อันดับ 4
เมื่อธุรกิจลูกหนังคือขุมทองใบใหม่ และใหญ่ขึ้นอย่างน่าตกใจ
ทีมฟุตบอล ของเล่นใหม่ของนักการเมือง
และนักธุรกิจระดับชาติ เพราะสมการ
นักฟุตบอล (รวมสต๊าฟโค้ชทีมงาน) + เงิน (ของกลุ่มทุน,สปอนเซอร์) + ภาพลักษณ์ (แบรนด์อิมเมจ) = มูลค่าการตลาดของทีม นี่แหละคือสูตรสำเร็จที่หอมหวานที่นักการเมืองหรือนักธุรกิจต้องการจะได้ บ้างก็ว่าเป็นแหล่งฟอกเงินของนักการเมือง
บ้างก็ว่าเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบรรดาเศรษฐี นักธุรกิจ เจ้าสัวทั้งหลาย
บ้างก็ว่าเป็นการสร้างคน สร้างชาติ สร้างเยาวชน เป็นการตอบแทนสังคม หรือทำประโยชน์ด้านการกีฬาให้กับประเทศชาติ
ก็ว่ากันไป แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ที่อยากจะเข้ามาทำทีมฟุตบอล
ข่าวคราวความเคลื่อนไหวในปีนี้ของทีมฟุตบอลชั้นนำของไทย
ต่างๆ ตั้งแต่ต้นปี มีดังนี้
3 หนุ่ม เมสซี่เจ ชนาธิป
สรงกระสินธ์, ธนบูรณ์ เกษารัตน์ และ พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา ก็จะเดินทางไปเปิดตัวกับ
กิเลนผยอง SCG เมืองทอง ยูไนเต็ด
ซึ่งทั้ง 3 คน ย้ายมาด้วยสัญญายืมตัวจาก BEC เทโรศาสน 1 ฤดูกาล ก็นำมาเสริมทัพสำหรับโตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก 2016 รวมถึงศึก AFC แชมเปี้ยนส์ลีก รอบเพลย์ออฟด้วย เพื่อเป้าหมายก็คือเข้ารอบแบ่งกลุ่ม และการทวงแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก เจ ใส่เสื้อเบอร์ 18, ตั้ม ธนบูรณ์ เบอร์ 17 และ บาส พีระพัฒน์ เบอร์ 2
เทโร เสียแข้งหลัก ทีมชาติไปถึง 3 คน มี รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค กัปตันทีม ย้ายไปสุพรรุบุรี เอฟซี ก็อาจจะพอเดาๆได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ฤดูกาลหน้าอาจจะตกไปเล่นในดิวิชั้น 1 จริงๆแล้ว แต่จะแน่ชัดก็ต้องรอดูวันที่ 1 กุมภาพันธ์
ส่วน ปกเกล้า อนันต์ ย้ายจากสโมสรเพื่อนตำรวจ มา ฉลามชล ชลบุรี เอฟซี เซ็นสัญญา 3 ปี เตรียมสู้ศึก AFC แชมเปี้ยนส์ ลีก เช่นกัน น่าจะได้ลงในนัดที่พบกับย่างกุ้ง ยูไนเต็ด วันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ ก็จะสวมเสื้อหมายเลข 22 สำหรับการลงเล่นให้ฉลามชล ฤดูกาลหน้า
เพื่อนตำรวจเสียนักเตะไปหลายคนเหมือนกัน เมื่อวานนี้ มาดามแป้ง ก็เปิดตัว ธนา ชะนะบุตร ย้ายมาเล่นกับ ท่าเรือ ก่อนหน้านี้ก็ดึง ภิญโญ อินพินิจ และ ปกรณ์ เปรมภักดิ์ มาก่อนแล้ว จากเพื่อนตำรวจทั้ง 3 คน
ฤดูกาลนี้ มีนักเตะของทั้งสองทีม ย้ายข้ามฝั่งหลายราย ทั้ง อดิศักดิ์ ไกรษร,พีระพัฒน์ โน้ตชัยยา, ธนูบรณ์ เกษารัตน์, ชนาธิป สรงกระสินธุ์ และ ทริสตอง สมชาย โด ที่ย้ายจากมังกรไฟ ไป กิเลนผยอง ส่วนผู้เล่นเมืองทอง ที่ย้ายมาเทโร ประกอบด้วย พิธิวัติ สุขจิตธรรมกุล, ชัยณรงค์ ทาทอง, สุพร ปีนะกาตาโพธิ์, สุริยา สิงห์มุ้ย, ชนานันท์ ป้อมบุปผา และ ศิวกรณ์ เตียตระกูล
ซึ่งทั้ง 3 คน ย้ายมาด้วยสัญญายืมตัวจาก BEC เทโรศาสน 1 ฤดูกาล ก็นำมาเสริมทัพสำหรับโตโยต้า ไทยพรีเมียร์ลีก 2016 รวมถึงศึก AFC แชมเปี้ยนส์ลีก รอบเพลย์ออฟด้วย เพื่อเป้าหมายก็คือเข้ารอบแบ่งกลุ่ม และการทวงแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก เจ ใส่เสื้อเบอร์ 18, ตั้ม ธนบูรณ์ เบอร์ 17 และ บาส พีระพัฒน์ เบอร์ 2
เทโร เสียแข้งหลัก ทีมชาติไปถึง 3 คน มี รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค กัปตันทีม ย้ายไปสุพรรุบุรี เอฟซี ก็อาจจะพอเดาๆได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ฤดูกาลหน้าอาจจะตกไปเล่นในดิวิชั้น 1 จริงๆแล้ว แต่จะแน่ชัดก็ต้องรอดูวันที่ 1 กุมภาพันธ์
ส่วน ปกเกล้า อนันต์ ย้ายจากสโมสรเพื่อนตำรวจ มา ฉลามชล ชลบุรี เอฟซี เซ็นสัญญา 3 ปี เตรียมสู้ศึก AFC แชมเปี้ยนส์ ลีก เช่นกัน น่าจะได้ลงในนัดที่พบกับย่างกุ้ง ยูไนเต็ด วันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ ก็จะสวมเสื้อหมายเลข 22 สำหรับการลงเล่นให้ฉลามชล ฤดูกาลหน้า
เพื่อนตำรวจเสียนักเตะไปหลายคนเหมือนกัน เมื่อวานนี้ มาดามแป้ง ก็เปิดตัว ธนา ชะนะบุตร ย้ายมาเล่นกับ ท่าเรือ ก่อนหน้านี้ก็ดึง ภิญโญ อินพินิจ และ ปกรณ์ เปรมภักดิ์ มาก่อนแล้ว จากเพื่อนตำรวจทั้ง 3 คน
ฤดูกาลนี้ มีนักเตะของทั้งสองทีม ย้ายข้ามฝั่งหลายราย ทั้ง อดิศักดิ์ ไกรษร,พีระพัฒน์ โน้ตชัยยา, ธนูบรณ์ เกษารัตน์, ชนาธิป สรงกระสินธุ์ และ ทริสตอง สมชาย โด ที่ย้ายจากมังกรไฟ ไป กิเลนผยอง ส่วนผู้เล่นเมืองทอง ที่ย้ายมาเทโร ประกอบด้วย พิธิวัติ สุขจิตธรรมกุล, ชัยณรงค์ ทาทอง, สุพร ปีนะกาตาโพธิ์, สุริยา สิงห์มุ้ย, ชนานันท์ ป้อมบุปผา และ ศิวกรณ์ เตียตระกูล
ข่าวที่ช็อกวงการฟุตบอลอย่างมากในช่วงต้นปี
คงไม่มีข่าวไหนดังและเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากไปกว่าข่าวที่ สโมสรบุรีรัมย์
ยูไนเต็ด ยอมปล่อยตัว (ขาย) เจ้าอุ้ม ธีราทร บุญมาทัน ปีกตัวฉกาจ
และกัปตันทีมชาติไทย และยังเป็นผู้เล่นที่ว่ากันว่าเก่งที่สุดของไทย
(เปรียบดั่งโรนัลโด้ของไทย) ไปให้กับคู่ปรับตลอดกาลอย่างทีมเมืองทองยูไนเต็ด
ช่วงละครหลังข่าวกำลังเข้มข้นในแทบทุกช่อง
มีข่าวกีฬาที่ต้องบอกว่าไม่มีข่าวไหนจะใหญ่กว่าข่าวนี้อีกแล้วในรอบวันที่ผ่านมา
นั่นคือข่าวที่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตัดสินใจขาย "เจ้าอุ้ม" ธีราทร บุญมาทัน ไปให้กับคู่แข่งตลอดกาลอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แบบสุดช็อก
เพราะอะไรนะหรือ หลายคนที่ได้ยินข่าว ต่างก็มีคำถามผุดขึ้นในหัวอย่างมากมาย เช่น!!!
1. บุรีรัมย์ ขายนักฟุตบอลไทย ที่ว่ากันว่าดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นกัปตันทีมชาติไทย ออกจากทีม
2. บุรีรัมย์ ขายให้กับเมืองทอง ซึ่งเป็นคู่ปรับตลอดกาลและไม่เป็นเพียงแต่เป็นทีมที่กำลังขับเคี่ยวชิงแชมป์คืน
จากบุรีรัมย์ แต่ กำลังทวงคืนความยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลไทย กลับคืนมา หลังจากที่สูญเสียให้บุรีรัมย์ ไปหลายปี
3.
บุรีรัมย์ กำลังยวบ เมืองทอง กำลังคึก การกระทำเช่นนี้
ไม่ต่างจากการส่งดาบให้ศัตรูมาฟันคอตัวเองนั่นคือข่าวที่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตัดสินใจขาย "เจ้าอุ้ม" ธีราทร บุญมาทัน ไปให้กับคู่แข่งตลอดกาลอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด แบบสุดช็อก
เพราะอะไรนะหรือ หลายคนที่ได้ยินข่าว ต่างก็มีคำถามผุดขึ้นในหัวอย่างมากมาย เช่น!!!
1. บุรีรัมย์ ขายนักฟุตบอลไทย ที่ว่ากันว่าดีที่สุดในประเทศไทย และเป็นกัปตันทีมชาติไทย ออกจากทีม
2. บุรีรัมย์ ขายให้กับเมืองทอง ซึ่งเป็นคู่ปรับตลอดกาลและไม่เป็นเพียงแต่เป็นทีมที่กำลังขับเคี่ยวชิงแชมป์คืน
จากบุรีรัมย์ แต่ กำลังทวงคืนความยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลไทย กลับคืนมา หลังจากที่สูญเสียให้บุรีรัมย์ ไปหลายปี
แต่....."เนวิน ชิดชอบ" คนที่ "เจ้าอุ้ม" เรียกว่า “พ่อ” ทุกคำ เป็นเวลา 6 ปี และเป็นคนที่ดุด่า ธีราทร ได้ทุกเรื่อง กลับทำเรื่องที่ น้อยคนจะคิดว่าเป็นจริง แม้ว่าจะเคยคาดการณ์ วิเคราะห์ แต่ก็ไม่อยากเชื่อว่าจะเป็นเรื่องจริงเร็ววันนี้
แถลงการณ์จากสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ระบุว่าเหตุผลของการขาย ธีราทร ให้กับเมืองทอง มี 3 ข้อ คือ
1. ธีราทร ขอย้ายออกจากทีม
2. ไม่มีทีมต่างประเทศ ยื่นข้อเสนอมาอย่างจริงจัง
3. ธีราทร เลือกที่จะไปเมืองทอง
แม้ บุรีรัมย์ อยากจะรั้งไว้ให้ธีราทร อยู่เป็นตำนานของบุรีรัมย์ แต่ก็ไม่อาจจะทำได้ เพราะธีราทร เลือกแล้วที่จะเดินแบบนี้ ก็ต้องยอมรับ
แต่....อะไรคือ เหตุผลสำคัญของการตัดสินใจครั้งสำคัญของทั้ง 3 ฝ่าย
บุรีรัมย์ ปล่อยธีราทร ออกจากทีม แบบไม่สนใจว่าวันหนึ่งจะกลับมาฆ่าตัวเอง ทั้งๆ ที่ยังมีสัญญาอยู่ในมือ 2 ปีครึ่ง
ธีราทร เดินออกจากทีมที่เขามีส่วนร่วมกับความยิ่งใหญ่มาตั้งแต่วันแรก ไปสู่ทีมที่เขาเคยปฏิเสธ และเคยปฏิเสธเขา
เมืองทอง ยื่นข้อเสนออย่างไรจึงทำให้บุรีรัมย์ ยอมขาย และ ธีราทร ยอมเข้าร่วมทีม
การบาดหมางบนโลกโซเชี่ยล
คือเหตุผลเดียวของเรื่องนี้จริงหรือ ที่ทำให้ธีราทร ต้องออกจากบุรีรัมย์
ไปอยู่เมืองทอง ชนิดที่แฟนบุรีรัมย์ คงยากจะยอมรับ และทำใจได้
ในโลกของฟุตบอล แฟนบอลของสโมสรทุกสโมสรในโลก การที่นักเตะที่รักและชื่นชอบย้ายจากทีมรักไปอยู่ทีมปรปักษ์ แบบนี้ เป็นเรื่องที่ยากจะทำใจได้ ยิ่งเป็นนักเตะระดับซูเปอร์สตาร์ที่เป็นหัวใจของทีมด้วยแล้ว มันเหมือนโดนสะบั้นรักและควักหัวใจออกไปด้วย
แต่ สำหรับสโมสร และ นักเตะ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เรียกสวยๆ ก็บอกว่ามันคือ วิถีทางของฟุตบอล หรือจะเรียกแบบตรงไปตรงมา มันก็คือ การทำธุรกิจ นั่นเอง ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคำว่า "พ่อค้าแข้ง" "ค่าตัว" และ "เอเย่นต์" ในธุรกิจนี้
ในแถลงการณ์ของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทัดเทพ พิทักษ์พูลสิน ยอมรับชัดเจนว่า ไม่อยากปล่อยธีราทร ออกไป แต่ ธีราทร อยากไป และเลือกแล้วที่จะไปเมืองทอง หลังจากที่รอข้อเสนอจากทีมต่างประเทศ ก็มีแต่จีบ ไม่มีจบจริงๆ สักราย
ต้องดูว่าเงื่อนไขในทางธุรกิจที่บุรีรัมย์ ต้องปล่อย และธีราทร ต้องไป และ เมืองทอง ได้ไป คืออะไร
1. สัญญาของบุรีรัมย์ กับธีราทร จะจบสิ้นปี 2559 และ บุรีรัมย์มีสิทธิต่อได้อีก 2 ปี หากบุรีรัมย์ รอจนสิ้นปี 2559 ธีราทร ก็จะกลายเป็นนักเตะฟรีเอเย่นต์ ย้ายไปทีมไหนก็ได้ โดยที่บุรีรัมย์ ไม่มีรายได้จากต้นสังกัดใหม่ของธีราทร
2. หากบุรีรัมย์ จะต่อสัญญาฉบับใหม่กับธีราทร ก็ต้องมีค่าเซ็นสัญญา อีกก้อนหนึ่ง ซึ่งเชื่อได้ว่าค่าเซ็นของนักเตะที่ชื่อ ธีราทร ต้องไม่ธรรมดา แน่ๆ แต่ด้วยสถานะอย่างบุรีรัมย์ การจะทุ่มเงินเพื่อต่อสัญญาธีราทร ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาการที่นักเตะ แจ้งความต้องการ “ขอย้ายทีม” ก็แปลว่าไม่ต้องการเซ็นสัญญากับบุรีรัมย์ อีกแล้ว ทางเดียวที่บุรีรัมย์ จะทำได้ในสถานการณ์นี้ คือ ต้องขายธีราทร ออกไป ด้วยราคาที่คุ้มค่า
3. วันนี้ ธีราทร อายุ 27 ปี การต่อสัญญาฉบับใหม่ จะต้องเป็นสัญญาที่คุ้มค่าที่สุดกับการเซ็น เพราะอาจจะ เป็นสัญญาฉบับสุดท้ายในยุครุ่งเรืองของกัปตันทีมชาติไทย ก็เป็นได้
4.
