มุมมองตรรกกะ(ความสมเหตุสมผล)ของผู้ประกอบการ(ผู้บริหารประเทศ)มักจะสวนทางกับตรรกะของผู้บริโภค(ประชาชน) เสมอ
เช่น ประเด็น สินค้าแพง
มุมมองของผู้บริโภค (ประชาชน) ราคาสินค้าหมวดอาหารขึ้นราคาตามใจ, ค่าครองชีพสูงขึ้นมากมุมมองของผู้ประกอบการ (ผู้บริหารประเทศ) คิดไปเองหรือเปล่า, ก็สินค้าไม่ได้ปรับราคามานานแล้ว
เช่น ประเด็น ต้นทุนพลังงาน (แก๊ส,น้ำมัน)
ที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
มุมมองของผู้บริโภค (ประชาชน) ทำไมราคาแก๊ส,น้ำมันขึ้นเอาๆ ในเมื่อราคาตลาดโลกลดลงมามากแล้ว
จากจุดสูงสุดที่เคยขึ้นไปถึง 140
เหรียญ ลงมาถัวเฉลี่ยอยู่ราว ๆ 80-90 เหรียญ
กว่า 3 ปีแล้ว แต่ทำไมราคาน้ำมันในบ้านเราแทบไม่ลดลงเลย
อยู่ราว 37-40 บาท/ลิตร เมื่อ 3
ปีที่แล้วยังไง ก็ยังอยู่อย่างนั้น เวลาขึ้นขึ้นทีละ .50-1 บาทโดยทันทีที่ตลาดโลกขึ้น แต่เวลาลงจะชะลอไป 3-4 วัน
และปรับลดลงครั้งละ 0.25-0.30 บาท เต็มที่ ก็ประมาณ
0.50 บาท ในสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมเลย
มุมมองของผู้ประกอบการ
(ผู้บริหารประเทศ)
เพราะเราต้องนำเข้ามาในต้นทุนราคาตลาดโลก(สิงคโปร์) หรือ
เราต้องจ่ายเข้ากองทุนพยุงราคาน้ำมันที่ยังติดลบอยู่ (ทั้งกะปีทั้งกะชาติ)
เช่น
ประเด็นที่รัฐบาลต้องตั้งเงินงบประมาณ 3.5
แสนล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำท่วม
มุมมองของผู้บริโภค (ประชาชน) ทำไมรัฐบาลต้องตั้งงบไว้ก่อน และตั้งไว้สูง
ในขณะที่ยังไม่มีแผนการอะไรเลย แล้วพอหน่วยงานที่มาศึกษาเรื่องน้ำอย่างดี เช่น JICA ทักท้วงก็ไม่ฟังเขา ซึ่งเขามีประสบการณ์มากกว่า
อีกทั้งยังมีแผนงานที่ชัดเจนว่าจะใช้งบประมาณที่น้อยกว่ารัฐบาลตั้งไว้
แต่รัฐก็ไม่เอา
อีกทั้งมีการล็อคสเป็คการประมูลไว้เพื่อเอื้อให้แก่ผู้รับสัมปทานงานที่เป็นกลุ่มทุนต่างชาติล้วน
จนบ.ทีมไทยแลนด์ต้องขอถอนตัวหรือขอบาย
มุมมองของผู้ประกอบการ
(ผู้บริหารประเทศ) เราตั้งวงเงินงบประมาณไว้เพื่อเหลือดีกว่าเผื่อขาด อีกทั้งเรายังมีแผนงานรองรับไว้แล้ว
แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ หากไม่ทำในวงเงินนี้ คือ 3.5 แสนล้านบาท
เกรงว่าแผนป้องกันน้ำท่วมอาจไม่เสร็จสมบูรณ์แบบบูรณาการ ตามที่รัฐบาลได้เตรียมไว้
ถึงตอนนั้นความเสียหายใครจะรับผิดชอบ
(มีหางเสียงแบบขู่สำทับด้วย)
เช่น
ประเด็นการตั้งเงินงบประมาณ 2.2
ล้านล้านบาท เพื่อใช้ในการวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่ง 1
ในนั้นก็คือ การสร้างรถไฟความเร็วสูง ไปเชียงใหม่ ,โคราช ,หัวหิน
มุมมองของผู้บริโภค (ประชาชน)
ทำไมรัฐบาลจะต้องสร้างหนี้ผูกพันระยะยาวขนาดนั้น
และมีความสำคัญจำเป็นขนาดไหนกัน ที่ประเทศเราต้องมีรถไฟความเร็วสูง จริงๆ
รถไฟรางคู่ทั่วประเทศคือสิ่งจำเป็นมากกว่า
แต่รัฐบาลเลือกที่จะให้ความสำคัญเป็นอันดับรองลงไป
มุมมองของผู้ประกอบการ
(ผู้บริหารประเทศ) สิ่งที่ทำให้รัฐต้องตั้งงบประมาณถึง 2.2 ล้านล้านบาท เป็นงบผูกพันระยะยาว
เพราะประเทศเราขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแบบอภิมหาโปรเจ็คท์มานานแล้ว
ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง
หากไม่รีบเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญรองรับไว้ เกรงว่าเมื่อเปิด AEC
ในอีก 3 ปีข้างหน้า เราจะเป็นประเทศที่ล้าหลัง
และสู้คู่แข่งไม่ได้ อีกทั้งไม่สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้
ทีนี้มาดูงบการเงินของบริษัท
ปตท.จก.(มหาชน) กันว่า มันสะท้อนความจริงอะไรบ้างต่อคนไทยทั้งประเทศ มาดูกัน
(หน่วย: ล้านบาท)
|
|||||
งวดงบการเงินบมจ.PTT ณ วันที่ |
งบปี 52
31/12/2552 |
งบปี 53
31/12/2553 |
งบปี 54
31/12/2554 |
งบปี 55
31/12/2555 |
|
บัญชีทางการเงินที่สำคัญ
|
|||||
สินทรัพย์รวม
|
1,103,589.72
|
1,249,147.52
|
1,402,412.09
|
1,631,319.94
|
|
หนี้สินรวม
|
605,499.13
|
677,834.94
|
758,463.52
|
899,655.89
|
|
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
429,179.94
|
490,925.05
|
555,920.21
|
605,783.87
|
|
มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว
|
28,337.85
|
28,490.42
|
28,563.00
|
28,563.00
|
|
รายได้รวม
|
1,622,078.05
|
1,943,858.63
|
2,475,494.57
|
2,845,717.79
|
|
กำไรสุทธิ
|
59,547.59
|
83,087.72
|
105,296.41
|
104,665.81
|
|
กำไรต่อหุ้น (บาท)
|
21.06
|
29.26
|
36.91
|
36.64
|
|
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
|
|||||
ROA(%)
|
11.69
|
13.18
|
14.07
|
12.65
|
|
ROE(%)
|
14.65
|
18.06
|
20.12
|
18.02
|
|
อัตรากำไรสุทธิ(%)
|
3.67
|
4.27
|
4.25
|
3.68
|
|
กำไรที่เพิ่มขึ้นสูงมาก เท่ากับ
ต้นทุน/ค่าครองชีพที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นของประชาชนไทยทั้งประเทศ
ยิ่ง กลุ่มบริษัทในเครือปตท.กำไรมากขึ้นเท่าไร
ความมั่งคั่งในกระเป๋าเงินของคนไทยก็แฟบลงเท่านั้น
รวมถึงความมั่งคั่งของประเทศด้วย
(หน่วย: ล้านบาท)
|
|||
งวดงบการเงินบมจ.PTTGC
ณ วันที่ |
งบปี 54
31/12/2554 |
งบปี 55
31/12/2555 |
|
บัญชีทางการเงินที่สำคัญ
|
|||
สินทรัพย์รวม
|
372,966.66
|
436,061.97
|
|
หนี้สินรวม
|
164,512.49
|
198,017.38
|
|
ส่วนของผู้ถือหุ้น
|
198,504.26
|
222,432.62
|
|
มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว
|
45,061.13
|
45,088.49
|
|
รายได้รวม
|
106,775.47
|
572,017.56
|
|
กำไรสุทธิ
|
2,113.44
|
34,001.27
|
|
กำไรต่อหุ้น (บาท)
|
0.47
|
7.54
|
|
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
|
|||
ROA(%)
|
0.89
|
10.43
|
|
ROE(%)
|
1.06
|
16.16
|
|
อัตรากำไรสุทธิ(%)
|
1.98
|
5.94
|
หมายเหตุ ตามข้อมูลของคุณรสนา,มล.กรกสิวัฒน์,อ.ประสาท,คุณอิฐบูรณ์,พ.ท.รัฐเขต บอกว่าบริษัทนี้แหละที่บริโภคก๊าซในสัดส่วนที่มากกว่าครัวเรือน
และมากกว่าพวกที่ใช้ก๊าซสำหรับรถยนต์ พาหนะ แต่ไม่เคยจ่ายช่วยเหลือเข้ากองทุนพยุงราคาน้ำมันเลย
อีกทั้งจ่ายซื้อก๊าซในต้นทุนที่ต่ำกว่าภาคครัวเรือน
แต่เวลาปริมาณการใช้ตัวเองเริ่มไม่พอ ก็ให้มาขึ้นราคาเอากลับประชาชน
ท่านผู้อ่านลองดูตัวเลขในช่องกำไรสุทธิ แค่ปีเดียวมันกำไรก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นไปเท่าไหร่
