วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Marketing Together ว่าด้วยกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่



กลยุทธ์ The Long Tail

แต่ดั้งเดิมนั้นมีการนำเอากฏหรือทฤษฏี 80/20 มาใช้อย่างกว้างขวางและก็ได้ผลซึ่งกฎ 80/20 ผู้คิดค้นทฤษฏีนี้คือ Pareto อันโด่งดัง ได้กล่าวถึงปรากฎการณ์ที่แสดงถึงความไม่สมดุลที่พบเห็นในโลกของเรา ที่แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ (Output) ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน (หรือ Input) ส่วนน้อย ซึ่งกฎ 80/20 นี้ได้มีการประยุกต์ใช้ในหลายศาสตร์ในเวลาต่อมา โดยเฉพาะในด้านการบริหาร เช่น การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) การบริหารคุณภาพ (Quality Management) หรือ การปรับกระบวนงานทางธุรกิจ (Business Process Reengineering) อย่างไรก็ตามกฎ 80/20 นี้ ได้ถูกพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริงในโลกออนไลน์ เนื่องจากสมมติฐานของการมีอยู่จำกัดของทรัพยากรที่เป็นสมมติฐานเบื้องต้นของนักเศรษฐศาสตร์ได้ถูกทำลายไป ผู้พิสูจน์กฎที่ย้อนศรกฎของ Pareto นี้ มีชื่อว่า Chris Anderson โดยตั้งกฎหรือทฤษฏีนี้เสียใหม่ว่า “The Long Tail”


กฎ 80/20 ได้อธิบายการมีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากร ในโลกเศรษฐศาสตร์มีสมมติฐานที่ว่าเรามีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นเราจะทำอะไรก็แล้วแต่ที่จะให้คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เราจึงต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่นี้ให้คุ้มค่าที่สุด กล่าวคือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสำคัญและจำเป็นเพียง 20% แต่สร้างผลตอบแทนกว่า 80% จากทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ การเอาใจลูกค้ารายใหญ่สำคัญๆ เพียง 20% ที่สร้างผลกำไรหรือยอดขายให้กับร้านถึง 80% ของกำไรหรือยอดขายทั้งหมดของร้าน ซึ่งก็เข้าประเด็นของกฎ 80/20 คือ เราต้องเลือกทำอะไรก็ได้ที่มี Input น้อย แต่ได้ผลคุ้มค่า หรือผลตอบแทนให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น 1. ชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้าที่มีอยู่จำนวนจำกัด ก็ต้องวางสินค้าที่มีความนิยมสูงสุด เพื่อที่จะขายได้มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากค่าโสหุ้ย ต้นทุนการกระจายสินค้า และต้นทุนต่างๆ ของการบริหารชั้นสินค้าไม่ว่าจะเป็นสินค้ายอดนิยม หรือสินค้าที่ขายไม่ออกมีต้นทุนเท่ากัน (เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องมีการเรียกเก็บค่าวางสินค้าในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่) 2. มหาวิทยาลัยชื่อดังที่มีที่นั่งจำกัด ก็ต้องเลือกเอานักเรียนเก่งๆ เข้าไปเรียน เพราะว่าต้นทุนในการจัดการศึกษาของเด็กที่เก่ง และไม่เก่ง มีต้นทุนพอๆ กัน เลยคัดเอาเด็กเก่งเข้าไปเรียนก่อน อย่างน้อยก็เข้าไปสร้างชื่อเสียงให้กับทางมหาวิทยาลัยได้ 3. ผังรายการทีวีที่มีอยู่อย่างจำกัด ก็ต้องเลือกเอาโปรแกรมรายการที่คาดว่าจะทำ Rating สูงเพื่อรายได้จากค่าโฆษณาได้เยอะ เข้าไปวางตรงช่วงไพร์มไทม์ เพราะว่าค่าโสหุ้ยของสถานีเป็นต้นทุนคงที่ ถ้าใส่แต่รายการที่ไม่น่าจะเป็นที่นิยม ผลประกอบการที่ออกมาก็คงแย่ 4.โรงภาพยนตร์จะเลือกเอาหนังที่ทำเงินเข้าฉายในโรงและรอบที่ดีที่สุดเท่านั้น เพราะว่าจำนวนรอบฉายมีอยู่จำกัด ขืนเอาหนังที่ไม่ทำเงินเข้าไป โรงภาพยนตร์นั้นก็จะสูญรายได้ก้อนใหญ่ไป

จริงๆ กฏ 80/20 ได้พัฒนาแนวความคิดจากคอนเซ็ปท์ Mass Marketing (Production Concept) ,Economy of Scale การผลิตปริมาณมากเพื่อลดต้นทุน หรือได้ต้นทุนที่ต่ำ และสร้างความพีงพอใจให้กับลูกค้า แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องผลกำไรหรือผลตอบแทนได้อย่างคุ้มค่าเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้

อย่างไรก็ตามในปี 2004 Chris Anderson คือผู้ซึ่ง against กับกฏ 80/20และได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความนิยมสินค้าจากการโฆษณาแบบ Mass Market ได้ทำการสังเกตุปรากฎการณ์ทางธุรกิจบางอย่าง ที่อยู่บนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Google (Search Engine ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก) Amazon.com (ร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก) Rhapsody (ร้านดนตรีออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก) และบริษัทออนไลน์อื่นๆ อีกมากมาย (รายละเอียดอยู่ใน www.thelongtail.com)

ตัวอย่างแรกที่ Anderson ได้เก็บข้อมูลขึ้นมาคือ บริษัท Ecast (ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจตู้เพลงดิจิตอลแบบ Touch Screen รายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีตู้ติดตั้งในบาร์ และไนท์คลับกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ และตู้เพลงเหล่านี้ถูกเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายความเร็วสูง ทำให้สามารถนำเสนอเพลงจำนวนมากให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว) พบว่าเพลงทั้งหมดกว่า 10,000 อัลบั้ม ในเมนูเพลง จะมีถึง 98% ที่ถูกเลือก ในแต่ละไตรมาส นอกจากนี้ Anderson ยังเก็บข้อมูลของ Rhapsody พบว่า ผลเฉลี่ยที่ได้ไม่มีค่าเท่ากับศูนย์แม้แต่เพลงในลำดับที่ 1,000,000 ก็ขายได้(ซึ่งเพลงลำดับที่ 25,000 ถึง 1.5 ล้าน รวมกันเป็นมูลค่า 40% ของยอดขาย) และจากการเก็บข้อมูลจาก Google พบว่าโฆษณารวมกันของรายย่อยทำกำไรให้กับ Google อย่างมาก หรือแม้แต่ Amazon และ eBay ก็ตาม ที่มียอดจำหน่ายจากหนังสือที่ไม่เป็นที่นิยมติดอันดับ รวมกันเป็นจำนวนมาก (คือประมาณ 25% ของยอดขายรวม)

ทำไมยอดขายของโลกธุรกิจออนไลน์รวมกันจึงสามารถมีปริมาณยอดจำหน่ายที่สูงได้ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกธุรกิจออนไลน์ไม่มีข้อจำกัดของพื้นที่จัดเก็บสินค้า ไม่มีต้นทุนในการกระจายสินค้า ทำให้ไม่มีข้อจำกัดของการจัดจำหน่าย ดังนั้นในโลกธุรกิจออนไลน์จึงสามารถจัดจำหน่ายสินค้าแบบ Mass Customization ได้ (ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าได้ตามที่ใจตัวเองต้องการ แม้ว่าสินค้านั้นจะหาซื้อยากเพียงใด เนื่องจากต้นทุน และข้อจำกัดของการกระจายสินค้าได้หมดไป เนื่องจากโลกถูกเชื่อมเข้าด้วยกันทางอินเตอร์เน็ต) จึงเป็นที่มาของธุรกิจหลายรูปแบบ เช่น TV On-Demand ที่ผู้ชมสามารถเลือกดูรายการตามที่ตังเองต้องการได้ หรือการซื้อสินค้าที่หาได้ยาก หรือมีความต้องการน้อย ผ่าน eBay ซึ่งแปลว่าหากในโลกธุรกิจออนไลน์หากเราสามารถสร้างช่องทางรวบรวมแหล่งสินค้าที่มีความต้องการต่ำได้เป็นปริมาณมากพอ เราจะสามารถทำกำไรได้มาก เนื่องจากผู้ที่นิยมชมชอบสินค้าเหล่านั้นมีอยู่ทั่วโลก ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันด้วยอินเตอร์เน็ต ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ที่มีข้อจำกัดด้านการจัดวางและการกระจายสินค้าเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตอนนี้ เราสามารถที่จะใช้กลยุทธ์ Long Tail ในการขยายธุรกิจไปในระดับโลกได้ครับ

(บทความนี้อ้างอิงและถอดความบางส่วนจากบล็อกของดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นนักวิชาการอิสระ และผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และธุรกิจระหว่างประเทศ (CEO บริษัท Hroyy Inc.)

ทฤษฎีใหม่ตอบโจทย์ยุควิกฤติ

สำหรับแนวคิดทฤษฎีใหม่การตลาดที่นักการตลาดเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น และจะเป็นทฤษฎีที่ตอบสนองกับการทำตลาดในช่วงภาวะวิกฤติได้ดีเยี่ยมอย่างในเมืองไทย คือความลงตัวของทฤษฎี Long Tail Marketing ผศ.ดร.ธีรพันธ์ ให้ทรรศนะในเรื่องนี้ว่า Long Tail Marketing เป็นทฤษฎี ที่ออกมาต่อต้านแนวคิดของ พาเรลโต้ เจ้าของทฤษฎี ซึ่งคิดเรื่องของกฎ 80:20 กล่าวคือ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่ภักดีต่อองค์กรเพียง 20% ส่วนอีก 80% เป็นลูกค้าที่พร้อมจะหันไปหาแบรนด์ใหม่ที่ดีกว่า เช่น มีข้อเสนอที่ดีกว่า มีของแถมที่ดีกว่า มีราคาที่ดีกว่า ส่วนใหญ่เจ้าของธุรกิจจะเกิดความกังวลกับลูกค้าทั้ง 2 กลุ่ม แต่ทฤษฎีของ พาเรลโต้ บอกว่า ถ้าลองเข้าไปศึกษาดีๆ จะรู้ว่ากลุ่ม 20% ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มน้อย สามารถสร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้ดีกว่ากลุ่ม 80 เพราะกลุ่มนี้มีการซื้อซ้ำ และทำกำไรให้กับองค์กรได้ถึง 80% ขณะที่กลุ่ม 80 กลับสร้างผลกำไรให้กับองค์กรเพียง 20% หลังจากแนวคิดนี้ออกมาหลายคนเห็นด้วย จึงหันมาทำตลาดโดยการรักษาลูกค้าเก่า และทำให้เกิดกระแสของ CRM โดยพยายามเก็บลูกค้าเก่าไว้รวมถึงกระแสที่เรียกว่า การดูเรื่องคุณค่าตลาดช่วงชีวิตของลูกค้าในการซื้อสินค้า ซึ่งพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก คือ 1. ดูจากการเข้ามาใช้บริการครั้งล่าสุด 2. ดูจากความถี่ในการซื้อ และ 3. ดูจากเม็ดเงินที่ลูกค้ามาใช้กับธุรกิจต่อครั้ง จากนั้นเอา 3 ตัวนี้มาคำนวณว่า ลูกค้ากลุ่มไหนมีคุณค่ามากกว่ากัน กระแสนี้ ได้รับความสนใจมากขึ้นทำให้นักการตลาดที่เชื่อเรื่อง พาเรลโต้ ทำให้มุ่งให้ความสนใจกับกลุ่มลูกค้า 20% เพราะสร้างผลกำไรให้บริษัทมากกว่าลูกค้า 80% หลังจากนั้นเป็นต้นมา ทำให้เกิดแนวคิดการตลาดแนวใหม่ว่า ลูกค้า 80% ซึ่งมองว่าเป็นลูกค้าส่วนใหญ่แต่มีคุณค่าน้อยแต่ถ้านักการตลาดสามารถเก็บเล็กผสมน้อยจากลูกค้ากลุ่มนี้ได้ก็ย่อมจะดีกว่าและหันมาสนใจลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย การตลาดที่เรียกว่า Long Tail Marketing คือการเก็บผู้บริโภคทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด เป็นหลักแนวคิดการทำการตลาดในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย "ทฤษฎี ลองเทล มาร์เก็ตติ้ง เป็นทฤษฎีที่ออกมาต่อต้าน 80:20 คือจะไม่สนใจลูกค้าเฉพาะแล้ว แต่จะเก็บลูกค้าทุกส่วน เป็นทฤษฎีการตลาดแบบร่วมสมัย และปรับตัวเพื่อใช้ร่วมกับสื่อสมัยใหม่ เช่น ไอที อินเทอร์เน็ต ซึ่งจะสามารถเก็บรายละเอียดลูกค้าได้ทั้งหมด" ทฤษฎีนี้ ประกอบด้วยหลักการหลายตัว โดยผู้ที่นำทฤษฎีนี้มาใช้จะต้องมีความชำนาญด้านการบริหารสต็อก เช่น ธุรกิจดอกไม้ของ มิสลิลลี่ ซึ่งใช้หลักการบริหารสต็อก โดยใช้เครือข่ายร้านดอกไม้ทั่วประเทศ ไม่ต้องเก็บสต็อก ใช้การตลาดแบบเครือข่าย หรือ เน็ทเวิร์ค มาร์เก็ตติ้ง รวมถึงการดึงมืออาชีพมาบริหาร โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างมืออาชีพกับเรา และบริหารจัดการให้เป็นระบบ หลักสำคัญคือพยายามสนใจตลาดทั้ง 20 และ 80 โดยต้องรู้จักที่จะหาข้อมูลกับเพื่อร่วมธุรกิจเพื่อที่จะแชร์ข้อมูลระหว่างกัน ที่สำคัญคือต้องเป็นคนที่อย่าคิดแทนลูกค้า แต่ต้องให้ลูกค้าคิดเองและบอกเองว่าต้องการอะไร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี ลองเทล โดยเนื้อหาของทฤษฎีนี้ เป็นธุรกิจอะไรก็ได้ที่สนใจลูกค้าทั้ง 100% "สถานการณ์และเศรษฐกิจแบบนี้ เราคงตอบไม่ได้ว่าทฤษฎีไหนจะดีกว่ากัน แต่ต้องมองว่า นโยบายของผู้บริหารแต่ละกลุ่มสินค้ามีนโยบายอย่างไร ซึ่งมองว่ามันมีประโยชน์ทั้งสองทฤษฎี ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ คงต้องยึดหลักผสมผสานไปพร้อมๆ กันอยู่ที่จังหวะและโอกาสปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจมากกว่าและตลาดที่เราลงไปเล่น" ทฤษฎีการตลาดแต่ละทฤษฎีจะเหมาะมากน้อยแค่ไหนคงต้องขึ้นอยู่ที่สถานการณ์มากกว่า ซึ่งนักการตลาดคงต้องเลือกใช้ว่าทฤษฎีไหนจะเหมาะกับธุรกิจ สินค้าและบริการมากกว่า เหมาะกับภาวการณ์แข่งขันของทั้งตัวเองและคู่แข่ง เพราะแต่ละธุรกิจก็มีสภาวะการแข่งขันที่ไม่เหมือนกัน

กลยุทธ์ Blue Ocean

นายธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Thaicoon เคยให้มุมมองไว้ว่า กลยุทธ์การตลาดแบบ Blue Ocean ที่อาจกล่าวได้ว่ามีมานานแล้วเพียงแต่ตอนนั้นยังไม่มีใครคิดชื่อและมีการวางกรอบอย่างเป็นระบบ วิธีคิดจะเป็นอย่างไร จนกระทั่ง W.Chan Kim และ Renee Maubourgne ได้เขียน Blue Ocean Strategy: How to create Uncontested Market Space and Make the Competition Irrelevant โดย Kim เห็นว่าการทำกลยุทธ์ด้านการตลาดแบบ Blue Ocean เป็นทางออกที่ดีเพราะ การทำตลาดแบบ Blue Ocean เป็นแนวคิดสายพิราบ นั่นคือไม่เน้นการบดขยี้คู่แข่งขัน เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมในยุคที่การแข่งขันในตลาดเดิมๆ มาถึงทางตัน หา Demands ใหม่ ไม่เจอ จะต้องมีเครื่องมือในการคิด พร้อมทั้งวางแผนกลยุทธ์ให้แตกต่างทั้งในเรื่องทางการตลาด การผลิต การขายสินค้า การให้บริการลูกค้า รวมไปถึงการโฆษณาที่เชื่อมโยงสื่อสารกับผู้บริโภคและเกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์โดยไม่ต้องไล่บี้กับคู่แข่ง และต้องแตกต่างรวมถึงต้องใช้ต้นทุนต่ำด้วย Blue Ocean จึงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์เท่านั้น Blue Ocean จึงเป็นเพียงการ Branding กรอบคิดของผู้เขียนเท่านั้น ซึ่งกรอบนี้เข้าใจง่าย และ “โดน”ผู้บริโภค

Blue Ocean จึงดูจะเป็นทางออกสำหรับทุกธุรกิจที่ต้องการหลีกเลี่ยงจากการห้ำหั่นกัน และหาความแตกต่างของตัวเอง แต่ไม่ใช่ว่าใช้ Blue Ocean แล้วจะประสบความสำเร็จกันได้ทุกคน ก็เหมือนกับสูตรอาหารนั่นแหละ ทุกคนมีตำราเล่มเดียวกัน คนหนึ่งทำอร่อย อีกคนทำไม่ได้เรื่องเลยก็มี หัวใจสำคัญของ Blue Ocean จึงอยุ่ที่ว่า Four Action Framework ต้องรู้ว่าอันไหนควรจะลด อันไหนควรจะเพิ่ม อันไหนควรจะเลิก อันไหนควรจะสร้างขึ้นมาใหม่ มันเป็นศิลปะเหมือน Marketing Mix 4P นั่นแหละ ทุกคนรู้หมดว่า product,price,place,promotion แต่จะรู้ได้ยังไงว่า ตรงไหนควรใช้ Product กี่เปอร์เซ็นต์ ตรงไหนควรใช้ Price และใช้ได้เมื่อไหร่และตอนไหนจะเลิกใช้ มันอยู่ที่ศิลปะการใช้กลยุทธ์ ไม่ได้สำเร็จเพียงเพราะการมีไอเดีย หรือนวัตกรรมเท่านั้น หากต้องอาศัยการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภคให้ตรงจุดด้วย ธุรกิจใหญ่แค่ไหน หากขาด Innovation หรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แล้วก็คงอยู่ได้ยาก และหนีไม่พ้นการถูก copy แต่ก็มีข้อจำกัดว่า Blue Ocean จะอยู่ได้นานขนาดไหน เพราะถ้ามีการลอกเลียนแบบจะทำให้แบรนด์นั้นๆ ต้องเข้ามาสู่ Red Ocean ซึ่งข้อหลักๆของกลยุทธ์ทะเลเดือดจะมีปริมาณ แข่งขันในธุรกิจที่มี Demands เดิม การแข่งขันจะบี้คู่แข่งขันให้ตายไป และจะต้องบริหารต้นทุนให้ต่ำ เมื่อเข้าสู่วงจรของ Red Ocean จะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ เหมือนกับขึ้นหลังเสือแล้วจะลงง่ายๆ ไม่ได้หรอก ขณะที่คนอื่นเขาปรับเขาทำได้ดีกว่า มีโลเกชั่นที่ไม่ด้อยกว่า ตั้งราคาต่ำกว่า และอาจจะอร่อยไม่น้อยกว่าเจ้าของดั้งเดิม ในทางธุรกิจต้องถามตัวเองว่าทำไมลูกค้าต้องมาซื้อสินค้าเราแทนที่จะซื้อสินค้าของคู่แข่ง ถ้าตรงนี้ให้คำตอบไม่ได้เป็นอันจบเกม

การทำตลาดแบบ Blue Ocean นอกจากจะคิดให้แตกต่าง ดูจะยังไม่พอแต่จะต้องมีความต่างในแนว Trade Off สนองความต้องการของลูกค้า ด้วยคุณค่าที่พิเศษสุด เพื่อไม่ให้เกิดการลอกแบบได้ง่าย เพราะเมือไหร่ประสบปัญหาการถูก Copy ทุกคนก็จะเข้าสู่การแข่งขันในตลาดเดียวกันที่มีการแข่งขันแบบดุเดือด ไม่ว่าจะเป็นการตัดราคาสินค้าเพื่อมุ่งเน้นการเอาชนะคู่แข่งขัน จะทำให้สินค้ามีลักษณะเป็น Commodity มากขึ้น ผลที่ตามมาคือผลกำไรที่ลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดอาจถึงขั้นขาดทุนหรือธุรกิจนั้นอาจล่มสลายไป การทำตลาดแบบนี้จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นทะเลเดือด หรือ Red Ocean Strategy นั่นเอง...

