วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาพสะท้อน ทุนนิยมสำเร็จรูป กับ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 หรือยุค 3G โลกก็เปลี่ยนโฉมหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ดาวเทียม เครื่องมือสื่อสารไม่ได้มีเพียงแต่โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปอีกต่อไปแล้ว ยังมีแท็บเล็ต กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ก็มีการพัฒนาเป็นทีวีดิจิตอล อินเตอร์เน็ตทีวี โรงภาพยนตร์ก็มีแบบดิจิตอล I-Max ,3มิติ,4มิติ และในอนาคตอีกมากมาย สุดที่จะคาดเดา โลกทุกวันนี้แข่งกันที่ความเร็วของข้อมูล, ความทันต่อเวลา หรือ realtime, แคร์ต่อการปฏิสัมพันธ์ร่วมกันแบบที่เรียกว่า (social network,web board) ,แคร์ต่อปฏิกิริยาตอบสนองแบบทันท่วงที (feedback,reality) ,แคร์ต่อการบอกต่อหรือแสดงทัศนะต่อกัน (share file,clip,picture,wording,feeling) ,ต้องการการแสดงออกให้คนบนโลกนี้รู้ว่าเราทำอะไร (youtube,ig,facebook,line) การลอกเลียน ขโมยไอเดีย ทำตามแบบอย่างคนที่เราชอบ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ไม่ใช่สิ่งผิด (copy,download,share,hack,cover) เราจึงเห็นพฤติกรรมประเภทชอบโหลดบิท,ซื้อซีดี,ดีวีดีผี,ติดเคเบิ้ลทีวีเถื่อนกันมากมาย ซึ่งก็เป็นตัวทำลายอุตสาหกรรมบันเทิงทางอ้อมไปในตัว

ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่พัฒนาไปแบบก้าวกระโดด ในขณะที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ได้อานิสงส์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านกระบวนการการผลิต อุปกรณ์การผลิต ถ่ายทำ ตัดต่อ ลำดับภาพ ถ่ายภาพ บันทึกเสียง แม้กระทั่งการทำเทคนิคด้านภาพหรือที่เรียกว่า CG ก็พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดมาก จะเห็นได้จากหนัง Box Office เรื่องดังๆ โปรแกรมใหญ่ๆ ทุกเรื่องของฮอลลีวู้ดนั้น มีองค์ประกอบของ CG ทุกเรื่อง มากน้อยตามแต่โปรดักชั่นและเนื้อหาแทบทุกเรื่อง ทำให้ภาพยนตร์ในยุคหลังๆ แข่งกันมากในเรื่อง CG,โปรดักชั่น ฉาก อลังการงานสร้าง นั่นทำให้ไปลดทอนองค์ประกอบที่สำคัญซึ่งเป็นหัวใจลงไปนั่นก็คือ เรื่องของเนื้อหา หรือบทภาพยนตร์ ถามว่าจะบาลานซ์ 2 ส่วนสำคัญนี้ได้อย่างลงตัวกลมกล่อม หรือให้น้ำหนักที่สมดุลหรือไม่มากไม่น้อยไปกว่ากันได้หรือไม่ ผู้เขียนคิดว่าในปีๆ นึง จะมีหนังที่ประสบความสำเร็จได้รับคำชมทั้ง 2 ส่วนคือด้านโปรดักชั่นและบท ไปพร้อมๆ กัน มีเพียงไม่กี่เรื่อง คือสัดส่วนน้อยมาก อัตราส่วนใน 10 เรื่องอาจมีเพียง 1 เรื่องเท่านั้นที่ทำได้ เหตุก็เพราะความสามารถของผู้กำกับและทีมเขียนบททำงานได้อย่างเข้าขา และเข้าอกเข้าใจกันมากน้อยเพียงใด หนังบางเรื่องผู้กำกับถนัดแต่ในทางด้านโปรดักชั่น บทจะอ่อนยวบและแทบไม่เน้นเนื้อหาเลยก็เป็นได้ แต่ในขณะที่ผู้กำกับที่เขียนบทเองได้ เก่งในทางเล่าเรื่องเนื้อหา ก็อาจไม่ถนัดด้านงานสร้างหรือโปรดักชั่นอ่อน หรืออาจจะไม่มีทุน ไม่มีนายทุนสนับสนุน ทำให้ผลิตงานออกมาได้ไม่สมบูรณ์ ไม่น่าสนใจก็เป็นได้


