Marketing Return ว่าด้วยการกำหนดเป้าหมายและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์
จุดเริ่มต้นของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ เปิดตัวสินค้าใหม่ หรือวางแผนทำการตลาดให้กับสินค้าตัวใดตัวหนึ่ง กระบวนการที่สำคัญต่อมาหรือต้องคิดมาพร้อมๆกับการวางคอนเซ็ปต์ของตัวสินค้าก็คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 อย่างด้วยกันที่เรียกว่า STP (Segmentation,Target Group,Positioning) ก็คือพิจารณาเซ็กเม้นท์หรือลักษณะของลูกค้ากลุ่มต่างๆ ซึ่งอาจจำแนกตามอายุ เพศ การศึกษา รายได้ อาชีพ พฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ ภูมิศาสตร์ของที่ตั้ง เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ระดับชั้นทางสังคม เป็นต้น หลังจากนั้นกำหนดกลุ่มเป้าหมายของสินค้า ว่าลูกค้ากลุ่มนี้แหละที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราจะเลือกทำตลาด หรือเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าเฉพาะเจาะจงที่จะใช้หรือซื้อสินค้าของเราแน่ เพื่อเราจะได้วางแผนทำการตลาด ออกแคมเปญการตลาดให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ จากนั้นจึงวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของเราให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และให้สอดคล้องกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย ขั้นตอนของการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์นี้แหละสำคัญที่สุด และก็เป็นงานยาก เพราะว่าหากเราวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายไม่ชัดเจน หรือไม่ตรงกับสินค้าที่แท้จริง อาจทำให้การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ไม่ได้ผล ผลที่ได้รับอาจจะคลาดเคลื่อน ผิดฝาผิดตัว ตำแหน่งทางการตลาดที่เราวางเอาไว้อาจไปสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ใช่เป้าหมายที่เราต้องการจะเลือกก็เป็นไปได้ ตัวอย่างของกรณีนี้ก็คือ กระทิงแดงเมื่อครั้งไปทำตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เคย position หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายเอาไว้เป็นผู้ใช้แรงงาน แต่ภายหลังมาทราบว่า สถานบันเทิง และนักท่องเที่ยว ตลอดจนนักกีฬา ซื้อไปเป็นส่วนผสม mixer เครื่องดื่ม เพื่อเพิ่มรสชาด และความแรงของเครื่องดื่ม จึงต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ แล้วก็ขายดิบขายดี อีกตัวหนึ่งก็คือ น้ำดื่มกึ่งยาสมุนไพรอุทัยทิพย์ ซึ่งเดิมทีเป็นหัวเชื้อเครื่องดื่มที่ใช้ชงในน้ำดื่ม มีสรรพคุณช่วยให้กระชุ่มกระชวย มีกลิ่นแบบไทยๆ มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์แบบ mass แต่ภายหลังมาทราบว่ามีวัยรุ่น เด็กหญิงไทย นิยมซื้อไปทาริมฝีปากให้ปากสีแดงเรื่อๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ความ fresshy ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เพิ่ม segment การตลาด และ focus กลุ่มเป้าหมายใหม่ วางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ จนได้ตลาดกลุ่มใหม่ขึ้นมาแบบไม่คาดคิด
จากนั้นจึงสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ อะไรคือจุดขายที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ การสร้างความแตกต่างของตัวสินค้า สามารถทำได้ 3 แบบ คือ 1.สร้างความแตกต่างในด้านตัวผลิตภัณฑ์ เป็นนวัตกรรมใหม่ ประดิษฐ์กรรมใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดหรือในโลก อาทิ การผลิต จอทีวีแบบบาง (LCD,LED) หรือ 3มิติ 2.สร้างความแตกต่างในแง่การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ หรือแนวความคิดใหม่ การต่อยอดจากของเดิม เช่น โทรศัพท์ smartphone อย่าง i-phone, เครื่องฟังวิทยุ i-pod , tablet อย่าง i-pad 3.การสร้างความแตกต่าง ด้วยยุทธวิธี รูปแบบการนำเสนอแบบใหม่ วิธีใหม่ การตลาดแบบใหม่ เช่น สายการบินต้นทุนต่ำ Vergin Airline , Thai airasia , TV direct ,ร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ เป็นต้น
