ในช่วง 3-4 ปีมานี้
ผู้เขียนยอมรับว่าได้ดูหนังไทยน้อยลงทุกปี ปีนี้ได้ดูเพียง 5-6 เรื่องเท่านั้น แม้ว่าจะมีปริมาณของหนังไทยที่ถูกสร้างและออกฉายในโรงภาพยนตร์ปีละไม่ต่ำกว่า
40-50 เรื่องโดยเฉลี่ยในรอบ 10 ปีให้หลังมานี้ก็ตาม
แต่ดูเหมือนคุณค่าของศิลปะความเป็นภาพยนตร์ในแบบที่เคยได้รับมามันเจือจางลงหรือเลือนหายไปมาก
อย่างน่าตกใจ ส่วนใหญ่เป็นหนังตลาดที่ถูกสร้างมาเพื่อเอาใจตลาด
ตอบโจทย์ด้านความบันเทิงเป็นหลัก ที่ร้อยละ 90 เดินไปตามแนวเดิมๆ
เดินตามสูตรของหนังผี ตลก และเรื่องเพศเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่กล่าวมาไม่ได้บอกว่า
มันไม่มีหนังแนวทางเลือกอื่นๆ เลย ก็ไม่ใช่ เพราะช่วงหลังๆ มานี้
ตลาดของหนังไทยมีกลุ่มตลาดเล็กๆ ที่เป็นความหวังของอุตสาหกรรมหนังไทยเพิ่มขึ้นมา
ที่เรียกว่าหนังอินดี้ ที่มักเป็นหนังทุนต่ำ ออกไปฉายตามเทศกาลหนังของต่างประเทศ
มักเป็นหนังที่ได้ทุนสร้างมาจากตามเทศกาล หรือสถาบันองค์กรต่างๆ
ของต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่
เป็นหนังที่ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์หนังทั้งของไทยและต่างประเทศ
บางเรื่องไปได้รางวัลมา แต่คนไทยกลับไม่รู้จัก ไม่แม้แต่เคยได้ยินชื่อ
หรือรับรู้ว่ามีการสร้างหนังเรื่องนั้นมาก่อนด้วยซ้ำ
อีกทั้งช่องทางที่จะรับชมหนังกลุ่มดังกล่าวก็เป็นไปในลักษณะต้องขวนขวาย ดั้นด้น
ค้นหากันเอาเองของผู้ชม บางเรื่องไม่เคยฉายในวงกว้าง
บางเรื่องอาจได้รับโอกาสได้ฉายในโรงภาพยนตร์ปกติ
แต่ก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้นมาก ไม่สามารถยืนโรงฉายได้นาน ติดเงื่อนไขของธุรกิจโรงภาพยนตร์ในยุคปัจจุบัน
ที่หากไม่ทำเงินก็จะต้องถูกลดจำนวนรอบ จำนวนโรง และวันฉาย
หรือถูกถอดออกไปเพื่อให้หนังเรื่องอื่นมาฉายแทน นี่เป็นวังวนของระบบธุรกิจภาพยนตร์ยุคใหม่
ที่มีทั้งข้อดีแล่ะข้อเสีย ที่เป็นเงื่อนไขที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยนั้นเกิดยาก
และเป็นที่มาของสาเหตุสำคัญประการหนึ่งทำให้รู้สึกว่า อุตสาหกรรมหนังไทยในรอบ 4-5
ปีมานี้ (ในความรู้สึกของผู้เขียนเอง) คือเข้าสู่ยุคตกต่ำ แม้กระทั่งสตูดิโอใหญ่ยักษ์ของไทยอย่าง GTH,
Five Star, สหมงคลฟิล์ม, M39, พระนครฟิล์ม
แข่งกันทำหนังเอาใจตลาดทั้งหมด ในรอบ 4-5 ปีให้หลังมานี้
เราขาดแคลนหนังไทยที่ให้คุณค่าความเป็นศิลปะภาพยนตร์ในแบบไทยๆ ลดน้อยลงทุกปี
หนังเหล่านั้น ได้แก่ มหาลัยเหมืองแร่, 15 ค่ำ เดือน 11,
โหมโรง ,แฟนฉัน ,กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้ ,ท้าฟ้าลิขิต,
มนต์รักทรานซิสเตอร์, ฟ้าทะลายโจร, นางนาก, 2499 อันธพาลครองเมือง
,บุญชู ,ก้านกล้วย ฯลฯ
ความหวังที่จะได้เห็นหนังไทยมีงานมาสเตอร์พีซออกมาปีละหนึ่งเรื่อง ต่อหนึ่งสตูดิโอ
คงจะยากยิ่ง แม้แต่ค่ายหนังที่เป็นความหวังอย่าง GTH ช่วงหลังก็สร้างแต่หนังตามสูตรสำเร็จเดิมๆ
ของตนเอง และตั้งหน้าตั้งตาเก็บเกี่ยวความสำเร็จตามแนวทางของหนังตลาด
ไม่กล้าที่จะยอมเสี่ยง ฉีกแนว หรือรังสรรค์สิ่งแปลกใหม่ หรือให้คุณค่าคืนแก่สังคม
เหมือนหนังในช่วงยุคแรก ยุคบุกเบิกของตนเอง เข้าใจว่าในยุคดิจิตอลเช่นนี้
การสร้างหนังที่การันตีความสำเร็จด้วยหน้าหนังที่เป็นหนังตลาด
ย่อมรับประกันความเสี่ยงได้ ยิ่งเป็นสตูดิโอใหญ่ที่มากไปด้วยประสบการณ์