 
ด้านนายทุนหรือผู้กุมชะตากรรมด้านเงินลงทุน จะมีอุปนิสัยคล้ายๆ กันทั้งโลก นั่นก็คือมองไปที่ความคุ้มค่าด้านการลงทุน มองผลประโยชน์ที่จะได้รับ มองด้านรายได้ของหนัง มองแต่หนังสูตรสำเร็จ มองไปที่ความสำเร็จเดิมๆ เช่น หนังภาคต่อที่ขายได้ ไม่ชอบความเสี่ยง ไม่นิยมตลาดที่คาดเดาได้ยาก ไม่นิยมทุ่มงบประมาณจำนวนมากไปให้คนที่ไม่มีเครดิตอะไรมาก่อน นิยมเดินตามความสำเร็จของคนอื่นที่มีมาก่อน แนวทางไหนที่เคยทำสำเร็จจะทุ่มให้กับแนวทางนั้นอีกแบบไม่อั้น ไม่ยอมสรุปบทเรียนใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้สร้างความหายนะให้กับตนเองอย่างมโหฬาร

สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการทำลายอุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยภาพรวม และโดยเฉพาะหนังทุนต่ำ/หนังทางเลือก
1.การโหลดบิท/ซีดี,ดีวีดีเถื่อน/ดูจากอินเตอร์เน็ต(ยูทูป) ซึ่งเป็นส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภค
2.รัฐไม่สนับสนุน/นายทุนไม่สนใจ ซึ่งเป็นส่วนของผู้ผลิต
3.ระบบโรงฉาย ที่ให้จำนวนโรงแก่หนังฟอร์มใหญ่,การลดจำนวนรอบสำหรับหนังไม่ทำเงินรวมถึงการยืนระยะจำนวนวันของหนังที่ฉายในโรงที่มีอายุขัยที่สั้นมากในปัจจุบัน,ตั๋วหนังราคาแพงรวมถึงการยัดเยียดโฆษณาจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนของผู้ประกอบการ

สรุปความสำเร็จของหนัง Box Ofiice ฮอลลีวู้ด จากสตูดิโอใหญ่ๆ ในปี 2010

สตูดิโอ                 หนังทำเงิน/สร้างชื่อ              หนังไม่ทำเงินมากแต่ไม่ถึงกับเจ๊ง             หนังทำเจ๊ง/โดนสับเละ

1.วอร์เนอร์      Inception,Harry Potter and the Deathly Hallows Part 1            

                                                                Clash of the Titans, Valentine’s Day

2.พาราเมาต์    Iron Man 2,Shrek Forever After                                                          The Last Airbender

                   How to Train Your Dragon,Megamind     Shutter Island,Jackass 3D        

3.ดิสนีย์         Toy Story 3,Alice in Wonderland              Tangled                                Tron Legacy

4.ฟ็อกซ์          Avatar  

4.ซัมมิต         Twilight Saga: Eclipse

5.โซนี่           The Karate Kid,Grown Ups              The Other Guys, Salt                      The Tourist

สรุปความสำเร็จของหนัง Box Ofiice ฮอลลีวู้ด จากสตูดิโอใหญ่ๆ ในปี 2011

สตูดิโอ                 หนังทำเงิน/สร้างชื่อ              หนังไม่ทำเงินมากแต่ไม่ถึงกับเจ๊ง             หนังทำเจ๊ง/โดนสับเละ

