นับแต่การถือกำเนิดอินเตอร์เน็ตบนโลกนี้เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว และวิวัฒนาการของโลกไซเบอร์ได้พัฒนาไปไม่หยุดหย่อน ปรากฏการณ์แรกของโลกอินเตอร์เน็ตก็คือ การถือกำเนิดของโปรแกรมวินโดว์ของไมโครซอฟท์ จากนั้นเกิด อีเมลล์, icq ซึ่งเป็นโปรแกรมแช็ทตัวแรกๆ ของโลก กับ MSN ที่เป็นโปรแกรม chat & messenger ของไมโครซอฟท์ที่มาคู่กับโปรแกรมวินโดว์ ที่เกือบทุกเครื่องบนโลกต้องมี จากนั้นก็ตามมาด้วยHi5,MySpace,Youtube,Facebook,Twitter,Foursquare,LinkedIn,Googleplus,Tumblr,Instagram,WeChat ปัจจุบันก็มี Line Chat เพิ่มขึ้นมาอีกเป็นตัวล่าสุด ในอนาคตก็อาจจะมีเพิ่มขึ้นมาอีก จะเห็นว่าพลวัตด้านการติดต่อสื่อสาร หรือวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ไม่เคยหยุดนิ่ง ซึ่งทำให้การตลาด และนักการตลาดจำเป็นต้องไปผูกโยง หากจำเป็นต้องใช้เป็นเครื่องมือทำการค้าหรือซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ เราจึงอยากมาทำความรู้จักกับสิ่งเหล่านี้ที่ขอเรียกรวมๆ ว่า คือสื่อสังคมออนไลน์สมัยใหม่ก็แล้วกัน
Social Media Marketing บทวิจัยของ Nielsen Global Online Consumer Survey สำรวจทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อรูปแบบโฆษณาต่างๆทั้งหมด 16 รูปแบบ พบว่า พวกเขา เชื่อถือคำแนะนำจากคนรู้จัก 90% เชื่อความคิดเห็นบนออนไลน์ 70% เชื่อโทรทัศน์ 62% เชื่อหนังสือพิมพ์ 61% เชื่อวิทยุ 55%
Social Media Marketing บรรดาเพื่อนๆของเราอยู่ที่ไหนบ้างในโลก Social Media – Facebook ,Twitter, Blog, Media Forum (Web Board) อย่าง Pantip, Manager, Sanook, Kapook, Dek-d เป็นต้น
Social Media Marketing ทำไมสื่อเดิมถึงลดความสำคัญลง ??? ลักษณะของการสื่อสารทางเดียวที่ควบคุมโดยกิจการ สารการตลาดที่สื่อออกมาเป็นลักษณะของ การเข้าขัดจังหวะ (Interruption) ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลาในแต่ละวัน จนกระทั่งผู้รับสารอย่างเราจดจำไม่ไหว ผู้รับสารเกิดการระแวดระวัง เพราะเคยถูกสื่อเดิมๆเหล่านี้หลอกมาแล้ว สำคัญที่สุดคือ ในยุค Internet ทำให้เกิดช่องทางในการค้นหาข้อมูลของสินค้าและบริการต่างๆอย่างมากมาย ซึ่งเกิดจากปัจเจกชนทั่วไปเข้าไปสร้างเนื้อหา ไม่ได้มากจากกิจการ ทำให้การตัดสินใจง่ายขึ้น
Social Media Marketing ความสำคัญของปัจเจกชน – ทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า Viral Marketing เกิดการบอกต่อๆกันไปว่าสินค้าหรือบริการใดดี หรือไม่ดี จากคนไม่กี่คน สามารถกลายเป็น Mass ได้ ทำให้เสียงของปัจเจกชน จากเดิมที่เป็นเสียงเล็กๆ กลายเป็นเสียงใหญ่ ที่คุณต้องฟัง
ยกตัวอย่าง เช่น ซูซาน บอยด์,นาธาน โอมาน, Blendtec เป็นต้น
Social Media Marketing ดังนั้น หัวใจสำคัญของการใช้ Social Media ในทางการตลาด คือ ทำอย่างไรข่าวสารที่ทางกิจการแจ้งออกไปนั้น จะเกิดการบอกต่อ หรือพูดง่ายๆว่าเกิด Viral ขึ้น
Social Media Marketing หากกิจการยังใช้สื่อเดิมๆที่พูดอยู่ข้างเดียว ย่อมยากที่จะทำให้เกิดการบอกต่อได้ เมื่อกระโจนเข้ามาใช้ Social Media จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาร่วมวงพูดคุยกับลูกค้าเป็นรายปัจเจก บทสนทนาที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ จะต้องทำให้เกิดคุณค่าพอในการที่จะบอกต่อๆให้เพื่อนๆได้รับรู้
Social Media Marketing ตัวอย่างบทสนทนาของ GTH หลักสำคัญคือ สร้างกิจกรรมผ่านทาง Facebook เปิดโอกาสให้บรรดา Fan ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม (Engagement) เช่น ถามคำถามชิงรางวัล ให้ถูกได้ตั๋วหนัง กิจกรรมดังกล่าวสร้างคุณค่า ทำให้ Fan เกิดความต้องการที่อยากร่วมแล้วบอกต่อเพื่อนๆ หรือ GTH ใช้ Twitter สนทนาแบบ Real-Time กับบรรดา Follower เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ เป็น CRM ปัญหาคือ คนในสื่อเก่า ไม่คุ้นเคย เคยคุยระดับ Mass แต่ Social Media คุยระดับ Individual
Social Media Marketing นิยามของ Social Media เป็นสื่อที่แพร่กระจายด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม – การแพร่กระจายเกิดจากการปันเนื้อหาจากใครก็ได้ เป็นสื่อที่เปลี่ยนแปลงจากสื่อเดิมที่แพร่กระจายแบบทางเดียวเป็นแบบการสนทนาที่สามารถมีผู้เข้าร่วมได้หลายๆคน และไม่มีใครมีอำนาจในการควบคุมเนื้อหาในการสนทนา เพราะหากคุณคิดเช่นนั้น ถือเป็นการคิดผิดอย่างยิ่ง เป็นสื่อที่เปลี่ยนผู้คนจากผู้บริโภคเนื้อหาเป็นผู้ผลิตเนื้อหา
