วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

20 เรื่องที่เราควรรู้ (10) เกี่ยวกับคุณพ่ออเมริกาผู้น่ารัก ตอนที่ 10


เรื่องที่ 10  วิกฤติการณ์เส้นยาแดงผ่าแปด อันมีความเกี่ยวข้องกับอเมริกา

อันสืบเนื่องมาจาก 2 เหตุการณ์นี้ ที่อยู่ในยุคร่วมสมัย ไม่นานมานี้เอง และถูกนำเอาไปสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้ว ได้แก่  1.วิกฤติการณ์นิวเคลียร์ที่คิวบา จากภาพยนตร์เรื่อง  13 days,  2.วิกฤติการณ์      ชิงตัวประกันที่อิหร่าน  จากภาพยนร์เรื่อง Argo สาเหตุและที่มาของทั้ง 2 เหตุการณ์นี้เป็นอย่างไร ขอเริ่มที่

1.วิกฤติการณ์นิวเคลียร์ที่คิวบา(Cuban Missle Crisis)คือการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียตและประเทศคิวบาอีกฝ่ายหนึ่ง ในช่วงเวลาที่สงครามเย็นอยู่ในช่วงความตึงเครียดจนเกือบจะกลายไปเป็นสงครามปรมาณู ชาวรัสเซียเรียกเหตุการณ์นี้ว่าวิกฤตการณ์แคริบเบียน ส่วนชาวคิวบาเรียกมันว่าวิกฤตการณ์เดือนตุลาคม เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในการเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามเย็นนอกจากการปิดล้อมเบอร์ลิน การเผชิญหน้าเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เมื่อภาพถ่ายจากเครื่องบินสังเกตการณ์ ยู-2 ของสหรัฐอเมริกา เผยให้เห็นฐานปล่อยขีปนาวุธ กำลังถูกสร้างขึ้นในคิวบา ภายใต้การปกครองของฟีเดล กัสโตร เพื่อตอบโต้การสร้างฐานขีปนาวุธของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณพรมแดนของตุรกีและสหภาพโซเวียต ทางสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการกักกัน ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมคิวบา ห้ามเรือบรรทุกสินค้าทุกลำผ่านเข้ามาในน่านน้ำทะเลแคริบเบียน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1962 หลังจากการเผชิญหน้าผ่านการโต้ตอบทางการทูตอย่างดุเดือด ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี และนายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ ต่างตกลงยินยอมที่จะถอนอาวุธปรมาณูของตนออกจากตุรกีและคิวบาตามลำดับ จากการร้องขอของอู ถั่น ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติในเวลานั้นสหรัฐอเมริกาที่หวาดกลัวในการขยายคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียต แต่สำหรับประเทศแถบละตินอเมริกา การเป็นมิตรกับสหภาพโซเวียตอย่างเปิดเผยนั้นถูกมองว่าไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้ ทำให้สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเป็นศัตรูกันมานับตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1945 การเข้าไปเกี่ยวข้องเช่นนั้นยังเป็นการปฏิเสธลัทธิมอนโร ซึ่งป้องกันไม่ให้อำนาจในยุโรปเข้ามาแทรกแซงในเรื่องของทวีปอเมริกาใต้ ในปลายปี ค.ศ. 1961 ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นายจอห์น เอฟ. เคนเนดีได้เริ่มปฏิบัติการมองกูซ เป็นหนึ่งในปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลของฟีเดล กัสโตร แต่ไม่ประสบความสำเร็จและสหรัฐอเมริกายังได้ออกมาตรการห้ามขนส่งสินค้าไปยังคิวบา ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1962สหรัฐอเมริกายังได้ทำปฏิบัติการลับและได้ส่งเจ้าหน้าที่ซีไอเอเข้าไป นายพลเคอร์ติส เลอเมย์ได้แสดงแผนการทิ้งระเบิดให้กับเคนเนดีในเดือนกันยายน ในขณะที่การบินสอดแนมและการก่อกวนขนาดเล็กจากฐานทัพเรือกวนตานาโมของสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่คิวบากล่าวโทษต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1962 รัฐบาลคิวบาได้เห็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าสหรัฐอเมริกาจะทำการรุกรานตน ผลที่ตามมาคือ กัสโตร และนายกรัฐมนตรีของสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ ตกลงที่จะติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์อย่างลับ ๆ ในคิวบา ครุสชอฟรู้สึกว่าการรุกรานของสหรัฐอเมริกาต่อคิวบาเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า และการสูญเสียคิวบาจะส่งผลร้ายแรงของการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในละตินอเมริกา เขากล่าวว่าเขาต้องการเผชิญหน้ากับอเมริกาด้วยขีปนาวุธ ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ในวันที่ 14 ตุลาคม การลาดตระเวนของสหรัฐอเมริกาไปพบเข้ากับฐานปล่อยขีปนาวุธที่กำลังถูกสร้างขึ้นในคิวบา

วิกฤตการณ์จบลงในอีกสองสัปดาห์ถัดมาในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เมื่อประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดี และเลขาธิการสหประชาชาติ อู ถั่น ได้ทำข้อตกลงกับสหภาพโซเวียตเพื่อรื้อการติดตั้งขีปนาวุธเพื่อแลกกับการที่สหรัฐอเมริกาจะยกเลิกการบุกคิวบา ครุสชอฟขอร้องว่าขีปนาวุธจูปิเตอร์ และธอร์ ในตุรกีจะต้องถูกนำออก แต่สหรัฐอเมริกาไม่ได้นำพวกมันออกจริง ๆ และการร้องขอของเขาถูกเพิกเฉยโดยคณะบริหารของเคนเนด เคนเนดีได้สั่งการควบคุมดูแลที่เข้มงวด และอ้างการร่วมมือจากรัฐมนตรีต่างประเทศแห่งองค์การนานารัฐอเมริกัน เคนเนดีได้เรียกการประชุมฉุกเฉินขององค์กรนานารัฐอเมริกันและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว

