วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แกรมมี่แถลงสาเหตุที่ถอด MV ออกจาก You Tube

ต่อกรณีของ GMM grammy ได้เปิดประเด็นใหม่ด้วยการถอด MV ใหม่ทุกตัวออกจากเว็บไซต์ You Tube ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.2555 จนทำให้ไม่สามารถรับชมได้ผ่านเครือข่ายนี้ ซึ่งโดยส่วนตัวก็ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้มาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยข้ออ้างการละเมิดลิขสิทธิ์ การนำไปดัดแปลงทำซ้ำ โดยไม่ขออนุญาต และไม่ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ ผู้เขียนคิดว่าเรื่องนี้มันคงเกิดขึ้นซักวัน แล้ววันนั้นก็มาถึงจนได้ อันนี้ก็พอจะเข้าใจได้ เหตุผลในการถอด MV ออกจาก YouTube จนไม่สามารถรับชมได้


คุณกริช ธอมัส ได้ให้เหตุผลไว้ว่า “เนื่องจากมีการละเมิดลิขสิทธิ์นำเอ็มวีไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากธุรกิจดาวน์โหลด แจงบริษัทเพลงทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องธุรกิจเพลงและอาชีพคนทำเพลงให้อยู่รอด พฤติกรรมผู้บริโภคที่เดิมที เราโทร.หากัน แต่เดี๋ยวนี้เราใช้ไลน์ วอทแอป ทวิตเตอร์ ทำให้เดี๋ยวนี้เราไม่รับโทรศัพท์กันแล้ว แต่ที่เราจะพูดถึงธุรกิจที่เป็นประเภทแอดเวอร์ไทซิ่ง ซัพพอร์ต หรือธุรกิจที่รองรับกับการโฆษณา อย่างยูทูป และวีโว ซึ่งเป็นการร่วมมือของโซนี่และยูนิเวอร์แซล และอาบูดาบี ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหา รายได้มาจากการโฆษณา ในเมืองนอกเวลาเจ้าของเทคโนโลยีจะทำอะไรขึ้นมา จะคำนึงถึงเจ้าของสิทธิ์ เพราะถือว่าเอาของเขาไปดูฟรีไม่ได้ ทุกธุรกิจมีต้นทุน มีรายจ่าย เลยต้องหาโมเดลที่วินวินทั้งสองฝ่าย ในอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย แต่ไทยไม่มีธุรกิจยูทูปเพราะมีปัญหาข้อกฎหมายที่ยูทูปยังไม่สามารถมี youtube.co.th ได้ในเมืองไทย เพราะกฎหมายไอซีที แต่เรามีการจัดเก็บสิทธิ์การเผยแพร่ต่างๆ เรามีทั่วโลกก็มี การทำซ้ำดัดแปลงเพลงเอ็มวีซ้ำ ก็มีลิขสิทธิ์ ซึ่งการที่มีคนเอาเพลงคนอื่นไปร้องแล้วอัดลงยูทูปน่ะผิดกฎหมายนะครับ แต่เราเห็นว่าขำๆ ปล่อยบ้างปรามบ้างเพราะผิดกฎหมาย มาถึงยูทูป รายได้เขามาจากการโฆษณา เอาจำนวนผู้เข้าชมมากมาซื้อโฆษณา โดยระบบการบิดพื้นที่ตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งถ้าเขามีรายจากตรงนั้นเยอะก็จะมาแบ่งให้กับเจ้าของเนื้อหานั้นๆ ก็ว่ากันไป แต่ในเมืองไทยมีความน่ากลัวของเทคโนโลยีที่เข้ามากับธุรกิจเพลง ซึ่งเดิมทีโทรศัพท์เป็นระบบ2จี การเข้าถึงข้อมูลยังไม่สะดวก ก็ไม่เกิดปัญหา เราเอาเพลงไปโพสต์ในยูทูป แต่ไม่เกิดปัญหาเพราะยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ที่คนใช้ดู ความน่ากลัวคือคุณสามารถเอายูทูปไปอยู่ในมือถือของคุณ แล้วเอาเพลงไปเลย เพลงอยู่ในกระเป๋าเรียบร้อย ถามว่าจะมีสักกี่คนที่จ่ายตังค์โหลด ไม่มีแน่ คนที่จ่ายคือคนที่อยู่ในระบบ2 จีครับ คนมีสมาร์ทโฟนไม่จ่าย แล้วถ้ายูทูปไทยแลนด์ไม่มีรายได้ของคนทำงานอยู่ไหน การเอาสินค้าที่มีต้นทุนไปไล่แจกไม่ถูกต้อง ในแง่ของสังคมก็บอกว่า จะทำยังไงแกรมมี่ทำการตลาดแบบนี้ เราบอกเลยดูได้ คือผ่านทางจีเมมเบอร์ที่ปรับปรุงให้ดี ซึ่งจีเมมเบอร์ก็คือวีโวในอนาคต ดูเอ็มวีได้แค่ไม่สะดวกหน่อย”

