขุ
มีตาทิพย์ 3. ทิพพโสต มีหูทิพย์ 4. เจโตปริยญาณ
การล่วงรู้จิตใจผู้อื่น 5. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้
6. อาสวักขยญาณ การหลุดพ้นจากอาสวะ
2. จะต้องทำสังคายนาที่กรุงราชคฤห์
แคว้นมคธ เพราะเป็นแคว้นใหญ่ พระเจ้าอชาตศรัตรูกำลังเรืองอำนาจ และที่นั่นก็มีพระเถระหลายรูป
3. เพื่อขอให้พระเจ้าอชาตศรัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์เพื่อความราบรื่นในการสังคายนา
http://www.dhammathai.org/buddha/g834.php
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/abouttripitaka/sangkayana.html
http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m1/unit1/no1.php
th.wikipedia.org/wiki/การสังคายนาพระธรรมวินัยในพุ ... - 89k
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=10074
การสังคายนาครั้งที่ 2 ที่ชมพูทวีป
การทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย
โดยมีพระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่
พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระอุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ)
พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ
(ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย
การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป
ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการสังคายนาครั้งนี้
มูลเหตุการสังคายนา
ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ
พระยสะ กากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร
เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้
ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย
แก้ความถือผิดครั้งนี้
เหตุการณ์ในการสังคายนาและผลที่ตามมาคือการแบ่งแยกเป็นนิกายต่างๆ
18 นิกาย
ในที่ประชุม
สังคายนา ได้พิจารณาข้อบัญญัติ 10 ประการ เหล่านั้น ว่า
ข้อวัตรของภิกษุ ฝ่ายตะวันออก ไม่ถูกต้อง ตามพระวินัย การกระทำเช่นนี้ ไม่ลงรอยกับ
พระปาฏิโมกข์ บ่อนทำลาย ความมั่นคงของ พระพุทธศาสนา ที่ประชุมสังคายนา ในครั้งนั้น
ให้กำจัด ข้อบัญญัติ 10 ประการ เหล่านั้น ออกไป ในการลงมติ
พระภิกษุวัชชีบุตร ภิกษุชาวเมืองเวสาลี ไม่เห็นชอบด้วย ไม่พอใจ จึงได้จัดทำ
สังคายนาขึ้นเอง ต่างหาก เรียกว่า “มหาสังคีติ” และพระภิกษุฝ่ายนี้ เรียกว่า “มหาสังฆิกะ” ส่วนภิกษุฝ่ายตะวันตก ได้นามว่า “เถรวาทิน” การเปลี่ยนแปลง ที่ยิ่งใหญ่ ในสังฆมณฑล
เริ่มก่อตัวขื้นแล้วจากสถาณการณ์นี้
ฝ่ายสังฆิกะ
ยังคงมีกำลังอยู่ ในเมืองเวสาลี และได้จัดส่ง พระภิกษุในฝ่ายตน ไปทางเหนือและใต้ หลังจากนั้น
พระพุทธศาสนา ได้มีการแบ่งแยก ออกเป็นกลุ่มเล็ก เมื่อแตกแยก ครั้งหนึ่งแล้ว ก็ทำให้เกิด
การแตกแยก ครั้งต่อๆไป สังฆมณฑล แห่งพระพุทธศาสนา จึงได้แตกออก เป็นนิกายย่อยๆ อีกเป็นจำนวนมาก
ภายในระยะเวลาอันสั้น ฝ่ายที่ยึดมั่น อยู่กับพระธรรมวินัย แตกแยกออก
เป็นนิกายย่อยถึง 11 นิกาย คือ เถรวาทะ (หรือ อรยสถวีรวาทะ) วัชชีปุตตกะ
มหิสาสกะ ธรรมมุตตริกะ (ธรรมคุปตะ) สัพพัตถิกวาทะ (สรวาสติวาทะ) กัสสปิกะ
(กาศยปิยะ) สังกันติกะ (เสาตรานติกะ) สุตวาทะ สัมมติยะ (วาสสีปุตริยะ)
ภัททยานิกะ และจันทคาริกะ
สำหรับ
ฝ่ายที่ไม่ยึดมั่น ต่อพระธรรมวินัย ได้แยกออกเป็น นิกายย่อย 7 นิกาย คือ นิกายมหาสังฆิกะ โคกุริกะ (กุกกุริกะ) ปัญญัตติวาทะ
(ปรัชญาปติวาทะ) พหุสสุติกะ (พหุศรุติยะ) เจติยวาทะ เอกัพโยหาระ (เอกวยวหาริกะ) อุตรเสสิย
จากสิบแปดนิกายนี้
เมื่อเวลาล่วงไปๆ ก็เกิดเป็นนิกายย่อยๆ ขึ้นอีกหลายนิกาย เมื่อพระภิกษุเหล่านี้
แยกย้ายกันไปทั่วอินเดีย และประเทศใกล้เคียง นิกายเหล่านี้ จึงไปเจริญรุ่งเรือง ขึ้นในที่นั้นๆ.