Social Media Marketing อะไรบ้างที่เราถือว่าเป็น Social Media Blog – เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเขียนบทความต่างๆได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML ในการทำ web site อย่างสมัยก่อน
Social Media Marketing อะไรบ้างที่เราถือว่าเป็น Social Media Twitter – เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดการโพสต์แต่ละครั้งที่ 140 ตัวอักษร เป็นเครื่องในการสนทนาแบบ Real Time
Social Media Marketing อะไรบ้างที่เราถือว่าเป็น Social Media Social Networking – เช่น Hi5, Facebook เป็นเครือข่ายเพื่อนที่เชื่อมโยงกันเป็นสังคม ที่บันทึกตัวตนของเราลงไปผ่านทาง Info Photo Note หรือ Video แล้วเปิดให้เพื่อนๆเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
Social Media Marketing อะไรบ้างที่เราถือว่าเป็น Social Media Media Sharing – เป็น web site ที่เปิดโอกาสให้เรา upload รูป วิดีโอ แล้วแบ่งปันให้คนอื่นได้ชม
Social Media Marketing อะไรบ้างที่เราถือว่าเป็น Social Media Social News and Bookmarking – เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาใดในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและทำการโหวต แชร์กันได้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยการบอกต่อและสร้างคนเข้ามายังเว็บไซต์หรือ Campaign การตลาดที่ต้องการ
Social Media Marketing อะไรบ้างที่เราถือว่าเป็น Social Media Online Forum – ถือเป็นรูปแบบของ Social Media ที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเสมือนสถานที่ที่ให้ผู้คนเข้ามาพูดคุยในหัวข้อที่พวกเขาสนใจ เช่น board ใน pantip,dek-d,sanook,kapook,mthai เป็นต้น
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อเพิ่มยอดขาย – หลายคนมองว่า หากใช้ Social Media แบบตั้งหน้าตั้งตาขายของจะไม่ work แต่ที่จริงแล้ว อยู่ที่ว่าคุณได้ให้สิทธิประโยชน์อะไรหรือไม่แก่ผู้รับสาร หรือใช้วิธีการอื่น อันนำไปสู่การขาย เช่น Twitter – Dell แจ้งข้อความผ่านทาง Twitter ให้บรรดา Follower ทราบถึงการเปิดขายสินค้าลดราคาพิเศษ คนอื่นเห็นว่ามีประโยชน์ก็พากัน RT บอกกันไป Nokia เปิดตัว Nokia 5800 Express Music ให้ Blogger ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมือถือใช้แล้วบอกต่อ เกิดกระแสปากต่อปาก
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อเพิ่มยอดขาย – Amazon เปิดโอกาสให้ลูกค้าเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่ได้ซื้อไปและให้คะแนนจาก 1-5 ซึ่งถือเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภครายอื่นๆ
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อสร้างการรับรู้ Brand (Brand Awareness) – คือการเน้นให้ลูกค้าได้เข้ามามีส่วนร่วม (Engagement) กับกิจกรรมทางการตลาด เช่น HP – ใช้ YouTube ในการจัดการแข่งขันให้ผู้เข้าร่วมทำคลิปวิดีโอสั้นๆ แต่เน้นความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่ให้เปิดเผยใบหน้าของตน แล้วให้ผู้ชมได้ทำการโหวต ปรากฏว่ามีผู้ส่งเข้าประกวด 6,433 ราย โดยมีผู้ชมทั้งสิ้น 2 ล้านคน
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อสร้างการรับรู้ Brand (Brand Awareness) – GTH ใช้ Fan Page ใน Facebook ที่นอกจากจะใช้ในลักษณะของการประชาสัมพันธ์แล้ว แต่เน้นการพูดจาในลักษณะคุยกัน ทำให้บรรดา Fanclub เข้ามาเรื่อยๆ ทำให้รับรู้ถึงกิจกรรม และตอกย้ำ Brand GTH ตลอดเวลา
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อสร้างการรับรู้ Brand (Brand Awareness) – Nokair – เป็น Sponsor ให้กับทาง Twitter ของสุทธิชัย หยุ่น มีรูปสัญลักษณ์ และพนักงานของนกแอร์เป็นพื้นหลัง
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อสร้างการรับรู้ Brand (Brand Awareness) – โออิชิ จัดทำ web site www.oishicafecity.com ที่ให้สมัครเล่นเกมส์บริหารร้านอาหาร ที่ผู้เล่นสามารถชวนเพื่อนๆแลกเปลี่ยนอาหารกันได้ ทำให้มีลักษณะของ Social Media ทั้งนี้จุดเด่น คือ การใช้ Augmented Reality Technology ที่ถอดรหัสสัญลักษณ์ OR Code ข้างกล่องโออิชิ ผ่าน Web Cam เพื่อให้ได้วัตถุดิบในการปรุงอาหาร เมื่อผู้เล่นเข้ามาเล่นเรื่อยๆ ก็จะรับรู้ถึง Brand โออิชิไปในตัว นอกจากนี้ยังมีส่วนกระตุ้นยอดขายด้วย เพราะอยากจะได้ Code เพื่อให้ได้วัตถุดิบ จนเดี่ยวนี้มีกิจกรรมการแลก Code บน web board
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ Sun Microsystems มีการจัดทำ CEO Blog โดยนาย Jonathan Schwartz ที่บอกเล่าถึงนโยบานและความเคลื่อนไหวภายในองค์กร
