วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ร่วมไว้อาลัยแก่ ปธน.ฮูโก้ ชาเวซ แห่งเวเนซูเอล่า (ประเทศต้นแบบของการประชานิยมที่คนรากหญ้าได้ประโยชน์อย่างแท้จริง)

ข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของผู้นำจิตวิญญาณและ ปธน.ของประเทศเวเนซูเอล่า อาจไม่ใช่ข่าวใหญ่ในบ้านเราและของโลก เนื่องจากเขาไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจใดๆ เป็นเพียงประเทศเล็กๆในลาตินอเมริกา
แต่เขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นวีรบุรุษในใจคนของประเทศเกือบจะทั้งทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้นแบบของวีรบุรุษกู้ชาติ ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากประเทศโลกที่ 3 และในประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ทุนนิยมหรืออีกนัยนึงก็คือประเทศที่ไม่ฝักใฝ่อเมริกาและพวกยุโรปนั่นแหละ สื่อดังๆ ในประเทศทุนนิยมต่างโจมตีและกล่าวร้ายหาว่าเขาเป็นผู้นำเผด็จการที่ใช้ประชานิยมมอมเมาประชาชน โดยไม่ได้ดูเนื้อแท้หรือผลลัพธ์ในท้ายที่สุดหรือผลประโยชน์ที่แท้จริง รวมไปถึงวิธีการ กุศโลบายต่างๆ ของเขา เพราะเขาคือผู้ที่มาฆ่าทุนนิยมสามานย์ที่เอาเปรียบประเทศที่ยากจน วิธีการเขาทำอย่างไรนั้นควรค่าแก่การศึกษาเป็นบทเรียนยิ่งนัก ใครจะมองว่าเขาเป็นพวกเผด็จการ สังคมนิยมซ้ายจัดอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งที่เขาทำนั้น สุดท้ายแล้วเขาทำเพื่อประชาชน และผลประโยชน์ของชาติอย่่างแท้จริง ไม่ใช่ประชานิยมจอมปลอม ทำเพื่อเป็นฐานเสียง และแล้วผลประโยชน์ไปตกอยู่กับนักการเมืองไม่กี่คน ผู้เขียนคิดว่าบุคคลผู้นี้น่าศึกษาแล้วเอาข้อดีของเขามาเป็นแบบอย่าง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่คิดดี ทำดี รักบ้านรักเมือง หายากมากในยุคนี้ ที่จะมีผู้นำที่แข็งแกร่ง ยืนหยัด ต่อสู้ จนวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่ใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อชาติบ้านเมือง และลูกหลานของเขาอย่างแท้จริง เขาไม่ได้ตายไปแต่ชื่อ ยังทิ้งอุดมการณ์เอาไว้ให้แก่ประชาชนของเขาสู้ต่อไปกับมหาอำนาจทุนนิยมทั้งหลาย ดูภาพข่าวที่คนทั้งประเทศร้องไห้ ไว้อาลัยผู้นำของเขาสิ ไม่ใช่ถูกบังคับให้มาร้องไห้เหมือนบางประเทศที่เป็นสังคมนิยม และไม่ใช่การร้องไห้แบบเสียซุปเปอร์สตาร์นักร้องชื่อดังอะไร แต่เป็นการร่ำไห้ให้กับความดี ความศรัทธา และความมั่นคงของประเทศของเขาจริงๆ

