วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

American Beauty ครอบครัวประชานิยม จมสู่ห้วงหายนะ


ข่าวคราวในหน้านสพ.ในบ้านเราในช่วง 1-2 เดือนมานี้ มีแต่ข่าวเรื่องความล่มสลายของสถาบันในครอบครัว มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย อาทิ เด็ก 8 ขวบ หนีออกจากบ้านเพราะโดนแม่ตี   เด็กหญิงผูกคอตายเลียนแบบละครดังในทีวี  แม่พาลูกสาวมาขายตัวเพื่อไปชำระเงินกู้นอกระบบ  ผลพวงจากระบบทุนนิยม ค่านิยมการเสพหรือบริโภคแบบไม่ลืมหูลืมตา การขาดความเอาใจใส่ในครอบครัว ขาดความรักความอบอุ่น ความไม่เข้าใจกันของสมาชิกในครอบครัว การไม่มีเวลาปรับความเข้าใจกัน สังคมเศรษฐกิจบีบรัด ต้นทุนของชีวิตและทางสังคมที่สูงขึ้นตามค่านิยมการเข้าสังคม หลายๆ ปัจจัยเหล่านี้หลอมรวมกันเป็นปัญหาครอบครัว ทำให้คนในบ้านเดียวกันแท้ๆ แต่เหมือนไม่รู้จักกัน แสดงบทบาทและหน้าที่กันไปคนละทาง ต่างกรรมต่างวาระ เสมือนอยู่ในโลกคนละใบกัน ทำให้ผู้เขียนนึกถึงภาพยนตร์ชื่อดังที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปี 1999 ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ตีแผ่ความล้มเหลวของครอบครัวอเมริกันชนได้อย่างจริงชัดที่สุดเรื่องนึง

 