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อทราบ Feedback ของลูกค้า – เมื่อเกิดชุมชน ย่อมมีการพูดจาเกี่ยวกับสินค้าของเราทั้งแง่ดีและแง่ร้าย กิจการจะต้องเข้าไปรับรู้และจัดการให้ถูกต้อง Starbucks – จัดทำ www.Mystarbucksidea.com Blog แห่งนี้เปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้ามาแนะนำและแสดงความคิดเห็นตลอดจนโหวตความคิดเห็นของคนอื่นๆได้ และทางร้านจะคัดเลือก Idea ที่ได้รับคะแนนสูงสุดไปปฏิบัติให้เห็นจริง
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ – อย่างการใช้ Social News หรือ Social Bookmark อย่าง Digg, Delicious, G-bookmarks หรือแม้กระทั่งการใช้ Facebook หรือ Twitter นอกจากนี้เมื่อมีจำนวนลิงค์ที่เพิ่มมากขึ้นจาก Social Bookmark จะส่งผลต่ออันดับการค้นหาของ Google ด้วย ถือเป็นการเพิ่มในส่วนของ Popularity
Social Media Marketing เป้าหมายของการใช้ Social Media เพื่อสร้างการเป็นผู้นำทางความคิด – เป็นกรณีที่ผู้ใช้ประเภทปัจเจกชน ที่ใช้สื่อ Social Media ในการแสดงความรู้ที่ตนเองมี และเมื่อมีผู้คนเข้ามาอ่านมากๆ ก็ทำให้เกิดอิทธิพลทางการตลาดได้ เช่น Jeban เขียนเรื่องความสวยความงามใน Blog มีคนนิยมมากจนเกิดกระแส จากนั้นจึงได้ขยับขยายมาทำ www.jeban.com มีคนเข้ามากว่า 1 ล้านครั้งต่อเดือน คำแนะนำของ Jeban เกี่ยวกับเครื่องสำอาง มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของสาวๆ
Social Media Marketing เริ่มต้นด้วยการฟัง – เป็นการสำรวจ Social ที่มีอยู่แล้วว่ามีการพูดคุยเกี่ยวกับ บริษัท สินค้าหรือบริการ Brand ของเราอย่างไรบ้าง สิ่งที่เราควรจะสนใจฟังนั้น มี Share of Voice – เป็นการพิจารณาว่ามีคนพูดถึงเรามากน้อยแค่ไหน หากไม่มีเลยก็ต้องสร้างมันขึ้นมา Tone of Voice – เป็นการตรวจสอบว่าการสนทนานั้นว่าเป็นในทางบวกหรือทางลบ Trend over time – เป็นการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องว่าคนพูดถึงเราอย่างไร
Social Media Marketing จัดการเสียงวิจารณ์ หากมีปัญหาเกิดขึ้น แล้วมีการพูดกันใน Social ให้แก้ไขดังต่อไปนี้ สนองตอบปัญหาที่เกิดขึ้นทันที ทำได้เพราะตรวจสอบอยู่เสมอ ติดต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า เมื่อแก้ปัญหาได้แล้ว ให้รีบแจ้งกลับลูกค้าของเราอย่างรวดเร็ว พยายามติดตามลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ว่ามีความต้องการอะไรอีกไหม แต่หากคำวิจารณ์ไม่เป็นความจริงและมุ่งทำร้ายชื่อเสียง อย่าเฉย ต้องติดตามต่อเนื่องและฟ้องร้องจนกระทั่งอีกฝ่ายต้องยอมขอโทษหรือรับผิด เพราะเป็นการปกป้องชื่อเสียงของคุณ
Social Media Marketing การกำหนดตัวตนใน Social Media – การเข้าในนามของกิจการหรือ Brand เช่น GTH แทนที่จะสร้าง Web Site หรือ Social Media ในนามของหนังเรื่องต่างๆที่ตนเองสร้าง กลับใช้ Brand GTH ซึ่งเป็นชื่อบริษัท ทำให้ Brand GTH แกร่งและใช้ได้กับหนังทุกเรื่อง Clinique จัดกิจกรรมทางการตลาด ใน Campaign “Great Skin Challenge” Say Yes! เป็นการประกวดสาวหุ่นดีผ่านเว็บไซต์ คือ www.cliniquelover.in.th/greatskinchallenge จากนั้นใช้ Twitter ในการแจ้งข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่างๆ และใช้ Facebook ในสร้างบทสนทนาระหว่าง Brand และผู้บริโภค
Social Media Marketing คุณเคยเห็นไหมว่าเวลา สรยุทธแนะนำ หนังสือเล่มไหน ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า หรือกาลาแมร์ใช้ BB ก็แห่กันใช้กันทั้งเมือง คนเหล่านี้เรียกว่า Marketing Influencer ในระดับ Mass เราๆท่านๆเป็นไม่ได้เพราะไม่มีโอกาสออกสื่อหลักๆ
Social Media Marketing Facebook – เป็น Social Network ซึ่งไม่ได้มีแต่ Facebook แต่รวมถึงพวก Hi5, Myspace, Orkut, Friendster และอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ มีการสร้างข้อมูลส่วนตัว (Profile) ซึ่งอาจจะเปิดเผยต่อสาธารณะทั้งหมด หรือเฉพาะที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีข้อมูลไม่ว่าจะเป็น อายุ ที่อยู่ ความสนใจ และอื่นๆ รวมถึงการนำรูปภาพขึ้นไว้ใน Profile ด้วย เมื่อเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้สามารถทำการเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ ซึ่งอาจเรียกว่า “ Friend” “Contacts” “Fans”
อ้างอิงแหล่งที่มา ถอดความบางส่วนจากเอกสารสัมมนาวิชาการด้านกลยุทธ์การตลาด ของ ดร.ภิเษก ชัยนิรันดร์
http://www.slideshare.net/pisek/social-media-marketing-4371075