1.วอร์เนอร์      Harry Potter                     The Hangover 2,Sherlock Holmes                 Green Lantern

2.พาราเมาต์    Tranformers: Dark of the Moon         Kung Fu Panda 2,Thor,                       Super 8

                                                       Puss in Boots,Mission Impossible: Ghost Protocal            

                                           Captain America:The First Avenger,The Advenger of Tintin

3.ดิสนีย์       Pirates of the Caribbean: On Stranger Tides,Car 2,Real Steel,The Help              Gnomeo & Juliet

4.ซัมมิต       The Twilight Saga: Breaking Dawn Part 1

                                                The Three Musketeers(2011),Source Code

5.ยูนิเวอร์แซล   Fast Five                        Bridesmaids, Hop                                              Cowboys &  Aliens

5.โซนี่             The Smurfs                   The Green Hornet,Bad Teacher                            Jack & Jill

สรุปความสำเร็จของหนัง Box Ofiice ฮอลลีวู้ด จากสตูดิโอใหญ่ๆ ในปี 2012

สตูดิโอ                 หนังทำเงิน/สร้างชื่อ              หนังไม่ทำเงินมากแต่ไม่ถึงกับเจ๊ง             หนังทำเจ๊ง/โดนสับเละ

1.โซนี่           The Amazing Spider-man,Men in Black 3,Skyfall                                    Total Recall

2.วอร์เนอร์      The Dark Knight Rises,Argo        The Hobbit:An Unexpected Journey      The Dark Shadows

3.ดิสนีย์         Marvel’s The Avengers,Brave       Lincoln                                              John Carter

4.ยูนิเวอร์แซล   Ted,The Lorax                American Reunion,Les Miserables                  Battleship

5.ไลอ้อนเกต    Twilight Saga:Breaking Dawn Part 2, The Hunger Games,The Expendables 2

ปี 2013 นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน มิ.ย.2013 มีหนังฮอลลีวู้ด Box Office ฟอร์มใหญ่เรื่องใดรุ่ง เรื่องใดร่วงกันบ้าง

หนังที่มีแววรุ่ง คือเก็บรายได้เป็นกอบเป็นกำ และมีอนาคตสร้างภาคต่อหรือเป็นที่พอใจของสตูดิโอ ส่วนหนังที่มีแววร่วง คือเก็บรายได้ไม่ค่อยดีนัก และไม่มีอนาคตในการสร้างภาคต่อหรือตัวหนังไม่เป็นที่พอใจของสตูดิโอและคนดู

สตูดิโอ                       หนังรุ่ง                                                      หนังร่วง

                    Hansel and Gretel:Witch Hunters                     The Man with The Iron Fists,Parker

                  Warm Bodies,Les Miserables,Zero Dark Thirty     The Last Stand,Killing Them Softly

                    Silver Linings Playbook,Flight,The Host          Beautiful Creatures, Jack the Giant Slayer

                OZ : The Great and Powerful,Django Unchained      Broken City,Stoker,Side Effect,Evil Dead

              G.I.Joe :Retaliation,Oblivion,Iron Man 3             Scary Movie 5,Safe Haven, Movie 43,Epic

            StarTrek:Into the Darkness,The Great Gatsby             After Earth

            Fast and Furious 6,The Hangover 3,Man of Steel

            Now You See Me, World War Z, Kick-Ass 2 

มองอนาคตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดถึงกาลล่มสลาย โดย 2 กูรูผู้ยิ่งใหญ่วงการภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด


เอเอฟพี - สปีลเบิร์กและ จอร์จ ลูคัสเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี, ปัญหาทุนหนังเฟ้อ, ราคาตั๋ว และนโยบายของสตูดิโอ อาจทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เข้าสู่ภาวะใกล้ล่มสลาย ที่จะเหลือหนังให้ดูกันไม่กี่แบบ และราคาค่าตั๋วก็จะพุ่งขึ้นไปอีก ส่วนงานที่มีเนื้อหาแตกต่างคงต้องไปหาช่องทางในการเผยแพร่ทางโทรทัศน์แทน