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสการตลาดที่ได้ยินหนาหูมาก ในแวดวงการตลาด คือ กลยุทธ์ บลูโอเชี่ยน, เรดโอเชี่ยน รวมถึงกระแสการทำการตลาดที่สอดคล้องกับกระแสโลก เรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นที่มาของความแพร่หลายของกระแสของซีเอสอาร์ แต่ล่าสุดนักการตลาดมองว่าแล้ว ปี 2552 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ กลยุทธ์การตลาดต้องเปลี่ยนไป แบบใดจะเหมาะนำมาปรับใช้กับธุรกิจบริการ และทฤษฎีการตลาดแบบไหน ที่จะมาแรงในปี 2552 เป็นโจทย์ใหม่ที่ท้าทายไม่น้อย ผศ.ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ไอเดียเรื่องการทำการตลาดในช่วงภาวะวิกฤติ โดยย้อนไปถึงทฤษฎีการตลาดที่กลายเป็นกระแสที่โด่งเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา คือ การทำการตลาด ที่เรียกว่า "บลูโอเชี่ยน" และ "เรดโอเชี่ยน" ว่า การตลาดที่เรียกว่า บลูโอเชี่ยนนั้น เป็นการทำการตลาดที่มุ่งสร้างความแตกต่างให้กับตัวธุรกิจ และทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุนการผลิตได้ ที่สำคัญคือ ต้องทำการตลาดแบบเจาะลึกถึงการแข่งขันกันอย่างจริงจัง เพื่อพยายามแย่งส่วนแบ่งการตลาดมาอยู่ที่เราให้ได้โดยใช้ต้นทุนต่ำ และยึดลูกค้าเก่ามากกว่าการแสวงหาลูกค้าใหม่ ประเด็นสำคัญคือ การใช้กลยุทธ์ราคา หรือกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเพื่อแย่งลูกค้าจากคู่แข่งนั้น การวิเคราะห์ทุกอย่างจะยึดอยู่บนพื้นฐานของตัวเลขเป็นหลัก แนวทางนี้ ส่งผลให้เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรง และสุดท้ายนำไปสู่ทฤษฎีการตลาด "เรดโอเชี่ยน"



แนวคิดใหม่ของนักการตลาดในแบบบลูโอเชี่ยน ก็คือ แทนที่จะมุ่งการแข่งขันโดยแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันอย่างเดียว จับกลุ่มลูกค้าเดิมๆ ทำไมไม่ไปมุ่งเน้นการทำตลาดแบบพัฒนาสินค้า สินค้ามีคุณภาพมากขึ้น และมองหาตลาดใหม่ กลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ และทำการตลาดแบบใหม่คือ การสร้างดีมานด์หรือความต้องการในตลาดแทน "กลยุทธ์นี้ไม่เน้นเรื่องการแข่งขัน ไม่เน้นการเปรียบเทียบกับคู่แข่งแต่เป็นการมองหาตลาดใหม่ๆ มุ่งเน้นในเรื่องของ แวลู (Value) กับ อินโนเวชั่น (Innovation) เป็นหลัก สร้างความแตกต่างไปพร้อมกับกลยุทธ์ราคา และเน้นการมองที่ภาพใหญ่ ไม่มองเรื่องตัวเลข แต่เป็นการมองในองค์รวม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ออกมาต่อต้าน เรดโอเชี่ยน นั่นคือ บลูโอเชี่ยน" หัวใจของการทำ บลูโอเชี่ยน คือ การมองหาสิ่งแปลกใหม่ เป็นการคิดนอกกรอบ โดยไม่เอากรอบความคิดมาเป็นอุปสรรคในการสร้างความแตกต่าง ที่สำคัญคือ เป็นการมองในภาพรวม เน้นการนำเสนอความต้องการสินค้าและบริการ จากความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง แทนที่จะไปเน้นอยู่บนความเคยชินของการทำธุรกิจ นี่คือ หัวใจของการทำบลูโอเชี่ยน ซึ่งเน้นเรื่อง แวลู กับ อินโนเวชั่น

Marketing 3.0 การตลาดยุค 3.0 คืออะไร

ยุคทองเอเชีย จีนพลังขับเคลื่อน

นายศักดิ์ชัย กล่าวว่า ฟิลิป คอตเลอร์ ได้พูดถึงแนวโน้มของการตลาดในเอเชีย ว่า ในศตวรรตที่ 21 นี้ จะเป็นยุคของการตลาดในเอเชีย ไม่ว่าจะดูในด้านอัตราการเติบโตและการพัฒนาเทคโนลียี โดยมีประเทศจีนเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ หลังจากที่ปล่อยให้ยุโรปครอบครองในศตวรรษที่ 19 และอเมริกา เป็นผู้นำในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา โดยในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่า Marketing 3.0 มีการเพิ่มเติมสาระใหม่จาก Legacy Marketing ในยุค 1.0และ 2.0 คือ ครอบคลุมทั้ง Functional Value, Emotional Value และ ต้องเข้าถึง Human Spirit

การตลาดถูกพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจาก Marketing 1.0 คือมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตลาด เน้นหลัก 4Ps เป็นหลัก คือ Product/ Price/ Place/ Promotion พื้นฐานที่ทำให้เกิดการซื้อหรือกระตุ้นตลาด เป็นยุคทองของผู้ผลิต ผู้ขาย คุณค่า เน้นที่ฟังก์ชั่นนอลแวลู่ ส่วน

Marketing 2.0 เรียกว่า STP Segmentation คือการแบ่งตลาดตามกลุ่มเป้าหมาย และการวางตำแหน่งเพื่อครองใจลูกค้า หาจุดเด่นสร้างแรงจูงใจ สร้างตำแหน่งใน customer’s minds ตามด้วย CRM : Customer Relationship Marketing ซึ่งในปัจจุบันได้พูดถึง CEM: Customer Experience Management สร้างเครือข่ายเครือข่ายลูกค้า โดยเฉพาะในยุคสังคมออนไลน์ สร้างความเชื่อใจกันเอง เชื่อใน แบรนด์ และ บริษัท ในยุคนี้ให้ความสำคัญเรื่อง CSR: Corporate Social Responsibility แต่ก็เป็นคนดีของสังคม ยุคนี้เพิ่ม Emotional Value เข้าไปคู่กับ Functional Value

เอเชียผงาดขึ้นทันกระแส Marketing 3.0

สำหรับในยุค Marketing 3.0 ฟิลิป คอตเลอร์ เน้นว่า บริษัทผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสังคมลึกกว่าเดิม ช่วยเหลือสังคม ขจัดความยากจน ป้องกันสิ่งแวดล้อม การคงอยู่ของมนุษยชาติไม่ใช่แค่สโลแกนที่สวยหรู ไม่ใช่แค่ทำ transaction ต้องฝังลึกในรากเหง้า หรือ DNA ของบริษัท Corporate Mission/ Vision /Value จริงจัง ยั่งยืน ตอบสนองต่อจิตวิญญาน ของลูกค้าได้อย่างแท้จริง การตลาดจะไม่แค่มุ่งเน้น การวางตำแหน่งในMind ผู้บริโภค หรือการผูกใจ Heart ผู้บริโภค แต่ต้องเข้าไปถึงจิตวิญญาน Spirit จนเกิดเป็นลัทธิ หรือสถาบัน การตลาดไม่ได้อยู่แค่ Content แต่ต้องมีContext ที่ดีเป็นเครือข่ายกัน ตั้งแต่ ผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกจ้างหรือพนักงาน คู่ค้า พันธมิตรช่องทางจำหน่ายต่างๆ จนถึงผู้ถือหุ้นสร้าง Value ใหม่ได้ SBE Social Business Enterprise บริษัทที่มุ่งหวัง แก้ไขปัญหา สังคมที่ยุ่งเหยิงมีแต่ความขัดแย้ง แก้ปัญหาความยากจน และความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตประจำวันของคนดีขึ้น ผ่านพันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมของบริษัท คุณค่าที่เน้น ในยุคนี้คือ Spiritual Value & Creative Value ให้กับลูกค้า นอกจาก Functional Value & Emotional Value

แนวคิดแบรนด์ใหม่ด้วย 3i Model

การสร้างแบรนด์ในความคิดใหม่ยุค 3.0 ภายใต้โมเดล 3i คือ 1. Brand Identity เน้นสร้างจุดยืนใน customer’s mind เหตุผลว่าแบรนด์ดีอย่างไร แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร 2.Brand Image เน้นภาพลักษณ์ -ประสบการณ์ และ 5 ด้าน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เพื่อสร้างอารมณ์ลูกค้า 3.Brand Integrity คุณงามความดี การสร้างความน่าเชื่อถือ การมีรางวัล หรือมีมาตรฐานการรับรอง การยืนยัน นอกจากพื้นฐานยังมีการทำเพื่อสังคม ประเทศชาติ สิ่งแวดล้อม หรือส่วนรวม ซึ่งโมเดล 3i จะช่วยให้แบรนด์มีการสร้าง 3 มิติ คือ เหตุผล อารมณ์ และจิตวิญญาน มองลูกค้าเป็นคนที่มีจิตวิญญาน ต้องการมีส่วนร่วมทั้งส่วนตัวและสังคม โดยฟิลิป คอตเลอร์ เตือนให้บริษัทรวมทั้งนักการตลาดเตรียมความพร้อม ด้วยแนวคิดที่เรียกว่า A-F Model ประกอบด้วย Activator / Browser / Creator / Developer / Executor / Financier ที่จะถูกเปิดตัวให้เห็นในเร็วๆนี้


การทำการตลาด/ประชาสัมพันธ์แนวใหม่ นิยมหรือเน้นไปที่ Below the Line มากกว่า

Below the Line Marketing คืออะไร

เป็นเครื่องมือของการโฆษณาที่ไม่ใช้วิธีการในการโฆษณาในรูปแบบเดิม แต่ใช้กิจกรรมการตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ให้ความรู้สึกว่า “touch and feel” ในตัวสินค้าได้มากกว่า การทำตลาดแบบเดิม เป็นการสื่อสารโดยไม่ได้ใช้สื่อเป็นตัวหลัก อาทิ เช่น การจัดกิจกรรมทางการตลาด(Event Marketing) การไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับกิจกรรมหรืองานอะไรบางอย่าง telemarketing การประชาสัมพันธ์สินค้า การส่งเสริมการขาย การตลาดแบบขายตรง เป็นต้น


บทความ Return on Design Investment” ดัชนีชี้วัดงานออกแบบที่คุณ “ออกแบบ” ได้
(คัดลอกจากบทความของคุณชัชรพล เพ็ญโฉม February 10, 2011)

เพื่อนนักประชาสัมพันธ์ของผมเคยเล่าให้ฟังว่า วิธีการวัดความคุ้มค่าของข่าว PR ให้เห็นเป็นรูปธรรมวิธีหนึ่งก็คือ การวัดข่าวที่ได้ลง (ฟรี) ในหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร “เป็นตารางนิ้ว” นำไปเทียบกับอัตราค่าโฆษณาแล้วคำนวณเป็นตัวเงินว่า หากต้องซื้อพื้นที่โฆษณาจะต้องใช้เงินจำนวนเท่าไร จากนั้นจึงทำรายงานสรุปให้เห็นข้อดีของข่าว PR ทีละประเด็น เช่นว่า ข่าว PR ช่วยประหยัดงบโฆษณาได้เท่าไร (cost-effectiveness) มีประสิทธิภาพและความถี่ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน (reach and frequency) ความสัมพันธ์ของสื่อที่มีต่อเจ้าของสินค้าหรือองค์กรเป็นอย่างไร (media relations) เป็นต้น

ในยุคปัจจุบันที่การทำโฆษณาแบบ above the line (ซื้อเวลาหรือพื้นที่จากสื่อโดยตรง) เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้น้อยลงเรื่อยๆ ทั้งเอเจนซี่โฆษณาและเจ้าของสินค้าต่างหันมาพึ่งการประชาสัมพันธ์และการทำโฆษณาแบบ below the line (การจัดอีเว้นท์และกิจกรรมต่างๆ) มากขึ้น ขณะเดียวกัน การหั่นงบโฆษณาเพื่อนำเงินมาใช้ปรับปรุงตัว “โปรดักส์” ใหม่ เช่น การปรับรูปร่างหน้าตาสินค้า (product features) การเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้ง ฯลฯ ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่บรรดาเจ้าของสินค้าเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้

อย่างไรก็ดี เมื่อ “การออกแบบ” ถูกนำมาใช้เป็น “อาวุธลับ” (แทนการโฆษณา) คำถามที่เกิดขึ้นทั้งต่อนักการตลาด เจ้าของสินค้า หรือแม้แต่นักออกแบบเอง ก็คือ “เราจะใช้เครื่องมือชนิดใดเป็นดัชนีชี้ว่าเม็ดเงินที่ทุ่มลงไปกับการออกแบบนั้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่า?”

ตามปกติ นอกจากส่วนแบ่งทางการตลาดและยอดขายแล้ว การวัด “ผลตอบแทนจากการลงทุน” (Return on Investment—ROI) ให้เห็นเป็นรูปธรรมนั้น “เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก” เนื่องจากมีปัจจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องหลายประการ การวัดผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการออกแบบ (Return on Design Investment—RDI) ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากไม่ต่างกัน เนื่องจากมีตัวแปรแฝงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ในการออกแบบแพ็คเกจจิ้งใหม่ให้กับโปรดักส์สักชิ้น ค่าใช้จ่ายเรื่องวัสดุ กระบวนการผลิต การขนส่ง ฯลฯ ถือเป็นตัวแปรสำคัญหนึ่งที่จะทำให้การลงทุนด้านการออกแบบครั้งนั้นคุ้มค่า หรือประสบผลสำเร็จหรือไม่

ในการวัด RDI จึงอาจต้องเริ่มที่การนิยาม “ดัชนีชี้วัด” ให้ชัดเจนก่อน เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

1. “ผลตอบแทน” คืออะไร?

ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ “ยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาด” เพราะนอกจากจะหมายถึงเม็ดเงิน เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ายอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นเป้าหมายสูงสุดของเจ้าของสินค้า แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้สองข้อข้างต้นก็คือ “ผลตอบแทนที่เป็นนามธรรม” อย่างเช่น ความตระหนักในแบรนด์สินค้า (brand awareness) การรับรู้ของสาธารณชนต่อแบรนด์และสินค้า (public perception) ซึ่งมีผลต่อการกำหนดทิศทางของแบรนด์และตัวสินค้าในอนาคตด้วย อย่างไรก็ดี ดัชนีชี้วัดบางประเภทสามารถใช้วัด “ผลตอบแทนที่เป็นนามธรรม” ได้ ยกตัวอย่างเช่น อายุของแบรนด์ที่ยาวนานขึ้น ความรู้สึกของคนที่มีต่อแบรนด์เมื่อเทียบกับคู่แข่ง ความสำเร็จในการยอมรับและเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค เป็นต้น

2. “การลงทุน” คืออะไร?

การลงทุนทางด้านการออกแบบไม่ได้มีแค่ “ค่าจ้าง” (Design Fees) เพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ต้นทุนด้านวัตถุดิบ ต้นทุนด้านกระบวนการผลิต ต้นทุนด้านเวลาที่ใช้การผลิต ฯลฯ

ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่นักออกแบบต้องคำนึงถึงก็คือ การออกแบบไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพียงแค่เพื่อปรับรูปโฉมสินค้าให้มีความสวยงามขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องสร้าง “คุณค่า” (value) ให้กับสินค้านั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อที่ว่า “คุณค่า” นั้นจะได้ถูกส่งต่อไปยังผู้บริโภค ดังที่ Jonathan Davies, director of Butterfly Cannon, a packaging design consultancy ได้กล่าวไว้ใน http://www.designcouncil.org.uk/ ว่า “Designers should embrace a commercial way of talking to clients, We’re not employed just to make things beautiful, but to create value in the object we’re working on so that value can be sold on to consumers. Clients are not investing in the arts [when they commission designers].”