ขีปนาวุธพิสัยกลางเอสเอส-3 ลูกแรกมาถึงในคืนของวันที่ 8 กันยายนและตามมาด้วยลูกที่สองในวันที่ 16 กันยายน ทางโซเวียตได้สร้างฐานยิงขีปนาวุธขึ้นมาเก้าแห่ง หกแห่งสำหรับขีปนาวุธเอสเอส-4 และอีกสามฐานสำหรับขีปนาวุธเอสเอส-5 ซึ่งมีพิสัยการยิงที่ 4,000 กิโลเมตร ตามแผนแล้วจะมีฐานยิงทั้งสิ้น 40 แห่งซึ่งเพิ่มขึ้นจากการโจมตีครั้งแรกถึง 70% ประชาชนของคิวบาได้รับรู้ถึงการมาของขีปนาวุธ โดยมีการรายงานกว่าพันครั้งที่ส่งไปถึงไมอามี่ซึ่งหน่วยข่าวกรองของสหรัฐคิดว่ามันเป็นเรื่องหลอกลวง  ในวันที่ 7 ตุลาคมประธานาธิบดีของคิวบาออสวัลโด ดอร์ติกอสได้กล่าวในการประชุมว่า "หากพวกเราถูกโจมตี เราก็จะทำการป้องกันตนเอง ข้าพเจ้าขอย้ำว่าเราจะป้องกันตัวเองด้วยอาวุธหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาวุธที่เรานั้นไม่อยากจะมีและไม่อยากจะใช้มัน" ปัญหามากมายนั้นแปลว่าสหรัฐยังหาขีปนาวุธเหล่านั้นไม่เจอจนกระทั่งถึงวันที่ 14 ตุลาคม เมื่อเครื่องล็อกฮีด ยู-2 ได้ทำการบินสอดแนมและถ่ายภาพบริเวณก่อสร้างฐานยิงเอสเอส-4 ได้จากซาน คริสโตบัลทางตะวันตกของคิวบา เคนเนดีได้เห็นภาพถ่ายในวันที่ 16 ตุลาคม เขาได้จัดการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูง 14 คนและน้องชายของเขาโรเบิร์ต เมื่อเวลา 9.00 สหรัฐไม่มีแผนที่จะจัดการกับภัยคุกคามในคิวบา เพราะว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐนั้นเชื่อว่าโซเวียตไม่ได้ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในคิวบา ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รวมกันหาทางออกอย่างเร่งด่วนขึ้นมา 5 วิธี ได้แก่   1.    ไม่ทำอะไรเลย  ,  2.    ใช้การเจรจาทางการทูตเพื่อกดดันให้สหภาพโซเวียตถอนขีปนาวุธออก  ,  3.    ใช้การโจมตีทางอากาศต่อขีปนาวุธ  ,   4.    ใช้กองทัพเข้าบุก   ,    5.    ทำการปิดล้อมทางทะเลต่อคิวบา ซึ่งจัดว่าเป็นการปิดกันประเทศอย่างจำกัด