“ฉะนั้นเราก็พยายามคุยกันหาทางแก้ปัญหานี้ ยังดูเอ็มวีเราได้นะครับ แต่ขอให้เห็นใจที่ทำแบบนี้ต้องปกป้องคนทำธุรกิจอาชีพแต่งเพลงของเราครับ ยูทูปไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแกรมมี่ ไม่ครับ แต่ส่งผลต่อภาพรวมเป็นกระแสทั่วโลก นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมวีโวถึงออกจากยูทูป เพราะยังไม่มีโมเดลรองรับ เราก็พยายามขยายช่องของจีเมมเบอร์ให้เข้าได้ 1 หมื่นคนต่อ 1 วินาที เราเติมได้ขอแค่เข้ามาดู และเข้าดูฟรี แชร์ได้ด้วย นั่นหมายถึงเราจะเป็นเหมือนวีโวที่มีช่องทางธุรกิจในอนาคต ถ้ายูทูปไม่มีช่องทางนี้ได้จนกว่าจะมียูทูปประเทศไทย ถามว่าต่อไปในอนาคตจะเสียเงินมั้ย คือในแง่ดูเอ็มวีถ้าเอาโมเดลยูทูปมาใช้ คงไม่เก็บเงิน แต่จะมีคนดูมาเก็บเงิน ถ้ายอดวิวสูง และมีโฆษณาเข้ามา ผู้บริโภคและเราไม่เดือดร้อน ก็วินวิน ซึ่งอยากคุยโมเดลนี้กับยูทูป การเซิร์ทค้นหาเพลงไม่มีปัญหาครับ ก็จะขึ้นว่าอยู่ในจีเมมเบอร์ เพลงเรายูทูปในต่างประเทศยังดูได้นะครับ เพราะเขามีโมเดลชัดเจน ยังเป็นคู่ค้า แม้จะน้องนิดก็เถอะ แล้วเพลงเอ็มวีในยูทูปก็จะดึงออกมาครับ ดึงหรือไม่ดึงต้องเจรจาจากยูทูป ถ้าทำลายธุรกิจ ของใหม่เราไม่เอาลงแล้วกัน อันเก่าก็ทยอยๆ เพราะมันเยอะครับ เพลงเราเป็นดาต้าข้อมูล เราก็ต้องปรับตัวตามโลก เราปกป้องตัวเอง เพราะเราไม่มีธุรกิจไงครับ พอไม่มีธุรกิจ ทุกคนมีต้นทุน แต่ไม่มีรายได้ไปไม่รอดครับ”

