อันดับ 7
ศึกช้างชนช้าง ของห้างกลางกรุง และมุ่งภูธร
สมรภูมิศูนย์การค้าใหญ่
เป็นศึกช้างชนช้างของ 3
ค่ายใหญ่ ก็คือ กลุ่มเซ็นทรัล กับ กลุ่มเดอะมอลล์กรุ๊ป และกลุ่ม T.C.C
กรุ๊ป ของเสี่ยเจริญ ฝั่งเซ็นทรัลนั้นสยายปีกอย่างต่อเนื่อง
ทั้งในกรุง และตจว. โดยมีแผนขยายสาขาในช่วง 3-5 ปีนี้อีกเยอะ
ส่วนในกรุงเทพ เน้นรีโนเวทสาขาสำคัญเดิมหลายสาขา
ด้านกลุ่มเดอะมอลล์ที่ได้พันธมิตรหลักเหนียวแน่นก็คือกลุ่มสยามพิวรรธน์
(ที่ครอบครองพื้นที่อาณาจักรแถบสยามสแควร์ไว้ทั้งหมด อาทิ
สยามดิสคัฟเวอรี่,สยามเซ็นเตอร์,สยามพาราก้อน และยังมีพาราไดซ์ปาร์คด้วย)
แต่เดิมใช้แผนปิดล้อมเซ็นทรัลในย่านใจกลางกรุง ด้วยการร่วมกับกลุ่มสยามพิวรรธน์
เปิดสยามพาราก้อน และรีโนเวทสยามเซ็นเตอร์กับสยามดิสคัฟเวอรี่ ดักตรงหัวถนนพระราม 1
ตั้งแต่สี่แยกปทุมวัน ยาวมาถึงสี่แยกราชประสงค์
ซึ่งเป็นตัวที่ตั้งของเซ็นทรัลเวิลด์ของกลุ่มเซ็นทรัล ถัดไปเป็นเซ็นทรัลชิดลม
และเลยไปจะเข้าสู่สุขุมวิท ซึ่งกลุ่มเดอะมอลล์สยายปีก เปิดห้างตระกูล M ถึง 3 แบรนด์จับกลุ่มลูกค้าไฮเอ็นด์
(ดิเอ็มโพเรียม,ดิเอ็มควอเทียร์,ดิเอ็มดิสทริก,ดิเอ็มสเฟียร์)
ดักคนจากย่านสุขุมวิทไม่ให้เข้าสู่ย่านใจกลางเมือง แต่กลุ่มเซ็นทรัลแก้เกมด้วยการซื้อที่ดินของสถานฑูตอังกฤษตรงเพลินจิตใกล้กับเซ็นทรัลชิดลม
เปิดเป็น เซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ และทำการลิ้งค์พื้นที่ใช้สอยร่วมกับเซ็นทรัลชิดลม
เป็นการต่อยอดและเสริมจุดแข็งให้กับเซ็นทรัลชิดลม
ซึ่งถือว่าเป็นห้างไฮเอ็นด์เก่าแก่ของฝั่งเซ็นทรัล
จึงเป็นการตั้งป้อมค่ายของเซ็นทรัลเวิลด์ร่วมกับเซ็นทรัลเอ็มบาสซี
ท้าชนห้างตระกุลสยาม กับตระกูล M เพียงแต่เซ็นทรัลเป็นฝ่ายถูกปิดล้อม
แนวรบของฝั่งเซ็นทรัลในย่านชานเมืองนั้นมีเกือบทุกหัวมุมเมือง
ทางด้านเหนือมีเซ็นทรัลลาดพร้าวเป็นหัวหอก ฝั่งตะวันออกมีเซ็นทรัลบางนา
ฝั่งตะวันตก มีเซ็นทรัลเกตเวย์ (ที่เพิ่งเปิดไป) ฝั่งด้านใต้มีเซ็นทรัลพระราม 2,
เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, เซ็นทรัลศาลายา และเซ็นทรัลมหาชัย
(ที่กำลังจะเปิด) ด้านกลุ่มเดอะมอลล์
ก็มีสาขาในแถบชานเมือง เช่น งามวงศ์วาน,บางกะปิ,บางแค และในปีที่ผ่านมา
กลุ่มเดอะมอลล์สยายปีกไปเปิด Blu-Port ที่หัวหิน ,Blue
Pearl ที่ภูเก็ต เป็นห้างไฮเอ็นด์ในแบบสยามพาราก้อน,แบ็งคอกมอลล์
ตรงจุดตัดบางนา-สุขุมวิทในขณะที่สมรภูมิที่โคราชเดือด
เมื่อเจ้าตลาดเดิมอย่างเดอะมอลล์กำลังจะต้องรับน้องใหม่ อย่างเซ็นทรัล นครราชสีมา
และเทอร์มินัล 21 โคราช การมาของ 2 เจ้าหลังนี้
อาจทำให้กลุ่มเดอะมอลล์ต้องสูญเสียมาร์เก็ตแชร์ในโคราชไปเป็นแน่
ด้วยความพร้อมสรรพของทุนและการบริหารจัดการที่เชี่ยวชาญจาก 2 กลุ่มที่จะเข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหม่ในโคราช พร้อมๆ กับกลยุทธ์การตลาด
และไอเดียคอนเซ็ปต์ที่แปลกใหม่ ทำให้คนโคราชมีทางเลือกใหม่อย่างแน่นอน
สมรภูมิที่นั่นคงจะดุเดือดแบบกรุงเทพฯก็คราวนี้
อีกกลุ่มค้าปลีกใหญ่ที่ไม่พูดถึงไม่ได้ และก็น่ากลัวมากในอนาคตแน่ๆ นั่นก็คือกลุ่มเสี่ยเจริญ
สิริวัฒนภักดี ในนาม T.C.C. Group ที่กว้านซื้อที่ดิน
เป็นเจ้าแห่งแลนดลอร์ดของเมืองไทย ห้างหรือศูนย์การค้าในเครือแกมีเยอะมาก
นับตั้งแต่ห้างพันธุ์ทิพย์ (ปัจจุบันเป็นไอทีมอลล์ที่ใหญ่มากครบวงจร) ,เอเชียทีค,เดอะสตรีท
รัชดา รวม Box Space ด้วย เมื่อต้นปีเพิ่งซื้อหุ้นของบิ๊กซีต่อจากกลุ่มคาสิโน
กลายเป็นหุ้นใหญ่สุดของบิ๊กซี,ซื้อที่ดินต่อจากตระกูลบริพัตรย่านเวิ้งนาครเขษม
เตรียมโปรเจ็คท์สร้างศูนย์การค้าอยู่,เทคโอเวอร์ห้างเก่าอย่างพาต้าปิ่นเกล้า,ได้สิทธิ์บริหารที่ดินของทรัพย์สินในส่วนของสวนลุมไนท์บาซาร์เดิม,ตลาดสามย่าน
ซึ่งเป็นที่ดินของจุฬาฯ เตรียมผุดโปรเจ็คยักษ์
อื่นๆ อีกมากมาย
จับตา
2 ทัพค้าปลีก “ทีซีซีแลนด์ – ทีซีซี แอสเซ็ทส์” “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” ที่กำลังรุกเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีก
ภายใต้กลยุทธ์แยกกันเดินร่วมกันตี !
นับจากนี้ สปอร์ตไลต์ธุรกิจค้าปลีก
คงต้องจับมาที่ค่ายทีซีซี กรุ๊ป ของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” ตามดีกรีความเข้มข้นของการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกของค่ายนี้
เพราะไม่ได้มีแค่ ทีซีซีแลนด์ ภายใต้การดูแลของ วัลลภา และ โสมพัฒน์ ไตรโสรัส
ลูกสาวคนโตและลูกเขย ที่กำลังบุกขยายธุรกิจค้าปลีกอย่างหนักเท่านั้น
แต่วันนี้ กลุ่มทีซีซี ยังมี “ทีซีซี แอสเซ็ทส์” เป็นอีกหนึ่งในแนวรบสำคัญของการบุกตะลุยธุรกิจค้าปลีก
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายอสังหาริมทรัพย์ ประเภท “มิกซ์ยูส”
ครอบคลุมทั้งโรงแรม รีเทล ที่เสี่ยเจริญมอบหมายให้ “ปณต สิริวัฒนภักดี” ลูกชายคนเล็ก
มาเป็นผู้กุมบังเหียน
ทีซีซี แอสเซ็ทส์
เปิดฉากด้วยโครงการแรก คือ เดอะสตรีท รัชดา บนถนนรัชดาภิเษก มูลค่าการลงทุน 2,600 ล้านบาท
จะเปิดให้บริการในวันที่ 2 ธันวาคมนี้
ได้ชื่อว่าเป็นทำเลระดับ CBD กำลังเดินตามรอยสุขุมวิท สาทร
เพราะมีอาคารสำนักงานเกิดขึ้นมากมาย คอนโดมิเนียม แหล่งท่องเที่ยว
เดอะสตรีทรัชดา
จึงถูกวางคอนเซ็ปต์ให้เป็นศูนย์การค้าดีไซน์เรียบง่าย เน้นลูกค้าระดับกลาง คนทำงานออฟฟิศ
รองรับกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ นักท่องเที่ยว คนพักอาศัย และใช้ชีวิตช่วงกลางคืน
ให้มากิน ดื่ม ชอปปิ้ง เลิกงานมานั่งแฮงก์เอาต์ โดยเน้นจุดขายเปิด 24 ชั่วโมง
คาดว่าคืนทุนในอีก 8-10 ปี
โครงการเดอะสตรีท รัชดา ปณต ไปได้ พงษ์ศักดิ์
นันตวรรณกุล อดีตผู้บริหารห้างแพลทินัม แฟชั่นมอลล์ มาดูแลธุรกิจรีเทล
เป็นโครงการศูนย์การค้าที่เน้นร้านค้าย่อย เน้นตลาดแมส
ปณต บอกกับผู้สื่อข่าวว่า การทำธุรกิจของ
ทีซีซี แอสเซ็ทส์ จะมุ่งเน้นพัฒนาโครงการแนว Mix used เน้นความหลากหลาย
ในทำเลต่างๆ ของกรุงเทพฯ แต่จะต้องเป็นทำเลที่ขนส่งมวลชนเข้าถึง เช่น
ย่านรัชดาภิเษก และพระราม 4 ที่จะทยอยเปิดตัวต่อไป
เพราะนอกจากเดอะสตรีท รัชดาแล้ว
ทีซีซี แอสเซ็ทส์ ยังมีอีก 3 โครงการในมือ อยู่ในทำเล พระราม 4 คือ โครงการเทพประทาน อยู่ติดกันศูนย์ประชุมสิริกิติ์ , โครงการสามย่าน และ โครงการสวนลุมไนท์บาซาร์ ซึ่งเป็นที่ดินเตรียมทหารเก่า
ที่เพิ่งประมูลมาได้ไม่นาน
ตามแผนแล้ว คาดว่า
โครงการเทพประทานจะเปิดได้ก่อนในปี 2559 ตามมาด้วยโครงการมิกซ์ยูส
บนที่ดินขนาดพื้นที่ 13 ไร่ ตลาดสามย่านเก่า
และสวนลุมไนท์บาซาร์ หรือที่ดินเตรียมทหารเก่า อยู่ระหว่างจัดหาผู้ออกแบบ
ต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่
3 โครงการรวมกัน
คาดว่าจะใช้เงินลงทุนหลักหมื่นล้าน ทั้ง 3 โครงการ
จะเป็นแนวคอมเพล็กซ์ หรือแนวมิกซ์ยูส คือ มีทั้ง อาคารสำนักงาน โรงแรม และรีเทล
ส่วนจะเป็นรูปแบบไหน หรือการออกแบบอย่างไร จะไม่มีโมเดลตายตัว
ทุกโครงการจะออกแบบตามกลุ่มเป้าหมายในแต่ละทำเล
โครงการตลาดสามย่าน
ประกอบไปด้วยศูนย์การเรียนรู้ โรงแรม ออฟฟิศ ค้าปลีก
ส่วนโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์จะเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยว ธุรกิจรีเทล
ก็จะถูกพัฒนาไปตามกลุ่มเป้าหมายในย่านนั้น
ในแต่ละโครงการ
ภายใต้การบริหารงานของปณต จะแบ่งมอบหมายให้ผู้บริหารหลักรับผิดชอบโครงการ
จากนั้นจะมีผู้บริหารรับผิดชอบตามธุรกิจ เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน
เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และรีเทล เข้ามารับผิดชอบโดยตรงอีกทอด
ในอีกด้านหนึ่ง ทีซีซี แลนด์
แอสเสท เวิรด์ จำกัด ได้เปิดเกมรุกเต็มพิกัด หลังจากลงทุนธุรกิจศูนย์การค้า 5 แบรนด์ในมือ คือ
เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์, เกตเวย์, เซ็นเตอร์พอยท์ออฟ สยามสแควร์, พันธุ์ทิพย์
และบ็อกซ์ สเปซ รวมมูลค่าโครงการกว่า 20,000 ล้านบาท
คาดว่าจะทำรายได้ปีนี้ 2,000 ล้านบาท
ตั้งแต่ปีหน้าจะเป็น Big Step ของทีซีซี
แลนด์ตั้งเป้าเตรียมลงทุนธุรกิจรีเทลรวม 10,000 ล้านใน 5
ปีข้างหน้า จากการลงทุนขยายสาขาของ 4 แบรนด์
รวม 14 โครงการ เอเชียทีค 6 โครงการ
งบลงทุน 3,500 ล้านบาท เกตเวย์ 2 โครงการ
งบลงทุน 5,000 ล้านบาท รีโนเวตพันธุ์ทิพย์ 4 โครงการ และบ็อกซ์ สเปซ 2 โครงการ งบลงทุน 1,500
ล้านบาท
เอเชียทีค ในทำเลใหม่ รวม 6 แห่งทั่วประเทศ
เชียงใหม่ พัทยา หัวหิน ภูเก็ต สมุย และขยายเอเชียทีคเจริญกรุง เฟส 2