ด้วยความเต็มใจหัวหน้าเจ้าหน้าที่ได้ตกลงที่จะทำการเข้าโจมตีเต็มกำลังและเป็นการแก้ไขปัญหาเพียงทางเดียว พวกเขาเห็นพ้องกันว่าโซเวียตจะไม่ขัดขวางอเมริกาจากการเข้ายึดครองคิวบา เคนเนดีนั้นสงสัยในเรื่องนี้ เขาจึงกล่าวว่า  พวกเขาสามารถปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย ตามที่พวกเขากล่าว พวกเขาไม่สามารถยอมให้พวกเราจัดการกับขีปนาวุธของพวกเขา สังหารชาวรัสเซีย และไม่ทำอะไรเลย หากพวกเขาไม่ทำอะไรสักอย่างในคิวบา พวกเขาจะต้องทำอะไรสักอย่างในเบอร์ลินแน่นอนเคนเนดีสรุปว่าการโจมตีทางอากาศจะเป็นการให้ "ไฟเขียว" กับโซเวียตในการเข้ายึดครองเบอร์ลิน เขาเสริมด้วยว่าในการทำเช่นนั้นพันธมิตรของสหรัฐจะคิดว่าสหรัฐเป็นคนจุดชนวนในการสูญเสียเบอร์ลิน เพราะพวกเขาไม่สามารถแก้ไขปัญหาในคิวบาด้วยสันติวิธีได้ จากนั้นในการประชุมได้มีการหารือถึงผลที่จะกระทบความสมดุลทางยุทธศาสตร์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่เชื่อว่าขีปนาวุธจะเป็นตัวถ่วงสมดุลอย่างมาก แต่รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโรเบิร์ต แมคนามาร่าไม่เห็นด้วยในเรื่องนั้น เขาเชื่อว่าขีปนาวุธจะไม่ส่งผลใด ๆ ในด้านยุททธศาสตร์ ส่วนฐานยิงอีก 40 ฐานนั้นจะสร้างความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในภาพรวมของความสมดุลด้านยุทธศาสตร์ สหรัฐนั้นมีหัวรบมากกว่า 5,000 หัวรบอยู่แล้วในขณะที่โซเวียตมีเพียง 300 เท่านั้น เขาสรุปว่าการที่โซเวียตมีเพิ่มขึ้นอีก 40 เป็น 340 ลูกนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงสมดุลด้านยุทธศาสตร์เลยแม้แต่น้อย ในปีค.ศ. 1990 เขาพูดซ้ำอีกว่า "มันจะไม่สร้างความแตกต่างใด ๆ กองทัพจะไม่เสียสมดุล ผมไม่เชื่อว่ามันจะเป็นไปได้ทั้งเมื่อก่อนและในตอนนี้" อย่างไรก็ตามสภาความมั่นคงแห่งชาติก็เห็นด้วยว่าขีปนาวุธจะส่งผลกระทบในด้านสมดุลการเมือง อย่างแรกเคนเนดีได้ให้สัญญากับประชาชนอเมริกันไม่นานก่อนหน้านี้ว่า "หากคิวบานั้นมีความสามารถพอที่จะทำการโจมตีสหรัฐ สหรัฐก็จะทำการตอบโต้" ประการที่สองความน่าเชื่อถือของสหรัฐท่ามกลางเหล่าพันธมิตรและประชาชนอเมริกันจะได้รับผลกระทบในด้านลบหากพวกเขายอมให้สหภาพโซเวียตมาเปลี่ยนแปลงสมดุลด้านยุทธศาสตร์ด้วยการติดตั้งขีปนาวุธในคิวบา เคนเนดีได้ชี้แจงหลังจากวิกฤตการณ์ว่า "มันอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสมดุลการเมือง มันอาจส่งผลให้เห็นในทางความเป็นจริง" ดังนั้นการบุกเต็มรูปแบบจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี แต่ต้องมีใครลงมือทำอะไรสักอย่าง โรเบิร์ต แมคนามาร่าได้สนับสนุนการปิดกั้นทางทะเลด้วยการที่มันเป็นทางเลือกที่มีกำลังแต่ก็จำกัดทางกองทัพให้อยู่ในการควบคุม ตามกฎหมายนานาชาติแล้วการปิดกั้นนั้นเป็นการกระทำของสงคราม แต่เคนเนดีไม่คิดว่ามันมีข้อจำกัดเพียงเท่านั้น เขาคิดว่าสหภาพโซเวียตจะไม่ถูกกระตุ้นให้ทำการโจมตีเพราะเพียงแค่มีการปิดกั้นเท่านั้น ในวันที่ 19 ตุลาคม การบินสอดแนมของยู-2 แสดงให้เห็นฐานยิงขีปนาวุธสี่แห่ง ในส่วนหนึ่งของการปิดกั้นกองทัพสหรัฐได้เตรียมตัวพร้อมอย่างมากในการใช้กำลังบังคับในการปิดกั้นและพร้อมสำหรับการเข้าบุกคิวบา กองพลยานเกราะที่ 1 ถูกส่งไปที่จอร์เจียและกองทัพบกห้ากองพลเตรียมพร้อมที่จะเข้าบุก ฝ่ายศูนบ์บัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศได้ส่งเครื่องบินทิ้งขนาดกลางบี-47 สตราโตเจ็ทไปยังสนามบินพลเรือนและเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักบี-52 สตราโตฟอร์เทรสเข้าสู่การเตรียมพร้อม ตามธรรมเนียมในทางปฏิบัติแล้วการปิดกั้นนั้นเป็นการขัดขวางเรือทุกประเภทไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ที่ถูกปิดกั้น และจัดว่าเป็นการกระทำของสงคราม การกักประเทศนั้นดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ในกรณีนี้จะมีการใช้อาวุธอย่างจำกัด เคนเนดีได้จัดการปราศรัยขึ้นซึ่งเขาได้กล่าวว่า "เพื่อหยุดการโจมตีเหล่านี้ การกักเรืออย่างเข้มงวดจึงจะเริ่มขึ้นในคิวบา" "1962 Year In Review: Cuban Missile Crisis" ในเอกสารของนายพลเรือแอนเดอร์สันได้แสดงความแตกต่างระหว่างการจำกัดการใช้อาวุธและการจำกัดทุกอย่าง โดยแสดงให้เห็นว่าการปิดกั้นแบบทั่วไปนั้นไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาตั้งใจจะทำ ด้วยการที่มันเป็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในน่านน้ำสากล ประธานาธิบดีเคนเนดีจึงทำการอนุญาตกองทัพให้ปฏิบัติการภายใต้สนธิสัญญาการป้องกันของสหรัฐ เมื่อเวลา 19.00 ของวันที่ 22 ตุลาคม ประธานาธิบดีเคนเนดีได้ปราศรัยทางวิทยุโดยประกาศถึงการค้นพบตำแหน่งของขีปนาวุธ เพียงหนึ่งชี่วโมงหลังจากนั้นเมื่อเวลา 11:24 มีการส่งโทรเลขโดยจอร์จ บอลไปยังสถานทูตอเมริกาในตุรกีและสถานทูตอเมริกาส่งต่อให้กับนาโต้โดยระบุว่าพวกเขาต้องการยื่นข้อเสนอที่จะถอนขีปนาวุธออกจากตุรกีเพื่อแลกกับการที่อีกฝ่ายถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา ต่อมาในเช้าของวันที่ 25 ตุลาคมนักข่าวชื่อวอลเตอร์ ลิปป์แมนได้เสนอทางออกเดียวกันในหนังสือพิมพ์ของเขา ในช่วงที่วิกฤติยังดำเนินต่อไป ในค่ำนั้นโซเวียตได้รายงานถึงการแลกเปลี่ยนข้อตกลงผ่านทางโทรเลขระหว่างครุสชอฟและเบิร์ตแรนด์ รัสเซล ซึ่งครุสชอฟได้เตือนว่าการกระทำเยื่ยงโจรสลัดของสหรัฐจะนำไปสู่สงคราม อย่างไรก็ตามเมื่อเวลา 21:24 มีโทรเลขจากครุชเชฟถึงเคนเนดีซึ่งได้รับเมื่อเวลา 22:52 ซึ่งครุสชอฟได้บอกถึงการที่สหภาพโซเวียตจะปฏิเสธทุกการกระทำตามอำเภอใจของสหรัฐ และมองว่าการปิดกั้นทางทะเลเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวและเรือของพวกเขาจะได้รับคำสั่งให้เพิกเฉย ในคืนของวันที่ 23 ตุลาคมเหล่าหัวหน้าเจ้าหน้าที่ได้สั่งการฝ่ายบัญชาการยุทธศาสตร์ทางอากาศให้ไปยังเดฟคอน 2 (DEFCON 2) เพื่อเพียงยืนยันเวลา ข้อความและการโต้ตอบถูกส่งแบบถอดรหัสเพื่อทำให้หน่วยข่าวกรองของโซเวียตได้รับมัน เรดาร์เตรียมพร้อม แต่ละฐานต่อสายตรงสู่ศูนย์บัญชาการการป้องกันทางอากาศในอเมริกาเหนือ  เมื่อเวลา 01:45 ของวันที่ 25 ตุลาคมเคนเนดีได้ตอบโทรเลขของครุสชอฟด้วยการกล่าวว่าสหรัฐถูกบังคับให้ทำการหลังจากที่ได้รับการยืนยันว่าไม่มีขีปนาวุธที่พร้อมโจมตีใด ๆ ในคิวบา และเมื่อการยืนยันเหล่านั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผิดพลาดเขาหวังว่ารัฐบาลของโซเวียตจะกระทำการที่จำเป็นเพื่อทำให้สถานการณ์กลับไปเป็นปกติ

