สิ่งที่เราได้พบเห็นหรือรับรู้อยู่แล้วสำหรับประชาชนอย่างเราก็คือโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ตอนต้นรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนอันเนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิตตกต่ำ ก็อย่างเช่นแจกเงินฟรีหรือเช็คช่วยชาติ 2,000 บาทให้กับประชาชนที่อยู่ในระบบ ที่เป็นลูกจ้างเอกชนที่มีรายชื่ออยู่ในระบบประกันสังคม ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และภายหลังมาเพิ่มคนที่อยู่นอกระบบประกันสังคม หรือโครงการทั่วไปอย่างเช่น รถเมล์ฟรี เรียนฟรีตั้งแต่ประถมยันมหาวิทยาลัย โครงการหลักประกันสุขภาพ หรือโครงการใช้น้ำใช้ไฟฟรี ซึ่งส่วนใหญ่ต่อยอดมาจากโครงการของรัฐบาลทักษิณและนอมินีคุณทักษิณ (สมัคร-สมชาย) แต่ของฟรีเหล่านั้น ถามว่ามันมีต้นทุนมั๊ย ตอบว่ามี และมีราคาที่จะต้องจ่ายด้วย ถามว่าจ่ายโดยใคร ก็จ่ายโดยรัฐบาลไง แล้วถามต่อว่าเงินที่รัฐนำมาจ่าย มาจากไหน ก็มาจากภาษีของประชาชนนั่นเอง นั่นก็แสดงว่า บริการต่างๆ หรือตัวเงินที่เราได้รับจากรัฐบาลนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือเงินของเรา ที่รัฐบาลทำหน้าที่เป็นคนกลางนำเงินของพวกเราทั้งหมดมาเกลี่ยและจ่ายคืนให้กับพวกเรานั่นเอง มันจึงไม่ใช่ของฟรีในความหมาย หรือนัยยะทางเศรษฐศาสตร์ ที่หมายถึงสิ่งที่ต้องไม่มีต้นทุน อย่างเช่น อากาศที่คนเราหายใจ ก๊าซออกซิเจนที่เราสูดเข้าไปในร่างกาย ถือเป็นของฟรีได้ อากาศ โอโซนที่เราสูดเข้าไปในปอด เป็นของฟรี หรือแม้กระทั่งแรงลมที่มาปะทะกับร่างกายถือเป็นของฟรี สายน้ำที่ไหลไปตามลำธาร ทะเล แม่น้ำ เหล่านี้ แม้ว่ามันจะเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีเจ้าของแต่หากเราจะดื่มกินลงไปซักอึก 2 อึก มันก็คงจะไม่มีต้นทุนมากเท่าไหร แม้กระทั่งลงไปอาบน้ำ หรือว่ายน้ำได้อย่างฟรี คลื่นแม่เหล็ก คลื่นสัญญาณทางวิทยุ โทรศัพท์ หรือดาวเทียมที่หากเรามีเครื่องรับก็จะสามารถรับคลื่นนั้นได้ฟรีเช่นเดียวกัน นี่คือตัวอย่างของฟรีที่มาตามธรรมชาติ ยังมีของฟรีอีกรูปแบบนึงที่มาในรูปของเชิงการค้า การตลาด และธุรกิจ เช่น เราเข้าไปใช้บริการศูนย์ซ๋อมรถ หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ หรือโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง เคาน์เตอร์ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันชีวิต บางที่อาจจะมีบริการเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ไว้บริการแก่ลูกค้าฟรีทุกราย แบบไม่อั้น หรืออย่างโรงแรม ศูนย์ประชุม ห้องสมุดบริษัทเอกชน มหาวิทยาลัย ร้านกาแฟ บางแห่งมีบริการอินเตอร์เน็ทให้เล่นฟรี แต่สิ่งเหล่านี้ก็มีกฏเกณฑ์ เงื่อนไขที่เป็นข้อผูกมัดด้านผลประโยขน์ทางธุรกิจที่คนเป็นเจ้าภาพ(คนจ่าย) เขาจะต้องได้ประโยชน์ด้วย เขาจึงมีของฟรีเหล่านั้นไว้เป็นสิ่งจูงใจ หรือไว้สร้างความประทับใจให้ลูกค้าของเขามาใช้บริการ
ของฟรีจะมีจริงหรือไม่จริงในโลก จึงไม่ใช่ประเด็นที่ควรจะสนใจ แต่มีแล้วใครได้ประโยชน์ ประโยชน์ตกอยู่ที่ใครต่างหาก และสร้างอรรถประโยชน์สูงสุดแก่คนส่วนใหญ๋ได้หรือไม่ อันนั้นแหละคือสารัตถะ ของคำว่า ของฟรี ที่คนมักนำไปพูดอยู่เรื่อยเปื่อย แต่ไม่เข้าใจมัน