เมื่อไม่มีข้อเสนออย่างจริงจังจากลีกต่างประเทศ ในขณะที่นักเตะ
แจ้งว่าไม่ต่อสัญญาด้วยแล้ว ก็เป็นโอกาส ของทีมในไทยลีก ที่จะคว้าตัวธีราทร ไป
ซึ่งทัดเทพ บอกว่ามีมากกว่าหนึ่งสโมสร แต่สุดท้ายก็เป็นเมืองทอง ที่ได้ไป
เพราะธีราทร เลือกเอง ในโลกของฟุตบอล แฟนบอลของสโมสรทุกสโมสรในโลก การที่นักเตะที่รักและชื่นชอบย้ายจากทีมรักไปอยู่ทีมปรปักษ์ แบบนี้ เป็นเรื่องที่ยากจะทำใจได้ ยิ่งเป็นนักเตะระดับซูเปอร์สตาร์ที่เป็นหัวใจของทีมด้วยแล้ว มันเหมือนโดนสะบั้นรักและควักหัวใจออกไปด้วย
แต่ สำหรับสโมสร และ นักเตะ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เรียกสวยๆ ก็บอกว่ามันคือ วิถีทางของฟุตบอล หรือจะเรียกแบบตรงไปตรงมา มันก็คือ การทำธุรกิจ นั่นเอง ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคำว่า "พ่อค้าแข้ง" "ค่าตัว" และ "เอเย่นต์" ในธุรกิจนี้
ในแถลงการณ์ของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทัดเทพ พิทักษ์พูลสิน ยอมรับชัดเจนว่า ไม่อยากปล่อยธีราทร ออกไป แต่ ธีราทร อยากไป และเลือกแล้วที่จะไปเมืองทอง หลังจากที่รอข้อเสนอจากทีมต่างประเทศ ก็มีแต่จีบ ไม่มีจบจริงๆ สักราย
ต้องดูว่าเงื่อนไขในทางธุรกิจที่บุรีรัมย์ ต้องปล่อย และธีราทร ต้องไป และ เมืองทอง ได้ไป คืออะไร
1. สัญญาของบุรีรัมย์ กับธีราทร จะจบสิ้นปี 2559 และ บุรีรัมย์มีสิทธิต่อได้อีก 2 ปี หากบุรีรัมย์ รอจนสิ้นปี 2559 ธีราทร ก็จะกลายเป็นนักเตะฟรีเอเย่นต์ ย้ายไปทีมไหนก็ได้ โดยที่บุรีรัมย์ ไม่มีรายได้จากต้นสังกัดใหม่ของธีราทร
2. หากบุรีรัมย์ จะต่อสัญญาฉบับใหม่กับธีราทร ก็ต้องมีค่าเซ็นสัญญา อีกก้อนหนึ่ง ซึ่งเชื่อได้ว่าค่าเซ็นของนักเตะที่ชื่อ ธีราทร ต้องไม่ธรรมดา แน่ๆ แต่ด้วยสถานะอย่างบุรีรัมย์ การจะทุ่มเงินเพื่อต่อสัญญาธีราทร ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาการที่นักเตะ แจ้งความต้องการ “ขอย้ายทีม” ก็แปลว่าไม่ต้องการเซ็นสัญญากับบุรีรัมย์ อีกแล้ว ทางเดียวที่บุรีรัมย์ จะทำได้ในสถานการณ์นี้ คือ ต้องขายธีราทร ออกไป ด้วยราคาที่คุ้มค่า
3. วันนี้ ธีราทร อายุ 27 ปี การต่อสัญญาฉบับใหม่ จะต้องเป็นสัญญาที่คุ้มค่าที่สุดกับการเซ็น เพราะอาจจะ เป็นสัญญาฉบับสุดท้ายในยุครุ่งเรืองของกัปตันทีมชาติไทย ก็เป็นได้
5. ว่ากันว่าสัญญาซื้อขายครั้งนี้ เป็นสัญญาซื้อขายที่เป็นประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอลไทย แหล่งข่าวที่ เชื่อถือได้ วิเคราะห์ว่า เมืองทอง ต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท เพื่อคว้าธีราทร เข้าสู่ถ้ำกิเลน
"พี่ทอม" แห่งสายเลือดบอลไทย ให้ข้อมูลว่าบุรีรัมย์ เคย เสนอราคาขายธีราทร ให้กับทีมในเจ-ลีก (ที่มาจีบ) 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
จึงน่าเชื่อว่าการขายให้กับเมืองทอง ก็จะเป็นราคาเดียวกัน คือ ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และคาดว่าจะต้องจ่ายค่าเซ็นสัญญาให้ธีราทร อีกปีละ 4-5 ล้านบาท สำหรับสัญญาอายุ 4 ปี ก็เป็นเงิน ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท ยังไม่รวมเงินเดือน ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 700,000 บาทต่อเดือน
6. อาจจะด้วยความที่ทุกคนอยากร่วมสร้างประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอลไทย ดีลนี้จึงบรรลุข้อตกลงได้ อย่างรวดเร็ว ก่อนตลาดซื้อขายจะเปิดด้วยซ้ำไป
ธีราทร
กลายเป็นนักฟุตบอลไทยที่มีค่าตัวแพงที่สุดในประวัติศาสตร์
บุรีรัมย์ เป็นสโมสรที่ขายนักฟุตบอล ได้ราคาสูงสุดในประวัติศาสตร์
และ เมืองทอง
ก็ได้เป็นสโมสรที่ทำสถิติการซื้อนักฟุตบอลที่มีราคาสูงสุดในประวัติศาสตร์
แถมด้วยการเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีนักฟุตบอลทีมชาติ อยู่ร่วมทีม
มากที่สุดในประวัติศาสตร์
ถ้ามองด้วยสายตานักธุรกิจ อันแหลมคมของทั้งสองฝ่ายคือ บุรีรัมย์ และ เมืองทอง ต้องถือว่าสมประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ แต่ใครจะได้กำไร หรือ ขาดทุนจากดีลนี้ มากน้อยเท่าไร ต้องจับตาดูกันต่อไป
ขึ้นอยู่กับว่า ธีราทร จะโชว์ฟอร์มได้สมราคานักฟุตบอลที่มีราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้หรือไม่
6 ปีที่อยู่ในปราสาทสายฟ้า ในฐานะ “ลูกรัก” ของประธานสโมสร ไม่มีใครรู้จักธีราทร มากกว่าเนวิน และไม่มีใครรู้จักเนวิน มากกว่าธีราทร
ถ้ามองด้วยสายตานักธุรกิจ อันแหลมคมของทั้งสองฝ่ายคือ บุรีรัมย์ และ เมืองทอง ต้องถือว่าสมประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ แต่ใครจะได้กำไร หรือ ขาดทุนจากดีลนี้ มากน้อยเท่าไร ต้องจับตาดูกันต่อไป
ขึ้นอยู่กับว่า ธีราทร จะโชว์ฟอร์มได้สมราคานักฟุตบอลที่มีราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้หรือไม่
6 ปีที่อยู่ในปราสาทสายฟ้า ในฐานะ “ลูกรัก” ของประธานสโมสร ไม่มีใครรู้จักธีราทร มากกว่าเนวิน และไม่มีใครรู้จักเนวิน มากกว่าธีราทร
การปล่อยตัวธีราทร ออกจากปราสาทสายฟ้า
สู่ถ้ำกิเลน ครั้งนี้
นอกจากธีราทร ที่รู้ว่าเขาจะต้องทำอะไรต่อไป ก็เป็นเนวิน
ที่รู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
แต่ที่ได้แน่ๆ คือ ฟุตบอลอาชีพของไทย ที่ถูกยกระดับขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งแล้ว เมื่อการเซ็นสัญญาซื้อขายนักฟุตบอลไทย 1 คนมีราคามากถึง 50 ล้านบาท
ใครจะมองอย่างไรก็เป็นสิทธิส่วนตัว แต่สำหรับที่นี่ มองว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เหตุผลทางธุรกิจอยู่เหนือสิ่งอื่นใด และอาจจะเป็นการตัดสินใจที่อยู่เหนือความรัก และหัวใจของแฟนบอล อีกด้วย (เรื่องโดย : สปอร์ตทีม by sanook.com)
แต่ที่ได้แน่ๆ คือ ฟุตบอลอาชีพของไทย ที่ถูกยกระดับขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งแล้ว เมื่อการเซ็นสัญญาซื้อขายนักฟุตบอลไทย 1 คนมีราคามากถึง 50 ล้านบาท
ใครจะมองอย่างไรก็เป็นสิทธิส่วนตัว แต่สำหรับที่นี่ มองว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เหตุผลทางธุรกิจอยู่เหนือสิ่งอื่นใด และอาจจะเป็นการตัดสินใจที่อยู่เหนือความรัก และหัวใจของแฟนบอล อีกด้วย (เรื่องโดย : สปอร์ตทีม by sanook.com)
หลังจากสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า
ตรวจสอบผลประกอบการของสโมสรฟุตบอลอาชีพระดับชาติของไทย ที่สามารถตรวจสอบได้ 28
สโมสร จากทั้งหมด 38 สโมสร ก่อนพบว่า มีรายได้รวมกันทะลุ 2,000
ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อย
แสดงให้เห็นถึงความนิยมลีกฟุตบอลอาชีพไทยที่กำลังบูมเป็นอย่างยิ่ง
โดยสโมสรที่มีรายได้มากที่สุด 5 ลำดับแรก หรือ “ท็อฟไฟว์” ประกอบด้วย บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 405.23 ล้านบาท เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
302.35 ล้านบาท บีอีซี เทโรศาสน 172.30 ล้านบาท บางกอกกล๊าส เอฟซี 149.02 ล้านบาท
และเพื่อนตำรวจ 148.49 ล้านบาท
มาครั้งนี้ จะขอแจกแจง “แหล่งรายได้” ของสโมสรฟุตบอลไทยอาชีพไทยให้ดูว่าที่มาจากแหล่งใดบ้าง
โครงสร้างรายได้ของสโมสรฟุตบอลอาชีพของไทย จะมาจาก 4 แหล่งหลัก ประกอบด้วย
- ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด
- เงินอุดหนุนการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน
และเงินรางวัลตามผลงาน
- ค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขัน
และยอดขายสินค้าที่ระลึก
- เงินจากสปอนเซอร์ของแต่ละทีม
อย่างไรก็ตาม เงินจากส่วนที่
1. 2. และ 3. ยังอยู่ที่เพียงหลักสิบล้านบาทเท่านั้นสำหรับสโมสรในพรีเมียร์ลีก
(และไม่กี่ล้านบาทสำหรับสโมสรในลีกวัน) ไม่เพียงพอต่อการทำธุรกิจฟุตบอลที่ในแต่ละปีมีรายจ่ายตั้งแต่หลายสิบล้านบาท
ไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท รายได้ที่ค้ำจุนแต่ละสโมสรอย่างแท้จริง คือเงินจากส่วนที่
4
จะเห็นว่า โครงสร้างของทีมฟุตบอลไทยยังแตกต่างจากทีมฟุตบอลในลีกชั้นนำของโลก
โดยเฉพาะในอิงลิชพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ ที่มีการกระจายแหล่งที่มาของรายได้
ทำให้แต่ละสโมสรมีรายได้ไม่ห่างกันมากนัก
เงินไม่ไปกระจุกตัวอยู่ที่ทีมใหญ่ซึ่งมีผลงานดีหรือหาสปอนเซอร์เก่งเพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันประเภทลีก ระดับ “ไทยพรีเมียร์ลีก”
ทั้ง 18 สโมสร จะมีรายได้ขั้นต่ำ
21 ล้านบาท/ปี แบ่งเป็น
- ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดจาก
บริษัท ทรูวิชั่น จำกัด (มหาชน) สโมสรละ
20 ล้านบาท
- เงินอุดหนุนการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันจากสปอนเซอร์หลักของไทยพรีเมียร์ลีก
คือ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สโมสรละ 1 ล้านบาท
- เงินรางวัลตามผลงาน
โดยแชมป์จะได้ 10 ล้านบาท รองแชมป์ 3 ล้านบาท ที่สาม 1.5 ล้านบาท ที่สี่ 8
แสนบาท ที่ห้า 7 แสนบาท ที่หก 6 แสนบาท ที่เจ็ด 5 แสนบาท และที่แปด 4 แสนบาท
ส่วนสโมสรที่เหลือจะไม่ได้แม้แต่บาทเดียว
ส่วนทีมที่เข้าร่วมแข่งขันประเภทลีก ระดับ “ลีกวัน” ทั้ง 20
สโมสร จะมีรายได้ขั้นต่ำ 4 ล้านบาท/ปี แบ่งเป็น
- ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดจาก
บริษัท ทรูวิชั่น จำกัด (มหาชน) สโมสรละ
3 ล้านบาท
- เงินอุดหนุนการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันจากสปอนเซอร์หลักของไทยพรีเมียร์ลีก
คือ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด สโมสรละ
1 ล้านบาท
- เงินรางวัลตามผลงาน
โดยแชมป์จะได้ 5 ล้านบาท รองแชมป์ 3 ล้านบาท ที่สาม 1 ล้านบาท ที่สี่ 5
แสนบาท ที่ห้า 3 แสนบาท ที่หก
1 แสนบาท และที่เจ็ด 5 หมื่นบาท ส่วนสโมสรที่เหลือจะไม่ได้แม้แต่บาทเดียว
ขณะที่การส่งทีมเข้าร่วมฟุตบอลถ้วย ประเภทน็อกเอาท์ ทั้ง “เอฟเอคัพ” ที่มีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เจ้าของเบียร์ช้าง
เป็นสปอนเซอร์หลัก และ “ลีกคัพ” ที่มีบริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นสปอนเซอร์หลัก
จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนการส่งทีมเข่ารวมการแข่งขัน
มีเฉพาะเงินรางวัลตามผลงานเท่านั้น
โดยทั้ง 2 รายการ จะได้รับเงินรางวัลเท่ากัน คือ แชมป์ 5 ล้านบาท
และรองแชมป์ 3 ล้านบาท ตามลำดับ
ดังนั้น
โอกาสที่จะทำรายได้สูงสุดจากการแข่งขันภายในประเทศ คือได้ทั้งแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก
แชมป์เอฟเอคัพ และแชมป์ลีกคัพ ก็จะทำให้ได้รับเงินอุดหนุนและเงินรางวัลทั้งสิ้น 41
ล้านบาท
เมื่อเจาะลึกลงรายละเอียดงบการเงินของ 5 สโมสรที่น่าสนใจประกอบด้วย
– “บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด” ทีมฟุตบอลอาชีพอันดับหนึ่งของไทยยุคปัจจุบัน
– “เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด” ยักษ์ใหญ่ที่มีลุ้นแชมป์ทุกปี
– “ชลบุรี เอฟซี” ต้นแบบสโมสรฟุตบอลที่บริหารงานแบบมืออาชีพ
– “บีอีซี เทโรศาสน” ทีมที่ร่วมก่อตั้งลีกอาชีพในปี 2539 ซึ่งไม่เคยตกชั้นแม้แต่ครั้งเดียว
– “เพื่อนตำรวจ” สโมสรอาชีพเดียวที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
– “เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด” ยักษ์ใหญ่ที่มีลุ้นแชมป์ทุกปี
– “ชลบุรี เอฟซี” ต้นแบบสโมสรฟุตบอลที่บริหารงานแบบมืออาชีพ
– “บีอีซี เทโรศาสน” ทีมที่ร่วมก่อตั้งลีกอาชีพในปี 2539 ซึ่งไม่เคยตกชั้นแม้แต่ครั้งเดียว
– “เพื่อนตำรวจ” สโมสรอาชีพเดียวที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(หมายเหตุ : แต่ละสโมสรมีวิธีในการจัดทำงบการเงินไม่เหมือนกัน
บางสโมสรลงประเภทรายรับ-รายจ่ายค่อนข้างละเอียด บางสโมสรระบุเพียง รายได้จากการขาย
ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ฯลฯ
สำนักข่าวไทยพับลิก้าจึงต้องมาจัดหมวดหมู่ใหม่
เพื่อให้สามารถดูเปรียบเทียบกันแต่ละสโมสรได้
โดยข้อมูลที่ใช้นำมาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ของปี 2556)
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
บริหารงานโดย บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด มีนายเนวิน ชิดชอบ
(นักการเมือง) เป็นประธานสโมสร
มีรายได้รวม 405.23 ล้านบาท มาจากเงินสนับสนุนของสปอนเซอร์ถึง 139.60
ล้านบาท จากการขาย (สินค้าที่ระลึกและอื่นๆ) 116.33 ล้านบาท จากค่าตัวนักกีฬา
55.30 ล้านบาท จากการขายตั๋วเข้าชมการแข่งขัน 42.25 ล้านบาท และอื่นๆ 13.25
ล้านบาท
โดยเป็นรายได้จากเงินรางวัลและค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด 38.5 ล้านบาท (ในปี
2556 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ Triple Champs คือกวาดแชมป์ 3 รายการที่ลงแข่งขัน
ทั้งไทยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และลีกคัพ)
ขณะที่มีรายจ่ายรวม 404.02 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนเกี่ยวกับกีฬา
(เงินเดือนนักฟุตบอล ฯลฯ) 126.39 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 122.98 ล้านบาท