ย่อมจะไม่เลือกทางเสี่ยงอีก แต่ขอเพียงปีละ 1 เรื่องที่จะคืนความสุขให้กับคนดู
ให้โปรตีนและวิตามินให้กับคนดูบ้าง เพื่อเป็นสารอาหารทีดีต่อชีวิตคนดูบ้าง คิดว่า
ถ้าหนังมันดีจริง ยังไงเสียกระแสบอกต่อย่อมไม่ทำให้หนังถึงกับประสบผลขาดทุนหรอก
คนไทยไม่เคยใจร้ายขนาดนั้น แม้นว่าปัจจุบันค่าตั๋วหนังมันจะแสนแพง
และต้องเลือกดูก็เถอะ หากเป็นหนังไทยที่ดีจริง และพยายามจะยืนโรงฉายให้ได้นาน
คนไทยก็พร้อมสนับสนุน ประวัติศาสตร์ก็เคยมีมาแล้ว
มาเข้าเรื่อง เข้าประเด็นกันดีกว่า
ในวัยเด็กนั้น ผู้เขียนดูหนังอยู่แค่ 2 ชาติ
เท่านั้นเอง คือหนังไทยกับหนังจีน (ชอว์บราเธอร์) หนังฝรั่งฮอลลีวู้ด
เพิ่งมาดูตอนโตแล้ว (ช่วงมัธยม ตอนนั้น
เป็นช่วงที่เมืองไทยเพิ่งจะมีเครื่องเล่นวีดีโอ
เรื่องแรกที่ดูด้วยเครื่องเล่นวีดีโอก็คือ สตาร์วอร์ส 4-5-6) จึงคุ้นเคยกับหนังไทยและหนังจีนมากๆ
แต่ในยุคนั้น ยังเด็กมากๆ ดูหนังไทยก็ดูทางทีวีเป็นหลัก รู้สึกช่อง 7 จะมีฉายแทบทุกอาทิตย์ วันหยุดเสาร์อาทิตย์ สลับกับหนังจีนชอว์บราเธอร์ กับดูตามสถานที่ที่มีฉายหนังกลางแปลง
ตามซอกซอยของคนจีน ตามงานวัดบ้าง แต่หนังไทยที่ยอมเสียตังค์ไปดูในโรงจริงๆ ยุคแรก
ๆ ที่พอจะจำได้ ก็คือโรงหนังเอ็มไพร์ แกรนด์ ก็คือหนังของพี่เปิ้ล จารุณี สุขสวัสดิ์
นั่นแหละ ยุคนั้น พี่เปิ้ล จารุณีคือซุปตาร์เบอร์หนึ่งของเมืองไทย คล้ายๆ
คุณอั้มในยุคนี้
แต่ความยิ่งใหญ่ของคุณเปิ้ลในยุคนั้น ดาราสมัยนี้เทียบไม่ติดฝุ่นหรอกครับ
เธอมีหนังเข้าฉาย บางอาทิตย์ชนกันเองถึง 2-3 เรื่อง
เรียกว่าแทบจะดูกันไม่หวาดไม่ไหว ก็หนังไทยสมัยนั้น มีฉายกันปีละ 300-400 กว่าเรื่อง และดาราระดับแม่เหล็ก ที่เรียกคนดูได้ ก็ไม่ใช่มีแต่คุณเปิ้ล
จารุณีที่ไหน ก่อนหน้านั้น ก็ยุคคุณมิตร-เพชรา , สมบัติ-อรัญญา , สรพงศ์ –เนาวรัตน์, กรุง-พิศมัย , ยอดชาย – ภาวนา ,วิฑูรย์ – วาสนา ,จตุพล, นิรุตติ์ , ทูน ,ไพโรจน์ –
ลลนา ฯลฯ ยุคถัดจากคุณจารุณีก็ยังมี สันติสุข -จินตหรา ซึ่งดาราเหล่านี้แหละ เล่นหนังไทยกันมา คนละไม่ต่ำกว่าหลายสิบ
หลายร้อยเรื่อง นับเป็นยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมไทยอย่างแท้จริง เรียกว่า
สมัยนั้น ผู้เขียนจัดว่าดูหนังในโรงหนังบ่อยที่สุดแล้ว
เป็นยุคฟูเฟื่องทั้งหนังไทยและหนังจีนไปพร้อมๆ กัน
บางวันดูหนังไทยเรื่องนึงแล้วไปต่อหนังจีนอีกเรื่องนึง หรือดูมาราธอน 2-3 เรื่องภายในวันเดียวก็เคยดูมาแล้ว (ไม่ใช่โรงควบนะครับ)
ซึ่งถ้าเทียบกับสมัยนี้ แม้จะเป็นโรงมัลติเพล็กซ์อยู่ในที่เดียวกัน
แต่บางทีมันฉายเรื่องเดียวกันหมดเกือบจะทุกโรง ทำให้ไม่มีหนังทีอยากดู
และดูต่อกันยากมาก เนื่องจากเวลาที่เหลื่อมกัน
ไม่เหมือนการฟิคเวลาของโรงหนังสมัยก่อนที่จะมีการระบุเวลาที่แน่นอนตายตัว บางที 2
โรงที่อยู่ไกลกัน แต่เราสามารถคำนวณเวลาที่จะไปดูได้ทัน
และไม่รู้สึกเสียเวลา เสียอารมณ์กับการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมฉายกะทันหันของโรงหนังสมัยนี้
ที่คาดคะเณ และวางแผนการเดินทางไปดูได้ยากยิ่ง
หนังไทยหรือหนังเทศสมัยนี้จึงมีเพียง 2 ทางเลือกเท่านั้น
คือถ้าทำเงิน มีคนดู
ก็ยืนโรงฉายนานและยึดโรงหลักเอาไว้ได้เกือบหมดแบบปูพรมฉายกันเลย
อย่างปรากฏการณ์ของพี่มาก,ไอฟาย แต่ถ้าแป้กก็จะเกิดอาการถูกลดโรง