วิธีการทดสอบว่า “ความงามขายได้หรือไม่” คือการเทียบตัวโปรดักส์ที่ออกแบบมาใหม่กับของเก่า ซึ่งแม้จะเพิ่มต้นทุนทั้งด้านค่าใช้จ่ายและเวลา แต่มันจะช่วยให้นักออกแบบเห็นว่า โปรดักส์รูปแบบใหม่นั้นเวิร์คหรือไม่ (โดยไม่มีปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายหรือการโฆษณาเข้ามาเป็นตัวแปรในการทดสอบ)

ตัวอย่างของการทดสอบวิธีนี้คือ การออกแบบร้านค้ารูปแบบใหม่และเปิดควบคู่ไปกับร้านรูปแบบเดิมที่ยังคงให้บริการอยู่ แล้วใช้ยอดขาย จำนวนลูกค้า ฯลฯ เป็นดัชนีชี้วัด อีกตัวอย่างของการทดสอบที่คล้ายคลึงนี้คือ การทดลองแบ่งร้านเป็น 2 ร้านคือ “measuring store” กับ “control store” โดยให้แต่ละร้านมีการควบคุมตัวแปรด้านประชากรศาสตร์ (เพศ อายุ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ) ของลูกค้าให้คล้ายคลึงกัน ในเดือนแรก วางโปรดักส์ที่มีแพ็คเกจจิ้งแบบเดิมทั้งสองร้าน จากนั้นในเดือนที่สอง วางโปรดักส์ที่มีแพ็คเกจจิ้งแบบใหม่ในร้าน “measuring store” (โดยไม่มีกิจกรรมทางการตลาดใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง) แล้วจึงประเมินผลว่าตลาดให้การตอบสนองต่อแพ็คเกจจิ้งแบบใหม่ (ซึ่งเป็นผลจากการออกแบบล้วนๆ) อย่างไรบ้าง เป็นต้น

จากการสำรวจของ Design Council ประเทศอังกฤษพบว่า ธุรกิจที่ทำ RDI มีผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วงระยะ 3 ปี ยกตัวอย่างเช่น Innocent Drink’s ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 100% และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 0.4% เป็น 4.1% Aqualisa ผู้นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ในห้องน้ำเป็นเจ้าแรก สร้างยอดขายกว่า 300 ล้านปอนด์ในระยะเวลาเพียง 4 ปี Morrisons’ supermarket ที่ปรับปรุง visual identity ของร้านใหม่ ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มจาก 11.1% เป็น 11.6% และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทถึง 350 ล้านปอนด์ เป็นต้น

เมื่อคุณรู้แล้วว่าการออกแบบสามารถเป็น “เครื่องมือที่ทรงพลัง” ให้ธุรกิจได้เช่นนี้ คุณผู้อ่านท่านใดที่อยู่ในฐานะ “นักออกแบบ” หรือ “บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ” ก็อย่าได้รอช้า เพราะงบปีหน้าของลูกค้าอาจจะไปตกอยู่ที่การโฆษณา ที่กิจกรรมการตลาด หรืออาจจะเทมาให้ “การออกแบบ” ล้วนๆ ก็ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับทัศนคติและฝีมือของคุณครับ

เรียบเรียงข้อมูลจาก : http://www.designcouncil.org.uk/about-design/Measuring-design/





Marketing Return ว่าด้วยการกำหนดเป้าหมายและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์

Marketing Return ว่าด้วยการกำหนดเป้าหมายและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์


จุดเริ่มต้นของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ เปิดตัวสินค้าใหม่ หรือวางแผนทำการตลาดให้กับสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง กระบวนการที่สำคัญต่อมาหรือต้องคิดมาพร้อมๆกับการวางคอนเซ็ปต์ของตัวสินค้าก็คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 อย่างด้วยกันที่เรียกว่า STP (Segmentation,Target Group,Positioning) ก็คือพิจารณาเซ็กเม้นท์หรือลักษณะของลูกค้ากลุ่มต่างๆ ซึ่งอาจจำแนกตามอายุ เพศ การศึกษา รายได้ อาชีพ พฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ ภูมิศาสตร์ของที่ตั้ง เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ระดับชั้นทางสังคม เป็นต้น หลังจากนั้นกำหนดกลุ่มเป้าหมายของสินค้า ว่าลูกค้ากลุ่มนี้แหละที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราจะเลือกทำตลาด หรือเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าเฉพาะเจาะจงที่จะใช้หรือซื้อสินค้าของเราแน่ เพื่อเราจะได้วางแผนทำการตลาด ออกแคมเปญการตลาดให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ จากนั้นจึงวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของเราให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และให้สอดคล้องกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย ขั้นตอนของการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์นี้แหละสำคัญที่สุด และก็เป็นงานยาก เพราะว่าหากเราวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายไม่ชัดเจน หรือไม่ตรงกับสินค้าที่แท้จริง อาจทำให้การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ไม่ได้ผล ผลที่ได้รับอาจจะคลาดเคลื่อน ผิดฝาผิดตัว ตำแหน่งทางการตลาดที่เราวางเอาไว้อาจไปสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ใช่เป้าหมายที่เราต้องการจะเลือกก็เป็นไปได้ ตัวอย่างของกรณีนี้ก็คือ กระทิงแดงเมื่อครั้งไปทำตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เคย position หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายเอาไว้เป็นผู้ใช้แรงงาน แต่ภายหลังมาทราบว่า สถานบันเทิง และนักท่องเที่ยว ตลอดจนนักกีฬา ซื้อไปเป็นส่วนผสม mixer เครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มรสชาด และความแรงของเครื่องดื่ม จึงต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ แล้วก็ขายดิบขายดี อีกตัวหนึ่งก็คือ น้ำดื่มกึ่งยาสมุนไพรอุทัยทิพย์ ซึ่งเดิมทีเป็นหัวเชื้อเครื่องดื่มที่ใช้ชงในน้ำดื่ม มีสรรพคุณช่วยให้กระชุ่มกระชวย มีกลิ่นแบบไทยๆ มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์แบบ mass แต่ภายหลังมาทราบว่ามีวัยรุ่น เด็กหญิงไทย นิยมซื้อไปทาริมฝีปากให้ปากสีแดงเรื่อๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความ fresshy ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เพิ่ม segment การตลาด และ focus กลุ่มเป้าหมายใหม่ วางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ จนได้ตลาดกลุ่มใหม่ขึ้นมาแบบไม่คาดคิด

จากนั้นจึงสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ อะไรคือจุดขายที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ การสร้างความแตกต่างของตัวสินค้า สามารถทำได้ 3 แบบ คือ 1.สร้างความแตกต่างในด้านตัวผลิตภัณฑ์ เป็นนวัตกรรมใหม่ ประดิษฐ์กรรมใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดหรือในโลก อาทิ การผลิต จอทีวีแบบบาง (LCD,LED) หรือ 3มิติ 2.สร้างความแตกต่างในแง่การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ หรือแนวความคิดใหม่ การต่อยอดจากของเดิม เช่น โทรศัพท์ smartphone อย่าง i-phone, เครื่องฟังวิทยุ i-pod , tablet อย่าง i-pad 3.การสร้างความแตกต่าง ด้วยยุทธวิธี รูปแบบการนำเสนอแบบใหม่ วิธีใหม่ การตลาดแบบใหม่ เช่น สายการบินต้นทุนต่ำ Vergin Airline , Thai airasia , TV direct ,ร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ เป็นต้น

Brand Awareness สร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์ ว่าสิ่งที่เป็นคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ สารที่เราส่งไปตรงกับความรู้สึกนึกคิด หรือการตระหนักรู้ (Perception) หรือการรับรู้ ความเข้าใจของลูกค้าหรือไม่ ถ้าตรงกันก็ต้องถือว่า การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และการกำหนดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของเราถูกต้องแล้ว แต่หากว่าไม่ตรงกัน ก็ย่อมแสดงว่า คุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ที่เราส่งออกไปหรือส่งมอบมานั้น ลูกค้าเห็นไม่ตรงกับเรา เขาอาจให้คุณค่าที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าที่เราตั้งไว้ก็เป็นได้ ซึ่งย่อมมีผลต่อการที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อตัวผลิตภัณฑ์นั้นก็ได้ ตัวอย่างของ message ที่แบรนด์ชั้นนำสร้าง กำหนด และสื่อออกไป แล้วลูกค้ารับรู้ ตระหนักรู้และยอมรับใน message นั้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ Volvo กับ ความปลอดภัย , BMW กับ อิสระของการขับขี่ ,ผลิตภัณฑ์น้ำดำ เป๊ปซี่ เป๊ปซี่เต็มที่กับชีวิต,โค้ก คอโค้กคอเดียวกัน , ร้านสะดวกซื้อ 7-eleven หิวเมื่อไร ก็แวะมา, ร้าน S&P มีแต่ของอร่อย เป็นต้น



เราคืออะไรในใจลูกค้า  เราเป็นอะไรในใจลูกค้า และลูกค้าของเราคือใคร

ลูกค้าของเราคือใคร (บทความนี้ถอดความ/คัดลอกจาก k-sme care ธ.กสิกรไทย)


โดยเฉพาะ smeอย่างพวกเรา เจ้าของก็คงต้องพบกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจมากมายและบางครั้งก็ต้องตัดสินใจกับเรื่องสำคัญมากๆ ที่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนขององค์กรเลยก็ว่าได้

มีปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้นๆ สิ่งที่เราควรคำนึงถึงมากที่สุดคืออะไรสำหรับผมแล้ว ก็คือ ลูกค้า นั่นเองPeter F.Drucker ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารจัดการของโลกได้กล่าวไว้ว่า คำถามที่เราควรจะต้องถามตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ คือ

1.ธุรกิจของเราคืออะไร?

2.ลูกค้าของเราคือใคร?

3.ลูกค้าเห็นคุณค่าอะไรในธุรกิจของเรา...

เจ้าของธุรกิจนั้นต้องเป็นผู้กำหนดว่าสินค้าและบริการของเราสร้างมาเพื่อใคร สามารถจินตนาการและมองเห็นเป็นภาพได้ว่าลูกค้าที่เดินมาซื้อสินค้าของเรานั้นคือใครเพศไหน อายุเท่าไหร่ บุคลิก ไลฟ์สไตล์เป็นอย่างไร การจินตนาการ มองเห็นเป็นภาพนั้นทำให้เราพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุดยิ่งภาพนั้นชัดเจนเท่าไหร่ แผนที่ในการดำเนินธุรกิจของเราก็ชัดขึ้น เท่านั้น แผนธุรกิจของเราก็จะต้องพัฒนาดำเนินไปเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ในทุกๆ เรื่องทั้งเรื่องของการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายของเราก็ชัดเจนและตรงกลุ่มมาก ที่สุด

การพัฒนาสินค้า ซึ่งหมายถึงในหลายๆ ด้านไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้กรอบ ตรากรีนเดย์ ของเรา ที่เมื่อกำหนดลูกค้าเป้าหมายชัดเจนแล้วก็ต้องพัฒนาสินค้า ทั้งในด้าน บรรจุภัณฑ์ รสชาติ ราคา ขนาดบรรจุ ประเภทสินค้า ขั้นตอนและรายละเอียดในการผลิตเราต้องพัฒนาคุณค่าโดยรวม ของสินค้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าของเราให้ได้มากที่สุด

ลูกค้าจะซื้อสินค้าเราโดยดูจากคุณค่าโดยรวมที่จะได้รับการพัฒนาคุณค่าโดยรวมในหลายๆด้านนี้ ต้องอาศัยภาพ ลูกค้าของเราที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นเราก็คงไม่สามารถพัฒนาสินค้าในด้านต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้หรือแม้กระทั่งการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและ บริการ ความแตกต่างนั้นเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือไม่ลูกค้าเห็นคุณค่าของความแตกต่างนั้นหรือไม่หรือเป็นแค่สิ่งที่เรา คิดว่าต่างเมื่อเรารู้แล้วว่าลูกค้าของเราคือใครสิ่งต่อมาที่ต้องคำนึงก็คือลูกค้าเห็นคุณค่าอะไรในธุรกิจของเราคุณค่าได้ที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับสินค้าของเราอาจจะเป็นเรื่องของ ราคา รสชาติ สุขภาพที่ดีเมื่อรับประทาน ไลฟ์สไตล์ การบริการ และอื่นๆ

เราจะต้องรักษา และพัฒนาคุณค่านั้นๆให้ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์กรีนเดย์ เราก็พยายามที่จะรักษาคุณค่าที่ลูกค้าของเราให้ความสำคัญ และพยายามพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ คุณค่าที่ว่านั้นก็คือการที่ลูกค้าได้บริโภคขนมเพื่อสุขภาพ ที่มี รสชาติดี ในราคาที่เหมาะสมเมื่อเราสามารถเอาชนะใจลูกค้าได้ ให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างจริงใจและต่อเนื่อง ความสำเร็จก็คงอยู่ใกล้แค่เอื้อม



ข่าวสาร SMEK-SME Analysisกลยุทธ์ SMEK SME Inspiredเรื่องเล่าชาว SMEK-Smart SMESAEC

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระแส BB,GG กับ dance music ใครปลุกใครมาก่อนกัน


อันสืบเนืองมาจากการนั่งชมพิธีปิดการแข่งขันโอลิมปิก 2012 ที่ลอนดอนเกมส์ ที่เพิ่งจะปิดฉากจบการแข่งขันไปหมาดๆ ไฮไลท์ของพิธีปิดการแข่งขันที่ทำให้ผู้เขียนตั้งข้อสังเกต ก็คือ การนำเอาวงที่เคยเป็นไอด้อลในตำนานของอังกฤษ หรือเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษ มาร่วมในพิธีปิดหลากหลายศิลปิน หลากหลายวง 1ในจำนวนนั้นคือพวกวงบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป ยอดนิยมในอดีต ไม่ว่าจะเป็น Take That, Spice Girl , Duran Duran และวงที่กำลังฮ็อตอยู่ในเวลานี้อย่าง One Direction ไม่รู้ว่ากระแสบอยแบนด์ของฝั่งตะวันตกจะกลับมาฮิตอีกหรือไม่ ภายหลังเริ่มซาลงไปในยุคช่วงปี 2000 แต่กระแสวงบอยแบนด์ กับเกิร์ลกรุ๊ป กลับไปฮิตและเป็นที่นิยมในฟากฝั่งตะวันออกอย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และแม้กระทั่งในบ้านเรา ซึ่งอีกกระแสนึงที่กำลังตีคู่กันมาก็คือ กระแส Cover Dance หรือ Flash Mob หรือแก็งค์เต้น บางทีก็คล้ายพวกทีมเชียร์ลีดเดอร์หรือ ปอมๆ เกิร์ล ปอมๆ บอย กระแสพวกดนตรีเต้นรำ มันกลับมาใหม่ในยุคนี้ สังเกตจากกระแสการตอบรับของคอนเสิร์ตพี่เจ เจตริน (J 20 anniversary concert) เปิดแสดงถึง 4 รอบ ก่อนหน้านั้นคอนเสิร์ต 20 ปี คริสติน่า ก็กระแสตอบรับดี,คอนเสิร์ต แร็ปเตอร์ รียูเนี่ยน ,คอนเสิร์ตลิฟต์ออย เมื่อเร็วๆนี้ ก็ใช่ และที่กำลังจะตามมาอย่างเจมส์ และก็อีกหลายเบอร์ ,กระแสฟีเวอร์ของฮั่นเดอะสตาร์ ซึ่งเป็นอดีตแดนเซอร์มาประกวดเวทีเดอะสตาร์ ก็สามารถสร้างกระแสคลั่งไคล้ในหมู่แฟนคลับเดอะสตาร์ไม่น้อยเลย หรือเป็นความแปลกใหม่ของพวกเวทีประกวดร้องเพลงก็ไม่ทราบ หรือแม้กระทั่ง ภ.Step Up 4 (3D) ก็สร้างกระแสยอดรายรับถล่มทลาย กลายเป็นภาพยนตร์เพลงเต้นรำที่ทำรายได้สูงทีสุดเท่าที่เคยมีมา ชนะ Step Up ทุกภาค และภาพยนตร์เต้นรำทุกเรื่องที่เคยเข้าฉายในบ้านเรา นี่ย่อมมีนัยยะอะไรบางอย่างที่บอกเราว่า กระแสการเต้นรำในหมู่แฟนคลับ คนดู ผู้บริโภคทั่วไป ไม่ว่าจะคนรุ่นใหม่หรือคนรุ่นเก่า เริ่มกลับมาให้ความสนใจกับดนตรีเต้นรำ หรือแนวเพลงเต้นรำหรือเปล่า พวกค่ายเพลงเขาจับกระแสเหล่านี้ได้หรือเปล่า ทำไมเห็นมีแต่วงบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป ชุกชุมอยู่แต่ในค่าย Kamikaze ฝั่งลาดพร้าว แต่ทำไมค่ายใหญ่ยักษ์อย่าง Gmm Grammy ฝั่งอโศก ไม่ค่อยได้ปั้นวงบอยแบนด์หรือเกิร์ลกรุ๊ปออกมาเลยในช่วงหลังๆ มานี้ หรือว่าแกรมมี่ไม่ถนัดงานปั้นศิลปินที่เป็นลักษณะบอยแบนด์ เกิรล์กรุ๊ป ในรูปแบบการเต้นรำก็ไม่รู้ เพราะล่าสุดเท่าที่เห็นก็เป็นวง B.O.Y (ซึ่งแยกวงไปแล้ว) กับ วง Olive เท่านั้น

“บอยแบนด์ คือวงดนตรีแนวป็อปหรือฮิปฮอป ที่ประกอบด้วยคน 3 คนขึ้นไป หรือกลุ่มนักร้องชายล้วน เช่น เทค แดท, นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก เป็นต้น สมาชิกแต่ละคนมีความสามารถในการร้อง การเต้น และร้องเพลงที่อยู่ในกระแสหลัก และมีการแต่งตัวที่นำกระแสแฟชั่น ส่วนใหญ่สมาชิกของวงจะมาจากการออดิชั่น โดยผู้จัดการวงหรือโปรดิวเซอร์เพลง พวกเขาอาจมีทักษะในการร้อง การเต้น การแร็ป โดยส่วนมากสมาชิกจะอยู่ที่ 3 ถึง 6 คน เมอริซ สตารร์ มักจะถูกยกเครดิตว่าเป็นคนเริ่มต้นในการปั้นวงบอยแบนด์ อย่างวงนิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก โดยสตารร์ได้เคยปั้นวงเด็กอย่างวงนิว อีดิชั่น (วงวัยรุ่นผิวสี) และได้ปรับมาลองกับกลุ่มนักร้องเพลงในแนวป็อป สูตรนี้ มีผู้จัดการวงในยุโรปได้นำมาใช้เช่น ไนเจล มาร์ติน สมิธ (Nigel Martin-Smith) และ หลุยส์ วอลช์ (Louis Walsh) หากย้อนไปในอดีตในสมัยยุค 60-70 โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ เบิร์ต ชไนเดอร์ (Bert Schneider) และ บ๊อบ ราเฟลสัน (Bob Rafelson) ได้สมาชิก 4 คนเพื่อแสดงทางรายการโทรทัศน์ เดอะ มังกีส์ ก็สามารถถูกจำกัดความว่าเป็นวงบอยแบนด์ในยุคแรกๆได้ วงเดอะ มังกีส์เริ่มก่อตั้งวงในปี 1965 และยุบวงไปในที่สุดในปี 1970 ต่อมาก็มีวงชายล้วนที่ได้รับความนิยมในยุค 60 อย่าง เดอะ บีทเทิลส์, เดอะ บีช บอยส์, บีจีส์, เดอะ แจ็คสัน ไฟฟ์, ดิ ออสมอนด์ส เป็นต้น และในปี 1977 ก็มีการฟอร์มวงบอยแบนด์แนวละติน คือวง Menudo ในช่วงต้นถึงปลายยุค 90 ซึ่งเป็นช่วงที่บอยแบนด์กำลังรุ่งเรือง ได้มีวงบอยแบนด์ประสบความสำเร็จหลายวงด้วยกัน เช่น เทค แดท, บอยโซน, แบ็คสตรีท บอยส์, เอ็นซิงค์ และ เวสท์ไลฟ์ ซึ่งทุกวันนี้บอยแบนด์เริ่มมีความคล้ายคลึงกับวงบอยแบนด์ในยุค 60 คือสมาชิกในวงสามารถเล่นดนตรี เขียนเพลง แต่งเพลงได้ เช่น วงบัสเต็ด และ แมคฟลาย เป็นต้น” (ข้อความดังกล่าว อ้างอิงจาก วิถีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์)