บนคราบหยาดเหงื่อและน้ำตาของประชาชนชาวไทย
นี่หรือบริษัทธรรมาภิบาลในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ต้นทุนพลังงาน
มันเข้าไปอยู่ในส่วนใดของราคาสินค้าที่เราซื้อเราจ่ายกันบ้าง
ราคาสินค้าในฟู้ดคอร์ทตามห้างที่เรากินนั้น มีส่วนของต้นทุนแอบแฝงอยู่ด้วย ดังนี้
ราคาอาหารชามละ/จานละ 50 บาท ประกอบด้วยต้นทุนวัตถุดิบหรือตัวสินค้า 10-15
บาท ต้นทุนค่าเช่าที่ 20 บาท กำไรเท่ากับ 20-25
บาท (กำไรนี้ ร้านค้าต้องแบ่งคืนให้ห้างอีก 30-40%)
ต้นทุนของวัตถุดิบหรือสินค้านั้นเป็นทั้งต้นทุนคงที่หรือต้นทุนผันแปร
ขึ้นอยู่กับราคาสินค้ามีการปรับตัวขึ้นหรือไม่
ซึ่งมีตัวแปรอยู่ที่ต้นทุนราคาพลังงานและค่าขนส่งซึ่งเป็นต้นตอของการขยับราคา
ส่วนต้นทุนค่าเช่าที่ เป็นต้นทุนคงที่ แต่ก็อาจมีการปรับเปลี่ยนต้นทุนขึ้นตามระยะเวลาหรือเงื่อนไขของทางห้างด้วย
ดังนั้น การที่ราคาสินค้าในฟู้ดคอร์ทจะปรับราคาขึ้นมานั้นเป็นเพียงผลกระทบลูกโซ่
หรือการผลักภาระจากต้นทุนพลังงาน หรือก็คือต้นทุนวัตถุดิบบวกกับต้นทุนค่าเช่าที่
ที่บางครั้งมันขยับขึ้นพร้อมๆ กัน ดังเช่นสภาพปัจจุบันที่เห็นๆ กันอยู่
ซึ่งต้องเห็นใจร้านค้าด้วยที่ส่วนแบ่งรายได้จะต้องลดลงหากไม่ปรับราคาตาม
เพราะมันจะแปรผกผันกับปริมาณการกินและจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปด้วย
ซึ่งในส่วนของสินค้าในฟู้ดคอร์ทนั้นยังนับว่ามีผลกระทบไม่มากนักเมื่อเทียบกับร้านค้าที่อยู่นอกห้าง
เพราะเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามากินมาช็อปในห้างนั้น
เรียกได้ว่ามีกำลังซื้ออยู่พอสมควร อีกทั้งยังเตรียมใจรับกับต้นทุนราคาสินค้าที่จะขยับขึ้นไปตามภาวะเศรษฐกิจ
แต่กับร้านค้าข้าวแกงภายนอกโดยทั่วไปนั้นจะเป็นดัชนีชี้วัดได้ดีกว่า
หากต้องการรับทราบผลกระทบจากสินค้าราคา ขึ้นราคา สินค้าแพง หรือสินค้าถูก
ต้องดูตามท้องตลาดโดยทั่วไป หรือตลาดนัดคนทำงานออฟฟิซ จะเป็นตัววัดได้ดีกว่า
คนไทยทำใจรับข่าวดี
สินค้าทุกหมวดจ่อปรับราคานับตั้งแต่ไตรมาส 2
ปีนี้
ค่าแก๊ส นำร่องปรับราคา (Grand Openning)
เปิดแผนปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีใหม่
เตรียมขยับราคาสะท้อนตลาดโลกเป็น 36 บาทต่อ กก.ทุกภาคส่วน
ส่งผลให้ขนส่งจะขยับเดือนละ 1.20 บาท/กก. และอุตสาหกรรมเดือนละ
0.50 บ./กก. จนครบในเดือน ธ.ค. 56 ส่วนภาคครัวเรือนยึดราคาโรงแยกฯ
ปรับขึ้นเดือนละ 0.50 บาทต่อ กก.จนครบใน ธ.ค. 57 พร้อมงัดมาตรการอุ้มผู้มีรายได้และร้านค้าขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย รอสรุปรายละเอียดก่อนชง
“เพ้ง” ประกาศ
แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนพ.ได้มีการจัดทำข้อสรุปถึงแนวทางการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีสำหรับทุกภาคส่วนเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ประมาณการราคาตลาดโลก (CP) ปี 2556-2557 เฉลี่ยที่ 900 เหรียญต่อตัน ทำให้ราคาแอลพีจีที่แท้จริงทุกส่วนจะต้องปรับขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 36 บาทต่อ กก. ทั้งนี้ก็เพื่อลดการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรายได้หลักจากผู้ใช้น้ำมัน และทำให้ราคาใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดการไหลออกโดยเฉพาะเมื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558