 
ประวัติของผู้นำสูงสุดและปธน.ประเทศเวเนซูเอล่า
อูโก ราฟาเอล ชาเบซ ฟรีอัส (สเปน: Hugo Rafael Chávez Frías; 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 5 มีนาคม ค.ศ. 2013) เป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี 1999 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี 2013 เขาเป็นอดีตผู้นำพรรคการเมืองขบวนการสาธารณรัฐที่ห้า (Fifth Republic Movement) นับแต่ก่อตั้งในปี 1997 ถึงปี 2007 เมื่อเขากลายเป็นผู้นำพรรคสหสังคมนิยมแห่งเวเนซุเอลา (PSUV) ตามข้อมูลของรัฐบาล เขามุ่งนำการปฏิรูปสังคมนิยมไปปฏิบัติในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสังคมชื่อ การปฏิวัติโบลีวาร์ ที่เห็นการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การโอนอุตสาหกรรมหลักหลายประเภทเป็นของรัฐ การเพิ่มเงินทุนด้านสาธารณสุขและการศึกษาของรัฐ และการลดความยากจนลงอย่างสำคัญ ตามอุดมการณ์ทางการเมืองโบลีวาร์นิยม (Bolivarianism) และ "สังคมนิยมแห่งศตวรรษที่ 21" ของเขาเอง

เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกรรมกรในซาบาเนตา รัฐบารีนัส ต่อมาเป็นนายทหารอาชีพ และหลังไม่พอใจกับระบบการเมืองเวเนซุเอลา เขาได้ก่อตั้งขบวนการปฏิวัติโบลีวาร์-200 (MBR-200) ขึ้นในต้นทศวรรษ 1980 เพื่อดำเนินการโค่นล้มรัฐบาล ชาเบซนำ MBR-200 ในรัฐประหารที่ล้มเหลวต่อรัฐบาลพรรคกิจประชาธิปไตยของรัฐบาลการ์โลส อันเดรส เปเรซในปี 1992 ซึ่งเขาถูกจำคุก เมื่อได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในอีกสองปีให้หลัง เขาก่อตั้งพรรคการเมืองขบวนการสาธารณรัฐที่ห้าซึ่งมีอุดมการณ์สังคมประชาธิปไตย และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลาในปี 1998 ภายหลัง เขาริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเพิ่มสิทธิแก่กลุ่มที่ถูกเบียดขับ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐบาลเวเนซุเอลา และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี 2000 ระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง เขาริเริ่มระบบภารกิจโบลีวาร์ (Bolivarian Mission) สภาชุมชน (Communal Council) และสหกรณ์ที่มีกรรมกรเป็นผู้จัดการ เช่นเดียวกับโครงการปฏิรูปที่เดิน ขณะที่ยังโอนอุตสาหกรรมสำคัญหลายประเภทเป็นของรัฐ วันที่ 7 ตุลาคม 2012 ชาเวซชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สี่ และได้ดำรงตำแหน่งอีกสมัยเป็นเวลาหกปี

ชาเวซอธิบายนโยบายของตนว่า ต่อต้านจักรวรรดินิยม และเขาเป็นนักวิจารณ์เสรีนิยมใหม่และทุนนิยมปล่อยให้ทำไป โดยทั่วไป ชาเบซเป็นปรปักษ์สำคัญของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เขาวางตนเป็นพันธมิตรอย่างเข้มแข็งกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของฟีเดล และราอูลต่อมา ในคิวบา และรัฐบาลสังคมนิยมของเอโบ โมราเลสในโบลิเวีย ราฟาเอล กอร์เรอาในเอกวาดอร์ และ ดาเนียล ออร์เตกาในนิการากัว การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "คลื่นสีชมพู" สังคมนิยมที่กวาดไปทั่วละตินอเมริกา เขาสนับสนุนความร่วมมือละตินอเมริกาและแคริบเบียน และเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดตั้งสหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ พันธมิตรโบลีวาร์เพื่อทวีปอเมริกา ธนาคารใต้ (Bank of the South) ที่ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค และเครือข่ายโทรทัศน์ภูมิภาคเทเลซู (TeleSur) ชาเบซเป็นบุคคลซึ่งเป็นที่ถกเถียงและมีความเห็นแตกแยกมากทั้งในและต่างประเทศ