ฝั่งอังกฤษ วง BB,GG มี 2 รูปแบบก็คือที่เป็นวงดนตรี สมาชิกทุกคนเล่นดนตรีคนละ 1 ชิ้น มีนักร้องนำของวง เช่น วงเดอะบีทเทิ่ลส์ ,วงดูแรนดูแรน ,วงแวม เป็นต้น กับที่เป็นวงในลักษณะขายรูปลักษณ์ เน้นการร้องเพลง และลีลา ท่าเต้น หรือเน้นเต้นเป็นจุดขาย เช่น วง เทคแดท ,บอยโซน ,บลู ,เวสท์ไลฟ์ , สไปซ์เกิรล์ , อะตอมมิค คิทเช่น และ วัน ไดเรคชั่น

ฝั่งอเมริกา วง BB,GG ก็มี 3 รูปแบบ ก็คือเป็นวงดนตรีเล่นดนตรีสดทุกชิ้น ,วงร้องและเต้นเป็นจุดขาย และเพิ่มรูปแบบที่ 3 ก็คือ เป็นนักร้องผิวสี เน้นร้องประสานเสียง แนว R&B หรือ แนว Hip-Hop วงในกลุ่มแรก ก็เช่น พวกเดอะบีชบอย,บีจีส์ ,อีเกิ้ล ,มารูนไฟว์ ไฟว์ฟอร์ไฟท์ติ้ง วงในกลุ่ม 2 ก็พวก แจ็คสันไฟว์ ,นิวคิดส์ออนเดอะบล็อก, แบ็คสตรีทบอยส์ ,เอ็นซิงค์  วงในกลุ่ม 3 (ผิวสี) เช่น ออลโฟร์วัน ,บอยส์ทูเม็น , เดสตินี่ไชด์ เป็นต้น  ยังมีอีกรูปแบบนึงที่ไม่รู้จะจัดเข้าเป็น BB,GG ด้วยหรือไม่ คือลูกผสม คือมีทั้งหญิงชายอยู่ในกลุ่ม อาทิ วง Bonny M,  Black Eyed Pea  (และวง Bazoo ของไทย) 




เกาหลี วง BB, GG ส่วนใหญ่จะขายรูปลักษณ์ หน้าตา ท่าเต้น หรือเน้นจุดขายเรื่องการเต้นรำ ไล่มาตั้งแต่ SJ, SNSD, TVXQ, 2PM, 2AM, BabyVox,Wonder Girl, T-ara, BigBang, ShiNee, Infinite, Mblaq, Beast, Exo –K,Exo-M, Nu’est เป็นต้น ที่เล่นเป็นในรูปวงดนตรี เช่น cn blue



บ้านเรา (พี่ไทย) วง BB,GG ก็แบ่งเป็น 2 รูปแบบเช่นกัน คือ ที่รวมกันเป็นวงเล่นดนตรีสด ทุกชิ้น เช่น วงสตริงคอมโบ้ ,วงชาโดว์ ต่างๆ กับที่เป็นทีม,แก๊งค์ เต้นรำเน้นขายรูปลักษณ์หน้าตาและการเต้นที่แข็งแรง พร้อมเพรียง วงในลักษณะนี้ในอดีต อาทิเช่น ทิคแท็คโท ,ยูโฟร์, ไฮแจ็ค ,ดร.คิดส์, ,บอยสเก๊าต์,,ซาซ่า,บับเบิ้ลเกิร์ล,,ทีสเกิร์ต,,ไชน่าดอลล์และ 2002 ราตรี, ดีทูบี, ยูเอชที, เอ็กซ์แอลสเต็ป, ดราก้อนไฟว์ เป็นต้น ถ้าเป็นรุ่นปัจจุบันก็ศิลปินในสังกัดกามิกาเซ่ อาทิ ไนซ์ทูมีทยู ซีควินซ์, เคโอติค,รุกกี้บีบี เฟย์ฟางแก้ว  เป็นต้น



ผู้เขียนคิดว่า ผู้ที่ปลุกกระแสวง BB,GG และกระแสเพลง Dance Music ให้กลับมาคึกคักในบ้านเรา ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือ K-Pop นั่นเอง  เพราะกระแสวง BB,GG ที่ดังในระดับโลกนั้นเดิมที่มาจากฝั่งอังกฤษและอเมริกานั่นแหละ และก็ถึงจุดอิ่มตัวช่วงยุคปี 90's พอเข้าสู่ยุค 2000 ก็กลายเป็นฝั่งเอเซียที่ผงาดขึ้นมา นับตั้งแต่ ญี่ปุ่น(Johnny Junior)  ไต้หวัน (4 หนุ่ม F4)  เกาหลี ก็ตั้งแต่กระแส Korean Wave ตั้งแต่วงแรก ๆ ที่มาเปิดตัวในบ้านเราก็พวก BabyVox, Super Junior, Seven เป็นต้น จากนั้นศิลปินของทางเกาหลีก็เข้ามาตีตลาดทั่วเอเซียด้วยหัวหอกอย่าง Wonder Girl , Rain และก้ตามมาด้วยศิลปิน BB,GG อีกเป็นร้อยวง จวบกระทั่งจนบัดนี้ก็ไปตีตลาดโลกด้วยการไปบุกตลาดอเมริกาและยุโรป ด้วยศิลปินที่เป็นหัวหอกนำร่องอย่าง WonderGirl , Girl Generation ,BigBang ,Rain และที่กำลังจะตามมาอีกมาก แต่จะประสบความสำเร็จบ้างหรือไม่ก็ต้องรอการพิสูจน์ต่อไป แต่ในบ้านเราต้องถึอว่า Korea ครองเมืองมา 5-6 ปีแล้ว และก็ถือว่าสร้างโมเมนตัมได้ในระดับเดียวกับเพลงจากอเมริกาและอังกฤษ แม้ว่าจะไม่สามารถยึดครองตลาดไทยได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ก็กลายเป็นดนตรีอีกแนวเพลงนึงที่คนไทยนิยมฟังกัน และติดตาม คงต้องรอดูต่อไปว่าค่ายเพลงในเมืองไทยจะตั้งรับและรุกกลับได้หรือไม่ และอย่างไรต่อไป   



วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Asiatique The Riverfront สถานที่แฮ้งค์เอ้าท์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ (รวมสุดยอดชิม ชม ช็อป แชะ)

ASIATIQUE The Riverfront โครงการไลฟ์สไตล์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก แลนด์มาร์คล่าสุดของกรุงเทพฯ บนเนื้อที่กว่า 72 ไร่ ของถนนเจริญกรุง จุดเริ่มต้นของการเปิดประตูสู่การค้าขายกับนานาชาติ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่พร้อมจะกลับมาเป็น “ทำเลทองของการค้าขาย” อีกครั้ง จุดเด่นของเอเชียทีค คือ มีความร่วมสมัย ที่ครบครันและตอบรับทุกไลฟ์สไตล์ ได้อย่างลงตัว จากร้านค้ากว่า 1,500 ร้าน อีกทั้งยังตั้งอยู่ในทำเลที่สวยงาม คือริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถเดินทางได้สะดวก ทั้งทางรถยนต์ เรือโดยสาร รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS) รถไฟฟ้า เอ็มอาร์ที (MRT) พร้อมที่จอดรถกว่า 2,000 คัน ทำให้ที่นี่จะเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ และเอเชีย


โดยที่มาที่ไปของสถานที่แห่งนี้คือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งตรงกับยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประเทศในแถบทวีปเอเชียถูกรุกราน โดยชาติมหาอำนาจจากยุโรป และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงทรงตัดสินพระทัยเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรเดนมาร์ก พร้อมกับการก่อกำเนิดท่าเรือของบริษัท อีสท์ เอเชียติก ซึ่งมีนายฮันส์ นิลล์ แอนเดอร์เซน ชาวเดนมาร์กเป็นเจ้าของ เพื่อการค้าไม้สักไปต่างประเทศ จึงสร้างท่าเรือขนถ่ายสินค้าขึ้น ณ ท่าเรือแห่งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของประตูการค้าสากลระหว่างสยามประเทศและยุโรป เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้สยามดำรงความเป็นเอกราชมาจนปัจจุบัน ในวันนี้ ณ ผืนแผ่นดินเดิม อันเป็นที่ตั้งของท่าเรือ อีสท์ เอเชียติก ได้ถูกเนรมิตให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง ภายใต้ชื่อ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ “ASIATIQUE The Riverfront” โครงการไลฟ์สไตล์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แลนด์มาร์คใหม่ล่าสุดของกรุงเทพมหานครให้ทุกคนได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมกันในตอนนี้นี่เอง เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ถือกำเนิดขึ้น ภายใต้แนวคิด Festival Market and Living Museum แหล่งท่องเที่ยวและไลฟไสตล์ช้อปปิงริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เป็นพื้นที่ซึ่งได้ออกแบบให้พร้อมด้วยองค์ประกอบหลากหลาย เพื่อรองรับและเติมเต็มความต้องการของนักท่องเที่ยวและคนหลากหลายกลุ่มได้อย่างครบครัน โดยแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

ย่านเจริญกรุง ประกอบไปด้วย ร้านขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวและสินค้าของตกแต่งบ้าน ที่สวยงามหลากหลาย อีกทั้งยังมีโรงละคร ที่รองรับผู้ชมได้กว่า 400 ที่นั่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมไทย กับหุ่นละครเล็ก โจหลุยส์ หรือโชว์สุดอลังการจากคาลิปโซ่ รวมถึงร้านอาหารชั้นนำ

ย่านกลางเมือง เป็นลานจัดกิจกรรมกลางแจ้ง และโซนอาหารนานาชาติ ที่รวบรวมอาหารขึ้นชื่อจากประเทศต่างๆ ในบรรยากาศง่ายๆ สบายๆ พร้อมรื่นเริงไปกับ เครื่องดื่มและเบียร์เย็นๆ ที่ Asia House

ย่านโรงงาน เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์แห่งใหม่บนถนนเจริญกรุง ที่รวบรวมร้านอาหาร ผับและร้านค้ามีสไตล์มากมาย ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจหลังเลิกงาน พรั่งพร้อมไปด้วยสินค้าแฟชั่นและของประดับตกแต่ง ให้เลือกซื้ออย่างจุใจ ในบรรยากาศสนุกสนานยามค่ำคืน

ย่านริมน้ำ ดื่มด่ำไปกับบรรยากาศแบบพาโนราม่า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยทางเดินริมแม่น้ำที่ยาวกว่า 300 เมตร พบกับร้านอาหารมีระดับ มากมาย ทั้งอาหารญี่ปุ่น อิตาเลี่ยน ไทย จีน และซีฟู้ด

แผนที่แสดงที่ตั้งและการเดินทาง

การเดินทางที่นี่มาได้หลายทางครับจะมาทางรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีตากสิน แล้วที่ท่าเรือจะมีเรือรับส่งของ ASIATIQUE The Riverfront รับส่งมาที่นี่ตลอดครับ ไม่ถึง 5 นาทีก็ถึงแล้วหรือจะขับรถมาเองก็ได้ครับอยู่ระหว่าง เจริญกรุง 72 และ 74 ใหญ่มากสังเกตได้ง่ายจะมีลานจอดรถให้ด้านในเลยและฝั่งตรงข้ามก็เปิดให้จอดได้นะครับเลือกตามสะดวกตามเส้นทางครับ (ขอบอกว่ารถจะติดสุดๆเลยครับสำหรับท่านที่นำรถมาต้องทำใจในเรื่องนี้้ด้วยนะครับ)


เวลาเปิดบริการ : 17.00 น.- 24.00น.

ที่ตั้งโครงการ : 2194 ถนนเจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 10120

ที่มา: http://www.thaiasiatique.com ,รูปโดย http://iammote.multiply.com









































วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

จูบนั้นสำคัญไฉน (เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการจูบ)

การจูบ เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงความรักอย่างหนึ่ง จูบเป็นสัญญลักษณ์แสดงออกถึงความรัก ความต้องการทางเพศ การจูบไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ สถานภาพทางเพศแต่อย่างใด สามารถแสดงต่อกันได้ทุกสถานะ อาทิ เช่น ผู้ชายกับผู้หญิง , ผู้ชายกับผู้ชาย , ผู้หญิงกับผู้หญิง ,คนจนกับคนรวย ,เด็กกับผู้ใหญ่ ,เด็กกับผู้สูงวัย , พ่อกับแม่ ,พี่กับน้อง , ลูกกับบุพการี , เพื่อนกับเพื่อน ,หรือแม้กระทั่งคนที่เราไม่รู้จัก บางประเทศถือว่าการจูบที่หลังฝ่ามือเป็นการทักทายให้เกียรติกัน เหมือนยกพนมมือสวัสดีของไทย บางประเทศหันแก้มสัมผัสซึ่งกันและกันเป็นการทักทายให้เกียรติกัน การจูบบนหน้าผากหรือบนศีรษะ ยังเป็นการจูบที่แสดงออกถึงความเอ็นดูระหว่างผู้ใหญ่กว่ากับผู้เยาว์หรืออ่อนวัยกว่าได้ด้วย




จูบนั้นสำคัญไฉน 

-การจูบที่ถือเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของชาวโลกนั้น ส่วนใหญ่เป็นการจูบระหว่างผู้นำประเทศหรือผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ และมักเป็นคู่ชายหญิงเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเชื่อมสัมพันธไมตรี การแสดงออกถึงความผูกมิตรไมตรี ระหว่างแว่นแคว้น หรืออาณาจักร เกี่ยวเนื่องกับการเมือง การปกครอง กุศโลบายในการเจรจาสงบศึก หรือยุติสงคราม อาทิ เช่น

การจูบระหว่างจักรพรรดิ์ซีซ่าร์ แห่งอาณาจักรโรมัน กับพระนางคลีโอพัตรา ซึ่งเป็นกษัตริย์หญิงของอาณาจักรอียิปต์ เป็นสุดยอดแห่งเชื่อมสัมพันธไมตรี ที่มีจุดมุ่งหมายทางกุศโลบายยุติการบุกรุกยึดครองของอาณาจักรโรมัน การจูบปาก ใช้แทนสำนวนหรือการเปรียบเปรยถึงการผูกสัมพันธไมตรี หรือการบรรลุข้อตกลงสัญญาระหว่างกันของผู้นำ ในอดีตที่ถือว่ามีมูลค่าสูงสุดในยุคก่อนอาทิ การเจรจาสงบศึกสงครามเกาหลี ,การเจรจายุติสงครามเย็น ระหว่าง 2 ผู้นำโลกระหว่างนายมิคาอิล กอร์บาชอฟ แห่งสหภาพโซเวียตกับ นายโรนัลด์ เรแกน แห่งสหรัฐอเมริกา ทำให้โลกรอดพ้นจากภัยสงครามโลกครั้งที่ 3 ที่คาดกันว่าจะมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในขณะนั้น เทียบเป็นปัจจุบันก็มีมูลค่ามหาศาลสุดจะประมาณได้ ทำให้ผู้คนไม่ต้องล้มตายมากกว่า 10 ล้านคน

-การจูบที่ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลอง แสดงความยินดี ในพิธีอภิเษกสมรส ระหว่างกษัตริย์ผู้สูงศักดิ์กับข้าราชบริพารหญิงที่เป็นบุคคลธรรมดาสามัญ ราวกับเทพนิยาย ซินเดอเรลล่า ในโลกแห่งความเป็นจริงก็มี อาทิ เช่น การจูบของเจ้าฟ้าชายชาร์ล มกุฏราชกุมารของสหราชอาณาจักร กับเจ้าหญิงไดอาน่า สเปนเซอร์ ปริ้นซ์ออฟเวลล์ ที่มีอดีตเป็นสามัญชนธรรมดา และการจูบของเจ้าชายวิลเลียม รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ กับเจ้าหญิงเคต มิดเดิลตัน อดีตพระสหายที่เคยเป็นเพื่อนร่วมเรียนหนังสือมาด้วยกัน และล่าสุด การจูบขององค์พระราชาจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์หนุ่มแห่งภูฏาน กับพระราชินีเจตซุน เพมา อดีตสามัญชนธรรมดา กล่าวกันว่างานแต่งงานของเจ้าฟ้าชายชาร์ลกับเจ้าหญิงไดอาน่า เคยครองสถิติการแต่งงานที่มีมูลค่าแพงที่สุดในโลก เฉพาะลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก ที่มีผู้ชมทั่วโลก 600 ล้านคนได้ชมในยุคนั้น ก็สุดจะประมาณ ยังไม่นับมูลค่าของสินสอดทองหมั้น ทรัพย์สินที่เป็นกองกลางในการสมรสอีกมูลค่ามหาศาล
website http://foryourmarriage.org/royal-wedding-focuses-attention-on-value-of-marriage/  เป็นตัวอย่างของบทความหรือข่าวที่ใช้ประเด็นเรื่องของการแต่งงานหรือพิธีอภิเษกสมรสมาสร้างจุดสนใจ