ลดจำนวนรอบ จนไปถึงถูกถอดออกจากโปรแกรมก่อนเวลาอันควรไปเลย อย่างเรื่อง ศรีธนญชัย ,ฟินสุโค่ย
ฯลฯ
มิตร ชัยบัญชา มีผลงานการแสดงภาพยนตร์ไว้กว่า 266 เรื่อง (เฉพาะที่นับได้จากการออกฉายในโรงภาพยนตร์) ส่วนใหญ่เป็นหนัง 16 ม.ม. พากย์สดๆ ส่วนที่สร้างเป็นหนัง 35 ม.ม.เสียงในฟิล์มเพียง 16 เรื่องเท่านั้น โดยมิตร ชัยบัญชา แสดงคู่กับนางเอกมากกว่า 29 คน ในจำนวนนี้เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นนางเอกที่แสดงคู่กันมากที่สุดถึง 172 เรื่อง
เพชรา เชาวราษฎร์ (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2486) ชื่อเล่น อี๊ด ชื่อจริงว่า เอก ชาวราษฎร์ นักแสดงภาพยนตร์เจ้าของฉายา นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง มีผลงานแสดงประมาณ 300 เรื่อง ระหว่าง พ.ศ. 2505 ถึง 2521 บทบาทการแสดงของเธอมีความหลากหลาย บางเรื่องแสดงเป็นเจ้าหญิง บางเรื่องแสดงเป็นขอทาน บางเรื่องเป็นเด็กแก่นแก้ว นอกจากภาพยนตร์ไทยแล้วยังได้แสดงหนังจีนจากไต้หวัน เป็นภาพยนตร์กำลังภายใน เพชรา เชาวราษฎร์ (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2486) ชื่อเล่น อี๊ด ชื่อจริงว่า เอก ชาวราษฎร์ นักแสดงภาพยนตร์เจ้าของฉายา นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง มีผลงานแสดงประมาณ 300 เรื่อง ระหว่าง พ.ศ. 2505 ถึง 2521 บทบาทการแสดงของเธอมีความหลากหลาย บางเรื่องแสดงเป็นเจ้าหญิง บางเรื่องแสดงเป็นขอทาน บางเรื่องเป็นเด็กแก่นแก้ว นอกจากภาพยนตร์ไทยแล้วยังได้แสดงหนังจีนจากไต้หวัน เป็นภาพยนตร์กำลังภายใน เธอได้รับการชักชวนจากศิริ ศิริจินดา และดอกดิน กัญญามาลย์ ให้แสดงภาพยนตร์เรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี เมื่อ พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องแรก ขณะอายุ 19 ปี แสดงคู่กับ มิตร ชัยบัญชา โดยดอกดิน กัญญามาลย์ เป็นผู้ตั้งชื่อว่า เพชรา ให้
เพชรา เชาวราษฎร์ แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวจากภาพยนตร์เรื่องที่สอง เรื่อง ดอกแก้ว ตามด้วย หนึ่งในทรวง, อ้อมอกสวรรค์ และได้แสดงคู่กับมิตร ชัยบัญชา รับบทคู่รักในภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง เป็นที่ชื่นชอบของแฟนภาพยนตร์ เรียกว่า คู่ขวัญ มิตร-เพชรา ในยุคที่เธอโด่งดังมาก ๆ แต่ละเดือนมีคิวถ่ายหนังประมาณ 12-18 เรื่อง แต่ละวันต้องถ่ายทำภาพยนตร์วันละ 3-4 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2508 เพชราเข้ารับพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทอง จากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดของเธอ เจ้าตัวเคยบอกไว้ว่า... “เป็นความประทับใจ เป็นความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต และจะไม่มีวันลืม ตราบที่ยังมีลมหายใจ” จากบทบาทภาพยนตร์เรื่อง นกน้อย
คู่ขวัญ มิตร-เพชรา หลังจากมิตร
ชัยบัญชาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในการถ่ายภาพยนตร์เรื่อง อินทรีทอง
เพชราก็ยังรับบทนางเอกภาพยนตร์ต่อเนื่องมาอีกหลายปี คู่กับ สมบัติ เมทะนี, ไชยา สุริยัน, ลือชัย นฤนาท
และพระเอกใหม่ ครรชิต ขวัญประชา, นาท ภูวนัย, ยอดชาย เมฆสุวรรณ, กรุง ศรีวิไล
เพชราเคยต้องเผชิญกับวิกฤตการเงินครั้งใหญ่
เมื่อถูกกรมสรรพากรเล่นงานเรื่องภาษีถึงขั้นฟ้องล้มละลาย
