วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรุงเทพฯ เมืองหนังสือ(แพง) โลก > เมืองของนักอ่านโลก

คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ 8 บรรทัด ประโยคหรือวลีนี้ ผู้เขียนคิดว่าเป็นทั้งคำปรามาสและคำชื่นชมให้เกียรติคนไทยมากเกินไปหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่ามีการสำรวจวิจัยอย่างละเอียดแล้วจริงๆ หรือไม่ อีกทั้งเป็นตัววัดถึงมาตรฐานการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าเป็นเช่นคำพูดนั้นจริงๆ เห็นทีประเทศไทยคงจะต้องจัดเป็นประเทศด้อยพัฒนามากกว่าที่จะถูกจัดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาเป็นแน่แท้ เพราะโลกสมัยใหม่นี้ ไม่ว่าจะใช้วิสัยทัศน์ หรือพลวัตในปัจจุบันหรืออนาคตเขาแข่งกันในด้านการศึกษาเป็นหลัก และประเทศพัฒนาแล้วใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความก้าวหน้าของมนุษย์ เทคโนโลยี และวิทยาการล้ำยุคหรือไปสู่นอกโลกด้วย ดังนั้น หากคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียงปีละ 8 บรรทัด แต่หาก 8 บรรทัดนั้นบังเอิญเป็นปรัชญา คำสอนของพระพุทธเจ้า ชนิดเป็นแก่นหรือห้วใจแห่งสัจจธรรมแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติ ก็ต้องถือว่าเป็นการอ่านอย่างมีคุณภาพ ยังพอเอาตัวรอดได้ในโลกมนุษย์  หรือหาก 8 บรรทัดนั้น เป็นโฉลกที่เป็นหัวๆ ของปรัชญาชั้นสูงแห่งกวีระดับโลก แล้วสามารถถอดความตีความนำไปปรับใช้กับชีวิตตนเองได้ ก็ยังนับว่ามีคุณค่าในการอ่านเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อมองกลับกัน หากคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 8 ล้านตัวอักษร แต่เป็นการอ่านกลอนวัยรุ่น คำสบถ คำแสลงวัยรุ่นในไลน์แชต เฟซบุ้ค ทวิตเตอร์ หรือข่าวซุบซิบบันเทิง นวนิยายประโลมโลก เช่นนี้แล้ว ก็ไม่สามารถยกระดับ สร้างคุณภาพ มาตรฐานการเป็นนักอ่านของคนไทยได้ หรือเมื่อเทียบกับ 8 บรรทัดแห่งคุณค่าได้ ก็ป่วยการกับการยินดีที่คนไทยอ่านหนังสือเยอะถึง 8 ล้านตัวอักษร มากที่สุดในโลกเป็นไหนๆ

ปีนี้เป็นปีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพของงาน เมืองหนังสือโลก แต่ดูเหมือนการประชาสัมพันธ์ หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านการอ่านแทบไม่เห็นเลย จัดว่าเงียบกริบมากๆ เข้าใจว่าคนไทยถนัดการจัดงานอีเว้นท์ที่เอาของมาแสดงหรือขาย แบบงานปาปี่ พอจัดเสร็จก็เลิกกันไป ไม่ถนัดการรณรงค์ก่อนจัดงาน และการต่อยอดความสำเร็จภายหลังจากงาน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำมาใช้กับการจัดงานประเภท เมืองหนังสือโลก  มันคงไม่ใช่งานแบบสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่คนมาเดินซื้อหนังสือกันนะครับ แต่ต้องมีกิจกรรมทั้งก่อนหน้าอีเว้นท์ และหลังอีเว้นท์ ซึ่งต้องใช้คำว่ารณรงค์ให้คนทั่วไปรู้จักก่อนว่าหนังสือคืออะไร มีกี่ประเภท หนังสือแบบใดเหมาะกับคนกลุ่มไหน วัยใด เนื้อหาเป็นอย่างไร ประโยชน์ของการอ่าน ความสะดวกของการเข้าหา แหล่งของหนังสือที่คนไทยจะสามารถไปใช้บริการได้ฟรี หรือมีค่าใช้จ่ายน้อย ทุกวันนี้คนไทยพึ่งได้เพียงร้านหนังสือใกล้บ้าน ร้านหนังสือแฟรนไชส์ใหญ่ๆ เป็นที่พึ่ง ซึ่งหนังสือเหล่านั้นก็มีราคาแพงเกินกว่าจะซื้อหามาสะสมไว้อ่านได้ ไอ้ครั้นจะไปใช้บริการแหล่งหนังสือของภาครัฐอย่าง ห้องสมุด ก็มีน้อย และกฏระเบียบเยอะ ตามมหาวิทยาลัยก็ไม่ค่อยเปิดกว้างแก่บุคคลภายนอกมากนัก หนังสือน้อยและไม่หลากหลาย ค้นหายาก ไม่ทันสมัย ส่วนห้องสมุดเอกชนก็แสนแพงต้องเป็นสมาชิกที่เสียค่าบริการสูงจึงจะมีออพชั่นยืมหนังสือได้ เช่น ห้องสมุดมารวย ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ TCDC เป็นต้น จะทำอย่างไรที่ภาครัฐจะลงทุนกับห้องสมุดประชาชนให้ทันสมัย กระจายไปยังทุกเขตของ กทม. และเข้าใช้บริการได้สะดวกสบายกว่าที่เป็นอยู่ ติดแอร์ มีหนังสือทีหลากหลายและมากพอ ไม่ชำรุด และล้าสมัย

