วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พัฒนาการของบรรดาศิลปินชาย Teen Idol (1) ของเมืองไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน (ตอนที่ 1)


ยุครุ่งเรืองของเพลงลูกทุ่ง และลูกกรุง (อมตะนิรันดร์กาล งานมาสเตอร์พีชดีๆ อยู่ในยุคสมัยนี้รวมถึงผลงานของครูเพลง นักแต่งเพลงรุ่นครูทั้งนั้น คือช่วงยุคประมาณปี พ.ศ. 2490-2520) 

นับตั้งแต่ครูสุรพล สมบัติเจริญ,ครูเอื้อ สุนทรสนาน,ครูสง่า อารัมภีร์, ครูแก้ว อัจฉริยะกุล,มรว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์, จิตร ภูมิศักดิ์ ,กำธร สุวรรณปิยะศิริ ,ชรินทร์ นันทนาคร ,นริศ อารีย์ ,สุเทพ วงศ์กำแหง, สมยศ ทัศนพันธุ์, ธานินทร์ อินทรเทพ ,(ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ,สักรินทร์ ปุญญฤทธิ์ ,มีศักดิ์ นาครัตน์ 3 ท่านนี้คือบอยแบนด์วงแรกของเมืองไทยก็ว่าได้ เรียกว่า วงสามศักดิ์) ครูเหม เวชกร ,วินัย จุลละบุษปะ ,คำรณ สัมบุญณานนท์ ,ครูไพบูลย์ บุตรขัน ,ครูพงค์ มุกดา ,พร ภิรมย์ ,สุชาติ เทียนทอง, ชาย เมืองสิงห์ ,เพลิน พรหมแดน, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ,ศรคีรี ศรีประจวบ ,ก้าน แก้วสุพรรณ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร ,มิตร ชัยบัญชา  ,สังข์ทอง สีใส ,ไชยา สุริยัน , ระพิน ภูไท ,เสกศักดิ์ ภู่กันทอง ,สมัย อ่อนวงศ์ พนม นพพร ,ยุพิน แพรทอง ,ชาตรี ศรีชล ,กาเหว่า เสียงทอง ,กังวานไพร ลูกเพชร ,ชลธี ธารทอง ,ธงชัย เล็กกำพล ,โผผิน พรสุพรรณ ,สดใส ร่มโพธิ์ทอง กู้เกียรติ นครสวรรค์ , สายัณห์ สัญญา ,ศรเพชร ศรสุพรรณ, สัญญา พรนารายณ์ ,ขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด,ศรชัย เมฆวิเชียร,ยอดรัก สลักใจ,เสรี รุ่งสว่าง,แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์,สันติ ดวงสว่าง ,ชาลี อินทรวิจิตร,สุรพล โทณะวณิก ,ทูล ทองใจ ,หยาด นภาลัย ,สันติ ลุนด์เผ่, สันติ เศวตวิมล ฯลฯ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ยุคนี้เป็นยุคที่เนื้อหาของเพลง มีวรรคทอง ถ้อยคำสละสลวย กินใจ สื่อเนื้อหา และความหมายของเพลงได้ลึกซึ้งกินใจ ใช้ภาษาและสำนวน สุภาษิต พังเพย กระทบกระเทียบเปรียบเปรย (ต่อว่าด่าทอหญิงสาว หรือตัดพ้อความรักได้อย่างถึงกึ๋น ) ได้อย่างงดงาม เป็นยุคทองของภาษาไทยในเพลงที่ดีที่สุด เท่าที่วงการเพลงไทยเคยมีมา ทุกวันนี้หลายเพลงกลายเป็นบทเพลงอมตะได้ก็เพราะสำนวนภาษาที่นักแต่งเพลงชั้นครูเหล่านั้น เขียนขึ้นมาได้อย่างวิจิตรพิสดาร ท่วงทำนองของเพลงกลายเป็นส่วนประกอบเท่านั้น ยุคนี้ถ้าเพลงดังๆ จะมีการแต่งเพลงแก้ให้นักร้องหญิงได้ร้องแก้ต่างหรือตอบโต้ฝ่ายชายด้วย เรียกว่าเพลงแก้ ขอกราบครูเพลงเหล่านั้นงามๆ ไม่ได้ท่านเหล่านั้น เราจะไม่มีเพลงไทยที่งดงาม อมตะให้ฟังกัน จนทุกวันนี้ยังฟังได้ไม่รู้เบื่อ ฟังกี่รอบๆ ก็ยังไพเราะอยู่ ยุคนี้ผู้เขียนขอเรียกว่าเป็นยุคเพลงไทยอมตะนิรันดร์กาล ศิลปินหลายท่านเคยได้รับรางวัลพระราชทาน แผ่นเสียงทองคำ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย ซึ่งนับเป็นเกียรติยศสูงสุดในชีวิต ปัจจุบันไม่มีรางวัลนี้อีกแล้ว