ในแต่ละแห่งของเอเชียทีคจะมีธุรกิจโรงแรมอยู่ด้วย ใช้งบลงทุน 3,500
ล้านบาท ลงทุนเกตเวย์ 2 โครงการใช้งบ 5,000
ล้านบาท
การรีโนเวตห้างพันธุ์ทิพย์ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ประตูน้ำ
งามวงศ์วาน บางกะปิ และเชียงใหม่ จะเสร็จทั้งหมดใน 2 ปีข้างหน้า
และโครงการ Box Space คอมมูนิตี้มอลล์ แนวคนเมือง และวัยรุ่น
จะขยายเพิ่มอีก 2 โครงการ งบลงทุน 1,500 ล้านบาท ส่วนเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ติดลิขสิทธิ์ชื่อ
ไม่สามารถนำไปขยายต่อได้
ทำให้มีพื้นที่ขายจะรวมกันมากกว่า 350,000 ตารางเมตร
จากที่ปัจจุบันมี 150,000 ตารางเมตร
ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นที่ดินที่เป็น Land Bank อยู่แล้วที่มีราว
300,000 ไร่ทั่วประเทศ
ณภัทร เจริญกุล
กรรมการผู้จัดการกลุ่มรีเทล บริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด
ในเครือกลุ่มทีซีซี แลนด์ บอกว่า ช่วง 4 ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นสร้างแบรนด์ให้แต่ละแบรนด์แข็งแกร่งอยู่ได้ด้วยตัวเอง
สั่งสมประสบการณ์ และสร้างทีม
ในปีหน้าพร้อมเดินอย่างเต็มตัวแล้วและขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โฟกัสที่ 5 แบรนด์นี้ เพราะถ้าแตกไลน์ไปเรื่อยๆ เราจะไม่เจอตัวตน
เขามองว่าตลาดค้าปลีกในตอนนี้มีการแข่งขันที่สูงมาก
แบรนด์ใหญ่ก็มีการลงทุนต่อเนื่อง รวมทั้งมีแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาในตลาด
โพสิชันของกลุ่มทีซีซีจะอยู่ในที่ที่ไม่มีใครยืน หาความแตกต่างในตลาด
หรือหาช่องว่างตามความต้องการของผู้บริโภค เทรนด์ค้าปลีกในปีหน้ายังคงอยู่ที่ไซส์ขนาดใหญ่อยู่
ในอีก 3 ปีข้างหน้า ทีซีซีแลนด์
ยังเตรียมผุดอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่เรียกกันว่า High Way เป็นเหมือนจุดพักรถบริเวณทางหลวง แต่ยังไม่มีชื่อโครงการที่ชัดเจน
โดยที่โครงการนี้จะประกอบไปด้วยร้านอาหาร จำหน่ายสินค้าโอทอป โรงแรมขนาดเล็ก
ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงคิดโมเดล คาดว่าจะก่อสร้างภายในปี 2560 เริ่มต้นที่ 5 โครงการ จากนั้นค่อยขยายไปทั่วประเทศ
เรียกว่าเป็นการขยายทั้งห้างสรรพสินค้า
มีความหลากหลาย ทั้งสเกลใหญ่และเล็ก เพื่อให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้น
การลงทุนทั้งหมดนี้
จะทำให้พื้นที่รีเทลของกลุ่มสามารถสร้างรายได้ไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทในอีก 5ปีข้างหน้า
สัดส่วนรายได้ที่มาจากศูนย์การค้า 5 แห่งที่ลงทุนไปแล้ว
จะทำเงินได้ 6,800 ล้านบาท แบ่งเป็นพันธุ์ทิพย์
40% เอเชียทีค 30% เกตเวย์ 20% และเซ็นเตอร์ พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ 10%
จะเห็นได้ว่า ทั้งทีซีซีแลนด์ และทีซีซี
แอสเซ็ทส์ ดำเนินธุรกิจในแนวที่ใกล้เคียงกัน เรียกว่าเป็นการทำคู่ขนานกันไป
ผู้บริหารของทีซีซี แอสเซ็ทส์เองก็บอกไม่ได้ว่าแบ่งแยกธุรกิจกันอย่างไร
จะขึ้นอยู่กับว่า “เสี่ยเจริญ” จะมอบที่ดินที่มีอยู่ในมือไปให้กับลูกคนไหนพัฒนาต่อ
อย่างที่ดินย่านพระราม 4 ที่เสี่ยเจริญมอบให้กับ
ทีซีซี แอสเซ็ทส์ ไปคนเดียว ทั้ง 3 โครงการ
เพื่อให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเต็มที่
ส่วนที่ดิน เวิ้งนครเกษม
ที่ดินเก่าแก่ประมูลมาได้ มอบหมายให้ ทีซีซีแลนด์ไปพัฒนาต่อ
ดังนั้นการทำงานทีซีซีแลนด์ และทีซีซี
แอสเซ็ทส์ จะมีทั้งเกื้อกูลกัน และแข่งขันกัน ซึ่งผู้บริหารเองก็บอกไม่ได้ว่า 2 บริษัทแบ่งแยกธุรกิจกันอย่างไร
ขึ้นอยู่กับว่า ที่ดินที่ “เสี่ยเจริญ” จะมอบให้มา
และการแบ่งด้วย “ทำเล” ของที่ดิน
ทั้งคู่ก็ไม่ต้องมากังวลว่า ธุรกิจจะทับซ้อนกัน หรือมาแข่งกันเอง
เพราะทำเลใครทำเลมัน แต่เป้าที่ต้องแข่งขันกัน คือ ยอดขายและการเติบโตของธุรกิจ
ใครๆ ก็รู้ดีกว่า เสี่ยเจริญ
ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อแลนด์ลอร์ดตัวจริงเสียงจริง มีที่ดินอยู่ในมือมากมาย
การมีถึง 2 กำลังทัพ ย่อมต้องดีกว่าทัพเดียว เพราะสิ่งที่ตามมา คือ ปริมาณ
และความเร็ว และการจัดการที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
CPN
ทุ่ม 6หมื่นล้านลงทุนศูนย์การค้าใหม่-รีโนเวทของเก่า
นายปรีชา เอกคุณากุล
กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา
จำกัด(มหาชน)หรือ CPN เปิดเผยว่า
ภายหลังจากที่บริษัทได้เปิดแผนการลงทุนก่อสร้างศูนย์การค้าใหม่และปรับปรุงศูนย์การค้าเก่าภายในระยะ
3 ปี(นับจากปี2559-2561)ไปก่อนหน้านี้
ภายใต้งบลงทุน 60,000 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นการปรับปรุงศูนย์การค้าเก่า 5 แห่ง
ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ,ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา
ปิ่นเกล้า,ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม3 ,ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พัทยา
ส่วนการพัฒนาศูนย์การค้าใหม่ 5 แห่ง
ได้แก่ 1.ศุนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครศรีธรรมราช
บนพื้นที่ขนาด 50 ไร่ ขนาด 125,000 ตารางเมตร
มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท
ซึ่งเปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา
2.ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา บนพื้นที่ 65 ไร่ ขนาด 355,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 10,000
ล้าบาท โดยจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2560
3.ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภูเก็ต บนพื้นที่ขนาด 111 ไร่ ขนาด 400,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 20,000
ล้านบาท โดยจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในเดือนธันวาคม 2560
4.ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ไอ ซิตี้
ที่ร่วมทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย บนพื้นที่ขนาด 28
ไร่ จำนวน278,000 ตารางเมตร มูลค่าโครงการ 8,500
ล้านบาท จะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2561
และ5.ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา มหาชัย
ที่มีโครงการล่าสุดที่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะชน
โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่เกือบ 100 ไร่ ขนาด 170,000
ตารางเมตร ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามคอมมูนิตี้มอลล์
“พอร์โต้ ชิโน่” ถือเป็นศูนย์การค้าสาขาที่
32 โดยในเบื้องต้นจะใช้พื้นที่ 70% ของพื้นที่ทั้งหมดพัฒนาเป็นศูนย์การค้า ภายในประกอบด้วยกว่า 300 ร้านค้า อาทิ โรบินสัน,ท็อป ซุปเปอร์สโตร์,พาวเวอร์บาย,ซุปเปอร์สปอร์ต,บีทูเอส
และออฟฟิศเมท เป็นต้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง
คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในไตรมาส3/2560 คาดว่าจะมีผู้เข้าใช้บริการประมาณ
30,000 คน/วัน
ส่วนพื้นที่ที่เหลือในอนาคตมีพัฒนาจะพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส
ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้งในรูปแบบของที่อยู่อาศัย และอาคารเพื่อการพาณิชย์
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูล จึงยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
“การที่เราขยายการลงทุนไปมหาชัย
จ.สมุทรสาคร เพราะเป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญ
ที่มีมูลค่าการลงทุนอุตสาหกรรมทั้งจังหวัดสูงถึง 281,000 ล้านบาท
ประชากรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 359,000 บาท/คน/ปี
สูงเป็นอันดับที่6 ของประเทศไทย
ประกอบกับปัจจุบันการขยายตัวของกทม.เริ่มกระจายไปทางสมุทรสาคร มากขึ้น
เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมต่อไปยังภาคใต้
คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง
รวมไปถึงลูกค้าที่เดินทางผ่านเข้ากทม.ด้วย”นายปรีชา กล่าว
อย่างไรก็ตามในครึ่งปีหลัง2559 นี้
บริษัทฯมองว่าสภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อจะดีกว่าครึ่งปีแรก
หากจะให้ดีอยากให้ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
เหมือนเช่นมาตรการช็อปช่วยชาติ ซื้อสินค้าสามารถลดหย่อนภาษีฯได้ไม่เกิน 15,000