อยากเห็นภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ คืนกำไรสู่สังคมบ้าง เช่นจัดพิมพ์หนังสือในต้นทุนราคาที่ต่ำ เช่น พ็อกเก็ตบุ้คเล่มเล็กๆ ราคาไม่เกิน 50 บาท (ทำไมหนังสือในร้าน 7-eleven ยังทำได้เลย) เป็นการส่งเสริมการอ่านแก่เยาวชน และคนที่มีรายได้น้อย ได้ซื้อหนังสือดีในราคาถูก โดยที่เป็นหนังสือ 100 หนังสือดีที่คนไทยควรต้องอ่าน อ้างอิงข้อมูลของ อ.วิทยากร เชียงกูล link : http://www.eppo.go.th/tank/100-Best.html

รายชื่อหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ประเภทบันเทิงคดี (FICTION)

ก. กวีนิพนธ์และบทละคร

1. ประชุมโคลงโลกนิติ - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร

2. เสภาศรีธนญไชยเชียงเมี่ยง

3. นิราศหนองคาย - หลวงพัฒนพงศ์ภักดี

4. สามัคคีเภทคำฉันท์ - ชิต บุรทัต

5. มัทนะพาธา - พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

6. โคลงกลอนของครูเทพ - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

7. บทละครเรื่องพระลอ - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

8. ขอบฟ้าขลิบทอง - อุชเชนี

9. เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า. - นายผี

10. บทกวีของเปลื้อง วรรณศรี

11. บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ - จิตร ภูมิศักดิ์

12. จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย - ทวีปวร

13. กวีนิพนธ์ - อังคาร กัลยาณพงศ์

14. ขอบกรุง - ราช รังรอง

15. เพียงความเคลื่อนไหว - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

ข. นิยาย

16. ละครแห่งชีวิต - ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์

17. กามนิต - เสฐียรโกเศศ, นาคะประทีป

18. ดำรงประเทศ - เวทางค์

19. ผู้ชนะสิบทิศ - ยาขอบ

20. หนึ่งในร้อย - ดอกไม้สด

21. บางระจัน - ไม้ เมืองเดิม

22. หญิงคนชั่ว - ก. สุรางคนางค์

23. พล นิกร กิมหงวน - ป. อินทรปาลิต

24. ปักกิ่ง-นครแห่งความหลัง - สด กูรมะโรหิต

25. เราลิขิต-บทหลุมศพวาสิฏฐี - ร.จันทพิมพะ

26. เมืองนิมิตร - ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์

27. แม่สายสะอื้น - อ. ไชยวรศิลป์

28. พัทยา - ดาวหาง

29. แผ่นดินนี้ของใคร - ศรีรัตน์ สถาปนวัฒน์

30. มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร - แย้ม ประพัฒน์ทอง

31. ปีศาจ - เสนีย์ เสาวพงศ์

32. สี่แผ่นดิน - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

33. ทุ่งมหาราช - มาลัย ชูพินิจ

34. แลไปข้างหน้า - ศรีบูรพา

35. เสเพลบอยชาวไร่ - รงค์ วงษ์สวรรค์

36. จดหมายจากเมืองไทย - โบตั๋น

37. เขาชื่อกานต์ - สุวรรณี สุคนธา

38. สร้างชีวิต - หลวงวิจิตรวาทการ

39. ตะวันตกดิน - กฤษณา อโศกสิน

40. สร้อยทอง - นิมิตร ภูมิถาวร

41. พิราบแดง - สุวัฒน์ วรดิลก