ยุคเพลงสตริง-ยุคเริ่มต้นค่ายเพลง (งานดนตรีร่วมสมัย ยุคนี้นิยมคัดลอกทำนองเพลงจากต่างประเทศแล้วมาใส่เนื้อเพลงไทยลงไป ยุคบุกเบิกของการเรียบเรียงเสียงประสาน และการบันทึกเสียงในสตูดิโอตามแบบฉบับสากล คือช่วงยุคประมาณ ปี พ.ศ.  2520-2530)       

วินัย พันธุรักษ์ ,เศรษฐา ศิระฉายา และวงดิอิมพอสซิเบิ้ล ,ดอน สอนระเบียบและวงพีเอ็มไฟว์ ,ชัยรัตน์ เทียบเทียม ,ดนุพล แก้วกาญจน์ ,นคร เวชสุภาพร , ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ, ศรายุทธ สุปัญโญ และวงแกรนด์เอ็กซ์ ,ชาตรี คงสุวรรณ ,พีรสันต์ จวบสมัย และวงดิอินโนเซ้นส์ ,ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา,ฟาโรห์ ตอยยีบี,วสันต์ แต้สกุล ,โชคดี ภักพู่ และวงเพื่อน ,วสุ แสงสิงห์แก้ว ,มืดไข่มุก และวงพลอย ,ติ๊ก ชีโร่ และวงเซเลเบรชั่น ,สุนทร สุจริตฉันท์ และวงรอยัลสไปร์ท ,ดำ (วิรุฬ สกุลทรัพย์ไพศาล) และวงฟอร์เอฟเวอร์ ,ต้น (วงศกร รัศมิทัต, อู๋ (อรรถพล ประเสริฐยิ่ง) และวงแม็คอินทอช, กุ้ง กิตติคุณ เชียรสงค์ ,ปอนด์ (ธนา ลวสุต ,ป้าง (นครินทร์ กิ่งศักดิ์) และวงไฮดร้า ,เท่ห์ (อุเทน พรหมมินทร์) ,อ๊อด (โอภาส ทศพร) และวงบรั่นดี ,แซม (ยุรนันท์ ภมรมนตรี), นิค นิรนาม ,วงเพาเวอร์แบนด์ ,เสกสรร ทองวัฒนา ,วงสเตท เอ็กซ์เพรส ,จรัล มโนเพ็ชร ,วงเดอะพีเพิ่ล ,สุเทพ ประยูรพิทักษ์ แอนด์เดอะแซคส์ ,ตู้ (ดิเรก อมาตยกุล) และวงเพรสซิเด้นท์ ,ตั้ม (สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์) และวงเดอะ เซ้นท์ ,ชูศักดิ์ มีถาวร และวงชาย ,หรั่ง (ชัชชัย สุขขาวดี) และวงร็อคเคสตร้า ,นราธิป กาญจนวัฒน์ ,คฑาวุธ สท้านไตรภพ และวงชาตรี ,วินัย ปุญญะยันต์ และวงพิ้งค์แพนเตอร์ ,ประวิทย์ พงษ์ธนานิกร และวงฟรีเบิร์ด ,วงซัคเซส ,วงฟีดแบ็คท์  ,อ๊อด (รณชัย ถมยาปริวัฒน์ และวงคีรีบูน ,ต้อม (พีรพงษ์ พลชนะ) และวงอินทนิล,วงเรนโบว์ ,สุทธิพงษ์ วัฒนจัง และวงฟรุ้ตตี้ ,น้าสีเผือก (อิสรา อนันตทัศน์) และวงคนด่านเกวียน ,น้าซู (รพินทร์ พูฒิชาติ) และวงซูซู ,น้าหงา (สุรชัย จันทิมาธร),น้าหมู (พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ),น้าหว่อง (มงคล อุทก) และวงคาราวาน ,น้าแอ๊ด (ยืนยง โอภากุล) ,เทียรี่ เมฆวัฒนา,น้าเล็ก (ปรีชา ชนะภัย) ,อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ,น้าเขียว (กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร),วงโฮป ,ปฐมพร ปฐมพร, ฤทธิพร อินสว่าง,น้าโป่ง,น้าแหลม วงดิโอฬารโปรเจ็คท์ ,อ.เทวัญ ทรัพย์แสนยากร ,อัสนี-วสันต์ โชติกุล และวงอิสซึ่น, สุรสีห์ อิทธิกุล ,จิรพรรณ อังศวานนท์ ,ดนู ฮันตระกูล และวงบัตเตอร์ฟลาย ,ปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล ,นุภาพ สวันตรัจฉ์และวงเดอะเบสต์ ,มัม ลาโคนิคส์ ,ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ,ฮักกี้ ไอเคิลมานน์ ,เบิร์ดกะฮาร์ท ,ไอศูรย์ วาทยานนท์,สุธี แสงเสรีชน และวงแกรนด์เอ็กซ์ขวดโหล ,ภูสมิง หน่อสวรรค์ ,ต้น (สุชาติ ชวางกูร) ,บ่น (อนุชิต จุรีเกษ ,แมน (วทัญญู มุ่งหมาย) ,ปั่น (ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว) ,ชรัส เฟื่องอารมณ์ ,เต๋อ (เรวัติ พุทธินันท์)  ,วงบาราคูดัส ,วงนกแล ,จำรัส เศวตาภรณ์ ฯลฯ