ผู้กำกับระดับตำนานฮอลลีวูดสตีเวน สปีลเบิร์กและ จอร์จ ลูคัสได้แสดงความเห็นที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั้งวงการ ด้วยการกล่าวเตือนผู้คนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ว่าด้วยปัญหาทุนสร้างเฟ้อ กำลังจะทำให้วงการหนังมีโอกาสที่จะพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งอย่างโทรทัศน์ และเคเบิลทีวี อาจจะพูดได้ว่าวงการภาพยนตร์กำลังอยู่ในช่วงของการล่มสลายแล้วในตอนนี้

สปีลเบิร์ก เจ้าของหนัง E.T. และผลงานอมตะอีกมากมายเปิดเผยว่าผลงานเรื่องที่แล้วของเขาอย่าง Lincoln เกือบจะถึงขั้นไม่ได้เข้าโรงภาพยนตร์ เพราะความเปลี่ยนแปลงไปของวงการภาพยนตร์ในระยะหลัง ส่วน ลูคัส เจ้าของตำนาน Star Wars ก็แสดงความเห็นว่าถึงตอนนี้การสร้างหนังเพื่อฉายในโรงหนังทำได้ยากขึ้นทุกที

โดยหนึ่งในปัจจัยแห่งความเปลี่ยนแปลงของวงการหนัง ก็คือโครงสร้างของเรื่องราคาตั๋ว ที่ตอนนี้หนังฟอร์มใหญ่อย่าง Iron Man และ Man of Steel จะมาพร้อมด้วยการฉายในระบบสามมิติ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้สร้างขายตั๋วด้วยราคาแพงถึง 25 เหรียญฯ ตรงข้ามกับหนังดรามาเข้มข้นว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองอย่าง Lincoln ที่ไม่ได้มีอะไรหวือวา ที่ขายตั๋วด้วยราคาเพียง 8 เหรียญฯ เท่านั้น ซึ่งกลายเป็นว่าตอนนี้วงการหนังได้นำระบบเดียวกับละครบรอดเวย์มาใช้ ที่หนังบางเรื่องมีราคาตั๋วสูงกว่า และได้โอกาสยืนโรงนานกว่ามาก

ที่แล้วมาถือเป็นเรื่องปกติของวงการภาพยนตร์สหรัฐฯ หรือฮอลลีวูด ที่สตูดิโอผู้ผลิตหนังรายใหญ่พยายามการันตีความสำเร็จให้งานด้วยการใช้ดาราชื่อดัง หรือ สร้างหนังภาคต่อจากงานที่เคยประสบความสำเร็จไปแล้ว

แต่ความเปลี่ยนแปลงในระยะหลังไม่ได้เป็นผลโดยตรงของวงการหนังอีกแล้ว หากแต่เป็นความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจบันเทิงโดยเฉพาะการชมภาพยนตร์ภายในบ้าน ที่กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนยุคของ DVD ไปสู่ BluRay และล่าสุดก็คือระบบการซื้อหนังจากบริการทางอินเตอร์เน็ตทั้งในแบบถูกต้องตามกฎหมาย และการลับลอบโหลดหนังแบบผิดกฎหมาย ที่เป็นปัญหาของฮอลลีวูดมาหลายปี และดูเหมือนว่าจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย

โดยในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งจัดขึ้นที่ วิทยาลัย School of Cinematic Arts ของ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย สปีลเบิร์ก กล่าวกับนักศึกษาที่เป็นคนทำหนังรุ่นต่อไปว่าความคิดใหม่ ๆ ที่พวกเขาพยายามทำกันอยู่อาจจะสุดโต่งเกินไปแล้วสำหรับหนังในยุคนี้

นี่คือเรื่องอันตรายมาก และอาจจะกำลังกลายเป็นการล่มสลาย หรือการสลายตัวครั้งใหญ่สปีลเบิร์ก กล่าวกับผู้สื่อข่าวของ The Hollywood Reporter