42. ลูกอีสาน - คำพูน บุญทวี

ค. เรื่องสั้น

43. นิทานเวตาล - น.ม.ส.

44. จับตาย : รวมเรื่องเอก - มนัส จรรยงค์

45. เรื่องสั้นของป. บูรณปกรณ์ (ชีวิตจากมุมมืด, ดาวเงิน) - ป. บูรณปกรณ์

46. เสาชิงช้า, เอแลนบารอง และเรื่องสั้นอื่นๆ ของ ส. ธรรมยศ

47. พลายมลิวัลลิ์ และเรื่องสั้นบางเรื่อง ของถนอม มหาเปารยะ

48. ผู้ดับดวงอาทิตย์ และเรื่องสั้นอื่นๆ - จันตรี ศิริบุญรอด

49. ยุคทมิฬ และเรื่องสั้นอื่นๆ ของ อิศรา อมันตกุล

50. เรื่องสั้นชุดเหมืองแร่ - อาจินต์ ปัญจพรรค์

51. ฟ้าบ่กั้น - ลาว คำหอม

52. ชุดเพื่อนนักเรียนเก่า "เพื่อนเก่า" - เสนอ อินทรสุขศรี

53. รวมเรื่องสั้นบางเรื่องของฮิวเมอร์ริสต์ - ฮิวเมอร์ริสต์

54. ฉันจึงมาหาความหมาย - วิทยากร เชียงกูล

55. คนบนต้นไม้ - นิคม รายวา

ประเภทสารคดี/บทความ (NON FICTION)

ก. ประวัติศาสตร์

56. ประวัติกฎหมายไทย - ร. แลงกาต์

57. นิทานโบราณคดี - สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

58. โฉมหน้าศักดินาไทย - จิตร ภูมิศักดิ์

59. กบฏ ร.ศ. 130 - เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์

60. เจ้าชีวิต - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

61. ศาลไทยในอดีต - ประยุทธ สิทธิพันธ์

62. ประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352-2453 ด้านสังคม - ชัย เรืองศิลป์

63. สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ 2325 - 2416 - ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์

ข. การเมือง,ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย, เศรษฐศาสตร์

64. ทรัพยศาสตร์ - พระยาสุริยานุวัตร

65. เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475 - กุหลาบ สายประดิษฐ์

66. ความเป็นอนิจจังของสังคม - ปรีดี พนมยงค์

67. ท่านปรีดี รัฐบุรุษอาวุโส ผู้วางแผนเศรษฐกิจไทยคนแรก - เดือน บุนนาค

68. โอ้ว่าอาณาประชาราษฎร - สนิท เจริญรัฐ

69. ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง - ดิเรก ชัยนาม

70. สันติประชาธรรม - ป๋วย อึ๊งภากรณ์

71. ห้าปีปริทัศน์ - ส. ศิวรักษ์

72. "วันมหาปิติ" วารสาร อมธ.ฉบับพิเศษ 14 ตุลาคม 2516 - องค์การบริหารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ค. ศิลปะ ภาษาและวรรณกรรม วรรณกรรมวิจารณ์

73. วรรณคดี และวรรณคดีวิจารณ์ - วิทย์ ศิวะศิริยานนท์

74. ประติมากรรมไทย - ศิลป พีระศรี

75. วรรณสาส์นสำนึก - สุภา ศิริมานนท์

76. วิทยาวรรณกรรม - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

77. ความงามของศิลปไทย - น. ณ ปากน้ำ

78. ภาษากฎหมายไทย - ธานินทร์ กรัยวิเชียร

79. วรรณไวทยากร ชุมนุมบทความทางวิชาการ ฉบับวรรณคดี - เจตนา นาควัชระ และมล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