เมื่อเวลา 07:15 เรือยูเอสเอส เอสเซ็กซ์และยูเอสเอส เกียร์ริ่งได้พยายามเข้าสกัดกั้นเรือชื่อบูชาเรสท์แต่ล้มเหลว เรือบรรทุกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางทหารจะสามารถผ่านการปิดกั้นไปได้ หลังจากวันนั้นเมื่อเวลา 17:43 ผู้บัญชาการการปิดกั้นได้สั่งการให้เรือยูเอสเอส เคนเนดีเข้าสกัดกั้นและเข้ายึดเรือของเลบานอน หลังจากที่เรือลำดังกล่าวถูกตรวจก็ผ่านไปได้

เมื่อเวลา 17:00 นายวิลเลียม คลีเมนท์ได้ประกาศว่าขีปนาวุธในคิวบายังคงทำงานอยู่ ต่อมารายงานนี้ได้รับการตรวจสอบโดยซีไอเอที่แนะว่าขีปนาวุธนั้นไม่เคยหยุดทำงานเลย เคนเนดีตอบโต้ด้วยการสั่งการให้เครื่องบินทุกลำติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์

เช้าวันต่อมาเคนเนดีได้รายงานต่อคณะกรรมการบริหารว่าเขาเชื่อว่าเพียงแค่การบุกก็เพียงพอแล้วในถอนขีปนาวุธออกจากคิวบา อย่างไรก็ตามเขาถูกโน้มน้าวให้ใช้เวลาและใช้การเจรจาทางการทูต เขาเห็นด้วยและสั่งการให้การบินที่ระดับต่ำเหนือเกาะมีทุก ๆ สองชั่วโมง เขายังวางแผนให้มีการตั้งรัฐบาลใหม่ของคิวบาขึ้นมาหากเกิดการบุก

เมื่อมาถึงจุดนี้วิกฤตการณ์ยังคงเป็นการคุมเชิงอยู่ สหภาพโซเวียตไม่แสดงสัญญาณใด ๆ ที่ว่าพวกเขาจะยอมจำนนและยังเข้าการขัดขวางอีกด้วย สหรัฐไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อในทางตรงกันข้ามและยังอยู่ในช่วงแรกของการเตรียมเข้าบุก พร้อมกับการใช้นิวเคลียร์โจมตีโซเวียตในกรณีโซเวียตใช้กำลังทางทหารเข้าโต้ตอบ