บาท โดยในปีนี้บริษัทฯตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 15% จากปี2558 ที่ผ่านมามีรายได้รวม 26,000 ล้านบาท โดยในครึ่งปีแรกมีอัตราการเติบโต 6% มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่
5%
โดยปัจจุบันCPN มีโครงการที่เปิดบริการแล้วทั้งในรูปแบบของพลาซ่า
เฟสติวัล และอื่นๆอีก 30 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 17 สาขา และต่างจังหวัด 13 สาขา พื้นที่รวม 6.7 ล้านตารางเมตร และคาดว่าภายในปี 2561 นี้
จะมีศูนย์การค้ามากกว่า 34 แห่ง มีพื้นที่รวมกว่า 8 ล้านตารางเมตร
เครดิตข้อมูลจาก Positioningmag.com
อันดับ
6 ธุรกิจช็อปปิ้งออนไลน์ระดับโลกรุกคืบเข้าสู่ไทย
นำโดยอาลีบาบา
เชื่อว่า
ถ้ามีการทำสำรวจเด็กรุ่นใหม่ว่ารู้จัก “แจ็คหม่า กับอาลีบาบา” มั๊ย
เด็กรุ่นใหม่ที่เกิดมาในยุคดิจิตอล เล่นเกมส์ ติดมือถือ แชทโซเชียล เป็นกิจวัตร
จะตอบว่า รู้จัก แต่ถ้าไปถามแม่ค้า พ่อค้า ตามตลาดสด
หรือคนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารวงการไอที ก็จะบอกว่าไม่รู้จัก หรือเดาว่า
ใช่เป็นนายกของจีนหรือ ปธน.ไต้หวัน หรือเปล่า เพราะ แจ็คหม่า เพิ่งมาดังฟู่ฟ่า
ไม่กี่ปีนี้เอง และก็เป็นคนหนุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
เป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดของจีน และน่าจะของฝั่งเอเชียด้วย จะว่าไปก็ถอดโมเดลมาจาก
มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (Facebook) , บิลล์ เกตต์ (Microsoft)
, สตีฟ จ็อบบ์ (Apple) ฯลฯ ในรอบปีนี้ ชื่อของแจ็คหม่า และบริษัท Alibaba
ปรากฏในหน้าสื่อทั้งระดับโลกและในไทยเยอะเหลือเกิน ถามว่าเขาเป็นใคร
มาจากไหน และบริษัทนี้ทำอะไร ลองเข้าไปในลิ้งนี้ดูก็แล้วกัน
-ประวัติแจ็คหม่า เข้าลิ้งค์นี้https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%81_%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
-ประวัติกลุ่มบริษัท Alibaba เข้าลิ้งค์นี้ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2
เมื่อต้นปี Alibaba
เข้าซื้อกิจการของ Lazada ด้วยเม็ดเงินกว่า 1,000
ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นข่าวช็อกวงการ e-commerce โลก เลยก็ว่าได้
Lazada
อีคอมเมิร์ซที่กำลังขยายฐานการเติบโตในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
มีสำนักงานใหญ่อยู่สิงคโปร์ เพิ่งถูกยักษ์ใหญ่ Alibaba ทุ่ม 1,000
ล้านเหรียญสหรัฐซื้อกิจการไปเรียบร้อย
สำหรีบดีลนี้ Alibaba ได้เข้าซื้อหุ้น
500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากผู้ถือหุ้นเดิมของ Lazada และเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปอีก 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
Michael Evans ประธาน Alibaba กล่าวถึงเป้าหมายของการลงทุนในครั้งนี้ว่า
‘Lazada จะช่วยขยายฐานลูกค้านอกเหนือจากประเทศจีนให้ Alibaba
โดยปักธงไว้ที่กลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้’ ซึ่ง resource ต่างๆรวมถึงลูกค้าในมือของ Lazada
จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเชื่อมโยงธุรกิจ E-Commerce ให้เติบโตทั่วโลกในอนาคต นับเป็นการลงทุนที่วางเป้าหมายไว้อย่างยิ่งใหญ่
แน่นอนว่าดีลนี้สะเทือน E-Commerce ทั่วโลกอย่างแน่นอน
สำหรับ Lazada บ้านเราคงพอคุ้นเคยกับ
Lazada กันบ้างแล้ว Lazada เป็นธุรกิจที่ให้บริการแพลตฟอร์ม E-Commerce ก่อตั้งครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อปี 2011 โดย Rocket
Internet ขยายตลาดสู่ประเทศตในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2014
โดยได้เจาะตลาดในประเทศ อินโดนิเซีย, มาเลเซีย
, ฟิลิปปินส์ , สิงคโปร์ , ไทย และเวียดนาม มาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถูก E-Commerce
ยักษ์ใหญ่แดนมังกรอย่าง Alibaba ซื้อไปในที่สุด
Lazada
ก่อตั้งโดย Rocket Internet จากเยอรมนี
ในปี 2012 ด้วยแนวคิดที่อยากจะทำเว็บไซต์ E-Commerce แนวเดียวกับ Amazon และ Alibaba แต่ Lazada เลือกทำในสิ่งทั้ง 2 เจ้าไม่ทำนั่นคือเจาะตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีจำนวนหลายประเทศและมีช่องว่างให้เห็นแนวโน้มที่จะเติบโต
Lazada เหมือนกระเป๋าที่รวมร้านค้าจากหลายประเทศไว้ภายใน แต่เติบโตได้ดีที่สุดในสิงคโปร์
ในขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
และเวียดนามดูเหมือนจะยังไม่ใช่เวลาสำหรับตลาดเทคโนโลยีด้วยปัจจัยหลายอย่าง
ต่อไปนี้เป็นเหตุผล
6 ข้อ ที่ Alibaba เลือกจับมือ Lazada ลุยตลาด Southeast Asia อย่างจริงจัง
1.
Alibaba ถึงเวลาหาตลาดใหม่นอกจากจีน
Alibaba
มีลูกค้าปีละกว่า 407 ล้านคนจากเว็บ Taobao
และ Tmall ซึ่งนับเป็นสองเท่าของคู่แข่งอย่าง JD
และ Amazon ในจีน
ประชากรในจีนมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ 785 ล้านคนและ
Jack Ma ประกาศกลยุทธ์จะขยายพื้นที่อาณาจักรของ Alibaba
ออกไปให้ครอบคลุมมากว่านี้อีก เพราะยังมีบางพื้นที่ในจีนเช่นตามชนบท
หรือชานเมืองที่ผู้คนยังไม่เคยใช้บริการ E-commerce พร้อมทั้งจะเพิ่มศักยภาพทางการขนส่งเพื่อรองรับการเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลให้มากขึ้น
“Alibaba
มีแผนจะขยายตลาดไปในพื้นที่ชนบทให้มากขึ้น เราหวังว่าจะพา E-commerce
ไปสู่ทุกหมู่บ้านในจีน
ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลได้สัมผัสประสบการณ์แบบคนเมือง
และขายสินค้าของพวกเขาไปยังเมืองต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย”
ด้วยจำนวนมหาศาลของประชากรชั้นกลางและประชากรที่อาศัยอยู่นอกเมืองของจีนทำให้ธุรกิจ
E-commerce ในจีนเติบโตเป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกตั้งแต่ Jack Ma เปิดตัว Taobao ในปี 2003 และเอาชนะ
E-Bay จีนได้ การเทคโอเวอร์ Lazada ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่จะเพิ่มสีสันและความสดใหม่ให้บริษัท
ก่อนหน้านี้
Jack Ma เคยลงทุนกับบริษัท E-Commerce ในอินเดียคือ Paytm
และ Snapdeal แต่การลงทุนใน Lazada ครั้งนี้ถือว่าเป็นการลงทุนข้ามชาติครั้งใหญ่ที่สุดของ Alibaba
2.
การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางใน Southeast Asia
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรราว
618 ล้านคน มีชนชั้นกลางค่อนข้างน้อยในตอนนี้คือแค่ 190 ล้านคน หากนับจากผู้ที่มีรายได้ประมาณ 500 – 3,000 บาทต่อวัน
อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 400
ล้านคนภายในปี 2020 ไปพร้อมๆ
กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั้งหมด นั่นหมายถึงฐานลูกค้าของ Alibaba และ Lazada ก็จะเพิ่มขึ้นตามนั่นเอง ทั้งในแง่ของนักช้อป
และพ่อค้าแม่ค้าที่นำสินค้ามาลงขายในเว็บไซต์
3.
Lazada มีการเติบโตที่ดี
Lazada
ถือว่าเป็น E-Commerce ที่เป็นผู้นำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากทั้ง
6 เว็บไซต์ที่แยกกระจายตามแต่ละประเทศ
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเว็บชั้นนำของประเทศนั้นๆ ก็ตาม Lazada มียอดขายถึง
433 เหรียญสหรัฐใน 6 เดือนแรกของปี 2015
(ข้อมูลล่าสุด) ซึ่งมากขึ้นเป็น 4 เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะให้ถึง 1 พันล้านก่อนหมดปี 2015 ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 5.7 ล้านคนซึ่งเพิ่มขึ้นจากกลางปี
2014 ที่มีแค่ 1.4 ล้านคน นั่นอาจดูเป็นจำนวนที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับที่
Alibaba มีอยู่ในมือ
แต่ตัวเลขของการเติบโตต่างหากที่เป็นสิ่งที่ Alibaba สนใจ
Lazada
เริ่มต้นธุรกิจตามรอยของ Amazon คือขายสินค้าของตัวเองในโกดังของตัวเอง
ก่อนจะเริ่มเปิดให้มีร้านค้าอื่นๆ และแบรนด์เข้ามาวางสินค้าขายในเว็บไซต์ในแบบที่ Alibaba
ทำ จนถึงตอนนี้ Lazada มีร้านค้ารวม 27,000
ร้านค้าจาก 6 ประเทศ
Rocket
Internet ผู้ก่อตั้ง Lazada และ Web
service ต่างๆ เคยทำผิดพลาดในการลงแข่งในตลาด Southeast Asia
มาแล้วหลายครั้ง เช่น การพ่ายแพ้ของ Easytaxi เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ
Uber และ Grabtaxi แต่สำหรับ Lazada
ถือว่าพวกเขาทำได้ดีเลยทีเดียว สำหรับ Alibaba เองตลาดที่แข็งที่สุดดูเหมือนจะเป็นทางอินโดนีเซียที่ต้องต่อสู่กับ E-commerce
เจ้าถิ่นอย่าง Tokopedia และ Matahari
Mall กิจการใหม่ในเครือบริษัทของครอบครัวเศรษฐีรายใหญ่ในอินโดนีเซีย
4.