เขายังกล่าวต่อไปว่าพวกคุณกำลังอยู่ในจุดที่สตูดิโอคงอยากจะลงทุนเงิน 250 ล้านเหรียญฯ ไปกับหนังเรื่องหนึ่งที่มีโอกาสประสบความสำเร็จใหญ่โตจริงๆ ... มากกว่าการสร้างหนังที่น่าสนใจ เป็นงานส่วนตัวอันลึกซึ้ง
ยอดผู้กำกับแห่งฮอลลีวูดทำนายว่าในอนาคตอันใกล้จะมีหนังทุนสร้างสูงๆ ล้มเหลวให้เห็นอีก 3-4 เรื่อง และอาจจะถึง 6 เรื่องเลยทีเดียว ซึ่งนั่นจะมีผลไปถึงความเปลี่ยนแปลงของฮอลลีวูดอีกครั้ง

ลูคัส แห่งตำนาน Star Wars ก็สำทับว่า มันจะลงเอยด้วยการมีโรงหนังน้อยลง เหลือแต่โรงประเภทใหญ่ๆ ที่มีของเจ๋งๆ เยอะๆ การไปดูหนังอาจจะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เงินระดับ 50, 100 หรือ 150 เหรียญฯ เหมือนกับการไปดูละครบรอดเวย์ หรือฟุตบอลอะไรแบบนั้น ... ผมคิดว่าหนังแบบ Lincolns จะไม่มีอีกแล้ว และอาจจะไปโผล่ในจอโทรทัศน์แทน

ซึ่ง สปีลเบิร์ก ก็ยอมรับว่า ลูคัส พูดถูกเพราะ Lincoln เกือบไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์ และเกือบลงเอยต้องเป็นหนังฉายทางโทรทัศน์อย่างที่ว่าจริงๆมันใกล้เคียงจะเป็นแบบนั้นมาก ถาม HBO ดูได้ ใกล้จริงๆ

ลูคัส อธิบายต่อไปว่า ยุคนี้งานอย่าง Lincoln และ Red Tails (หนังปี 2012 ที่เขาเป็นผู้สร้าง) เป็นภาพยนตร์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักในการผลักดันให้สามารถฉายในโรงภาพยนตร์ เขาพูดถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นยุคที่แม้แต่คนอย่าง สตีเวน สปีลเบิร์ก และ จอร์จ ลูคัส "ก็ไม่สามารถพาหนังของตัวเองให้เข้าฉายในโรงได้แน่นอนอีกแล้ว

ซึ่งแนวโน้มแบบนี้ มีผลโดยตรงต่อภาพยนตร์ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างจะสุดโต่ง โดยเฉพาะจากฝั่งผู้สร้างกระแสหลัก ซึ่งต้องการทำหนังเพื่อฉายในวงการ ที่ตอนนี้เนื้อหาของหนังบางประเภทไม่สามารถเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ได้อีกแล้ว กรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดก็คือ Behind the Candelabra หนังเกย์ที่มีดาราระดับ ไมเคิล ดักลาส และ แม็ต เดมอน ที่ต้องออกเผยแพร่ทาง HBO แทนที่จะเป็นโรงภาพยนตร์

Behind the Candelabra ผลงานของ สตีเวน โซเดอร์เบิร์ก ที่เล่าเรื่องนักดนตรีเกย์ผู้โด่งดัง และหนุ่มคนรักรุ่นลูก เป็นงานเกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งเชื่อกันว่าสตูดิโอใหญ่ในฮอลลีวูดไม่ต้องการที่จะแตะต้อง จนผู้กำกับอย่าง โซเดอร์เบิร์ก ที่เคยคว้าออสการ์มาแล้ว ต้องไปพึ่งแหล่งเงินทุนจากสถานีเคเบิลดัง HBO จนสามารเข็นหนังออกมาได้ แต่ผลงานเรื่องนี้จะไม่มีโอกาสได้ลุ้นรางวัลออสการ์ในต้นปีหน้า เพราะหนังไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์นั่นเอง