การโจมตีคิวบาโดยตรงจะทำให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ อเมริกาพูดถึงการโจมตีดังกล่าวอย่างไม่รับรู้ความจริง สำหรับผมแล้วพวกเขาจะแพ้สงครามอย่างไม่ต้องสงสัย ตัวแทนจากทั้งเคนเนดีและครุสชอฟได้ตกลงที่จะพบกันในร้านอาหารจีนชื่อเยนฉิงในคลีฟแลนด์พาร์คใกล้กับกรุงวอชิงตัน เคนเนดีแนะว่าพวกเขาจะยอมรับข้อเสนอของครุสชอฟเพื่อแลกเปลี่ยนขีปนาวุธ สมาชิกส่วนมากของเอ็กซ์คอมม์ (EXCOMM) ไม่รู้ว่าโรเบิร์ต เคนเนดีได้ประชุมกับสถานทูตของสหภาพโซเวียตในวอชิงตันเพื่อค้นหาว่าความตั้งใจเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่ เอ็กซ์คอมม์นั้นมักไม่เห็นด้วยกับการยื่นข้อเสนอเพราะว่ามันจะเป็นการทำให้นาโต้เสื่อมลง และรัฐบาลตุรกีได้แถลงการซ้ำหลายครั้งว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับการแลกเปลี่ยนดังกล่าวเมื่อการประชุมดำเนินไปก็ได้มีแผนใหม่เกิดขึ้นและเคนเนดีก็ถูกโน้มน้าวอย่างช้า ๆ แผนใหม่นี้เป็นการเรียกร้องให้ประธานาธิบดีเพิกเฉยต่อข้อความล่าสุดและตอบข้อความก่อนหน้าของครุสชอฟแทน เคนเนดีลังเลใจในตอนแรก เขารู้สึกว่าครุสชอฟจะไม่ยอมรับข้อเสนออีกต่อไปเพราะว่ามีข้อตกลงใหม่เกิดขึ้น แต่เลิลเวลลีน ทอมป์สันเถียงว่ายังไงครุสชอฟก็ต้องตกลงอยู่ดี ที่ปรึกษาพิเศษของทำเนียบขาวธีโอดอร์ ซอร์เรนเซ่นและโรเบิร์ต เคนเนดีออกจากการประชุมและกลับมาหลังจาก 45 นาทีผ่านไปพร้อมกับร่างจดหมาย ประธานาธิบดีทำการเปลี่ยนแปลงมากมาย พิมพ์ และส่งมันออกไป หลังจากการประชุมของเอ็กซ์คอมม์ก็มีการประชุมที่เล็กกว่าดำเนินต่อในห้องประชุม กลุ่มถกเถียงว่าจดหมายควรได้รับการเน้นคำพูดให้กับสถานทูตดอบรีนินที่กล่าวว่าหากขีปนาวุธไม่ถูกถอนออก จะมีการใช้กำลังทางทหารเพื่อนำมันออกแทน ดีน รัสก์ได้เพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกด้วยว่าไม่มีส่วนใดในการตกลงที่พูดถึงตุรกี แต่จงเข้าใจด้วยว่าขีปนาวุธจะถูกถอนออกอย่างเต็มใจทันทีที่วิกฤตการณ์จบสิ้นแล้ว ประธานาธิบดีเห็นด้วยและส่งข้อความดังกล่าวออกไป  ตามการร้องขอ ฟอมินและสกาลีได้มาพบกันอีกครั้ง สกาลีถามว่าทำไมจดหมายทั้งสองฉบับจากครุสชอฟจึงแตกต่างกันนัก ฟอมินอ้างว่ามันเป็นเพราะ"การสื่อสารที่แย่" สกาลีตอบกลับว่าคำอ้างนั้นไม่น่าเชื่อถือและตะโกนว่ามันคือการหักหลัง เขาอ้างว่าการบุกจะเริ่มภายในหนึ่งชั่วโมง ซึ่งจุดนั้นเองฟอมินได้กล่าวว่าการตอบข้อความของสหรัฐถูกคาดการณ์โดยครุสชอฟไม่นานนัก และเขาผลักดันให้สกาลีบอกกับกระทรวงการต่างประเทศว่าไม่มีการทรยศใด ๆ ทั้งสิ้น สกาลีกล่าวว่าเขาไม่คิดว่าจะมีใครเชื่อเขา แต่เขาก็ตกลงที่จะส่งข้อความดังกล่าว ทั้งสองแยกทางกันไป สกาลีรีบเขียนบันทึกส่งให้กับเอ็กซ์คอมม์ทันที  ภายในสหรัฐเป็นที่เข้าใจกันดีว่าการเพิกเฉยข้อเสนอครั้งที่สองและกลับไปใช่ข้อเสนอแรกจะทำให้ครุสชอฟต้องตกที่นั่งลำบาก การเตรียมการทางทหารยังคงดำเนินต่อไปและนายทหารอากาศถูกเรียกกลับฐานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการ ต่อมาโรเบิร์ต เคนเนดีได้แสดงความคิดของเขาว่า "เราไม่ได้ละทิ้งความหวังเสียหมด แต่ความหวังขึ้นอยู่กับการตัดสินใจใหม่ของครุสชอฟในอีกไม่กี่ชั่วโมง มันคือความหวังไม่ใช่การคาดหมาย การคาดหมายคือการเผชิญหน้าทางทหารในวันอังคาร และอาจเป็นพรุ่งนี้"

เมื่อเวลา 20:05 จดหมายถูกร่างขึ้นมาก่อนที่จะถูกส่ง ในจดหมายมีข้อความดังนี้ "เมื่อข้าพเจ้าได้จดหมายของท่าน ตามข้อเสนอของท่าน ซึ่งดูเหมือนเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นดังนี้ 1) ท่านจะต้องยินยอมที่จะถอนระบบอาวุธออกจากคิวบาภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ และสัญญาว่าจะไม่นำเอาอาวุธเช่นนั้นเข้ามาในคิวบาอีก 2) ในทางเราจะยินยอมตามข้อตกลงผ่านทางสหประชาชาติ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการดำเนินการรับผิดชอบการกระทำต่อไปนี้ (a) เพื่อที่จะยกเลิกการกักกัน และ (b) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการบุกคิวบา"

เมื่อจดหมายถูกส่งออกไปก็มีข้อตกลงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามตามที่โรเบิร์ต เคนเนดีบันทึกเอาไว้ ว่ามีการคาดหวังเล็กน้อยที่ว่าจดหมายนั้นจะได้การตอบรับ เมื่อเวลา 21:00 เอ็กซ์คอมม์ทำการประชุมอีกครั้งเพื่อทบทวนการกระทำสำหรับวันต่อไป มีการร่างแผนสำหรับการโจมตีทางอากาศเข้าใส่ฐานขีปนาวุธและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่คลังปิโตรเลียม แมคนามาร่ากล่าวว่าพวกเขาต้องมี 2 สิ่งที่พร้อมเสมอ นั่นคือรัฐบาลสำหรับคิวบาและแผนสำหรับการโต้ตอบสหภาพโซเวียตในยุโรป เพราะว่าพวกโซเวียตต้องทำอะไรสักอย่างในยุโรปแน่นอน

เมื่อเวลา 24:00 ของวันที่ 27 ตุลาคม สหรัฐได้รายงานต่อนาโต้ว่าสถานการณ์กำลังสั่นลง สหรัฐอาจพบว่ามันจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในตะวันตกให้ใช้กำลังทางทหารหากจำเป็น เพื่อเพิ่มความมั่นใจ เมื่อเวลา 06:00 ซีไอเอได้รายงานว่าขีปนาวุธทุกลูกในคิวบาพร้อมใช้งานแล้ว

ในวันที่ 27 ตุลาคม กองทัพเรือสหรัฐได้หย่อนระเบิดน้ำลึกหลายชุดเข้าใส่เรือดำน้ำของโซเวียตในเขตกักกัน โดยไม่ระวังว่ามันจะติดตั้งตอร์ปิโดหัวรบนิวเคลียร์ที่พร้อมได้รับคำสั่งให้โจมตีเมื่อถูกระเบิดน้ำลึก

จุดจบของวิกฤติการณ์ในปี 1962


หลังจากไตร่ตรองอย่างหนักระหว่างสหภาพโซเวียตและคณะรัฐมนตรีของเคนเนดี เคนเนดีเห็นด้วยอย่างลับ ๆ ที่จะถอนขีปนาวุธทั้งหมดในตุรกีตามแนวชายแดนโซเวียตเพื่อแลกกับการที่ครุสชอฟนำขีปนาวุธออกจากคิวบา