Lazada ฝ่าด่านหินของ Southeast Asia มาแล้ว
การทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย
แล้วยิ่งเป็นธุรกิจบนภูมิภาคที่การพัฒนาทางอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างเชื่องช้า
รวมถึงปัจจัยแวดล้อมมากมายที่สร้างความหลากหลายในทุกๆ ด้าน
ตั้งแต่การอยู่อาศัยของประชากรที่แบ่งแยกกระจายตัวบนพื้นที่นับพันเกาะ
แต่ละพื้นที่มีภาษาของตัวเอง มีความหลากหลายทางด้านกฎหมาย วัฒนธรรม ภาษี
การชำระเงิน วิธีการลดราคา ไปจนถึงการขนส่ง ไหนจะเรื่องความแตกต่างด้านประชากร
และการเมืองการปกครอง บ้างเป็นประชาธิปไตย บ้างเป็นเผด็จการ รวมถึงวิธีการของการเกิดคอร์รัปชั่น
แต่ละอย่างที่กล่าวมากทำให้ยิ่งยากในการเริ่ม E-commerce ในภูมิภาคนี้
แล้วยังมีเรื่องของความยากจนของประชากร
การขนส่งหลักเป็นไปโดยทางรถยนต์และรถไฟ นั่นทำให้การซื้อของออนไลน์ช้าและแพง
ผู้คนในบางพื้นที่ยังใช้การพายเรืออยู่เลยด้วยซ้ำ ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม E-commerce ส่วนใหญ่ไม่สามารถขยายครอบคลุมทั้งภูมิภาคได้
ส่วนมากจะอยู่แค่ในประเทศของตัวเองเท่านั้น เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนั่นเอง
“อินโดนีเซียเป็นที่ที่การขนส่งค่อนข้างยากลำบากที่สุด
นั่นทำให้ต้องมีการลงทุนสร้างระบบขนส่งของ Lazada ขึ้นมาเอง”
Magnus Exbom Head ขอ Lazada Indonesia เคยกล่าวไว้
เขาบอกว่าระบบขนส่งในอินโดนีเซียไม่สามารถรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของ
Lazada ได้
นั่นทำให้บริษัทต้องมีศูนย์กระจายสินค้าและระบบขนส่งของตัวเองเพื่อให้การขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่นทั่วประเทศ
ซึ่งใช้รถตู้และมอเตอร์ไซค์รวมนับพันคัน
5.
ซื้อมาย่อมง่ายกว่าทำเอง
สิ่งที่กล่าวมาในข้อ
4 แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ Alibaba ไม่คุ้นเคย
แม้จีนจะมีหลายชาติพันธุ์และจำนวนประชากรมหาศาล แต่ส่วนใหญ่พวกเขาก็พูดภาษาจีน
ที่ผ่านมาสิ่งที่ Alibaba ต้องทำก็แค่สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคนชันเพื่อครอบคนพันล้านคนไว้ด้วยกัน
แถมยังสบายในเรื่องการขนส่งที่ระบบคมนาคมในจีนค่อนข้างดีและสะดวกรวดเร็ว
พร้อมทั้งมีการแข่งขันสูงทำให้ราคาค่าขนส่งในจีนถูก
ดังนั้น
หากจะแข่งกับ Lazada
คงต้องใช้เงินเป็นพันล้านหรือมากกว่านั้นไม่รู้กี่เท่าในการทำตลาดข้าม
6 ประเทศแบบที่ Lazada ทำไว้
ซึ่งก็ไม่แน่นอนว่าเอาชนะ Lazada ได้ ดังนั้น
ซื้อต่อดีที่สุด
6.
ผู้ค้าชาวจีนมีโอกาสเปิดตลาดใหม่
การร่วมมือครั้งนี้เหมือนเป็นการเปิดประตูการค้าให้ผู้ค้าและลูกค้าหน้าใหม่มาเจอกันเพิ่มโอกาสในการค้าและเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น
เมื่อเศรษฐกิจและการค้าในจีนเริ่มชะลอตัวผู้ค้าจาก Taobao และ Tmall ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ๆ
กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ของพวกเขา ที่อาจสร้างรายได้ให้ได้อีกมหาศาล
ในขณะที่แบรนด์
e-commerce ระดับตัวพ่อของเมืองนอกบุกไทย เจ้าตลาดของไทยอย่าง Centralonline ก็เข้าเขมือบ Zalora ต่อทันที เซ็นทรัล
กรุ๊ป ซื้อกิจการ Zalora แล้ว
คาดปิดดีลที่มูลค่า 350 ล้านบาท
เว็บไซต์ Techcrunch
รายงานข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดถึงดีลการซื้อกิจการครั้งใหญ่
โดยระบุว่า Central Group ได้ซื้อกิจการ Zalora อีคอมเมิร์ซแฟชั่นชื่อดัง ซึ่งมีธุรกิจทั้งในประเทศไทยและเวียดนามไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม Zalora
ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้ ในขณะที่ทาง Central
Group เองก็ไม่ได้มีท่าทีว่าจะตอบสนองต่อข่าวนี้เช่นเดียวกัน Central Group เป็นกิจการรายใหญ่ในประเทศไทย
และก็มีความมุ่งมั่นที่จะเจาะตลาดเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ
ในภูมิภาค โดยมีกิจการในเครือมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ช้อปปิ้งมอลล์, ดีพาร์ทเมนต์ สโตร์ และโรงแรม ซึ่งคาดว่ามีทรัพย์สินสูงถึงประมาณ 10,000
ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีพนักงานประมาณ 70,000 คน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีข่าวลือออกมาว่า Rocket
Internet บริษัทอินเตอร์เน็ตจากเยอรมันผู้เป็นเจ้าของกิจการ Zalora ได้ขายกิจการให้กับบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งไปแต่ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้ซื้อ
กระทั่งมีชื่อเปิดเผยว่าเป็น Central Group นั่นเอง
นอกจากนี้ แหล่งข่าวของ Techcrunch ยังเปิดเผยด้วยว่า
การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือประมาณ 350 ล้านบาท
สำหรับ Rocket
Internet นั้นก่อนหน้านี้ก็เพิ่งจะขายกิจการ Lazada ให้กับ Alibaba ไปด้วยมูลค่าถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่สำหรับ Zalora
นั้น มีผลประกอบการที่ไม่ค่อยสวยนัก โดยในปี 2015 ระบุว่ามีรายได้ พิ่มขึ้น 78% หรือคิดเป็น 234
ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ก็ขาดทุนถึง 36% หรือคิดเป็น
105 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ซึ่งกล่าวกันว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ต้องขายกิจการไปก็ได้
(เครดิตข้อมูลจาก MarketingOops.com)
เมื่อกลางปีมีข่าวความร่วมมือระหว่าง Alibaba กับกลุ่ม C.P
ของไทย แจ็คหม่าจับมือกับเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ จะให้ Alibaba
มาจัดทำระบบ E-Payment, E-Commerce, Fintech ร่วมกัน
โดยอาศัยความได้เปรียบของเครือข่ายที่ต่างฝ่ายเชี่ยวชาญกันคนละด้าน
ผลักดันการวางเครือข่ายการค้าในไทยร่วมกัน
พอช่วงปลายปี
มีข่าวแจ็คหม่าเข้าพบท่านนายกรัฐมนตรีของไทย ว่าจะให้ความช่วยเหลือ start up,sme ของไทย
จะนำสินค้าแบรนด์ชั้นนำของไทย วางขายบน Alibaba และจะทำให้คำว่า
เศรษฐกิจดิจิตอลเป็นรูปเป็นร่าง หรือเกิดเสียที
แต่นี่ก็เป็นดาบ 2 คม
การรุกคืบเข้ามาของเครือข่ายอีคอมเมิร์ซระดับโลกอย่าง Alibaba จะเข้ามากินรวบตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยหรือไม่ ลองไปถามคุณภาวุธ ดูก็แล้วกัน
วิกฤตหรือโอกาส?
เมื่อ Alibaba รุกเมืองไทย ฟัง ภาวุธ Tarad.com
วิเคราะห์
ปลายปีนี้เราเห็นการขยับเคลื่อนไหวใหญ่หลายครั้งของกลุ่ม Alibaba โดย Jack
Ma ประธานกลุ่มบริษัทฯ ที่มูฟเข้ามาในประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางมาเยือนบนเวที ACD Connect Business Forum 2016 เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
พร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะนำสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีนก็ดี
หรือล่าสุดกับการจับมือกับกลุ่ม CP ทุนยักษ์ใหญ่ของไทย
เพื่อเป็นพันธมิตรร่วมกันในธุรกิจ Fintech (คลิกอ่านเพิ่มเติม)
ฉะนั้นการรุกคืบเข้ามาของกลุ่ม Alibaba ครั้งนี้จึงอยู่ในความสนใจของนักธุรกิจไทยค่อนข้างมากทีเดียว
โดยเฉพาะด้าน E-commerce ส่วนจะเป็นในทางที่ดี
หรือในทางที่ไม่ดีนั้น Marketing
Oops! เราได้โอกาสพิเศษในการสัมภาษณ์
ผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซ และอีมาร์เก็ตติ้ง ในประเทศไทย
ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ tarad.com “ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ”
พร้อมกับทางออกในการรับมือกลุ่มทุนหน้าแดนมังกรรายนี้อีกด้วย
การเข้ามาของกลุ่ม
Alibaba เป็นผลดีกับประเทศไทยในภาพรวมหรือไม่อย่างไร
คุณภาวุธ กล่าวทั้งแง่ดีและแง่ที่น่าเป็นห่วงด้วย โดยระบุว่า ด้านดีคือ
อาลีบาบา เคเก่งในด้านการค้าระหว่างประเทศและมีตลาดใหญ่ที่ประเทศจีน
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดเขาเข้ามาแล้วนำพาผู้ประกอบการไทยไปขายต่างประเทศได้
มันก็เป็นจุดที่ดีมาก คือการเอาสินค้าไทยไปส่งออก ถ้าเป็นอย่างนั้นก็น่าสนใจมาก
แล้วก็ยังมีการพัฒนาผู้ประกอบการของไทยด้วย เข้าไปขายในโลกออนไลน์
อาจจะมีช่องทางพิเศษอะไรก็ว่าไป อันนั้นเป็นเรื่องดี
“แต่อันที่น่าเป็นห่วงก็คือ
นอกเหนือจากการที่เขาเอาของไปแล้ว เขาก็ยังเอาสินค้าเข้ามาขายด้วย
อันนี้คือความน่าเป็นห่วง เพราะการที่เทคโอเวอร์ LAZADA ไปแล้ว
ซึ่ง LAZADA คือช่องทางการไหลของสินค้าจากจีนที่จะไหลทะลักเข้ามา
ทั้งที่ไทยและ Southeast Asia เคสนี้ไม่ได้เกิดกลัวแค่ประเทศไทย
ผมคุยกับเพื่อนในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ทุกคนกลัวกันหมดเลย
เพราะว่าเขาใช้เงินมหาศาลซื้อไปหมดแล้ว จากนั้นแป๊ปเดียวสินค้าที่จีนก็ไหลทะลักเข้ามาทันที
เพราะ LAZADA มีในหลายประเทศ
แล้วตอนนี้ก็เริ่มเอาสินค้าจากจีนเข้ามา แล้วมาขายผ่าน LAZADAเพราะฉะนั้นเป้าหมายแจ็คหม่าคือ ต้องการเอาสินค้าจากจีนออกมานอกประเทศด้วย”