คัดบางตอนมาจาก
(http://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_2/idia1_c_01_wasale/23_wasale2.htm)
รายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง
มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎกในการปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สองเลย
แต่ในสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายวินัยปิฎกนั้น บอกว่าการจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างพระไตรปิฎกนั้น
มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาแล้ว
การสังคายนาครั้งที่ 3 ที่ชมพูทวีป
การทำสังคายนาครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 235 ที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีพระโมคคลีบุตร
ติสสเถระ เป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 1,000 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงเสร็จสิ้น
ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการสังคายนาครั้งนี้
มูลเหตุสังคายนา
ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ
มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ
และเพื่อบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ได้แสดงลัทธิและความเห็นของตนว่า
"เป็นพระพุทธศาสนา เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า" พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ
จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป
การสังคายนา
ในการทำสังคายนาครั้งนี้
คงมีการซักถามพระธรรมวินัยและตอบข้อซักถามเช่นเดียวกับการสังคายนาครั้งก่อน แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่า
พระเถระรูปใดทำหน้าที่ซักถาม รูปใดทำหน้าที่ตอบข้อซักถาม พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ
ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว
ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในที่นี้มีพระมหินทเถระ
ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา
รวมทั้งพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ ที่นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิด้วย
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชให้มีการสอบสวน
สะสาง กำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชประมาณ 60,000 รูป
แล้วให้สละสมณเพศออกจากพระพุทธศาสนาได้สำเร็จ
ส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่ศาสนายังนานาประเทศ
หลังการสังคายนาได้มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ
รวม 9
สายด้วยกัน โดยส่งไปสายละ 5 รูป
เพื่อจะได้ทำพิธีอุปสมบทได้ถูกต้องตามพระวินัย
สายที่ 1 พระมัชฌัตติกเถระ พร้อมด้วยคณะรวม
5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัศมีระและแคว้นคันธาระ
สายที่ 2 พระมหาเทวเถระ พร้อมด้วยคณะรวม 5
รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสมณฑล และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี
สายที่ 3 พระรักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะรวม 5
รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาลีประเทศ
สายที่ 4 พระธรรมรักขิตเถระ
หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)
พร้อมด้วยคณะ ได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท
สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ
พร้อมด้วยคณะรวม 5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ
แคว้นมหาราษฎร์
สายที่ 6 พระมหารักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะรวม
5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ
สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะอีก 4
รูป คือ 1. พระกัสสปโคตรเถระ 2. พระมูลกเทวเถระ 3. พระทุนทภิสสระเถระ และ 4. พระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย
สายที่ 8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ พร้อมด้วยคณะอีก
3 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ
สายที่ 9 พระมหินทเถระ
(โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะรวม 4 รูป คือ 1.