เมื่อเวลา 09:00 ของวันที่ 28 ตุลาคม มีข้อความใหม่จากครุสชอฟถูกกระจายเสียงทางวิทยุของมอสโคว์ ครุสชอฟได้กล่าวว่า "รัฐบาลของโซเวียตได้ตกลงที่จะหยุดการสร้างฐานยิงอาวุธ และได้ประกาศคำสั่งใหม่ให้รื้อถอนอาวุธที่พวกท่านมองว่าเป็นภัยคุกคามและส่งพวกมันกลับสหภาพโซเวียต"

เคนเนดีตอบรับในทันทีด้วยการแถลงการทางจดหมายว่ามันเป็นการช่วยรักษาความสงบ เขายังว่าต่อด้วยว่าจดหมายฉบับก่อน ๆ ที่ว่า "ข้าพเจ้าตัดสินใจส่งจดหมายให้ท่านในวันที่ 27 ตุลาคมและการตอบรับของท่านในวันนี้เป็นการยืนยันสัญญาของรัฐบาลทั้งสองซึ่งควรจะคงอยู่ต่อไป... สหรัฐจะทำการแถลงในขอบข่ายงานของสภาความมั่นคงเพื่ออ้างอิงถึงคิวบา มันจะเป็นที่ชัดเจนว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่รุกล้ำเขตแดนและอำนาจของคิวบา ซึ่งจะไม่ก้าวก่ายงานภายในประเทศ ไม่ใช่เพื่อการรุกรานและไม่ใช่เพื่ออนุญาตให้ใช้อาณาเขตของสหรัฐเป็นหัวหอกในการโจมตีคิวบา และจะยับยั้งผู้ที่วางแผนจะโจมตีคิวบาผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากข้อตกลงของเคนเนดีและคุรสชอฟคือมันได้ทำให้ตำแหน่งของกัสโตรแข็งแกร่งขึ้นอย่างมากในคิวบา ซึ่งเขาจะไม่ถูกรุกล้ำโดยสหรัฐ มันเป็นไปได้ที่ครุสชอฟนำขีปนาวุธเข้าคิวบาเพียงเพื่อที่จะทำให้เคนเนดีถอนขีปนาวุธออกจากตุรกี และโซเวียตนั้นไม่มีเจตนาในการเริ่มสงครามนิวเคลียร์หาพวกเขามีอาวุธน้อยกว่าฝ่ายอเมริกา อย่างไรก็ตามเนื่องมาจากการถอนขีปนาวุธออกจากตุรกีไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะในเวลานั้น ครุสชอฟจึงดูเหมือนว่าพ่ายแพ้และกลายเป็นคนอ่อนแอ แนวคิดคือเคนเนดีมีชัยในการแข่งขันทางอำนาจและครุสชอฟก็ต้องอับอาย อย่างไรก็ดีครุสชอฟก็ยังครองอำนาจไปอีก 2 ปี  (คัดลอกและอ้างอิงจาก เว็บวิถีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์)

 
2.วิกฤติการณ์ชิงตัวประกันที่อิหร่าน  หรือ เหตุการณ์จับตัวประกันชาวอเมริกันในอิหร่าน ปี ค.ศ. 1979

สัมพันธภาพระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิหร่านไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย หลังจากการปฏิวัติศาสนาในอิหร่าน และอิทธิพลของอเมริกันในประเทศนี้ก็เปลี่ยนเป็นลบ ตราบจนถึงปัจจุบัน ความจริงสหรัฐอเมริกามีความสนใจและเคยมีผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ ทั้งทางด้านความเป็นแหล่งพลังงานน้ำมันขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง  ในปัจจุบัน อิหร่านเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถจะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งยิ่งทำให้เป็นที่กังวลของมหาอำนาจตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ กลุ่มสหภาพยุโรป และรวมถึงอิสราเอล แต่ทั้งหมดนี้ การเผชิญหน้ากัน และความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอาจคลี่คลายลงไปในยุคที่อิหร่านได้เปลี่ยนผู้นำทางการบริหารใหม่ 

เช้าตรู่ของวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 กลุ่มนักศึกษาปฏิวัติมุสลิมเคร่งศาสนาที่โกรธสหรัฐอเมริกาที่รับตัวอดีตกษัตริย์พระเจ้าซาห์ โมฮัมเม็ด เลซาร์ ปาห์เลวี (Shah Pahlavi) ที่ป่วยรักษาโรคมะเร็งอยู่ในสหรัฐให้กลับไปรับโทษทัณฑ์ที่อิหร่าน แต่กลับขอมาลี้ภัยในแผ่นดินสหรัฐอเมริกาได้ จึงฝ่ากองกำลังของนาวิกโยธินสหรับ เข้าไปจับตัวเจ้าหน้าที่ผู้ที่ทำงานในสถานฑูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (Tehran) ผู้ที่อยู่ในสถานทูตอเมริกัน 52 คน ถูกกักตัวไว้นาน 444 วัน กลุ่มนักศึกษาได้เรียกร้องและกดดันรัฐบาลอิหร่านต่อสหรัฐให้ส่งตัวพระเจ้าซาห์ ปาห์เลวี กลับอิหร่าน แต่รัฐบาลสหรัฐในเวลานั้นกลับปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยอ้างว่าพระเจ้าซาห์ยังอยู่ในสถานภาพเป็นคนไข้รักษาตัว เหตุการณ์นี้ได้สร้างรอยร้าวขึ้นใหญ่หลวง ทำให้อิหร่านงดส่งน้ำมันไปยังสหรัฐ ในขณะที่สหรัฐก็ตอบโต้ด้วยการอายัดทรัพย์สินของอิหร่านที่มีอยู่ในสหรัฐทันที กว่า 2 แสนล้านบาท นับเป็นความรุนแรงที่ทำให้มีการตัดความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน และอิทธิพลของอเมริกันต่อชาวอิหร่านสายกลางได้สิ้นสุดลง นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan ผู้ไม่เห็นด้วยกับการจับตัวประกันได้ลาออกในเวลาต่อมา ส่วนฝ่ายที่จับตัวประกันให้เหตุผลว่า เป็นการตอบโต้ต่อสหรัฐ อันเป็นผลจากการที่สหรัฐหนุนหลังให้มีการรัฐประหารล้มอำนาจของนายกรัฐมนตรี Mosaddeq ในอิหร่านในปี ค.ศ. 1953 โดยกล่าวว่า ท่านไม่มีเหตุผลใดที่ได้จับประเทศอิหร่านเป็นตัวประกันในปี ค.ศ. 1953” นอกจากนี้ ชาวอิหร่านบางส่วนกังวลว่าสหรัฐอเมริกาจะวางแผนรัฐประหารในปี ค.ศ. 1979  สหรัฐยังได้ส่งกองเรือไปประชิดทะเลอาหรับ จากความกดดันของสหรัฐ ทำให้อัลยาโตเลาะห์ โคไมนี ยอมปล่อยตัวประกันชาวผิวสีออกมาก่อน 3 คน และยอมปล่อยชาวผิวสีออกมาอีก 10 คนในระลอกสอง กลุ่มประชาชนในอิหร่านที่ไม่พอใจพากันไปประท้วงที่สถานฑูตสหรัฐในประเทศต่างๆ พยายามหาพันธมิตรแนวร่วม ไปฟ้องศาลโลก และสหประชาชาติด้วย