80. แสงอรุณ 2 - แสงอรุณ รัตกสิกร

ง. สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา, ประวัติศาสตร์สังคม

81. พระราชพิธีสิบสองเดือน - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

82. สาส์นสมเด็จ - สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

83. 30 ชาติในเชียงราย - บุญช่วย ศรีสวัสดิ์

84. เทียนวรรณ - สงบ สุริยินทร์

85. กาเลหม่านไต - บรรจบ พันธุเมธา

86. นิทานชาวไร่ - น.อ.สวัสดิ์ จันทนี

87. ภารตวิทยา - กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย

88. ฟื้นความหลัง - พระยาอนุมานราชธน

89. ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ - จิตร ภูมิศักดิ์

90. อัตชีวประวัติ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร - หม่อมศรีพรหมา กฤดากร

91. 80 ปีในชีวิตข้าพเจ้า - กาญจนาคพันธ์

จ. ศาสนา, ปรัชญา

92. พระประวัติตรัสเล่า - สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

93. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน - สุชีพ ปุญญานุภาพ

94. ปัญญาวิวัฒน์ - สมัคร บุราวาศ

95. พุทธธรรม - พระธรรมปิฎก

96. อิทัปปัจจยตา - พุทธทาสภิกขุ

ฉ. ธรรมชาติ, วิทยาศาสตร์

97. หนังสือแสดงกิจจานุกิจ - เจ้าพระยาทิพากรวงษ์

98. แพทยศาสตร์สงเคราะห์ - คณะกรรมการแพทย์หลวงในรัชกาลที่ 5

99. ธรรมชาตินานาสัตว์ - บุญส่ง เลขะกุล

100. ขบวนการแก้จน - ประยูร จรรยาวงษ์

หนังสือ 101 เล่มในดวงใจนักเขียนและนักอ่านชั้นนำที่ควรอ่านก่อนตาย จาก เว็บเด็กดีดอทคอม