ต้นทุนสินค้าที่ขาย 79.83 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการขาย 37.46 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 31.80 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 5.56 ล้านบาท
เมื่อนำมาหักต้นทุนทางการเงิน 3.67 ล้านบาท จะทำให้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 2.46 ล้านบาท
ทั้งที่ปีนั้นมีผู้เข้าชมการแข่งขันเฉลี่ยถึงนัดละ 1.9 หมื่นคน
เอสซีจี เมืองทอง
ยูไนเต็ด
บริหารงานโดย บริษัท เมืองทอง ยูไนเต็ด จำกัด มีนายระวิ โหลทอง
(ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือสยามกีฬา – สื่อมวลชน) เป็นประธานสโมสร
มีรายได้รวม 302.35 ล้านบาท มาจากเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ถึง 218.84
ล้านบาท จากการขาย (สินค้าที่ระลึกและอื่นๆ) 52.30 ล้านบาท
จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขัน 21.38 ล้านบาท จากเงินรางวัล 4.17 ล้านบาท และอื่นๆ
5.66 ล้านบาท
ทั้งนี้ ไม่มีการระบุรายได้จากค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด
คาดว่าน่าจะอยู่ในรายการเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์
ขณะที่มีรายจ่ายรวม 385.06 ล้านบาท แบ่งเป็นต้นทุนบริหารสโมสรฟุตบอล
(เงินเดือนนักฟุตบอล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ฯลฯ) 333.04 ล้านบาท
ต้นทุนสินค้าที่ขาย 36.17 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการขาย 7.66 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 5.20 ล้านบาท และอื่นๆ 2.99 ล้านบาท
เมื่อนำรายได้มาหักรายจ่าย และต้นทุนทางการเงิน จะพบว่า มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิสูงถึง 88.84
ล้านบาท โดยปีนั้น เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด พลาดหวัง
ไม่ได้แชมป์แม้แต่รายการเดียว
ชลบุรี เอฟซี
บริหารโดย บริษัท ชลบุรี เอฟ.ซี. จำกัด มีนายวิทยา คุณปลื้ม (นักการเมือง)
เป็นประธานสโมสร
มีรายได้รวม 109.23 ล้านบาท มาจากเงินสนับสนุนของสปอนเซอร์ 51.13 ล้านบาท
จากการขาย (สินค้าที่ระลึกและอื่นๆ) 28.28 ล้านบาท จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขัน
7.67 ล้านบาท และอื่นๆ 6.29 ล้านบาท
โดยเป็นรายได้จากเงินรางวัลและค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด 15.86 ล้านบาท
มีรายจ่ายรวม 114.18 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร
(เงินเดือนนักฟุตบอล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ฯลฯ) 29.31 ล้านบาท
และต้นทุนสินค้าที่ขาย 84.87 ล้านบาท
เมื่อนำรายได้มาหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะพบว่า มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 4.95 ล้านบาท
บีอีซี เทโรศาสน
บริหารโดย บริษัท บีอีซี-เทโรศาสน จำกัด มีนายไบรอัน มาร์การ์
(ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 – สื่อมวลชน) เป็นประธานสโมสร
มีรายได้รวม 172.30 ล้านบาท มาจากเงินสนับสนุนของสปอนเซอร์ 157.20 ล้านบาท
จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขัน 3.10 ล้านบาท จากการขายสินค้าที่ระลึก 1.85 ล้านบาท
และอื่นๆ 10.09 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีการระบุว่าเป็นรายได้จากเงินรางวัลกว่า 5 แสนบาท แต่ไม่มีการระบุเรื่องค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด
คาดว่าจะถูกรวมไว้ในส่วนเงินสนับสนุนจากสปอนเรอซ์
มีรายจ่ายรวม 169.13 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารสโมสรฟุตบอล
(เงินเดือนนักฟุตบอล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ฯลฯ) 148.66 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน 14.10 ล้านบาท ต้นทุนสินค้าที่ขาย 3.60 ล้านบาท และอื่นๆ
2.77 ล้านบาท
เมื่อนำรายได้มาหักรายจ่าย และต้นทุนทางการเงิน จะพบว่า มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 2.52 ล้านบาท
เพื่อนตำรวจ
บริหารงานโดย บริษัท สโมสรฟุตบอลโลห์เงิน จำกัด (มหาชน) มีนายสัมฤทธิ์
บัณฑิตกฤษดา (นักธุรกิจ) เป็นประธานสโมสร
มีรายได้รวม 148.49 ล้านบาท มาจากเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์ 141.67 ล้านบาท
จากการขาย (สินค้าที่ระลึก ฯลฯ) 4.54 ล้านบาท และอื่นๆ 2.28 ล้านบาท
ทั้งนี้
ไม่มีการแยกว่าได้เงินราวัลการแข่งขันและค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดเท่าใด
คาดว่าน่าจะรวมอยู่ในเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์
มีรายจ่ายรวม 156.88 ล้านบาท มาจากต้นทุนพนักงาน
(น่าจะรวมถึงเงินเดือนนักฟุตบอล) 106.23 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการแข่งขัน 6.24
ล้านบาท ค่าเดินทาง 2.93 ล้านบาท ต้นทุนสินค้าที่ระลึก 1.82 ล้านบาท อื่นๆ 39.66
ล้านบาท
เมื่อนำรายได้มาหักรายจ่าย และต้นทุนทางการเงิน จะพบว่า มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิ 8.39
ล้านบาท ปัจจุบัน เพื่อนตำรวจตกชั้นจากไทยพรีเมียร์ลีกไปแข่งในลีกวัน
เนื่องจากมีผลงานย่ำแย่ในปี 2557
ยอดงบทำทีม เฉพาะ 18
ทีมไทยพรีเมียร์ลีก พุ่ง 2.2 พันล้าน
ในการแข่งขันฤดูกาลล่าสุด สโมสรฟุตบอลอาชีพระดับชาติของไทย
โดยเฉพาะในไทยพรีเมียร์ลีก ประกาศทุ่มเงินเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับพัฒนาทีม
หรือที่เรียกว่า “งบทำทีม” ตั้งแต่ 30 ล้านบาท ไปจนถึง 300 ล้านบาท
– เมืองทอง ยูไนเต็ด มีงบทำทีม 300 ล้านบาท วางเป้าหมาย
กลับมาคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก
– บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีงบทำทีม 250 ล้านบาท วางเป้าหมาย
คว้าแชมป์ทุกรายการที่แข่งขัน
– แบงค็อก ยูไนเต็ด มีงบทำทีม 200 ล้านบาท วางเป้าหมาย ติดอันดับ 1-5
ของตารางคะแนน
– บางกอกกล๊าส เอฟซี มีงบทำทีม 150 ล้านบาท วางเป้าหมาย
ลุ้นคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก
– สุพรรณบุรี เอฟซี มีงบทำทีม 150-170 ล้านบาท วางเป้าหมาย
ทำผลงานให้ดีกว่าปีที่แล้ว
– บีอีซี เทโรศาสน มีงบทำทีม 120 ล้านบาท วางเป้าหมาย
คว้าแชมป์ให้ได้อย่างน้อย 1 รายการ
– อาร์มี่ ยูไนเต็ด มีงบทำทีม 100-150 ล้านบาท วางเป้าหมาย ติดอันดับ 1-5
ของตารางคะแนน
– ชลบุรี เอฟซี มีงบทำทีม 100-110 ล้านบาท วางเป้าหมาย
กลับมาคว้าแชมป์ให้ได้อย่างน้อย 1 รายการ
– โอสถาสภา เอ็ม-150 มีงบทำทีม 100 ล้านบาท วางเป้าหมาย
จบฤดูกาลด้วยอันดับเลขตัวเดียว ลุ้นแชมป์ฟุตบอลถ้วย
– นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี มีงบทำทีม 100 ล้านบาท วางเป้าหมาย
อยู่ในอันดับต้นๆ ของตารางคะแนน
– ราชนาวี มีงบทำทีม 100 ล้านบาท วางเป้าหมาย อยู่รอดในไทยพรีเมียร์ลีกต่อไป
– ชัยนาท ฮอร์นบิล มีงบทำทีม 100 ล้านบาท วางเป้าหมาย ติดอันดับ 1-5
ของตารางคะแนน
– ราชบุรี มิตรผล มีงบทำทีม 80 ล้านบาท วางเป้าหมาย
ทำผลงานให้ดีเท่าปีที่แล้ว
– สระบุรี เอฟซี มีงบทำทีม 80 ล้านบาท วางเป้าหมาย
อยู่ในไทยพรีเมียร์ลีกต่อไป ไม่ตกชั้นไปลีกวัน
– ศรีสะเกษ เอฟซี มีงบทำทีม 70-100 ล้านบาท วางเป้าหมาย
อยู่ในไทยพรีเมียร์ลีกต่อไป ไม่ตกชั้นไปลีกวัน
– เชียงราย ยูไนเต็ด มีงบทำทีม 70 ล้านบาท วางเป้าหมาย ติดอันดับ 1-6
ของตารางคะแนน
– ทีโอที เอฟซี มีงบทำทีม 50 ล้านบาท วางเป้หมาย อยู่ในไทยพรีเมียร์ลีกต่อไป
ไม่ตกชั้นไปลีกวัน
– การท่าเรือ เอฟซี มีงบทำทีม 30-50 ล้านบาท วางเป้าหมาย ติดอันดับ 1-5
ของตารางคะแนน
เมื่อรวมงบทำทีม 18
สโมสรไทยพรีเมียร์ลีก ในปีนี้ จะพบว่า จะมีการใช้จ่ายตั้งแต่ 2,200-2,280 ล้านบาท หรือเฉลี่ยทีมละ 122-126 ล้านบาท
สูงกว่ายอดเงินรางวัลสูงที่จะได้จากการแข่งขัน (41 ล้านบาท) ถึง 3 เท่า
แน่นอนว่า การพึ่งพาเงินจากสปอนเซอร์เป็นท่อน้ำเลี้ยงหลัก
ทำให้บางสโมสรประสบปัญหา เมื่อผลงานไม่ดีจนต้องรัดเข็มขัด เช่นกรณี “ชลบุรี เอฟซี” ที่หลังจากไม่ได้แชมป์ใดเลยแม้แต่รายการเดียว ในปี 2557
ทำให้สปอนเซอร์บางรายไม่ต่อสัญญา จนงบทำทีมลดจาก 120 ล้านบาท เหลือ 100 ล้านบาท
ท้ายสุดผู้บริหารชลบุรี เอฟซี ตัดสินใจรัดเข็มขัดไม่ต่อสัญญาผู้จัดการทีมชาวญี่ปุ่น
และลดเพดานเงินเดือนนักฟุตบอลลงจาก 8.5 ล้านบาท/ปี เหลือ 7 ล้านบาท/ปี
และเตรียมขายสโมสรพันธมิตร 3 สโมสรได้แก่ พัทยา ยูไนเต็ด (อยู่ในลีกวัน), ศรีราชา และพานทอง
(ทั้งคู่อยู่ในดิวิชั่น 2 ลีกระดับภูมิภาค)
ให้กับนายทุนที่สนใจเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย
หรือกรณี “สระบุรี เอฟซี” ที่สปอนเซอร์หลักอย่าง บริษัท กัล์ฟ
เจพี จำกัด ถอนการสนับสนุนระหว่างฤดูกาล กระทบต่อการบริหารงานของทีม
โดยเฉพาะการจ่ายเงินเดือนนักฟุตบอล จนต้องถอนตัวจากการแข่งขันฟุตบลถ้วยในประเทศ
อย่าง เอฟเอคัพ และลีกคัพ
ดังนั้น การหวังพึ่งท่อน้ำเลี้ยงจากสปอนเซอร์เป็นหลัก จึงถือเป็น 1 ใน “ความเสี่ยง” ที่สโมสรฟุตบอลของอาชีพของไทย หากวันใดผลงานไม่เป็นไปตามเป้า
หรือกระแสความนิยมลดลงจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(เครดิตข้อมูลจาก เว็บไซต์ Thaipublica.org)
สมาคมฟุตบอลฯ
เตรียมขยายลิขสิทธิ์ฟุตบอลไทยไปประเทศเพื่อนบ้าน ดันเงินหมุนเวียนทะลุหมื่นล้าน
ด้านนายกคนใหม่ โละบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกตั้งบริษัทใหม่เสียบแทนดึง “จักรทิพย์” นั่งประธาน
จับตาเคลียร์บริหารสิทธิประโยชน์กันใหม่
วอนรัฐส่งเสริมฟุตบอลไทยสร้างผลบวกธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
อีกไม่นานนักฟุตบอลกลายเป็นสินค้าออก
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยคนที่
17 เป็นพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อนายกสมาคมฯ
คนใหม่ประกาศล้างบอร์ดของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกที่ทำหน้าที่จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศไทยและระดับดิวิชั่น
1 ด้วยการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา 2 บริษัท
16 กุมภาพันธ์ 2559 มีการจัดตั้งบริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จำกัด เพื่อมารับผิดชอบการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศแทนบริษัทเดิม โดยในเบื้องต้นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้ง 2 แห่ง มีคณะกรรมการชุดเดียวกันคือ นายวิโรจน์ แสงชัยทิพย์ นายนพดล กลิ่นเกษร นายสุทัศน์ โมงขุนทด นายตฤณ แก่นหิรัญ โดยได้แต่งตั้งพลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนปัจจุบัน เป็นประธานบริษัท พรีเมียร์ ลีก ไทยแลนด์
ทั้งนี้เป็นไปตามคาดหมาย เนื่องจากบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกเดิมนั้นถือหุ้นในนามบุคคลที่เป็นผู้บริหารสมาคมฯ ชุดเดิม ดังนั้นจึงต้องตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาและอาศัยอำนาจของนายกสมาคมฯ ที่เพิ่งได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทยเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมามอบสิทธิ์ในการจัดแข่งขันให้กับบริษัทใหม่เพื่อแก้ปัญหาเดิมๆ ที่เคยมี
จากนี้ไปต้องดูความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นไปตามนโยบายที่เคยแถลงไว้ตามหลัก 5Fair หรือไม่ ตัวบริษัทใหม่คงเป็นการรีบดำเนินการจัดตั้งขึ้นมาก่อน จากนั้นคงเป็นการดำเนินการให้สมาคมฯ และสโมสรฟุตบอลเข้ามาถือหุ้นตามหลักการที่เป็นสากล
ตอนนี้บริษัทไทยพรีเมียร์ลีกของกลุ่มอดีตนายกคนเดิมก็ต้องหมดหน้าที่ไป ส่วนเรื่องของการจัดการสิทธิประโยชน์นั้น ก่อนหน้านี้ผู้บริหารของสมาคมฯ ชุดเดิมได้มอบให้บริษัทด้านกีฬารายหนึ่งดำเนินการ โดยเซ็นสัญญาไว้ 5 ปีสิ้นสุดในปี 2560 และลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลที่กลุ่มทรูได้ลิขสิทธิ์ในฤดูกาล 2560-2563 ด้วยวงเงิน 4,200 ล้านบาท ตรงนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะที่ประชุมของผู้บริหารสมาคมฯ ชุดใหม่ยกเลิกมติของกรรมการชุดเดิมที่ทำไว้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป
ดังนั้นภายใต้การจัดสรรผลประโยชน์ให้กับทีมในระดับไทยพรีเมียร์ลีก 18 ทีม ในปี 2560-2561 จะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 25 ล้านบาท ปี 2562 ได้ 27.5 ล้านบาท และปี 2563 ได้ 30 ล้านบาทต่อทีม ส่วนระดับดิวิชั่น 1 ปี 2560-2563 ได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 5 ล้านบาท และดิวิชั่น 2 ปี 2560-2563 ได้รับเงินสนับสนุน ทีมละ 3 ล้านบาท นี่เป็นผลจากการทำสัญญาในยุคของนายวรวีร์ มะกูดี นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะขยายฐานผู้ชมไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีก แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจให้กลับมาบริหารงานต่อจากการเลือกตั้งเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