อิหร่านมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งจะสถาปนาอิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลามหรือรัฐเทวธิปไตย รัฐธรรมนูญใหม่นี้ได้รับการตอบรับประชาชนอย่างท่วมท้นกว้างขวาง 99.60 ของประชากรทั้งหมด ผลการเลือกต้งประธานาธิบดีคนแรกที่ได้ อะโบลฮัสซัน บันนิซัดร์ (Abolhassan Bannisadr) อดีต รมว.คลังที่กลายมาเป็น ปธน. เมื่ออิหร่านมีผู้ปกครองโดยชอบธรรม การตัดสินใจหรือกดดันจากกลุ่มนักศึกษาจึงกลับไปขัดแย้งกับรัฐบาลของตนแทน ด้านสหรัฐก็ลดท่าทีแข็งกร้าวต่อรัฐบาลอิหร่าน

ในที่สุดตัวประกันการทูตของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการปล่อยตัว แต่การกักตัวทูตและผู้ทำงานการทูตในครั้งนั้น นับเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายนานาชาติ เป็นการรุกล้ำเขตที่ถือเป็นอธิปไตยของประเทศ ส่วนในช่วงการกักตัวประกันไว้ในสถานทูต สหรัฐอเมริกาได้ใช้ความพยายามช่วยตัวประกัน โดยมี ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรีย์” (Operation Eagle Claw) ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1980 แต่ล้มเหลว ทำให้เสียทหารไป 8 นาย และต้องล้มเลิกแผนงาน เหตุวิกฤติจบลงในที่สุด เมื่อมีการลงนามในสัญญา Algiers Accords ในประเทศอัลจีเรียในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1981 และมีการปล่อยตัวประกัน ในข้อตกลง มีการปล่อยตัวคนอเมริกันที่ถูกกักตัวในอิหร่าน และอีกด้านหนึ่ง มีการปล่อยตัวคนสัญชาติอิหร่านที่ต้องโทษในสหรัฐอเมริกา  แต่สนธิสัญญานี้ครอบคลุมเพียงด้านกฎหมาย แต่ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1980 สหรัฐอเมริกาได้ตัดสัมพันธ์กับอิหร่าน ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1981 รัฐบาลสวิสเซอร์แลนด์ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์สหรัฐในอิหร่าน และสถานทูตปากีสถานในกรุงวอชิงตันดีซี ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอิหร่านในสหรัฐอเมริกา แต่เพื่อเป็นการตอบโต้ต่ออิหร่าน จึงมีการลงโทษทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินของรัฐบาลอิหร่านในต่างประเทศ ในธนาคารต่างประเทศถูกอายัด มีการห้ามทุกประเทศทำการค้าขายกับอิหร่าน ด้วยเหตุดังกล่าว อิหร่านจึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ฝ่ายรัฐบาลกลับยิ่งใช้นโยบายกร้าวต่อประชากรที่เอนเอียงไปทางการรับวัฒนธรรมตะวันตก และกลุ่มที่เรียกร้องเสรีภาพ  สังคมอิหร่านเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่ในอิหร่าน ประธานาธิบดีสายเหยี่ยวที่กร้าวต่อตะวันตกหมดอำนาจไป ส่วนผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามารับตำแหน่งคนใหม่ ฮัสซัน รูฮาห์นี (Hassan Rouhani) ประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอิหร่าน ซึ่งเป็นพวกเดินสายกลาง และต้องการมีสัมพันธภาพใหม่กับทางตะวันตก  คงจะต้องใช้เวลาสักระยะกว่าจะเข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้น หลังความขัดแย้งแตกหักตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 และสืบเนื่องยาวนาน นับเป็นเวลาถึง 34 ปีแล้ว

ต่อมาในวันที่ 23 กรกฏาคม 1980 พระเจ้าซาห์แห่งอิหร่านก็ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็งในตับและตกเลือด เมื่อประชาชนทราบข่าวต่างพากันดีใจ แต่โฆษกรัฐบาลประกาศว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ทำให้สถานการณ์ระหว่างสหรัฐและอิหร่านต้องเปลี่ยนไป และรัฐสภาอิหร่านจะเป็นผู้พิจารณาคดีตัวประกันที่ถูกควบคุมอยู่เอง ซึ่งสหรัฐก็ยอมอ่อนข้อร่วมมือตั้งคณะกรรมการสอบสวนความสัมพันธ์ในอดีตของสหรัฐ กับพระเจ้าซาห์ ต่อมาอิหร่านก็ได้ร่างเงื่อนไขออกมา 4 ข้อ เป็นข้อแลกเปลี่ยนกับตัวประกัน 52 คนของสหรัฐ

