วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พัฒนาการของบรรดาศิลปินชาย Teen Idol (2) ของเมืองไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน (ตอนที่ 2)


ยุคค่ายเพลง และยุคบูมของธูรกิจเพลงเมืองไทย ช่วงปี พ.ศ. 2530-2540 (เทปขายได้เกินล้านตลับเป็นว่าเล่น) 

ยุคนี้เองที่เกิดการแข่งขันโดยสมบูรณ์ของธุรกิจเพลงเมืองไทย เพราะบรรดาค่ายเพลงต่างๆ ต้องขับเคี่ยวแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพื่อช่วงชิงตลาดหรือมาร์เก็ตแชร์กันอย่างคึกคัก ด้วยการเข็นศิลปินเกิดใหม่อย่างมากมาย นอกเหนือจากตัวศิลปินเกิดใหม่จะเยอะแล้ว บรรดาค่ายเพลงเกิดใหม่ก็เกิดขึ้นเยอะด้วย วนเวียนเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป โดยที่มีการโยกย้ายของนักดนตรี โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง ศิลปินกันอย่างวุ่นวายอุตลุต กลยุทธ์ในการช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์ของตลาดเพลงไทยรูปแบบหนึ่งก็คือการสร้างศิลปินทีนไอด้อลทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ศิลปินที่จะปั้นนั้น มี 2 แนวทาง คือปั้นจากดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงอยู่ก่อนแล้ว หรือปั้นจากศิลปินฝึกหัดซึ่งจะเป็นบุคคลที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน เรียกว่าสดใหม่มากๆ หากว่าตัวนักร้องมีคุณภาพ ผลงานเพลงออกมาดี ก็สามารถแจ้งเกิดได้ตั้งแต่อัลบั้มแรกได้เลย  นำโดย ศิลปินทีนไอด้อลหัวหอกของค่ายใหญ่ๆ อย่าง แกรมมี่ อาร์เอส คีตา และค่ายเล็กๆ อื่นๆ อีกมากมาย

ขอจำแนกแยกทีนไอด้อลไปตามค่ายต้นสังกัดก็แล้วกัน เพราะสะดวกในการไล่ลำดับ หรือพอนึกออกดังนี้

ค่ายแกรมมี่ อาทิ ธงไชย แม็คอินไตย์ ,อำพน ลำพูน และวงไมโคร, โจ-ก้อง-จอห์น และวงนูโว, บิลลี่ โอแกน ,เจตริน วรรธนะสิน, ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ ,ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ,วงอินคา ,วงสวอน ,ไมเคิล หว่อง ,ทูน หิรัญทรัพย์ ,ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง ,โดโด้ ยุทธพิชัย ชาญเลขา ,วงกัมปะนี ,ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย ,วงยูเอชที ,มิกกี้ (ปิยะวัฒน์ เปี่ยมเบี้ย) ,วงฟลาย ,เสกสรรค์ ศุขพิมาย และวงโลโซ ,วงไทม์ ,พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ,ฮักกี้ ไอเคิลมานน์, ดนู ฮันตระกูล ,วสันต์ โชติกุล ,ชรัส เฟื่องอารมณ์ ,ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว ,ธเนศ วรากูลนุเคราะห์ ,สามารถ พยัคฆ์อรุณ ,ตั้ม สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์ ,เกริกพล มัสยวณิช ,ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ ,อั๋น ภูวนารถ พุนผลิน ,ก๊อต จักรพรรณ์ อาบครบุรี ,ลีโอ พุฒิ และวงรูม 99 ,เอกราช สุวรรณภูมิ ,ไมค์ ภิรมย์พร ,เจสัน ยัง ,เปเล่ ธัญญารัตน์ ,วงบีเคเค , วงมังกี้แอ็คท์ ,ฮัท ศิววงศ์ ,วงพาวเวอร์แพ็ท ,วงวายน็อตเซเว่น, อิงค์ อชิตะ ปราโมช ณ อยุธยา ,อ่ำ อัมรินทร์ นิติพน ,วงกะลา ,วงแคลช ,วงโปเตโต้ ,วงเอบีนอร์มอล ,วงมังกี้แอ็ค ฯลฯ
 
 
 
 
 

ค่ายอาร์เอส  อาทิ อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ,อิทธิ พลางกูร, พิศุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร,ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง, ต่อ-ต๋อง วงทู ,โชคชัย เจริญสุข ,ศรราม เทพพิทักษ์ ,สมชาย เข็มกลัด ,ปราโมทย์ แสงศร ,บอยสเก๊าท์ ,แซ้งค์ ปฏิวัติ เรืองศรี ,วงไฮร็อก ,วงเฟรม ,วงหินเหล็กไฟ ,ฉัตรชัย เปล่งพานิช ,สรพงษ์ ชาตรี ,ลิฟต์-ออย ,ธนพล อินทฤทธิ์ ,ธรรพ์ณธร ปาละวงศ์ ณ อยุธยา ,บดินทร์ ดุ๊ก  ,โบกี้-ดอดจ์ ,ปกรณ์ ลัม ,พันกร บณยะจินดา ,จอห์นนี่-หลุยส์ (แร็ปเตอร์) ,เจอาร์-วอย, เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ,วงราฟฟี่ แนนซี่ ,วงดิเอ้าไซเดอร์ ,สบชัย ไกรยูรเสน ,วงไจแอ้นท์ ,อนัน อันวา ,อนันต์ บุนนาค ,วงไฮแจ็ค, วงไอน้ำ ,อาชาครินท์ ,ปาร์ค แอนด์แจกัน ,บ่าววี ฯลฯ
 