อเมริกันบิวตี้ (ปี 1999) เล่าเรื่องของครอบครัวเบิร์นแฮม  ที่ประกอบด้วยสมาชิก 3 คนภายในบ้าน คือ พ่อ แม่ ลูกสาว ดูภายนอกเหมือนว่าจะเป็นครอบครัวที่อบอุ่น สมบูรณ์พร้อมไปเสียทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นฐานะ หน้าที่การงานของหัวหน้าครอบครัว แต่ทุกคนในบ้านต่างคนต่างอยู่ พ่อก็ไปทาง แม่ก็ไปทาง ลูกสาวจึงต้องเดินไปอีกทาง  สถานภาพในครอบครัวนั้น พ่อ กับแม่ ต้องถือว่าแยกทางกันแล้ว เพราะนอนกันคนละเตียง พ่อมีพฤติกรรมเป็นเฒ่าหัวงู แอบไปชอบเพื่อนของลูกสาวตนเอง ที่มีอายุคราวลูก  ส่วนแม่แอบไปมีชู้กับนักธุรกิจขายบ้านคนหนึ่ง ส่วนลูกสาวก็หมกมุ่นอยู่กับความสวยความงาม เพื่อดึงดูดเพื่อนชาย แต่คนที่มาหลงรักสาวน้อยก็เป็นลูกชายของคนข้างบ้านที่เพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ เป็นอดีตนายทหารที่มีพฤติกรรมแปลกๆ ไม่สุงสิงกับใคร ส่วนภรรยาดูเป็นคนเก็บตัว ซึ่งทั้งตัวของสามีและภรรยาครอบครัวเบิร์นแฮมก็ไม่ค่อยใส่ใจในตัวลูกสาวมากนัก เรียกว่าให้อิสระกับตัวลูกสาวเต็มที่เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาที่จะมาสนใจอะไรในครอบครัวมากนัก ต่างฝ่ายต่างมีกิ๊กด้วยกันทั้งนั้น ทั้งตัวพ่อ ตัวแม่ และลูกสาว  ตัวหนังทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่คนอเมริกันพากันใฝ่ฝันถึงนั้น แท้ที่จริงแล้ว ในความเป็นจริงสิ่งสวยงามที่อยู่ตรงหน้าต้องแลกมาด้วยความสูญเสียอะไรบางอย่างในชีวิตไปด้วย ซึ่งค่านิยมดังกล่าวนั้น ก็นำพาให้ครอบครัวเบิร์นแฮมเดินไปสู่ความล้มเหลว ล่มสลายอย่างสิ้นเชิงในตอนจบด้วย ซึ่งนั่นก็คือโศกนาฏกรรมของสังคมอเมริกันที่ล้มเหลวด้วยเช่นกัน นักแสดงที่มารับบทเป็นเลสเตอร์ และแคโรลีน พ่อและแม่ของบ้านเบิร์นแฮมก็คือสุดยอดนักแสดงฝีมือ นั่นก็คือ เควิน สเปซี่ และแอนเน็ต เบนนิ่ง ทั้งคู่สวมบทบาทนั้นได้อย่างยอดเยี่ยมทั้งคู่ ซึ่งเควิน สเปซี่ สามารถคว้ารางวัลนักแสดงนำชาย ของออสการ์ในปีนั้นได้ด้วย ส่วนแอนเน็ตต์ เบนนิ่ง มีชื่อถูกเสนอเข้าชิงแต่พลาดไป ตัวหนังได้เข้าชิงออสการ์ถึง 8 สาขา แต่ได้จริงไป 5 สาขา 1 ในนั้นคือรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์เป็นเรื่องแรกของแซม แมนเดส ผู้กำกับหนุ่มที่มีผลงานด้านละครเวทีและทีวีมาก่อน และมีสตีเว่น สปีลเบิร์ก นั่งในตำแหน่ง Executive Producer ของหนังเรื่องนี้อีกด้วย จึงเป็นงานที่รวมเอาสุดยอดฝีมือโคจรมาพบกัน
เลสเตอร์ เบอร์นแฮม เป็นเหมือนชายอเมริกันวัยกลางคนทั่วไป เขามี ครอบครัว ที่พร้อม หน้าภรรยา และลูกสาว เขามีชีวิตที่ดำเนินไปในแต่ละวัน ที่ไม่มีอะไรโลดโผน อาจจะมีปัญหา ในหน้าที่การงานบ้างแต่ก็ดูจำเจหน้าเบื่อ กระทั่งวันหนึ่งเมื่อเขาพบกับแองเจลา เพื่อนคนสวย ของลูกสาวเจน เลสเตอร์ก็ระลึกได้ว่าเขาเคยปรารถนาอะไร แต่สิ่งนั้น เป็นการ ไม่ซื่อสัตย์ ต่อตนเอง และ ครอบครัว เขาจำเป็นต้องต่อสู้กับตัวเอง และเผชิญวิกฤตวัยกลางคนเพียงลำพัง โดยที่คาโรลีนภรรยาของเขาไม่สนใจที่จะรู้ถึงปัญหาของสามี และยิ่งกว่านั้น ไม่รู้และ ไม่ยอมรับ ด้วยซ้ำว่าตัว ของเธอเองก็มีปัญหาเช่นกัน เมื่อเลสเตอร์ เปลี่ยนไป คาโรลีนก็เปลี่ยนไปด้วย เธอคนหากับบัดดี เคนเจ้าพ่อที่ดิน แบบล้ำเส้น ในขณะที่เจน ลูกสาววัยรุ่นไม่เคยเข้าใจ พ่อแม่เลยมองแต่ตัวเอง ว่าด้อยค่าไม่โดดเด่นในเวลาเดียวกันที่ครอบครัวของเลสเตอร์กับเผชิญ มรสุมอย่างเงียบๆครอบครัวเพื่อนบ้านอดีตนาวาเอกฟิทส์ผู้เพิ่ง จะเกษียณอายุ ราชการ มาอยู่กับบ้านก็กำลัง ปรับตัวอย่าง หนักในการอาศัยอยู่กับ เพื่อนบ้าน รอบข้างที่มีชีวิตขาดระเบียบ แบบกองทัพในมุมมอง ของเขา ริคดี้ลูกชาย ผู้หลงใหล ในการมองชีวิตรอบตัว และบันทึกด้วยกล้อง อินฟาเรดก็ต้องเผชิญกับ ความเคร่องครัดจากพ่อ และแม่ซึ่ง ปลีกตัวจากสังคม เก็บตัวและซ่อนเร้น ปัญหา บางอย่างของครอบครัวไว้ เรื่องราวของเลสเตอร์และเพื่อนบ้านของเขาดำเนินต่อไปอย่างเงียบๆและพัวพัน กัน มากขึ้นเมื่อเจนและริกกี้เริ่มคบหากัน และทั้งหมดก็เดินทางมาถึงจุดหนึ่งของชีวิต ที่เปลี่ยนแปลง อนาคตของพวกเขาทั้งหมด  American Beauty คือความงามของชีวิตที่ต้องค้นหา สนุกสนานอย่างที่คาดไม่ถึง และลึกซึ้งเกินกว่า จะบรรยาย เป็นเรื่องราว ที่อาจเกิดขึ้นกับใคร ก็ได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่าแต่ละคน จะตัดสินใจอย่างไรกับชีวิต
  