จนต้องเลหลังขายบ้าน แต่ในตอนนั้นทั้งชรินทร์ นันทนาครทำหนังใหม่เรื่อง เพลงรักดอกไม้บาน
นำแสดงโดยนันทิดา แก้วบัวสาย
เมื่อหนังออกฉายก็พอมีเงินใช้หนี้ และได้เข้าเจรจากับกรมสรรพากรขอส่งตามที่มี
แต่บางครั้งเมื่อขาดส่งทีไรหนังสือพิมพ์ก็มักลงข่าวว่า "เพชราโกงภาษี"
ทุกที เข้าสู่โลกแห่งความมืด ประมาณ
พ.ศ. 2515 เธอเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา เนื่องจากในการถ่ายภาพยนตร์ต้องใช้แสงไฟสว่างจ้า
ใช้เวลารักษาอยู่หลายปี จนกระทั่งตาบอดสนิททั้งสองข้าง
เมื่อ พ.ศ. 2521 ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เธอแสดง
คือเรื่อง ไอ้ขุนทอง
ซึ่งเธออำนวยการสร้าง และแสดงเป็นแม่ของพระเอก รับบทโดยสรพงศ์ ชาตรี
สาเหตุของการตาบอดของเพชรา มาจากการไม่ได้พักสายตา
ไม่ว่าจะเป็นบทบาทที่ต้องร้องไห้บ่อย การขับรถไปทำงานเอง ประกอบกับสมัยนั้น
ถ่ายหนังต้องใช้ไฟแรง หรือใช้รีเฟล็กซ์เยอะ ช่วงหลัง ๆ ที่ถ่ายหนังเรื่อง “ไทยใหญ่” เมื่อปี 2513 เริ่มแสบตา แต่เธอก็ยังขับรถไปถ่ายหนังต่างจังหวัดเอง
และอดทนแสดงภาพยนตร์จนถึงเรื่องสุดท้ายคือ “ไอ้ขุนทอง”
เข้าฉายในปี 2520 เมื่อดวงตาเริ่มมีปัญหา จึงไปหาหมอ
แต่ว่าไม่ได้ไปตามนัดโดยสม่ำเสมอ เพราะต้องไปถ่ายหนัง บางวันก็อยู่ต่างจังหวัด
พออาการเริ่มหนักขึ้น ถึงขั้นขับรถปีนเกาะกลางถนนหลายครั้ง ช่วงที่อาการหนักมาก ๆ
ก็พยายามรักษาทุกวิถีทาง แพ้ยาจนตัวบวม จากน้ำหนัก 47-48 กิโลกรัม จนมาหนัก 60
กว่ากิโลกรัม ต้องซื้อเสื้อผ้าคนท้องมาใส่ ผมร่วงหมดศีรษะ ฝ้าขึ้นดำไปทั้งหน้าทั้งตัว เมื่อตัวบวมมาก ๆ
ก็หายใจไม่ออก กลืนน้ำก็ไม่ได้ ต้องเข้าไปนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล การทำงานของไตหยุด พิษยาจึงคั่งค้างทำให้ตัวบวม
ต้องรอให้พิษยาลดลง จากที่เคยสวมแว่นดำและนั่งแท็กซี่ไปไหนมาไหนได้เอง
ตอนหลังก็มองไม่เห็น ออกไปไหนคนเดียวไม่ได้ ดวงตาของเพชรา ได้ปิดสนิทลง ในกลางปี
2524 หลังจากนั้น เธอก็ไม่ปรากฏตัวที่ไหนอีกเลย กลับคืนวงการชั่วคราว หลังจากหยุดงานแสดงเพื่อรักษาสุขภาพมาหลายปี
เธอทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุคลื่นลูกทุ่งเอฟเอ็ม
ตั้งแต่ พ.ศ. 2544-2548 ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552
เธอให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ครั้งแรกในรอบ 30 ปี ในรายการ วู้ดดี้เกิดมาคุย
ซึ่งดำเนินรายการโดย วุฒิธร มิลินทจินดา
หรือวู้ดดี้ โดยเข้าไปคุยในบ้านของเธอเอง พร้อมพูดเปิดใจและบอกสาเหตุที่เก็บตัวเงียบ
ไม่ยอมออกรายการโทรทัศน์ แต่ยังคงไม่เปิดเผยหน้าตา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552
เพชราได้รับงานโฆษณาลิปสติกมิสทีน
จากการเข้าติดต่อการเจรจาถึง 9 ครั้ง จนครั้งสุดท้ายที่สำเร็จ
โดยรายได้จากงานครั้งนี้เพชราจะบริจาคให้องค์กรการกุศลทั้งหมด
ส่วนหนึ่งจะมอบให้กับมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย
โฆษณาประชาสัมพันธ์ได้แพร่ภาพเมื่อประมาณกลางเดือนกันยายน
โดยตัวแรกที่นำเสนอภาพของเพชราในอดีต และตัวที่สองมีพรีเซนเตอร์ของมิสทีนคนก่อน ๆ
มาพูดถึงจุดเด่นของโฆษณาตัวนี้ โฆษณาชุดนี้ถ่ายทำเมื่อวันที่ 16-17 กันยายน
และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.