ทีนี้เราลองมาเจาะลึกถึง social media ตัวล่าสุดที่ฮอตฮิตที่สุดในโลก และในประเทศไทยของเราว่ามีที่มาที่ไป และกลยุทธ์การทำตลาดอย่างไร ตัวที่ว่าก็คือ Line Application พวกเราคงได้เห็นแบรนด์หลายๆ แบรนด์เริ่มเข้ามาทำการตลาดผ่าน LINE Mobile Messenger Chat Application ที่กำลังมาแรงที่สุดของไทยในขณะนี้ ซึ่งความโดดเด่นของ LINE ก็คือ สติ๊กเกอร์น่ารัก กวนๆ ที่ผู้ใช้ LINE ต่างต้องการจะดาวน์โหลดมาใช้งานฟรี ทำให้ LINE มองเห็นถึงการเปิดทางให้กับแบรนด์สินค้าได้เข้ามาทำการตลาดบนแอพพลิเคชั่นของตน
LINE Messenger Chat Application นี้เป็นของ NHN Corporation ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ Search Engine และ เว็บ Portal ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นและเกาหลี Naver.co.kr Naver.co.jp ที่แม้แต่ Google เองยังไม่สามารถเอาชนะได้ NHN Corp มีสาขาทั้งในประเทศเกาหลีใต้และในประเทศญี่ปุ่น โดยธุรกิจหลักคือการขายโฆษณาบนผ่าน Search Engine และการทำเงินผ่าน Game Portal ที่ชื่อว่า Hangame เว็บไซต์เกมพอทัลที่มีสมาชิกมากกว่า 20 ล้านสมาชิก และเป็นเว็บไซต์เกมส์ส่งออกชื่อดังที่คนไทยหลายคนได้เคยติดกันงอมมาแล้ว ทั้งเกมประเภท MMORPG และ Casual Game
LINE Messenger Chat เป็นเพียงหนึ่งในบริการของทาง NHN Corp. เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2011 ในประเทศญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จด้วยการเป็นแอพพลิเคชั่นอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่นในเวลาเพียง 1 เดือน ทำให้ผู้บริหารของทาง NHN ต้องหันมาใส่ใจเป็นพิเศษและมองหาช่องทางการทำเงินโดยเร็ว ปัจจุบัน LINE ได้ถูกดาวน์โหลดไปใช้งานแล้วกว่า 70 ล้านดาวน์โหลดทั่วโลก ซึ่งรวมการดาวน์โหลดของทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง โทรศัพท์มือถือ แทบเบล็ต พีซี ซึ่ง LINE สนับสนุนการใช้งานทั้ง iOS, Android, Windows Phone และ BlackBerry และเปิดให้บริการกว่า 230 ประเทศทั่วโลก และเป็นแอพพลิเคชั่นที่ Rank อันดับ 1 ของ 24 ประเทศ ซึ่งรวมประเทศไทยในนั้นด้วย
หลังจากความสำเร็จของ LINE Messenger Chat NHN ยังต่อยอดแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ให้กับ LINE อีกเช่น LINE Camera, LINE Brush, LINE Card และ LINE Birzzle และล่าสุด เมื่อสัปดาห์ก่อน NHN ได้เปิดตัวเกมใหม่ 3 เกมที่มาพร้อมกับสติ๊กเกอร์ให้เราได้ดาวน์โหลดกัน คือ LINE Pop, LINE Cartoon Wars และ LINE Patapoko Animal
จุดเด่นของ LINE Messenger Chat
ฟีเจอร์การใช้งานของ LINE นั้นไม่ได้แตกต่างจาก What’s App, MSN Messenger หรือ WeChat ที่ให้เราได้ Chat ตรงกับผู้ใช้ LINE ด้วยกัน ด้วยการส่งข้อความ การสร้างกรุ๊ป Chat และการแชร์ภาพ วิดีโอ เสียง ระหว่างการสนทนา แต่จุดเด่นของ LINE คือ Voice Call ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่สามารถให้เราใช้แทนโทรศัพท์ได้ ทั้งในและต่างประเทศโดยไม่เสียเงิน อย่างไรก็ตาม Voice Call ก็ยังสู้ไม่ได้กับ Sticker ที่ผู้ใช้งานดูเหมือนจะเลิฟมากที่สุด คือ สติ๊กเกอร์ที่เราใช้แสดงอารมณ์ผ่านการพูดคุย และด้วยความน่ารัก จึงทำให้การแชทผ่าน LINE มีเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
LINE เหมือน หรือ แตกต่าง จาก Facebook อย่างไร [สำหรับผู้ใช้งาน]
สำหรับผู้ใช้งาน หากเทียบ LINE กับ Facebook นั้นคงถือว่าแตกต่างพอสมควร เนื่องจาก Facebook เป็น Social Network ที่ให้เราเข้าไปติดตามการแชร์เรื่องราวของเพื่อน และของตัวเองผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแน่นอนว่าการใช้งานจะสะดวกว่า LINE เมื่อต้องการใช้แชร์ภาพ วีดีโอ สถานะ และการติดตามเรื่องราวความเคลื่อนไหวที่กำลัง talk of the town หรือน่าสนใจ และที่สำคัญจำนวนผู้ใช้งานที่เป็นเพื่อนเรานั้น จะใช้เวลาบน Facebook กันมากกว่า
ส่วน LINE นั้นดูจะเหมือนกับ Facebook Messenger เพราะเน้นหลักในการ Chat ตัวต่อตัว หรือเป็นกรุ๊ป ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็น Social network ผ่านโทรศัพท์มือถือในครั้งแรก แม้ว่า LINE จะปรับการใช้งานให้เราแชร์เรื่องราวผ่าน Timeline ได้เหมือน Facebook ก็ตาม LINE ก็ยังเป็นได้เพียง Messenger Chat สำหรับคนทั่วไป ในขณะเดียวกัน LINE จะออกแนว Instant Chat มากกว่า คือทักเพื่อต้องการพูดคุยเดี๋ยวนั้น หรือในทันที ส่วน Facebook เราค่อนข้างคุ้นเคยกับการทิ้งข้อความไว้ใน Inbox ซึ่งผู้ใช้งานจะไม่คาดหวังว่าเราจะต้องตอบในทันที
การเติบโตของ LINE เมื่อเทียบกับ Facebook และ Twitter