-การจูบที่เป็นฉากประทับใจในโลกภาพยนตร์ ก็มีเห็นอยู่มากมาย อาทิ ฉากจูบระหว่างโรมีโอแอนด์จูเลียต (1968) ฉากจูบระหว่างแจ็ค กับโรส ในภ.ไททานิค(1997) , ฉากจูบของตัวละครเอก ใน ภ. From Here to Eternity (1953), Casablanca (1942), Gone with the wind (1939) ,……… etc.ฉากจูบในหนังเพศที่ 3 เกือบทุกเรื่อง, ฉากจูบใน ภ.ไทย,เกาหลี,ญี่ปุ่น,ฮ่องกง,ไต้หวัน,อินเดีย และทุกประเทศ มีการกล่าวขวัญถึงประเทศฝรั่งเศสเป็นชาติที่มีการจูบที่ดูดดื่ม ลึกซึ้ง ละมุนละไม และรุนแรงที่สุดในโลกด้วย


ฉากจูบที่ดีที่สุดในโลกภาพยนตร์  มีดังนี้

-Romantic Movie Kises.wmv






-Best Kises in Movie








-Best Kisses in Korean Film, Korean Serie








-การจูบที่เป็นมหกรรมหรือการแข่งขัน ประกวดประชันกัน อาทิ การเก็บสถิติจูบของคู่รักที่จูบได้นานที่สุดในโลก เพื่อบันทึกลงในนิตยสาร Guinness Book ,World Record

-การจูบที่ใช้เป็นกุศโลบาย หรือยุทธวิธี ยุทธศาสตร์ทางการเมืองก็มีเห็นในบ้านเรา อาทิ การจูบปากกันของนักการเมืองฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลเพื่อตั้งรัฐบาล การจูบปากกันระหว่างผู้ทำการปฏิวัติรัฐประหารกับอดีตผู้นำที่ถูกรัฐประหาร หรือการจูบพื้นดินของอดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่เดินทางกลับมาเหยียบแผ่นดินแม่อีกครั้งภายหลังหลบออกนอกประเทศไปตอนช่วงถูกรัฐประหาร เป็นต้น มูลค่าของการจูบในแต่ละครั้งจะมีมูลค่าเท่าใด ให้ไปดูในบัญชีทรัพย์สินตรวจสอบของปปช.ภายหลังเข้ารับตำแหน่งกับหลังหลุดออกจากตำแหน่งเปรียบเทียบกันสิครับ ว่ามันมีส่วนต่างมากน้อยเพียงใด

-การจูบที่มีลักษณะเคลือบแฝงแสดงความรักบังหน้า แต่เบื้องหลังต้องการทำลาย อาฆาตมาดร้ายก็มีให้เห็นในโลกภาพยนตร์ เช่น A Kiss Before Dying (1991) , Wild Thing (1998)

แต่ไม่ว่าการจูบจะมีกี่รูปแบบหรือมีความหมายในลักษณะที่เป็นทางการ หรือเป็นไปตามธรรมชาติเพียงใดก็ตาม การจูบที่มีคุณค่าเหนือคำบรรยายหรือมีมูลค่ามหาศาลเกินกว่าจะประมาณค่าได้ก็คือการจูบของบุพการีที่มีต่อลูกน้อย หรือระหว่างลูกกับแม่ ลูกกับพ่อ นั่นคือสิ่งที่วิเศษที่สุด และมีมูลค่าที่สุดแล้ว เนื่องในวันแม่แห่งชาตินี้ ผู้เขียนขอเป็นตัวแทนของลูกทุกคนบนโลกผืนนี้ ขอมอบความรัก ความจริงใจ ความบริสุทธิ์แห่งศรัทธา การเห็นคุณค่าของคุณแม่ทุกคนบนโลกผืนนี้ คุณแม่ที่มีพระคุณต่อลูก อย่างที่ไม่มีสิ่งใดจะมาทดแทนได้ หมื่นล้านพฤติกรรมใดๆ ก็ไม่เท่ารอยยิ้มของแม่ ดวงตาแห่งความรัก ความปรารถนาดีที่มีต่อลูก จนยากจะทดแทน หรือหาคำใดๆ มาเปรียบเปรยได้ ขอมอบคำนี้ให้คุณแม่ทุกคน นะครับ

รักแม่ มาก จนสุดหัวใจ ของลูกคนนี้ จริงๆ (จู๊บบ...............)


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แกรมมี่แถลงสาเหตุที่ถอด MV ออกจาก You Tube

ต่อกรณีของ GMM grammy ได้เปิดประเด็นใหม่ด้วยการถอด MV ใหม่ทุกตัวออกจากเว็บไซต์ You Tube ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.2555 จนทำให้ไม่สามารถรับชมได้ผ่านเครือข่ายนี้ ซึ่งโดยส่วนตัวก็ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้มาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยข้ออ้างการละเมิดลิขสิทธิ์ การนำไปดัดแปลงทำซ้ำ โดยไม่ขออนุญาต และไม่ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ ผู้เขียนคิดว่าเรื่องนี้มันคงเกิดขึ้นซักวัน แล้ววันนั้นก็มาถึงจนได้ อันนี้ก็พอจะเข้าใจได้ เหตุผลในการถอด MV ออกจาก YouTube จนไม่สามารถรับชมได้


คุณกริช ธอมัส ได้ให้เหตุผลไว้ว่า “เนื่องจากมีการละเมิดลิขสิทธิ์นำเอ็มวีไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากธุรกิจดาวน์โหลด แจงบริษัทเพลงทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องธุรกิจเพลงและอาชีพคนทำเพลงให้อยู่รอด พฤติกรรมผู้บริโภคที่เดิมที เราโทร.หากัน แต่เดี๋ยวนี้เราใช้ไลน์ วอทแอป ทวิตเตอร์ ทำให้เดี๋ยวนี้เราไม่รับโทรศัพท์กันแล้ว แต่ที่เราจะพูดถึงธุรกิจที่เป็นประเภทแอดเวอร์ไทซิ่ง ซัพพอร์ต หรือธุรกิจที่รองรับกับการโฆษณา อย่างยูทูป และวีโว ซึ่งเป็นการร่วมมือของโซนี่และยูนิเวอร์แซล และอาบูดาบี ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหา รายได้มาจากการโฆษณา ในเมืองนอกเวลาเจ้าของเทคโนโลยีจะทำอะไรขึ้นมา จะคำนึงถึงเจ้าของสิทธิ์ เพราะถือว่าเอาของเขาไปดูฟรีไม่ได้ ทุกธุรกิจมีต้นทุน มีรายจ่าย เลยต้องหาโมเดลที่วินวินทั้งสองฝ่าย ในอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย แต่ไทยไม่มีธุรกิจยูทูปเพราะมีปัญหาข้อกฎหมายที่ยูทูปยังไม่สามารถมี youtube.co.th ได้ในเมืองไทย เพราะกฎหมายไอซีที แต่เรามีการจัดเก็บสิทธิ์การเผยแพร่ต่างๆ เรามีทั่วโลกก็มี การทำซ้ำดัดแปลงเพลงเอ็มวีซ้ำ ก็มีลิขสิทธิ์ ซึ่งการที่มีคนเอาเพลงคนอื่นไปร้องแล้วอัดลงยูทูปน่ะผิดกฎหมายนะครับ แต่เราเห็นว่าขำๆ ปล่อยบ้างปรามบ้างเพราะผิดกฎหมาย มาถึงยูทูป รายได้เขามาจากการโฆษณา เอาจำนวนผู้เข้าชมมากมาซื้อโฆษณา โดยระบบการบิดพื้นที่ตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งถ้าเขามีรายจากตรงนั้นเยอะก็จะมาแบ่งให้กับเจ้าของเนื้อหานั้นๆ ก็ว่ากันไป แต่ในเมืองไทยมีความน่ากลัวของเทคโนโลยีที่เข้ามากับธุรกิจเพลง ซึ่งเดิมทีโทรศัพท์เป็นระบบ2จี การเข้าถึงข้อมูลยังไม่สะดวก ก็ไม่เกิดปัญหา เราเอาเพลงไปโพสต์ในยูทูป แต่ไม่เกิดปัญหาเพราะยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ที่คนใช้ดู ความน่ากลัวคือคุณสามารถเอายูทูปไปอยู่ในมือถือของคุณ แล้วเอาเพลงไปเลย เพลงอยู่ในกระเป๋าเรียบร้อย ถามว่าจะมีสักกี่คนที่จ่ายตังค์โหลด ไม่มีแน่ คนที่จ่ายคือคนที่อยู่ในระบบ2 จีครับ คนมีสมาร์ทโฟนไม่จ่าย แล้วถ้ายูทูปไทยแลนด์ไม่มีรายได้ของคนทำงานอยู่ไหน การเอาสินค้าที่มีต้นทุนไปไล่แจกไม่ถูกต้อง ในแง่ของสังคมก็บอกว่า จะทำยังไงแกรมมี่ทำการตลาดแบบนี้ เราบอกเลยดูได้ คือผ่านทางจีเมมเบอร์ที่ปรับปรุงให้ดี ซึ่งจีเมมเบอร์ก็คือวีโวในอนาคต ดูเอ็มวีได้แค่ไม่สะดวกหน่อย”

“ฉะนั้นเราก็พยายามคุยกันหาทางแก้ปัญหานี้ ยังดูเอ็มวีเราได้นะครับ แต่ขอให้เห็นใจที่ทำแบบนี้ต้องปกป้องคนทำธุรกิจอาชีพแต่งเพลงของเราครับ ยูทูปไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแกรมมี่ ไม่ครับ แต่ส่งผลต่อภาพรวมเป็นกระแสทั่วโลก นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมวีโวถึงออกจากยูทูป เพราะยังไม่มีโมเดลรองรับ เราก็พยายามขยายช่องของจีเมมเบอร์ให้เข้าได้ 1 หมื่นคนต่อ 1 วินาที เราเติมได้ขอแค่เข้ามาดู และเข้าดูฟรี แชร์ได้ด้วย นั่นหมายถึงเราจะเป็นเหมือนวีโวที่มีช่องทางธุรกิจในอนาคต ถ้ายูทูปไม่มีช่องทางนี้ได้จนกว่าจะมียูทูปประเทศไทย ถามว่าต่อไปในอนาคตจะเสียเงินมั้ย คือในแง่ดูเอ็มวีถ้าเอาโมเดลยูทูปมาใช้ คงไม่เก็บเงิน แต่จะมีคนดูมาเก็บเงิน ถ้ายอดวิวสูง และมีโฆษณาเข้ามา ผู้บริโภคและเราไม่เดือดร้อน ก็วินวิน ซึ่งอยากคุยโมเดลนี้กับยูทูป การเซิร์ทค้นหาเพลงไม่มีปัญหาครับ ก็จะขึ้นว่าอยู่ในจีเมมเบอร์ เพลงเรายูทูปในต่างประเทศยังดูได้นะครับ เพราะเขามีโมเดลชัดเจน ยังเป็นคู่ค้า แม้จะน้องนิดก็เถอะ แล้วเพลงเอ็มวีในยูทูปก็จะดึงออกมาครับ ดึงหรือไม่ดึงต้องเจรจาจากยูทูป ถ้าทำลายธุรกิจ ของใหม่เราไม่เอาลงแล้วกัน อันเก่าก็ทยอยๆ เพราะมันเยอะครับ เพลงเราเป็นดาต้าข้อมูล เราก็ต้องปรับตัวตามโลก เราปกป้องตัวเอง เพราะเราไม่มีธุรกิจไงครับ พอไม่มีธุรกิจ ทุกคนมีต้นทุน แต่ไม่มีรายได้ไปไม่รอดครับ”

ผู้เขียนจับได้ 2 ประเด็นก็คือ มีการดาวน์โหลด MV ไปดูฟรี ไปตัดต่อทำเป็น mp3 (ทำขายหรือแจกจ่ายกัน) หรือนำไปแชร์กันต่อไปให้เพื่อนๆ โดยไม่ยอมเข้าไปดาวน์โหลดเสียเงินผ่านช่องทางของแกรมมี่ (เจ้าของลิขสิทธิ์) จนขาดรายได้ ซึ่งมีผลกระทบตามที่คุณกริชบอก กับ อีกประเด็นนึงก็คือ โมเดลธุรกิจของ youtube ในเมืองไทยยังไม่ชัดเจน ทำให้การจัดเก็บรายได้จากค่าโฆษณาที่ควรจะมีตามแบบเมืองนอกหรือสากล ไม่เกิดขึ้นในเมืองไทย ทำให้แกรมมี่ถูกเอาเปรียบเพราะมี content หรือเพลงที่ปล่อยอยู่ใน youtube จำนวนมากแต่ไม่สามารถสร้างรายได้ จึงต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บใหม่ set up model ธุรกิจขึ้นมาใหม่เลียนแบบของ vivo หรือโซนี่ที่ญี่ปุ่น

ฟังดูก็เป็นสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างแกรมมี่ พึงจะกระทำได้ ถ้าเป็นเราก็ต้องหาทางอุดรอยรั่วรูโหว่นี้เสีย เพราะนานไปก็ทำให้ธุรกิจเพลงไม่สามารถเติบโตได้ แต่สิ่งหนึ่งที่แกรมมี่ยังไม่แก้ปัญหาหรือตอบโจทย์คนฟังหรือกลุ่มผู้บริโภคได้ นั่นก็คือ ทำไมคนฟังถึงหันไปใช้วิธีการดาวน์โหลด หรือฟังหรือดูในช่องทางของ youtube กันอย่างมากมายขนาดนั้น

-you tube เป็น social media ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลกด้านภาพ และเสียง หรือ vdo clip และเทคโนโลยีนี้พัฒนาขึ้นมาตอบสนองช่องว่างบางอย่างที่ทำให้ผู้บริโภคไม่เคยได้รับ เช่น ช่องทางเคเบิ้ลทีวีด้าน music ต้องเสียเงิน ,และเปิดเพลงที่ผู้ฟังไม่อยากฟัง ,ทั้งในขณะนั้นหรือไม่สามารถย้อนหลังกลับไปดูได้ พอสื่ออย่าง youtube มา มันทำให้ธุรกิจเพลงได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ควบคู่กันไป ด้านบวกก็คือทำให้เป็นช่องทางอีกช่องทางในการประชาสัมพันธ์งานเพลง ไม่จำกัดเฉพาะค่ายใหญ่ ค่ายอินดี้ก็อาศัยเป็นที่แจ้งเกิดได้จำนวนมาก ในขณะที่ด้านลบก็คือ ผุ้ฟังหรือผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าหลักไม่จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาสื่อบางสื่อแต่เพียงด้านเดียว เช่น ทีวี วิทยุ และแนวโน้มสื่อที่มาจากอินเตอร์เน็ท จะมาแรงแซงทุกสื่อด้วย

-เป็นช่องทางที่จะทำให้คนฟังสามารถ แสดงความคิดเห็น ฟีดแบ็กที่มีต่อ mv, vdo clip นั้นได้ทันที ซึ่งก็น่าจะเป็นผลดีต่อค่ายเพลง หรือผู้ผลิตนำไปปรับปรุงพัฒนาได้ เป็นตัววัดความนิยมได้ดีอีกด้วย โดยมีการนับจำนวนวิวเวอร์ หรือเพจวิว แบบอัตโนมัติและแม่นยำ ซึ่งดีกว่าช่องทางอื่นๆ ที่เคยมีมา เพราะเรียลไทม์ตลอด

-เว็บ gmember ที่จะใช้เป็นช่องทางรับฟังหรือดาวน์โหลดงานเพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์ และคงเป็นช่องทางที่ gmember จะสามารถหารายได้หรือบริหารจัดการได้ง่ายกว่า ยังไม่สามารถทำให้ลูกค้าประทับใจได้ว่ามีความหลากหลาย ฟีเจอร์ที่คลอบคลุมได้เทียบเท่า youtube แล้วหรือยัง การดาวน์โหลดเพลงฟัง ยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และไม่มีประสิทธิภาพ การบริการยังไม่ดีพอ บางครั้งก็ทำให้ผู้บริโภคเสียเงินไปฟรีๆ โดยที่ไม่ได้รับเพลงนั้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ หรือคุณภาพของเสียงไม่ดีเทียบเท่าจากเว็บเพลงของเมืองนอก ทำให้ไม่ประทับใจ และไม่อยากเสียเงินที่จะจ่ายอย่างถูกกฏหมาย เหตุผลทั้งหลายเหล่านี้คุณกริช ธอมัส ยังไม่ได้ตอบให้ลูกค้าอุ่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นผลดีอย่างไรต่อกลุ่มผู้ฟัง ผู้บริโภค แต่เป็นเหตุผลข้อดี แต่เพียงฝ่ายเดียวของ gmm แกรมมี่ ดังนั้นเรื่องนี้จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกไซเบอร์อยู่เวลานี้

กรณีทำเฉพาะกับเพลงแบบเต็มเพลงเท่านั้น ขณะที่เนื้อหาอื่นๆ เช่น สปอต หรือตัวอย่างเอ็มวีแบบสั้น ก็ยังคงหาดูในยูทูปได้เช่นเดิม
ในประเด็นนี้นั้นต้องชัดเจนว่าเฉพาะเพลงใหม่ที่ทำออกมาภายหลังนับจากนี้ไป แต่เพลงเก่ายังสามารถฟังหรือชมอยู่ได้หรือไม่ แต่แนวโน้มก็คือคงจะทยอยถอดออกไปจนหมด แล้วทำไมยังเห็น mv ของบางค่ายในเครือแกรมมี่ยังสามารถรับชมได้ทางยูทูป นั่นเป็นเพราะอะไร ซึ่งความชัดเจนและกระจ่างในเรื่องนี้มันคลุมเครือ ทำให้ผู้บริโภคสับสน หรือยังไม่เป็นที่สรุปตกผลึกของgmm grammy จึงอยากฝากผู้ใหญ่ทั้งหมดในแกรมมี่ไปคิด วิเคราะห์ ผลดีผลเสีย รวมถึง business model ที่มันสมบูรณ์แบบแล้ว ค่อยออกมาแถลงจะดีกว่ามั๊ย ระหว่างนี้ควรยกผลประโยชน์ให้จำเลย ก็คือคนฟัง เพราะอย่างไรเสียคนดูคนฟังก็คือผู้บริโภคของคุณอยู่ดีในอนาคต ปัจจุบัน หรือในอดีตด้วย อย่ามองแต่เพียงผลประโยชน์ที่อยุ่ในรูปตัวเงินแต่เพียงอย่างเดียวสิครับ ในแง่ของ CRM , การทำตลาดต่อยอดไปในรูปของ show biz หรือคอนเสิร์ตอื่นๆ คุณก็ได้รับผลโดยอ้อมจากช่องทางของ youtube นะจะบอกให้


ข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นเนื้อหา มีดังนี้

“แกรมมี่” แถลงถอด MV ออกจาก ยูทูป เพราะบริษัทเพลงทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2555 02:18 น

ถูกพูดถึงมากทีเดียว ในส่วนของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ “แกรมมี่” ที่ได้ออกนโยบายใหม่ไม่ให้มีการอัพโหลดมิวสิควิดีโอเพลงใหม่ๆ ของศิลปินในสังกัดลงเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง YouTube ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้แกรมมี่ได้รับผลกระทบต่างๆ ตามมามากมาย