2552 โดยผู้บรรยายโฆษณาคือ นิรุตต์ ศิริจรรยา
และผู้ขับร้องเพลง หยาดเพชร
เพลงประกอบโฆษณาชิ้นนี้คือ ศุกลวัฒน์ คณารศ
นับเป็นโฆษณาทางโทรทัศน์ตัวแรกในรอบกว่า 30
ปีที่เธอยอมให้มีการถ่ายภาพใบหน้าของเธออย่างชัดเจน ชีวิตส่วนตัว เพชราเป็นคนจังหวัดระยอง คุณพ่อมีเชื้อสายจีน
มีก๋งมาจากเมืองจีนและแม่เป็นคนไทย
ครอบครัวเธอเป็นครอบครัวที่ทำมาค้าขายและทำสวนไร่ พ่อแม่มีลูก 7 คน
เธอเป็นลูกคนที่ 4 เธอเคยมีคู่หมั้น เป็นลูกเศรษฐีเจ้าของอู่ต่อเรือประมง
เมื่อตอนที่อายุ 15 ปี โดยผู้ใหญ่จะตัดสินใจรับหมั้น แต่ด้วยความที่อายุน้อยจึงบ่ายเบี่ยงไปตลอดเกือบ
2 ปี แล้วงานวิวาห์จึงเกิดขึ้น สุดท้าย เพชรา ได้หนีไปในวันเข้าพิธีแต่งงาน เพชรา
สมรสกับ ชรินทร์ นันทนาคร
(ศิลปินแห่งชาติ
ปี 2541 สาขาศิลปะการแสดง) นักร้องเพลงไทยสากล
เพชราและชรินทร์ร่วมงานครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง แพนน้อย
จนกระทั่งได้แสดงหนังเรื่อง แผ่นดินแม่ ปี พ.ศ. 2518
จึงตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน ทั้งคู่แต่งงานกันเงียบ ๆ
เลี้ยงเพื่อนร่วมวงการเพียงไม่กี่คน เพชราและชรินทร์ไม่มีบุตรด้วยกัน
เคยตั้งครรภ์ถึง 3 ครั้ง คนที่ 3 อุ้มท้องนาน 6-7 เดือน แต่อยู่วันหนึ่งต้นโกสนถูกลมพัดล้มลงบนพื้น
คุณเพชราก้มไปหยิบต้นไม้ไว้อย่างเดิม แต่เป็นเหตุทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลด่วน
ฉีดยาห้ามเลือดอยู่ 1-2 วัน สุดท้ายหมอได้ทำคลอดออกมาเป็นผู้ชายแต่ไม่หายใจแล้วสมบัติ เมทะนี (26 มิถุนายน 2480 — ) (ชื่อเล่น: แอ๊ด) เป็นนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ซึ่งกินเนสบุ๊คบันทึกว่าแสดงภาพยนตร์มากที่สุดในโลกถึง 617 เรื่อง โดยถูกบันทึกไว้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 สมบัติ เมทะนี เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของแม่ แต่เมื่ออายุได้เพียง 7 วัน ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่แยกสะพานอ่อน ใกล้แยกปทุมวัน ตามพ่อซึ่งเป็นข้าราชการกรมรถไฟ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นจึงทำงานครั้งแรกที่บริษัทเอส ซี จี เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแทน แต่เมื่อฐานะการเงินของบริษัทไม่ดี จึงลาออกมาเพื่อหางานอื่นทำ ระหว่างนี้จึงได้เข้าศึกษาต่อระดับอนุปริญญาที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย และเข้าเกณฑ์ทหาร 6 เดือน พ้นเกณฑ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 จึงออกหางานทำ โดยตั้งใจว่าจะรับราชการ ระหว่างที่เดินหางานอยู่นั้น ได้เข้าสู่วงการบันเทิงโดยบังเอิญ เมื่อเป็นที่ถูกตาของแมวมองแถวโรงภาพยนตร์คิงส์-ควีนส์ ย่านวังบูรพา เพราะมีรูปร่างสูงใหญ่ โดยเป็นพระเอกละครโทรทัศน์ทันทีทางช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5 ในปัจจุบัน) คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช ซึ่งเป็นนางเอกภาพยนตร์ชื่อดังก่อนแล้ว โดยมีสุพรรณ บูรณะพิมพ์ นักแสดงรุ่นพี่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแสดง ในส่วนชีวิตครอบครัว สมบัติ เมทะนี สมรสกับ กาญจนา เมทะนี (ตุ๊) เมื่อปี พ.ศ. 2502 มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรชาย 5 คน ธิดา 1 คน คือ สิรคุปต์ เมทะนี (อั๋น),สุรินทร์ เมทะนี (เอิร์ธ) เกียรติศักดิ์ เมทะนี (อั้ม), ศตวรรษ เมทะนี (เอ้), พรรษวุฒิ เมทะนี (อุ้ม) และ สุดหทัย เมทะนี (เอ๋ย) ซึ่งสมบัติกับกาญจนา ทั้งคู่รู้จักกันในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกัน และสมรสกันก่อนที่สมบัติจะเข้าสู่วงการบันเทิงเสียอีก
เริ่มเข้าวงการบันเทิง จากการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง หัวใจปรารถนา เป็นเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช หลังจากแสดงละครโทรทัศน์อยู่ 4 เรื่องจึงหันไปแสดงภาพยนตร์ เรื่องแรก รุ้งเพชร คู่กับ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง พ.ศ. 2504
ผลงานแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม.ถึง ยุคภาพยนตร์สโคป 35 มม.เสียงพากย์ในฟิล์มและซาวด์ออนฟิล์ม เช่น เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ,ศึกบางระจัน ,จุฬาตรีคูณ ,เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง ,กลัวเมีย ,ฟ้าทะลายโจร ฯลฯ
เคยกำกับภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ลูกสาวกำนัน ,แม่แตงร่มใบ และ น.ส.ลูกหว้า