ก่อนหน้านี้เราเคยทึ่งกับการเติบโตของ Facebook และ Twitter กันมาแล้ว ที่เติบโตด้วยสมาชิก 50 ล้านในเวลาเพียง 3 ปี เมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆที่ใช้เวลากันหลาย 10 ปี หากกล่าวถึงการเติบโตของ LINE นั้นกลับเร็วกว่า Facebook และ Twitter เสียอีก เพราะ LINE ได้จำนวนผู้ใช้งาน 50 ล้านในเวลาเพียง 1 ปีกับ 34 วัน ซึ่งเร็วกว่า Facebook และ Twitter ที่ใช้เวลา 3 ปี! เรียกได้ว่า LINE อาจจะเป็นสื่อที่มีสมาชิกที่เติบโตเร็วที่สุดเลยก็ว่าได้
จำนวนผู้ใช้ LINE ในไทย
จากการสอบถามไปยัง NHN Corp. ทราบมาว่าจำนวนผู้ใช้ LINE ของไทยเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง มีตัวเลขผู้ใช้งานอยู่ที่ 18 ล้านคนแล้ว
(
นายโมริคาว่า อาคิระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไลน์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในปัจจุบันแอพพลิเคชั่นไลน์มีจำนวนผู้ใช้รวม 230 ล้านคนทั่วโลก โตขึ้น 460% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในทุก 1 ชั่วโมง มีผู้ลงทะเบียนใช้งานใหม่ถึง 63,000 ราย ประเทศที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดคือ ญี่ปุ่นจำนวน 47 ล้านคน รองลงมาคือไทย 18 ล้านคน ไต้หวัน 17 ล้านคน สเปน 15 ล้านคน และอินโดนีเซีย 14 ล้านคน และกำลังเติบโตในยุโรป แอฟริกา และลาตินอเมริกา การสื่อสารผ่านข้อความจำนวนถึง 7,000 ล้านข้อความต่อวัน เพิ่มขึ้น 440% เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว ส่วนการส่งสติกเกอร์มีถึง 1,000 ล้านตัวต่อวัน เพิ่มขึ้น 488% เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว และขณะนี้ไลน์รองรับ 17 ภาษาทั่วโลก)
การตลาดผ่าน LINE
ปัจจุบัน NHN เปิดช่องทางให้แบรนด์สินค้าร่วมทำการตลาดผ่าน LINE ได้ 2 ช่องทาง ซึ่งผู้ใช้ LINE คนไทยคงได้เห็นกันมาแล้ว คือ
1. การทำการตลาดผ่าน LINE Official Account
2. การทำการตลาดผ่าน LINE Sponsored Sticker
ซึ่งทั้ง 2 ช่องทางนี้ ได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก และประสบความสำเร็จด้วยดี ประกอบกับการเติบโตอย่างน่าสนใจของผู้ใช้งานคนไทย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ NHN ต้องการเข้ามาทำการตลาดในไทยเป็นประเทศที่ 2 และตามด้วยประเทศอื่นอย่าง อินโดนิเซีย มาเลเชีย สิงคโปร์ เป็นต้น
LINE Official Account
ผู้ใช้งาน LINE ของไทยได้เริ่มเห็น LINE Official Account ในครั้งแรกๆ จาก Official Account ของเหล่าดารา ศิลปิน และเริ่มติดตามเป็น Followers กันอย่างต่อเนื่อง ทั้ง GTH, Opal, Ter Chantawit, Singular, Love IS, 2AM ที่ทาง NHN ได้ใช้เป็นกลยุทธ์ในการนำศิลปิน และดารา ให้มีช่องทางติดต่อเหล่าแฟนคลับผ่านทาง Official Account ซึ่งหากสังเกตุจาก Official Account ของ LINE ในหลายๆ ประเทศ จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์นี้ถูกนำมาใช้ในหลายๆ ประเทศเพื่อชิมทางและทดสอบความต้องการของผู้บริโภคก่อนที่ NHN จะเปิดตัว LINE Official Account ให้กับแบรนด์สินค้าทั่วไป
LINE Official Account เปิดให้ผู้ใช้งาน LINE ได้ติดตามแบรนด์ที่ตนสนใจ และให้แบรนด์สินค้าได้มีช่องทางติดต่อกับกลุ่มลูกค้าโดยตรงผ่านการ Broadcast หรือการส่งข้อความถึงลูกค้าผ่านทาง Official Account นั่นเอง อย่างที่กล่าวในข้างต้น ว่า Official Account นั้นคล้ายกับ Facebook Brand Page ที่เปิดให้ลูกค้าหรือผู้สนใจติดตามแบรนด์ผ่านการ Like และการเป็น Followers แต่วิธีการสร้าง Relationship หรือการติดต่อกับกลุ่ม Followers นั้นต่างกับ Facebook เพราะ LINE Official Account นั้นเป็น One Way Communication คือ แบรนด์สินค้าสามารถส่งข้อความให้กับกลุ่ม Followers พร้อมกันได้ในแต่ละครั้ง แต่กลุ่ม Followers จะไม่สามารถติดต่อ หรือพูดคุยกับแบรนด์สินค้าเหมือนที่ทำได้ผ่านทาง Facebook
การส่งข้อความผ่าน LINE Official Account
สรุปง่ายๆ คือ Brand Official Account ส่งข้อความออกไปในแต่ละครั้ง จะถือเป็นการ Broadcast ถึงทุกคน หาก Followers 1 ท่าน ส่งข้อเพื่อพูดคุยกับแบรนด์นั้น Follower ท่านอื่นๆ จะไม่เห็น นอกจากนี้ยังจะได้รับข้อความตอบกลับโดยอัตโนมัติจากทางแบรนด์สินค้าที่ได้เตรียมกำหนดข้อความสำหรับการตอบกลับไว้ล่วงหน้า [อันนี้ ลองเล่นได้ ด้วยการส่งข้อความอะไรก็ได้ไปยังแบรนด์หรือศิลปินที่เราติดตาม เมื่อส่งข้อความไปแล้ว เราจะได้รับข้อความอัตโนมัติตอบกลับมาในทันที]
** สำหรับข้อความ หรือ Content ที่แบรนด์สินค้าสามารถส่งผ่าน Official Account คือ ข้อความ Text, ภาพ, วิดีโอ และ Audio เสียง และข้อความยอดฮิตของแบรนด์สินค้าที่นิยมใช้กับกลุ่มลูกค้าคือ โปรโมชั่น ที่สามารถมาในรูปแบบคูปอง ส่วนลด และข่าวสารที่เกี่ยวกับแบรนด์โดยตรง
Event Page