สำหรับแนวทางการปรับภาคขนส่งจะขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1.20 บาทต่อ กก. และภาคอุตฯ ขึ้นเดือนละ 0.50 บาทต่อ กก. จนไปอยู่ที่ 36 บาทในเดือน ธ.ค. 56 ซึ่งขณะนี้แอลพีจีขนส่งอยู่ที่ 21.38 บาทต่อ กก. อุตสาหกรรมอยู่ที่ 30.13 บาทต่อ กก. ส่วนภาคครัวเรือนจะยึดราคาสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 550 เหรียญต่อตันหรือ 24.82 บาทต่อ กก. แต่มีเป้าหมายที่จะให้สะท้อนราคาตลาดโลกที่ 36 บาทต่อ กก.ใน ธ.ค. 2557 หรือใช้เวลาทยอยปรับแต่ละเดือนจนครบ 2 ปี หรือเฉลี่ยปรับขึ้นเดือนละประมาณ 0.50 บาทต่อ กก. จากขณะนี้ราคาอยู่ที่ 18.13 บาทต่อ กก.
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้รายงานแนวทางต่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานคนใหม่ ซึ่งได้มอบหมายให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนและทำรายละเอียดและข้อมูลที่ชัดเจนถึงกลุ่มผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเมื่อต้องปรับขึ้นแอลพีจีภาคครัวเรือน โดยเน้นผู้มีรายได้ต่ำกับร้านค้า หาบเร่ แผงลอย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานว่าจะเป็นบัตรเครดิตหรือส่วนลดอย่างไรแน่ที่จะทำให้การช่วยเหลือถึงมือประชาชนจริงและเกิดประโยชน์สูงสุด
“คงจะต้องกลับมาทำข้อมูลเพิ่มเพราะที่มีอยู่ไม่ชัดเจน โดยขณะนี้ยึดจากฐานข้อมูลผู้มีรายได้ต่ำจากการใช้ไฟฟ้าและร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ร้านอาหารขนาดเล็กจากกระทรวงสาธารณสุข โดยข้อมูลใช้ไฟฟรีเขตเมืองรวมกับรายได้ครัวเรือนในชนบทพบว่าสูงสุดกลุ่มนี้จะมี 6 ล้านครัวเรือน ส่วนร้านหาบเร่ แผงลอยรวมจะมีประมาณ 2 แสนกว่าราย ทั้งหมดนี้คงจะต้องนำมาพิจารณาว่าจะช่วยอย่างไร” แหล่งข่าวกล่าว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจี กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการที่จะช่วยเหลือคนมีรายได้ต่ำ แต่ยอมรับว่าขั้นตอนไม่ง่ายควรจะเปิดให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ มาลงทะเบียน และหากรัฐจะทำเป็นบัตรส่วนลดยอมรับว่าร้านค้าก็จะต้องลงทุนไปทำเครื่องรูดบัตรอีก และประชาชนส่วนใหญ่ก็สั่งก๊าซฯ ไปส่งไม่ได้ซื้อตรง รัฐควรจะมีเวทีระดมความเห็นเรื่องนี้เพื่อให้การปฏิบัติออกมาได้ผลดีต่อทุกฝ่าย
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า เห็นว่ามาตรการบัตรส่วนลดแอลพีจีถ้าจะทำเหมือนบัตรพลังงานเอ็นจีวีก็ทำได้เพราะระบบมีอยู่แล้ว หรืออีกแนวทางก็คือ อาจจะจ่ายเงินเข้าบัญชีเหมือนกับเบี้ยยังชีพคนชรา
ราคาค่าบริการโทรศัพท์มือถือไม่ลดราคา