16 กุมภาพันธ์ 2559 มีการจัดตั้งบริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จำกัด เพื่อมารับผิดชอบการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศแทนบริษัทเดิม โดยในเบื้องต้นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้ง 2 แห่ง มีคณะกรรมการชุดเดียวกันคือ นายวิโรจน์ แสงชัยทิพย์ นายนพดล กลิ่นเกษร นายสุทัศน์ โมงขุนทด นายตฤณ แก่นหิรัญ โดยได้แต่งตั้งพลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนปัจจุบัน เป็นประธานบริษัท พรีเมียร์ ลีก ไทยแลนด์
ทั้งนี้เป็นไปตามคาดหมาย เนื่องจากบริษัทไทยพรีเมียร์ลีกเดิมนั้นถือหุ้นในนามบุคคลที่เป็นผู้บริหารสมาคมฯ ชุดเดิม ดังนั้นจึงต้องตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาและอาศัยอำนาจของนายกสมาคมฯ ที่เพิ่งได้รับการรับรองจากการกีฬาแห่งประเทศไทยเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมามอบสิทธิ์ในการจัดแข่งขันให้กับบริษัทใหม่เพื่อแก้ปัญหาเดิมๆ ที่เคยมี
จากนี้ไปต้องดูความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นไปตามนโยบายที่เคยแถลงไว้ตามหลัก 5Fair หรือไม่ ตัวบริษัทใหม่คงเป็นการรีบดำเนินการจัดตั้งขึ้นมาก่อน จากนั้นคงเป็นการดำเนินการให้สมาคมฯ และสโมสรฟุตบอลเข้ามาถือหุ้นตามหลักการที่เป็นสากล
ตอนนี้บริษัทไทยพรีเมียร์ลีกของกลุ่มอดีตนายกคนเดิมก็ต้องหมดหน้าที่ไป ส่วนเรื่องของการจัดการสิทธิประโยชน์นั้น ก่อนหน้านี้ผู้บริหารของสมาคมฯ ชุดเดิมได้มอบให้บริษัทด้านกีฬารายหนึ่งดำเนินการ โดยเซ็นสัญญาไว้ 5 ปีสิ้นสุดในปี 2560 และลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลที่กลุ่มทรูได้ลิขสิทธิ์ในฤดูกาล 2560-2563 ด้วยวงเงิน 4,200 ล้านบาท ตรงนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะที่ประชุมของผู้บริหารสมาคมฯ ชุดใหม่ยกเลิกมติของกรรมการชุดเดิมที่ทำไว้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป
ดังนั้นภายใต้การจัดสรรผลประโยชน์ให้กับทีมในระดับไทยพรีเมียร์ลีก 18 ทีม ในปี 2560-2561 จะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 25 ล้านบาท ปี 2562 ได้ 27.5 ล้านบาท และปี 2563 ได้ 30 ล้านบาทต่อทีม ส่วนระดับดิวิชั่น 1 ปี 2560-2563 ได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 5 ล้านบาท และดิวิชั่น 2 ปี 2560-2563 ได้รับเงินสนับสนุน ทีมละ 3 ล้านบาท นี่เป็นผลจากการทำสัญญาในยุคของนายวรวีร์ มะกูดี นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะขยายฐานผู้ชมไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีก แต่ไม่ได้รับความไว้วางใจให้กลับมาบริหารงานต่อจากการเลือกตั้งเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ทำตลาดเพื่อนบ้าน-เพิ่มรายได้
สำหรับทีมงานของนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยคนใหม่ ต่างก็มองตลาดในประเทศเพื่อนบ้านเช่นลาวและกัมพูชาเช่นเดียวกัน หลังจากที่โตโยต้าได้เข้ามาจัดการแข่งขันฟุตบอลแม่โขงคัพตั้งแต่ปี 2014 รวมถึงการรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ตลาดเพื่อนบ้านกลายเป็นเป้าหมายที่สมาคมฟุตบอลฯ เตรียมขยายฐานออกไป
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนนั่นคือแผนการตลาดของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ที่มีรายการ ช้าง บุรีรัมย์ เอเชียนทัวร์ ครั้งที่ 1 วางโปรแกรมกับทีมออลสตาร์ลีกลาวและทีมออลสตาร์กัมพูชา ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบรับที่ออกมาดี นายเนวิน ชิดชอบ เจ้าของทีมบุรีรัมย์ ได้ออกมากล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ไทยพรีเมียร์ลีกมีความแข็งแรงพอที่จะเปิดตลาดสู่อาเซียน
จะเห็นได้ว่าทีมบุรีรัมย์ฯ หัวหอกในการสนับสนุนพลตำรวจเอกสมยศได้นำร่องทดสอบตลาดเพื่อนบ้านไปแล้ว คาดว่าอีกไม่นานสมาคมฟุตบอลฯ จะต้องออกมาหารือเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกไปยังประเทศเพื่อนบ้านแน่นอน
เมื่อตลาดเพื่อนบ้านเปิดช่องทางในการทำธุรกิจของผู้ที่มองเห็นโอกาสย่อมมีมากขึ้น ก่อนหน้านี้เคยมีการติดต่อมาขอลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดในบางแมตช์ หากทำอย่างเป็นระบบจะทำให้สมาคมฯ มีรายได้เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากรายได้เดิมที่มีอยู่
นั่นหมายถึงโอกาสที่สโมสรฟุตบอลภายในประเทศไทย มีโอกาสที่จะได้รับเงินสนับสนุนทีมมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะมากกว่า 30 ล้านบาทในอนาคต ย่อมทำให้แต่ละทีมสามารถพัฒนาทีมได้มากขึ้น สุดท้ายผลประโยชน์จะตกมาถึงทีมชาติไทย
ในเบื้องต้นนี้เห็นว่าทางผู้บริหารชุดใหม่ของสมาคมฯ จะทำ Academy ขึ้นมาโดยให้แต่ละสโมสรส่งนักฟุตบอล 2 คนต่อทีมเข้ามาฝึก โดยมีนายวิทยา เลาหกุล ประธานฝ่ายเทคนิคเป็นผู้ดูแล เพื่อเน้นไปที่การสร้างนักฟุตบอลทีมชาติไทยในอนาคต ซึ่งอาจจะซ้ำซ้อนกับบางสโมสรที่มี Academy ของตัวเอง แต่ในเมืองไทยทีมที่มี Academy นั้นค่อนข้างน้อย บางแห่งแค่เป็นความร่วมมือกับโรงเรียนบางแห่งที่ร่วมกันผลิตนักฟุตบอลร่วมกัน
การได้ผู้บริหารชุดใหม่เข้ามา หากมีความตั้งใจจริง เข้ามาเพื่อพัฒนาวงการฟุตบอลย่อมเป็นเรื่องดี แต่ควรมองถึงอนาคตของทีมชาติไทยด้วย เราอาจเห็นฟุตบอลที่ดูแล้วสนุกอย่างพรีเมียร์ลีกในอังกฤษ แต่เมื่อแข่งขันในนามทีมชาติแล้วกลับไม่ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยตอนนี้ดาวซัลโวส่วนใหญ่เป็นต่างชาติทั้งสิ้น สมาคมน่าที่จะให้ความสำคัญกับนักฟุตบอลไทยในตำแหน่งกองหน้าให้มากขึ้น
ปลุกธุรกิจเกี่ยวเนื่องโต
ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ฟุตบอลไทยกลายเป็นอีกธุรกิจหนึ่ง ที่มีเม็ดเงินมหาศาลเข้ามาให้การสนับสนุน หากภาครัฐจะให้ความสำคัญมองกีฬาอย่างฟุตบอลเป็นอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่ควรให้การสนับสนุน ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ยืนอยู่ได้แม้เศรษฐกิจโดยรวมจะซบเซา
ดร.องอาจ ก่อสินค้า ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ทีมบริหารชุดเก่าเคยประเมินว่า มีเงินหมุนเวียนในลีกฟุตบอลของไทยสูงถึงหมื่นล้านบาท นับว่าเป็นกีฬาประเภทเดียวที่สามารถดำเนินการในรูปของธุรกิจได้อย่างจริงจัง
ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยก็ไม่ต่างกับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องมีเงินลงทุน ทำตลาด สร้างฐานลูกค้า และยังมีความเชื่อมโยงไปยังธุรกิจอื่น สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนไทยได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ผ่านมาภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณในวงการฟุตบอลราว 100 กว่าล้านบาท จากการกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานสลากกินแบ่งฯและหน่วยงานอื่นๆ
ทีมในระดับพรีเมียร์ลีกและดิวิชั่น 1 จำนวน 36 ทีม ทีมดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาคอีก 83 ทีม ทุกปีทุกทีมจะต้องลงทุนมากน้อยแตกต่างกันไป ทีมในพรีเมียร์ลีกแต่ละทีมจะต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อฤดูกาล บางทีมอาจสูงถึง 200-300 ล้านบาท ทีมดิวิชั่น 1 ต้องมี 50-100 ล้านบาท ส่วนทีมดิวิชั่น 2 ขั้นต่ำต้องมีมากกว่า 20 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วเฉพาะเงินลงทุนทำทีมทั้งระบบ 1 ฤดูกาลต้องมีราว 5,000 ล้านบาท
ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดที่ประมูลกันใหม่อยู่ที่ฤดูกาลละ 1,050 ล้านบาท เงินสนับสนุนจากโตโยต้า 100 ล้านบาท และสปอนเซอร์รายอื่นๆ อีกอย่างยามาฮ่า เอไอเอส ช้าง เงินสนับสนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย 100 ล้านบาทและอื่นๆ
ขณะที่จำนวนผู้เข้าชมในแต่ละสนามฤดูกาล 2558 เฉลี่ยที่ 6,349 คน เทียบกับ 5,029 คนในปี 2557 เพิ่มขึ้น 26.2% ค่าบัตรผ่านประตูเฉลี่ยที่ประมาณ 100 บาท ที่ถือเป็นรายได้ของทีมเจ้าภาพ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสินค้าที่ระลึก เสื้อที่ระลึกของแต่ละสโมสร มีตั้งแต่ 300-1,000 บาท ผ้าพันคอและสินค้าที่ระลึกต่างๆ
สินค้าเหล่านี้จะเปลี่ยนทุกปี มีทั้งชุดทีมเหย้าและเยือนให้เลือก ตอนนี้เริ่มมีชุดแข่งที่ 3 ออกมาทำตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง เฉพาะสินค้าที่ระลึกก็จะเกี่ยวเนื่องไปยังผู้ผลิตทั้งรายใหญ่และรายย่อย เป็นการสร้างงานอีกรูปแบบหนึ่ง
ในการแข่งขันนั้นจะต้องมีเรื่องของการเดินทางเข้ามา ทั้งสายการบิน รถบัสที่รับส่งนักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ในทีม ทีมที่มีกองเชียร์ตามมาก็จะมีรถบัสอีกจำนวนหนึ่งไว้สำหรับการเดินทางมาเชียร์ บางรายอาจเดินทางเองทั้งทางเครื่องบิน ขับรถไปเองหรือเช่ารถเดินทางกันเป็นหมู่คณะ หากระยะทางไกลอาจต้องพักค้างคืนทั้งทีมฟุตบอลและแฟนบอล ธุรกิจโรงแรมในแต่ละจังหวัดก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย
นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆ ไปในตัว เพราะแฟนบอลมักจะมาก่อนเวลา วางแผนไปเที่ยวตามที่ต่างๆ ก่อนชมฟุตบอล กิจกรรมเหล่านี้ย่อมเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดนั้น
สำหรับทีมงานของนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยคนใหม่ ต่างก็มองตลาดในประเทศเพื่อนบ้านเช่นลาวและกัมพูชาเช่นเดียวกัน หลังจากที่โตโยต้าได้เข้ามาจัดการแข่งขันฟุตบอลแม่โขงคัพตั้งแต่ปี 2014 รวมถึงการรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ตลาดเพื่อนบ้านกลายเป็นเป้าหมายที่สมาคมฟุตบอลฯ เตรียมขยายฐานออกไป
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนนั่นคือแผนการตลาดของทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ที่มีรายการ ช้าง บุรีรัมย์ เอเชียนทัวร์ ครั้งที่ 1 วางโปรแกรมกับทีมออลสตาร์ลีกลาวและทีมออลสตาร์กัมพูชา ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งผลตอบรับที่ออกมาดี นายเนวิน ชิดชอบ เจ้าของทีมบุรีรัมย์ ได้ออกมากล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ไทยพรีเมียร์ลีกมีความแข็งแรงพอที่จะเปิดตลาดสู่อาเซียน
จะเห็นได้ว่าทีมบุรีรัมย์ฯ หัวหอกในการสนับสนุนพลตำรวจเอกสมยศได้นำร่องทดสอบตลาดเพื่อนบ้านไปแล้ว คาดว่าอีกไม่นานสมาคมฟุตบอลฯ จะต้องออกมาหารือเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกไปยังประเทศเพื่อนบ้านแน่นอน
เมื่อตลาดเพื่อนบ้านเปิดช่องทางในการทำธุรกิจของผู้ที่มองเห็นโอกาสย่อมมีมากขึ้น ก่อนหน้านี้เคยมีการติดต่อมาขอลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดในบางแมตช์ หากทำอย่างเป็นระบบจะทำให้สมาคมฯ มีรายได้เพิ่มเข้ามานอกเหนือจากรายได้เดิมที่มีอยู่
นั่นหมายถึงโอกาสที่สโมสรฟุตบอลภายในประเทศไทย มีโอกาสที่จะได้รับเงินสนับสนุนทีมมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะมากกว่า 30 ล้านบาทในอนาคต ย่อมทำให้แต่ละทีมสามารถพัฒนาทีมได้มากขึ้น สุดท้ายผลประโยชน์จะตกมาถึงทีมชาติไทย
ในเบื้องต้นนี้เห็นว่าทางผู้บริหารชุดใหม่ของสมาคมฯ จะทำ Academy ขึ้นมาโดยให้แต่ละสโมสรส่งนักฟุตบอล 2 คนต่อทีมเข้ามาฝึก โดยมีนายวิทยา เลาหกุล ประธานฝ่ายเทคนิคเป็นผู้ดูแล เพื่อเน้นไปที่การสร้างนักฟุตบอลทีมชาติไทยในอนาคต ซึ่งอาจจะซ้ำซ้อนกับบางสโมสรที่มี Academy ของตัวเอง แต่ในเมืองไทยทีมที่มี Academy นั้นค่อนข้างน้อย บางแห่งแค่เป็นความร่วมมือกับโรงเรียนบางแห่งที่ร่วมกันผลิตนักฟุตบอลร่วมกัน
การได้ผู้บริหารชุดใหม่เข้ามา หากมีความตั้งใจจริง เข้ามาเพื่อพัฒนาวงการฟุตบอลย่อมเป็นเรื่องดี แต่ควรมองถึงอนาคตของทีมชาติไทยด้วย เราอาจเห็นฟุตบอลที่ดูแล้วสนุกอย่างพรีเมียร์ลีกในอังกฤษ แต่เมื่อแข่งขันในนามทีมชาติแล้วกลับไม่ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยตอนนี้ดาวซัลโวส่วนใหญ่เป็นต่างชาติทั้งสิ้น สมาคมน่าที่จะให้ความสำคัญกับนักฟุตบอลไทยในตำแหน่งกองหน้าให้มากขึ้น
ปลุกธุรกิจเกี่ยวเนื่องโต
ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ฟุตบอลไทยกลายเป็นอีกธุรกิจหนึ่ง ที่มีเม็ดเงินมหาศาลเข้ามาให้การสนับสนุน หากภาครัฐจะให้ความสำคัญมองกีฬาอย่างฟุตบอลเป็นอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่ควรให้การสนับสนุน ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ยืนอยู่ได้แม้เศรษฐกิจโดยรวมจะซบเซา
ดร.องอาจ ก่อสินค้า ประธานบริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ทีมบริหารชุดเก่าเคยประเมินว่า มีเงินหมุนเวียนในลีกฟุตบอลของไทยสูงถึงหมื่นล้านบาท นับว่าเป็นกีฬาประเภทเดียวที่สามารถดำเนินการในรูปของธุรกิจได้อย่างจริงจัง
ฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยก็ไม่ต่างกับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องมีเงินลงทุน ทำตลาด สร้างฐานลูกค้า และยังมีความเชื่อมโยงไปยังธุรกิจอื่น สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนไทยได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ผ่านมาภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณในวงการฟุตบอลราว 100 กว่าล้านบาท จากการกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานสลากกินแบ่งฯและหน่วยงานอื่นๆ
ทีมในระดับพรีเมียร์ลีกและดิวิชั่น 1 จำนวน 36 ทีม ทีมดิวิชั่น 2 ลีกภูมิภาคอีก 83 ทีม ทุกปีทุกทีมจะต้องลงทุนมากน้อยแตกต่างกันไป ทีมในพรีเมียร์ลีกแต่ละทีมจะต้องใช้เงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อฤดูกาล บางทีมอาจสูงถึง 200-300 ล้านบาท ทีมดิวิชั่น 1 ต้องมี 50-100 ล้านบาท ส่วนทีมดิวิชั่น 2 ขั้นต่ำต้องมีมากกว่า 20 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วเฉพาะเงินลงทุนทำทีมทั้งระบบ 1 ฤดูกาลต้องมีราว 5,000 ล้านบาท
ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดที่ประมูลกันใหม่อยู่ที่ฤดูกาลละ 1,050 ล้านบาท เงินสนับสนุนจากโตโยต้า 100 ล้านบาท และสปอนเซอร์รายอื่นๆ อีกอย่างยามาฮ่า เอไอเอส ช้าง เงินสนับสนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย 100 ล้านบาทและอื่นๆ
ขณะที่จำนวนผู้เข้าชมในแต่ละสนามฤดูกาล 2558 เฉลี่ยที่ 6,349 คน เทียบกับ 5,029 คนในปี 2557 เพิ่มขึ้น 26.2% ค่าบัตรผ่านประตูเฉลี่ยที่ประมาณ 100 บาท ที่ถือเป็นรายได้ของทีมเจ้าภาพ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสินค้าที่ระลึก เสื้อที่ระลึกของแต่ละสโมสร มีตั้งแต่ 300-1,000 บาท ผ้าพันคอและสินค้าที่ระลึกต่างๆ
สินค้าเหล่านี้จะเปลี่ยนทุกปี มีทั้งชุดทีมเหย้าและเยือนให้เลือก ตอนนี้เริ่มมีชุดแข่งที่ 3 ออกมาทำตลาดอีกรูปแบบหนึ่ง เฉพาะสินค้าที่ระลึกก็จะเกี่ยวเนื่องไปยังผู้ผลิตทั้งรายใหญ่และรายย่อย เป็นการสร้างงานอีกรูปแบบหนึ่ง
ในการแข่งขันนั้นจะต้องมีเรื่องของการเดินทางเข้ามา ทั้งสายการบิน รถบัสที่รับส่งนักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ในทีม ทีมที่มีกองเชียร์ตามมาก็จะมีรถบัสอีกจำนวนหนึ่งไว้สำหรับการเดินทางมาเชียร์ บางรายอาจเดินทางเองทั้งทางเครื่องบิน ขับรถไปเองหรือเช่ารถเดินทางกันเป็นหมู่คณะ หากระยะทางไกลอาจต้องพักค้างคืนทั้งทีมฟุตบอลและแฟนบอล ธุรกิจโรงแรมในแต่ละจังหวัดก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย
นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆ ไปในตัว เพราะแฟนบอลมักจะมาก่อนเวลา วางแผนไปเที่ยวตามที่ต่างๆ ก่อนชมฟุตบอล กิจกรรมเหล่านี้ย่อมเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดนั้น
Academy
สินค้าส่งออก
ประการต่อมาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับทีมฟุตบอลคือการเปิด Academy สร้างนักฟุตบอลฝึกหัดของสโมสรขึ้นมา เพื่อทดแทนรุ่นพี่ที่ต้องเลิกเล่นไปในอนาคต ตอนนี้นักฟุตบอลของไทยอาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับการแข่งขันภายในประเทศ แต่อีก 5-10 ปีที่ผลผลิตเหล่านี้มีมากขึ้น Academy จะเป็นตัวทำเงินให้กับสโมสรนั้นๆ ทั้งจากการขายนักเตะให้กับทีมอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประเทศในแถบแอฟริกาที่เศรษฐกิจแย่กว่าประเทศไทย นักฟุตบอลถือเป็นสินค้าออกชั้นดีที่ลีกฟุตบอลอย่างอังกฤษ สเปน เยอรมันและที่อื่นๆ ให้ความสนใจ ค่าแรงไม่แพง นักแตะคุณภาพดี ทำให้คนในประเทศเขากลายเป็นสินค้าออกที่มีมูลค่าสูง รัฐบาลก็ได้ประโยชน์จากส่วนนี้ทั้งจากเรื่องภาษีหรือเงินที่พวกเขาส่งกลับมาให้ครอบครัว
แม้ว่านักเตะจากประเทศไทยอาจจะยังไม่ถึงระดับนั้น แต่ลีกฟุตบอลในแถบประเทศอาเซียนก็มีทุกประเทศ ในอดีตนักฟุตบอลไทยจำนวนไม่น้อยที่ไปค้าแข้งในต่างแดน ตอนนี้อาจจะน้อยลงไปเนื่องจากฟุตบอลภายในประเทศเป็นที่นิยม อีกระยะเมื่อมีนักฟุตบอลมากขึ้นก็ต้องขยับขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งสินค้าออกของไทย
หากเราให้ความสำคัญกับกีฬาฟุตบอลมองว่าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง แล้วให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง เมื่อเราพัฒนาคุณภาพของนักฟุตบอลได้ขึ้นมาเทียบเท่าสากล ตลาดค้าแข้งในต่างประเทศย่อมเปิดกว้างสำหรับนักฟุตบอลไทย
เชื่อว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ดีของพลตำรวจเอกสมยศกับคุณเนวิน ชิดชอบ ที่สนับสนุนกันมา อาจจะช่วยให้การพัฒนานักฟุตบอลของไทยทำได้เร็วขึ้น นายใหญ่ของสโมสรบุรีรัมย์สนิทสนมกับกลุ่มคิงเพาเวอร์ ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ที่เป็นทีมนำในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษในเวลานี้
การส่งนักฟุตบอลไปฝึกหัดตอนนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีทั้งกลุ่มช้างที่สนับสนุนสโมสรเอฟเวอร์ตัน ค่ายสิงห์ก็สนับสนุนทีมใหญ่อย่างเชลซีและแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เชื่อคนไทยยังรอแค่ให้มีนักฟุตบอลไทยไปเล่นในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษเท่านั้น แม้ที่ผ่านมาจะพอมีนักฟุตบอลไทยไปเป็นทีมสำรองในอังกฤษบ้าง แต่มักไม่ประสบความสำเร็จ หรือบางรายไปอยู่กับทีมในสเปนหรือเบลเยียมแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน
ในอนาคตคาดว่าทีมบริหารของสมาคมฯ ชุดใหม่ จะเริ่มขยายฐานการรับชมฟุตบอลลีกของไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่น การให้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันกับบริษัทที่สนใจทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน ด้านหนึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาคมฯ อีกด้านเป็นการขยายฐานผู้ชมให้กว้างกว่าเดิม รวมไปถึงการเดินแผนพัฒนาวงการฟุตบอลในเมืองไทยอย่างเป็นระบบ เงินหมุนเวียนในธุรกิจฟุตบอลจากนี้ไปย่อมต้องสูงกว่าหมื่นล้านบาทแน่นอน
ประการต่อมาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับทีมฟุตบอลคือการเปิด Academy สร้างนักฟุตบอลฝึกหัดของสโมสรขึ้นมา เพื่อทดแทนรุ่นพี่ที่ต้องเลิกเล่นไปในอนาคต ตอนนี้นักฟุตบอลของไทยอาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับการแข่งขันภายในประเทศ แต่อีก 5-10 ปีที่ผลผลิตเหล่านี้มีมากขึ้น Academy จะเป็นตัวทำเงินให้กับสโมสรนั้นๆ ทั้งจากการขายนักเตะให้กับทีมอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประเทศในแถบแอฟริกาที่เศรษฐกิจแย่กว่าประเทศไทย นักฟุตบอลถือเป็นสินค้าออกชั้นดีที่ลีกฟุตบอลอย่างอังกฤษ สเปน เยอรมันและที่อื่นๆ ให้ความสนใจ ค่าแรงไม่แพง นักแตะคุณภาพดี ทำให้คนในประเทศเขากลายเป็นสินค้าออกที่มีมูลค่าสูง รัฐบาลก็ได้ประโยชน์จากส่วนนี้ทั้งจากเรื่องภาษีหรือเงินที่พวกเขาส่งกลับมาให้ครอบครัว
แม้ว่านักเตะจากประเทศไทยอาจจะยังไม่ถึงระดับนั้น แต่ลีกฟุตบอลในแถบประเทศอาเซียนก็มีทุกประเทศ ในอดีตนักฟุตบอลไทยจำนวนไม่น้อยที่ไปค้าแข้งในต่างแดน ตอนนี้อาจจะน้อยลงไปเนื่องจากฟุตบอลภายในประเทศเป็นที่นิยม อีกระยะเมื่อมีนักฟุตบอลมากขึ้นก็ต้องขยับขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งสินค้าออกของไทย
หากเราให้ความสำคัญกับกีฬาฟุตบอลมองว่าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง แล้วให้การส่งเสริมอย่างจริงจัง เมื่อเราพัฒนาคุณภาพของนักฟุตบอลได้ขึ้นมาเทียบเท่าสากล ตลาดค้าแข้งในต่างประเทศย่อมเปิดกว้างสำหรับนักฟุตบอลไทย
เชื่อว่าด้วยความสัมพันธ์ที่ดีของพลตำรวจเอกสมยศกับคุณเนวิน ชิดชอบ ที่สนับสนุนกันมา อาจจะช่วยให้การพัฒนานักฟุตบอลของไทยทำได้เร็วขึ้น นายใหญ่ของสโมสรบุรีรัมย์สนิทสนมกับกลุ่มคิงเพาเวอร์ ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ที่เป็นทีมนำในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษในเวลานี้
การส่งนักฟุตบอลไปฝึกหัดตอนนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมีทั้งกลุ่มช้างที่สนับสนุนสโมสรเอฟเวอร์ตัน ค่ายสิงห์ก็สนับสนุนทีมใหญ่อย่างเชลซีและแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เชื่อคนไทยยังรอแค่ให้มีนักฟุตบอลไทยไปเล่นในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษเท่านั้น แม้ที่ผ่านมาจะพอมีนักฟุตบอลไทยไปเป็นทีมสำรองในอังกฤษบ้าง แต่มักไม่ประสบความสำเร็จ หรือบางรายไปอยู่กับทีมในสเปนหรือเบลเยียมแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน
ในอนาคตคาดว่าทีมบริหารของสมาคมฯ ชุดใหม่ จะเริ่มขยายฐานการรับชมฟุตบอลลีกของไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่น การให้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันกับบริษัทที่สนใจทำตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน ด้านหนึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับสมาคมฯ อีกด้านเป็นการขยายฐานผู้ชมให้กว้างกว่าเดิม รวมไปถึงการเดินแผนพัฒนาวงการฟุตบอลในเมืองไทยอย่างเป็นระบบ เงินหมุนเวียนในธุรกิจฟุตบอลจากนี้ไปย่อมต้องสูงกว่าหมื่นล้านบาทแน่นอน
(เครดิตข้อมูลจาก MGR
online)
ธนบูรณ์ เกษารัตน์ ย้ายไปร่วมทัพ "กว่างโซ้งมหาภัย"
เชียงราย ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัวที่คาดการณ์กันว่าอยู่ประมาณ 40-50 ล้านบาท...
ด้วยเม็ดเงินระดับนี้ ในวงการลูกหนังพรีเมียร์ลีกอังกฤษ
ที่ได้ชื่อว่าใช้เม็ดเงินมากที่สุด สามารถซื้อใครกันได้บ้าง
เจมี่ วาร์ดี้
เจมี่ วาร์ดี้
ราคา 1,050,000 ปอนด์ (45,060,000 บาท)
จากเสียงเย้ยหยันรอบข้าง เขากลับเปลี่ยนมันเป็นคำชื่นชมและเป็นที่ยอมรับได้ภายในเวลาไม่กี่ปี
เงินจำนวน 1,050,000 ปอนด์ (45,060,000 บาท) อาจดูไม่มาก สำหรับการซื้อ-ขายนักเตะ
ในวงการฟุตบอลอังกฤษ แต่สำหรับกองหน้าจากทีมนอกลีกอย่าง ฟลีทวู้ด ทาวน์ แล้ว มันทำให้ เลสเตอร์ ซิตี้ ถูกหัวเราะเยาะกับการลงทุนอันไร้ค่าครั้งนี้
เพียงแค่ฤดูกาลแรก ยิ่งชัดเจนว่ามันจะเป็นเช่นนั้น เมื่อ
เจมี วาร์ดี้ ทำได้แค่ 4 ประตู
แต่ด้วยความเชื่อมั่นที่สโมสรมอบให้ เขาพลิกชีวิตตัวเองจากคนขี้เมา
หันมาซ้อมอย่างหนัก จนช่วยพาทีมเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด จากการซัดคนเดียวกว่า 16
ประตู
อีกสองปีถัดมา ดูเหมือนเขาจะปรับตัวเข้ากับพรีเมียร์ ลีก
ได้อย่างถูกที่ถูกเวลา ระเบิดฟอร์มเก่งได้อีกหน ถึง 24 ประตู ของเขา
จะไม่ได้รางวัลดาวซัลโว แต่มันนำพาไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น
เมื่อสามารถพาทีมสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้เป็นหนแรก
แน่นอนว่าผลงานสุดโหดเช่นนี้
ทำให้เขาตกเป็นที่ต้องการของบรรดาทีมยักษ์ใหญ่
รวมไปถึงอาร์เซนอลที่เกือบจะปิดดีลได้แล้ว แต่ศูนย์หน้าสปีดจรวด
กลับปฏิเสธข้อเสนอนั้นไปในวินาทีสุดท้าย
และตัดสินใจอยู่ช่วยทีมลุยเวทียุโรปในฤดูกาลนี้
ชุนสุเกะ นากามูระ
ราคา 1,020,000 ปอนด์ (43,780,000 บาท)
เขา คือ หนึ่งในนักเตะเอเชียที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในเวทีลูกหนังระดับยุโรป
นักเตะที่ถนัดเท้าซ้ายดูเหมือนจะได้รับพรสวรรค์ที่ฟ้าประทานมาให้ไม่ว่าจะเป็น
ลิโอเนล เมสซี่, ดีเอโก้ มาราโดน่า, ริวัลโด้ เช่นเดียวกับชายที่ชื่อ ชุนสุเกะ นากามูระ
จอมปั่นฟรีคิกแห่งทวีปเอเชีย
ผ่านการค้าแข้งกับทีมดังในยุโรปมาแล้วมากมาย เลยตั้งแต่สโมสรแรกอย่าง เรจจิน่า
และไปฮอตปรอทแตกกับ กลาสโกว์ เซลติก
ที่พาทีมกวาดแชมป์ในลีกสก็อตมาแล้วมากมายหลายรายการ
ก่อนไปสำแดงเดชซ้ายสั่งได้ในแดนกระทิงดุกับเอสปันญ่อล
ด้วยอายุที่มากขึ้นและถึงวัยอันควร นากามูระ
ตัดสินใจเก็บข้าวของย้ายกลับบ้านเกิด โดยเป็น โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
ทีมสุดท้ายก่อนที่เขาจะไปโลดแล่นในยุโรป ยอมทุ่มเงินกว่า ราคา 1,020,000 ปอนด์ (43,780,000 บาท)
ดึงตัวเขากลับไปค้าแข้งในเจลีกอีกหน เมื่อปี 2010
ปัจจุบัน แม้อายุจะมากถึง 38 ปี แล้ว
แต่ดาวเตะรายนี้ยังเป็นกำลังหลัก ช่วยทีมสู้ศึกเจลีก ฤดูกาล 2017
(เครดิตข้อมูลจาก เว็บไซต์ Fourfourtwo.com)
ตบท้ายด้วยข่าวสุดท้ายปลายปี
ทีมชาติไทยชุดช้างศึก คว้าแชมป์ AFF Suzuki Cup 2016 สมัยที่
5 พร้อมๆ กับข่าว เจ ชนาธิป สรงกระสินธุ์ มิดฟิลด์ทรงคุณค่า
ของทีมชาติไทยและทีมเมืองทองยูไนเต็ด ย้ายไปอยู่ทีม คอนซาโดล ซัปโปโร
ด้วยสัญญายืมตัว ประมาณ 1 ปีครึ่ง
โค้ชซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เมื่อทำทีมคว้าชัย
ได้แชมป์สุดท้ายปลายปี คือ AFF Suzuki Cup แล้ว
ก็บังเอิญว่าสัญญากับทางสมาคมฯใกล้จะหมดลง โดยจะสิ้นสุดการว่าจ้างประมาณเดือนกุมภาพันธ์
2560 มีข่าวลือออกมาเป็นระยะๆ ว่าทางสมาคมฯ
อาจไม่ต่อสัญญาให้กับซิโก้ ในช่วงนั้น
ยังไม่มีใครรู้ว่าซิโก้จะทำทีมช้างศึกได้แชมป์หรือไม่ แต่ผลงานในฟุตบอลรอบคัดเลือก
12 ทีมสุดท้าย นั้น ผลงานไทยย่ำแย่ ติดอันดับบ๊วยของกลุ่ม แพ้เกือบทุกนัด
มีเสมอเพียง 1 นัด มีเพียง 1 แต้ม
ทำให้มีข่าวกระเซ็นกระสายว่า อาจมีการว่าจ้างโค้ชชาวอาร์เจนติน่ามาคุมทีมชาติแทน
