วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รำลึก7 ตุลา 2551 วันที่รัฐตำรวจฆ่าประชาชน (เก็บไว้ในความทรงจำ)

นั่งดู ASTV วันนี้แล้วรู้สึกสะท้อนใจ เป็นวันที่พวกเขาเหล่าพันธมิตรมาชุมนุมกันที่บ้านเจ้าพระยา ตอนเช้ามาทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตในวันนั้นทันที 2 คน บาดเจ็บร่วมๆ 400 กว่า คน และมาเสียชีวิตในภายหลังอีก 10 กว่าคน (ไม่แน่ใจเรื่องตัวเลขผู้เสียชีวิต)  ได้ดูวีทีอาร์ที่ทำเป็นสกู๊ปพิเศษไปสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ ทั้งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บพิการ และเป็นผู้รอดจากเหตุการณ์มา รวมถึงญาติพี่น้องของผู้สูญเสียชีวิต ภาพเหตุการณ์เหล่านั้นดูกี่ครั้งกี่ทีก็รู้สึกเศร้าใจ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจนั้นจะทำกับประชาชนของเขาได้อย่างโหดเหี้ยมจริงๆ คงไม่ขอลงลึกในรายละเอียดว่าเขาทำการกับประชาชนอย่างไรบ้าง เดี๋ยวดูจากคลิปวีดีโอก็จะพอทราบและพอมองออกว่า วิธีการที่เขาใช้ เขาทำน้้นมันถูกต้องตามหลักสากลของการสลายม็อบกันหรือไม่ แต่สิ่งที่อยากจะตั้งคำถามก็คือมูลเหตุจูงใจอะไรที่ทำให้รัฐตำรวจในตอนนั้น เป็นช่วงที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กระทำการโหดเหี้ยมกับประชาชนเช่นนั้น และใครควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ กล่าวสำหรับผู้ชุมนุมแล้ว พวกเขาเป็นฝ่ายถูกกระทำและได้รับผลแห่งการกระทำนั้นไปเรียบร้อยแล้ว ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้สึก รวมถึงคดีความต่างๆ ที่ติดตัวทั้งแกนนำ และผู้ร่วมชุมนุมไปหมดแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีอยู่ยังไม่เสร็จสิ้น แต่ส่วนของฝ่ายผู้กระทำหล่ะ เช่น รัฐบาล ไล่ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)  ผบ.ตร. (พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)  ผบ.ชน. (พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว)  คนเหล่านี้ถูกฟ้องร้อง และป.ป.ช.ได้ตัดสินว่าคนเหล่านี้กระทำการที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง และส่งเรื่องต่อไปยังอัยการ แต่เรื่องกลับถูกดองอยู่ในขั้นอัยการ ไม่ถูกส่งเรื่องฟ้องไปยังศาลปกครอง ซึ่งทำให้ทุกวันนี้บุคคลเหล่านี้ซึ่งตกเป็นจำเลยของสังคมว่าเป็นผู้สั่งการ "ฆ่าประชาชน" ยังคงลอยนวลอยู่ และบางคนยังคงโลดแล่นอยู่ในวงการเมืองอย่างไม่สะทกสะท้านต่อผลกรรมความผิดที่เขามีส่วนก่อให้เกิดขึ้นจากการตัดสินใจกระทำต่อประชาชน ประชาชนที่ได้รับผลแห่งการกระทำของคนเหล่านี้ เรียกร้องว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จนต้องจัดงานรำลึกเหตุการณ์ 7 ตุลาขึ้นทุกปี  แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาอ้างว่าได้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเยียวยาผู้ที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้แล้วก็ตาม จ่ายเงินในมาตรฐานเดียวกับพวกเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง ผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมืองได้คนละ 7.7 ล้าน  แต่ใครมันจะอยากได้เงินก้อนนี้ หากว่าให้แลกกับชีวิตของคนที่เขารักคืนมา และพวกเขาไม่พร้อมที่จะทำใจยอมรับมันง่ายๆ

เหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตามความเข้าใจของผู้เขียนและในความทรงจำที่พอจะจำได้บ้างไม่ได้บ้างก็คือ อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่คลับคล้ายคลับคลาว่า บรรดาพันธมิตรที่มาชุมนุมต่อเนื่องมาก่อนหน้าวันที่ 7 ไปปิดกั้นไม่ให้บรรดา ส.ส.,ส.ว. เข้ารัฐสภาเพื่อแถลงนโยบายต่อหน้ารัฐสภาของรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นรัฐบาลนอมินีของทักษิณ เป็นร่างทรงอีกตัวนึง ซึ่งถัดมาจากสมัคร สุนทรเวช ซึ่งหากจะเล่าถึงเหตุการณ์ 7 ตุลา ก็ต้องเล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์การชุมนุมที่สืบเนื่องกันมาหลายครั้งก่อนหน้านี้ของพันธมิตร นับตั้งแต่เหตุการณ์ชุมนุมขับไล่รัฐบาลทักษิณ ช่วงปลายปี 48 (ถามว่าไปไล่ทำไมทักษิณ เขาทำผิดอะไร ณ ตอนนั้นที่จำได้นะ คือทักษิณลุแก่อำนาจ แทรกแซงองค์กรอิสระ ข่มขู่คุกคามสื่อที่ออกมาเปิดโปงการทุจริตของเขา อาทิ รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของคุณสนธิถูกถอดกลางอากาศจากช่อง 9, ทักษิณคอร์รัปชั่นจากโครงการประชานิยมหลายอย่าง ฯลฯ) ทักษิณตัดสินใจยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่ถูกบอยคอตโดยพรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทย จากนั้นไทยรักไทยจึงจ้างพรรคเล็กลงสมัคร จนเป็นที่มาถูกฟ้องยุบพรรคไทยรักไทย เรื่อยมาถึง ก.ย. 49 มีการรัฐประหารโดย คมช. แล้วจัดตั้งรัฐบาลสุรยุทธิ์มาบริหารประเทศ 1 ปี มีการตั้งหน่วยงาน คตส.มาเพื่อตรวจสอบโครงการทุจริต คอร์รัปชั่นเชิงนโยบายหลายอย่างแล้วเรื่องไปถึง ป.ป.ช.  พอปี 50 มีการเลือกตั้งอีกครั้ง คราวนี้ระบอบทักษิณชนะอีกมาในนามพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีสมัครเป็นหน.พรรค และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาลก็ประกาศจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทันที จนเป็นที่มาที่ทำให้พันธมิตรนัดชุมนุมอีกครั้ง มีการชุมนุมอย่างยาวนาน ตั้งแต่สี่แยกมัฆวานไปจนถึงหน้าทำเนียบรัฐบาล บุกเข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล เป็นที่มาของการชุมนุม 193 วัน พอสมัครถูกศาลตัดสินในคดีความผิดในคดีออกรายการทีวีทำกับข้าว ซึ่งประเด็นคือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแต่มีบริษัทเอกชนรับทำรายการทีวีซึ่งถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 จึงต้องหลุดจากนายกรัฐมนตรี จากนั้นภายในพรรคก็มีการหักดิบกลุ่มเนวินผลักดันสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็น หน.พรรคแทน และมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายสมัคร แต่นายสมชาย ก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดเป็นอันดับ 2 จากนั้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ถูกพันธมิตรไล่ล่าในฐานะเป็นนอมินีทักษิณอย่างเต็มตัว เพราะเป็นญาติ มีศักดิ์เป็นน้องเขยของทักษิณ พันธมิตรนัดชุมนุมที่ดอนเมืองแล้วก็เคลื่อนพลไปยังด้านหน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อกดดัน แต่ถูกกล่าวหาจากรัฐบาลว่าไปบุกสนามบินและชุมนุมปิดสนามบิน ทั้งๆ ที่อยู่กันแค่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารด้านนอก ยังไม่ได้เข้าไปที่ตัวอาคาร แต่โชคช่วยก่อนหน้านั้นมีคนไปฟ้องพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย ว่าทำผิดเลือกตั้ง มีกรรมบริหารพรรคบางคนทุจริตการเลือกตั้ง จึงถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค สมชาย วงศ์สวัสดิ์จึงพ้นสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีไปโดยปริยาย เหตุการณ์ 7 ตุลา 51 เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ระหว่างหลังจากสมัครพ้นจากนายกรัฐมนตรี สมชายได้รับการโหวตเป็นนายก นั่นแหละ โดยพันธมิตรไปชุมนุมปิดล้อมบริเวณหน้ารัฐสภาก่อนวันนัดแถลงนโยบายรัฐบาล นี่คือที่มาหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ จริงๆ มันต่อเนื่องกันมาจากหลายเหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระ แต่คู่พิพาทคือคู่เดิม และจะเป็นคู่กัดกันไปตลอดกาล จนกว่าระบอบทักษิณจะพ้นจากประเทศไทย

 
ภาพบางส่วนจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ที่เราจะจดจำตลอดไป

 
                            แก๊สน้ำตาที่อ้างว่าเอามาใช้นั้น แท้ที่จริงเป็นแก๊สน้ำตาที่ทำจากจีน และหมดอายุแล้ว



                                     



น้องอังคณา ถูกยิงด้วยระเบิดเสียชีวิตทันที มีการกล่าวหาว่าเธอพกพาระเบิดมาเอง

 


 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น