วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

20 เรื่องที่เราควรรู้ (12) เกี่ยวกับคุณพ่ออเมริกาผู้น่ารัก ตอนที่ 12


เรื่องที่ 12  สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ ปฏิบัติการพายุทะเลทราย

สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า สงครามอ่าว (Gulf War) หรือที่รู้จักกันว่า สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่หนึ่ง, ส่วนสงครามอิรักครั้งที่ 2 ที่ถูกเรียกกันด้วยความเข้าใจผิดว่า ปฏิบัติการพายุทะเลทราย (สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นชื่อของปฏิบัติการเพื่อการรับมือทางทหาร เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เริ่มโดยกองกำลังผสมจาก 34 ประเทศโดยมีสหประชาชาติเป็นผู้ดูแล กับอิรักและรัฐบาลร่วมที่ต้องการขับไล่กองกำลังอิรักออกจากคูเวตหลังจากที่อิรักเข้ายึดครองคูเวต ในเดือนสิงหาคมปี 1990

กลับมาสู่สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เรื่องมันเกิดจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำของประเทศอิรัก ในขณะนั้นประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) ของอิรัก ต้องการบุกยึดครองประเทศคูเวต เนื่องจากเป็นทั้งประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ของตนและยังมีบ่อน้ำมันดิบขนาดใหญ่อยู่มาก จึงใช้ข้ออ้างการที่คูเวตผลิตน้ำมันจนเกินโควตาของกลุ่มโอเปก ทำให้ระดับราคาน้ำมันโลกลดลง บวกกับการที่คูเวตแอบลักลอบสูบน้ำมันจากเขตรูเมียลาในอิรักอีกด้วย ดังนั้น ปธน.ซัดดัม ฮุสเซนจึงส่งกองทัพทหารราบนับแสนคน พร้อมด้วย รถถัง เครื่องบิน รวมถึงเรือรบ เข้าโจมตีอย่างเฉียบพลันต่อคูเวต ในวันที่ 2 สิงหาคม 1990 โดยใช้เวลาเพียง 2 วันก็สามารถยึดครองคูเวตได้สำเร็จ ในขณะที่เจ้าผู้ครองรัฐคูเวต นามว่า “เชคจา เบอร์ อัล-อาหมัด อัล-จาเบอร์ อัล-ซาบาห์” (Jaber Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah) และเชื้อพระวงศ์ต้องหลบหนีลี้ภัยไปอยู่ซาอุดิอาระเบีย การบุกยึดครองบ่อน้ำมันในคูเวต และดูมีทีท่าจะรุกคืบไปยึดครองยังซาอุดิอาระเบียด้วยนั้น สร้างแรงกดดันต่อระดับราคาน้ำมัน เนื่องจากถ้าหากอิรักทำสำเร็จ จะสามารถควบคุมปริมาณน้ำมันจำนวนมหาศาลของโลกไว้ ร้อนถึงชาติมหาอำนาจตะวันตกที่ต้องลุกขึ้นมาสกัดกั้น ในวันที่ 6 สิงหาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จึงมีมติคว่ำบาตรต่ออิรัก และขีดเส้นใต้ให้อิรักต้องถอนกองกำลังทหารออกจากคูเวต ก่อนวันที่ 15 มกราคม 1991

การรุกรานคูเวตโดยกองทัพอิรักที่เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 1990 ได้รับการประณามจากนานาชาติ และนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจทันทีโดยสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ส่งกองกำลังทหารอเมริกันไปยังซาอุดิอาระเบียเกือบ 6 เดือนหลังจากนั้นพร้อมด้วยเรือรบ เครื่องบินรบ อาวุธยุธโธปกรณ์เต็มอัตราศึกเข้าประจำการที่ฐานทัพของซาอุดิอาระเบีย แล้วก็ขอแรงสนับสนุน กระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังทหารของตนเข้ามายังสถานที่ดังกล่าวด้วย มีหลายประเทศเข้าร่วมกำลังผสมด้วย โดยมีกำลังทหารส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้ให้ความร่วมมือหลัก ซาอุดิอาระเบียระดมทุนให้ประมาณ 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั้งหมด 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในสงครามครั้งนี้