 


ผู้เขียนคิดว่าการดูภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับประโยชน์จากสารที่ผู้กำกับหนังต้องการจะสื่อให้คนดูได้รู้ การสะท้อนแง่มุมของความสลับซับซ้อนของเงื่อนปมปัญหาในครอบครัวต่างๆ (ผ่านบทสนทนากันของสมาชิกครอบครัว ในฉากโต๊ะกินข้าว) ที่บางทีเป็นจุดเล็กๆ แต่พอมารวมกันหลายๆ เรื่องจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ การที่เงื่อนปมปัญหาแต่ละจุดไม่ได้ถูกแก้ไขคลี่คลายหรือทำการปรับความเข้าใจหรือพยายามจะแก้ไขแต่เนิ่นๆ ทำให้ปมปัญหานั้นกลายเป็นดินพอกและเพิ่มพูนไปเป็นภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้ทะเล พอเมื่อชนโครมแล้วถึงจะรู้ แต่เมื่อรู้มันก็สายเกินไปแล้ว ถึงตอนนั้นเรือก็อัปปางและก็จมลงในที่สุด ทางที่ดีแล้วเมื่อเจอสัญญาณร้ายอะไรบางอย่างจากสัญชาติญาณความรู้สึก และจากประสบการณ์ที่สอนเรามาในอดีตก็ควรจะแก้ไขเสียแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า และการดูภาพยนตร์ดีๆ ซักเรื่องนึง ไม่ใช่เป็นการเสียเวลาเปล่า อย่างน้อยดูละครแล้วมองย้อนดูตัวเองบ้างก็จะเป็นการดีกว่าจะดูเอามันแต่เพียงอย่างเดียว เป็นไหนๆ  
 
 
 
 

ประวัติชีวิตและผลงานของ แซม แมนเดส

Mendes married British actress Kate Winslet in May 2003 on what they characterized as a whim while vacationing in Anguilla. They met in 2001, when Mendes approached Winslet about appearing in a play at the Donmar Warehouse Theater, where he was then artistic director. Their son Joe was born in December 2003. Mendes also had a stepdaughter, Mia, from Winslet's first marriage, to filmmaker Jim Threapleton. The couple's representative announced on 15 March 2010 that "that they separated earlier this year." Winslet said in 2011 that "the first stage of my divorce with Sam came through" on the same day she was filming a divorce scene for her HBO miniseries Mildred Pierce.

Films  ผลงานการกำกับภาพยนตร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น