Alibaba ใช้ Lazada
รุกตลาดออนไลน์ไทย
คุณภาวุธ ยังระบุอีกว่า ไม่ใช่เฉพาะแค่ด้านอีคอมเมิร์ซเท่านั้นที่ Alibaba ขยับเข้ามาในไทยแต่ยังมีอาลีเพย์ด้วย
ซึ่งตรงนี้คุณภาวุธ ขยายความเพิ่มเติมว่า
อีกสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือรัฐบาลเองก็เวลคัมแบบสุดๆ เช่นกัน
แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมองมุมกลับด้วยว่า บางทีนี่อาจจะเป็นการเปิดศึกเข้าบ้านหรือเปล่า
เมื่อเขาเข้ามามันยั้งไม่อยู่แล้ว
เพราะสินค้าจีนบอกได้เลยว่าผู้ประกอบการไทยแข่งได้ยากมาก ทั้งราคาที่ถูกมาก
และคุณภาพที่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ
แล้วเขาก็ใช้ออนไลน์มาเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริโภคจากประเทศต่างๆ
เข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วง
ในขณะที่ทางภาครัฐเราเองก็สนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ด้วย
“ที่สำคัญคือ
เวลาที่เขามาไม่ได้มาแค่อีคอมเมิร์ซ เขามี Alipay เข้ามาด้วย
ที่ล่าสุดดิวกับซีพีอยู่ เพราะฉะนั้นในแง่ของความแข็งแรง มันแข็งแรงทั้ง ecosystem
เลย แล้วก็ทำให้เห็นได้ชัดว่าหลังจากที่อาลีบาบาเข้ามาปุ๊ป
วงการอีคอมเมิร์ซไทยก็เริ่มหยุดชะงัก”
อีคอมเมิร์ซไทยหยุดชะงักอย่างไร
อยากให้ช่วยขยายความให้ชัดขึ้น
จุดนี้ คุณภาวุธ กล่าวขยายความว่า จะสังเกตได้ว่า โปรโมชั่น คูปอง และอื่นๆ
อีกมาก พวกนี้ไม่ค่อยมีแล้ว เพราะหลายๆ เจ้าพอเห็นอาลีบาบาซื้อ LAZADA ปุ๊ป
ทำให้เห็นว่าโอกาสในการแข่งขันมันท้าทายเกินไป
“หยุดชะงัก เพราะว่าเมื่อก่อน
หลายๆ เจ้าก็ทำอีคอมเมิร์ซ อย่างเซ็นทรัลหรือกลุ่มทรู พอ LAZADA ถูกซื้อ มี Alibaba อยู่ข้างหลัง
ในแง่ของสกิลในการแข่งขัน เงินเขามีเยอะมหาศาล มีเป็นถุงเป็นถัง
มีกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น เงินเรามีอยู่ 100 ล้าน
แต่อาลีบาบามีเงินเป็น 10,000 ล้าน แล้วเราจะไปสู้ด้วยอะไร
เผาเงินไปกับการทำคูปอง ไม่ได้เพราะฉะนั้นมันคือเกมที่สู้กับยักษ์ใหญ่
สู้ไปก็ไม่คุ้ม ดังนั้น หลายๆ เจ้าก็เลยหยุด หยุดการทำโปรโมชั่น หลายๆ
เจ้าก็เริ่มเบนเข็มในการลงทุนด้านอีคอมเมิร์ซ เพราะตอนนี้ยักษ์ใหญ่มาแล้ว
เราไปสู้กับยักษ์ใหญ่ก็คงไม่ได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นกับทุกๆ
ประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มมาร์เก็ตเพลส
มันเริ่มเกิดการชลอตัวอย่างรุนแรงเลยทีเดียว ทั้งในไทยและในอาเซียน”
การจับมือระหว่าง Alipay
กับกลุ่ม CP คิดว่าอย่างไร
กูรูด้านอีคอมเมิร์ซไทย ให้ทัศนะว่า มองในแง่ดีมันก็ดี
แต่อีกทางมันก็คือการดึงยักษ์ใหญ่เข้ามาในท้องถิ่น
แต่ในจุดนี้มันคือการแข่งขันด้านเพย์เมนต์ มันก็มีความน่าเป็นห่วง
เพราะตอนนี้ระบบเพย์เมนต์เงินมันก็ยังอยู่ในประเทศไทย
แต่พออาลีเพย์เข้ามาแล้วมันจะกลายเป็นว่าอาจจะไปฆ่าแบงก์ก็ได้
และมันยังจะไปฆ่าพวกสถาบันการเงินต่างๆ ด้วย
“ตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นที่จีนคือ
อาลีบาบาไปฆ่าแบงก์ที่นั่น การปล่อยกู้ การทำโลนอะไรต่างๆ
เพราะว่าเขามีครบทุกอย่างเลย เพราะฉะนั้นการที่อาลีบาบาเข้ามาจับมือกับซีพีจึงน่ากลัว
เพราะซีพีเองก็แข็งแกร่งมาก ซีพี มี 7Eleven มีมือถือ
มีข้อมูลมหาศาล ดังนั้น การที่ซีพีลงมาเล่น
นั่นอาจเป็นไปได้ว่าซีพีกระโดดเข้ามาเป็นแบงก์ได้เลย
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า
การดึงเมืองนอกเข้ามาและจะสร้างให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมาก แต่ในขณะเดียวกัน
หากจะมองในแง่ดีก็คือ ดีกว่าที่อาลีบาบาเข้ามาเต็มๆ เพราะการเข้ามาครั้งนี้
กลุ่มอาลีบาบายังถือหุ้นน้อยอยู่ ไม่ใช่ถือหุ้นใหญ่”
คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในการแข่งขันครั้งนี้
ในส่วนนี้ คุณภาวุธ ให้คำแนะนำที่น่าสนใจว่า การแข่งขันตรงๆ อาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทายเกินไป
เพราะฉะนั้น 1.เราจะต้องใช้วิธีการจับ niche
market โดยเฉพาะ ซึ่งเขายังไม่ได้เข้ามาเล่น 2.คือถ้าแข่งกับเขาไม่ได้ เราก็ต้องใช้เขา อยู่กับเขาให้ได้
ต้องเอาเขาเป็นพาหนะพาให้เราไปได้ไกลมากกว่าเดิม ต้องใช้เขาให้เกิดประโยชน์
ในขณะเดียวกัน การทำธุรกิจเราคงอยู่เฉพาะประเทศไทยไม่ได้แล้ว
เราจะต้องออกไปต่างประเทศด้วย เพราะฉะนั้นการทำ
อีคอมเมิร์ซการอยู่ในประเทศไทยมันคงจะเล็กเกินไปแล้ว เราเองก็ต้องไปหาตลาดใหม่ด้วย
เพราะเขาเองก็ขยายมารวดเร็วมากด้วย
“เราจะต้องมองหาความแตกต่าง
เพราะยักษ์ใหญ่เวลาเขาขยับที เขาขยับได้ช้า
เพราะฉะนั้นในแง่ที่เราเล็กกว่าเราก็ต้องไปให้เร็ว และไปในจุดที่ยังไม่มีใครไป”
เครดิตข้อมูลจาก MarketingOops.com
Alibaba Group (อาลีบาบา)
ยักษ์ใหญ่ e-Commerce จากจีน
เปิดเผยว่าบริษัทสามารถทำยอดซื้อขายสินค้ารวมมูลค่ากว่า 1.207 แสนล้านหยวน (1.78 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ)
ผ่านทางช่องทางค้าปลีกของบริษัทสำหรับลูกค้าในประเทศจีนและทั่วโลก
และระบบชำระเงินออนไลน์ Alipay (อาลีเพย์) ในมหกรรม “11.11
Global Shopping Festival” เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมียอดซื้อขายผ่าน Alipay บนอุปกรณ์พกพาคิดเป็นอัตราส่วน
82%
การจัดแคมเปญสำหรับเว็บ e-Commerce ในวันที่ 11
พฤศจิกายน หรือ 11.11 มีเว็บ e-Commerce
หลายรายทั่วโลกรวมถึงในไทย จัดกิจกรรมลดราคาในลักษณะเดียวกันนี้
ถือเป็นการสร้างกิมมิคให้กับค้าปลีกออนไลน์ที่มักจะกระตุ้นยอดขายในช่วงวันพิเศษๆ
แดเนียล จาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Alibaba Group บอกว่า
ตลอด 24 ชั่วโมงของวันที่ 11.11 มีการติดต่อซื้อขายระหว่างผู้ซื้อผู้ขายตลอดเวลา
สร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งรูปแบบใหม่สำหรับลูกค้าหลายร้อยล้านคน
ซึ่งก่อนจะเริ่มต้นมหกรรมนี้ ได้มีการถ่ายทอดสดผ่านแอป Youku Tudou,
Tmall และ Taobao และยังถ่ายทอดผ่านทีวีดาวเทียม
พร้อมกับที่ฮ่องกง และมาเก๊า ผู้ชมสามารถดูผ่านสมาร์ทโฟน สแกนรหัสโปรโมชั่น
พูดคุยกับผู้ชมคนอื่น หรือเลือกซื้อสินค้าได้โดยตรง นี่คือปรากฎการณ์ใหม่
หลังจากที่เปิดฉากมหกรรมช้อปปิ้ง 11.11 ได้ 5 นาที ยอดซื้อขายสินค้าที่ชำระเงินผ่านทาง Alipay มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (6.8 พันล้านหยวน) และเพิ่มเป็น 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
(3.53 หมื่นล้านหยวน) ในเวลา 1 ชั่วโมง
โดยผู้บริโภคชาวจีนมีการสั่งซื้อสินค้า 1 ชั่วโมงแรก
สูงกว่ากิจกรรม 11.11 เมื่อปีที่ผ่านมาตลอด 24 ชั่วโมง แสดงให้เห็นถึงการตอบรับกับการค้าปลีกออนไลน์
สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
·
มูลค่าการซื้อขายที่ชำระเงินผ่านทาง Alipay 1.207 แสนล้านหยวน
(1.78 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากยอดในปี 2558
กว่า 32%
·
มูลค่าการซื้อขายผ่านอุปกรณ์พกพาที่ชำระเงินผ่าน Alipay 9.9 หมื่นล้านหยวน
(1.46 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) หรือคิดเป็น 82% ของยอดการซื้อขายรวมทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วน 69% ในปีก่อนหน้า
·
Alibaba Cloud ประมวลผลคำสั่งซื้อที่อัตราสูงสุดถึง
175,000 คำสั่งต่อวินาที
·
Alipay รองรับการทำธุรกรรมทางการเงินรวมทั้งสิ้นกว่า
1 พันล้านรายการตลอดวัน โดยมีอัตราการประมวลผลสูงสุดที่ 120,000
รายการต่อวินาที
·
กล่าวได้ว่า มหกรรมช้อปปิ้ง 11.11 ที่เกิดขึ้นนี้
เป็นมหกรรมช้อปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการซื้อขายสินค้าข้ามประเทศครอบคลุม 235
ประเทศทั่วโลก โดย 37% ของฐานลูกค้าทั้งหมดเลือกสั่งซื้อสินค้าจากแบรนด์หรือผู้ขายจากต่างประเทศ
·
ประเทศที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา,
เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และ เยอรมนี
โดยแบ่งเป็นแบรนด์ได้ดังนี้
· แบรนด์จากสหรัฐอเมริกา:
แอปเปิล ไนกี้ นิวบาลานซ์ เพลย์บอย สเก็ตเชอร์ส
· แบรนด์จากยุโรป: ซีเมนส์ ฟิลิปส์ อาดิดาส แจ็ค โจนส์ โอนลี่
· แบรนด์จากญี่ปุ่น: ยูนิโคล่ พานาโซนิค ชาร์ป โซนี่ เอสเค-ทู
· แบรนด์จากออสเตรเลีย / นิวซีแลนด์: ยีนส์เวสท์ อักก์ สวิสส์ แมคโคร แบล็คมอร์ส
· แบรนด์จากยุโรป: ซีเมนส์ ฟิลิปส์ อาดิดาส แจ็ค โจนส์ โอนลี่
· แบรนด์จากญี่ปุ่น: ยูนิโคล่ พานาโซนิค ชาร์ป โซนี่ เอสเค-ทู
· แบรนด์จากออสเตรเลีย / นิวซีแลนด์: ยีนส์เวสท์ อักก์ สวิสส์ แมคโคร แบล็คมอร์ส
สรุป
นี่คือความยิ่งใหญ่และทรงพลังของ
Alibaba Group ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการช้อปปิ้ง
รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้เกิดขึ้น
งานช้อปปิ้งออนไลน์แต่สามารถจัดเป็นงานกาลาขนาดใหญ่ มีเซเลบจากทั่วโลกมาร่วมงาน
ประเทศจีนมีประชากรมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงจะก่อให้เกิดผลกระทบขนาดใหญ่ เชื่อว่า Alibaba
จะเริ่มขยับตัวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเร็วๆ นี้
ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในนั้นด้วยเช่นกัน
เครดิตข้อมูลจาก brandinside.asia.com
อันดับ 5 สงครามระบบนิเวศน์การเงินดิจิตอล
(Fin Tech) การสัปปะยุทธ์กันของ Digital Banking และ E-Payment Operator ใครจะอยู่ใครจะไป
FinTech (ฟินเทค) คืออะไร
ชื่อ FinTech มีที่มาจากคำว่า Financial และ Technology แปลตรงตัวได้ว่า
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเงิน
หรือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมตู้ ATM
ที่ช่วยให้คนกดเงินสดได้สะดวก เพียงแค่มีบัตร, บัตรเครดิต, การโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น
เหล่านี้ก็ล้วนเป็นฟินเทคอย่างหนึ่ง
อ้าวงั้น FinTech ก็มีมาตั้งนานแล้ว
งั้นทำไมช่วงนี้ฮอตจัง แล้วเกี่ยวอะไรกันกับ Startup? ลองดูดีๆ 3
ตัวอย่างข้างต้นที่เราหยิบยกขึ้นมา มันมีมานานแล้ว Credit card คิดค้นตั้งแต่ปี 1950, ATM ตั้งแต่ปี 1967,
Online banking ที่แรก เริ่มตั้งแต่ปี 1980 กว่าแต่ละตัวจะเกิดขึ้น
ใช้เวลาห่างกันเป็นสิบๆ ปี นานๆ ทีเราจะได้เห็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ
นั่นแปลว่ายังมีช่องว่างอีกมากมายที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินของเรา
ดีขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ประหยัดขึ้น กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้น เพราะการมาของ Startup
บริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมการเงิน
ได้รวดเร็วกว่าให้ลำพังบริษัทการเงินอย่างธนาคาร ต้องมาคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ
ยกตัวอย่างเช่น
TransferWise เป็น Startup
บริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า
และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันต่างๆ
Lufax.com
จากจีน และ LendingClub จากอเมริกา
เป็นบริการด้าน Peer-to-peer Lending (P2P
Lending) หรือการเชื่อมให้คนสองคนยืม-คืน เงินกันได้
ผ่านแอปพลิเคชัน
ตัวอย่างอื่นๆ
ที่อาจจะยังไม่ใช่ยูนิคอร์น เช่น Crowdcube และ
Crowdo เป็น Equity Crowdfunding ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมเงินทุนจากสาธารณชนได้
ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงการกู้เงินจากธนาคารอย่างเดียวเสมอไป
ทำไมฟินเทคถึงเป็นกระแสที่จับตามอง
เพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างข้างต้น
ก็ช่วยให้เห็นได้แล้วว่าบริการของ Startup ช่วยนำเสนออะไรหลายอย่างที่ธนาคารทำให้ไม่ได้
หรือยังทำได้ไม่ดี แถมเรื่องเงินเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน
อุตสาหกรรมการเงิน นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสำคัญมาก นอกจากนี้
ยังมีเหตุผลที่น่าสนใจอีก เช่น
ฟินเทค และการเป็น Core ของธุรกิจอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น
นวัตกรรมด้าน E-payment หรือการชำระเงินออนไลน์
นับว่ามีบทบาทสำคัญมากต่อ E-commerce การจะเปลี่ยนใจคนให้มาซื้อของออนไลน์
ต้องเกิดจากระบบการชำระเงินออนไลน์ที่ใช้ง่าย มีประสิทธิภาพด้วย เป็นต้น
กล่าวได้ว่าฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี
เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ –
เงินทุนหมุนเวียน, Supply Chain, กระบวนการชำระเงิน,
การฝาก/ถอน, ประกันชีวิต และอื่นๆ
แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น
ฟินเทค และการนำมาสู่เทคโนโลยีพลิกโฉม
ในขณะนี้
กระแสเทคโนโลยีตัวใหม่ ที่กำลังมาแรง คือ Blockchain (บล็อกเชน) โดยแท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของบล็อกเชน มากจากความพยายามในการพัฒนาฟินเทคประเภท
Bitcoin (บิทคอยน์) เพื่อสร้าง Digital currency ที่มีความน่าเชื่อถือ จนปัจจุบัน Blockchain ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ
อีกมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่โลกกำลังจับตามองมากที่สุดในขณะนี้
FinTech
เป็นคำเรียกสั้นๆ มาจาก Financial Technology คำนี้เริ่มบูมขึ้นมาเรื่อยๆ
คนเริ่มพูดถึงกันมากขึ้น หลักๆ ความหมายของมันก็คือการที่เอา Technology มาใช้พัฒนาบริการทางด้าน Financial นั้นเอง
แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
Stock, Stock Analysis บริการด้านหุ้น
อันนี้น่าจะเห็นกันมาพักใหญ่แล้วสำหรับขาหุ้น
นอกจาก Streaming, eFinance ของแต่ละโบรค
ก็จะมีพวก Startup หน้าใหม่ทำพวกบริการวิเคราะห์ให้คะแนนหุ้นแต่ละตัวด้วย
Indicator ต่างๆ แสกนหุ้นดีๆ ออกมา มีกราฟแนวโน้มให้ดู
มีแนะนำว่าหุ้นตัวไหนควรซื้อควรขายเมื่อไหร่อะไรยังไง
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
SiamChart, StockRadars, Jitta
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
SiamChart, StockRadars, Jitta
Payment Gateway, Wallet
บริการด้านการจ่ายเงินและกระเป๋าเงินออนไลน์
อันนี้ก็ออกมานานละ
มันใหญ่มากเลยครับ พวกนี้จะเป็นบริการด้านการจ่ายเงินต่างๆ
ในยุคเริ่มแรกก็จะเป็นแค่การโอนเงินเข้าไปจ่ายเงินค่าบริการต่างๆ
ปัจจุบันนี่จะมาเป็นกระเป๋าเงินออนไลน์
คือเราไปเปิดบัญชีไว้แล้วสามารถโอนเงินเข้าไปได้ เพื่อใช้จ่ายค่าบริการต่างๆ
ง่ายขึ้น โอนไปหาเพื่อน หรือหลังๆ มานี่เริ่มมี AIS ผูกกับบัตร
Rabbit จ่ายเงินตามสถานที่ต่างๆ ได้แล้วด้วย
อีกทั้งการมาของขาใหญ่อย่าง Apple Pay ด้วย
(แต่เจ้านี้ยังไม่มีในไทยเลย)
พวกนี้หลังๆ Mobile Operator เริ่มแย่งลูกค้าธนาคารละ แล้วยังมีของพวก Startup ค่ายเล็กค่ายน้อยอีก
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
TrueMoney, AIS mPay, PaySbuy, Omise
พวกนี้หลังๆ Mobile Operator เริ่มแย่งลูกค้าธนาคารละ แล้วยังมีของพวก Startup ค่ายเล็กค่ายน้อยอีก
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
TrueMoney, AIS mPay, PaySbuy, Omise
Crowdfunding ระดมทุน
Online
สมัยก่อนนี่จะทำอะไรทีก็ต้องมีทุนทรัพย์
ไม่ก็ต้องไปหาผู้สนับสนุน วุ่นวาย ติดหนี้บุญคุณ แต่ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปละครับ
พวกบริการด้านระดมทุนพวกนี้ หากคุณความฝันหรือแผนทำ Project
อะไรชัดเจนแล้วคุณสามารถระบบทุนได้ง่ายขึ้น ผ่าน Internet โดยเสนอแนวคิด แผนธุรกิจ ให้กับคนทั่วโลกได้พิจารณาดูได้เลย
โดยอาจมีข้อตกลงกันเช่นว่า ถ้ามีคนให้เงินคุณเท่านี้ เขาจะได้สิทธิ์ซื้อสินค้า
หรือบริการของคุณในราคาถูกลง ก็จะ fair กันไปทั้งผู้ให้ทุนและผู้ต้องการทุน
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
Kickstarter
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
Kickstarter
ปล่อยสินเชื่อ
Online
อันนี้แปลกใหม่ดี
คุณรู้หรือไม่ เดี๋ยวนี้มีการปล่อยสินเชื่อกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล (Peer-to-Peer,
P2P) กันแล้ว ด้วย FinTech สามารถทำให้ผู้ให้กู้และผู้กู้สามารถติดต่อกันได้โดยตรง
(กำลังจะมีการควบคุมด้วยกฎหมาย) โดยไม่ต้องผ่านคนกลางอย่างธนาคาร
ตัวนี้น่าสนใจมาก ลองคิดภาพถ้าเราเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยเท่าบัตรเครดิตจะเป็นยังไง
แต่ยังหาเจ้าที่ให้บริการแบบจริงๆ จังๆ ไม่ได้เลยครับ
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
LendingClub
SatangDee
ตัวนี้น่าสนใจมาก ลองคิดภาพถ้าเราเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยเท่าบัตรเครดิตจะเป็นยังไง
แต่ยังหาเจ้าที่ให้บริการแบบจริงๆ จังๆ ไม่ได้เลยครับ
ยกตัวอย่างของ FinTech ประเภทนี้เช่น
LendingClub
SatangDee
Money Game
หลังๆ
มานี้มีเพิ่มขึ้นเยอะเลย HYIP / MLM / MATRIX /
BINARY / REVSHARE / MMM เริ่มมีการพัฒนาใช้ Bitcoins เป็นเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนกันในระบบ
ของพวกนี้มีทั้งแบบที่จ่ายเงินจริงๆ และแบบหลอกลวง คนได้เงินก็ดีไป
แต่ก็ต้องพึงระลึกไว้ว่าเงินที่ได้มานี่ได้มาจากคนที่มาทีหลังเขาเดือดร้อน
ที่นำเสนอประเภทนี้ขึ้นมาด้วยก็เพื่อที่จะให้เห็นว่า FinTech นอกจากประโยชน์แล้ว ก็อาจมีโทษด้วยถ้าเราเอาไปใช้ในทางผิดๆ
ที่นำเสนอประเภทนี้ขึ้นมาด้วยก็เพื่อที่จะให้เห็นว่า FinTech นอกจากประโยชน์แล้ว ก็อาจมีโทษด้วยถ้าเราเอาไปใช้ในทางผิดๆ
ด้านอื่นๆ
- เปรียบเทียบประกันรถ
ประกันเดินทาง บัตรเครดิต
GoBear
- แลกเปลี่ยน BitCoins จ่ายค่าบริการเล็กๆ น้อยๆ
Coins.co.th
- สกุลเงินเสมือนต่างๆ BitCoins, ETH
- การใช้เทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการโอนเงิน
GoBear