1. แฮร์รี่ พอตเตอร์ - เจ เค โรวลิ่ง

2. ความสุขของกะทิ - งามพรรณ เวชชาชีวะ

3. ลูกอีสาน - คำพูน บุญทวี

4. ข้างหลังภาพ - ศรีบูรพา

5. สี่แผ่นดิน - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

6. เพชรพระอุมา - พนมเทียน

7. เจ้าชายน้อย - อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี

8. คำพิพากษา - ชาติ กอบจิตติ

9. คู่กรรม - ทมยันตี

10. หัวขโมยแห่งบารามอส - แรบบิท

11. โดราเอมอน - ฟูจิโกะ เอฟ ฟูจิโอะ

12. สามก๊ก - หลอ กว้าน จง

13. อยู่กับก๋ง - หยก บูรพา

14. หลายชีวิต - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

15. พระอภัยมณี - สุนทรภู่

16. น้ำพุ - สุวรรณี สุคนธา

17. ก่อกองทราย - ไพฑูรย์ ธัญญา

18. เข็มทิศชีวิต - ฐิตินาถ ณ พัทลุง

19. ลับแล, แก่งคอย - อุทิศ เหมาะมูล

20. โคนัน ยอดนักสืบ - โกโช อาโอยาม่า

21. บ้านเล็กในป่าใหญ่ - ลอร่า อิงกัลล์ส ไวล์เดอร์

22. แมงมุมเพื่อนรัก - อี.บี.ไวท์

23. เจ้าหงิญ - บินหลา สันกาลาคีรี

24. ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน - วินทร์ เลียววาริณ

25. แก้วจอมแก่น - แว่นแก้ว

26. ใบไม้ที่หายไป - จิระนันท์ พิตรปรีชา

27. ผู้ชนะสิบทิศ - ยาขอบ

28. ฟ้าจรดทราย - โสภาค สุวรรณ

29. พระมหาชนก - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช

30. สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน - วินทร์ เลียววาริณ

31. อัจฉริยะสร้างได้ - หนูดี

32. เราหลงลืมอะไรบางอย่าง - วัชระ สัจจะสารสิน

33. วัน พีซ - เออิจิโระ โอดะ

34. ต้นส้มแสนรัก - โจเช่ วาสคอนเวลอส

35. ทวิภพ - ทมยันตี

36. ปุลากง - โสภาค สุวรรณ

37. ขายหัวเราะ - สำนักพิมพ์บันลือสาสน์

38. ตลิ่งสูงซุงหนัก - นิคม รายวา

39. นารุโตะ - มาซาชิ คิชิโมโตะ

40. Shockolate - เดอะดวง

41. เชอร์ล็อก โฮล์มส์ - เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์

42. หนูหิ่น อินเตอร์ - เอ๊าะ ขายหัวเราะ

43. อมตะ - วิมล ไทรนิ่มนวล

44. ความน่าจะเป็น - ปราบดา หยุ่น

45. พันธุ์หมาบ้า - ชาติ กอบจิตติ

46. แวววัน - โบตั๋น

47. เดอะ ไวท์ โรด - ดร. ป๊อป

48. ชินจังจอมแก่น - โยซึโอะ อุสึอิ

49. โต๊ะโตะจัง - เท๊ตสึโกะ

50. พล นิกร กิมหงวน - ป.อินทรปาลิต

51. เวลาในขวดแก้ว - ประภัสสร เสวิกุล

52. เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก - ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

53. รามเกียรติ์

54. นิทานอีสป - อีสป

55. ผู้ดี - ดอกไม้สด

56. ฟ้าบ่กั้น - ลาวคำหอม

57. รหัสลับดาวินชี - แดน บราวน์

58. ทไวไลท์ - สเตเฟนี เมเยอร์

59. ดั่งดวงหฤทัย - ลักษณวดี

60. บาปบุญคุณธรรม - ศักดา วิมลจันทร์

61. มือนั้นสีขาว - ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ

62. กามนิต วาสิฏฐี - เสฐียร โกเศศ นาคะประทีป

63. ขุนช้างขุนแผน

64. เจ้าจันท์ผมหอม - นิราศพระธาตุอินทร์แขวน มาลา คำจันทร์

65. เซวิน่า มหานครแห่งมนตรา - กัลฐิดา

66. ถั่วงอกกับหัวไฟ - ทรงศีล ทิวสมบุญ

67. เทวากับซาตาน - แดน บราวน์

68. ผู้ใหญ่ลีกับนางมา - กาญจนา นาคนันทน์

69. เวลา - ชาติ กอบจิตติ

70. คู่มือมนุษย์ - พุทธทาสภิกขุ

71. จดหมายจากเมืองไทย - โบตั๋น

72. บันทึกจากลูก(ผู้)ชาย - ชมัยภร แสงกระจ่าง

73. ปีศาจ - เสนีย์ เสาวพงศ์

74. เพื่อนนอน - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

75. ละครแห่งชีวิต - หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ระพีพัฒน์