ปธน.ฮุสเซน ของอิรักได้ยื่นข้อเสนอให้อิสราเอลถอนกองกำลังทหารออกจากปาเลสไตน์ ซีเรีย และเลบานอน และให้สหรัฐต้องถอนกองกำลังทหารออกจากซาอุดิอาระเบีย แล้วใช้กองกำลังทหารจากชาติอาหรับเข้าไปประจำการแทน อีกทั้งยังยื่นข้อเสนอให้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบต่ออิรัก แต่ข้อเสนอทั้งหลายนี้ไม่ได้รับการตอบสนองจากชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐ

เมื่อถึงวันกำหนดเส้นตายแล้ว กองทัพพันธมิตรสหประชาชาติที่นำโดยสหรัฐ และมีซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักร อียิปต์ ฝรั่งเศส ซีเรีย คูเวต แคนาดา สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และกาตาร์ เข้าร่วม ก่อตั้งกองกำลังผสมนานาชาติ กว่า 950,000 นาย (ในจำนวนนี้เป็นทหารอเมริกัน 70%) นำโดยนายพลเอก นอร์แมน ชวาร์ซคอฟ จูเนียร์ (Norman Schcwarzkopf. Jr.) เป็นผู้บังคับบัญชากองกำลังผสม เข้าทำสงครามสู้รบกับอิรัก  ทางด้านกองทัพอิรัก มีกำลังทหาร 650,000 นาย โดยมี อาลี ฮัสซัน อัล-มาจิด (Ali Hassan Al-Majid) มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับซัดดัม ฮุสเซน เป็นผู้บัญชาการรบ โดยมีชาติพันธมิตรที่ส่งกองกำลังมาสนับสนุนกับฝ่ายอิรัก ก็คือ เยเมน จอร์แดน ซูดาน และลิเบีย

ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มต้นขึ้นจากการปูพรมทิ้งระเบิดทางอากาศเมื่อวันที่ 17 มกราคม 1991 ที่มีรหัสเรียกว่า “ปฏิบัติการพายุทะเลทราย” (Operation Desert Storm) มีการส่งฝูงบินทิ้งระเบิดกว่า 100,000 เที่ยว รวมน้ำหนักระเบิดกว่า 88,500 ตัน ตามด้วยการยิงขีปนาวุธ โทมาฮอว์ก จากฐานเรือประจัญบาน เป้าหมายคือการทำลายฐานทัพทางอากาศและต่อต้านอากาศยานของอิรัก ศูนย์บัญชการทางทหารและหน่วยทหารย่อยๆ ที่อยู่ในอิรักและคูเวต ตามมาด้วยการส่งกองกำลังโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ แม้ว่าอิรักจะมีขีปนาวุธสกั๊ด (Scud) เข้าถล่มอิสราเอล เพื่อหวังให้อิสราเองเข้าร่วมสงคราม และลากเอาประเทศอื่นเข้าร่วมด้วย อันจะเป็นข้ออ้างที่ทำให้ชาติพันธมิตรอื่นลังเลไม่เข้าร่วม ซึ่งแผนการนี้สหรัฐมองออกจึงห้ามอิสราเอลไม่ให้ตอบโต้ แต่ใช้ขีปนาวุธแพทริออตของสหรัฐสกัดกั้นการถล่มยิงจากขีปนาวุธสกั๊ดแทน ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ กองกำลังผสมภาคพื้นดินก็สามารถรุกคืบเข้าสู่ตอนใต้ของคูเวต และเข้ายึดคูเวตซิตีกลับคืนเป็นผลสำเร็จ จากนั้นจึงผลักดันกองกำลังของอิรักให้ออกจากคูเวตจนสำเร็จ

 
สงครามดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะอย่างเด็ดขาดของกองกำลังผสม ผู้ซึ่งปลดปล่อยคูเวตและรุกเข้าไปในพรมแดนอิรัก กองกำลังผสมยุติการรุกคืบ และประกาศหยุดหยิง 100 ชั่วโมงหลังจากการทัพภาคพื้นดินเริ่มต้นขึ้น การรบทางอากาศและพื้นดินจำกัดอยู่ภายในอิรัก คูเวต และพื้นที่บริเวณพรมแดนของซาอุดิอาระเบีย อย่างไรก็ตาม อิรักได้ปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกองกำลังผสมในซาอุดิอาระเบียและต่ออิสราเอล

