วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทฤษฏีการสร้างกระแสแบบ ต้องมนต์สะกด,ทำพฤติกรรมแรงๆ,ค้านสายตา,ฉีกกรอบสังคม(ทำลายสังคม)

ทฤษฏีการสร้างกระแสแบบ ต้องมนต์สะกด,ทำพฤติกรรมแรงๆ,ค้านสายตา,ฉีกกรอบสังคม(ทำลายสังคม) ให้คนวิพากษ์วิจารณ์เป็นงานของเรา เพื่อสร้างกระแสเรตติ้งให้ตัวเอง หรือกลุ่มก๊วน องค์กร หรือต้นสังกัดของตนเอง  อันนี้ต้องทำควบคู่ไปกับการอาศัยช่องทางสื่อสารมวลชน หรือโซเชียลมีเดียร่วมด้วย หาไม่แล้วก็ไม่มีใครสนใจคุณ หรือสร้างกระแสได้แค่วงแคบๆ ไม่ดังในวงกว้างหรือเพียงชั่วครู่ชั่วยามก็หายไป เราขอยกตัวอย่างในกรณีของการสร้างกระแสแบบต่างๆ ดังนี้

1.ทฤษฎีการสร้างกระแสแบบต้องมนต์สะกด อันนี้ทั้งผู้สร้างกระแสและผู้รับกระแสจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วย ที่เรียกว่า สป๊าคกัน และต้องมีความรู้สึกร่วมด้วย เช่น ฟิน มโนกันไป หาไม่แล้วก็ไม่เกิดกระแส เช่น ปรากฏการณ์ที่เกิดกับดาราน้องใหม่อย่าง น้องเจมส์ จิรายุ ตั้งศรีสุข หรือคุณชายหมอพุฒิภัทร แห่งละครสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ซึ่งดังชั่วข้ามคืน จากความหล่อ น่ารัก ใสๆ จนเกิดปรากฏการณ์ต้องมนต์สะกดของน้องเขา ทำให้กลายเป็นพระเอกดาวรุ่งเบอร์ 1 ขึ้นมาทันที ทั้งที่เพิ่งเล่นละครเรื่องแรก และฉายได้เพียงไม่กี่ตอนเท่านั้น จนเกิดกระแส talk of the town ไปทั่วทุกวงการ,บรรดาหมอดูชื่อดังต่างๆ สร้างกลยุทธ์จุดขายต่างๆ เพื่อเรียกกระแสให้ตนเองและทำให้ค่าตัวตนเองสูงขึ้น เช่น ริว จิตสัมผัส, เจน ญาณทิพย์,หมอดูไพ่กาลามสูตรที่ดูดวงโดยให้ผู้ดูต้องแก้ผ้าเปลือยสัดส่วน ฯลฯ

2.ทฤษฏีการสร้างกระแสแบบทำพฤติกรรมแรงๆ โดยที่พฤติกรรมนั้นอาจจะไม่ใช่พฤติกรรมที่ชั่วร้าย เลวทราม หรือหยาบคายอะไรก็ได้ แต่อาจเป็นพฤติกรรมที่เป็นบุคลิก เอกลักษณ์ส่วนตัว หรือเป็นการสร้างคาแรกเตอร์ส่วนตัวขึ้นมาเพื่อให้คนจดจำก็เป็นไปได้ เรารวมเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "แรง" ก็แล้วกัน  ถามว่าคนทำเขารู้ตัวมั๊ย 100 ทั้งร้อยรู้ตัว และตั้งใจทำอยู่แล้ว เพราะเป็น 1 ในทฤษฏีการสร้างกระแสของเขาไง เราขอยกตัวอย่าง เช่น  เสกโลโซ,แอ๊ด คาราบาว ฟาดกีต้าร์ของตนกับพื้น ในงานคอนเสิร์ตของตน เนื่องจากเป็นฟิล หรือเป็นอารมณ์โกรธชั่ววูบเพราะไม่พอใจอะไรบางอย่างก็เป็นได้ , กรณีใบเตยอาร์สยามชอบเต้นหรือแต่งตัวเซ็กซี่ จนได้ฉายา "สั้นเสมอหู" มาแล้ว,กรณี ลีน่าจัง ที่สร้างกระแสด้วยการวิพากษ์วิจารณ์คนดัง ดาราต่างๆ ในรายการของตนอย่างรุนแรงเพื่อเรียกเรตติ้งช่องเคเบิ้ลของตนเอง

 
 
 

3.ทฤษฏีการสร้างกระแสแบบค้านสายตาประชาชน หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควร หรือใช้คำพูดไม่เหมาะไม่ควร โดยที่ประชาชนคนดูซึ่งเป็นผู้ตัดสินนั้น ไม่เห็นด้วยกับผู้สร้างกระแสนั้น โดยที่ผู้สร้างกระแสนั้นอาจตั้งใจ จงใจ หรือเจตนาหรือไม่ก็ได้ แต่มหาชนคนส่วนใหญ่เขาไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินนั้นที่เรียกว่า "ค้านสายตา" คนดูนั่นเอง กรณีที่เกิดกับ ผู้เข้าร่วมแข่งขันรายการ Thailand Got Talent น้องสิทธัตถะ เอ็มเมอรัล กับคณะกรรมการในรายการทั้ง 3 ท่าน กระแสคนดูที่ต่อต้าน ตำหนิเจ้าของรายการคือเวิรค์พ้อยท์ และเจ้าของสถานีคือช่อง 3 จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง, กรณีรายการปากโป้ง เชิญคนเป็นออทิสติกที่ถูกข่มขืนมาสัมภาษณ์ และโดน กสทช.สั่งแบนรายการ

 
 

4.ทฤษฏีการสร้างกระแสแบบฉีกกรอบสังคม(หรือทำลายสังคม) กรณีของคู่จิ้นต่างๆ ในโลกออนไลน์ เช่น ชายรักชาย หญิงรักหญิง แต่ที่ดูเหมือนเป็นกระแสจริงๆ คือคู่ชายรักชาย ที่มีมากมายโดยเริ่มจากการแชร์กันในกลุ่มของตนก่อน จากนั้นจึงมีคนนำออกไปเผยแพร่ต่อทั้งในโซเชียลเน็ตเวิร์ค , เป็นคลิปลงยูทูป และไปออกรายการทีวีต่างๆ จนล่าสุดมีการนำชีวิตจริงไปสร้างเป็นภาพยนตร์กันแล้ว ,หรือกรณีแก๊งค์เด็กแว๊นในเชียงใหม่ เปลือยกายขี่รถผาดโผนอวดโชว์กันกลางเมือง รวมถึงแก๊งค์กระเทย พระตุ๊ด เณรแต๋ว ทำอนาจารในรูปแบบต่างๆ ,การถ่ายคลิปให้เด็กดมยาเค ,แก๊งค์คู่อริ ค้ายา อย่างเน วัดดาว และแก๊งคู่อริ ตอบโต้กันในโลกออนไลน์ ยูทูป

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น