เคยปรากฏตัวพิเศษเป็นดารารับเชิญในภาพยนตร์ชุดทางทีวีครั้งแรกครั้งเดียว ใน ผู้หญิงก็มีหัวใจ นำแสดงโดย สุมาลี ทองหล่อ ,ฉันทนา ติณสูลานนท์ ,สุระ นานา ผลงานของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล พร้อมมิตรภาพยนตร์ ช่อง 7 สี พ.ศ. 2511
ในช่วงที่ได้รับความนิยมถึงขีดสุด เคยรับงานแสดงพร้อมกันมากถึง 28 เรื่อง
เป็นนักร้อง มีผลงานอัดแผ่นเสียงอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ จุฬาตรีคูณ ,เกาะสวาทหาดสวรรค์ และ วิวาห์พาฝัน เป็นต้น
เป็นพรีเซนเตอร์ เครื่องเล่นVCDวีซีดี, ดีวีดี/วีดิทัศน์ และ โฮมเธียร์เตอร์ สัญชาติไทยยี่ห้อ “เอเจ (AJ) ”
และเคยเป็นพิธีกรช่วงสั้น ๆ ทางรายการ วิก 07 ทางช่อง 7 เมื่อ พ.ศ. 2533
สรพงศ์ ชาตรี หรือชื่อจริง กรีพงศ์ เทียมเศวต หรือ พิทยา เทียมเศวต (ชื่อเล่น: เอก) นักแสดงชายอันดับหนึ่งของไทย ผุ้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ. 2551 และในปี พ.ศ. 2552 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สรพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบชั้น ป.4 แล้วบวชเรียนตั้งแต่อายุ 8 ปี ที่วัดเทพสุวรรณ พระนครศรีอยุธยา และวัดดาวดึงส์ บางยี่ขัน ธนบุรี จนกระทั่งลาสิกขาบทเมื่อ พ.ศ. 2512
สรพงศ์ ชาตรี มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ พิมพ์อัปสร (ขวัญ), พิศุทธินี (เอิง), พิศรุตม์ (เอม) และพิทธกฤต เทียมเศวต (อั้ม) ซึ่งพิมพ์อัปสร บุตรคนแรกเกิดแต่ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ส่วนบุตรคนที่สองถึงสี่เกิดแต่พิมพ์จันทร์ ใจวงศ์ (แอ๊ด) ปัจจุบันสมรสกับ ดวงเดือน จิไธสงค์ รองมิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529 และรองนางสาวไทย พ.ศ. 2530
เมื่ออายุได้ 19 ปี และได้พบกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งชักชวนให้มาอาศัยอยู่ที่วังละโว้ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
สรพงศ์ เริ่มงานแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 เป็นตัวประกอบ และเป็นเด็กยกของในกองถ่ายละครเรื่อง นางไพรตานี ฉายทางช่อง 7 และเล่นเป็นตัวประกอบในละคร ห้องสีชมพู และ หมอผี ซึ่งหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับหลังจากเดินทางกลับจากเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา
ชื่อ สรพงศ์ ชาตรี ที่ใช้ในการแสดง ผู้ตั้งให้คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยคำว่า "สร" มาจาก อนุสรมงคลการ, "พงศ์" มาจาก สุรพงศ์ โปร่งมณี (ผู้พามาฝากตัวกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม) และ "ชาตรี" มาจาก ชาตรีเฉลิม
สรพงศ์ ชาตรี รับบทพระเอกครั้งแรก ในภาพยนตร์เรื่อง มันมากับความมืด (พ.ศ. 2514) ผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม จากนั้นได้รับบทในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม แทบทุกเรื่อง ทั้งบทพระเอก พระรอง ตัวประกอบ และเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในบางครั้ง มีผลงานแสดงกว่า 500 เรื่อง ได้รางวัลตุ๊กตาทองครั้งแรกจากเรื่อง ชีวิตบัดซบ และ สัตว์มนุษย์ สองปีติดต่อกัน และมีชื่อเสียงในต่างประเทศจากเรื่อง แผลเก่า (พ.ศ. 2520) กำกับโดยเชิด ทรงศรี นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุด
สรพงศ์ ได้รับรางวัลทางการแสดงจากหลายสถาบัน เช่น รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ดารานำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง สัตว์มนุษย์ ชีวิตบัดซบ มือปืน มือปืน 2 สาละวิน เสียดาย 2 รางวัลสุพรรณหงส์ ดารานำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ถ้าเธอยังมีรัก มือปืน และนักแสดงประกอบชายจากเรื่อง องค์บาก 2 ส่วนรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง มือปืน 2 สาละวิน
จารุณี สุขสวัสดิ์
(ชื่อเล่น: เปิ้ล) (ชื่อฝรั่งเศส: แคโรลีน เดส์แน็ช Caroline Desneiges) นักแสดง
ศิลปินและดาวค้างฟ้าตลอดกาล เจ้าของฉายา "ดาราทอง"
"ราชินีจอเงิน" "ราชินีนักบู๊"
หนึ่งในตำนานนางเอกหนังไทยขวัญใจมหาชน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 มีบิดาเป็นชาวฝรั่งเศส
ชื่อแฟร์น็อง เดส์แน็ช (Fernand Desneiges) และมารดาเป็นชาวไทย ชื่อระเบียบ สุขสวัสดิ์ จารุณี