พระอริฏฐเถระ 2. พระอุทริยเถระ 3. พระสัมพลเถระ และ 4. พระหัททสารเถระ
ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
กษัตริย์แห่งลังกาทวีป
การสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ชมพูทวีป
เริ่มมีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรบนแผ่นทองเหลือง
การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643 ที่เมืองชาลันธร
แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์หรือแคชเมียร์ ตอนเหนือของประเทศอินเดีย
เป็นการผสมผสานลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน พระเจ้ากนิษกะ
ได้ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งนี้ หลักฐานทิเบตกล่าว่า มีพระอรหันตสาวก 500
รูป พระโพธิสัตว์ 500 และมีบัณฑิตอีก 500
เข้าร่วมในการทำสังคายนาครั้งนี้
การทำสังคายนาครั้งนี้กระทำโดยพระภิกษุฝ่ายสรติวาทินและพระภิกษุฝ่ายมหาสังฆิกะบางนิกายร่วมกัน
ฝ่ายเถรวาทจะไม่บันทึกถึงการสังคายนาครั้งนี้ แต่ประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็จารึกไว้
จึงเป็นสังคายนาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกฝ่ายอุตรนิกาย
มูลเหตุการสังคายนา
พระปรารศวเถระได้แนะนำพระเจ้ากนิษกะ
เพื่อการทำสังคายนาโดยมุ่งหวังที่จะปรับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้เป็นเอกภาพ และประสงค์จะบันทึกคัมภีร์ฝ่ายสัพพัตถิกวาท
เป็นภาษาสันสกฤต และเพื่อทำให้พุทธศาสนาแบบมหายานมั่นคง
ผลจากการทำสังคายนา
1. มีการเขียนคำอธิบายพระไตรปิฎกหรืออรรถกถาเป็นภาษาสันสกฤตปิฎกละ
100,000 โศลก รวม 300,000 โศลก กล่าวคือ
พระสูตร 100,000 โศลก เรียกว่า อุปเทศศาสตร์ พระวินัย
100,000 โศลก เรียกว่า วินยวิภาษาศาสตร์ พระอภิธรรม 100,000 โศลก เรียกว่า อภิรรมวิภาษาศาสตร์
2. มีการประสานความคิดระหว่างนิกายต่างๆ
ทั้ง 18 นิกายแล้วจารึกอักษรคัมภีร์ทางศาสนาเป็นสันสกฤต ครั้งแรก
หลวงจีนยวนฉ่าง
ได้กล่าวถึงการสังคายนาครั้งนี้ว่าได้มีการจารึกพระธรรมลงแผ่นทองเหลือง และเก็บไว้ในหีบทำด้วยศิลา
เพื่อเก็บรักษาไว้ในพระเจดีย์
ในการสังคายนาครั้งนี้
มหายานแยกตัวออกไปอย่างชัดเจนและเจริญรุ่งเรืองแพร่หลาย มีพระสงฆ์และชาวพุทธสำคัญเป็นปราชญ์
เป็นที่ปรึกษา เป็นกวีในราชสำนัก ทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระศาสนาในอาเซียกลาง ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยัง
จีน เกาหลี มองโกเลีย และญี่ปุ่น ในสมัยต่อมาทรงสร้างสถูปและวัดวาอารามเป็นอันมาก และเป็นสมัยที่ศิลปะแบบคันธาระ
เจริญถึงขีดสุด
(พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต), พระพุทธศาสนาในอาเซีย.