ถึงปัจจุบันหนังทุนสร้าง 250 ล้านเหรียญฯ คือมาตรฐานธรรมดาของหนังทุนสูงในฮอลลีวูดยุคนี้ไปแล้ว และในเวลาเดียวกัน ในทุกปีก็จะมีหนังที่ลงทุนสูงระดับนี้ล้มเหลวให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ อย่างปีก่อนที่ John Carter ทำให้ Disney เจ๊งยับจนผู้บริหารระดับสูงต้องลาออกไปพร้อมๆ กับผลขาดทุนที่ประเมินกันว่าสูงถึง 200 ล้านเหรียญฯ

ส่วนในปีนี้ After Earth ผลงานเรื่องใหม่ของนักแสดงแถวหน้า วิล สมิธ ก็เปิดตัวอย่างน่าผิดหวังเก็บเงินใน 3 วันแรกแค่ 27.5 ล้านเหรียญฯ จากทุนสร้างสูงถึง 130 ล้านเหรียญฯ เป็นงานที่เรียกได้ว่าล้มเหลวที่สุดในรอบ 20 ปีของ สมิธ เลยทีเดียว

สถานการณ์ภาพยนตร์ไทยและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยก็อยู่ในอาการวูบหรือขาลงในช่วง 2-3 ปีมานี้

สรุปความสำเร็จของหนังไทย จากสตูดิโอใหญ่ๆ ในปี 2010

สตูดิโอ                 หนังทำเงิน/สร้างชื่อ              หนังไม่ทำเงินมากแต่ไม่ถึงกับเจ๊ง             หนังทำเจ๊ง/โดนสับเละ

1.จีทีเอช               กวนมึนโฮ                          บ้านฉัน...ตลกไว้ก่อน (พ่อสอนไว้)

2.เอ็ม 39              32 ธันวา                           

3.สหมงคลฟิล์ม      สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่ารัก,สะระแนสิบล้อ,ตุ๊กกี้ เจ้าหญิงขายกบ                         โป๊ะแตก, องค์บาก 3

                                                                 ชั่วฟ้าดินสลาย,นาคปรก          

4.เอ็มพิคเจอร์        ผู้ชายลัลล้า                       

5.พระนครฟิล์ม      หลวงพี่เท่ง 3                      ตายโหง                                         กองพันครึกครื้น ท.ทหารคึกคัก

สรุปความสำเร็จของหนังไทย จากสตูดิโอใหญ่ๆ ในปี 2011

สตูดิโอ                 หนังทำเงิน/สร้างชื่อ              หนังไม่ทำเงินมากแต่ไม่ถึงกับเจ๊ง             หนังทำเจ๊ง/โดนสับเละ

1.สหมงคลฟิล์ม       ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 :ยุทธหัตถี                        จั๊กกะแหล๋น,ชิปหาย,ก้านคอกัด

                           ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4 :ศึกนันทบุเรง

                           30+โสด on Sale,  เท่งโหน่ง จีวรบิน ,สาระแน เห็นผี,หลุด 4 หลุด

                                                                       พุ่มพวง,อุโมงค์ผาเมือง
                                                                                   

2.เอ็ม 39          สุดเขตสเลดเป็ด,30 กำลังแจ๋ว                เลิฟจุลินทรีย์ รักมันใหญ่มาก

3.จีทีเอช           ลัดดาแลนด์,Suck Seed ห่วยขั้นเทพ          Top Secret วัยรุ่นพันล้าน

4.พระนครฟิล์ม                                                          หอแต๋วแตก แหวกชิมิ,เหลือแหล่    

5.ไฟว์สตาร์                                                                                                                   ฮาศาสตร์
5.เอ็มพิคเจอร์                                                            รักตะลอนออนเดอะบีช
                                                     