ภายหลังได้รับไลเซ่นส์ 3G,4G อ้างเน้นการปรับปรุงบริการแทน แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนพ.ได้มีการจัดทำข้อสรุปถึงแนวทางการปรับโครงสร้างราคาแอลพีจีสำหรับทุกภาคส่วนเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ประมาณการราคาตลาดโลก (CP) ปี 2556-2557 เฉลี่ยที่ 900 เหรียญต่อตัน ทำให้ราคาแอลพีจีที่แท้จริงทุกส่วนจะต้องปรับขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 36 บาทต่อ กก. ทั้งนี้ก็เพื่อลดการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บรายได้หลักจากผู้ใช้น้ำมัน และทำให้ราคาใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดการไหลออกโดยเฉพาะเมื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558
สำหรับแนวทางการปรับภาคขนส่งจะขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1.20 บาทต่อ กก. และภาคอุตฯ ขึ้นเดือนละ 0.50 บาทต่อ กก. จนไปอยู่ที่ 36 บาทในเดือน ธ.ค. 56 ซึ่งขณะนี้แอลพีจีขนส่งอยู่ที่ 21.38 บาทต่อ กก. อุตสาหกรรมอยู่ที่ 30.13 บาทต่อ กก. ส่วนภาคครัวเรือนจะยึดราคาสะท้อนต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 550 เหรียญต่อตันหรือ 24.82 บาทต่อ กก. แต่มีเป้าหมายที่จะให้สะท้อนราคาตลาดโลกที่ 36 บาทต่อ กก.ใน ธ.ค. 2557 หรือใช้เวลาทยอยปรับแต่ละเดือนจนครบ 2 ปี หรือเฉลี่ยปรับขึ้นเดือนละประมาณ 0.50 บาทต่อ กก. จากขณะนี้ราคาอยู่ที่ 18.13 บาทต่อ กก.
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้รายงานแนวทางต่อนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานคนใหม่ ซึ่งได้มอบหมายให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนและทำรายละเอียดและข้อมูลที่ชัดเจนถึงกลุ่มผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเมื่อต้องปรับขึ้นแอลพีจีภาคครัวเรือน โดยเน้นผู้มีรายได้ต่ำกับร้านค้า หาบเร่ แผงลอย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานว่าจะเป็นบัตรเครดิตหรือส่วนลดอย่างไรแน่ที่จะทำให้การช่วยเหลือถึงมือประชาชนจริงและเกิดประโยชน์สูงสุด
“คงจะต้องกลับมาทำข้อมูลเพิ่มเพราะที่มีอยู่ไม่ชัดเจน โดยขณะนี้ยึดจากฐานข้อมูลผู้มีรายได้ต่ำจากการใช้ไฟฟ้าและร้านค้า หาบเร่ แผงลอย ร้านอาหารขนาดเล็กจากกระทรวงสาธารณสุข โดยข้อมูลใช้ไฟฟรีเขตเมืองรวมกับรายได้ครัวเรือนในชนบทพบว่าสูงสุดกลุ่มนี้จะมี 6 ล้านครัวเรือน ส่วนร้านหาบเร่ แผงลอยรวมจะมีประมาณ 2 แสนกว่าราย ทั้งหมดนี้คงจะต้องนำมาพิจารณาว่าจะช่วยอย่างไร” แหล่งข่าวกล่าว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจี กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการที่จะช่วยเหลือคนมีรายได้ต่ำ แต่ยอมรับว่าขั้นตอนไม่ง่ายควรจะเปิดให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ มาลงทะเบียน และหากรัฐจะทำเป็นบัตรส่วนลดยอมรับว่าร้านค้าก็จะต้องลงทุนไปทำเครื่องรูดบัตรอีก และประชาชนส่วนใหญ่ก็สั่งก๊าซฯ ไปส่งไม่ได้ซื้อตรง รัฐควรจะมีเวทีระดมความเห็นเรื่องนี้เพื่อให้การปฏิบัติออกมาได้ผลดีต่อทุกฝ่าย
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า เห็นว่ามาตรการบัตรส่วนลดแอลพีจีถ้าจะทำเหมือนบัตรพลังงานเอ็นจีวีก็ทำได้เพราะระบบมีอยู่แล้ว หรืออีกแนวทางก็คือ อาจจะจ่ายเงินเข้าบัญชีเหมือนกับเบี้ยยังชีพคนชรา
ราคาบัตรชมภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ชั้นนำ