Brand Awareness สร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์ ว่าสิ่งที่เป็นคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ สารที่เราส่งไปตรงกับความรู้สึกนึกคิด หรือการตระหนักรู้ (Perception) หรือการรับรู้ ความเข้าใจของลูกค้าหรือไม่ ถ้าตรงกันก็ต้องถือว่า การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์และการกำหนดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของเราถูกต้องแล้ว แต่หากว่าไม่ตรงกัน ก็ย่อมแสดงว่า คุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ที่เราส่งออกไปหรือส่งมอบมานั้น ลูกค้าเห็นไม่ตรงกับเรา เขาอาจให้คุณค่าที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าที่เราตั้งไว้ก็เป็นได้ ซึ่งย่อมมีผลต่อการที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อตัวผลิตภัณฑ์นั้นก็ได้ ตัวอย่างของ message ที่แบรนด์ชั้นนำสร้าง กำหนด และสื่อออกไป แล้วลูกค้ารับรู้ ตระหนักรู้และยอมรับใน message นั้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ Volvo กับ ความปลอดภัย , BMW กับ อิสระของการขับขี่ ,ผลิตภัณฑ์น้ำดำ เป๊ปซี่ เป๊ปซี่เต็มที่กับชีวิต,โค้ก คอโค้กคอเดียวกัน , ร้านสะดวกซื้อ 7-eleven หิวเมื่อไร ก็แวะมา, ร้าน S&P มีแต่ของอร่อย เป็นต้น
เราคืออะไรในใจลูกค้า เราเป็นอะไรในใจลูกค้า และลูกค้าของเราคือใคร
ลูกค้าของเราคือใคร (บทความนี้ถอดความ/คัดลอกจาก k-sme care ธ.กสิกรไทย)
โดยเฉพาะ smeอย่างพวกเรา เจ้าของก็คงต้องพบกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจมากมายและบางครั้งก็ต้องตัดสินใจกับเรื่องสำคัญมากๆ ที่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนขององค์กรเลยก็ว่าได้
มีปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้นๆ สิ่งที่เราควรคำนึงถึงมากที่สุดคืออะไรสำหรับผมแล้ว ก็คือ ลูกค้า นั่นเองPeter F.Drucker ปรมาจารย์ทางด้านการบริหารจัดการของโลกได้กล่าวไว้ว่า คำถามที่เราควรจะต้องถามตัวเอง ก่อนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ คือ
1.ธุรกิจของเราคืออะไร?
2.ลูกค้าของเราคือใคร?
3.ลูกค้าเห็นคุณค่าอะไรในธุรกิจของเรา...
เจ้าของธุรกิจนั้นต้องเป็นผู้กำหนดว่าสินค้าและบริการของเราสร้างมาเพื่อใคร สามารถจินตนาการและมองเห็นเป็นภาพได้ว่าลูกค้าที่เดินมาซื้อสินค้าของเรานั้นคือใครเพศไหน อายุเท่าไหร่ บุคลิก ไลฟ์สไตล์เป็นอย่างไร การจินตนาการ มองเห็นเป็นภาพนั้นทำให้เราพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุดยิ่งภาพนั้นชัดเจนเท่าไหร่ แผนที่ในการดำเนินธุรกิจของเราก็ชัดขึ้น เท่านั้น แผนธุรกิจของเราก็จะต้องพัฒนาดำเนินไปเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ในทุกๆ เรื่องทั้งเรื่องของการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายของเราก็ชัดเจนและตรงกลุ่มมาก ที่สุด
การพัฒนาสินค้า ซึ่งหมายถึงในหลายๆ ด้านไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้กรอบ ตรากรีนเดย์ ของเรา ที่เมื่อกำหนดลูกค้าเป้าหมายชัดเจนแล้วก็ต้องพัฒนาสินค้า ทั้งในด้าน บรรจุภัณฑ์ รสชาติ ราคา ขนาดบรรจุ ประเภทสินค้า ขั้นตอนและรายละเอียดในการผลิตเราต้องพัฒนาคุณค่าโดยรวม ของสินค้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าของเราให้ได้มากที่สุด
ลูกค้าจะซื้อสินค้าเราโดยดูจากคุณค่าโดยรวมที่จะได้รับการพัฒนาคุณค่าโดยรวมในหลายๆด้านนี้ ต้องอาศัยภาพ ลูกค้าของเราที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นเราก็คงไม่สามารถพัฒนาสินค้าในด้านต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้หรือแม้กระทั่งการสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและ บริการ ความแตกต่างนั้นเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือไม่ลูกค้าเห็นคุณค่าของความแตกต่างนั้นหรือไม่หรือเป็นแค่สิ่งที่เรา คิดว่าต่างเมื่อเรารู้แล้วว่าลูกค้าของเราคือใครสิ่งต่อมาที่ต้องคำนึงก็คือลูกค้าเห็นคุณค่าอะไรในธุรกิจของเราคุณค่าได้ที่ลูกค้าให้ความสำคัญกับสินค้าของเราอาจจะเป็นเรื่องของ ราคา รสชาติ สุขภาพที่ดีเมื่อรับประทาน ไลฟ์สไตล์ การบริการ และอื่นๆ
เราจะต้องรักษา และพัฒนาคุณค่านั้นๆให้ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์กรีนเดย์ เราก็พยายามที่จะรักษาคุณค่าที่ลูกค้าของเราให้ความสำคัญ และพยายามพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ คุณค่าที่ว่านั้นก็คือการที่ลูกค้าได้บริโภคขนมเพื่อสุขภาพ ที่มี รสชาติดี ในราคาที่เหมาะสมเมื่อเราสามารถเอาชนะใจลูกค้าได้ ให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างจริงใจและต่อเนื่อง ความสำเร็จก็คงอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ข่าวสาร SMEK-SME Analysisกลยุทธ์ SMEK SME Inspiredเรื่องเล่าชาว SMEK-Smart SMESAEC
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น