Event Page เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับ LINE Official Account คือการเปิดให้เจ้าของ Official Account สามารถสร้างหน้า Event หรือให้เข้าใจง่ายคือ Mini Microsite ภายใต้ LINE Official Account นั่นเอง เจ้าของ Official Account สามารถสร้างหน้าดังกล่าว โดยสามารถใส่ภาพและเนื้อหา รวมถึง Hyperlink ไปยังเว็บไซต์หรือ Facebook Brand Page ได้ตามต้องการ เมื่อสร้างหน้าดังกล่าวเสร็จแล้ว ก็สามารถส่งแจ้งลูกค้าที่ติดตาม LINE Official Account ให้คลิกเข้าไปชมได้ หน้า Mini Microsite สำหรับ Event Page นี้ เหมาะสำหรับการโปรโมทสินค้า การให้ข้อมูลเพิ่มเติม การสร้างแกเลอรี่ภาพ และการสร้างหน้าอีเว้นท์ต่างๆ ได้ ซึ่งในความเป็นจริงยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ตามต้องการ
ON AIR
นอกจากการส่งข้อความถึงกลุ่มผู้ตามหรือลูกค้าแล้ว LINE Official Account ยังมีฟีเจอร์ให้แบรนด์หรือเจ้าของ Official Account ได้เปิดช่องทาง 2 way communications เพื่อเล่นกิจกรรมกับลูกค้าได้ผ่านฟีเจอร์ที่เรียกว่า ON AIR ลักษณะการทำงานของ ON AIR จะคล้ายกับการ ON AIR ผ่านทางวิทยุ ที่ดีเจมักจะเปิดสายให้ผู้ฟังเข้ามาร่วมสนุกรับของรางวัล ซึ่งการทำ ON AIR นี้ ระบบหลังบ้านของ LINE จะเก็บข้อความที่ผู้ร่วมสนุกส่งเข้ามา และสามารถติดต่อกลับได้เมื่อต้องการ
2. LINE Sponsored Sticker
LINE Sponsored Sticker คือการทำการตลาดผ่านสติ๊กเกอร์ของ LINE ซึ่ง NHN เปิดโอกาสให้แบรนด์สินค้าที่สนใจมีสติ๊กเกอร์ในแบบของตนเอง สามารถร่วมสร้างสติ๊กเกอร์ให้ผู้ใช้ LINE ได้ดาวน์โหลดไปใช้งานฟรี
การสร้างสติ๊กเกอร์กับ LINE นั้น สามารถทำได้ทั้ง ตัวหนังสือ ภาพการ์ตูน สินค้า หรือแม้แต่พรีเซ็นเตอร์ของสินค้า โดยทีมงาน NHN ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นผู้ดีไซน์และออกแบบให้ ทั้งออกแบบให้จากภาพของพรีเซ็นเตอร์ หรือจากภาพ Mascos ที่แบรนด์มีอยู่แล้ว หรือคิดให้ใหม่เลยก็ทำได้ หรือจะใช้คาแรคเตอร์ของ LINE มาปรับแต่งใหม่ให้เข้ากับแบรนด์ของตนเอง
บริการ Sponsored Sticker LINE มีข้อจำกำจัด คือ จะเปิดให้ผู้ใช้ LINE สามารถดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์เพียง 1 เดือนหลังจากการเปิดตัวของ Brand Sticker Shop และเมื่อดาวน์โหลดไปแล้ว ผู้ดาวน์โหลดจะสามารถใช้สติ๊กเกอร์นั้นเพียง 90 วันหลังจากวันที่ดาวน์โหลด หลังจากนั้นสติ๊กเกอร์ของแบรนด์จะหายไปจากระบบของ LINE ในทันที
เช่น ใครที่เคยดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์พี่เชฟ กับน้องเกี๊ยวของทางซีพี หรือจากการบินไทยไปแล้ว จะไม่สามารถดาวน์โหลดได้อีกแล้ว และจะใช้สติ๊กเกอร์ได้อีกเพียงไม่ถึง 2 เดือนเท่านั้น
สำหรับแบรนด์ที่ต้องการเพิ่มระยะเวลาการดาวน์โหลด หรือเพิ่มระยะเวลาการใช้งานของสติ๊กเกอร์ ก็สามารถทำได้ด้วยการจ่ายเงินเพิ่มให้กับทาง NHN ตามที่กำหนดไว้
ความคุ้มค่าของ LINE Marketing
มีข้อโต้แย้งพอสมควรเกี่ยวกับการทำการตลาดผ่านทาง LINE โดยเฉพาะหลังจากที่เราได้เห็นจำนวน Followers ของการบินไทย และซีพี ที่มีตัวเลข Followers มากกว่า 2 ล้าน รวมถึงความน่ารักของสติ๊กเกอร์ที่ถูกทำออกมา ทำให้นักการตลาดไทยต่างตื่นตาตื่นใจกับผลลัพท์ที่ได้จากกระแสของ LINE และต้องการสร้างแบรนด์และสร้างโมบายคอมมูนิตี้เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ LINE คนไทย
ราคาของการทำการตลาดผ่าน LINE นั้นดูจะราคาสูงสำหรับนักการตลาดส่วนมากที่ทราบราคาในครั้งแรก ซึ่งราคารวมการเปิดตัว Official Account และ Sponsored Sticker Shop จะอยู่ประมาณ 4 ถึง 5 ล้านบาท สำหรับ Sponsored Sticker 1 ครั้ง และ Offical Account 12 เดือน (ราคานี้ เป็นราคาประมาณการคร่าวๆ) ซึ่งเมื่อคิดเร็วๆ แล้วนำมาเทียบกับการทำการตลาดผ่าน Facebook Brand Page ก็จะดูแพงมาก เพราะราคาการดูแล Facebook Brand Page จะอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 80,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายหรือความเยอะในการทำของแต่ละแบรนด์ แต่หากคิดกันให้ดี จะเห็นว่าราคาของ LINE นั้นถูกและคุ้มค่ากว่ามากทีเดียว สมมติว่าต้องเสียเงิน 5,000,000 บาทในการทำ LINE Official Account และ LINE Sponsored Sticker และได้จำนวน Followers มาที่ 2,000,000 (ตามเคสของการบินไทยและซีพี) จะเท่ากับว่าราคาต่อ 1 Follower = 2.50 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกันตรงๆ กับการทำ Facebook ซึ่งต้องเสียทั้งบริการการดูแล Fan Page ต้องสร้างแคมเปญเพื่อเพิ่มจำนวน Like และยังต้องซื้อออนไลน์มีเดียในการโปรโมทตลอดทั้งปี และผลลัพท์ที่ได้จาก Fan Page ของไทยนั้น ยังไม่มี Fan Page ใดที่สามารถเพิ่มจำนวน Like ได้ถึง 1,000,000 ภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งในความเป็นจริงอาจต้องใช้เวลา 1-3 ปี หรืออาจจะมากกว่า ด้วยเหตุนี้ การทำการตลาดผ่าน LINE ในขณะนี้ จึงดูว่าคุ้มค่ากว่าทั้งราคาและระยะเวลา