ผู้เขียนจับได้ 2 ประเด็นก็คือ มีการดาวน์โหลด MV ไปดูฟรี ไปตัดต่อทำเป็น mp3 (ทำขายหรือแจกจ่ายกัน) หรือนำไปแชร์กันต่อไปให้เพื่อนๆ โดยไม่ยอมเข้าไปดาวน์โหลดเสียเงินผ่านช่องทางของแกรมมี่ (เจ้าของลิขสิทธิ์) จนขาดรายได้ ซึ่งมีผลกระทบตามที่คุณกริชบอก กับ อีกประเด็นนึงก็คือ โมเดลธุรกิจของ youtube ในเมืองไทยยังไม่ชัดเจน ทำให้การจัดเก็บรายได้จากค่าโฆษณาที่ควรจะมีตามแบบเมืองนอกหรือสากล ไม่เกิดขึ้นในเมืองไทย ทำให้แกรมมี่ถูกเอาเปรียบเพราะมี content หรือเพลงที่ปล่อยอยู่ใน youtube จำนวนมากแต่ไม่สามารถสร้างรายได้ จึงต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บใหม่ set up model ธุรกิจขึ้นมาใหม่เลียนแบบของ vivo หรือโซนี่ที่ญี่ปุ่น

ฟังดูก็เป็นสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างแกรมมี่ พึงจะกระทำได้ ถ้าเป็นเราก็ต้องหาทางอุดรอยรั่วรูโหว่นี้เสีย เพราะนานไปก็ทำให้ธุรกิจเพลงไม่สามารถเติบโตได้ แต่สิ่งหนึ่งที่แกรมมี่ยังไม่แก้ปัญหาหรือตอบโจทย์คนฟังหรือกลุ่มผู้บริโภคได้ นั่นก็คือ ทำไมคนฟังถึงหันไปใช้วิธีการดาวน์โหลด หรือฟังหรือดูในช่องทางของ youtube กันอย่างมากมายขนาดนั้น

-you tube เป็น social media ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลกด้านภาพ และเสียง หรือ vdo clip และเทคโนโลยีนี้พัฒนาขึ้นมาตอบสนองช่องว่างบางอย่างที่ทำให้ผู้บริโภคไม่เคยได้รับ เช่น ช่องทางเคเบิ้ลทีวีด้าน music ต้องเสียเงิน ,และเปิดเพลงที่ผู้ฟังไม่อยากฟัง ,ทั้งในขณะนั้นหรือไม่สามารถย้อนหลังกลับไปดูได้ พอสื่ออย่าง youtube มา มันทำให้ธุรกิจเพลงได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ควบคู่กันไป ด้านบวกก็คือทำให้เป็นช่องทางอีกช่องทางในการประชาสัมพันธ์งานเพลง ไม่จำกัดเฉพาะค่ายใหญ่ ค่ายอินดี้ก็อาศัยเป็นที่แจ้งเกิดได้จำนวนมาก ในขณะที่ด้านลบก็คือ ผุ้ฟังหรือผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าหลักไม่จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาสื่อบางสื่อแต่เพียงด้านเดียว เช่น ทีวี วิทยุ และแนวโน้มสื่อที่มาจากอินเตอร์เน็ท จะมาแรงแซงทุกสื่อด้วย

-เป็นช่องทางที่จะทำให้คนฟังสามารถ แสดงความคิดเห็น ฟีดแบ็กที่มีต่อ mv, vdo clip นั้นได้ทันที ซึ่งก็น่าจะเป็นผลดีต่อค่ายเพลง หรือผู้ผลิตนำไปปรับปรุงพัฒนาได้ เป็นตัววัดความนิยมได้ดีอีกด้วย โดยมีการนับจำนวนวิวเวอร์ หรือเพจวิว แบบอัตโนมัติและแม่นยำ ซึ่งดีกว่าช่องทางอื่นๆ ที่เคยมีมา เพราะเรียลไทม์ตลอด