สรุปความสำเร็จของหนังไทย จากสตูดิโอใหญ่ๆ ในปี 2012

สตูดิโอ                 หนังทำเงิน/สร้างชื่อ              หนังไม่ทำเงินมากแต่ไม่ถึงกับเจ๊ง             หนังทำเจ๊ง/โดนสับเละ

1.จีทีเอช          ATM เออรักเออเร่อ,รัก 7 ปี ดี 7 หน

2.เอ็ม 39         ส.ค.ส สวีทตี้,วาเลนไทน์ สวีทตี้       I Miss U รักฉัน อย่าคิดถึงฉัน,สาระแน โอเซกไก

3.สหมงคลฟิล์ม                                 คนโขน,ยักษ์,จันดารา ปฐมบท,ยอดมนุษย์เงินเดือน        สูบคู่กู้โลก,ปัญญาเรณู 3:รูปู รูปี,รักสุดทีน
                                      คืนวันเสาร์ถึงเช้าวันจันทร์,อันธพาล,Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ,ชัมบาลา

4.ไฟว์สตาร์                                                    ตีสาม (3D),407 เที่ยวบินผี

5.พระนครฟิล์ม                              หมาแก่อันตราย,มึงกู เพื่อนกันจนวันตาย                  หอแต๋วแตก แหกมว๊ากมว๊าก

5.เอ็มพิคเจอร์และค่ายหนังอิสระ           It Gets Better ไม่ได้ขอให้มารัก,My Only Own แต่เพียงผู้เดียว,yes or no 2   Fighting Fish ดุ ดวล ดิบ

ปี 2013 นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน มิ.ย.2013 มีหนังไทยเข้าฉาย เรื่องใดรุ่ง เรื่องใดร่วงกันบ้าง

หนังที่มีแววรุ่ง คือเก็บรายได้เป็นกอบเป็นกำ หรือได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ เป็นที่พอใจของค่ายหนัง ส่วนหนังที่มีแววร่วง คือเก็บรายได้ไม่ค่อยดีนัก เข้าขั้นขาดทุน ตัวหนังยังไม่เป็นที่พอใจของค่ายหนังและคนดู

สตูดิโอ/ค่ายหนัง                        หนังรุ่ง                                                      หนังร่วง

1.จีทีเอช                                 พี่มาก..พระโขนง                                          เคาน์ดาวน์

2.เอ็ม 39                                 คุณนายโฮ                                                คู่กรรม (2013)

3.สหมงคลฟิล์ม                       จันดารา ปัจฉิมบท,นางฟ้า,เกรียนฟิคชั่น               ฤดูที่ฉันเหงา

4.ค่ายหนังอิสระอื่นๆ                  ทองสุก 13,ประชาธิปไทย,เธอ เขา เรา ผี     เมนูของพ่อ,หล่อลากไส้,มหัศจรรย์รัก 

                                             เซ็นเซอร์ต้องตาย,ปิตุภูมิ                          Choice คู่ซี้ดีแต่ฝัน,ยังบาว          
   
หมายเหตุ  สำหรับปีนี้ ถ้าไม่นับเรื่องพี่มาก.พระโขนง หนังไทยส่วนใหญ่อยู่ในอาการทรงกับทรุด คือยังไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดเก็บรายได้เป็นกอบเป็นกำ คงต้องรอครึ่งปีหลังที่จะมีหนังฟอร์มใหญ่อย่างตำนานสมเด็จพระนเรศวร ภาคจบ และเรื่องต้มยำกุ้ง ซึ่งก็ยังไม่สามารถคาดคะเนรายได้ว่าจะมากแบบถล่มทลายเหมือนพี่มาก..พระโขนง ได้หรือไม่ อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองช่วงครึ่งหลังของปี อาจเป็นตัวฉุดรั้งบรรยากาศและกำลังซื้อที่เกี่ยวเนื่องเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังอีกด้วย
                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น