กรุงเทพฯ: ธรรมสภา 2540, หน้า 342)
การสังคายนาครั้งที่ 1 ที่ลังกาทวีป
ในพ.ศ.238
หลังจากพระมหินทเถระและคณะออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกาทวีปประมาณ
3 ปี ได้มีการทำสังคายนาขึ้นที่ ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ในประเทศศรีลังกา
โดยมีองค์อุปถัมภ์ คือพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ใช้เวลา10
เดือนจึงสำเร็จ
มูลเหตุของการสังคายนา
พระมหินทเถระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากมั่นคงในลังกาทวีป
เป็นการวางรากฐานให้พระสงฆ์ชาวลังกาท่องจำพระพุทธวจนะตามระบบการศึกษาพระปริยัติธรรมในเวลานั้น
การสังคายนา
พระมหินทเถระเป็นประธาน
พระอริฏฐเถระเป็นผู้สวดทบทวนหรือตอบข้อซักถามด้านพระวินัย มีพระเถระรูปอื่นๆสวดทบทวนพระธรรม
มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นจำนวน 38 รูป
พระเถระผู้จดจำพระไตรปิฎกอีกจำนวน 962 รูป
การสังคายนาครั้งที่ 2 ในลังกาทวีป
การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 433 ที่อาโลกเลนสถาน ณ มตเลชนบท ในประเทศศรีลังกา โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน
องค์อุปถัมภ์คือพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวัจนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงในใบลาน
ใช้เวลา 1 ปี จึงสำเร็จ
มูลเหตุในการทำสังคายนา
ทางการคณะสงฆ์ชาวลังกาและทางราชการบ้านเมืองเห็นว่า
พระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะที่ได้สังคายนาไว้นั้น มีความสำคัญมาก
นับเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา หากจะพิทักษ์รักษาธรรมวินัยให้ดำรงอยู่สืบไปด้วยวิธีการท่องจำดังที่เคยถือปฏิบัติกันมา
ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะความจำของผู้บวชเรียนเสื่อมถอยลง
การสังคายนา
ในการสังคายนาครั้งนี้
พระรักขิตมหาเถระเป็นประธานและเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระติสสเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถาม
มีพระสงฆ์ผู้เป็นองค์พระอรหันต์ และพระสงฆ์ปุถุชนเข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ จำนวนกว่า
1,000 รูป ได้จารึกพระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะ เป็นภาษามคธอักษรบาลีลงในใบลาน
พร้อมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ซึ่งเดิมเป็นภาษามคธอักษรบาลี
นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจารึกพระธรรมวินัยเป็นภาษามคธอักษรบาลีเป็นหลักฐาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
พระไตรปิฎกลายลักษณ์อักษร จึงมีขึ้นเป็นฉบับแรกในพระพุทธศาสนา
การสังคายนาครั้งที่ 3 ในลังกาทวีป)
ในปี
พ.ศ.956 ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย โดยการแปลและเรียบเรียงอรรถกถา
(คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก) ทำที่โลหปราสาท เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป โดยมีพระพุทธโฆสเถระ
( พระพุทธโฆษาจารย์) เป็นประธาน มีพระเจ้ามหานามเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลา 1
ปี จึงสำเร็จ
มูลเหตุและการสังคายนา
พระพุทธโฆสะ
ซึ่งเป็นพระมหาเถระชาวชมพูทวีป ผู้เปรื่องปราดมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และนับเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลี
เห็นว่าคัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกนั้นมีสมบูรณ์ บริบูรณ์ เป็นภาษาสิงหล
อยู่ในลังกาทวีป ท่านจึงเดินทางไปลังกาทวีป ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้ามหานามเพื่อแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ
เพื่อจะได้เป็นตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน) สอดคล้องกับคัมภีร์พระไตรปิฎก
และจะได้เป็นประโยชน์กว้างขวางต่อไป นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในลังกาทวีป
การสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ลังกาทวีป
ในพ.ศ.1587
ลังกาทวีป (ที่โลหปราสาท เมืองอนุราธปุระ) โดยมีพระเจ้าปรักกมพาหุเป็นองค์อุปถัมภ์
พระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยกรรมการสงฆ์จำนวนกว่า 1,000 รูป ใช้เวลา 1 ปี จึงสำเร็จ
มูลเหตุและการสังคายนา
ทางการคณะสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
และทางราชการบ้านเมืองอันมีพระเจ้าปรักกมพาหุเป็นประมุข เห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก
ซึ่งเรียกว่าปาลินั้น เป็นภาษามคธอักษรบาลี
คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎกซึ่งเรียกว่าอรรถกถา ก็ได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธ
อันเป็นตันติภาษาสอดคล้องกับคัมภีร์พระไตรปิฎกแล้ว ส่วนคัมภีร์อธิบายอรรถกถาซึ่งเรียกว่า
ฎีกา และคัมภีร์อธิบายฎีกาซึ่งเรียกว่า อนุฎีกา ยังมิได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธ
ยังเป็นภาษาสิงหลบ้าง เป็นภาษาสิงหลปะปนกับภาษามคธบ้าง
ควรจะได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธให้หมดสิ้น จึงได้ดำเนินการแปลและเรียบเรียงคัมภีร์ดังกล่าวเป็นภาษามคธ
เป็นตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน) เช่นเดียวกับคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่
4 ในลังกาทวีป
เหตุการณ์สำคัญหลังสังคายนา
หลังจากที่ได้มีการสังคายนาไม่นาน
พระเจ้าอนุรุทมหาราช กษัตริย์กรุงอริมัททนปุระ (พุกาม) แห่งประเทศพม่า ได้เสด็จไปลังกาทวีป
และทรงจำลองคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
นำมาประดิษฐานไว้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศพม่า ต่อแต่นั้นมา
บรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น ไทย เขมร
ก็ได้ส่งพระสงฆ์และราชบัณฑิตไปจำลองคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา
นำมาประดิษฐานไว้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศของตนบ้าง
การสังคายนาครั้งที่ 1 ที่ประเทศไทย
ในพ.ศ.2020
ได้มีการทำสังคายนาขึ้นที่วัดโพธาราม ณ เมืองนพิสิกร คือ
เมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย องค์อุปถัมภ์คือ พระเจ้าติโลกราช
หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราช โดยมีประธานฝ่ายสงฆ์คือพระธรรมทินมหาเถระพร้อมด้วยการกสงฆ์
ใช้เวลา 1 ปี จึงสำเร็จ
มูลเหตุการสังคายนาและการสังคายนา
พระธรรมทินมหาเถระผู้เปรื่องปราดแตกฉานในพระไตรปิฎก
ได้พิจารณาเห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา
ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้นมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก ด้วยการจำลองหรือคัดลอกกันต่อๆมาเป็นเวลาช้านาน
จึงเข้าเฝ้าถวายพระพรขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าติโลกราช เมื่อได้รับการอุปถัมภ์แล้ว
พระธรรมทินมหาเถระก็ได้เลือกพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกประชุมกันทำสังคายนา โดยการตรวจชำระพระไตรปิฎก
พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา จารึกไว้ในใบลาน ด้วยอักษรธรรมของล้านนา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่
1 ในอาณาจักรล้านนาหรือประเทศไทยในปัจจุบัน ข้อที่น่าสังเกตก็คือ
ตัวอักษรที่ใช้ใน
การจารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นคงเป็นอักษรแบบไทยลานนาคล้ายอักษรพม่า มีผิดเพี้ยนกันบ้าง
และพอเดาออกเป็นบางตัว
การสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
ในปี
พ.ศ.2331 ได้มีการทำสังคายนาข้นที่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย องค์อุปถัมภกคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน
มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน 218 รูป
และมีราชบัณฑิตเป็นผู้ช่วยเหลือจำนวน 32 คน ใช้เวลา 5
เดือน จึงแล้วเสร็จ
มูลเหตุการสังคายนาและการสังคายนา
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท
ทรงมีพระราชศรัทธาปรารถนาจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป ได้ทรงทราบจากพระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธานว่า
เวลานั้นพระไตรปิฎกมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก แม้พระสงฆ์จะมีความประสงค์จะทำนุบำรุงให้สมบูรณ์ก็ไม่มีกำลังพอจะทำได้