-เว็บ gmember ที่จะใช้เป็นช่องทางรับฟังหรือดาวน์โหลดงานเพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์ และคงเป็นช่องทางที่ gmember จะสามารถหารายได้หรือบริหารจัดการได้ง่ายกว่า ยังไม่สามารถทำให้ลูกค้าประทับใจได้ว่ามีความหลากหลาย ฟีเจอร์ที่คลอบคลุมได้เทียบเท่า youtube แล้วหรือยัง การดาวน์โหลดเพลงฟัง ยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และไม่มีประสิทธิภาพ การบริการยังไม่ดีพอ บางครั้งก็ทำให้ผู้บริโภคเสียเงินไปฟรีๆ โดยที่ไม่ได้รับเพลงนั้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ หรือคุณภาพของเสียงไม่ดีเทียบเท่าจากเว็บเพลงของเมืองนอก ทำให้ไม่ประทับใจ และไม่อยากเสียเงินที่จะจ่ายอย่างถูกกฏหมาย เหตุผลทั้งหลายเหล่านี้คุณกริช ธอมัส ยังไม่ได้ตอบให้ลูกค้าอุ่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเป็นผลดีอย่างไรต่อกลุ่มผู้ฟัง ผู้บริโภค แต่เป็นเหตุผลข้อดี แต่เพียงฝ่ายเดียวของ gmm แกรมมี่ ดังนั้นเรื่องนี้จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกไซเบอร์อยู่เวลานี้

กรณีทำเฉพาะกับเพลงแบบเต็มเพลงเท่านั้น ขณะที่เนื้อหาอื่นๆ เช่น สปอต หรือตัวอย่างเอ็มวีแบบสั้น ก็ยังคงหาดูในยูทูปได้เช่นเดิม
ในประเด็นนี้นั้นต้องชัดเจนว่าเฉพาะเพลงใหม่ที่ทำออกมาภายหลังนับจากนี้ไป แต่เพลงเก่ายังสามารถฟังหรือชมอยู่ได้หรือไม่ แต่แนวโน้มก็คือคงจะทยอยถอดออกไปจนหมด แล้วทำไมยังเห็น mv ของบางค่ายในเครือแกรมมี่ยังสามารถรับชมได้ทางยูทูป นั่นเป็นเพราะอะไร ซึ่งความชัดเจนและกระจ่างในเรื่องนี้มันคลุมเครือ ทำให้ผู้บริโภคสับสน หรือยังไม่เป็นที่สรุปตกผลึกของgmm grammy จึงอยากฝากผู้ใหญ่ทั้งหมดในแกรมมี่ไปคิด วิเคราะห์ ผลดีผลเสีย รวมถึง business model ที่มันสมบูรณ์แบบแล้ว ค่อยออกมาแถลงจะดีกว่ามั๊ย ระหว่างนี้ควรยกผลประโยชน์ให้จำเลย ก็คือคนฟัง เพราะอย่างไรเสียคนดูคนฟังก็คือผู้บริโภคของคุณอยู่ดีในอนาคต ปัจจุบัน หรือในอดีตด้วย อย่ามองแต่เพียงผลประโยชน์ที่อยุ่ในรูปตัวเงินแต่เพียงอย่างเดียวสิครับ ในแง่ของ CRM , การทำตลาดต่อยอดไปในรูปของ show biz หรือคอนเสิร์ตอื่นๆ คุณก็ได้รับผลโดยอ้อมจากช่องทางของ youtube นะจะบอกให้


ข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นเนื้อหา มีดังนี้

“แกรมมี่” แถลงถอด MV ออกจาก ยูทูป เพราะบริษัทเพลงทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2555 02:18 น

ถูกพูดถึงมากทีเดียว ในส่วนของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ “แกรมมี่” ที่ได้ออกนโยบายใหม่ไม่ให้มีการอัพโหลดมิวสิควิดีโอเพลงใหม่ๆ ของศิลปินในสังกัดลงเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง YouTube ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันศุกร์ที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้แกรมมี่ได้รับผลกระทบต่างๆ ตามมามากมาย