ปรับเนียนๆ ไปหลายรอบแล้ว และยังไม่หยุด
ดีเดย์มิ.ย.เครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้น5-10% แอร์-เครื่องซักผ้า-ตู้เย็นอ่วมต้นทุนพุ่ง
ทั้งทองแดง ค่าแรง ขนส่ง
เครื่องใช้ไฟฟ้า
1.7 แสนล้านบาทแบกต้นทุนหลังแอ่น
ค่ายยักษ์เสียงแตกปรับ-ไม่ปรับขึ้นราคา หวั่นของแพงลูกค้าเบรกจับจ่าย
ล่าสุดค่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นสุดอั้น ประกาศนำร่องปรับราคาสินค้า 5-10%
ทั้งแอร์-เครื่องซักผ้า-ตู้เย็น ดีเดย์มิถุนายน
พร้อมส่งสินค้ารุ่นใหม่-ราคาใหม่ออกวางตลาด
ชี้ต้นทุนทองแดง-ค่าแรง-ขนส่งพุ่งต่อเนื่อง ด้านฟาก "เกาหลี"
ยังชั่งใจรอดูสถานการณ์
|
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่
3 กรกฎาคม
2555 - 2 กรกฎาคม 2557 BMCL ได้ทำการปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า
MRT ใหม่ แบ่งตามชนิดบัตรโดยสาร คือ
บัตรเติมเงินและเหรียญโดยสาร ดังนี้
1. อัตราค่าโดยสารสำหรับเหรียญโดยสาร
- บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาท สูงสุด 40 บาท - เด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 20 บาท
2. อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตรเติมเงิน
- บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาทสูงสุด 40 บาท - นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 14 บาท สูงสุด 36 บาท - เด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 20 บาท |
บริษัท
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC)
จะปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส
โปรโมชั่นเที่ยวเดินทางสำหรับเส้นทางสัมปทาน 23.5 กิโลเมตร
จากสถานีหมอชิตไปอ่อนนุช และจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติไปสะพานตากสิน
โดยราคาใหม่จะเริ่มที่15-42 บาท
ในส่วนของเส้นทางอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นไปตามประกาศราคาของกรุงเทพมหานคร
โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป
การปรับราคาค่าโดยสารครั้งนี้นับเป็นครั้งที่
2 นับจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม
2542 โดยครั้งแรกปรับจาก 10 – 40 บาทมาเป็น
15 – 40 บาท เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม
2549 นับเป็นเวลากว่า 6 ปีที่บริษัทฯ
มิได้มีการปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บ
ค่าโดยสารที่จะปรับเป็นดังต่อไปนี้
ค่าโดยสาร 15 บาท ต่อ
0-1 สถานี
ค่าโดยสาร 22 บาท ต่อ 2 สถานี ค่าโดยสาร 25 บาท ต่อ 3 สถานี ค่าโดยสาร 28 บาท ต่อ 4 สถานี ค่าโดยสาร 31 บาท ต่อ 5 สถานี ค่าโดยสาร 34 บาท ต่อ 6 สถานี ค่าโดยสาร 37 บาท ต่อ 7 สถานี ค่าโดยสาร 42 บาท ต่อ 8 สถานีขึ้นไป
ทั้งนี้
สำหรับผู้ใช้บัตรแรบบิท หรือบัตรบีทีเอส สมาร์ทพาส ประเภทเติมเงิน
ยังคงใช้อัตราค่าโดยสารเดิมจนถึงสิ้นปีนี้
|
|
มุมมองของผู้บริโภค (ประชาชน) บรรดาท่านรัฐมนตรี
อธิบดีทั้งหลายเคยไปเดินสำรวจดูตลาดกันบ้างหรือเปล่า ว่าของมันแพงไปถึงไหนแล้ว
หรือว่าเป็นเพราะพวกคุณไม่เดือดร้อน กินไวน์ ช็อปแอร์เมส