อนาคตของ LINE
บางคนอาจจะสงสัยว่าการทำการตลาดผ่าน LINE นั้นดีจริงหรือไม่ และหากว่าดีจะดีได้นานเพียงใด ข้อสงสัยนี้คงยังไม่สามารถหาคำตอบได้ภายในปี 2012 นี้ เพราะ LINE ถือเป็นช่องทางใหม่สำหรับนักการตลาดไทย และรวมถึง NHN Corp. ด้วยเช่นกัน ที่ยังต้องการเรียนรู้ตลาดและความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ LINE ว่าจะมีเทรนด์การใช้งาน LINE ไปในลักษณะใด ทั้งนี้ ยังขึ้นอยู่กับการเพิ่มหรือปรับฟีเจอร์การทำงานของ LINE ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ทั่วโลกให้ถูกใจมากกขึ้น
สำหรับวันนี้ เรามองว่า LINE เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ โดยเฉพาะสินค้าใหม่ หรือสินค้าและบริการที่ต้องการจับกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน นอกจากนี้ LINE ยังเหมาะที่จะทำเป็นทูลสำหรับการทำ Direct marketing เพราะช้อความที่ส่งถึง Followers นั้น สามารถเข้าถึงกลุ่ม Followers ได้ในทันที
อ้างอิงข้อมูลที่มา http://www.marketingoops.com/media-ads/line-marketing-1/
บทความ 3 เทรนด์ดิจิตอลมาแรง !!! โดยศุภชัย ปาจริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมคฟิว่า (ประเทศไทย) จำกัด ดิจิตอลเอเยนซี่ชื่อดัง ที่ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ดังในประเทศไทยเป็นที่ปรึกษา ไม่ว่าจะเป็น ไมโครซอฟท์ ไทยเบฟ โตโยต้า จอห์นสันแอนด์จอหน์สัน ได้เคยคาดคะเนแนวโน้มเทรนด์ดิจิตอลที่จะมาแรงตั้งแต่ปี 2555 ไว้ดังนี้
แนวโน้มแรก ยุคของโซเชียลเอนเกจเมนต์ (Social Engagement Era) หรือที่ คุณศุภชัยเรียกว่า “หมดยุค Like แต่ต้อง Love นั่นเอง ซึ่งทำให้กลยุทธ์แบบเดิมที่ฮิตมาเป็นแรมปีของเฟซบุ๊คที่ให้กด “Like” เยอะๆ อีกทั้งคอมเมนต์และทำแฟนเพจของแบรนด์สินค้าต่างๆ นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป ซึ่งคุณศุภชัย ขยายความว่า มุมมองถึงแนวโน้มดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ Facebook พัฒนาฟีเจอร์ตัวใหม่ที่เรียกว่า ทอล์กกิ้ง อะเบาต์ ดิส (Talking About This) ขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ เจ้าตัวที่ว่านี้อยู่หลังจำนวน “Like” บนแฟนเพจของเจ้าของแบรนด์สินค้าที่ใช้เฟซบุ๊กทำกิจกรรมทางการตลาด คุณศุภชัยอธิบายต่อว่า ที่มาที่ไปของทอล์กกิ้ง อะเบาต์ ดิส ว่า ส่วนแรกเกิดจากการคลิก Like ของประชากรในเฟซบุ๊ก ที่มีต่อแฟนเพจนั้นๆ ส่วนที่ 2 เกิดจากจำนวนการแสดงความคิดเห็น (Comment) ลงบนวอลล์ (Wall) และส่วนที่ 3 เกิดจากการแบ่งปัน (Share) ไปยังหมู่เพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กของคุณ ข้อมูลดังกล่าวบ่งบอกให้นักการตลาดทราบถึงข้อมูลกิจกรรมทางการตลาดที่ถูกเขียนลงไปในนั้น เป็นที่ต้องตาต้องใจผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ถ้ามีมากนั่นหมายถึงความสำเร็จของข้อมูลการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภคยินยอมที่จะมีปฏิสัมพันธ์หรือเอนเกจเมนต์ด้วยนั่นเอง ทิศทางนี้เกิดขึ้นกับโซเชียลมีเดียอื่นด้วย เช่น Twitter ก็มีเหมือนกันที่สามารถวิเคราะห์ได้ ขวามือเข้าไปโฆษณา มีคนเข้ามาเอนเกจเมนต์เท่าไร แสดงว่า ตอนนี้เอนเกจเมนต์เป็นอะไรทีแบรนด์จะต้องให้ความสนใจ ไม่ใช่เรื่องของ Like เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ส่วนสูตรที่วัดถึงความสำเร็จของการสร้างเอนเกจเมนต์ให้เกิดขึ้นในแฟนเพจของแต่ละแบรนด์นั้น ศุภชัยฟันธงว่า แบรนด์ที่มีแฟนเพจน้อยกว่า 1 แสนLike จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเปอร์เซ็นต์ของการเข้ามามีส่วนร่วมไม่ต่ำกว่า 10% แต่ถ้าแบรนด์ที่มีแฟนเพจมากกว่า 1 แสนLike ขึ้นไปจะต้องมีเปอร์เซ็นต์ของการเข้ามามีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 5% ในขณะที่กลุ่มท็อป 20 ของแฟนเพจระดับต้นๆ ของประเทศนั้น มีผู้เข้ามาเอนเกจเมนต์อยู่ราวๆ 3.9% ซึ่งก็ยังเป็นตัวเลขที่จัดว่าน้อยอยู่ สิ่งที่คาดหวังได้จากการทำเอนเกจเมนต์มีทั้งจำนวน Like ที่เพิ่มขึ้น คู่ไปกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น และความจงรักภักดีของตราสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งบ่งบอกว่าแบรนด์จะสนใจแต่ยอด Like อย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป ต้องสนใจการเอนเกจเมนต์กับผู้บริโภค เป็นเทรนด์หลักนับจากนี้ต่อไป