ล่าสุดเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 9 ส.ค. ที่ผ่านมา “นายกริช ทอมมัส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจเพลง) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวขึ้นที่ตึกแกรมมี่ ชั้น 21 โดยชี้แจงว่า การถอดเอ็มวีเพลงของแกรมมี่ออกจากยูทูป ทำเฉพาะกับเพลงแบบเต็มเพลงเท่านั้น ขณะที่เนื้อหาอื่นๆ เช่น สปอต หรือตัวอย่างเอ็มวีแบบสั้น ก็ยังคงหาดูในยูทูปได้เช่นเดิม

พร้อมอธิบายเหตุผลว่า เนื่องจากมีการละเมิดลิขสิทธิ์นำเอ็มวีไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากธุรกิจดาวน์โหลด แจงบริษัทเพลงทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องธุรกิจเพลงและอาชีพคนทำเพลงให้อยู่รอด แต่ทั้งนี้เจ้าตัวก็ยอมรับว่า การทำแบบนี้แกรมมี่ได้รับผลกระทบจากแฟนเพลงไม่น้อย

“ก่อนอื่นต้องขออภัยที่สร้างความเดือดร้อนให้กับบางคน แต่ที่เราทำ เราคิดว่าเรามีความจำเป็น เพื่อให้เรามีพื้นฐานความเข้าใจในเชิงธุรกิจเพลง คือเราดูจากธุรกิจเพลงของบริษัททั่วโลก ว่าเขาแก้ปัญหาธุรกิจเพลงอย่างไร อะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ อะไรที่เราจะต้องเดินไป อะไรที่เราจะต้องป้องกันตัวเอง”

“ผมขอพูดในส่วนของด้านริงโทนก่อน ที่เป็นกระแสอยู่พักนึงแล้ว ก็ตกลงเพราะเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เดิมที เราโทร.หากัน แต่เดี๋ยวนี้เราใช้ไลน์ วอทแอป ทวิตเตอร์ ทำให้เดี๋ยวนี้เราไม่รับโทรศัพท์กันแล้ว แต่ที่เราจะพูดถึงธุรกิจที่เป็นประเภทแอดเวอร์ไทซิ่ง ซัพพอร์ต หรือธุรกิจที่รองรับกับการโฆษณา อย่างยูทูป และวีโว ซึ่งเป็นการร่วมมือของโซนี่และยูนิเวอร์แซล และอาบูดาบี ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหา รายได้มาจากการโฆษณา”

“ในเมืองนอกเวลาเจ้าของเทคโนโลยีจะทำอะไรขึ้นมา จะคำนึงถึงเจ้าของสิทธิ์ เพราะถือว่าเอาของเขาไปดูฟรีไม่ได้ ทุกธุรกิจมีต้นทุน มีรายจ่าย เลยต้องหาโมเดลที่วินวินทั้งสองฝ่าย ในอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย แต่ไทยไม่มีธุรกิจยูทูปเพราะมีปัญหาข้อกฎหมายที่ยูทูปยังไม่สามารถมี youtube.co.th ได้ในเมืองไทย เพราะกฎหมายไอซีที”

“แต่เรามีการจัดเก็บสิทธิ์การเผยแพร่ต่างๆ เรามีทั่วโลกก็มี การทำซ้ำดัดแปลงเพลงเอ็มวีซ้ำ ก็มีลิขสิทธิ์ ซึ่งการที่มีคนเอาเพลงคนอื่นไปร้องแล้วอัดลงยูทูปน่ะผิดกฎหมายนะครับ แต่เราเห็นว่าขำๆ ปล่อยบ้างปรามบ้างเพราะผิดกฎหมาย มาถึงยูทูปรายได้เขามาจากการโฆษณา เอาจำนวนผู้เข้าชมมากมาซื้อโฆษณา โดยระบบการบิดพื้นที่ตรงนั้นตรงนี้ ซึ่งถ้าเขามีรายจากตรงนั้นเยอะก็จะมาแบ่งให้กับเจ้าของเนื้อหานั้นๆ ก็ว่ากันไป”