วันที่ 30 มิถุนายน 2011 ชาเวซแถลงว่าเขากำลังฟื้นตัวจากการผ่าตัดเพื่อนำเนื้องอกฝีที่มีเซลล์มะเร็งออก เขาต้องเข้ารับการผ่าตัดครั้งที่สองในเดือนธันวาคม 2012 เขามีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2013 แต่รัฐสภาเวเนซุเอลาตกลงเลื่อนพิธีเข้ารับตำแหน่งเพื่อให้เขามีเวลาฟื้นตัวและกลับจากการเดินทางเพื่อไปรักษาพยาบาลเป็นครั้งที่สามที่คิวบา ชาเบซถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2013 ด้วยวัย 58 ปี

ประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวซ เป็น 1 ในผู้นำที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคนหนึ่งของโลก ในฐานะผู้นำสังคมนิยมคนสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในโลกยุคปัจจุบันและเป็นผู้นำที่ตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมหาอำนาจสหรัฐฯอย่างเปิดเผย

ประธานาธิบดีฮูโก้ ชาเวซ เกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ในครอบครัวที่ยากจนโดยบิดาและมารดามีอาชีพเป็นครู หลังอายุ 17 ปี ชาเวซได้เข้าศึกษาในโรงเรียนทหารของเวเนซุเอล่า หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยซิโมน โบลิวาร์ แม้จะไม่จบแต่ก็จุดประกายให้ชาเวซสนใจในเรื่องการเมือง

หลังรับราชการทหารมาเป็นเวลา 17 ปี ชาเวซได้ก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมือง โดยเป็นแกนนำก่อรัฐประหารโค่นอำนาจประธานาธิบดีคาร์ลอส แอนเดรส เปเรซ ที่ล้มเหลวในการบริหารประเทศเมื่อปีพ.ศ.2535 แม้จะรัฐประหารไม่สำเร็จ แต่ชาเวซก็สามารถครองใจประชาชนที่กล้าต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการและคอรัปชั่น

การรัฐประหารที่ล้มเหลว ทำให้ชาเวซถูกจำคุก ก่อนจะได้รับการอภัยโทษจากผู้นำคนใหม่ที่เข้าดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีเปเรซที่ต้องลงจากอำนาจ จากนั้นชาเวซได้ก่อตั้งขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 และลงเลือกตั้งประธานาธิบดีจนสามารถคว้าชัยได้เป็นผู้นำเมือปีพ.ศ.2542 จากการหาเสียงที่ดุเดือดโดนใจประชาชน

ชาวเวซได้รับการกล่าวขานว่า เป็นนักสังคมนิยมแห่งศตวรรษที่ 21 และตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับมหาอำนาจสหรัฐอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ยังต่อต้านระบบทุนนิยมและการเสรีของสหรัฐฯ ขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะโค่นชาเวซลงจากอำนาจหลายครั้ง รวมทั้งการปฎิวัติเมื่อปีพ.ศ.2545 แต่ชาเวซก็รอดพ้นวิกฤตมาได้ ขณะที่กลุ่มพรรคฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์ชาเวซอย่างรุนแรงที่ไปผูกมิตรกับชาติที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน/คิวบาและลิเบีย

ชาเวซ ยังใช้ทรัพยากรน้ำมันที่เป็นรายได้หลักของเวเนซุเอล่า ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก เป็นปัยจัยขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ การเมืองและการต่างประเทศอย่างได้ผล ช่วยให้ครองใจประชาชนจนสามารถคว้าชัยได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 4 ก่อนจะจบชีวิตด้วยโรคมะเร็งร้าย ด้วยอายุ 58 ปี

ฮูโก้ ชาเวซ ประธานาธิบดีแห่งเวเนซูเอลา ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่สร้างสีสันให้กับโลก ชาเวซไม่เพียงเป็นผู้นำที่หลงใหลในลัทธิสังคมนิยมเท่านั้นหากยังเป็นศัตรูตัวฉกาจของสหรัฐอเมริกา

ชาเวซเกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม พุทธศักราช 2497 บิดาเป็นครูมีฐานะยากจน ส่งชาเวซและพี่ชายไปอยู่กับย่า เมื่ออายุ 17 ปี เข้าเรียนที่โรงเรียนทหารของเวเนซูเอลา จากนั้นเข้าเรียนต่อในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยซิโมนโบลิวาร์ (ตั้งตามชื่อของนักปฎิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งละตินอเมริกา)แต่ไม่จบ

การเรียนที่มหาวิทยาลัยซิโมนโบลิวาร์ทำให้ชาเวซสนใจการเมือง โดยเฉพาะแนวคิดของฝ่ายซ้ายและอุดมการณ์ของ" โบลิวาร์" พร้อม ๆ กับการเป็นนักกีฬาเบสบอล และเขียนบทกวี บทละคร และนิยายระหว่างรับราชการทหารเป็นเวลา 17 ปี ทั้งในหน่วยรบและเป็นอาจารย์ในโรงเรียนทหาร ชาเวซวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและสังคมอย่างเผ็ดร้อน และก่อตั้งขบวนการปฏิวัติโบลิวาร์-200 (Revolutionry Bolivarian Movement-200) หรือ MBR-200

ปี 2535 “ชาเวซฉวยจังหวะเป็นแกนนำก่อรัฐประหาร ขณะที่ประธานาธิบดีคาร์ลอส อังเดร เปเรซ กำลังอยู่ในสถานะง่อนแง่น การบริหารประเทศล้มเหลว โดยเข้ายึดสถานที่สำคัญๆในกรุงคาราคัส

แต่รัฐประหารล้มเหลว ชาเวซขาดกำลังสนับสนุน จึงยอมจำนนต่อฝ่ายรัฐบาลและออกโทรทัศน์เรียกร้องให้กองกำลังปฏิวัติตามเมืองต่าง ๆ วางอาวุธ และถึงแม้จะเป็นฝ่ายแพ้แต่ชาเวซก็กลายเป็นขวัญใจของชาวเวเนซูเอลา ในฐานะผู้ที่กล้าลุกขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการและคอรัปชั่น ชาเวซต้องโทษจำคุก แต่การรัฐประหารครั้งนั้นส่งผลให้ประธานาธิบดีเปเรซหลุดจากตำแหน่งในเวลาต่อมา และประธานาธิบดีคนใหม่อภัยโทษให้ ชาเวซก่อตั้งขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 (The Fifth Republic Movement) ขึ้น และลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 2541 โดยชูอุดมการณ์ของซิโมน โบลิวาร์ และการสถาปนาสาธารณรัฐใหม่ ลีลาปราศรัยหาเสียงของ"ชาเวซ"ดุดันถึงลูกถึงคน ทำให้คะแนนนิยมพุ่งขึ้นจนสามารถชนะคู่แข่งขัน และก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีเวเนซูเอลาในปี 2542

แนวคิดทางการเมืองของชาเวซเป็นการผสมผสานระหว่างอุดมการณ์ของซิโมน โบลิวาร์ และนักปฏิวัติอเมริกาใต้คนอื่น ๆ กับลัทธิมาร์กซิสต์ และสังคมนิยมแบบลาตินอเมริกัน รวมทั้งปรัชญาทางการเมืองของเช เกวารา และฟีเดล คาสโตร ชาเวซเรียกแนวคิดดังกล่าวว่า ลัทธิโบลิวาร์ประธานาธิบดีชาเวซปฏิรูปทางการเมือง โดยสร้างขบวนการประชาธิปไตยใหม่ โดยการจัดตั้งองค์กรประชาสังคม ที่มีสมาชิกไม่เกิน 30 ครอบครัว เรียกว่า องค์กรชีวิตชุมชน หรือ community living organization-OCVs ในทุกชุมชน ทุกเขต ทุกจังหวัด รวมทั้งในเมืองหลวง แล้วจัดสรรงบประมาณจากภาษีอากร และจากรายได้จากน้ำมันให้องค์กรเหล่านี้ ไปดำเนินการในเรื่องการสุขอนามัย การศึกษา การฝึกอาชีพ สร้างสถานอนุบาลเด็กอ่อน  ประธานาธิบดีชาเวซ ยังจัดตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมาอีก 3 กระทรวง คือ กระทรวงการเคหะ เพื่อจัดการแก้ปัญหาคนไร้บ้านให้มีบ้านอยู่กันทุกคน  กระทรวงอาหารเพื่อแก้ปัญหาความอดอยากของประชาชนโดยเฉพาะเด็ก กระทรวงพลัง เศรษฐกิจรากหญ้า เพื่อประสานงานกับกระทรวง และหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เพื่อปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้ประชาชนรากหญ้า บริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลาง ให้ตั้งตัวได้ นอกจากนี้ ยังได้จัดสรรงบประมาณอีก 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับดำเนินการโครงการเร่งด่วน 10 โครงการที่เรียกว่า "พันธกิจของรัฐ" ให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัยดำรงชีพ เช่น อาหาร บ้าน การศึกษา และสาธารณสุข ให้กับประชาชนระดับรากหญ้าจำนวนหลายล้านคน ที่มีมาตรฐานชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจนได้มีบ้าน และสามารถอ่านออกเขียนได้  คนแก่เฒ่าทุกคนจะได้รับเงินบำนาญเลี้ยงดูประจำเดือน นอกจากนี้ประธานาธิบดีชาเวซ ยังผูกมิตรกับประเทศคิวบา โดยการขายน้ำมันให้ในราคาพิเศษวันละ 53,000 บาร์เรล แลกกับหมออาสาสมัครชาวคิวบา จำนวน 13,000 คนที่เข้ามาประจำการ 24 ชั่วโมงเพื่อดูแลคนป่วย คนแก่ และเด็กโดยรัฐไม่คิดเงินแม้แต่ค่ายาก็ไม่ต้องจ่าย โครงการนี้ใช้รายได้จากการขายน้ำมันของประเทศมาเป็นค่าใช้จ่าย นับเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ที่ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และมีมากที่สุด คือ น้ำมัน ได้กลับคืนมาให้ประชาชนเจ้าของประเทศผู้เป็นเจ้าของ ทรัพยากรที่แท้จริงได้  ผลผลิตน้ำมันของเวเนซุเอลา ได้ส่งออกให้ตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาคิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดใช้น้ำมันของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นอเมริกาจึงมีบทบาทอย่างมาก ในการร่วมมือกับพรรคการเมือง และนักการเมืองหน้าเก่า 2 พรรค ร่วมกันบ่อนทำลายเสถียรภาพ ของประธานาธิบดีชาเวซในทุกด้าน  ประธานาธิบดีชาเวซ ไม่ยอมให้ผลประโยชน์น้ำมันของชาติถูกนักการเมืองฉกฉวยเอาไปเข้ากระเป๋าตนเอง และสมัครพรรคพวก หรือขายให้ต่างชาติในราคาถูกๆ อีก โดยการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากน้ำมัน จะให้เอกชนได้รับในสัดส่วนที่มากกว่ารัฐไม่ได้ อันเป็นการอุดช่องโหว่การรั่วไหลของรายได้ของรัฐ แล้วนำรายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์  นอกจากนี้ ประธานาธิบดีชาเวซยังเป็นตัวตั้งตัวตี ในการจัดประชุมกลุ่มประเทศผลิตน้ำมันโอเปก ในกรุงคาราคาส เพื่อจำกัดปริมาณการผลิตของแต่ละประเทศ ทั้งนี้เพื่อรักษาราคาน้ำมันของโลกให้เจ้าของบ่อน้ำมันมีกำไร กล่าวได้ว่า ชาเวซคือนักประชานิยมตัวจริงเสียงจริงของเวเนซูเอลาวันนี้ ได้สิ้นลมอย่างสงบ
(ถอดความจากคอลัมน์ เดินคนละฟาก โดย กมล กมลตระกูล ประชาชาติธุรกิจ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น