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ซัดดัม ฮุสเซนสั่งถอนกองกำลังทหารออกจากคูเวต แต่ก็ได้สั่งเผาบ่อน้ำมันของคูเวตไปจำนวน 700 แห่งและยังวางทุ่นระเบิดไว้รายรอบบ่อน้ำมัน เพื่อให้ยากต่อการดับเพลิง ปธน.บุชได้สั่งให้กองกำลังผสมหยุดยิง และประกาศอย่างเป็นทางการว่าคูเวตได้รับการปลดปล่อยอย่างสมบูรณ์แล้ว

มูลเหตุจูงใจของสงครามอ่าวเปอร์เซียเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตลอดช่วงเวลาของสงครามเย็น อิรักเป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตและมีประวัติความไม่ลงรอยกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐกังวลถึงตำแหน่งของอิรักต่อการเมืองอิสราเอล-ชาวปาเลสไตน์และการที่อิรักไม่เห็นด้วยกับสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ สหรัฐเองก็ไม่ชอบการที่อิรักเข้าสนับสนุนกลุ่มอาหรับและปาเลสไตน์ติดอาวุธอย่างอาบูไนดัล ซึ่งทำให้มีการรวมอิรักเข้าไปในรายชื่อประเทศผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายข้ามชาติของสหรัฐในวันที่ 29 ธันวาคม 1979 สหรัฐยังคงสถานะเป็นกลางอย่างเป็นทางการหลังจากการรุนรานของอิหร่านกลายมาเป็นสงครามอิรัก-อิหร่าน แม้ว่าจะแอบช่วยอิรักอย่างลับ ๆ อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม 1982 อิหร่านเริ่มทำการโต้ตอบได้สำเร็จ ปฏิบัติการชัยชนะที่ปฏิเสธไม่ได้ และสหรัฐได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับอิรักเพื่อป้องกันไม่ให้อิรักถูกบังคับให้พ่ายแพ้ในความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอิรักอย่างเต็มตัว ประเทศอิรักได้ถูกนำออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย นั่นก็เพราะว่าการพัฒนาในบันทึกการปกครอง แม้ว่าอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โนเอล คอช ได้กล่าวในเวลาต่อมาว่า ไม่มีใครที่สงสัยในเรื่องที่อิรักยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้ายเหตุผลจริง ๆ คือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชัยเหนืออิหร่าน เมื่ออิหร่านประสบกับชัยชนะในสงครามและปฏิเสธการสงบศึกที่ได้รับการเสนอขึ้นในเดือนกรกฎาคม การขายอาวุธให้กับอิรักก็ทำลายสถิติเมื่อปี 1982 แต่อุปสรรคยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐกับอิรัก กลุ่มอาบูไนดัลยังคงได้รับการสนับสนุนอยู่ในแบกแดด เมื่อประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ได้ขับไล่พวกเขาไปยังซีเรียตามคำขอของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม 1983 รัฐบาลเรแกนได้ส่งโดนัลด์ รัมส์เฟลด์ เพื่อพบกับประธานาธิบดีฮุสเซนเป็นทูตพิเศษและเพื่อกระชับความสัมพันธ์ แต่ก็ได้ผล แต่เมื่อเปลี่ยนผ่านมาสู่ยุค ปธน.จอร์จ บุช ความสัมพันธ์ทางการฑูต และผลประโยชน์ทับซ้อนด้านพลังงานหรือน้ำมัน ระหว่างบุชกับกษัตริย์ซาอุเป็นไปอย่างเหนียวแน่นลึกซึ้ง และเมื่อซัดดัมมีทีท่าจะบุกยึดบ่อน้ำมันของซาอุ ทำให้สหรัฐไม่ลังเลที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือและทำสงครามสั่งสอน