“แต่ในเมืองไทยมีความน่ากลัวของเทคโนโลยีที่เข้ามากับธุรกิจเพลง ซึ่งเดิมทีโทรศัพท์เป็นระบบ2จี การเข้าถึงข้อมูลยังไม่สะดวก ก็ไม่เกิดปัญหา เราเอาเพลงไปโพสต์ในยูทูป แต่ไม่เกิดปัญหาเพราะยังเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ที่คนใช้ดู ซึ่งมันก็ไม่ได้ป้องกันการขโมย แต่ก็ยังจำกัดตัวอยู่แค่นั้น เราเอาไปโพสต์ในยูทูปเพราะตอนนั้นสื่อเรายังน้อย ก็ใช้ชิ่งทางยูทูปจนเราลืมไป แล้วมานึกได้ว่าสมาร์ทโฟนหรือ 3 จีกำลังเกิด คนเข้าถึงได้หมด”

“ความน่ากลัวคือคุณสามารถเอายูทูปไปอยู่ในมือถือของคุณ แล้วเอาเพลงไปเลย เพลงอยู่ในกระเป๋าเรียบร้อย ถามว่าจะมีสักกี่คนที่จ่ายตังค์โหลด ไม่มีแน่ คนที่จ่ายคือคนที่อยู่ในระบบ2 จีครับ คนมีสมาร์ทโฟนไม่จ่าย แล้วถ้ายูทูปไทยแลนด์ไม่มีรายได้ของคนทำงานอยู่ไหน การเอาสินค้าที่มีต้นทุนไปไล่แจกไม่ถูกต้อง ในแง่ของสังคมก็บอกว่า จะทำยังไงแกรมมี่ทำการตลาดแบบนี้ เราบอกเลยดูได้ คือผ่านทางจีเมมเบอร์ที่ปรับปรุงให้ดี ซึ่งจีเมมเบอร์ก็คือวีโวในอนาคต ดูเอ็มวีได้แค่ไม่สะดวกหน่อย”

“ถ้าผู้บริโภคคนเสพเพลงที่เคารพ และเห็นใจคนทำเพลงและธุรกิจน่าจะเข้าใจเสียสละความลำบากครับ ถ้าไม่ลำบากมันจะอยู่ไม่ได้ แต่เราไม่ได้ประกาศทางการว่าจะปิดเราปิดยูทูปไม่ได้หรอกครับ แค่เราจะเอาสินค้าบางอย่างที่ไม่เป็นการไล่แจก เราถือว่ายูทูปเป็นมีเดียการเอาสกู๊ปสปอร์ต ทีเซอร์ศิลปินขึ้นไปยังทำ แต่บางอย่างที่ขึ้นไปแล้วยูทูปเรา และคนทำเพลงไม่ได้สตางค์แบบนี้ ธุรกิจก็ล่มสลาย”

“ฉะนั้นเราก็พยายามคุยกันหาทางแก้ปัญหานี้ ยังดูเอ็มวีเราได้นะครับ แต่ขอให้เห็นใจที่ทำแบบนี้ต้องปกป้องคนทำธุรกิจอาชีพแต่งเพลงของเราครับ ยูทูปไม่ได้ส่งผลกระทบต่อแกรมมี่ ไม่ครับ แต่ส่งผลต่อภาพรวมเป็นกระแสทั่วโลก นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมวีโวถึงออกจากยูทูป เพราะยังไม่มีโมเดลรองรับ เราก็พยายามขยายช่องของจีเมมเบอร์ให้เข้าได้ 1 หมื่นคนต่อ 1 วินาที”