พระองค์จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งปวงให้รับภาระในเรื่องนี้
ดังนั้น พระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธาน จึงได้เริ่มทำการสังคายนาพระธรรมวินัย
ตรวจชำระพระไตรปิฎกพร้อมทั้งคัมภีร์ลัททาวิเสส (คัมภีร์ไวยากรณ์บาลี)
และได้จารึกไว้ในใบลานด้วยอักษรขอม ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
การสังคายนาครั้งที่ 3 ที่ประเทศไทย
ในปี
พ.ศ.2431 ได้มีการสังคายนาขึ้น ณ
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย องค์อุปถัมภกคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
และสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสกเถระ)
ครั้งยังเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นประธาน มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์
จำนวน 110 รูป ใช้เวลา 6 ปี จึงสำเร็จ
มูลเหตุของการสังคายนา
ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ได้
25 ปี ทรงปรารภจะบำเพ็ญพระมหากุศล
ทรงเห็นว่าพระไตรปิฎกที่เขียนไว้ในใบลานไม่มั่นคง ทั้งจำนวนก็มากยากที่จะรักษา
และเป็นตัวขอม ผู้ไม่รู้อ่านไม่เข้าใจ จึงมีพระราชศรัทธาให้พิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มแบบฝรั่งขึ้นใหม่
โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และพระเถรานุเถระทั้งหลายช่วยกันชำระ
โดยคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย
แล้วชำระแก้ไขและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ รวม 39 เล่ม
เริ่มชำระและพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ.2431 สำเร็จเมื่อพ.ศ.2436
จำนวน 1,000 ชุด
นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย นับเป็นการสังคายนาครั้งที่
3 ที่ทำในประเทศไทย
การสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทย
การสังคายนาครั้งนี้มีขึ้น
ในปี พ.ศ.2530 ณ พระตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถระ)
เป็นประธาน องค์อุปถัมภ์คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์อุปถัมภ์
พร้อมด้วยรัฐบาล อันมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ใช้เวลา 2 ปี จึงสำเร็จ
มูลเหตุการสังคายนา
โดยสมเด็จพระสังฆราชทรงดำริเห็นว่าพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนานั้น
มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่
อันเกิดจากความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์กันต่อๆมา เห็นควรทำการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจสอบชำระให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
และตีพิมพ์ขึ้นเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ปีพ.ศ.2530 จึงได้เจริญพรขอความอุปถัมภ์ไปยังรัฐบาลและถวายพระพรให้การสังคายนาครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
เมื่อได้รับงบประมาณและพระบรมราชูปถัมภ์แล้ว จึงได้ดำเนินการสังคายนา
เริ่มแต่ปีพ.ศ.2528 และเสร็จสิ้นลงเมื่อปีพ.ศ.2530 นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ทำในประเทศไทย
อ้างอิงข้อมูลจาก
http://www.geocities.com/sungkayana/sungkayana5.html
http://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_2/idia1_c_01_wasale/23_wasale2.htm
http://www.geocities.com/sakyaputto/councils.htm
http://ecurriculum.mv.ac.th/dhamma/dhammathai/buddhism/india/index.php.htm
http://www.geocities.com/sungkayana/sungkayana4.html
http://mahamakuta.inet.co.th/tipitaka/tipitaka3/tipi~231.html
http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/tripitok.htm
เครดิตข้อมูลจาก นานาสาระเกี่ยวกับพุทธศาสนา
วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงเป็นองค์อุปถัมภกของทุกๆ ศาสนา และพลเมืองของพระองค์ทุกคน
ที่มาอาศัยอยู่ในใต้พระบรมโพธิสมภาณในราชอาณาจักรไทย อาทิ
ทรงส่งเสริมการศึกษาให้แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม จากบทความข้างล่างนี้
ปอเนาะ
เป็นสถาบันเผยแพร่ศานาอิสลามในภาคใต้ของประเทศไทย หลักการของศาสนาอิสลาม
ถือว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่ ที่จะต้องศึกษาและเผยแพร่ศาสนาของตน