ชะตากรรมของซิโก้ก็ย่ำแย่จากนั้นมา ถูกบรรดาโค้ชคีย์บอร์ดในโลกโซเชียล รุมวิจารณ์
สับเละทั้งก่อนและหลังแข่งเสมอมา ดูเหมือนผลงานและความดีที่สั่งสมมาของซิโก้ไม่ได้ช่วยอะไร
แต่มีข่าวว่าหากซิโก้ไม่ได้รับการต่อสัญญาจากทางสมาคมฯ
ทางสมาคมฯลูกหนังเวียดนามก็พร้อมจะทาบทามโค้ชซิโก้ ไปเป็นโค้ชทีมชาติเวียดนาม
ทำให้โค้ชซิโก้เองก็มีท่าทีที่ไม่แคร์เช่นกัน
นี่คือประมวลข่าวและบทวิเคราะห์ความเป็นไปของธุรกิจลูกหนังในบ้านเรา
ที่มีเดิมพันสูง มูลค่าการตลาดของนักเตะ ตัวโค้ช และทีมสโมสร
นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ หอมหวนชวนดมจนใครๆ
ก็อยากเข้ามาสู่วังวนของธุรกิจลูกหนังกันทั้งนั้น
อันดับ 3 จากขุมทองทีวีดิจิตอล สู่ขุมนรกทีวีดิ้นจะตาย ต่างดิ้นรนหนีตายกันอลหม่าน
ใครจะเป็นรายต่อไป
จากเมื่อต้นปี ฝุ่นควันของมหากาพย์ ทีวีเจ๊ติ๋มจอดำ
ยังไม่จางหาย ก็เกิดกรณี หลายช่องออกอาการ ไม่สู้ให้เห็น ด้วยการสั่งโละพนักงาน
ยุบคอนเท้นต์บางอย่างลง และหาจุดขายใหม่ หนีตายกันอลหม่าน
หนีตายกระชากเรตติ้ง
ทีวีดิจิตอลปรับโครงสร้างเร่งหาจุดขายใหม่
หน้าจอร้อนฉ่า
บิ๊กทีวีดิจิตอลสั่งทุ่มงบอัดฉีดคอนเทนต์ฮอตยันยกเครื่ององค์กรหวังกระทุ้งเรตติ้งพุ่ง
โมโน 29 ม้ามืด
แซงช่อง 8 ขึ้นอันดับ 4 ชูโพสิชันนิงซีรีส์แอกชันจับวัยมัน
สปริงนิวส์-วอยซ์ทีวี โละคน ปรับโครงสร้างลดต้นทุนปั้นแบรนด์ยั่งยืน
ด้านพีพีทีวีมั่นใจเดินถูกทางเพิ่มทุนเท่าตัว ขนทัพกีฬาดัง ละครเด่นจ่อลงจอ
ฟากเจ๊ติ๋มยํ้าชัด “ไม่จ่ายเงิน” ต่อหน้าศาลปกครองกลางหลังไต่สวนวันแรก
ไม่เพียงกลุ่มเรตติ้งรั้งท้ายที่มีปัญหา
ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลที่มีเรตติ้งระดับต้น ก็ต้องแข่งขันอย่างหนัก
จากข้อมูลบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ในปี 2558 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์
ซึ่งมีบิลลิ่งรวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น
สื่อทีวีอนาล็อก 5.75 หมื่นล้านบาท ทีวีดิจิตอล 2.09 หมื่นล้านบาท และเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 6.05 พันล้านบาท
สะท้อนการเติบโตแบบก้าวกระโดดของทีวีดิจิตอล จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้โฆษณาราว 8.58
พันล้านบาท และส่งสัญญาณให้เห็นว่าอนาคตจะทำเงินได้มหาศาล
โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล
เริ่มค้นพบช่องทางและสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้อย่างทั่วถึง
รวมทั้งปีนี้การก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ถือเป็นสนามการแข่งขันที่น่าจับตามอง
เพราะผู้ที่ปรับตัวเร็วและวางกลยุทธ์การตลาดได้อย่างแยบยล
จึงจะสามารถครองเรตติ้งได้ดี เห็นได้จากในช่วงเดือนเศษที่ก้าวเข้าสู่ปี 2559
ที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต่างลุกขึ้นมาขยับและปรับยุทธศาสตร์ในการเดินอย่างเต็มสูบ
โดยนายนวมินทร์ ประสพเนตร
ผู้ช่วยประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด
(มหาชน) ผู้บริหารทีวีดิจิตอลช่อง “โมโน 29” เปิดเผยว่า
กลยุทธ์การทำตลาดนับจากนี้ บริษัทเตรียมสร้างทีมบุคลากร
เพื่อผลิตละครซีรีส์แนวแอคชั่นมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคาแรกเตอร์ของช่องโมโน 29
ซึ่งเป็นช่องทีวีเฉพาะกลุ่มผู้ชม ที่ชื่นชอบการดูภาพยนตร์ซีรีส์
และละครในรูปแบบแอคชั่น เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นช่องว่างการตลาดทีวีในประเทศไทย
ที่ยังไม่มีผู้ประกอบการใดที่เน้นคอนเทนท์สไตล์นี้
ขณะที่มีความต้องการในตลาดค่อนข้างสูง
“หลังจากที่ทดลองตลาดทีวีดิจิตอลมาระยะหนึ่ง
ขณะนี้บริษัทเริ่มคาดเดาทิศทางที่จะก้าวไปได้แม่นยำมากขึ้น
นั่นคือการเป็นช่องโทรทัศน์ประเภทภาพยนตร์ ซีรีส์ ละคร แอคชั่น
ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ทดลองผลิตละครเรื่องตี๋ใหญ่ ดับดาวโจร
ออกอากาศผ่านช่องโทรทัศน์ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ เวลา 20.30 น.พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี
และสามารถทำเรตติ้งละครไทยของโมโน เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ขณะที่ในปัจจุบันมีเรตติ้งรวมเฉลี่ยอยู่ที่
0.48 ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 แซงหน้าช่อง
8 จากเดิมที่อยู่ในอันดับที่ 5 ซึ่งเร็วกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้
และภายในปี 2560 คาดว่าจะมีเรตติ้งเพิ่มเป็น 1.0 จากการเพิ่มคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบแอคชั่น”นายนวมินทร์กล่าวและว่าหลังปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่
บริษัทยังปรับแผนในการรุกธุรกิจต่อเนื่อง
ขณะที่ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจทีวีปัจจุบันมีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 300
คน ยังมีทิศทางที่ดีและไม่มีแผนปรับลดพนักงานแต่อย่างใด
ขณะที่ธุรกิจที่มีการปรับลดพนักงาน อาจจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ไม่สร้างกำไร เช่น
ธุรกิจเพลง ออนไลน์ และนิตยสาร เป็นต้น
อย่างไรก็ดีปีนี้จะขยายฐานกลุ่มผู้ชมตลาดต่างจังหวัดให้มากขึ้น
โดยเตรียมใช้งบลงทุนราว 40-50 ล้านบาท
ในการทำกิจกรรมการตลาดเจาะกลุ่มผู้ชม เช่น การฉายหนังกลางแปลง เป็นต้น
และในอนาคตจะมีการเปิดแพคเกจสปอนเซอร์ให้กับลูกค้าที่สนใจด้วย
ช่อง 8 กระทุ้งเรตติ้งพุ่งเท่าตัว
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้นายสุรชัย
เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) (บมจ.)
ผู้บริหารช่อง 8 กล่าวว่า บริษัทเตรียมใช้เงินลงทุน 2 พันล้านบาท
แบ่งเป็น การผลิตคอนเทนต์ 1 พันล้านบาท
สำหรับผลิตละครใหม่ไม่ต่ำกว่า 30 เรื่องเพื่อออกอากาศให้ครบทั้ง
7 วัน อาทิ ล่าดับตะวัน เชลยศึก ระบำไฟ เป็นต้น ขณะที่อีก 800
ล้านบาทสำหรับลงทุนผลิตรายการวาไรตี้, รายการกีฬา
และรายการข่าวทุกช่อง ส่วนอีก 200 ล้านบาทสำหรับการลงทุนพัฒนาระบบไอทีและโฆษณาประชาสัมพันธ์
เพื่อสร้างการจดจำและรับรู้ช่อง 8 ออกอากาศหมายเลข 27
ขณะที่เรตติ้งของช่อง 8 ซึ่งร่วงลงไปอยู่อันดับที่
5 ต่อจากโมโน 29 นั้น
ผู้บริหารของอาร์เอส กล่าวว่า ต้องขอดูตัวเลขเรตติ้งเสียก่อน
ว่ามีความถูกต้องแค่ไหน
ปลดคนลดอุ้ยอ้ายองค์กร
ตั้งแต่ต้นปีมานี้
สถานีทีวิดิจิตอลหลายรายเคลื่อนไหวปรับองค์กรให้กระชับ
โดยการปรับลดพนักงานต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสปริงนิวส์
ที่ประกาศฟ้าผ่าปลดพนักงานออกจำนวน 38 คน โดยนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี รองประธานกรรมการ
บริหารด้านธุรกิจองค์กร และรักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปริงนิวส์
คอร์ปอเรชั่น กล่าวยอมรับว่า การคัดพนักงานออก เป็นเรื่องจริง
แต่เป็นจำนวนเพียงแค่ 38 คนเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนมากถึง 100
คนอย่างที่เป็นข่าวลือ แบ่งเป็น นักข่าว 9 คนและที่เหลือเป็นฝ่ายอื่น
ๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ธุรกิจ โปรดิวเซอร์ เป็นต้น
โดยให้เหตุผลว่าเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรภายใน
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายในการดำเนินธุรกิจปี 2559 ที่ต้องการเดินหน้าผลิตคอนเทนต์
ด้านข่าวเศรษฐกิจและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ
ขณะที่นักข่าวที่ออกไปส่วนใหญ่เป็นนักข่าวสายในประเทศ
ที่ไม่สอดคล้องกับแผนธุรกิจของบริษัท
ขณะที่ไทยทีวียื่นข้อเสนอให้พนักงานสมัครใจยื่นใบลาออก
จำนวนกว่า 20 คน โดยให้สาเหตุว่า บริษัทต้องการลดรายจ่าย
ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการ เมื่อบริษัทขาดทุน
ทั้งนี้หากประเมินค่าใช้จ่ายการบริหารสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง มีภาระไม่ต่ำกว่า 30
ล้านบาทต่อเดือน
ล่าสุดเป็นคิวของช่องทีวีทุนหนาอย่าง “วอยซ์ทีวี” ที่ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่งผลให้ต้องลดพนักงานลง 57 อัตราด้วย โดยเรื่องดังกล่าวนายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย กรรมการผู้อำนวยการ
บริษัทวอยซ์ ทีวี จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ วอยซ์ ทีวี กล่าวว่า
เพื่อให้องค์กรมีขนาดที่เหมาะสมต่อการทำงาน
ในภาวะที่ธุรกิจทีวีดิจิตอลมีการแข่งขันสูง
ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์การบริหารและโครงสร้างองค์กรใหม่
เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เป้าหมาย”วอยซ์ทีวี” คือ ต้องการก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำของผู้ผลิตสื่อยุคใหม่ภายใต้แนวคิด Cross
Platform Content Provider ทีวีสื่อสารครบทุกช่องทาง
ที่ต้องการผลิตเนื้อหารายการทีวีคุณภาพสูง
และส่งตรงถึงผู้รับสื่อยุคใหม่ครบทุกช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับชมผ่านสื่อออนไลน์
ที่เป็นอนาคตของการสื่อสาร และมุ่งมั่นที่จะเป็นสถานีข่าวสำหรับคนรุ่นใหม่
นำเสนอเหตุการณ์และข่าวสารสำคัญทั้งในและต่างประเทศ
เพิ่มทุน ปรับผังพร้อมลุย
ขณะที่นายเขมทัตต์ พลเดช
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี
เอชดี ช่อง 36 (PPTV HD ช่อง 36) กล่าวว่า พีพีทีวี ประกาศเพิ่มทุนเป็น 3
พันล้านบาท จากเดิม 1.5 พันล้านบาท
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน และเสริมธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
รวมทั้งขยายงานด้าน NON Broadcast ด้วยการจับมือกับไลน์ประเทศไทย
(Line Thailand) นำละครไทยและรายการที่เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ขึ้น
“ไลน์ทีวี” ส่งผลคนดูละครเพิ่มเป็น 2
ล้านวิว
โดยนโยบายของบริษัทในปีนี้
มุ่งเน้นให้เป็นปีแห่ง Partnership
& Engagement เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้
โดยเริ่มจัดผังรายการใหม่ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา มีสัดส่วนรายการประเภทข่าว 28%
เพิ่มรายการสารคดีข่าวอาเซียน
และส่งทีมข่าวเจาะลงพื้นที่ในกลุ่มประเทศอาเซียนทุกเดือน ด้านรายการบันเทิง
สถานีเพิ่มละครคุณภาพ ตามช่วงเวลาที่เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เจาะคนในภูมิภาค อีก 3
ช่วงเน้นคอนเทนต์ด้านกีฬา ทั้งการถ่ายทอดสดการแข่งขันมวยสากล
ของสหพันธ์มวยนานาชาติ หรือ ไอบ้า (AIBA) จากเดิมที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกและบุนเดสลีกา
และในเดือนมีนาคมนี้จะมีการแข่งขันมวยสากลโอลิมปิกรอบคัดเลือก โซนเอเชีย
โอเชียเนีย นอกจากนี้ยังมีรายการเรียลลิตี้รูปแบบแปลกใหม่ ละครเช้า เย็น
ค่ำเพิ่มขึ้นอีกด้วย
“ปี 2559-2560 พีพีทีวีจะเน้นรายการหลัก ๆ 3 ประเภท คือ ข่าว กีฬา
และ ละครไทย ส่วนรายการวาไรตี้ หรืออื่นๆ จะเป็นรายการเสริม โดยกีฬาจะต้องมีความสด
ละครสด แปลก ใหม่ สามารถดูรีรันได้ และจัดวางเวลาให้ดูได้ทุกช่วง ไม่ใช่เฉพาะช่วงไพรม์ไทม์
ส่วนประเภทข่าวได้เพิ่มข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจโลกเกี่ยวข้องกับอาเซียน”
ช่องวัน 31 เสริมทัพละคร
ด้านช่องทีวีดิจิตอลอีกช่อง
ที่เป็นน้องใหม่ แต่เรตติ้งมาแรง และประกาศรุกหนัก คือ ช่อง”วัน 31″ ซึ่งนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท
จีเอ็มเอ็มวันทีวี จำกัด ผู้บริหาร ช่องวัน31 กล่าวว่า
บริษัทเตรียมเงินกว่า 2 พันล้านบาท
สำหรับการลงทุนด้านคอนเทนต์ 1.5 พันล้านบาท เน้นไปที่ละคร 50-56%
ส่วนอีก 500 ล้านบาท
จะใช้สำหรับบริหารจัดการช่อง โดยไตรมาสแรกของปีนี้จะเพิ่มละครเพื่อมาเรียกเรตติ้งให้สูงขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อเธอ , นางบาป และเรือนร้อยรัก เป็นต้น
ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถปรับขึ้นค่าโฆษณาได้ราว 50% ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้
เป็นต้นไป และจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้เติบโตกว่า 80%
“1-2 ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล
ซึ่งบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องของการรับชม และการเข้าถึงทีวีดิจิตอลเป็นหลัก
และเมื่อย่างเข้าสู่ปีที่ 3 บริษัทจะเน้นเรื่องคอนเทนท์ให้ตอบโจทย์โพสิชั่นนิ่งของช่องให้มาก
โดยเฉพาะในช่วงเวลาซูเปอร์ไพร์มไทม์ ของทุกวัน เพื่อให้ตอบโจกย์ผู้ชมให้มากขึ้น”
นิวทีวียกเครื่องข่าวเช้า
ด้านนายปารเมศ เหตระกูล กรรมการบริหาร
บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสต์ จำกัด ผู้บริหารช่อง “นิวทีวี” กล่าวว่า
บริษัทเตรียมปรับเปลี่ยนรูปแบบ การนำเสนอข่าว ให้มีความเข้มข้นและน่าสนใจ
เพื่อเพิ่มศักยภาพ และตอกย้ำการเป็นผู้นำช่องข่าวสารและสารคดี ให้มากขึ้นโดยปรับเปลี่ยนเวลาและแนวทางการ
นำเสนอข่าวเช้า หรือ new)ข่าวเช้า ซึ่งจากเดิมออกอากาศ เวลา 06:00
– 07:00 น. จะขยับเวลาเป็น 07:00 – 08:00 น.