“เราเติมได้ขอแค่เข้ามาดู และเข้าดูฟรี แชร์ได้ด้วย นั่นหมายถึงเราจะเป็นเหมือนวีโวที่มีช่องทางธุรกิจในอนาคต ถ้ายูทูปไม่มีช่องทางนี้ได้จนกว่าจะมียูทูปประเทศไทย ถามว่าต่อไปในอนาคตจะเสียเงินมั้ย คือในแง่ดูเอ็มวีถ้าเอาโมเดลยูทูปมาใช้ คงไม่เก็บเงิน แต่จะมีคนดูมาเก็บเงิน ถ้ายอดวิวสูง และมีโฆษณาเข้ามา ผู้บริโภคและเราไม่เดือดร้อน ก็วินวิน ซึ่งอยากคุยโมเดลนี้กับยูทูป”

“การเซิร์ทค้นหาเพลงไม่มีปัญหาครับ ก็จะขึ้นว่าอยู่ในจีเมมเบอร์ เพลงเรายูทูปในต่างประเทศยังดูได้นะครับ เพราะเขามีโมเดลชัดเจน ยังเป็นคู่ค้า แม้จะน้องนิดก็เถอะ แล้วเพลงเอ็มวีในยูทูปก็จะดึงออกมาครับ ดึงหรือไม่ดึงต้องเจรจาจากยูทูป ถ้าทำลายธุรกิจ ของใหม่เราไม่เอาลงแล้วกัน อันเก่าก็ทยอยๆ เพราะมันเยอะครับ เพลงเราเป็นดาต้าข้อมูล เราก็ต้องปรับตัวตามโลก เราปกป้องตัวเอง เพราะเราไม่มีธุรกิจไงครับ พอไม่มีธุรกิจ ทุกคนมีต้นทุน แต่ไม่มีรายได้ไปไม่รอดครับ”

“ในจีนก็มีโมเดลนี้อย่างในจีนมาจากโฆษณานะ ถ้าเพลงคุณไม่ดีคนไม่เข้าดูก็จะไม่มีโฆษณา เพื่อนักแต่งเพลงคนทำมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานเพลง ส่วนยูทูปไทยแลนด์จะเกิดมั้ย ต้องไปถามรัฐบาลครับ แต่ถ้าอัพโหลดโดยผู้ใช้คนอื่นๆ ต้องลบครับ เพราะละเมิดครับ เป็นการทำซ้ำดัดแปลง พูดง่ายๆ คนเอาของบ้านคุณไปให้ชาวบ้านคุณยอมมั้ย ไม่มีใครยอมหรอกครับ”

“ศิลปินไม่มีผลกระทบหรอกครับ ศิลปินก็ยังมีรายได้ ปกติการโฆษณาศิลปินไม่จำเป็นต้องไล่แจกเพลงครับ ส่วนเรื่องที่นโยบายนี้ทำให้แฟนเพลงไม่พอใจนั้น ก็ถ้าแฟนเพลงที่เคารพเมตตาธุรกิจเพลง คนแต่งเพลง เขาน่าจะยอมลำบากให้เราอยู่รอด ถ้าอ้างว่าเป็นแฟนเพลงแต่ไม่ช่วยเรานั้น ผมว่าก็ไม่เกื้อกูลไป”

“การออกจากยูทูปก็ไม่ได้ทำให้คนหันไปดูจีเอ็มเอ็มแซทมากขึ้นหรอกครับ แยกกันอยู่แล้ว ถ้าจะเมตตาดูจีเอ็มเอ็มแซทหรือกล่อง หรือแอปเราก็ได้ครับ (หลังจากปรับระบบเรียบร้อยแล้วอุตสาหกรรมเพลงจะดีขึ้นมั้ย ?) มันคงต้องกลับมา อาจไม่เท่าเดิม แต่จะดีขึ้นก็จับกระแสดูพวกใหญ่ๆ เขาทำ แต่เราเล็กๆ ก็ต้องปรับตัวดิ้นรน เราเริ่มไม่เอาขึ้นตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่าน(3 ส.ค.) มาลองไม่เอาขึ้นไม่กี่เพลง ก็มีผลเยอะมากเหมือนกัน แต่ลองเข้าจีเมมเบอร์ดูอะไรไม่ดีบอกกัน ซึ่งสามารถแชร์ได้ปกติ”