สรวงสุดา ชอบที่จะซื้อของใช้ส่วนตัวหรือของบริโภคที่มักมีของแถมพ่วงมาด้วย หรือของลดราคา บางอย่างที่เธอซื้อมา ยังอยู่เต็มตู้เสื้อผ้า เป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยใช้หรือแกะออกจากห่อ ไม่ว่าจะเป็น รองเท้า เสื้อผ้า กระเป่า หมวก เข็มขัด สร้อย ต่างหู น้ำหอม ฯลฯ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีหลายเครื่อง ที่บางเครื่องยังใหม่อยู่เลย แต่เธอก็มักจะซื้อใหม่ที่เป็นรุ่นยอดนิยม ล่าสุดคือ BB ความชอบที่จะนัดกิน ปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงทุกวันศุกร์ เสาร์ และการกินอาหารนอกบ้าน เป็นเรื่องปกติวิสัยที่ สรวงสุดาจะชอบทำ บางครั้งไปทานข้าว 2 คน กับเพื่อนแฟน(อนาคิน) หรือส่วนใหญ่ไปทานกับเพื่อนฝูง ลูกน้องและหัวหน้า เธอไม่นิยมทำครัวที่บ้าน หรือการทานอาหารมื้อเย็นข้างนอกบ้านหรือซื้อเข้าบ้าน ค่าใช้จ่ายด้านอาหารกับค่าใช้จ่ายด้านการแต่งตัว ของฟุ่มเฟือย จึงเป็นรายจ่ายส่วนใหญ่ของเธอ และค่าใช้จ่ายที่เธอเห็นว่าตัดหรือลดลงได้ง่ายที่สุดคือค่าอาหาร เธอจึงหันมานิยมทานอาหารบุฟเฟ่ต์ เช่น โออิชิบุฟเฟ่ต์ หมูกระทะ แทนร้านอาหารทั่วไป แต่ผลปรากฏว่ามันไม่ได้ประหยัดได้จริงอย่างที่เธอคิดไว้ เพราะเธอทานได้จำนวนน้อย ไม่เท่าเพื่อนผู้ชายหรือแฟน แต่ต้องหารเท่ากัน อีกทั้งเป็นคนดูแลสุขภาพ กลัวอ้วน และอายที่จะนำอาหารที่ทานเหลือจากร้าน ห่อกลับบ้านไปทาน เธอจึงคิดวิธีใหม่คือฝึกทำอาหาร เพื่อจะได้กลับไปทำอาหารมื้อเย็นทานเองที่บ้าน และชักชวนสามี (อนาคิน) ให้รีบกลับมาทานอาหารฝีมือภรรยา และเพื่อสร้างสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึน เป็นการยิงนกทีเดียวได้ 2-3 ตัว เธอพบว่าวิธีนี้ได้ผล แม้ในช่วงแรกอาจทำให้ต้องเหนื่อยมาก และต้องบริหารเวลาระหว่างงานกับเวลาที่ให้กับครอบครัวได้มากขึ้น เธอพบว่าอนาคินกลับบ้านเร็วขึ้น มีเวลาพูดคุยฉันท์สามีภรรยามากขึ้น มีเวลาปรับทุกข์พูดคุยเรื่องงาน การเอาอกเอาใจ เอาใจใส่ซึ่งกันและกันดีขึ้น อันมีผลไปถึงทำให้ชีวิตคู่ดีขึ้น ลดอาการตึงเครียด ทะเลาะเบาะแว้ง ยังมีผลไปถึงเพศสัมพันธ์ดีขึ้น และทั้งคู่กำลังมีทายาทตัวน้อย ซึ่งก็จะกลายไปเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัว และปัญหาที่กำลังจะตามมาก็คือ ทั้งคู่ยังไม่ได้มีการวางแผนทางการเงินของทั้งตัวเอง และค่าใช้จ่ายที่กำลังจะตามมาเพิ่มขึ้นในส่วนของสมาชิกใหม่ตัวน้อย รวมถึงการวางแผนในอนาคตให้กับลูกด้วย
สรวงสุดาจึงเริ่มมองหามืออาชีพด้านการวางแผนการเงินให้เข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษา และข่วยแนะนำจัดสรรวิธีการบริหารเงิน การลงทุนให้กับครอบครัวของเธอ ซึ่งเธอเองเพิ่งจะมาให้ความสำคัญกับเงินออมเมื่อไม่นานมานี้เอง ส่วนตัวสามีของเธอเอง (อนาคิน) ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทั้งคู่ตกลงที่จะจัดสรรรายได้ของตัวเองตามแผนการออมและลงทุนเสียใหม่ ตามคำแนะนำของที่ปรึกษา โดยจัดสรรส่วนการบริหารเงินและลงทุน การออม ไว้ดังนี้
20 เปอร์เซ้นต์ ฝากไว้ในรูปเงินฝากประจำที่ให้ดอกเบี้ยสูงของธนาคารขนาดเล็ก
15 ลงทุนไว้ในรูปของกองทุนรวมประเภท LTF,กองทุนรับประกันเงินต้น
10 ลงทุนในทองคำแท่ง,หุ้นสามัญบางตัวกลุ่มธนาคารหรือพลังงาน
5 ลงทุนในสลากออมสินหรือสลาก ธกส.
10 ฝากไว้ในสหกรณ์ออมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่อนาคินทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น