ผู้ใดมีความรู้แต่ไม่ยอมเผยแพร่ให้แก่ผู้อื่น ถือว่าเป็นบาป
ดังนั้น การเรียนการสอนศาสนา จึงตกเป็นภาระหน้าที่ของผู้นำครอบครัว
ต้องจัดให้บุตรหลานของตนได้รับการศึกษาวิชาศาสนา ตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์
เริ่มตั้งแต่บ้านหรือสำนักสอนศาสนาของผู้ทรงคุณวุฒิ ไปจนถึงปอเนาะ
สถาบันการเรียนการสอนศาสนาชั้นสูง
ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคมมุสลิมในภาคใต้มาแต่อดีต
ปัตตานี เป็นแหล่งกำเนิดปอเนาะ
เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่สำคัญยิ่งของประเทศไทย
มีนักศึกษาจากจังหวัดต่างๆ
และนำเอาระบบการเรียนการสอนไปใช้ในจังหวัดของตนอย่างแพร่หลาย
ในปี พ.ศ.2504รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือ ส่งเสริมการเรียนการสอน
และเผยแพร่ศาสนาอิสลามในปอเนาะให้ได้ผลดียิ่งขั้น ด้วยการมอบให้
ศุนย์พัฒนาการศึกษา เขตการศึกษา 2จังหวัดยะลา เป็นผู้ดำเนินการปรับปรุงวิธีสอน
การเรียนของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ขั้นแรก ได้จัดประชุมสัมนาโต๊ะครู วางระเบียบกระทรวงศึกษา ว่าด้วยการปรับปรุง
ส่งเสริมปอเนาะในภาคศึกษา 2พ.ศ.2504ขึ้นมาใช้ วัตถุประสงค์ของระเบียบการนี้คือ
ให้ปอเนาะมีหลักสูตรการเรียนการสอน
มีชั้นเรียนและมีการประเมินผลการเรียนในชั้นตัวประโยค
โดยการะทรวงศึกษาให้การอุดหนุนแก่ปอเนาะ ทางด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์การศึกษา
และส่งวิทยากรไปช่วยเหลือ
ขั้นที่สอง ระหว่าง ปี พ.ศ.2508 - 2512รัฐบาลได้ดำเนินการแปรสภาพ
ปอเนาะที่ปรับปรุงดีแล้ว ขึ้นเป็น โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ปอเนาะใดโต๊ะครูเจ้าของโรงเรียนมีความสมัครใจ
แปรสภาพปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์ ก็จะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุน ทั้งการเงิน
อุปกรณ์การเรียนการสอน และครูช่วยสอน และยังได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เจ้าของปอเนาะและโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาที่มีผลงานดีเด่น
เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลประจำปีอีกด้วย
ปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ศาสนาอิสลามเจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายไปทั่งภูมิภาคนี้
เห็นจะไม่มีสิ่งใดนอกเหนือไปจาก ความมีน้ำพระทัยกว้างของ พระมหากษัตริย์ไทย ทุกยุค
ทุกสมัย นอกจากให้เสรีภาพแก่ประชาชน เลือกนับถือศาสนาโดยเสรีแล้ว ยังทรงเป็น
องค์อุปถัมภ์ แก่ศาสนาทุกศาสนา
ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวของ ลาลูแบร์ เอกอักครราชทูตฝรั่งเศส
ที่กล่างถึงพิธีกรรมศาสนาอิสลาม นิกายชีไอท์ ที่ชาวเปอร์เซีย
ซึ่งเข้ามาพำนักอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุทธยา จัดขึ้นเพื่อระลึกถึง อิมา ฮูเซ็น
ในเดือน ฮะรัม ทุกๆ รอบปีว่า "เป็นพิธีการหนึ่งที่อยู่ในความอุปถัมภ์ของ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช"
โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ นั้น ทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษต่อชาวมุสลิมและศาสนาอิสลาม
ทุกปีจะเสด็จพระราาชดำเนินมาประทับ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
เพื่อเยี่ยมเยียนชาวไทยมุสลิมภาคใต้ ทรงคิดค้นโครงการ หมู่บ้าน ปศุสัตว์ เกษตร
พัฒนาดิน น้ำ เพื่อช่วยราษฎรให้มีที่ทำกิน ส่งครูมาช่วยฝึกอบรมวิชาชีพ และทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
จัดพิมพ์พระคัมภีร์ อัลกุรอาน พระราชทานแก่ชาวมุสลิม สำหรับใช้ศึกษาค้นคว้า
เสด็จมาร่วมกิจกรรม ในงานสำคัญทางศาสนาอิสลาม พระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์
เพื่อสร้างมัสยิด
พระราชกรณียกิจ ดังกล่าวมมานี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นพลังสำคัญในการส่งเสริม
เผยแพร่ศานาอิสลามพลังหนึ่ง จากอดีตตราบเท่าถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
http://www.southdose.com/index.php/component/k2/item/1287-ปอเนาะ-และการส่งเสริมการศึกษาศาสนาอิสลามของไทย