มีคำกล่าวที่น่าสะเทือนใจว่า โลกใบนี้ ทุกวันนี้ ไม่เหมือน(อดีต)เดิมอีกต่อไปแล้ว จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิม ไม่กี่ พันล้านคน อนาคตอันใกล้อาจเพิ่มไปถึง หมื่นล้านคน สภาวะการขาดแคลนอาหารจะเกิดขึ้นในไม่ช้า และทรัพยากรธรรมชาติก็จะร่อยหรอลดลงทุกที อากาศ น้ำ ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม การแข่งขันจะสูงขึ้นทั้งด้านการศึกษา การทำงาน การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรมจะตามมา เกิดลัทธิบริโภคนิยม จะเกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ภัยธรรมชาติจะทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกที ในขณะที่ภัยจากการก่อการร้ายและหรือสงครามก็จะมีมากขึ้นด้วย จากความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากการล่าทรัพยากร หรือแก่งแย่งทรัพยากร และดินแดนเกิดขึ้น
ที่เห็นชัดที่สุด
ก็คือความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี ความขัดแย้งในด้านการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลี เหนือหมู่เกาะเตียวหยูหรือชินกากุ ความขัดแย้งบริเวณตะวันออกกลาง
อิสราเอลกับปาเลสไตน์ สงครามกลางเมืองในซีเรียที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในระยะเวลานี้ หรือแม้กระทั่งความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ของบ้านเราเอง
และเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการสรุปบทเรียนของสงครามอิรักที่ครบรอบ 10 ปี ในปฏิบัติการของสหรัฐบุกถล่มและเข้าไปปกครองอิรักร่วม 10 ปีรายงานว่าด้วยค่าใช้จ่ายของสงคราม (The Costs of War) ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยบราวน์
และเผยแพร่ก่อนวันครบรอบ 10 ปี ของสงครามอิรัก
ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 20 มีนาคมนี้ ระบุว่า
สงครามอิรักภายใต้การนำของสหรัฐ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 190,000 คน และรัฐบาลสหรัฐหมดค่าใช้จ่ายไปอย่างน้อย 2.2 ล้านล้านดอลลาร์
หรือราว 66 ล้านล้านบาท
รายงานระบุด้วยว่า การคำนวนค่าใช้จ่าย
ได้รวมถึงค่ารักษาพยาบาลทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสงครามด้วย
โดยยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดสูงกว่าสมัยอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช หลายเท่า
เพราะตัวเลขในขณะนั้น อยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 1.5 ล้านล้านบาท ถึง 1.8
ล้านล้านบาท
มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ของคนที่เสียชีวิตจากความรุนแรงของสงครามโดยตรง เป็นพลเรือนชาวอิรัก หรือราว 134,000 คน ขณะที่การบาดเจ็บล้มตายในฝั่งสหรัฐ มีมากถึง 190,000 คน เป็นทหาร 4,488 นาย และพวกที่มาจากบริษัทคู่สัญญาอีก 3,400 นาย โดยแคทเธอรีน ลัทซ์ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยบราวน์ ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐโร้ด ไอส์แลนด์ กล่าวว่า จำนวนที่ไม่คงที่ของยอดผู้เสียชีวิตในอิรัก เป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจ แต่ยังก็ต้องนับเป็นรายตัว และต้องนับกันต่อไป
มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ของคนที่เสียชีวิตจากความรุนแรงของสงครามโดยตรง เป็นพลเรือนชาวอิรัก หรือราว 134,000 คน ขณะที่การบาดเจ็บล้มตายในฝั่งสหรัฐ มีมากถึง 190,000 คน เป็นทหาร 4,488 นาย และพวกที่มาจากบริษัทคู่สัญญาอีก 3,400 นาย โดยแคทเธอรีน ลัทซ์ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยบราวน์ ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐโร้ด ไอส์แลนด์ กล่าวว่า จำนวนที่ไม่คงที่ของยอดผู้เสียชีวิตในอิรัก เป็นสิ่งที่ยากจะเข้าใจ แต่ยังก็ต้องนับเป็นรายตัว และต้องนับกันต่อไป
รัฐบาลสหรัฐ ใช้งบประมาณไป 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ในการฟื้นฟูอิรัก แต่ดูเหมือนมีเงินเพียงเล็กน้อยที่ถูกใช้ไปในการฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคที่ถูกทำลาย แต่เงินส่วนใหญ่ถูกละลายไปในกองทัพและตำรวจอิรัก ทั้งนี้ เนต้า ครอว์ฟอร์ด อาจารย์ที่ร่วมทำรายงานฉบับนี้ ให้ความเห็นว่า ทุกรัฐบาลต่างเข้าสู่สงครามโดยประเมินความยืดเยื้อต่ำเกินไป ไม่สนใจนับค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประเมินวัตถุประสงค์ทางการเมืองเกินจริง เพื่อที่จะบรรลุผลความสำเร็จให้ได้ด้วยการทำสงคราม
ค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม ยังรวมถึงการจ้างนักเศรษฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยา บุคลากรที่ทำงานด้านมนุษยธรรม และนักรัฐศาสตร์ รวม 30 คน จากมหาวิทยาลัย 15 แห่ง หน่วยงานของสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ
สงครามในซีเรียสงครามกลางเมืองของซีเรียที่ดำเนินยาวนานมาเป็นเวลาเกือบ 19 เดือน ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีของซีเรียกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา(ตุลาคม 2012) ว่าขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศสูญเสียไปแล้วคิดเป็นเงินประมาณ 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และตัวเลขความสูญเสียเพิ่มขึ้นทุกวัน ในขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านกล่าวว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศจนถึงขณะนี้คิดเป็นเงินประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้กลุ่มต่อต้านและกลุ่มสิทธิมนุษชนของซีเรียกล่าวว่า จนถึงขณะนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตในซีเรียเพิ่มขึ้นเลย 32,000 คนแล้ว และมีอาคารบ้านเรือน รวมทั้งโรงเรียน, โรงพยาบาล, มัสยิดและโบสถ์ ตามเมืองเล็กเมืองใหญ่ ถูกทำลายไปแล้ว 589,000 หลังและอีกหลายหมื่นหลังได้รับความเสียหายหนัก ซึ่งต้องใช้เวลานานชั่ว 1 อายุคน จึงจะสามารถฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมได้
ภัยธรรมชาติ ได้ก่อความเสียหายให้กับมวลมนุษยชาติมากมาย นับย้อนไปไม่กี่ปีมานี้ ได้แก่ สึนามิที่ภูเก็ต และบริเวณมหาสมุทรอินเดีย(คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย) แผ่นดินไหวที่ไฮติ (มีจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 150,000 คน) สึนามิที่ญี่ปุ่น (จำนวนผู้คน 15,854 คนได้รับการยืนยันการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ และ 3,274 คนสูญหายอย่างไม่ทราบชะตากรรม กว่า 90% เสียชีวิตอยู่ภายใต้ซากปรักหักพัง สิ่งปลูกสร้างนับแสนแห่งถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิง) แผ่นดินไหวที่จีนหลายครั้งหลายครา พายุเฮอร์ริเคนแซนดี้ถล่มที่นิวยอร์ก สหรัฐ อเมริกา ,พายุถล่มที่เวียดนาม,ฟิลิปปินส์ แผ่นดินไหวที่อินเดีย และล่าสุดตึกถล่มที่บังคลาเทศ