ล่าสุดเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 9 ส.ค. ที่ผ่านมา “นายกริช ทอมมัส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจเพลง) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวขึ้นที่ตึกแกรมมี่ ชั้น 21 โดยชี้แจงว่า การถอดเอ็มวีเพลงของแกรมมี่ออกจากยูทูป ทำเฉพาะกับเพลงแบบเต็มเพลงเท่านั้น ขณะที่เนื้อหาอื่นๆ เช่น สปอต หรือตัวอย่างเอ็มวีแบบสั้น ก็ยังคงหาดูในยูทูปได้เช่นเดิม

พร้อมอธิบายเหตุผลว่า เนื่องจากมีการละเมิดลิขสิทธิ์นำเอ็มวีไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากธุรกิจดาวน์โหลด แจงบริษัทเพลงทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องธุรกิจเพลงและอาชีพคนทำเพลงให้อยู่รอด แต่ทั้งนี้เจ้าตัวก็ยอมรับว่า การทำแบบนี้แกรมมี่ได้รับผลกระทบจากแฟนเพลงไม่น้อย

“ก่อนอื่นต้องขออภัยที่สร้างความเดือดร้อนให้กับบางคน แต่ที่เราทำ เราคิดว่าเรามีความจำเป็น เพื่อให้เรามีพื้นฐานความเข้าใจในเชิงธุรกิจเพลง คือเราดูจากธุรกิจเพลงของบริษัททั่วโลก ว่าเขาแก้ปัญหาธุรกิจเพลงอย่างไร อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ อะไรที่เราจะต้องเดินไป อะไรที่เราจะต้องป้องกันตัวเอง”

“ผมขอพูดในส่วนของด้านริงโทนก่อน ที่เป็นกระแสอยู่พักนึงแล้ว ก็ตกลงเพราะเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เดิมที เราโทร.หากัน แต่เดี๋ยวนี้เราใช้ไลน์ วอทแอป ทวิตเตอร์ ทำให้เดี๋ยวนี้เราไม่รับโทรศัพท์กันแล้ว แต่ที่เราจะพูดถึงธุรกิจที่เป็นประเภทแอดเวอร์ไทซิ่ง ซัพพอร์ต หรือธุรกิจที่รองรับกับการโฆษณา อย่างยูทูป และวีโว ซึ่งเป็นการร่วมมือของโซนี่และยูนิเวอร์แซล และอาบูดาบี ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหา รายได้มาจากการโฆษณา”

“ในเมืองนอกเวลาเจ้าของเทคโนโลยีจะทำอะไรขึ้นมา จะคำนึงถึงเจ้าของสิทธิ์ เพราะถือว่าเอาของเขาไปดูฟรีไม่ได้ ทุกธุรกิจมีต้นทุน มีรายจ่าย เลยต้องหาโมเดลที่วินวินทั้งสองฝ่าย ในอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย แต่ไทยไม่มีธุรกิจยูทูปเพราะมีปัญหาข้อกฎหมายที่ยูทูปยังไม่สามารถมี youtube.co.th ได้ในเมืองไทย เพราะกฎหมายไอซีที”

“แต่เรามีการจัดเก็บสิทธิ์การเผยแพร่ต่างๆ เรามีทั่วโลกก็มี การทำซ้ำดัดแปลงเพลงเอ็มวีซ้ำ ก็มีลิขสิทธิ์ ซึ่งการที่มีคนเอาเพลงคนอื่นไปร้องแล้วอัดลงยูทูปน่ะผิดกฎหมายนะครับ แต่เราเห็นว่าขำๆ ปล่อยบ้างปรามบ้างเพราะผิดกฎหมาย มาถึงยูทูปรายได้เขามาจากการโฆษณา เอาจำนวนผู้เข้าชมมากมาซื้อโฆษณา โดยระบบการบิดพื้นที่ตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งถ้าเขามีรายจากตรงนั้นเยอะก็จะมาแบ่งให้กับเจ้าของเนื้อหานั้นๆ ก็ว่ากันไป”

“แต่ในเมืองไทยมีความน่ากลัวของเทคโนโลยีที่เข้ามากับธุรกิจเพลง ซึ่งเดิมทีโทรศัพท์เป็นระบบ2จี การเข้าถึงข้อมูลยังไม่สะดวก ก็ไม่เกิดปัญหา เราเอาเพลงไปโพสต์ในยูทูป แต่ไม่เกิดปัญหาเพราะยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ที่คนใช้ดู ซึ่งมันก็ไม่ได้ป้องกันการขโมย แต่ก็ยังจำกัดตัวอยู่แค่นั้น เราเอาไปโพสต์ในยูทูปเพราะตอนนั้นสื่อเรายังน้อย ก็ใช้ชิ่งทางยูทูปจนเราลืมไป แล้วมานึกได้ว่าสมาร์ทโฟนหรือ 3 จีกำลังเกิด คนเข้าถึงได้หมด”

“ความน่ากลัวคือคุณสามารถเอายูทูปไปอยู่ในมือถือของคุณ แล้วเอาเพลงไปเลย เพลงอยู่ในกระเป๋าเรียบร้อย ถามว่าจะมีสักกี่คนที่จ่ายตังค์โหลด ไม่มีแน่ คนที่จ่ายคือคนที่อยู่ในระบบ2 จีครับ คนมีสมาร์ทโฟนไม่จ่าย แล้วถ้ายูทูปไทยแลนด์ไม่มีรายได้ของคนทำงานอยู่ไหน การเอาสินค้าที่มีต้นทุนไปไล่แจกไม่ถูกต้อง ในแง่ของสังคมก็บอกว่า จะทำยังไงแกรมมี่ทำการตลาดแบบนี้ เราบอกเลยดูได้ คือผ่านทางจีเมมเบอร์ที่ปรับปรุงให้ดี ซึ่งจีเมมเบอร์ก็คือวีโวในอนาคต ดูเอ็มวีได้แค่ไม่สะดวกหน่อย”

“ถ้าผู้บริโภคคนเสพเพลงที่เคารพ และเห็นใจคนทำเพลงและธุรกิจน่าจะเข้าใจเสียสละความลำบากครับ ถ้าไม่ลำบากมันจะอยู่ไม่ได้ แต่เราไม่ได้ประกาศทางการว่าจะปิดเราปิดยูทูปไม่ได้หรอกครับ แค่เราจะเอาสินค้าบางอย่างที่ไม่เป็นการไล่แจก เราถือว่ายูทูปเป็นมีเดียการเอาสกู๊ปสปอร์ต ทีเซอร์ศิลปินขึ้นไปยังทำ แต่บางอย่างที่ขึ้นไปแล้วยูทูปเรา และคนทำเพลงไม่ได้สตางค์แบบนี้ ธุรกิจก็ล่มสลาย”

“ฉะนั้นเราก็พยายามคุยกันหาทางแก้ปัญหานี้ ยังดูเอ็มวีเราได้นะครับ แต่ขอให้เห็นใจที่ทำแบบนี้ต้องปกป้องคนทำธุรกิจอาชีพแต่งเพลงของเราครับ ยูทูปไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแกรมมี่ ไม่ครับ แต่ส่งผลต่อภาพรวมเป็นกระแสทั่วโลก นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมวีโวถึงออกจากยูทูป เพราะยังไม่มีโมเดลรองรับ เราก็พยายามขยายช่องของจีเมมเบอร์ให้เข้าได้ 1 หมื่นคนต่อ 1 วินาที”

“เราเติมได้ขอแค่เข้ามาดู และเข้าดูฟรี แชร์ได้ด้วย นั่นหมายถึงเราจะเป็นเหมือนวีโวที่มีช่องทางธุรกิจในอนาคต ถ้ายูทูปไม่มีช่องทางนี้ได้จนกว่าจะมียูทูปประเทศไทย ถามว่าต่อไปในอนาคตจะเสียเงินมั้ย คือในแง่ดูเอ็มวีถ้าเอาโมเดลยูทูปมาใช้ คงไม่เก็บเงิน แต่จะมีคนดูมาเก็บเงิน ถ้ายอดวิวสูง และมีโฆษณาเข้ามา ผู้บริโภคและเราไม่เดือดร้อน ก็วินวิน ซึ่งอยากคุยโมเดลนี้กับยูทูป”

“การเซิร์ทค้นหาเพลงไม่มีปัญหาครับ ก็จะขึ้นว่าอยู่ในจีเมมเบอร์ เพลงเรายูทูปในต่างประเทศยังดูได้นะครับ เพราะเขามีโมเดลชัดเจน ยังเป็นคู่ค้า แม้จะน้องนิดก็เถอะ แล้วเพลงเอ็มวีในยูทูปก็จะดึงออกมาครับ ดึงหรือไม่ดึงต้องเจรจาจากยูทูป ถ้าทำลายธุรกิจ ของใหม่เราไม่เอาลงแล้วกัน อันเก่าก็ทยอยๆ เพราะมันเยอะครับ เพลงเราเป็นดาต้าข้อมูล เราก็ต้องปรับตัวตามโลก เราปกป้องตัวเอง เพราะเราไม่มีธุรกิจไงครับ พอไม่มีธุรกิจ ทุกคนมีต้นทุน แต่ไม่มีรายได้ไปไม่รอดครับ”

“ในจีนก็มีโมเดลนี้อย่างในจีนมาจากโฆษณานะ ถ้าเพลงคุณไม่ดีคนไม่เข้าดูก็จะไม่มีโฆษณา เพื่อนักแต่งเพลงคนทำมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานเพลง ส่วนยูทูปไทยแลนด์จะเกิดมั้ย ต้องไปถามรัฐบาลครับ แต่ถ้าอัพโหลดโดยผู้ใช้คนอื่นๆ ต้องลบครับ เพราะละเมิดครับ เป็นการทำซ้ำดัดแปลง พูดง่ายๆ คนเอาของบ้านคุณไปให้ชาวบ้านคุณยอมมั้ย ไม่มีใครยอมหรอกครับ”

“ศิลปินไม่มีผลกระทบหรอกครับ ศิลปินก็ยังมีรายได้ ปกติการโฆษณาศิลปินไม่จำเป็นต้องไล่แจกเพลงครับ ส่วนเรื่องที่นโยบายนี้ทำให้แฟนเพลงไม่พอใจนั้น ก็ถ้าแฟนเพลงที่เคารพเมตตาธุรกิจเพลง คนแต่งเพลง เขาน่าจะยอมลำบากให้เราอยู่รอด ถ้าอ้างว่าเป็นแฟนเพลงแต่ไม่ช่วยเรานั้น ผมว่าก็ไม่เกื้อกูลไป”

“การออกจากยูทูปก็ไม่ได้ทำให้คนหันไปดูจีเอ็มเอ็มแซทมากขึ้นหรอกครับ แยกกันอยู่แล้ว ถ้าจะเมตตาดูจีเอ็มเอ็มแซทหรือกล่อง หรือแอปเราก็ได้ครับ (หลังจากปรับระบบเรียบร้อยแล้วอุตสาหกรรมเพลงจะดีขึ้นมั้ย ?) มันคงต้องกลับมา อาจไม่เท่าเดิม แต่จะดีขึ้นก็จับกระแสดูพวกใหญ่ๆ เขาทำ แต่เราเล็กๆ ก็ต้องปรับตัวดิ้นรน เราเริ่มไม่เอาขึ้นตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่าน(3 ส.ค.) มาลองไม่เอาขึ้นไม่กี่เพลง ก็มีผลเยอะมากเหมือนกัน แต่ลองเข้าจีเมมเบอร์ดูอะไรไม่ดีบอกกัน ซึ่งสามารถแชร์ได้ปกติ”

“พรบ.37 น่าจะลองอ่านดูนะว่าที่เอาไปทำซ้ำน่ะผิดกฎหมาย แต่คนไม่รู้ พอเราไปจับก็ว่าแกรมมี่เป็นยักษ์ คนไทยชอบคิดว่าเพลงเป็นของฟรี เพราะธุรกิจมีรายจ่ายไม่มีรายได้อยู่ไม่ได้ เป็นธุรกิจมีมันสมอง ถ้าคนขโมยๆ ใครจะทำ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าอาชีพเต้นกินรำกินทำแล้วมันจนอย่าไปทำเลย ทั้งที่เขาทำมาไว้ดีแล้ว ตั้งแต่รุ่นพี่เต๋อ เรวัติ แล้วตอนนี้มาทำลายอีกแล้ว เห็นแก่ลูกหลานในอนาคตเถอะ”

"แกรมมี่" แถลงเปิดใจถอด MV ออกจาก YouTube

โดย มติชนออนไลน์ 9 ส.ค.2555

นายกริช ทอมมัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจเพลง) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดใจถึงสาเหตุที่ถอด MV เพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกจาก You Tube ว่า เฉพาะ MV เพลงแบบเต็มเพลงเท่านั้น ขณะที่เนื้อหาอื่นๆ เช่น สปอต หรือตัวอย่าง MV แบบสั้น ก็ยังคงหาดูได้ใน You Tube เช่นเดิม เนื่องจากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์นำเอ็มวีไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากธุรกิจดาวน์โหลด โดยการตัดสินใจครั้งนี้เป็นแนวทางเดียวกับที่บริษัทเพลงใหญ่ทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องธุรกิจเพลงและอาชีพคนทำเพลงให้คงอยู่ต่อไป

“การถอด MV ออกจาก YouTube ในครั้งนี้ อยู่ในขั้นของการทดลอง เพื่อประมวลผลที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้เราอยู่ระหว่างเจรจากับทาง You Tube เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการทำธุรกิจร่วมกันในระยะยาว โดยทาง You Tube เองก็เข้าใจดีถึงปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในไทย และข้อจำกัดทางกฎหมาย ที่ยังไม่สามารถเปิด You Tube Thailand ได้ ซึ่งคาดว่าจะมีแนวทางที่เหมาะสมในเร็วๆนี้”

สำหรับผู้ต้องการชม MV ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สามารถรับชมได้ทาง www.gmember.com ซึ่งรองรับผู้เข้าชมได้วินาทีละ 10,000 คน โดยคุณภาพของภาพและเสียงเทียบเท่ากับที่รับชมผ่าน You Tube ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ในขั้นตอนการหาพันธมิตรทางเทคโนโลยี เข้ามาร่วมกันพัฒนาระบบเพื่อให้แฟนเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้รับความสะดวกในการรับชม MV เหมือนเดิม โดยหากได้แนวทางที่เหมาะสมคาดว่าจะส่งผลให้เกิดรูปแบบทางธุรกิจใหม่ที่จะมีรายได้จากโฆษณาเข้ามาทดแทนในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถป้องกันปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ตราบใดที่ผู้บริโภคบางส่วนยังไม่มีจิตสำนึกในการเคารพทรัพย์สินทางปัญญา

“เราต้องขออภัยทุกท่านที่อาจมีความลำบากในการค้นหา MV เพลงในช่วงนี้ แต่คงไม่ลำบากเกินกว่าคนที่มีเจตนาจะส่งเสริมดูแลผู้ประกอบอาชีพเพลงให้คงอยู่ในธุรกิจต่อไปได้”

หมายเหตุ บทวิเคราะห์เรื่องนี้จะตามมาภายหลัง โปรดติดตาม ขอบคุณครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

5 ปัญหาที่กัดกินประเทศไทยอยู่เวลานี้

1.ปัญหาด้านการเมือง หมายรวมไปถึงปัญหาด้านการต่างประเทศด้วย ทันทีที่ประเด็นเรื่อง พรบ.ปรองดอง และ ร่าง พรบ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ กระแสเริ่มซาลงไปจากหน้าสื่อ่ต่างๆ คุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยที่อยู่ในสถานะนักโทษคดีอาญาที่หนีหมายศาลออกนอกประเทศ ไปตั้งแต่ถูกรัฐประหาร ก็เปิดประเด็นใหม่ขึ้นมาอีก นั่นคือ การเดินทางไปเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังความเคลือบแคลงสงสัยให้กับกลุ่มคนที่ต่อต้าน และเรียกร้องต้องการให้รัฐบาลไทยดำเนินการติดตามตัวคุณทักษิณมาลงโทษหรือมารับโทษในประเทศไทยให้จงได้ แต่กาลกลับกลายเป็นว่า คุณทักษิณได้รับอนุญาตจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้สามารถเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ทราบว่าใครเป็นคนอนุมัติออกวีซ่าให้กับคุณทักษิณ ซึ่งก็มีการสันนิษฐานกันไปว่า น่าจะได้รับการอนุญาตจาก นางคริสตี้ ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐ ฯ ประจำประเทศไทยคงจะชงเรื่องให้กับ รมต.ตปท.ของสหรัฐอย่างนางฮิลลารี่ คลินตัน เซ็นอนุมัติ ซึ่งก็ทำให้สาธารณชนคิดไปได้ว่าสหรัฐอาจได้รับผลประโยชน์อะไรบางอย่าง จึงยินยอมให้ทักษิณเข้าประเทศได้ ทั้งๆที่ ไทยมีข้อตกลงกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนร่วมกับสหรัฐอยู่ และเมื่อตอนที่นายวิคเตอร์ บู้ธ ซึ่งเป็นอาชญากรสำคัญของรัสเซีย ถูกจับได้ในประเทศไทย สหรัฐก็มาล็อบบี้รัฐบาลไทยให้ส่งตัวให้กับสหรัฐ แต่ทำไมตอนนี้ทักษิณเดินทางเข้าสหรัฐ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีคดีข้อหาเกี่ยวกับการก่อการร้ายด้วย ซึงสหรัฐเป็นประเทศที่ต่อต้านการก่อการร้ายมาก แต่กลับไม่ส่งทักษิณกลับมาให้ประเทศไทย ที่มันน่าปวดใจก็คือ รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศของไทยก็ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ต่อเรื่องนี้ หรือไม่ทำจดหมายขอให้สหรัฐดำเนินการใดๆ ด้วย เพราะรัฐบาลชุดนี้คือ เลือดเนื้อเชื้อไขของคุณทักษิณนั่นเอง แต่สิ่งหนึ่งที่คุณทักษิณจำเป็นจะต้องรับทราบก็คือ ในประเทศสหรัฐฯ มีคนไทยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ก็ไม่ต้อนรับคุณทักษิณ เพราะคนส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่รักชาติ รักแผ่นดิน รักพระเจ้าอยู่หัว พอรับทราบข่าวว่าคุณทักษิณจะมาเหยียบที่สหรัฐฯ ชาวไทยที่นั่นส่วนใหญ่จึงออกมาต่อต้าน ประท้วงตามสถานที่ต่างๆที่คุณทักษิณไป บรรยากาศเก่าๆ อารมณ์ความรู้สึกสมัยที่แกเคยไปเดินพาราก้อน และสีลมซอยละลายทรัพย์จึงหวนกลับมาอีกรอบ นี่แหละหนอ ถ้าคุณเป็นนายกฯ ที่เคยทำดีต่อประเทศชาติ ทำไมเวลาไปไหน ถึงมีแต่คนขับไล่ไสส่ง อย่างกับตัวกาลกิณีก็ไม่ปาน สังเกตว่าแกไปเหยียบแผ่นดินไหน แผ่นดินนั้นมีเรื่องหมด ตอนที่อยู่ดูไบ ซักพักพอแกย้ายไปมอนเตรเนโกร ที่ดูไบก็ฟองสบู่แตก เจ้าผู้ครองนครรัฐดูไบ เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน เพราะลงทุนกับตึกเบิร์จดูไบไปเป็นแสนล้าน และเจ๊งหุ้นจากวิกฤติซับไพร์มกับวิกฤติยูโร จำต้องให้เจ้าผู้ครองรัฐอะบูดาบี มากอบกู้สถานะการเงินการคลังให้ เพราะดูไบเจ๊งกะบ๊ง และเมื่อไม่นานมานี้ แกไปเหยียบเกาะฮ่องกง พอบินออกไปไม่ทันไร ฮ่องกงก็โดนมรสุมวีเซนเต้เล่นงาน ส่วนที่จีนเมืองหลวงถึงกับน้ำท่วมทันที และนี่ไปอเมริกา คุณผู้อ่านก็ลองคิดเอาว่า ถ้าทักษิณบินออกจากอเมริกาเมื่อไร อะไรจะเกิดขึ้นกับอเมริกาอีก ไม่อยากจะคิดต่อเลย