ซึ่งรายการนิวข่าวเช้า นี้จะนำเสนอข่าวสารภายใต้แนวคิด
เปิดโลกข่าวสารยามเช้าอย่างสร้างสรรค์
นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมงบลงทุนด้านคอนเทนท์ราว
800 ล้านบาทซึ่งกว่า 50%
จะเน้นคอนเทนท์ด้านข่าวสารและสารคดี 30% เป็นซีรีส์ฮอลลีวู้ดจากต่างประเทศ
และอีก 20% เป็นคอนเทนท์ด้านอื่นๆ เช่น รายการเด็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีช่วงพิเศษ คือช่วง slowlife จากทีมผู้ประกาศ
อาทิ ศตกมล วรกุล , เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ , นุชนาฏ อุมานันท์ , อัญชะลี ไพรีรัก เป็นต้น
โดยเน้นข่าวต่าง ๆที่อยู่ในกระแสสังคมนำมาร่วมพูดคุย
และวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เนชั่นเท 200 ล.ผลิตงานคุณภาพ
อีกช่องทีวีดิจิตอล
ที่มีการขับเคลื่อนตั้งแต่ต้นปี เป็นการส่งสัญญาณ ว่าพร้อมเดินหน้ารุกธุรกิจต่อ
คือค่ายเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป โดยนางสาวดวงกมล โชตะนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า ปีนี้เนชั่นฯ
วางงบประมาณสำหรับลงทุนด้านคอนเทนต์กว่า 200 ล้านบาท สำหรับนำเสนอคอนเทนต์ ผ่านทางช่องเนชั่นทีวี
และ NOW26 โดยเตรียมผลิตรายการคุณภาพ
และเนื้อหาข่าวให้มากขึ้น พร้อมนำเข้าคอนเทนท์จากต่างประเทศเพิ่มเติม
นอกจากนี้เครือเนชั่น
ยังมีแผนสนับสนุนผู้ผลิตสารคดีในประเทศที่มีฝีมือทัดเทียมกับสตูดิโอสารคดีระดับโลก
โดยตั้งงบประมาณไว้ 60 ล้านบาท
“ปัจจุบันบริษัทปรับผังการวางคอนเทนต์ใหม่
โดยวางตัวเองเป็นช่องสาระ ทั้งข่าว และสารคดี
ซึ่งเชื่อว่าคนไทยต้องการทางเลือกใหม่ในการรับชมทีวี ขณะที่ด้านช่อง NOW26 จะมุ่งเน้นรายการคุณภาพที่หลากหลาย สร้างความต่าง
และตั้งเป้าก้าวสู่ความเป็นที่หนึ่งของช่องสารคดี ทั้งสารคดีจากต่างประเทศ
และสารคดีในประเทศ”
ทั้งนี้ในรอบปีที่ผ่านมา
การดำเนินงานทีวีทั้งสองช่องของเครือเนชั่น มีทิศทางที่ดีขึ้น
จำนวนผู้ชมขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นรูปแบบการบริโภคสื่อของคนไทย
ที่ต้องการทางเลือกและความหลากหลาย และแม้อุตสาหกรรมดิจิตอลทีวีจะมีอุปสรรคอยู่มาก
แต่บริษัทเชื่อว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งช่องเนชั่นทีวี และ NOW26
ไทยทีวี ยืนยันไม่จ่ายเงิน
สำหรับความคืบหน้ากรณีที่ศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวนคำร้องบริษัท
ไทยทีวี จำกัด ที่ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี
หลังจากก่อนหน้านี้ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ที่ออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลทั้ง 2 ช่องที่บริษัทถือใบอนุญาตอยู่
ได้แก่ ช่อง “ไทยทีวี” และช่อง “MVTV
Family” (ช่องโลก้า) รวมถึงให้ชำระเงินค่าประมูลที่เหลือทั้งหมดทุกงวด
รวมเป็นเงินกว่า 1.74 พันล้านบาท โดยระบุว่า
เป็นการออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และการกระทำละเมิดอันเกิดจากการออกคำสั่งทางปกครองนั้น
วันนี้ (23 กุมภาพันธ์ 2559)
นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ “ติ๋ม ทีวีพูล”
ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด
ได้มาชี้แจงต่อศาลปกครองด้วยตนเอง พร้อมทีมกฎหมายอีก 3 คน
โดยนางพันธุ์ทิพา กล่าวว่า
หลังจากชี้แจงและนำรายละเอียดข้อมูลที่เป็นผลกระทบต่อธุรกิจของตนให้ศาลปกครองได้พิจารณาแล้ว
โดยส่วนตัวขอยืนยันไม่จ่ายเงิน เนื่องจากไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเพราะบริษัทได้แจ้งให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
รับทราบนานแล้วว่าต้องการคืนใบอนุญาต ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมากสทช.เป็นผู้เสนอให้บริษัทหาพันธมิตรมาร่วมลงทุน
และที่ผ่ามาบริษัทก็ยืนยันชัดเจนว่าจะไม่ขอทำต่อไป
เนื่องจากฝ่ายที่ผิดสัญญาคือฝ่ายกสทช.
(เครดิตข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่
3,134 วันที่ 25 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559)
พอมากลางปี ช่อง 3 วิกฤติหนัก เหตุเกิดจาก สรยุทธ์-บริษัทไร่ส้ม ถูกฟ้องในคดีทุจริตเงินค่าโฆษณาของช่อง 9 อสมท. และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 13 ปี 4 เดือน ไม่รอลงอาญา แต่ทนาย-สรยุทธ์ขอยื่นประกันตัวด้วยวงเงิน
2 ล้านระหว่างรออุทธรณ์คดี ในชั้นศาลอุทธรณ์ต่อไป
และสรยุทธ์ถูกกดดันจากกระแสสังคมให้งดจัดรายการเรื่องเล่าเช้านี้
ที่มีเขาเป็นพิธีกร จึงนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของรายการเรืองเล่าเช้านี้
โดยพยายามสรรหาพิธีกรมานั่งแทน คู่กับกุ๊ก กฤติยา มีการทาบทามซื้อตัวพุทธอภิวันท์
องค์พระบารมี พิธีกรฝีปากกล้าจากช่องอัมรินทร์ทีวี มาเสียบแทน แรกๆ
กระแสข่าวดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น
ภายหลังผู้บริหารอัมรินทร์พยายามเกลี้ยกล่อมจนพุทธอภิวันท์ เปลี่ยนใจไม่ย้ายมา
ด้วยยังคงจงรักภักดีต่อต้นสังกัด จนทำให้สรยุทธ์ต้องหาพิธีกรมาแทนหลายคน
แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ช่วยให้เรตติ้งดี เพราะตั้งแต่ไม่มีสรยุทธ์ โฆษณาหาย รายได้หด
เรตติ้งตก จนถูกช่อง 7 แซงกลับมาเป็นที่ 1 ในช่วงข่าวตอนเช้า และช่อง 8 ก็ตามบี้มาติดๆ ช่อง 3 ต้องแก้เกมด้วยการสั่งฟ้าผ่า
“หั่นเวลารายการเรื่องเล่าเช้านี้ลงเหลือ 1 ชั่วโมง”
และนำรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง มาปัดฝุ่น เสียบแทน (จริงๆ
เอารายการมาต่อให้เร็วขึ้น) และตามด้วยรายการแจ๋ว
มีการเพิ่มทีมพิธีกรหญิงกันแบบยกเครื่องสำหรับรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ก่อนหน้านั้นเรตติ้งละครค่ำของช่อง
3 ในช่วงต้นปีถึงกลางปี ก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน สู้ช่อง 7
ไม่ได้ แบบโดนทิ้งห่างไม่เห็นฝุ่น ทำให้ทางผู้บริหารช่อง 3 ต้องปรับกลุยทธ์ขนานใหญ่
ด้วยการรีบนำเอาละครฟอร์มใหญ่ที่อยู่ระหว่างถ่ายทำ ลัดคิวมาออนแอร์ก่อน หลายเรื่อง
อาทิ นางทาส ทายาทอสูร แต่ก็ผิดคาด เรตติ้งยังไม่เปรี้ยง
เมื่อเทียบกับละครฟอร์มเล็กๆ ของช่อง 7 ที่ฉายชนด้วย เรตติ้งยังดีกว่า
และเหตุการณ์วิกฤติละครช่อง 3 มาถูกตอกย้ำให้อาการหนักขึ้นเมื่อ
ช่อง ONE ปล่อยละครฟอร์มยักษ์เรื่องพิษสวาท
มาฉายชนกับละครบ่วงอธิษฐาน ซึ่งเป็นละครฟอร์มใหญ่ของช่อง 3 แต่พิษสวาทกระชากเรตติ้งขึ้นเรื่อยๆ
จนแซงชนะช่อง 3 ได้เป็นครั้งแรก
และด้วยกระแสละครพิศวาสติดลมบนทั้งในทีวีและในโลกโซเชียล ทำให้ช่อง 3 ตัดสินใจนำละครฟอร์มยักษ์แห่งปี ลงจอก่อนเวลาอันควรเพื่อแก้เกม
ด้วยการส่งละคร “นาคี” มาลงจอช่วงไตรมาสสุดท้าย และกลายเป็นละครที่มากู้หน้าให้กับช่อง
3 ได้สำเร็จ เรตติ้งสูงสุดของช่อง 3 แห่งปี
และยังสูงสุดในระบบทีวีดิจิตอลที่เคยมีมา คือ เรตติ้งทั่วประเทศทะยานแตะ 17.291 (เรตติ้งในกทม. 20.433,เรตติ้งตจว.ในเขตเมือง 17.446,เรตติ้งตจว.นอกเขตเมือง
16.501) : ข้อมูลเรตติ้งจาก AGB Nielsen ถือว่าเป็นตัวเลขเรตติ้งที่สวยหรูที่สุด
ชนะละครช่อง 7 ทุกเรื่องในปีนี้ด้วย ช่อง 3 สามารถทำเรตติ้งชนะช่อง
7 ในตลาดต่างจังหวัดได้เป็นครั้งแรกก็จากละครเรื่อง “นาคี”
ผลจากกระแสละครนาคีที่ฟีเวอร์อย่างมากมายนี้ ทำให้ปีหน้า (2560) เราจะได้เห็นละครเกี่ยวกับพญานาคมาอีก ละครจากแต้ว ละครที่กำกับโดยพี่อ๊อฟ
พงษ์พัฒน์มาอีกอย่างต่อเนื่อง แว่วๆ ว่าจะมีการสร้าง “นาคี” ภาค 2 ตามมาอีก ทั้งๆ ที่ตัวบทประพันธ์ยังไม่ได้แต่งเอาไว้
ก็ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าของบทประพันธ์ว่าจะยินดีประพันธ์ภาค 2 และขายลิขสิทธืให้กับช่อง
3 ต่อหรือไม่
ปลายปีข่าวช็อกวงการทีวีดิจิตอลต่างทยอยออกมาเป็นระยะๆ ไล่ตั้งแต่การขายหุ้นเพิ่มทุนของช่องอัมรินทร์ทีวีให้กับกลุ่มของเสี่ยเจริญ
สิริวัฒนภักดี ,ช่อง one เพิ่มทุนขายหุ้นให้กับกลุ่มปราสาททองโอสถ (ลูกสาว), ช่อง springnews
จับมือเป็นพันธมิตรธุรกิจกับ CNN , ช่อง 8
กลุ่มเชษฐ์โชติศักดิ์ ตัดใจขายหุ้นล็อตใหญ่ให้ ธ.กรุงเทพ
(เจ้าหนี้รายใหญ่) เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่แทน มีคำถามตัวโตๆ ว่า
แล้วใครจะเป็นรายต่อไป ในทีวิติจิตอลนี้
ใครเข้าข่ายสละช่องทีวีดิจิทัลรายต่อไป หลังช่องอมรินทร์
และวัน ดึงทุนใหญ่ร่วมวง ขณะมาร์เก็ตแคปเกือบ 3 ปี วูบแล้ว 'หกหมื่นล้าน'
'ตัวเล็กคิดการใหญ่' เมื่อยุทธศาสตร์เติบโตครั้งสำคัญของ
บมจ.อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์ พับลิชชิ่ง หรือ AMARIN ภายใต้ร่มเงา 'ทายาทรุ่น 2'
นำทีมโดย 'แพร-ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์' ลูกสาวคนโตของ 'ชูเกียรติ-เมตตา อุทกะพันธุ์' ในฐานะผู้ก่อตั้ง
เกิดผิดแผนครั้งมโหฬาร การเปลี่ยนแปลงองค์กร (Change in Organizations) จำต้องเกิดขึ้น..
การกระโจนเข้าสู่เส้นทางที่ตัวเองมีความถนัดเท่ากับศูนย์อย่าง
'ธุรกิจทีวีดิจิทัล' ด้วยการส่งบริษัทย่อย 'อมรินทร์
เทเลวิชั่น' เข้าซื้อใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่
เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทธุรกิจระดับชาติ
หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง มูลค่า 3,320 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2556
ถือเป็นฉนวนเหตุสำคัญ ที่ทำให้ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์อายุ 40 ปีแห่งนี้
จำต้องรีบหนีตาย ก่อนจะถึงวันที่ต้องควักเงินจ่ายค่าใบอนุญาตทีวีดิจิตอลครั้งที่ 4
ในเดือนพ.ค.2560 หลังตัวเลขโฆษณาทีวีอนาล็อกและทีวีดิจิทัล
ในช่วง 10 เดือนของปี 2559 (ม.ค.-ต.ค.)