76. ไล่ตงจิ้น ลูกขอทานไม่ยอมแพ้ชีวิต - ไล่ตงจิ้น

77. สมุดปกดำกับใบไม้สีแดง - วินทร์ เลียววาริณ

78. สร้อยทอง - นิมิต ภูมิถาวร

79. 5 สหายผจญภัย - Enit Blyton

80. ขวัญสงฆ์ - ชมัยภร แสงกระจ่าง

81. ช่างสำราญ - เดือนวาด พิมวนา

82. ปริศนา - ว.ณ ประมวลมารค

83. ผมจะเป็นคนดี - วิกรม กรมดิษฐ์

84. มังกรหยก - กิมย้ง

85. มาเฟียที่รัก - หนูผักบุ้ง

86. แม่สอนไว้ - พุทธทาสภิกขุ

87. ล่องไพร - น้อย อินทนนท์

88. Black & White : เพราะชีวิตจริง มีทั้งขาวและดำ - เดอะดวง

89. H.A.C.K. - Enigma

90. Nine Lives - ทรงศีล ทิวสมบุญ

91. The top secret - ทันตแพทย์สม สุจิรา

92. จดหมายถึงดวงดาว - ชมัยภร แสงกระจ่าง

93. จนตรอก - ชาติ กอบจิตติ

94. ซอยเดียวกัน - วาณิช จรุงกิจอนันต์

95. เดินสู่อิสรภาพ - ประมวล จันทร์เพ็ง

96. ธรรมะเดลิเวอร์ลี่ - พระมหาสมปอง ตาลปตํโต

97. ไผ่แดง - ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

98. มัทนะพาธา - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ

99. ม้าก้านกล้วย - ไพวรินทร์ ขาวงาม

100. อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย - เลโมนี สนิคเก็ต

101. ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น - ทันตแพทย์สม สุจิรา

หากโปรเจ็คท์นี้จะทำให้สำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ขาดทุน อาจตั้งเป็นกองทุน ลงขันกันของสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ และภาครัฐ เช่น กระทรวงการศึกษาที่มีงบประมาณมากที่สุด ควรลงขันด้วย เข้ามา subsidize  โครงการนี้ยังได้ประโยชน์กว่าไปจัดหาซื้อ tablet มาแจกเด็กนักเรียน ซึ่งล้มเหลวไม่เป็นท่า อีกทั้งลูกหลานก็ไม่ได้มีความรู้อะไรเพิ่มขึ้นเท่าไร นอกจากเอาไว้เล่นเกมส์ ดูหนัง ซึ่งการพิมพ์หนังสือดีที่เป็นพื้นฐานให้คนไทยได้อ่านในราคาถูก อย่างน้อยเป็นการวางรากฐานทางการศึกษาให้คนไทย เยาวชนไทยไปด้วยในตัว อีกทั้งหนังสือจำนวนมากในรายชื่อเหล่านั้น ยังไม่ถูกละทิ้ง สูญหาย มีการจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนไทยไว้ ให้รุ่นลูกรุ่นหลานสืบทอดต่อไปได้ หากเล่มใดซ้ำกับที่มีอยุู่แล้วในแบบเรียน ก็อาจเปลี่ยนเป็นหนังสือวรรณกรรมดีๆ ของคนไทย หรือความรู้ ปรัชญา หรือแม้กระทั่งการรวบรวม พระราชดำรัสสำคัญๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นหนังสือไว้ให้คนไทยได้อ่าน เป็นคู่มือประจำบ้าน ซึมซับนำไปปฏิบัติตามพระราชดำรัสเพื่อเป็นศิริมงคลของชีวิต,ความรู้เกี่ยวกับโครงการพระราชดำริ หรือพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่่หัว,คำสอนของพระเกจิอาจารย์ที่เป็นพระสงฆ์ที่คนไทยรู้จัก ยกย่องนับถือ,ปรัชญาของกวีใหญ่ๆ ดังๆ ระดับโลก,เอ็นไซโคปีเดียที่รวบรวมเกร็ดข้อมูลของไทยและต่างประเทศทำแบบแยกหมวด ซอยเป็นเล่มเล็กๆ ให้เยาวชนซื้อหาเก็บ สะสมเป็นความรู้ ฯลฯ

ข่าวเกี่ยวกับงานเมืองหนังสือโลก

งานกิจกรรมอ่านลอยฟ้า จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 23 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 10.00 น.- 20.00 น. ณ บริเวณ Sky Walk หอศิลป์กรุงเทพ ไปยัง Sky Walk รถไฟฟ้าสถานีสยาม จนถึง Sky Walk ด้านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยกำหนดให้พื้นที่บริเวณ sky walk สยามพารากอน ถึงเซ็นทรัลเวิร์ลด์ เป็นพื้นที่ออกบูธจำหน่ายหนังสือซึ่งในงานมีพื้นที่จำหน่ายหนังสือทั้งหมด 48 บูธ ขนาด 2x3 เมตร กิจกรรมดังกล่าวนี้ ทางกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงาน ที่จะร่วมผลักดันให้กิจกรรมประสบผลสำเร็จ อาทิ รถไฟฟ้า บี ที เอส, สยามพารากอน, เซ็นทรัลเวิร์ล, สสส. และมีการออกโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในบริเวณการจัดงานอีกด้วย

อนึ่ง เนื่องจากทางกรุงเทพมหานครได้กำหนดให้มีกลุ่มหนังสือพิเศษจัดแสดงในกิจกรรมต่างๆของงานกรุงเทพเมืองหนังสือโลก เช่นกลุ่มหนังสือแนวให้กำลังใจ (Spirituals) กลุ่มหนังสือแนววิทยาศาสตร์ และหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน และเนื่องจากจำนวนพื้นที่ออกงานที่จำนวนจำกัด ดังนั้นสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯจึงใคร่ขอความกรุณาสมาชิกฯที่ผลิตหนังสือแนวดังกล่าวนี้มาร่วมออกบูธเป็นหลัก