สุขสวัสดิ์เริ่มการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลทองโชติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6
ที่โรงเรียนธัมมสิริศึกษา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 7
ที่โรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ กรุงเทพฯ ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนบางกะปิ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ที่โรงเรียนพาณิชยการเจ้าพระยา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และระดับปริญญาโทจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
เชียงราย
ก่อนจะเป็นที่รู้จักในวงการบันเทิง
จารุณี สุขสวัสดิ์เคยทำงานในสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ (คลองจั่น บางกะปิ)
ทำหน้าที่จำหน่ายบัตรผ่านประตูและเครื่องดื่ม บางโอกาสก็แสดงเป็นสโนว์ไวท์ในขบวนพาเหรดของสวนสนุกและยังเคยหารายได้พิเศษด้วยการทำงานรับจ้างเป็นจับกังและคนงานก่อสร้างเพื่อส่งเสียตนเองให้มีโอกาสได้เรียนหนังสือและเจียดเงินส่งให้ครอบครัว
นับเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแบบอย่างอันงดงามที่ดาราวัยรุ่นคนหนึ่งในยุคนั้นพึงมีให้กับเยาวชนและสังคมไทย
ถือเป็นก้าวแรกๆในวงการบันเทิงที่คนไทยท้งประเทศรักและศรัทธาจารุณี สุขสวัสดิ์
เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่งที่สามารถเป็นแบบฉบับหรือ Idol ในดวงใจให้กับคนในสังคมได้เป็นอย่างดีจารุณี สุขสวัสดิ์แสดงภาพยนตร์ในสังกัดสีบุญเรืองฟิล์มเรื่อง "สวัสดีคุณครู" เป็นเรื่องแรกภายใต้การกำกับการแสดงของบรมครู "พันคำ" เมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยแสดงร่วมกับนางเอกวัยรุ่นอีกคน คือ กาญจนา บุญประเสริฐ และเป็นนางเอกเต็มตัวในภาพยนตร์เรื่องที่สอง "รักแล้วรอหน่อย" (เนื้อเรื่องเดียวกับ "วนาลี") คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี
พ.ศ. 2523 บ้านทรายทอง กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ แห่งบริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ประสบความสำเร็จท่วมท้น ทำรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 9 ล้านบาทซึ่งถือว่ามหาศาลในยุคนั้น ตามด้วย พจมาน สว่างวงศ์ ซึ่งทำรายได้ถล่มทลายไม่แพ้กัน ทำให้ชื่อของจารุณี สุขสวัสดิ์ เป็นที่ต้องการของบรรดาผู้สร้าง ผู้กำกับ สายหนังและแฟนภาพยนตร์ไทยจนได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่าเป็น "ดาราทอง" นอกจากนี้ จารุณียังเป็นนักแสดงจอเงินเพียงผู้เดียวที่สวมบทบาทเป็นทั้ง "ปริศนา""เจ้าสาวของอานนท์"และ"รัตนาวดี" จากนวนิยายไตรภาค บทประพันธ์ของหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิตหรือ ว.ณ ประมวญมารค รัตนาวดีถือเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายภายใต้การกำกับการแสดงของรุจน์ รณภพที่จารุณีแสดงให้กับบริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่นในฐานะนักแสดงนำหญิง ก่อนที่หลายปีต่อมา จารุณีจะมารับบทเป็นนักแสดงสมทบให้กับบริษัทไฟว์สตาร์อีกครั้งในเรื่อง"บุญชุ 8 เพื่อเธอ" ภาพยนตร์ที่จารุณีแสดงโดยเฉพาะในยุคเฟื่องฟูนั้นจะเรียกติดปากโดยอัตโนมัติว่า "หนังจารุณี" ทั้ง ๆ ที่จารุณีไม่ได้เป็นผู้กำกับการแสดงหรือผู้สร้าง เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นนักแสดงเท่านั้น ภาพยนตร์ที่จารุณีแสดงส่วนใหญ่มักได้รับการพากย์เสียงโดย ดวงดาว จารุจินดา
จารุณี สุขสวัสดิ์ มีงานหลั่งไหลเข้ามามากมายจนได้ชื่อว่าเป็น "นางเอกคิวทอง" สามารถแสดงได้ทุกบทบาททั้งชีวิต บู๊ ตลก แก่น เซี้ยว เปรี้ยว ซนและได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนั้น เนื่องจากจารุณีมีรัศมีความเป็นสุดยอดดารา (Superstar) แสดงภาพยนตร์เป็นธรรมชาติ มีฝีมือและเสน่ห์ (charismatic) ในการแสดงที่แพรวพราว หาตัวจับได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นสีหน้าท่าทาง แววตา อารมณ์และความรู้สึก ภาพยนตร์ของเธอทำเงินทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ฟอร์มเล็กหรือฟอร์มใหญ่ ถึงขนาดมีการการันตีว่า "ถ้าหนังเรื่องไหนได้จารุณีเป็นนางเอกแล้ว รับรองไม่มีเจ๊งหรือขาดทุนอย่างแน่นอน" แฟนภาพยนตร์เป็นจำนวนมากที่รักและศรัทธาในตัวจารุณีได้ก่อตั้ง "ชมรมสุขสวัสดิ์" ขึ้นเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน ถือเป็นแฟนคลับยุคแรกๆของศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ยุคที่ยังไม่มีระบบสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยเหมือนในยุคปัจจุบัน
แม้ว่าจารุณี สุขสวัสดิ์ จะเป็นนักแสดงมืออาชีพที่มีชื่อเสียงโด่งดังสุดขีดระดับตำนานประวัติศาสตร์ "ราชินีหนังไทย" และ "ราชินีจอเงิน" นับจาก เพชรา เชาวราษฎร์แล้ว ในด้านชีวิตส่วนตัวกลับต้องทำงานหนักตลอดเวลา ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอและประสบมรสุมชีวิตหนักๆหลายครั้ง เช่น เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งแรกขณะขี่เรือหางยาวเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ลูกสาวกำนัน" จนเกือบเสียชีวิต อุบัติเหตุร้ายแรงครั้งที่สอง ระหว่างเดินทางในกองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง "บ้านสีดอกรัก" ที่เชียงใหม่ จนเกือบต้องพิการตลอดชีวิต และประสบปัญหาด้านสุขภาพ มีอาการตัวบวมเนื่องจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "วันนี้ยังมีรัก" ประกอบกับในช่วงนั้น รายได้และจำนวนการผลิตหนังไทยเริ่มลดลง เป็นผลให้จารุณี สุขสวัสดิ์ ต้องหยุดงานภาพยนตร์ไปช่วงระยะเวลาหนึ่งทั้ง ๆ ที่ยังมีชื่อเสียงอยู่ ในที่สุดจารุณี สุขสวัสดิ์ ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่วงการละครโทรทัศน์ มีผลงาน เช่น ตะรุเตา คือหัตถาครองพิภพ ไฟลวง รังหนาว ขิงก็ราข่าก็แรง นิมิตมาร ปีกมาร ฯลฯ มีผลงานเพลงสองชุดกับค่ายคีตาและงานบันเทิงด้านต่าง ๆ เช่น พิธีกร ละครเวที เป็นต้น ในวงการภาพยนตร์ไทย นางเอกภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและมีดีกรีความโด่งดังระดับแม่เหล็กของวงการ เรียกว่าเป็นราชินีจอเงินที่ดังเป็นพลุ มีอยู่ 2 ท่านเท่านั้น คือ เพชรา เชาวราษฎร์ (2504-2513) และจารุณี สุขสวัสดิ์ (2520-2532)
เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ หรือ จิ๊ก
เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501
เป็นดารานักแสดงหญิงที่มีผลงานการแสดงและได้รับความนิยมสูงสุดช่วงปี
พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2525 เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2501 เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการประกวดมิสออด๊าซ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.
2518 ขณะมีอายุเพียง 17 ปี
ได้รับตำแหน่งขวัญใจช่างภาพและสื่อมวลชนและรองมิสออด๊าซอันดับ 1 จากนั้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการชักนำของจิรวรรณ
กัมปนาทแสนยากร แห่งจิรบันเทิงฟิล์ม โดยรับบทเป็น ภัคคินี ในภาพยนตร์เรื่องแรก แผ่นดินของเรา
จากบทประพันธ์อมตะของแม่อนงค์หรือมาลัย ชูพินิจ แสดงร่วมกับสมบัติ เมทะนี นิรุตติ์ ศิริจรรยา นัยนา ชีวานันท์ และช่อเพชร ชัยเนตร
กำกับการแสดงโดยบรมครู ส. อาสนจินดา และได้รับรางวัลตุ๊กตาเงิน
ในฐานะดาราดาวรุ่งหญิงยอดเยื่ยมในปี พ.ศ. 2519 จากนั้นก็มีผลงานการแสดงเรื่องอื่น
ๆ ตามมา เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ยังเป็นหนึ่งในสามดารานักแสดง "สามใบเถา"
ภายใต้สังกัดจิรบันเทิงฟิล์ม โดยมีเพื่อนรุ่นน้องอีกสองคน คือ อำภา ภูษิต และ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ในปี พ.ศ. 2524
เนาวรัตน์สามารถพิชิตรางวัลพระสุรัสวดีหรือรางวัลตุ๊กตาทองดารานำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
จากเรื่อง ถ้าเธอยังมีรัก แสดงคู่กับสรพงศ์ ชาตรี โดยมีหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลเป็นผู้กำกับการแสดง
จากเค้าโครงเรื่องของญี่ปุ่น ปัจจุบัน
นอกจากงานในวงการบันเทิงแล้ว เนาวรัตน์ยังอุทิศตนให้สังคมด้วยการเป็น Blue
Angel หรือจิตอาสาให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดี
นอกจากนี้ยังอาสาแต่งหน้าศพ (Volunteer Mortuary Beautician) ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ด้วย
บีบีซี นิวส์ ได้เคยนำเสนอเรื่องราวการทำงานเป็นจิตอาสาของเธอให้คนทั้งโลกได้ประจักษ์พร้อมบทสัมภาษณ์ รวมทั้งรายการเมืองไทย เช่น วีไอพี วู๊ดดี้ ตื่นมาคุย The Lady เป็นต้น ด้านชีวิตส่วนตัว แต่งงานเป็นคู่ชีวิตกับคุณเต็ก แสงอุไรพร มีบุตรชาย 2 คนชื่อ เจเจ และทีเจ ในปี พ.ศ. 2557 เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ สำเร็จการศึกษา ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนุบรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น