- แลกเปลี่ยน BitCoins จ่ายค่าบริการเล็กๆ น้อยๆ
Coins.co.th
- สกุลเงินเสมือนต่างๆ BitCoins, ETH
- การใช้เทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการโอนเงิน
Blockchain - marketingoops
สรุป
จะเห็นว่าบริการที่เกิดขึ้นใหม่พวกนี้ส่วนนึงต้องมีการมาแบ่ง Market Share ของ Bank ใหญ่อย่างแน่นอน ต่อไปในอนาคต พวกเราอาจจะทำธุรกรรมการเงินผ่านบริษัทแนวนี้หมด การใช้บริการธนาคารอาจจะกลายเป็นความล้าสมัยไปเลยก็ได้ (เครดิตบทความของ Meng Jaa,บล็อก kritsadas.blogspot.com)
เปิดแผนธุรกิจ
KBANK การเป็น Digital
Banking อันดับ 1 และแนวการพัฒนาที่ Startup
ต้องรู้
ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ได้เปิดเผยแผนธุรกิจในการเป็น
Digital Banking อันดับ 1 ของไทยได้อย่างน่าสนใจ
มีหลายส่วนที่เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน
และมีอีกหลายส่วนที่เป็นการต่อยอด
ตอกย้ำภาพความร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
แม่ทัพที่นำทีมมาเปิดเผยข้อมูลคือ ธีรนันท์
ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ของ KBANK ซึ่ง คนในวงการการเงินการธนาคารทั้งหมด
ต้องให้ความสนใจและห้ามพลาดเป็นอย่างยิ่ง
เตรียมเปิดตัวบริษัท VC ดูแลการลงทุนเทคโนโลยี
ธีรนันท์
บอกว่า KBANK ได้เตรียมงบประมาณกว่า 5,000
ล้านบาท สำหรับการลงทุนด้านไอทีทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 4,000 ล้านบาท สำหรับการลงทุนด้านไอทีทั่วไป
ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธนาคารอยู่แล้ว เพื่อการพัฒนาบริการต่างๆ
ระบบความปลอดภัย และอีก 1,000 ล้านบาท
จะเป็นงบสำหรับลงทุนในด้าน Startup ซึ่ง KBANK ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัท Venture Capital แล้ว
อยู่ระหว่างรอการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย คาดว่าจะเรียบร้อยในปี 2560
สำหรับการลงทุนด้าน
Startup จะแบ่งเป็น การลงทุนโดยตรง นั่นคือ
การเข้าไปลงทุน (direct investment) ใน Startup เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการใหม่ๆ ทั้งในไทย, อาเซียน
และจีน ซึ่งถือเป็นตลาดหลักของ KBANK และเป็นส่วนหนึ่งในแผนที่จะทำให้
KBANK ก้าวขึ้นเป็นธนาคารระดับภูมิภาค
นอกจากนี้ยังมีการลงทุนผ่านกองทุน (fund of fund) ต่างๆ
เพื่อให้ KBANK ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ
ผ่านกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญทั่วโลก
กลุ่มธุรกิจเป้าหมายลงทุน
ไม่ได้จำกัดเพียง FinTech เท่านั้น
แต่ยังรวมถึงธุรกิจด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องกับธนาคาร เช่น Customer
Engagement & Experience, AI & Machine Learning, Big Data &
Analytics และ Enterprise IT, Infrastructure & Security
จับตา
'อีเพย์เมนต์’ บูม รับธุรกิจชอปออนไลน์มูลค่า 1.47 หมื่นล้าน
ตัวเลขซื้อขายออนไลน์ของประเทศไทยที่พุ่งขึ้นถึง 1.47 หมื่นล้านบาท
ส่งผลให้บริการ e-payment กำลังเป็นธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดด
ทั้งธนาคาร 3 ค่ายโอเปอเรเตอร์มือถือ รวมทั้งแอป
เพย์เมนต์ที่เข้าสู่สนามธุรกิจใหม่นี้กันอย่างคึกคัก
จุดสำคัญที่ทำให้เห็นถึงทิศทางการเติบโตธุรกิจดิจิตอลเพย์เมนต์
หรือ อีเพย์เมนต์ ที่คาดว่าจะเติบโตแบบก้าวกระโดดในปี 2016 มาจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง
3 ราย ต่างมีการปรับภาพลักษณ์ เพิ่มการสร้างแบรนด์ เปลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้รองรับการเปิดให้บริการ
‘อีเพย์เมนต์’ ที่จะครอบคลุมในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
นอกเหนือไปจากโอเปอเรเตอร์แล้ว
การให้บริการธุรกรรมออนไลน์ของธนาคารก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ
จะเห็นได้จากการที่ธนาคารหลายรายเริ่มมีการลงทุนทั้งการปรับเปลี่ยนระบบให้รองรับการทำธุรกรรมออนไลน์
รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนให้ใช้งานได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ไม่เช่นนั้น
ยังมีผู้ให้บริการที่มองถึงโอกาสในการสร้างจุดแข็งของบริการใหม่ในกลุ่มนี้
ด้วยการลงทุนผลิตแอปพลิเคชัน พร้อมผนึกกับพันธมิตรมาร่วมชิงส่วนแบ่งในตลาดนี้ด้วย
ทำให้ทั้งผู้ให้บริการเดิมจำเป็นต้องมีการขยับ
ขณะเดียวกันผู้ให้บริการรายใหม่ก็ต้องสร้างการรับรู้จากผู้บริโภคด้วย
บริการส่วนใหญ่ที่ทุกรายมีเหมือนกันคือ
การรับจ่ายเงินค่าสาธารณูปโภค จ่ายค่าบัตรเครดิต บริการสินเชื่อต่างๆ
ซึ่งแต่ละรายก็จะชูจุดเด่นแตกต่างกันไปตั้งแต่ฟรีค่าธรรมเนียมในการใช้งาน
ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้เชิญเพื่อนมาใช้เพื่อรับเงินเข้าบัญชี
ปานเทพย์ นิลสินธพ
ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานผลิตภัณฑ์บริการทางการเงิน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส
คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในกลุ่มไฟแนนเชียลเซอร์วิสของดีแทค
มีการแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลูกค้า
คือการเป็นเพย์เมนต์เกตเวย์ (Payment Gateways) ให้แก่กลุ่มร้านค้าออนไลน์
ถัดมาคือบัตรเครดิตเสมือน (Mobile Credit) หรือกระเป๋าเงินออนไลน์
(e-Wallet) และสุดท้ายคือบริการ แจ๋ว บริการโอน-รับ-จ่าย
ผ่านโทรศัพท์มือถือ
“ในแต่ละกลุ่มลูกค้าก็จะมีความต้องการไม่เหมือนกัน
ดังจะเห็นได้จากกลุ่มเพย์เมนต์เกตเวย์ ลูกค้าหลักๆ จะกลายเป็นร้านค้าออนไลน์
ที่ต้องการเปิดช่องทางรับ–จ่ายเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือ
ซึ่งในตลาดนี้จะมีผู้เล่นรายใหญ่ๆ อยู่ประมาณ 3 เจ้า
มีส่วนแบ่งในตลาดใกล้เคียงกัน”
ด้วยการที่ดีแทคเข้าไปซื้อกิจการเพย์สบาย
(Paysbuy) มาตั้งแต่ปี 2004 ทำให้ดีแทคมีใบอนุญาตในการให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ในแทบทุกประเภท
ดังนั้นจึงถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ดีแทคสามารถก้าวเข้าสู่ตลาดนี้ได้เร็วขึ้น
ขณะที่กลุ่มลูกค้าที่ใช้งานกระเป๋าเงินออนไลน์
หรือบัตรเครดิตเสมือน ก็จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการทำธุรกรรมออนไลน์
แต่ยังกังวลในแง่ของความปลอดภัยในการใช้บัตรเครดิต
รวมถึงการกำหนดวงเงินในการใช้งานให้เหมาะสม
จึงถือเป็นอีกบริการที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น
“ผู้บริโภคหลายรายกังวลถึงการผูกบัตรเครดิตเข้ากับบัญชีผู้ใช้ออนไลน์
เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถจำกัดวงเงินได้
การมีบัตรเครดิตเสมือนเข้ามาทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายได้ว่าจะใส่เงินเข้าไปในระบบเท่าใด
รวมถึงกรณีโดนขโมยข้อมูลก็จะสูญเสียเงินเฉพาะที่ใส่ไว้เท่านั้น“
ทั้งนี้ มีผลสำรวจจากทาง เพย์พาล (PayPal) ระบุว่า
ปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์ของประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 1.47 หมื่นล้านบาท
มียอดค่าใช้จ่ายเงินเฉลี่ยต่อคนถึง 13,181 บาท และ 71%
ของยอดรวมซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมดมาจากกลุ่มคนที่มีรายได้ในระดับปานกลาง
แต่ที่น่าสนใจคือ
การใช้จ่ายทางออนไลน์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารออนไลน์เป็นหลัก
ไม่ใช่การใช้บัตรเครดิต โดยสัดส่วนการใช้งานบัตรเครดิตในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 3% เท่านั้น
เมื่อเทียบกับในต่างประเทศอย่างในสหรัฐอเมริกาจะใช้บัตรเครดิตกันสูงถึง 38-40%
ปัจจุบัน
ดีแทคมีฐานลูกค้าที่สมัครใช้งานในกลุ่มของกระเป๋าเงินออนไลน์ ราว 3 แสนราย
แต่มีการใช้งานเป็นประจำประมาณ 1 แสนราย
ในขณะที่บริการแจ๋วก็มียอดผู้ใช้งานเติบโตขึ้นราว 10% ต่อเนื่องในแต่ละเดือน
ปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ
สายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงทิศทางต่อของบริการเอ็มเปย์
คือ
การเปิดให้ลูกค้าทั่วไปสามารถเข้ามาใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าของเอไอเอส
จากเดิมที่เปิดให้บริการเฉพาะลูกค้าในระบบเท่านั้น
“การเปิดให้ลูกค้าทั่วไปสามารถใช้งานบริการเอ็มเปย์ได้จะช่วยเพิ่มปริมาณลูกค้าที่ใช้งานเพิ่มเป็น
1.5 ล้านราย จากที่ใช้งานในปัจุบัน 1.4 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้
และจะเติบโตต่อเนื่องที่ 20-30% ต่อไป”
แต่ด้วยข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย
และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำหนดให้ผู้ที่สมัครที่ยังไม่ได้ยืนยันตัวตนสามารถใช้งานได้ในวงเงิน
5,000 บาท
แต่ถ้ามีการยืนยันเรียบร้อยก็จะเพิ่มวงเงินเข้าไปเทียบเท่ากับลูกค้าของเอไอเอสที่ใช้งานได้