ภัยจากก่อการร้าย ที่ผู้คนทั่วโลกยังไม่ลืมก็คือ การถล่มตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์หรือ 9/11,การก่อวินาศกรรมที่บาหลี อินโดนีเซีย,การวางระเบิดรถไฟใต้ดินในลอนดอน, การระเบิดสถานฑูตสหรัฐในประเทศลิเบีย จนมาล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ การวางระเบิดใกล้กับวิ่งมาราธอนที่บอสตัน
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ตามปกติมันจะมีอายุขัยอีกยาวนาน เป็นหมื่นๆ ปี กว่าที่โลกจะถึงกาลแตกดับ แต่ทุกวันนี้โลกได้แบกความทุกข์เอาไว้มากมาย อันเนื่องมาจากปัญหาร้อยแปดพันประการที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ไปทำลายสมดุลย์ทางธรรมชาติ หรือวงจรชีวิตหรือนิเวศวิทยาทางธรรมชาติเสียไป นำมาซึ่งปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ภาวะเรือนกระจก ภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เอลนิญโญ่ ลานิญญ่า เปลือกโลกเคลื่อนตัว ทำให้แผ่นดินไหวถี่และรุนแรงขึ้น และเกิดภัยสินามิ ตามมาเป็นลำดับ หากยังไม่เร่งรีบแก้ไข หยุดทำลาย หยุดขัดแย้ง แก่งแย่งทรัพยากรกัน เห็นทีกาลอวสานของโลกก็คงจะใกล้เข้ามาเพียงแค่อายุขัยของลูกหลานเราแค่นั้นเอง ยังพอมีเวลาที่จะร่วมช่วยกันสร้างโลก ตระหนักรู้ และไม่ทำลาย พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในอัตราที่ลดน้อยถอยลง หรือลด ละ เลิก เพราะมันจะไปเร่งทำให้บรรยากาศ และภาวะโลกร้อนทวีตัวขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายหมดภายในอีกไม่กี่ปี เมื่อถึงเวลานั้นอุณหภูมิของโลกก็จะเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง นึกไม่ออกเลยว่าเราจะอยู่กันได้อย่างไร ในเมื่อทุกวันนี้อุณหภูมิประเทศไทยเพียงแค่ ไม่เกิน 43 องศาเซลเซียส ก็ร้อนจนจะฆ่ากันตายอยู่แล้ว นอกจากจะต้องมาลดอุณหภูมิโลกให้เย็นลงแล้ว ยังต้องพยายามลดอุณหภูมิในใจคนให้ลดลงอีกด้วย ไม่งั้นอยู่กันไม่รอดแน่ จิตใจคนสำคัญที่สุด
เพลง อิเมจิน ซิงเกิลเพลงนี้เคยขึ้นถึงอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1985 และขึ้นถึงอันดับหนึ่งในหลายสิบประเทศทั่วโลก "อิเมจิน" (อังกฤษ: Imagine) เป็นเพลงที่เขียนและร้องโดยนักดนตรีร็อกชาวอังกฤษ จอห์น เลนนอน เป็นเพลงเปิดตัวในอัลบั้มของเขาชุด Imagine ออกในปี 1971 หลังจากการแตกของวง เดอะบีเทิลส์
เพลง "อิเมจิน" ออกเป็นซิงเกิ้ลในสหรัฐอเมริกา ติดอันดับ 3 บนบิลบอร์ดฮอต 100 เป็นซิงเกิ้ลอันดับ 1 ซิงเกิ้ลเดียวของซิงเกิ้ลหลังที่อยู่กับวงเดอะบีตเทิลส์ในชาร์ตออสเตรเลีย ติดอันดับ 1 นาน 5 สัปดาห์ เพลงนี้ยังเป็น 1 ใน 3 เพลงของเลนนอนในฐานะศิลปินเดี่ยว ร่วมกับเพลง "Instant Karma!" และ "Give Peace a Chance" ที่อยู่ในรายชื่อ 500 เพลงที่มีอิทธิพลของร็อกแอนด์โรล ในหอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล นิตยสารโรลลิงสโตนยังจัดให้อยู่อันดับ 3 ของเพลงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล ใน 500 อันดับเพลง
นอกจากนี้เพลง อิเมจิน เป็นหนึ่งในเพลง ที่ใช้ในพิธีปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012ซึ่งเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงาน ที่มีเด็กพิการออทิสติกมาร่วมร้องบรรเลง เพลงนี้รวมถึง ชาวอังกฤษและนักกีฬาโอลิมปิกในสนาม ที่อยู่ในสนามต่างช่วยกันร้องเพลงนี้จนดังกึกก้องสนามโอลิมปิก