“พรบ.37 น่าจะลองอ่านดูนะว่าที่เอาไปทำซ้ำน่ะผิดกฎหมาย แต่คนไม่รู้ พอเราไปจับก็ว่าแกรมมี่เป็นยักษ์ คนไทยชอบคิดว่าเพลงเป็นของฟรี เพราะธุรกิจมีรายจ่ายไม่มีรายได้อยู่ไม่ได้ เป็นธุรกิจมีมันสมอง ถ้าคนขโมยๆ ใครจะทำ เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าอาชีพเต้นกินรำกินทำแล้วมันจนอย่าไปทำเลย ทั้งที่เขาทำมาไว้ดีแล้ว ตั้งแต่รุ่นพี่เต๋อ เรวัติ แล้วตอนนี้มาทำลายอีกแล้ว เห็นแก่ลูกหลานในอนาคตเถอะ”

"แกรมมี่" แถลงเปิดใจถอด MV ออกจาก YouTube

โดย มติชนออนไลน์ 9 ส.ค.2555

นายกริช ทอมมัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจเพลง) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดใจถึงสาเหตุที่ถอด MV เพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกจาก You Tube ว่า เฉพาะ MV เพลงแบบเต็มเพลงเท่านั้น ขณะที่เนื้อหาอื่นๆ เช่น สปอต หรือตัวอย่าง MV แบบสั้น ก็ยังคงหาดูได้ใน You Tube เช่นเดิม เนื่องจากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์นำเอ็มวีไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้จากธุรกิจดาวน์โหลด โดยการตัดสินใจครั้งนี้เป็นแนวทางเดียวกับที่บริษัทเพลงใหญ่ทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องธุรกิจเพลงและอาชีพคนทำเพลงให้คงอยู่ต่อไป

“การถอด MV ออกจาก YouTube ในครั้งนี้ อยู่ในขั้นของการทดลอง เพื่อประมวลผลที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้เราอยู่ระหว่างเจรจากับทาง You Tube เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการทำธุรกิจร่วมกันในระยะยาว โดยทาง You Tube เองก็เข้าใจดีถึงปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในไทย และข้อจำกัดทางกฎหมาย ที่ยังไม่สามารถเปิด You Tube Thailand ได้ ซึ่งคาดว่าจะมีแนวทางที่เหมาะสมในเร็วๆนี้”

สำหรับผู้ต้องการชม MV ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สามารถรับชมได้ทาง www.gmember.com ซึ่งรองรับผู้เข้าชมได้วินาทีละ 10,000 คน โดยคุณภาพของภาพและเสียงเทียบเท่ากับที่รับชมผ่าน You Tube ขณะเดียวกันบริษัทอยู่ในขั้นตอนการหาพันธมิตรทางเทคโนโลยี เข้ามาร่วมกันพัฒนาระบบเพื่อให้แฟนเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้รับความสะดวกในการรับชม MV เหมือนเดิม โดยหากได้แนวทางที่เหมาะสมคาดว่าจะส่งผลให้เกิดรูปแบบทางธุรกิจใหม่ที่จะมีรายได้จากโฆษณาเข้ามาทดแทนในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถป้องกันปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ตราบใดที่ผู้บริโภคบางส่วนยังไม่มีจิตสำนึกในการเคารพทรัพย์สินทางปัญญา

“เราต้องขออภัยทุกท่านที่อาจมีความลำบากในการค้นหา MV เพลงในช่วงนี้ แต่คงไม่ลำบากเกินกว่าคนที่มีเจตนาจะส่งเสริมดูแลผู้ประกอบอาชีพเพลงให้คงอยู่ในธุรกิจต่อไปได้”

หมายเหตุ บทวิเคราะห์เรื่องนี้จะตามมาภายหลัง โปรดติดตาม ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น