วันนี้ (14 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บริเวณทางเชื่อมระหว่างหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร กับ BTS สนามกีฬาแห่งชาติ กลุ่มนักอ่านจำนวนหนึ่ง ได้มีการจัดกิจกรรม "ยืนอ่านกันให้เงียบเงียบ กรุงเทพเมืองหนังสือโลก" โดยการประท้วงในครั้งนี้เป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ต่อ โครงการ"อ่านกันสนั่นเมือง"กรุงเทพเมืองหนังสือโลก ว่าเป็นโครงการที่ไม่เหมาะสม เพราะ มีการนำเอางบประมาณจำนวนมากไปทุ่มให้กับการประชาสัมพันธ์จนเกินพอดี โดยนายศักดิ์รพี รินสาร หนึ่งในผู้ชุมนุม กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการเห็นตัวอย่างการประท้วงจากประเทศตุรกี ที่มีประชาชนประท้วงอย่างสันติต่อรัฐบาล ด้วยการอ่านหนังสือ โดยกลุ่มฯไม่เห็นด้วยกับโครงการ"อ่านกันสนั่นเมือง"กรุงเทพเมืองหนังสือโลกเพราะเห็นว่าโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์มากไปโดยไม่เกิดประโยชน์ควรนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการจัดพิมพ์หนังสือดีๆ หรือนำงบไปสนับสนุนการเข้าถึงการอ่านให้ง่ายขึ้นของประชาชนมากกว่า ดังเช่น โครงการจัดทำตู้หนังสือสาธารณะของมูลนิธิกระจกเงาดำเนินการ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังเป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ต่อสังคมว่า การอ่านที่มีคุณภาพแท้จริง ไม่ใช่การอ่านเพื่อเน้นปริมาณ หรือความรวดเร็วเพื่อการประชาสัมพันธ์อย่างที่กรุงเทพมหานคร ทำ แต่การอ่านหนังสือต้องอ่านช้าๆ เงียบๆ

ด้านนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักเรียนโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมกล่าวว่า ตนทราบข่าวจากเฟสบุ๊ค เห็นเนื้อหาว่าเกี่ยวกับการประท้วงโดยสันติวิธีคล้ายกับต่างประเทศ และเห็นว่าโครงการที่ กรุงเทพมหานครจัดขึ้นนั้นเป็นสิ่งไม่มีประโยชน์ เช่นการจัดงาน"อ่านกันสนั่นเมือง"ของกทม.เป็นเรื่องที่ค่อนข้างฟุ่มเฟือย ไม่มีคุณค่า ตนรู้สึกเสียดายที่กรุงเทพมหานครได้รับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก โดยที่มาประท้วงด้วยการยืนอ่านหนังสือเงียบๆก็เพื่อต้องการให้คนเห็นว่าการอ่านต้องอ่านเงียบๆเพื่อเน้นคุณภาพไม่ต้องเน้นพิธีกรรมมาก อยากให้นำเงินไปซื้อหนังสือดีๆกว่าที่มีอยู่บนรถเมล์สาธารณะมากกว่า และต้องการให้ภาครัฐตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวจึงมาร่วมชุมนุม  โดยโครงการดังกล่าวถูกตั้งข้อสังเกตจากนักเขียนจำนวนหนึ่งว่าเป็นโครงการที่กทม.ใช้เงินกว่า200 ล้านบาท เพื่อให้ได้มาซึ่งการรับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก โดยมีงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการเมืองหนังสือโลก จนถึงปี 2556 ทั้งสิ้น 1,400 ล้านบาท เฉพาะการสร้างหอสมุดกทม. (หอสมุดกทม.-พิพิธภัณฑ์ประวัติหนังสือไทย-ศูนย์วิจัยหนังสือและการอ่านแห่งประเทศไทย) ใช้เงินร่วม 640 ล้านบาทแล้ว และล่าสุดคือการจัดงาน"อ่านกันสนั่นเมือง"ช่วงวันที่21-23 เม.ย. ที่ผ่านมา ใช้เงินไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท และเฉพาะนิทรรศการ 35 ปีซีไรต์ ใช้งบไปถึง 12 ล้านบาท ว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น