เพลง วีอาร์เดอะเวิลด์ (อังกฤษ: We Are the World) เป็นเพลงที่แต่งโดยไมเคิล แจ็กสัน ไลโอเนล ริชชี โปรดิวซ์และอำนวยเพลงโดยควินซี โจนส์ ขับร้องและบันทึกเสียงโดยกลุ่มศิลปินนักร้องชาวอเมริกันจำนวน 45 คน โดยใช้ชื่อว่า "USA for Africa" (United Support of Artists for Africa) และตัดเป็นซิงเกิลการกุศลในปี ค.ศ. 1985 เพื่อหาเงินสมทบกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบทุพภิกขภัย ในแอฟริกา ที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งผิดปกติในปี 1984-1985 และประสบภาวะขาดแคลนอาหารใน 6 ประเทศ ประกอบด้วยเอธิโอเปีย ชาด มาลี ไนเจอร์ ซูดาน และโมซัมบิก
เพลงนี้เกิดจากการบันทึกเสียงเพลง "Do They Know It's Christmas?" เพื่อระดมทุนในลักษณะเดียวกับโดยศิลปินนักร้องจากอังกฤษ ที่นำโดยบ็อบ เกลดอฟ เมื่อปลายปี 1984 โดยเริ่มจากแนวคิดเริ่มแรกของแฮรี เบลาฟอนเต ได้ติดต่อกับเคนนี คราเคน ผู้จัดการส่วนตัวของไลโอเนล ริชชีและเคนนี โรเจอร์ส เพื่อหาลู่ทางจัดคอนเสิร์ตเพื่อหารายได้ช่วยเหลือแอฟริกา แต่คราเคนคิดว่าหากบันทึกเสียงเป็นซิงเกิลวางจำหน่ายน่าจะได้ผลดีกว่า และประสานงานกับไมเคิล แจ็กสัน ไลโอเนล ริชชี ควินซี โจนส์ และติดต่อนักร้องอื่นๆ มาร่วมร้อง
การบันทึกเสียงเกิดขึ้นระหว่าง และหลังงานอเมริกัน มิวสิก อวอร์ดส์ ที่ A&M Studios ฮอลลีวูด แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1985 โดยควินซี โจนส์ เป็นผู้ศึกษาสไตล์การร้องของศิลปินแต่ละคน และจับคู่นักร้อง เช่น บิลลี โจเอลกับทีนา เทอร์เนอร์, วิลลี เนลสันกับดิออน วอร์วิค และไมเคิล แจ็กสันกับพรินซ์ (พรินซ์ไม่มาปรากฏตัวเพื่อบันทึกเสียงตามนัด โจนส์จึงให้ไดอานา รอสส์ ร้องคู่กับแจ็กสันแทน ส่วนพรินซ์ได้บันทึกเสียงเพลงอื่นในอัลบั้มแทน)
เพลงชีวิตสัมพันธ์ เป็นเพลงที่แต่งโดย ยืนยง โอภากุล(แอ๊ด คาราบาว) ร่วมกับ อัสนี โชติกุล ขับร้องบันทึกเสียงโดยเหล่าศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทย โดยเป็นซิงเกิลการกุศลในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งมีเนื้อหาอุทิศแก่มวลมนุษยชาติกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับโครงการอิสานเขียวของกองทัพบก อันเนื่องมาจากปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เพื่อเป็นกำลังใจในการต่อสู้หรือเสนอแนวทางต่อปัญหาเหล่านั้นได้"ชีวิตสัมพันธ์" ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนในคอนเสิร์ต "เวลคัม ทู อิสานเขียว" เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ณ สนามกีฬากองทัพบก โดยเป็นเพลงสำคัญซึ่งเหล่าศิลปินบนเวทีทั้งหมดมาร่วมร้องเพลงก่อนปิดงาน โดยภายหลังได้บรรจุในอัลบั้มเทปแพคคู่บันทึกการแสดงสด "สายธารสู่อิสานเขียว" และอัลบั้ม "ถึก" เนื่องในโอกาส 10 ปีของวงคาราบาว และยังกลายเป็นเพลงระดับตำนานที่ใช้รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม อีกอย่างเป็นเพลงที่น่าจดจำและเด่นชัดได้มากกว่าสำหรับการร่วมงานระหว่าง ยืนยง กับ อัสนี
เพลงโลกสวยด้วยมือเรา แต่งโดยนิติพงษ์ ห่อนาค จุดประสงค์เนื่องจากป่าไม้ของบ้านเราได้ถูกทำลายขึ้นทุกวัน ในคอนเสิร์ต Earth Day มีจุดประสงค์จัดขึ้นมาเพราะได้เล็งเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใกล้เข้ามาขึ้นเรื่อยๆ จึงเกิดเพลงนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2534 จนกระทั่งปัจจุบัน เพลงนี้ได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการอนุรักษ์โลก โดยคอนเสิร์ตนี้ ถูกจัดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2535 ที่กองทัพบก ท่ามกลางจำนวนผู้ชมนับแสน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น