ขับลัมโบกินี่เป็นเรื่องปกติ
มุมมองของผู้ประกอบการ
(ผู้บริหารประเทศ) เรื่องนี้ ผู้สื่อข่าว สื่อก็หยุดพูด
อย่าทำข่าวเรื่องนี้ให้มันมากนักสิ ทำไมต้องพูดถึงเรื่องนี้ทุกวัน คนมันก็ขัดแย้งกันตลอดเวลา ตรรกกะเดียวกับเรื่องไฟใต้ ไม่อยากให้ปัญหานี้มันใหญ่โต
ก็อย่าทำข่าวมันเสียสิ ปัญหามันก็จบ ของแพงก็หยุดพูดว่ามันแพงเสียที
เดี๋ยวของมันก็ไม่แพงไปเอง
เห็นถกเถียงกันเป็นวรรคเป็นเวร
แต่ก็หาทางแก้ไขอะไรไม่ได้เสียที ผู้เขียนคิดว่าผู้ว่าฯแบ็งค์ชาติทำถูกแล้ว
ถามว่าจะให้แก้อย่างไร ในเมื่อปัจจัยมันไม่ได้มีแต่เพียงภายในประเทศเท่านั้น
เราไม่สามารถควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายได้ เว้นแต่ออกมาตรการมาจำกัดปริมาณเงินไหลเข้าออก
ซึ่งก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย มาตรการหนักเบา ต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบให้ดี
ไม่ด่วนผลีผลามทำไปเหมือนยุคหม่อมอุ๋ย เป็นผู้ว่าฯ ทำให้เกิดความเสียหายมาแล้ว
และก็ไม่ได้ผลด้วย แต่ความเป็นจริงแล้วเรื่องปัญหาค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน เป็นเรื่องของคนกลุ่มเดียวที่อยู่ยอดบนของสังคม
คือเป็นพวกนักธุรกิจที่ทำธุรกิจส่งออก นำเข้า หรืออุตสาหกรรมใหญ่ๆ
ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงิน จะเป็นจะตายกันให้ได้
เห็นสภาอุตสาหกรรมร่วมกับรมว.คลังไปกดดันผู้ว่าฯ แบ็งค์ชาติให้ลดดอกเบี้ยเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง
มันช่างเหมือนดูลิเกปาหี่สิ้นดี เพราะว่าดอกเบี้ยไม่ใช่ตัวแปรเดียวที่จะทำให้ค่าเงินบาทอ่อน เพราะถ้าใช่ เกิดว่าเงินบาทเล่นแข็งไปเรื่อยๆ แบ็งค์ชาติจำต้องลดดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ด้วยสิ ซึ่งการลดดอกเบี้ยมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อ และฟองสบู่ในภาคอสังหาฯ ใครๆ ก็รู้ ลองช่างน้ำหนักดู ว่าผลดีผลเสีย หากทำเช่นนั้นเพียงเพื่อแก้ไขปัญหาค่าเงิน แต่กลับไปสร้างปัญหาใหม่คือทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น การเก็งกำไรในภาคอสังหาและตลาดทุนเพิ่มขึ้น จะกลายเป็นลิงแก้แหไปอีก ทีเรื่องปัญหาปากท้อง ของแพง
เป็นเรื่องผลกระทบในวงกว้างและทุกระดับชั้นเดือดร้อนหมด ทำไมไม่มีคนไปกดดัน
รมว.พาณิชย์ดูบ้างหล่ะว่าแก้ปัญหาอะไรให้ประชาชนได้บ้าง
(ไหนบอกว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาชนเลือกเข้ามาตั้ง 15 ล้านเสียง ช่วยอะไรคนรากหญ้าได้มั๊ย
เห็นมีแต่สร้างให้คนจนเป็นหนี้) ช่วยเหลือเป็นครั้งคราว ทำแบบไฟไหม้ฟาง
พอมีกระแสกดดันจากสังคมก็ออกมาตรการ ร้านธงฟ้า ร้านถูกใจ ออกมาที
แต่ไม่เห็นจะบรรเทาความเดือดร้อนอะไรได้เลย นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศและเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท
กลับกลายเป็นตัวเร่งให้ค่าครองชีพ และต้นทุนสินค้าถีบตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีมาตรการป้องกัน
หรือตั้งรับกับปัญหาหรือผลกระทบตามมาเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น