2.ปัญหาด้านเศรษฐกิจ หมายรวมถึงนโยบายหาเสียงต่างๆ ที่รัฐบาลภูมิใจนักภูมิใจหนาว่าทำสำเร็จ มีการแถลงสรุปผลงานในรอบ 1 ปีกันด้วย แต่ที่ถูกรุมสับ วิพากษ์วิจารณ์อย่างอื้ออึงไปทั่วทุกสารทิศก็คือ นโยบายจำนำข้าว ที่เป็นบ่อเกิดของการทุจริตคอรัปชั่นอย่างหนัก มีการประเมินคร่าวๆจาก TDRI มาแล้วด้วยว่าทำให้เกิดการขาดทุนเสียหายคิดเป็นตัวเลขหลักแสนล้านบาทเข้าไปแล้วและอาจไม่ยุติแต่เพียงเท่านี้ หากว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้าต่อ และในงานเสวนา ปาฐกถางานหนึ่งที่จัดโดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทยร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ จัดงานปกฐกถาใหญ่ระหว่างอดีตขุนคลังและขุนคลังคนปัจจุบันมาดีเบตกัน คือระหว่างคุณกรณ์ จาติกวณิช (อดีตรมต.คลังจากพรรคประชาธิปัตย์)กับคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง (รมต.คลังปัจจุบันจากพรรคเพื่อไทย) คุณกิตติรัตน์ก็ออกมายอมรับเองว่ามีการทุจริตจริงในโครงการรับจำนำข้าว มีการแอบอ้างสวมสิทธิ์ แต่เป็นในระดับปฏิบัติการไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร ยังสามารถดูแลจัดการได้อยู่ และยังสนับสนุนให้โครงการนี้เดินหน้าต่อไป โดยไม่ฟังเสียงท้วงติงจากทั้งนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ ภาคเอกชน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆ แต่อย่างใด ผู้เขียนอยากจะบอกว่าถ้าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือเป็นประเทศที่มีธรรมาภิบาลสูงอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น หล่ะก็ รัฐบาลแบบนี้ต้องลาออกทั้งคณะไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่แต่เพียงรัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องนี้เท่านั้น แต่นี่ประเทศไทย ประเทศที่ผู้บริหารประเทศ นักการเมืองไร้ยางอายที่สุดในโลก ทำผิดโดนจับได้ว่าทำผิด ก็ยังหน้าด้าน และแถไปได้เรื่อยๆ ยังดันทุรังทำชั่วต่อไป ผู้เขียนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมบรรดาชาวนา เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเสียหายโดยตรงถึงไม่มาประท้วง และนี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวของความล้มเหลวในบรรดานโยบายประชานิยมทั้งหลาย ซึ่งยังมีอีกมากมาย และการผลาญเงินในรัฐบาลนี้ ยังไม่นับรวมการตั้งงบประมาณ ก่อหนี้สินเพิ่มมูลค่า 3.5 แสนล้าน มาแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ที่อ้างก่อหน้านี้ว่าต้องออกเป็น พรก.เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ทำไมผ่านมา 1 ปี แล้ว ยังไม่เห็นโครงการแก้ไขปัญหา หรือป้องกันใดๆ เป็นรูปธรรมชัดเจนเลย และที่แสบกว่านั้นก็คือยังไม่มีการเบิกงบประมาณไปใช้ด้วย แต่มีการตั้งรอเอาไว้ก่อน ทำอย่างนี้ก็แสดงว่าเห็นประชาชนคนไทยทั้งประเทศกินหญ้าแทนข้าวแล้วกระมัง ถ้ารัฐบาลชุดนี้ยังนั่งบริหารประเทศไปเช่นนี้ คิดว่าประชาชนคงได้เห็นอีกหลายโปรเจ็คท์ หลายโครงการที่จะผุดขึ้นมาอีกมาก ที่ไม่เมกเซ็นท์ และก็จะผลาญเงินไปแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ไม่ได้ก่อประโยชน์สูงสุดใดๆ เมื่อเทียบกับมูลค่าเม็ดเงินที่เสียไป แต่เต็มไปด้วยช่องโหว่ของการทุจริตอีกจำนวนมาก และสิ่งที่จะตามมาก็คือหนี้สาธารณะที่จะพอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งต่างชาติ (ADB,WorldBank,Moody’s,S&P) อาจลดเครดิตประเทศไทย ซึ่งจะทำให้การกู้ยืมมีภาระต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และประเทศไทยอาจต้องเข้าโครงการ IMF อีกรอบก็เป็นได้ อีกทั้งการมานั่งเป็นประธานบอร์ดแบ็งค์ชาติของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร นั้นจะเป็นอุปสรรคในการบริหารงานของผู้ว่าแบ็งค์ชาติคนปัจจุบันหรือไม่ เพราะดร.โกร่งมีนโยบายสุดโต่งที่จะให้ผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งจะขัดแย้งกับผู้ว่าแบ็งค์ชาติอย่างดร.ประสาร ที่มีนโยบายรักษาวินัยการเงิน ยังคงต้องดูแลภาพรวมของมาตรการทางการเงิน โดยมีเครื่องมือที่สำคัญก็คือการควบคุมดอกเบี้ยเป็นหัวใจหลัก แต่ในขณะที่ ดร.โกร่ง นั้นมีแนวความคิดสุดขั้วไปอีกด้านหนึ่งเลย คือต้องการให้นำเงินทุนสำรองของแบ็งค์ชาติมาใช้หรือลงทุนให้เกิดดอกออกผลมากกว่าที่จะเก็บเอาไว้ แค่นี้เราก็พอมองออกแล้วว่า การบริหารงานของแบ็งค์ชาตินับจากนี้มีตัวปัญหามาขัดแข้งขัดขาแน่ๆ ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าใครจะมาดูแลเรื่องการเงินของประเทศให้รอดจากเงื้อมมือพวกผีห่า ซาตานเหล่านี้ได้

3.ปัญหาด้านสังคม ความเสื่อมทรุดของสภาพสังคมไทยมีมาอย่างยาวนานและฝังรากลึกสุดจะเยียวยามามาก นับแต่ประเทศเราหันเหทิศทางมาพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม เราจะเป็นนิคส์ (เสือตัวที่ 5) จำกันได้มั๊ย สุดท้ายแล้วเราเป็นได้แค่แมวตัวที่ 10 การหลั่งไหลของคนหนุ่มสาววัยแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ได้ทำลายวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของคนไทยไปหมดสิ้น ภาคเกษตรและคนสูงอายุในชนบทถูกทอดทิ้ง ในขณะที่ในเมืองก็เข้ามาแออัดยื้อแย่งแข่งขันกันสูดอากาศเป็นพิษ แก่งแย่งกันบริโภคและมาแย่งกันเป็นลูกจ้าง มาทำงานในโรงงานเยี่ยงทาสในเมือง สุดท้ายเม็ดเงินที่ได้จากการเอาแรงงานเข้าแลกนั้นมาหมดไปกับของฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย การบริโภคนิยม การสร้างหนี้จากสินเชื่อเงินผ่อน บัตรเครดิตต่างๆ สุดท้ายแล้วผู้ใช้แรงงานก็มาถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างหรือนายทุน พอเศรษฐกิจดีก็รับทรัพย์อู้ฟู่กันไป แต่เมื่อไรเศรษฐกิจเสื่อมถอย เช่นในยุคปัจจุบันบางบริษัท บางโรงงานต้องปิดตัว ผู้ใช้แรงงานบางคนถูกลอยแพ บริษัทเอาตัวรอดด้วยการปิดบริษัทหนี ไม่ต้องรับผิดชอบกับแรงงานที่มีอยู่จำนวนมาก นโยบายเพิ่มค่าแรงของรัฐบาลชุดนี้ ทำให้บริษัทต้องปิดตัวไปจำนวนมาก ผนวกรวมกับบริษัทที่เสียหายตอนน้ำท่วมใหญ่ปีกลายก็ถือโอกาสปิดตัวแบบถาวร แล้วย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นก็มี ทั้งหลายทั้งปวงของการพัฒนาประเทศไปอย่างไม่มีทิศทางทำให้ประเทศเราไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตนเอง ยังคงเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมแบบรับจ้างผลิตทำของให้คนอื่น หรือ OEM ที่อุตสาหกรรมเหล่านี้จากต่างชาติพร้อมจะย้ายไปประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้เสมอ หากเห็นว่าที่ไหนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าก็พร้อมจะย้ายหนีไปตั้งที่นั่น สิ่งที่พวกนายทุนต่างชาติทิ้งเอาไว้ให้เป็นอนุสรณ์แก่เราก็คือขยะทางอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม มลพิษและสุขภาพที่เสียไป ฝากไว้ให้แก่เราก็เท่านั้น ในขณะที่ SME เป็นฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนประเทศ แต่รัฐบาลชุดนี้กับไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือใส่ใจ ไปให้สิทธิประโยชนกับนายทุนกิจการใหญ่ๆ มากกว่า ทุกวันนี้เราเปิดดูหน้าหนังสือพิมพ์หรือทีวีก็จะพบแต่ข่าวอาชญากรรม ปล้น ขโมย ฆ่ากัน ข่มขืน ตีกัน ทะเลาะเบาะแว้ง การค้ายาบ้า บ่อนการพนัน เต็มทุกพื้นที่ มารศาสนา เยาวชนมั่วสุม ฯลฯ ซึ่งยังไม่เห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะตระหนักหรือให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้เลย

4.ปัญหาด้านความมั่นคง ซึ่งคงจะโฟกัสไปยังปัญหาข้อพิพาทเขาพระวิหารกับปัญหาชายแดนภาคใต้ 3 จว. ซึ่งปะทุรุนแรงขึ้นมาอีก โดยที่รัฐบาลเองก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นได้ วิธีการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลเวลาภาคใต้มีเรื่องก็คือ จัดงบประมาณลงไปเพิ่ม,ส่งกำลังพลลงไปเพิ่ม,ตั้งศูนย์ประสานงานหรือบัญชาการการแก้ไขปัญหาชื่อยาวๆ แปลกๆ แต่ก็ทำงานไม่ประสานงานกับใครทั้งสิ้น ข้อเสนอของพล.อ.พัลลภ ปิ่นมณีกับเฉลิม อยู่บำรุง ที่ให้ปฏิบัติการแบบใช้กำลังลงไปปราบปรามสู้รบนั้น ตกยุคแล้ว เพราะวิธีการดังกล่าวเคยใช้มาแล้วแต่ไม่ได้ผล และรังแต่จะสร้างปัญหารุนแรงขึ้นไปอีก ก็ไม่ทราบว่าทำไมคนระดับนี้ถึงมีวิธีคิดที่ไม่สร้างสรรค์และย่ำอยู่กับที่ แต่ก็ยังทำอวดเก่งอยู่เสมอ ส่วนปัญหาข้อพิพาทด้านดินแดนบริเวณเขาพระวิหารนั้น ล่าสุดมีคำสั่งให้ทหารไทยถอนทหารออกจากบริเวณที่เป็นพื้นที่พิพาท พื้นที่ทับซ้อน แต่โดยพฤตินัยแล้ว กัมพูชาอาศัยทหารปลอมมาเป็นชาวบ้านบ้าง นักบวชบ้างเพื่อที่จะคงทหารเอาไว้เพื่อเอาเปรียบไทย ในขณะที่กระบวนการตัดสินของศาลโลกก็ดำเนินไป หรือว่าในที่สุดจุดจบของเรื่องนี้ก็คือไทยจะต้องเสียดินแดนจำนวนมากให้กับกัมพูชา ในยุคสมัยของรัฐบาลชุดนี้จริงๆ  สุดท้ายก็คือเรื่องกระบวนการล้มเจ้า หรือจาบจ้วง ล่วงละเมิด หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำลายสถาบันกษัตริย์ ซึ่งยังคงมีอยู่ และก็ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้จะจริงใจ จริงจัง ในการจัดการกับพวกจ้องล้มสถาบันเลย  ยังคงเห็นหน้าไอ้พวกนิติราษฏร์ยังมาชูคอวิพากษ์วิจารณ์ศาลอยู่เลย กรณีของอีป้ามหาภัยคนนั้นเรื่องไปถึงไหนแล้ว ถ้าไม่มีกลุ่มคนไทยที่จงรักภักดีต่อสถาบันไปกดดันที่สนามบินวันนั้น ป่านนี้คงจะหนีออกนอกประเทศไปแล้ว คล้ายๆ ไอ้พวกใจ อึ้งภากรณ์ ,จักรภพ เพ็ญแข เป็นแน่

5.ปัญหาการทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก ที่เราเห็นก็คือ ไม่มียุคใดสมัยใดจะมีการใช้กำลังคนไปกดดัน ข่มขู่ ศาลสถิตยุติธรรม อย่างหน้าด้าน ไร้ยางอาย และก็ป่าเถื่อนเป็นที่สุด วิธีการอย่างนี้หน่ะหรือเรียกว่าเป็นประชาธิปไตย มันคือศาลเตี้ยหรือเผด็จการมากกว่า อีกทั้งสมัยนี้เขาใช้เงินเป็นพาหะในการซื้อตัวพวกผู้พิพากษา อัยการ ทนาย เพื่อมาเป็นพวกตน จึงทำให้คนที่ทำงานในอาชีพที่ต้องรักษากระบวนการยุติธรรมจึงมีอุดมการณ์เปลี่ยนไป ไม่ยึดหลักการ ตัวบทกฎหมาย แต่ยึดที่ตัวเงินหรืออำนาจมืดที่มีทุนสามานย์คอยบงการ มาเป็นตัวการทำลายเสาหลักคือสถาบันตุลาการซะป่นปี้ในยุคนี้ น่ากลัวมากถ้าประเทศนี้เงินสามารถซื้อความยุติธรรม ศาลสามารถเปลี่ยนแปลงคำตัดสินที่ควรจะเป็นไปตามรูปคดีจากขาวเป็นดำ หรือจากดำเป็นขาวได้ ประเทศนี้คงจะต้องใช้วิธีศาลเตี้ยมาแก้ปัญหากันเอง หรือเราอยากเป็นอย่างประเทศเม็กซิโก รวันดา กันหล่ะครับท่านผู้ชม

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สร้างวิกฤติเพื่อความเป็นเจ้าผู้ครองโลก

วิกฤติโลกเรื่องแรกก็คือวิบัติภัยทางธรรมชาติ เมื่อเร็วๆ มานี้ ได้ยินข่าวว่า ธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ ที่อยู่บริเวณขั้วโลกเหนือนั้นละลายเร็วมาก ภายในเวลาเพียง 1-2 เดือน ละลายเป็นน้ำใกล้จะหมดแล้ว เป็นข่าวที่ช็อกโลก และเป็นที่วิตกสงสัยของบรรดานักอุตุนิยมวิทยา นักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยา เป็นอย่างมาก อีกทั้งในรอบ 2-3 ปีมานี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั่วโลก แทบทุกทวีปถี่ขึ้น และเกิดขึ้นในอัตราที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในรอบ 1-2 เดือนนี้ พายุ มรสุมพัดถล่มประเทศที่อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกหนักหน่วงมาก โดนกันเป็นแถบๆ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลี ไต้หวัน และเมื่อเร็วๆ นี้ที่ฮ่องกง และจีน ถึงขนาดเกิดน้ำท่วมในกรุงปักกิ่ง ในรอบ 50 ปี ในอเมริกาและยุโรปเผชิญสภาวะอากาศร้อนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเกือบถึง 50 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนกว่าบางประเทศในแถบเอเซียเสียอีก มันเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ นี่คือคำถามที่หลายคนถามอยู่ในใจ เราพอจะมีทางที่จะป้องกัน บรรเทา เยียวยาแก้ไขให้มันลดลงได้บ้างมั๊ย ซึ่งผู้เขียนคิดว่าแม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลกเขายังนั่งกุมขมับปวดหัว ไม่รู้ว่าจะหาทางเยียวยาแก้ไขอย่างไรเลย เพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดในอัตราเร่ง ทวีคูณ และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าจะช่วยกันก็คือต้องช่วยกันในระดับประชาคมโลกพร้อมๆ กันทั่วทั้งโลก เพราะใครคนใดคนหนึ่งไม่สามารถระงับยับยั้งหรือแก้ไขได้แต่เพียงลำพัง ภัยครั้งนี้ใหญ่ถึงขั้นที่เป็นมหันตภัยขั้นรุนแรงที่สามารถล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์บนโลกนี้ได้ทั้งโลกเลยทีเดียว แต่ต้องตระหนักและเริ่มลงไม้ลงมือกันคนละเล็กละน้อยนับแต่วินาทีนี้กันแล้ว ไม่อยากบอกว่ามันสายไปแล้ว เดี๋ยวจะเสียกำลังใจ ยังไงเสียผู้เขียนยังไม่คิดว่าวันสิ้นโลกจะมาถึงในเวลาอันใกล้นี้อย่างแน่นอน และยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ยังพอจะมีสติปัญญาแก้ไข และรับมือได้อยู่