 
 
 
 
 
 
ยุคนี้ยังคงจุดเด่นของภาษาเพลงที่ยังคงสวยงาม เนื้อหากินใจและและแฝงความหมายปรัชญาชีวิต แต่จุดเด่นที่เพิ่มเข้ามาก็คือท่วงทำนองที่เป็นสากล และมีการเรียบเรียงเสียงประสานที่ดีขึ้น ที่เรียกโดยรวมๆ ว่าเป็นเพลงไทยสากลนั่นแหละ ยุคนี้ผู้เขียนขอเรียกว่าเป็นยุคเพลงไทยคลาสสิก เพราะผู้เขียนเริ่มเก็บสะสมอัลบั้มเพลงไทยในรูปเทปคาสเซ็ทท์ก็ในยุคนี้แหละ หลายๆ อัลบั้มของศิลปินในยุคนี้ก็ยังคงเก็บเอาไว้อยู่ นานๆ เอามาฟังก็ยังคงไพเราะอยู่ แม้ระบบเสียงจะฟังสู้แผ่นซีดีหรือแผ่นเสียงไม่ได้ (ย้ำว่าต้องไม่ใช่เทปที่ยืดหรือยานแล้วนะครับ) แต่ความไพเราะของเพลงในยุคนี้ มันเอาชนะระบบเสียงที่ไม่สมบูรณ์นี้ได้ จึงเรียกว่ายุคเพลงไทยคลาสสิก หลายอัลบั้มถ้ามาขอซื้อก็ไม่มีทางขายนะจะบอกให้ เพราะหาไม่มีอีกแล้ว
 





หมายเหตุ RS เปิดช่องเคเบิ้ลทีวี/ทีวีดาวเทียมช่องใหม่ ชื่อว่า เพลินทีวี รวบรวมงานเพลงเก่าทั้งลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงสากลเก่าๆ เป็นช่องทางเลือกที่น่าสนใจ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น