ความตึงเครียดกับคูเวต


เมื่ออิรักทำการหยุดยิงกับอิหร่านในเดือนสิงหาคม
1988 อิรักก็ประสบกับการล้มละลายอย่างแท้จริง โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้ซาอุดิอาระเบียและคูเวต อิรักกดดันทั้งสองชาติให้ยกหนี้ทั้งหมด แต่ทั้งสองประเทศตอบปฏิเสธ อิรักยังได้กล่าวหาคูเวตว่าได้ผลิตน้ำมันโควต้าของโอเปก ทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลง ซึ่งส่งผลให้อิรักประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจเพิ่มเข้าไปอีก การที่ราคาของน้ำมันตกลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอิรักอย่างใหญ่หลวง รัฐบาลอิรักได้บรรยายว่ามันเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ ซึ่งอ้างว่าคูเวตเป็นต้นเหตุ โดยการเจาะท่อลอดข้ามพรมแดนเข้าไปในทุ่งน้ำมันรูมาเลียของอิรักความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศยังเกี่ยวข้องกับคำกล่าวอ้างของอิรักที่ระบุว่า คูเวตเป็นอาณาเขตของอิรัก หลังจากได้รับเอกรารชจากสหราชอาณาจักรใน 1932 รัฐบาลอิรักได้ประกาศในัทันทีว่าคูเวตเป็นอาณาเขตโดยชอบธรรมของอิรัก เนื่องจากเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอิรักเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกระทั่งอังกฤษก่อตั้งคูเวตขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ดังนั้น จึงได้กล่าวว่า คูเวตเป็นผลผลิตจากลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ อิรักอ้างว่าคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดบาสราของจักรวรรดิออตโตมัน ราชวงศ์ที่ปกครองคูเวต อัลซอบะห์ ได้ตัดสินใจลงนามในข้อตกลงเป็นรัฐในอารักขาเมื่อ 1899 ซึ่งมอบหมายความรับผิดชอกิจการระหว่างประเทศให้แก่อังกฤษ อังกฤษเขียนพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ และพยายามจำกัดทางออกสู่ทะเลของอิรักอย่างระมัดระวัง เพื่อที่ว่ารัฐบาลอิรักในอนาคตจะไม่มีโอกาสคุกคามการครอบครองอ่าวเปอร์เซียของอังกฤษ อิรักปฏิเสธที่จะยอมรับพรมแดนที่ถูกเขียนขึ้น และไม่รับรองคูเวตจนกระทั่งปี 1963  ในตอนต้นเดือนกรกฎาคม 1990 อิรักไม่พอใจกับพฤติกรรมของคูเวต อย่างเช่น ไม่เคารพโควต้า และคุกคามที่จะใช้กำลังทหารอย่างเปิดเผย วันที่ 23 กรกฎาคม ซีไอเอรายงานว่าอิรักได้เคลื่อนกำลังพล 30,000 นาย ไปยังพรมแดนอิรัก-คูเวต และกองเรือสหรัฐในอ่าวเปอร์เซียได้รับการเตือนภัย วันที่ 25 กรกฎาคม ซัดดัม ฮุสเซน พบกับเอพริล กลาสพาย เอกอัครราชทูตอเมริกันในกรุงแบกแดด ตามการแปลเป็นภาษาอิรักของการประชุมครั้งนั้น กลาสพายพูดกับผู้แทนอิรักว่า

การรุกรานคูเวต

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมปี 1990 การเจรจาระหว่างอิรักกับคูเวตก็หยุดชะงัก อิรักส่งทหารจำนวนมากไปที่ชายแดน ในวันที่  2 สิงหาคมปี 1990 อิรักก็เริ่มการโจมตีหัวหอกคือคอมมานโดที่ส่งโดยเฮลิคอปเตอร์และเรือเพื่อเข้าโจมตีคูเวตซิตี ในขณะที่กองกำลังอื่นเข้ายึดสนามบินและฐานทัพอากาศอีกสองแห่ง กระนั้นคูเวตก็ไม่กองกำลังที่เตรียมพร้อมและไม่ได้ระวังตัว หลังจากการต่อสู้อันดุเดือดสองวันกองทัพของคูเวตก็พ่ายแพ้ต่อรีพับลิกันการ์ดของอิรักและหนีไปยังซาอุดิอาระเบีย หลังจากชัยชนะของอิรักซัดดัม ฮุสเซนก็แต่งตั้งอลี ฮัสซาน อัลมาจิดให้เป็นผู้ว่าราชการแห่งคูเวตแทน

(เครดิต-อ้างอิงข้อมูล และคัดลอกข้อมูลบางส่วนจากบทความ สงครามอ่าวเปอร์เซีย ในหน้าเพจของ Myfirstbrain.com,  และข้อมูลจากวิถีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น