ภูมิหลังประเทศอิหร่าน


อิหร่าน (Iran) หรือที่รู้จักกันในนาม เปอร์เชีย” (Persia) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republicof Iran) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 จัดเป็นประเทศหนึ่งในเอเซียตะวันตก (Western Asia) มีเขตแดนทางเหนือติดกับประเทศอาร์เมเนีย (Armenia), อาเซอร์ไบจัน (Azerbaijan) และเติร์กเมนิสตาน (Turkmenistan), และทางเหนือติดกับคาซัคสถาน (Kazakhstan) และรัสเซีย (Russia) ตลอดไปจนถึงทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) และอ่าวโอมาน (Gulf of Oman) ในทางตะวันตกติดกับอิรัค (Iraq) และทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับเตอรกี (Turkey) อิหร่านจัดเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ 1,648,195 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของโลก มีความหลากหลายทางชนชาติ (Ethnically diverse) มีประชากร 77 ล้านคน มีพื้นที่เป็นภูเขามาก นับเป็นเขตที่มีความสำคัญทางภูมิศาสตร์การเมือง (geopolitical significance) ด้วยมีพื้นที่สัมผัสทาง 3 เขตของเอเชีย อิหร่านมีเมืองหลวงและมีประชากรมากที่สุด ชื่อ เตหะราน (Tehran) นับเป็นศูนย์กลางทางการเมือง วัฒนธรรม การค้า และอุตสาหกรรมของประเทศ อิหร่านจัดเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค มีผลต่อความมั่นคงทางพลังงานและเศรษฐกิจโลก เพราะความเป็นแหล่งพลังงานปิโตรเลียม ทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติขนาดใหญ่ มีแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่เป็นที่ 4 ของโลก อิหร่านเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดี ด้วยมีผลิตผลน้ำมัน มีรายได้ปราชาชนต่อหัว/ปี ที่ประมาณ USD13,000 จัดอยู่ในระดับกลางค่อนข้างสูงของโลก ใกล้เคียงกับมาเลเซีย บราซิล และเมกซิโก  อิหร่านยังเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง มีราชวงศ์แรกที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงราชวงศ์อีลามไมท์ (Elamite kingdom) ในช่วง 2800 ปีก่อนคริสตกาล ในยุค Iranian Medes อิหร่านได้มีการรวมประเทศเป็นอาณาจักรในปี 625 ก่อนคริสตกาล ไซรัสมหาราช (Cyrus the Great) ได้ก่อตั้งอาณาจักรอาเมนิด (Achaemenid Empire) ในช่วง 550-330 ปีก่อนคริสตกาล มีอาณาบริเวณใหญ่สุดในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล นับเป็นอาณาจักรโบราณขนาดใหญ่เหยียดยาวจากหุบเขาอินดัส (Indus Valley) ไปทางตะวันออก ถึง เธรส (Thrace) และมาซีดอน (Macedon) ทางตะวันออกเฉียงเหนือไปจนจรดกรีก (Greece) นับเป็นอาณาจักรใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยเห็น  ในช่วง 633 หลังการเริ่มคริสตกาล กองทัพมุสลิมได้บุกอิหร่าน และได้ปกครองเขตนี้ในปี ค.ศ. 651 ในปี ค.ศ. 1501 ได้เกิดราชวงศ์ซาฟาวิด (Safavid dynasty) ที่ได้ส่งเสริมอิสลามนิกายชีอะ (Twelver Shia Islam) ถือเป็นศาสนาหลักของอาณาจักร นับเป็นช่วงสำคัญของประวัติอิสลามในประเทศอิหร่าน  ในปี ค.ศ. 1906 อิหร่านได้มีการปฏิวัติรัฐธรรมนูญ (Persian Constitutional Revolution) ทำให้ประเทศมีรัฐสภาเป็นครั้งแรก โดยมีระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในปี ค.ศ. 1953 ด้วยอิทธิพลของสหรัฐกับอังกฤษ ได้มีการก่อรัฐประหาร ซึ่งทำให้อิหร่านค่อยๆกลายเป็นรัฐเผด็จการ ประชาชนเริ่มปฏิเสธอิทธิพลของต่างชาติ และเมื่อมีการปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution) ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1979 จึงได้เกิดสาธารณรัฐอิสลาม (Islamic republic) ปฏิเสธวัฒนธรรมตะวันตก และเกิดการต่อต้านสหรัฐอเมริกา จนถึงระดับจับตัวนักการทูตเป็นตัวประกันในปี ค.ศ. 1979 ดังได้พรรณนามาแล้ว  อิหร่านเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง สหประชาชาติ (United Nations - UN), ประเทศผู้ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement - NAM), องค์การความร่วมมือศาสนาอิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation  - OIC) และองค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (Organization of the Petroleum Exporting Countries - OPEC) ระบบการปกครองของอิหร่านปัจจุบัน อาศัยรัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1979 ซึ่งมีองค์ประกอบของประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (parliamentary democracy) ผสมกับอำนาจจากศาสนจักร (Religious theocracy) โดยมีฝ่ายศาสนาเป็นผู้บริหารประเทศ อำนาจสูงสุดอยู่ภายใต้ผู้นำสูงสุด (Supreme Leader) อันมาจากฝ่ายศาสนา ศาสนาอย่างเป็นทางการของอิหร่านคือชีอะ (Shia Islam) และมีภาษาเปอร์เซีย (Persian) เป็นภาษาทางการ (คัดลอกและอ้างอิงข้อมูลจากเพจของคุณประกอบ คุปรัตน์ http://pracob.blogspot.com/2013/09/1979.html,และเพจของ myfirstbrain.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น