การที่เอไอเอสเพิ่งเริ่มเปิดให้ผู้ใช้บริการทั่วไปสามารถใช้งานระบบได้
เนื่องมาจากมองว่าปัจจุบันถึงเวลาที่ใช่สำหรับการให้บริการในยุคดิจิตอลเพย์เมนต์แล้ว
เพราะลูกค้าที่ใช้งานส่วนใหญ่มีสมาร์ทโฟน และกลายเป็นปัจจัยที่ 6 ในการใช้ชีวิตแล้ว
มองว่าในปี 2016 ถือเป็นช่วงสำคัญของตลาดที่จะเกิดการแข่งขันในธุรกิจอีเพย์เมนต์อย่างเต็มรูปแบบ
เพราะผู้ให้บริการแต่ละรายต่างพร้อมที่จะเข้ามาให้บริการแก่ลูกค้า
เพื่อสร้างการใช้งานธุรกรรมออนไลน์ให้หลากหลายขึ้น
อย่างไรก็ตาม เอ็มเปย์
ถือเป็นบริการรายสุดท้ายในกลุ่ม 3 โอเปอเรเตอร์ที่เปิดให้ลูกค้าทั่วไปสามารถใช้งานได้
เพราะก่อนหน้านี้ทั้งทรูมันนี่ และเพย์สบาย
ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว ทำให้ลูกค้าสามารถสมัครใช้งานได้ทันที
ปานเทพย์ กล่าวว่า
ในช่วงปลายปีนี้ผู้ให้บริการทั้ง 3 รายจะรวมตัวกัน
เปิดให้สามารถโอนเงินข้ามระบบกันได้ระหว่างเพย์สบาย เอ็มเปย์ และทรูมันนี่
ซึ่งมีการประกาศความร่วมมือไปก่อนหน้านี้แล้ว
แต่ระบบพร้อมจะเปิดให้ใช้งานภายในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้
ส่วนทางกลุ่มทรู
หลังจากที่มีการตั้งบริษัท แอสเซนต์
ขึ้นมาและดึงทั้งธุรกิจอีเพย์เมนต์อย่างทรูมันนี่ รวมถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่าง
ไอทรูมาร์ต และวีเลิฟชอปปิ้ง มาอยู่ภายใต้บริษัท
ก็ยังไม่มีความคืบหน้าถึงแนวทางในการให้บริการในธุรกิจนี้อย่างชัดเจน
สรรเสริญ สมัยสุต
หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท แอสเซนต์ กรุ๊ป จำกัด เคยให้ข้อมูลว่า
จุดประสงค์หลักของแอสเซนต์ กรุ๊ป คือการสร้างอินฟราสตรักเจอร์ทางด้านธุรกิจดิจิตอล
ให้กลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดกลางและย่อม
เข้าถึงเทคโนโลยีทางการตลาดในระดับราคาที่เหมาะสม
ทิศทางการให้บริการจะไม่ได้ครอบคลุมเพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น
แต่จะรวมถึงการให้บริการภายในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นด้วย
ซึ่งปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลักสำหรับทรูมันนี่
ยังคงเป็นลูกค้าในกลุ่มเติมเงินเพื่อเล่นเกม
“เคแบงค์” ส่งบริการ Pay PLUS เอาใจคนไร้บัตรเครดิต
ทางด้าน “กสิกรไทย” ยักษ์ใหญ่วงการดิจิทัล
แบงกิ้ง ก็ได้เปิดตัวบริการ Pay PLUS เป็นรูปแบบของ Mobile
Payment ในงานผ่านแอปพลิเคชัน K-Mobile Banking PLUS ที่สามารถชำระค่าสินค้า
และบริการผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ผูกกับแอปพลิเคชัน โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
หรือบัตรเดบิต
บริการนี้กสิกรไทยพัฒนาขึ้นมาเพื่ออุดช่องโหว่ในตลาด
Mobile Payment
ที่ส่วนใหญ่แล้วต้องใช้บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตในการชำระสินค้า
แต่บริการนี้ไม่ต้องจำตัวเลขบัตรหรือเลขบัญชีที่จะต้องกรอกทุกครั้งในการทำธุรกรรม
เพียงแค่กรอกเบอร์โทรศัพท์ แล้วทางธนาคารจะหักเงินจากบัญชีที่ผูกกับ K-Mobile
Banking PLUS ทันที
เพื่อต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กมากขึ้น
หรือ First Jobber ที่ยังไม่มีบัตรเครดิตเป็นของตัวเอง
โดยมีการจับมือกับพันธมิตรที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ ได้แก่ เอไอเอส, เซ็นทรัล ออนไลน์, เอสเอฟ ซีนีม่า, ไทยทิคเก็ตเมเจอร์, นครชัยแอร์, นกแอร์, ทรู ดิจิตอล พลัส และเมืองไทยประกันชีวิต
ตัวอย่างการให้บริการ เช่น เอไอเอส
เพิ่มช่องทางการชำระเงิน หรือโอนเงินเข้า mPay ได้
ซึ่งลูกค้าสามารถดูบิลออนไลน์และจ่ายบิลด้วยการกดไอคอน Pay PLUS และจะทำการหักจากบัญชีทันที
หรือการซื้อบัตรจากไทยทิคเก็ตเมเจอร์ในช่องทางออนไลน์ สามารถชำระเงินได้เลย
โดยที่ไม่ต้องเข้า Payment Gateway อื่น
ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการดิจิทัล
แบงกิ้งในประเทศไทย 19
ล้านคน เติบโตจากปี 2557 ราว 37% มีปริมาณธุรกรรมสูงถึง 10.7 ล้านล้านบาท
ธนาคารกสิกรไทยมีผู้ใช้งานดิจิทัล แบงกิ้งกว่า 7 ล้านคน
คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 38%
ในปีนี้กสิกรไทยตั้งเป้าธุรกรรมผ่านดิจิทัล
แบงกิ้ง 3.5
ล้านล้านบาท โดยในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมามีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือทั้งโอนเงิน
และชำระเงิน 32 ล้านรายการ คิดเป็นสัดส่วน 44% ของธุรกรรมการโอนเงิน และชำระเงินรวมของธนาคาร
ดึงธุรกิจเครือข่ายสร้างอีเพย์เมนต์
นอกจากนี้ ฟิล์ม รัฐภูมิ
โตคงทรัพย์ นักร้องนักแสดงเป็นอีกหนึ่งรายที่หันเข้ามาให้ความสนใจในธุรกิจอีเพย์เมนต์
ด้วยการตั้งบริษัทพัฒนาแอปพลิเคชัน เพล์ออล กรุ๊ป ขึ้นมาเพื่อเปิดให้บริการแอป ‘เพย์ออล’ โดยนำประสบการณ์จากระบบขายตรงกว่า 10 ปี
มาพัฒนาต่อยอดออกเป็นแอปพลิเคชันให้ผู้บริโภค
โดยวางแผนการพัฒนาไว้ 4 ช่วงให้ครอบคลุมการจับจ่ายใช้สอยของคนรุ่นใหม่
คือ การเปิดแนะนำตัวแอปพลิเคชัน เพย์ออล การพัฒนาคอนเทนต์ร่วมกับพาร์ตเนอร์ การพัฒนาคอนเทนต์ด้านเอนเตอร์เทนเมนต์
และ 4.การพัฒนาอุปกรณ์ให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของร้านค้าอื่นๆ
ได้
ขณะที่ 4 บริการหลักในแอปคือ
เพย์ดีล การนำส่วนลดพิเศษจากร้านค้ามาให้สมาชิก เพย์ชอป
แหล่งรวมสินค้าแบรนด์เนมให้สามารถซื้อผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ เพย์บิล สำหรับใช้ชำระค่าสาธารณูปโภค
และเพย์แคช ใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการตามร้านค้าที่ร่วมรายการ
จุดเด่นหลักของ เพย์ออล
คือการที่ผู้ใช้สามารถสมัครสมาชิกเป็นระดับวีไอพี
และจะได้ข้อเสนอพิเศษอย่างส่วนลดสินค้า การเข้าถึงบริการ
ซึ่งถือเป็นการนำแนวคิดของธุรกิจเครือข่ายมาต่อยอดภายในแอปพลิเคชัน
และเมื่อมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากก็จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ใช้ด้วย
ปัจจุบัน
เพย์ออลมีพาร์ตเนอร์เข้าร่วมกว่า 400 บริษัท แบ่งเป็นสินค้าของบริษัทกว่า 100
รายการ สินค้าเพย์ชอปประมาณ 1,000 รายการ
และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีสมาชิกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันเพย์ออลทั้งสิ้น 100,000
ราย และหวังว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,000,000 รายในปี
2559
ผุด เพย์ โซเชียล
รับซื้อของผ่านโซเชียลมีเดีย
การที่โซเชียลมีเดียถือเป็นอีกช่องทางจำหน่ายสินค้าที่สำคัญ
ทำให้มีบริษัทที่มองเห็นถึงการใช้ช่องทางดังกล่าวในการนำระบบอีเพย์เมนต์เข้ามารับชำระเงิน
ด้วยบริการ ‘เพย์ โซเชียล’ (Pay Social) เพื่อให้ร้านค้าออนไลน์นำไปใช้งาน
ศุภชัย กาญจนศักดิ์ชัย
ผู้อำนวยการบริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด ให้ข้อมูลว่า เพย์ โซเชียล
ถือเป็นอีกช่องทางรับการชำระเงินออนไลน์ในโลกของโซเชียลมีเดียทุกระบบ โดยร้านค้าออนไลน์สามารถเปิดระบบชำะระเงินได้ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน
เมื่อต้องการคิดเงินก็เพียงส่งลิงก์ให้ลูกค้าทำการคลิกเพื่อชำระเงิน
โดยมีการรับชำระผ่านบัตรเครดิต เดบิต ระบบเงินผ่อน รวมไปถึงจุดบริการรับชำระต่างๆ
อาทิ ร้านสะดวกซื้อ ซึ่งร้านค้าจะคิดค่าธรรมเนียม 3.75% ต่อรายการ
ทางเพย์ โซเชียล
ได้มีการสำรวจการใช้งานโซเชียลมีเดียของไทยพบว่า เฟซบุ๊กมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน
อินสตาแกรมมีประมาณ 7.8 ล้านคน
และพบว่ามีจำนวนร้านค้าในเฟซบุ๊กประมาณ10,515ร้านค้า
และมีการเปิดเพจขายของกว่า1,100,000 เพจ
ส่วนอินสตาแกรมมีจำนวนร้านค้าทั้งหมด11,213ร้านค้า
โดย 50% ของผู้ใช้งานทำการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย
เนื่องจากมองเห็นว่ามีความสะดวกสบายและมีราคาถูกกว่าราคาที่ขายด้านนอก
โดยมีราคาเฉลี่ยในการซื้อขายต่อครั้งอยู่ที่ 500-1,000 บาท
เฟซบุ๊ก ไลน์ และอินสตาแกรม เป็นโซเชียลมีเดียที่มีการใช้งานมากที่สุด
LINE Pay ก็มา
ส่วนทางด้าน LINE แชตแอปพลิเคชันอันดับ
1 ของไทย ก็เปิดตัว LINE PAY เมื่อกลางปีที่ผ่านมา
ไว้เป็นช่องทางจำระเงินให้กับลูกค้า โดยผูกกับบัตรเครดิต และบัญชีธนาคาร
เมื่อซื้อบริการ ไม่ว่าจะเป็นสติกเกอร์ เกม ให้กับแบรนด์ต่างๆ ทั้งรายเล็กรายย่อย
ที่มาเปิดออฟฟิเชียล แอ็กเคานต์ กับ LINE สามารถขายสินค้า
รับชำระเงินผ่าน LINE PAY ได้ด้วย
เรียกว่าเป็นบริการอำนวยความสะดวกแบบครบวงจร
เห็นได้ชัดว่า บริการ e-payment ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
อีกต่อไป เป็นบริการที่จะเติบโตตาม บริการชอปออนไลน์ ที่นับวันจะเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
(เครดิตข้อมูลและภาพจาก Positioningmag.com)
วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย
หยิกแกมหยอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น