(ข้อมูลปี 2002 : ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอาไว้ว่า พื้นที่น้ำแข็งอันใหญ่โตกว้างขวางที่เรียกกันว่า ลาร์เซ็น บี.หรือ บี.22 ซึ่งเคยเกาะอยู่กับแผ่นทวีปแอนตาร์กติกา มานานไม่น้อยกว่า 12,000ปีมาแล้ว ได้ละลายจนเกิดการแยกตัวออกไปจากแผ่นทวีปมีขนาดกว้างถึง 2,130 ตารางไมล์ มีน้ำหนักถึง 7.2 แสนตัน ใหญ่โตกว่าประเทศเล็กๆ อย่างประเทศสิงคโปร์กว่า 9เท่า)


วิกฤติโลกเรื่องที่ 2 คือฝีทุนนิยมโลกกำลังจะแตกหรือแตกไปหลายฝีแล้ว สาเหตุเกิดจากความโลภโมโทสันต์ การเสพติดประชานิยม ลัทธิบริโภคนิยม อย่างบ้าคลั่ง และไม่มีขีดจำกัด ความไม่พอดี หรือไม่ประมาณตนในศาสนาพุทธนั่นแหละ โดยประเทศหัวหอกของทุนนิยมทั้งหลายโดนกันถ้วนหน้า นับตั้งแต่อเมริกา เจอวิกฤติซับไพร์ม ซีดีโอ และเลห์แมนบราเธ่อร์ เรื่อยมาถึงฟองสบู่แตกของประเทศอาหรับอย่างดูไบ ลามมาถึงวิกฤติหนี้สินยุโรปหรือหนี้สาธารณะในกรีซ โปรตุเกส สเปน อิตาลี ก่อนหน้านี้ก็มีประเทศที่ประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจจนต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF อย่างฮังการี ไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในยุโรปตะวันออกบางประเทศ หรือแม้กระทั่งประเทศใหญ่ๆอย่างอังกฤษก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจหนนี้ด้วยเหมือนกัน ปัจจุบันลามเข้าสู่เขตยูโรโซนไปเรียบร้อยแล้ว และสัญญาณอันตรายเมื่อเร็วๆนี้ ที่แสดงออกมาก็คือ GDP ของประเทศที่โตเร็วที่สุดในโลกอย่างจีนและอินเดียก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นั่นสะท้อนให้เห็นว่าพอเกิดปัญหาด้านหนี้สิน และสถานะการเงินการคลังในแถบประเทศตะวันตกหรือพี่เอ้ย ที่เคยทำตัวเป็นพี่เบิ้มในฟากฝั่งทุนนิยมทั้งหลาย พลอยทำให้กำลังซื้อหดหายแบบเฉียบพลัน กระทบไปถึงประเทศเกิดใหม่และประเทศที่พึ่งพาการส่งออก และตลาดส่งออกจากประเทศตะวันตกกันเป็นแถบ สะท้อนผ่านตลาดหุ้นก็ดูได้ สะท้อนผ่านสินค้าโภคภัณฑ์ทุกตัวลงหมด แม้กระทั่งทองคำก็ลง ประเทศที่เคยเป็นดาวเด่นด้านส่งออก อย่างเกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เดี้ยงกันเป็นแถบๆ สะท้อนผ่านค่าเงินของพวกเขาด้วย ผลกระทบนี้จะลุกลามเป็นลูกโซ่เหมือนโดมิโน่มั๊ย หรือจะเป็นไข้เรื้อรังไปอีกนานแค่ไหน สิ่งเหล่านี้กำลังเป็นที่สนใจ ห่วงใย ของนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย ผู้บริหารงานในระดับหัวๆ ของภาครัฐและเอกชนชั้นนำ ในทุกประเทศว่าจะนำพาองค์กรไปรอดมั๊ย หรือฝ่าด่านมหันตภัยตัวนี้ไปได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ และให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ในเวลาที่จำกัดด้วย ได้อย่างไร

วิกฤติโลกเรื่องที่ 3 คือวิกฤติด้านศีลธรรม/จิตใจมนุษย์ที่ล้วนตกต่ำ เสื่อมลง อย่างถึงที่สุดในยุคปัจจุบันนี้อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อะไรบ้าง ที่พอจะยกเป็นตัวอย่างให้เห็นได้ชัดก็คือ การใช้เด็กเป็นโล่ห์มนุษย์ในสงครามหรือการก่อการร้าย ระเบิดพลีชีพ หรือใช้นักรบเด็ก ยังไม่นับรวมการใช้แรงานเด็กในภาคอุตสาหกรรม การค้ามนุษย์ขอทานเด็ก โสเภณีเด็ก ถ้าเป็นในประเทศเราเองที่เจอมากที่สุดก็คือปัญหาชิงสุกก่อนห่าม คือปัญหาแม่วัยใส การทำแท้ง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร จนเกิดสภาพท้องก่อนแต่งหรือท้องแบบหาพ่อของเด็กไม่ได้ จนเกิดผลกระทบข้างเคียงก็คือการทำแท้ง สูงมากในประเทศนี้ ปัญหาแรงงานเถื่อน ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหาผู้อพยพข้ามแดนจากการสู้รบหรือการไม่รับสภาพการเป็นประชากรของประเทศ เช่น โรฮิงยา ปัญหามิจฉาชีพในทุกรูปแบบและโดยเฉพาะแฝงเข้ามาในคราบของภิกษุ หรือนักบวช นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จะเห็นข่าวว่าพระค้ายาบ้า เสพยาบ้าก็มี พระข่มขืนสีกาหรือพระตุ๊ด เณรแต๋ว พระเกย์ เพิ่มขึ้นมากมายในประเทศนี้ แก๊งค์ตกทอง แก็งค์คอลเซ็นเตอร์ ที่ต้มตุ๋นหลอกลวงเหยื่อให้โอนเงิน ถึงขนาดมีคอลเซ็นเตอร์อยู่ประเทศนึง ไปหลอกเหยื่ออยู่อีกประเทศนึง ทำกันอย่างเป็นกระบวนการคือแท็คทีมทำกันแล้วเดี๋ยวนี้ กระจายไปในทุกวงการ เมื่อก่อนที่ว่าเจ๋งก็อย่างพวกการพนันในบ่อน การพนันฟุตบอลที่เจ้ามืออยู่ต่างประเทศ พัฒนามาเป็นเว็บไซต์ออนไลน์ การค้าประเวณีของพวกสังคมไฮโซ ดาราเซเลป ที่พวกที่ใช้บริการเป็นนักการเมืองระดับชาติ ไปจนถึงการค้ายาบ้าที่ผู้บงการสั่งของออกมาจากในคุกก็มี ถ้าในระดับประเทศก็พวกนักการเมืองก็กินหัวคิว กำหนดนโยบาย สร้างโปรเจ็คหรือโครงการ ล็อกสเป็คและอนุมัติให้คนของเครือข่ายตัวเองมารับงาน ถ้าในระดับโลกก็เวลานี้ประเทศมหาอำนาจโลกร่วมหัวกันบีบบังคับประเทศเล็กๆ ให้จำต้องยกดินแดนให้อีกประเทศนึงแล้วแบ่งปันผลประโยชน์ด้านพลังงานใต้พื้นดินกัน โดยไม่สนใจใยดีต่อประชาชนของประเทศนั้น เป็นการตกลงแบ่งเค้กกันของพวกขายชาติในระดับหัวๆ กัน ถ้าในหลายๆ ประเทศในโลกมุสลิมที่รู้แกว ฉลาดทันพวกมหาอำนาจ และไม่ยอมที่จะให้มหาอำนาจมาแสวงหาประโยชน์เอาเปรียบด้านพลังงาน ก็จะถูกกลั่นแกล้งโดยใช้ข้ออ้างเรื่องผู้นำเป็นเผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตยต้องแทรกแซงด้วยการคว่ำบาตรบ้าง รวมหัวกันไม่ซื้อน้ำมันบ้าง ใช้กลไกด้านการเงินไปอายัดหรือตรวจสอบบัญชีเงินฝากบ้างหล่ะ หรือหนักๆ เข้าก็ไปถล่มทำสงครามยึดครอง และปกครองให้ได้ สุดท้ายก็คือหวังไปปล้นเอาพลังงานของประเทศเขามาเป็นของตัวเอง โลกจึงลุกเป็นไฟอยู่ในเวลานี้นั่นเอง ตัวอย่างก็ ลิเบียเสร็จไปแล้ว ที่กำลังต่อสู้กันอยู่ก็คือที่ซีเรีย และที่หมายมั่นปั้นมืออยากจะได้ก็คืออิหร่าน แต่คงต้องเหนื่อยหน่อย เพราะเขาไม่ใช่ประเทศเล็กๆ และมีแบ็คดีอย่าง รัสเซีย จีนหนุนหลังด้วย มหาอำนาจโจรตัวนั้น คงลำบากนิดนึง แต่ไม่ยอมลดละแน่นอน เพราะมหาอำนาจโจรชาตินี้เป็นผู้ค้ารายใหญ่ด้านพลังงาน อาวุธรายใหญ่ของโลกด้วย อีกทั้งมหาอำนาจโจรตัวนี้แหละเป็นต้นตอของปัญหาวิกฤติโลกทั้ง 3ข้อนี้เลย มีส่วนเอี่ยวในทุกวิกฤติอย่างไม่รู้สำนึก ยังคงตั้งหน้าตั้งตาสร้างวิกฤติต่อไปเรื่อยๆ ฉากหน้ามักแสดงตนเป็นตำรวจโลก แต่แท้ที่จริงแล้วคือโจรปล้นทรัพยากร สูบความมั่งคั่งของทุกประเทศที่ตนเองไปปฏิสัมพันธ์ด้วย คือทฤษฏีของเขาคือทำลายก่อนแล้วยึดครอง จากนั้นค่อยสร้างขึ้นมาใหม่อีกที แต่ที่สุดแล้วต้องเป็นของเขาหมด เพราะเขาคือเจ้าโลกแต่เพียงผู้เดียว



(ภ.อเมริกันเรื่อง Dictator สร้างโดยซาช่า บารอน โคเฮน เนื้อหาจิกกัดพฤติกรรมผู้นำเผด็จการโลกที่ 3 แต่ออกแนวอคติหรือมุมมองด้านลบมากเกินไป ,Farenhei 9/11 สร้างโดยไมเคิล มัวร์ เนื้อหาจิกกัดพฤติกรรมของประธานาธิบดีสหรัฐ ,The Ides of March สร้างโดยจอร์จ คลูนี่ย์ เนื้อหาเรื่องราวของแวดวงการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งระหว่างที่นักการเมืองรายหนึ่ง (รับบทโดย จอร์จ คลูนีย์) ออกหาเสียงในช่วงเลือกตั้ง ผู้ช่วยของเขา (รับบทโดย ไรอัน กอสลิ่ง) ก็ได้พบกับความไม่ชอบมาพากล และเรื่องสกปรก ในเบื้องลึกเบื้องหลังของการก้าวขึ้นมาเป็นผู้สมัครหาเสียง เลือกตั้งประธานาธิบดี จึงเป็นชนวนสำคัญให้เกิดการเปิดโปงเกิดขึ้น ดูทั้ง 3 เรื่องประกอบกัน จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมของนักการเมือง,การเมืองในโลกใบนี้ได้กระจ่างมากขึ้น)


อ้างอิงบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับมหันตภัยธรรมชาติที่กำหนดโดยฝีมือมนุษย์
http://www.oknation.net/blog/nidnhoi/2011/10/10/entry-5

http://en.wikipedia.org/wiki/Jesse_Ventura

และบทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง Margin Call ภ.ที่พูดถึงเหตุการณ์ 24 ชั่วโมงก่อนเกิดวิกฤติการเงิน Lehman Brother


MARGIN CALL (2011) The Day After Tomorrow
บทวิจารณ์ โดย อ. ประวิทย์ แต่งอักษร

โดยรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว Margin Call ไม่ใช่หนังสำหรับคนเดินดินกินข้าวแกง ทั้งนี้ก็เพราะมันบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงอยู่กับการพังครืนของระบบเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2008-ซึ่งว่าไปแล้ว ต้นสายปลายเหตุของมันไม่เพียงซับซ้อน ยังมีเงื่อนไขและปัจจัยสารพัดสารเพผูกพัน รวมทั้งคล้ายๆว่าผู้ชมยังถูกเรียกร้องให้ต้องมีพื้นภูมิความรู้ในเรื่องจำเพาะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นและการลงทุน เพราะไม่อย่างนั้น-ก็คงประสบความยากลำบากในการติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาและศัพท์แสงที่บรรดาตัวละครในหนังเรื่องนี้โต้ตอบกัน-ซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกับของมนุษย์ต่างดาว

แต่เอาเข้าจริงๆแล้ว นั่นก็เป็นเพียงเปลือกนอกที่ห่อหุ้ม และเนื้อแท้ของหนังเรื่องนี้-ก็ไม่ได้อยู่เกินกำลังความสามารถในการทำความเข้าใจของปุถุชนคนธรรมดา พูดอย่างง่ายที่สุด หนังเรื่อง Margin Call ก็คือ Titanic ที่ตัดทอนโรแมนซ์(อันเหลวไหล)ของแจ็คกับโรสทิ้งไป และสถานการณ์ในช่วงก่อนที่หนังจะเริ่มต้น-ก็คือตอนที่เรือไททานิกกำลังตรงดิ่งเข้าไปหาภูเขาน้ำแข็งในท่ามกลางความเงียบสงัดและความมืดมิดที่ปกคลุม ขณะที่โฟกัสของ Margin Call ได้แก่การถ่ายทอดปฏิกิริยาของคนกลุ่มแรกๆที่สังเกตเห็นความไม่ชอบมาพากล และในห้วงเวลาที่คับขันจวนเจียน หนทางเดียวที่พวกเขาทำได้-ก็คือการกระโดดขึ้นเรือชูชีพเพื่อเอาตัวรอดเพราะตระหนักในข้อเท็จจริงสองประการ หนึ่ง จำนวนเรือชูชีพไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้โดยสารทั้งลำ (และนั่นยังไม่ต้องนึกถึงอาการสติแตกของคนตอนหนีตาย) และสอง ความวินาศสันตะโรของการประสานงาจะส่งผลให้งานนี้-ต้องมีคนบาดเจ็บล้มตาย (หรือฉิบหายขายตัว) เป็นเบือแน่นอน

ความน่าสนใจอย่างที่สุดของหนังเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งได้แก่เนื้อหาที่ได้รับการบอกเล่าอย่างเข้มข้นและชวนให้จดจ่อติดตามชนิดไม่อาจละวางสายตา หมายความว่าหนังของ เจ.ซี.แชนเดอร์แจกแจงได้อย่างรัดกุมและเป็นลำดับขั้นตอนให้รับรู้ว่า-เกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนักวิเคราะห์หนุ่มของบริษัทซื้อขายหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง (สันนิษฐานได้ไม่ยากว่ามันคือเลห์แมน บราเธอร์ส หนึ่งในตัวการที่นำพาให้ตลาดหุ้นพังพินาศ) พบความผิดปกติในวงจรหนี้สิ้นของบริษัทและสรุปได้ในที่สุดว่ามันคือสัญญาณของหายนะที่เริ่มก่อตัว ซึ่งมันตามติดมาด้วยการวางแผนรับมือที่ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเกินไปกว่าการเทขายหุ้นทั้งหมดทิ้งให้เร็วที่สุดก่อนที่มันจะไม่เหลือมูลค่าในตัวมันเอง หรือไม่เช่นนั้น-ถ้าอ้างคำพูดของตัวละคร มันก็จะกลายเป็น ‘กระสอบใส่อุจจาระที่เหม็นหึ่งและมีขนาดมหึมาที่สุดในประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม’

อีกส่วนได้แก่การบอกเล่าข้อมูลปลีกย่อยเกี่ยวกับบรรดาตัวละครหลักที่มีอยู่ราวๆ 7-8 คน ซึ่งไม่ว่ามันจะผ่านกระบวนการเสกสรรปั้นแต่งในทางดราม่าเพียงใด อย่างน้อยที่สุด มันก็ช่วยให้ผู้ชมสัมผัสได้ถึงความเป็นมนุษย์มนาของตัวละครแต่ละคน มีความรู้สึกรู้สม และไม่ใช่ภูตผีปิศาจที่ถูกวาดอย่างน่ากลัวและเกินจริง และไม่มากไม่น้อย มันสร้างความหนักแน่นและน่าเชื่อถือให้กับตัวหนังอย่างมีนัยสำคัญ

เราได้รับรู้ว่าตัวละครสองคนในเรื่องร่ำเรียนทางด้านวิศวกรรม คนหนึ่งสร้างจรวด ส่วนอีกคนสร้างสะพาน แต่ตัวแปรที่หัวเหวิถีชีวิตของทั้งสองคนให้กลายมาเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือโบรกเกอร์ในตลาดหุ้น-ก็คือเรื่องของเงิน หนังยังบอกอีกว่าขณะที่รายได้ต่อปีของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน-เท่ากับสองแสนห้าหมื่นเหรียญ ซึ่งใครคนนั้นก็แสดงออกทำนองว่ามันเป็นตัวเลขที่งดงาม ทว่ามันกลับเทียบเคียงไม่ได้แม้แต่กระผีกริ้นกับรายได้ต่อปีของคนระดับซีอีโอ.ที่สูงถึง 86 ล้านเหรียญ หรืออีกนัยหนึ่ง สวาปามก้อนเค้กคำโตกว่าเพื่อน

แต่สิ่งละอันพันละน้อยเหล่านั้น-เมื่อประกอบเข้าเป็นภาพใหญ่ มันก็นำพาผู้ชมมาสู่ข้อสรุปอย่างน้อยที่สุดสองสามประการด้วยกัน นั่นคือ เงินและความโลภกัดกร่อนสติและสัมปชัญญะของผู้คนได้อย่างง่ายดาย, หายนะครั้งนี้มันใหญ่เกินไป และไม่มีใครคนหนึ่งคนใด ไม่ว่าสำนึกทางคุณธรรมของเขาจะสูงส่งหรือต่ำเตี้ยติดดินแค่ไหน-สามารถยับยั้งความเลวร้ายครั้งนี้ไม่ให้ประทุขึ้นมาได้ และการเล่นหุ้นก็เหมือนกับการเล่นเก้าอี้ดนตรี

ท่วงท่าในการร่ายรำไม่มีความหมายแต่อย่างใด ผลแพ้ชนะอยู่ในตอนที่เสียงเพลงหยุดลง และแท็คติกก็คือ ความรวดเร็ว โหดเหี้ยม เลือดเย็น และถ้าจะมีใครหาเก้าอี้นั่งไม่ได้และต้องเดินออกจากเกม ‘มันก็ควรจะเป็นมึง ไม่ใช่กู’