ยังคงปรับตัวลดลง 15.31% และทรงตัวที่มูลค่า 17,627 ล้านบาท ตามลำดับ
การพลิกตัวครานี้ จำต้องขอความช่วยเหลือจาก 'กลุ่มทุนหนา' ที่มีสัมพันธ์ที่ดีมาช้านาน
ตัวช่วยสำคัญจึงหนีไม่พ้น 'กลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี' เจ้าของเบียร์ช้าง
แต่การเข้าลงทุนสัดส่วน 47.62% ในครั้งนี้กับมีวิธีการไม่เหมือนเช่นทุกครั้ง
เพราะการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 200 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 4.25
บาท มูลค่า 850 ล้านบาท ดำเนินการผ่าน บริษัท
วัฒนภักดี จำกัด โดย 'ฐาปน สิริวัฒนภักดี' และ 'ปณต สิริวัฒนภักดี'
แตกต่างจากหลายดีลก่อนหน้านี้ที่นิยมซื้อบริษัทจดทะเบียนที่มีการเติบโตสม่ำเสมอ
หรือมัก ส่งบริษัทจดทะเบียนเข้าดำเนินการลงทุน
ที่สำคัญคนแวดวงแทบไม่เคยเห็นเจ้าสัวเจริญใส่เงินลงทุนในกิจการสื่อที่ขาดทุน
ฉะนั้นจึงไม่แปลกหากดีลขนาดเล็กจะเกิดขึ้นเพียงเพราะต้องการช่วยเหลือคนกันเอง
ทว่าการเปิดทางให้ 'กลุ่มทุนเป็นเจ้าของสื่อครั้งนี้' อาจกำลังสะท้อนว่า
เกือบ 3 ปีที่ผ่านมาคนในแวดวงธุรกิจทีวีดิจิทัลต้องทนแบกรับ
ผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีธุรกิจหลักขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อการสร้างเงิน
และมีโครงสร้างเงินทุนไม่แข็งแกร่งพอ รวมถึงการแข่งขันที่ดุเดือด
เรื่องเหล่านี้ถือเป็นเหตุผลสำคัญที่ให้ผู้ประกอบการหลายราย
เลือกดึงเม็ดเงินโฆษณา ด้วยวิธีการปรับลดค่าโฆษณา เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
และการแข่งขันรุนแรงในธุรกิจทีวีดิจิทัล หลังเม็ดเงินโฆษณาฟรีทีวีไม่ได้เพิ่มขึ้น
ตามจำนวนช่องใหม่ที่ขยายตัว 4 เท่าตัว
'กิจพล
ไพรไพศาลกิจ' ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย)
แสดงความเห็นผ่าน 'กรุงเทพธุรกิจ Biz Week' ว่า การแข่งขันที่รุนแรง บวกกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
และเม็ดเงินโฆษณาที่กระจายตัวไปในหลากหลายสื่อ
รวมถึงการมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงมาก ทำให้ตัวเลขมาร์เก็ตแคปเกือบ 3 ปี ของเหล่าผู้เล่นหน้าใหม่ในสื่อทีวีดิจิทัลปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันขยับลงแล้วเฉลี่ย 6.25 หมื่นล้านบาท
นำทีมโดย BEC ,AMARIN ,MCOT และ GRAMMY สะท้อนผ่านตัวเลขมาร์เก็ตแคปก่อนเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตที่อยู่ระดับ 102,000
ล้านบาท 4,200 ล้านบาท 19,754 ล้านบาท 12,090 ล้านบาท ตามลำดับ
ปัจจุบันปรับตัวลดลงเหลือ 37,400 ล้านบาท 1,800 ล้านบาท 8,794 ล้านบาท และ 8,363 ล้านบาท ตามลำดับ
'มีเพียง
RS, และ WORK เท่านั้นที่มีตัวเลขมาร์เก็ตแคปเป็นบวกในปัจจุบัน
จากระดับ 7,154 ล้านบาท และ 7,199 ล้านบาท
ตามลำดับ เป็น 8,332 ล้านบาท และ 15,855 ล้านบาท ตามลำดับ'
ทว่าหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ AMARIN จำต้องยกหุ้นส่วนหนึ่งให้กลุ่มทุนรายใหม่
นอกเหนือจากการเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่ตัวเล็กที่สุดในวงการแล้ว
สะท้อนผ่านตัวเลขมาร์เก็ตแคป
คงเป็นเพราะความอ่อนด้อยของโครงสร้างเงินทุนที่ไม่แข็งแกร่ง
รวมถึงความไม่เชี่ยวชาญในธุรกิจสื่อทีวีดิจิทัล
ทำให้องค์กรแห่งนี้ จำเป็นต้องโบกมือลา แม้ธุรกิจหลักอย่างสื่อสิ่งพิมพ์จะสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้อย่างดี
แต่ก็ไม่อาจทดแทนผลขาดทุนที่เกิดจากการทำช่องดิจิทัลได้
หากพิจารณาดีๆ จะพบว่า ตั้งแต่ AMARIN โดดเข้ามาร่วมวง
ก็มีความพยายามรักษากระแสงินสด ด้วยการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตลท.) ในปี 2535 สำหรับผลประกอบการงวดปี 2556 ในสัดส่วน 10:1 หุ้น หลังเล็งเริ่มเห็นว่า
ธุรกิจทีวีดิจิทัลต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล
ยิ่งองค์กรเดินทางมาอยู่ใน 'จุดขาดทุนต่อเนื่อง' นับตั้งแต่ปี 2557 –9 เดือนปี
2559 สะท้อนผ่านตัวเลขติดลบ 85.18 ล้านบาท
417.15 ล้านบาท และ 468.93 ล้านบาท
ตามลำดับ ยิ่งพบว่า การทำธุรกิจนี้ไม่หมูอย่างที่คิด เพราะสถาบันการเงิน
ก็มีความเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยเงินกู้ ขณะที่ตระกูลอุทกะพันธุ์เอง
ก็คงไม่มีความสามารถในการใส่เงินเพิ่มทุนมากพอ
'การที่
AMARIN มีสินค้ารักษาสุขภาพอาจเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของเบียร์ช้างที่ไม่เคยมีสินค้าประเภทดังกล่าวก็เป็นได้
ยิ่งใช้เงินลงทุนต่ำเช่นนี้ เจ้าสัวเจริญอาจมองเห็น โอกาสอะไรบางอย่าง'
เมื่อถามถึงแนวโน้มธุรกิจทีวีดิจิทัลในปี 2560 'กิจพล' วิเคราะห์ว่า ทิศทางอาจเริ่มดีขึ้น
หลังสถานการณ์ภายในประเทศกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
เจ้าของสินค้าจะเริ่มกลับมาใช้เงินเพื่อการโฆษณามากขึ้น
ที่สำคัญต้นปีหน้าคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อาจเคาะมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ
ด้วยการเปลี่ยนวิธีการชำระเงินค่าใบอนญาตใน 3 งวดที่เหลืออยู่ (ปี 2560-2562) ออกไปเป็น 12 ปี
หากเป็นเช่นนั้นโอกาสจะเห็นตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาไหลเข้ามาในสื่อทีวีดิจิทัลเฉลี่ยมากกว่าเดือน
2,000 ล้านบาท
ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าระหว่างทางไม่มีเรื่องเซอร์ไพรส์สิ้นปี 2560 อาจเห็นเม็ดเงินโฆษณาในทีวีดิจิทัลเติบโตเฉลี่ย 10% หรือมีมูลค่าประมาณ
24,000 ล้านบาท
'เม็ดเงินโฆษณาจากสื่อวิทยุ
และสื่อสิ่งพิมพ์ อาจโยกมาลงสื่อทีวีมากขึ้น ยิ่งช่องไหนมีเรตติ้งที่ดีอยู่ใน 5
อันดับแรกของตาราง เงินก็คงวิ่งไปทางนั้น'
ใครจะเป็นรายต่อไป?
ใครจะเป็นรายต่อไป?
ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา เจ้าของช่องทีวีดิจิทัลหลากหลายรายต้องทนแบกรับภาระต้นทุนค่าใบอนุญาต
และต้นทุนการผลิตคอนเทนท์ต่อปีที่สูงถึงเกือบปีละ 'พันล้าน'
ขณะที่เม็ดเงินโฆษณากับไหลเข้าสื่อดิจิทัลคงที่ในตัวเลขเฉลี่ยปีละ 21,000
ล้านบาท
แถมผู้ประกอบการยังต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้นทุกวัน
ด้วยเหตุนี้
ทำให้ผู้เล่นหน้าใหม่บางรายไม่ประสบความสำเร็จใน 'ทะเลสีแดง' (Red Ocean) ฉะนั้นในช่วงที่ผ่านมาจึงเห็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก
โบกมืออำลาจากเส้นทางนี้ เริ่มจาก 'เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล' หรือ 'พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย'
ที่ตัดสินใจปิดช่องไทยทีวี และช่อง Loca หลังขาดทุนหนัก
300 ล้านบาท
รายล่าสุด คือ ช่อง AMARIN ที่เลือกเปลี่ยนกลุ่มทุนแทนการปิดช่อง
ขณะที่ช่อง ONE ของแกรมมี่ และ 'ถกลเกียรติ วีรวรรณ'
ตัดสินใจลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
ด้วยการดึงบริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ของ “ปรมาภรณ์
ปราสาททองโอสถ” เข้าถือหุ้น 50%
'กิจพล
ไพรไพศาลกิจ' วิเคราะห์ว่า ปีหน้าอาจเห็นผู้เล่นหน้าใหม่อย่างน้อย 2
ราย เดินตามรอยเท้าช่อง AMARIN ช่องทีวีพูล
และช่อง ONE หลังผู้ประกอบการที่มีเรตติ้งอันดับ 5 ลงไปเริ่มมี 'กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ' และ
'ไม่สามารถกู้เงินแบงก์ได้'
แม้ตัวเลขอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) จะอยู่ในต่ำก็ตาม
เหตุผลสำคัญที่ใส่เกียร์ถอย
คงหนีไม่พ้นการที่มีช่องใหม่มากเกินไปสวนทางกับเม็ดเงินโฆษณาที่ต้องกระจายไปในหลากหลายสื่อ
เมื่ออุปสงค์อุปทานไม่สอดคล้องกันย่อมมีคนเดินออกจากเกม ที่สำคัญต้นทุนต่อปีที่สูงมากเฉลี่ยพันล้าน
ทำให้ผู้เล่นไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้
แต่หากทางการออกมาช่วยเหลืออาจช่วยต่อลมหายใจ
เพราะจะเหลือภาระในการจ่ายค่าใบอนุญาตเพียง 100 กว่าล้าน จากเกือบ 500 ล้านบาทต่อปี
แต่สุดท้ายจะอยู่รอดยาวนานหรือไม่ขึ้นอยู่ที่สายป่านของแต่ละเจ้า
'ปีหน้าจะเห็นผู้เล่น TOP10 ขยับขึ้นค่าโฆษณา
แต่ต้องขึ้นอยู่กับผู้เล่นเบอร์ใหญ่อย่าง WORK ที่มีอัตราค่าโฆษณาเฉลี่ยตั้งแต่
50,000–หลักแสนบาทต่อนาที ด้วยว่ามีแผนจะขยับหรือไม่
หากเขาขึ้นแผนงานที่เคยให้ไว้ในระดับ 20% ผู้เล่นรายใหญ่คงพากันขึ้น
หากเป็นเช่นนั้นคงต้องจับตาดูรายเล็กต่อไป'
(เครดิตข้อมูล บทความจากเว็บไซต์ Bangkokbiznews.com)
สื่อวิกฤต
หนังสือพิมพ์บ้านเมืองปิดตัว AMARIN-ONE31 เปลี่ยนมือทุนใหญ่เสียบ
ทีวีดาวเทียม นิตยสารทยอยเลิก อดีตคณบดีวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ชี้คนรุ่นใหม่ไม่นิยมอ่าน สุดท้ายเหลือสื่อไม่กี่ราย ด้านนิเทศฯ
หอการค้าหวั่นทุนใหญ่แทรกกระบวนการทำงานข่าว แนะคนเสพรู้เท่าทัน ด้าน
กสทช.เงียบกริบ
ธุรกิจด้านสื่อยิ่งนับวันก็ทรุดลง
ถ้าไม่ล้มหายตายจากไปก็ต้องยอมให้มีการเปลี่ยนมือหรือจำเป็นต้องหากลุ่มทุนใหม่เพิ่มเข้ามา
เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจนี้ยังเดินหน้าต่อไปได้
ในระยะนี้นับได้ว่าสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต
เริ่มที่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองอายุ 44 ปี 6 เดือน ได้แจ้งต่อสาธารณะเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า เนื่องจากรูปแบบในการดำเนินธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีสื่อชนิดใหม่ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งทำให้การคงอยู่ของสื่อสิ่งพิมพ์เป็นไปได้อย่างยากลำบาก ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวย ทางผู้บริหารของบริษัท นวกิจบ้านเมือง จำกัด พยายามประคับประคองการดำเนินธุรกิจให้คงอยู่อย่างสุดความสามารถมาเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่ก็มิอาจทนต่อสภาวการณ์ในภาวะปัจจุบันได้ จึงตัดสินใจขอหยุดผลิตหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ตั้งแต่ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป และมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ทางบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ AMARIN ช่อง 36 ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการเพิ่มทุนจำนวน 200 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2559 เสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้บริษัท วัฒนภักดี จำกัด โดยนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายปณต สิริวัฒนภักดี ในราคาหุ้นละ 4.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 850 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มใหม่ที่เข้ามาเป็น 47.62% ของทุนจดทะเบียน
ทั้งนี้บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่จะได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้เพื่อการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจทีวีดิจิตอลที่อยู่ในช่วงของการเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งมีต้นทุนการดำเนินการที่สูง โดยใช้สำหรับการชำระค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล การชำระค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลรายเดือน การชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
เริ่มที่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองอายุ 44 ปี 6 เดือน ได้แจ้งต่อสาธารณะเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า เนื่องจากรูปแบบในการดำเนินธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีสื่อชนิดใหม่ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งทำให้การคงอยู่ของสื่อสิ่งพิมพ์เป็นไปได้อย่างยากลำบาก ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวย ทางผู้บริหารของบริษัท นวกิจบ้านเมือง จำกัด พยายามประคับประคองการดำเนินธุรกิจให้คงอยู่อย่างสุดความสามารถมาเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่ก็มิอาจทนต่อสภาวการณ์ในภาวะปัจจุบันได้ จึงตัดสินใจขอหยุดผลิตหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ตั้งแต่ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป และมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ทางบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ AMARIN ช่อง 36 ได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการเพิ่มทุนจำนวน 200 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2559 เสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้บริษัท วัฒนภักดี จำกัด โดยนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายปณต สิริวัฒนภักดี ในราคาหุ้นละ 4.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 850 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มใหม่ที่เข้ามาเป็น 47.62% ของทุนจดทะเบียน
ทั้งนี้บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่จะได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้เพื่อการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจทีวีดิจิตอลที่อยู่ในช่วงของการเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งมีต้นทุนการดำเนินการที่สูง โดยใช้สำหรับการชำระค่าใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล การชำระค่าบริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลรายเดือน การชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ปราสาททองมีทั้งช่อง 36 และ 31
30 พฤศจิกายน 2559 สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง มีเดีย 84 ได้ประกาศว่า เนื่องจากบริษัทฯ จะยุติการดำเนินงานด้านการออกอากาศ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งกลุ่มทีวีดาวเทียมได้ยุติการออกอากาศไปก่อนหน้านี้ได้แก่ทีนิวส์ ทีวี เมื่อ 1 ตุลาคม และ MCOT WORLD ยุติเมื่อ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา
รายล่าสุดเมื่อ 1 ธันวาคม 2559 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า กลุ่มนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะวัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง one 31 จะลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดยมี บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งมี นางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เข้ามาถือหุ้นใน บริษัท วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 50%
โดยจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 1.91 พันล้านบาท โดยออกหุ้นใหม่ 19.05 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 100 บาท ทุนจดทะเบียนใหม่เป็น 3.81 พันล้านบาท ภายหลังจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้ว แกรมมี่จะเป็นผู้ถือหุ้นใน วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ร้อยละ 25.50 กลุ่มนายถกลเกียรติ จะเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 24.50 และปรมาภรณ์ จะเป็นผู้ถือหุ้น ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน
ก่อนหน้านี้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2557 เคยมีกรณีที่บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC เจ้าของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG 12.27% เป็นเงิน 1,042.32 ล้านบาท ซึ่ง NMG เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด (NNV) ซึ่งได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลในบริษัท ช่องข่าวเนชั่น
หรือย้อนไปถึงกรณีที่นางพันธุ์ทิพา ศกุนต์ไชย เจ้าของนิตยสารทีวีพูล และเจ้าของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี และสถานีโทรทัศน์โลก้าทีวี ไม่ชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 และค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รวม 288 ล้านบาท แก่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จนต้องถูกระงับการออกอากาศตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2558
ขณะที่กลุ่มนิตยสารต่างก็ปิดตัวกันไปหลายเล่ม เช่น พลอยแกมเพชร สกุลไทย อิมเมจ เป็นต้น ส่วนสื่อที่ยังคงอยู่ หลายบริษัทมีผลประกอบการที่ลดลง ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
30 พฤศจิกายน 2559 สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมช่อง มีเดีย 84 ได้ประกาศว่า เนื่องจากบริษัทฯ จะยุติการดำเนินงานด้านการออกอากาศ โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป ซึ่งกลุ่มทีวีดาวเทียมได้ยุติการออกอากาศไปก่อนหน้านี้ได้แก่ทีนิวส์ ทีวี เมื่อ 1 ตุลาคม และ MCOT WORLD ยุติเมื่อ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา
รายล่าสุดเมื่อ 1 ธันวาคม 2559 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า กลุ่มนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะวัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง one 31 จะลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดยมี บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งมี นางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เข้ามาถือหุ้นใน บริษัท วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 50%
โดยจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกจำนวน 1.91 พันล้านบาท โดยออกหุ้นใหม่ 19.05 ล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 100 บาท ทุนจดทะเบียนใหม่เป็น 3.81 พันล้านบาท ภายหลังจากการเพิ่มทุนจดทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้ว แกรมมี่จะเป็นผู้ถือหุ้นใน วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ร้อยละ 25.50 กลุ่มนายถกลเกียรติ จะเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 24.50 และปรมาภรณ์ จะเป็นผู้ถือหุ้น ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน
ก่อนหน้านี้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2557 เคยมีกรณีที่บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC เจ้าของสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG 12.27% เป็นเงิน 1,042.32 ล้านบาท ซึ่ง NMG เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์วิชั่น จำกัด (NNV) ซึ่งได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลในบริษัท ช่องข่าวเนชั่น
หรือย้อนไปถึงกรณีที่นางพันธุ์ทิพา ศกุนต์ไชย เจ้าของนิตยสารทีวีพูล และเจ้าของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี และสถานีโทรทัศน์โลก้าทีวี ไม่ชำระเงินค่าประมูลทีวีดิจิตอลงวดที่ 2 และค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รวม 288 ล้านบาท แก่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จนต้องถูกระงับการออกอากาศตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2558
ขณะที่กลุ่มนิตยสารต่างก็ปิดตัวกันไปหลายเล่ม เช่น พลอยแกมเพชร สกุลไทย อิมเมจ เป็นต้น ส่วนสื่อที่ยังคงอยู่ หลายบริษัทมีผลประกอบการที่ลดลง ต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
เครดิตข้อมูลจาก MGR
online
วิเคราะห์และเรียบเรียงโดย หยิกแกมหยอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น