 
  
 

ค่ายคีตา อาทิ หนุ่มเสก ,วงเฉลียง ,วงเฌอ ,พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ,สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, มาโนช ฤทธิ์เต็ม, วงสามโทน, เมทินี บูรณศิริ ,กิติกร เพ็ญโรจน์ ,วงออโต้บาห์น, ภุชงค์ โยธาพิทักษ์ ,สันติสุข พรหมศิริ, นฤเบศร์ จินปิ่นเพ็ชร, วงยูโฟร์ , ยุรนันท์ ภมรมนตรี ,ฝันดี-ฝันเด่น ,วงทีเคโอ, คณิต เขียวเซ็น ,วงด็อกเตอร์คิดส์, สุรวุฒิ ไหมกัน ,วงทิกแท็กโท, แจ็ค-จิล ,แจ็ค ไอเฟล ,โก้ ธีรศักดิ์ พันธุ์จริยา, ต่อ นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล ,ภูษิต ไล้ทอง ,เชษฐา ยารสเอก เป็นต้น
 
 

ค่ายเอสพีศุภมิตร(ช่อง3) อาทิ กิตติพันธุ์ พุ่มสุโข ,วงชาย ,สถาพร นาควิไล ,วงเลอโดม ,อาเธอร์ ปัญญโชติ ,อี๊ด โอภากุล,กฤษณ์ ศุภระมงคล ,วงยูเรเนียม ,อารักษ์ อาภากาศ, เควสชั่น ,โกแกง เป็นต้น

ค่ายเบเกอรี่มิวสิค อาทิ  วงโซลอาฟเตอร์ซิกส์ ,นภ พรชำนิ และวงพีโอพี ,ธนชัย อุชชิน และวงโมเดิร์นด็อก ,บอย โกสิยพงศ์ ,น้อยและสุกี้ วงพรู ,โจอี้ บอย , บอย ตรัย ภูมิรัตน์, วงทีฟอร์ทรี, โจ้และวงพอส ,โป้และวงโยคีย์เพลย์บอย ,สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ ,ธีร์ ไชยเดช เป็นต้น

ค่ายเพลงอิสระอื่นๆ อาทิ
ค่ายสโตน ,เฮ้าส์ออฟฟัน  อาทิ  XL STEP ,แจ็ค สุขารมย์, ออดี้, New School, Deja Vu, B-Team ,เจนนิเฟอร์ คิ้ม ,โก้ เศกพล

 
ค่ายมูเซอร์ เรคคอร์ด อาทิ กษาปณ์ จำปาดิบ,เกี๊ยง เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ ,นก ฉัตรชัย ดุริยประณีต, วงแบดบอยส์ ,วงที-โบน ,สมเกียรติ ซีมิกส์ ,ทอม ดันดี ,เศก ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

ค่ายเทโรมิวสิค/โซนี่เรคคอร์ด อาทิ วงวาเคชั่น, นายสะอาด (มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร) ,วงสครับ ,ปราโมทย์ วิเลปะนะ ,ย้ง ธรากร สุขสมเลิศ  เป็นต้น

ค่ายรถไฟดนตรี อาทิ พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ,ศุ บุญเลี้ยง, กิตติ กาญจนสถิตย์, วงโฮป ,จรัล มโนเพ็ชร ,วงคนด่านเกวียน ,วงซูซู ,โดม มาร์ติน ,วงคาไลโดสโคป ,วงเอ-ม็อบ ,แก้ว ลายทอง ,หนู มิเตอร์

ค่ายโพลีแกรม อาทิ เจ มณฑล จิรา
ค่ายโชว์บีซ อาทิ  พีท ทองเจือ

ค่ายมิวสิครูม อาทิ สมิทธิ์ แอนด์ เชน

ค่ายกลิทช์ อาทิ โป้ง วราวุธ ,เจสัน ยัง

เป็นยุคที่วงการดนตรีเมืองไทยเฟื่องฟูมาก แข่งขันกันอย่างสมบูรณ์ จุดเด่นคือนำดารานักแสดงมาเป็นศิลปินนักร้องออกเทป แม้ว่าคุณภาพเสียงของนักร้องบางคนจะแย่เพียงใด แต่ก็เข็นออกมาเป็นศิลปินได้ คงต้องโทษค่ายเพลงที่เห็นแก่ได้มากเกินไป จึงเป็นยุคที่ผู้บริโภคได้เสพงานเพลงที่ด้อยในด้านคุณภาพเสียงลดลง แต่คุณภาพของงานดนตรีกลับดีขึ้น และการบันทึกเสียงก็เป็นยุคที่ได้มาตรฐานสากลมากขึ้น ถึงกระนั้นก็ยังเป็นยุคที่ผลงาน (เทปคาสเซ็ทท์) ขายได้กันเกินล้านตลับจำนวนมาก และกลายเป็นสถิติ ที่ทุกวันนี้คงไม่ได้เห็นแบบนั้นกันอีกแล้ว

อัลบั้มเพลงล้านตลับ อัลบั้มแรกของไทย

อันนี้รวมอัลบั้มเพลงล้านตลับในยุคต่อมา

นี่รูปพี่แจ้ ในยุคออกอัลบั้มเดี่ยว เป็นทีนไอด้อลเบอร์แรกๆ ของเมืองไทย


อันนี้รูปพี่แจ้ ในยุคปัจจุบัน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น