แนวโน้มที่ 2 การเข้าสู่ยุคของฟรีไม่มีในโลกที่จะกลับมาอีกครั้ง (Free Lunch is Over) เพราะว่าเวลานี้รายการต่างๆที่มีการแพร่ภาพในช่องฟรีทีวีในปัจจุบัน มีถึง 95% ที่สามารถดูย้อนหลังได้บน youtube ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไปอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น ดูทีวีน้อยลง ศุภชัย ยืนยันข้อมูลตัวนึงจากรายงานวิจัยตลาดของดิสเพลย์เสิร์ชดอทคอมที่ระบุว่า ช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ปี 2555 ยอดขายเครื่องรับโทรทัศน์ทั่วโลกรวมกันอยู่ที่ 51.22 ล้านเครื่อง เมื่อเทียบกับยอดขายปี 2544 ที่มียอดขายอยู่ที่ 55.54 ล้านเครื่อง หรือลดลงราว 8% ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีต่อวันเฉลี่ยลดลง แต่หันไปให้ความสนใจกับเนื้อหาหรือภาพเคลื่อนไหวบนสื่อดิจิตอลประเภทต่างๆ มากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้บรรดาคอนเทนต์โพรไวเดอร์ รวมไปถึงเจ้าของสถานีโทรทัศน์ต่างมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะเข้ามาช่วยเก็บเกี่ยวรายได้จากค่าโฆษณาบนสื่อออนไลน์แทนกันมากขึ้น และ อินสตรีมวีดีโอ (In-Stream Video) คือคำตอบของแนวโน้มที่สองนี้ ศุภชัยเล่าให้ฟังว่า นับจากนี้ไปอีก 6 เดือน อินสตรีมวีดีโอ จะเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น จะเห็นชิ้นงานโฆษณา เข้ามาสอดแทรกในคลิปที่ดูบนโลกออนไลน์มากขึ้น จากเดิมที่ไม่สามารถควบคุมได้จากเจ้าของรายการหรือคอนเทนต์โพรไวเดอร์นั้นๆ ที่สำคัญจะเริ่มไม่เห็นเนื้อหารายการจากผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ๆ ใน youtube แต่เราจะสามารถดูได้จากช่องทางที่เจ้าของรายการส่งมาเองโดยตรง ซึ่งมีให้เห็นแล้วเมื่อช่อง 7 เปิดช่อง Bugaboo.TV ของตนเอง โดยในคลิปรายการดังกล่าว จะมีการใส่อินสตรีมวีดีโอ แอดเวอร์ไทซิ่งอยู่ด้วย แนวโน้มนี้ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า จะไม่ได้มีแค่ช่อง 7 เท่านั้น ผู้ผลิตรายการดังๆ อย่าง เวิร์คพ้อยท์ กันตนา เอ็กแซ็กท์ รวมไปถึงสถานีฟรีทีวีช่องอื่นๆ ก็จะทยอยเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้บริโภคยังดูฟรีทีวีได้เหมือนเดิม แต่จะมีโฆษณาเยอะขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การลงโฆษณาก็จะเปลี่ยนไป โดยสามารถที่จะเพิ่มช่องทางโฆษณา โดยการโฆษณาในฟรีทีวีเป็นโฆษณาในชาแนลนึง ในโลกออนไลน์ก็จะมีโฆษณาอีกชาแนลนึง ซึ่งจะสามารถขายโฆษณาได้ทั้ง 2 ทาง หรือลง 2 ชาแนลเลย ซึ่งเป็นเทรนด์ที่นักการตลาดจำเป็นต้องรู้ แมคฟีว่า คาดการณ์ว่า ตลาดโฆษณาผ่าน อินสตรีมวีดีโอ จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี ในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยในปี 2556 คาดว่าตลาดโฆษณาประเภทนี้ในประเทศไทยจะมีมูลค่าถึง 750 ล้านบาท โดยในปีนี้คาดว่าจะมียอดอยู่ประมาณ 125 ล้านบาท ของมูลค่าตลาดรวมของสื่อดิจิตอลกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าการตลาดยังน้อยอยู่ เพราะว่าเพิ่งจะเริ่ม นักการตลาดเพิ่งรู้จัก หรือไม่เคยใช้ แต่ในต่างประเทศมูลค่าไปไกลแล้ว
แนวโน้มที่ 3 ศุภชัยมองว่า คือวิธีการทำตลาดผ่านสื่อดิจิตอลออนไลน์จะหมดยุคของการคาดเดาอีกต่อไ ป เพราะมีเครื่องมือใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้นักการตลาดได้เลือกใช้ เช่น วิธีการของแนวโน้มทั้ง 2 ก่อนหน้านี้ และสามารถวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันก็คือ การขาดบุคลากรที่มีความเชียวชาญในการใช้เครื่องมือเพื่อวัดผลต่างๆ จากการทำดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง ซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับ บุคลากร ถึง 99% ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องพัฒนาบุคลากรขึ้นมารอบรับในด้านนี้ นักการตลาดสามารถเลือกส่งสารที่เหมาะสมกับผู้บริโภคโดยคำนึงถึงปัจจัย 3 เรื่องก็คือ การเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย และทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากขึ้น ซึ่งถือเป็นหัวใจของการทำตลาด และเจ้าของสินค้า จากการวัดผลทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณไปพร้อมๆ กัน”