วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตอบโจทย์ เรียลลิตี้ทอล์คโชว์ดราม่าเสียยิ่งกว่าเดอะสตาร์,เอเอฟ


กรณีเรื่องรายการตอบโจทย์ ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส (ทีวีไทย) ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางอยู่ในเวลานี้นั้น ตอนแรกผู้เขียนชั่งใจอยู่หลายวันเหมือนกันว่าจะเขียนถึงดีมั๊ย  เพราะเบื่อข่าวสารเรื่องการเมืองมากในเวลานี้ ไม่อยากจะติดตาม ไม่อยากจะพูดถึง และยิ่งเป็นประเด็นเดิมๆอย่าง กรณี ม.112 การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ มันมีแง่มุมที่ละเอียดอ่อน และมองได้หลายมิติมาก ความสนใจของผู้เขียนกลับมุ่งไปยังประเด็นเศรษฐกิจมากกว่าที่สำคัญและให้น้ำหนักมากกว่า (จะได้เขียนถึงในบทความถัดๆ ไป) แต่ดูเหมือนประเด็นของ ม.112 ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ มีความพยายามจะจุดติดประเด็นนี้ให้เป็นความขัดแย้งในสังคมให้จงได้หลากหลายครา หลากหลายบุคคล ต่างกรรม ต่างวาระกัน ซึ่งผู้เขียนเองก็ปล่อยผ่านมาหลายครั้งแล้ว อาทิ เช่น กรณี อ.ใจ อึ๊งภากรณ์กับจักรภพ เพ็ญแข กรณีนางดา ตอร์ปิโดพูดปราศรัยบนเวทีเสื้อแดง,ทอม ดันดี, การปราศรัยหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของแกนนำเสื้อแดงหลายคน อาทิ นางดารณี กฤตบุญญาลัย,พอ.อภิวันท์ วิริยะชัย,แกนนำเสื้อแดงอย่าง ก่อแก้ว พิกุลทอง,ยศวริศ ชูกล่อม,อดิศร เพียงเกษ,อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง,สุนัย จุลพงศธร,จตุพร พรหมพันธุ์ กรณีนายสุชาติ นาคบางไทร ,นายสุรชัย แซ่ด่าน, บก.ลายจุด สมบัติ บุญงามอนงค์ ,สมยศ พฤกษาเกษมสุข (แกนนำกลุ่ม 24 มิ.ย.ฯ) กับคดีหมิ่นเบื้องสูง (เพิ่งมีคำสั่งตัดสินไปไม่นานมานี้) กรณีส่งข้อความด่าทอทางมือถือของ (อากง) นายอำพน ตั้งนพกุล,กระบวนการช่วยอากงของ นางคำผกา โตวิระ และ voice tv, กรณีเด็กน.ศ.(พลอย,ก้านธูป)มธ.,กรณีพิธีกรในช่อง Asia Update ใส่เสื้อ"เรารักพระบรม" ,อีป้าเสื้อแดงที่ชื่อ ฐิตินันท์ แก้วจันทรานนท์ เตะรูปพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ,ทราย เจริญปุระ ,ฟลุ้ค เดอะสตาร์ ,มาร์คเอเอฟ7,กรณีกลุ่มนิติราษฏร์ (คณาจารย์กลุ่มนึง ใน มธ.)ออกแถลงการณ์ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะหมวดพระมหากษัตริย์, กรณีนักคิดนักเขียน,นักวิชาการกว่า 112 คน ร่วมลงชื่อสนับสนุนการยื่นแก้ไขกฎหมาย ม.112,กรณีคลิปเสียงของทักษิณหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ เสธ.อ้าย เอามาเปิดกลางม็อบของกลุ่มพิทักษ์สยาม,  กรณีบทอาเศียรวาทของ นสพ.มติชน ในวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 5 ธ.ค. จนมาล่าสุดกรณีรายการตอบโจทย์ที่เชิญนักวิชาการเสื้อแดง อย่าง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กับ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มาออกรายการและวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ อย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังมีต่างชาติโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐและฝรั่งเศสก็มีส่วนในการสนับสนุนการแก้ไขกฏหมาย ม.112 นี้ด้วย จากกรณีฑูตสหรัฐอย่างนางคริสตี้ที่เคยออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฏหมายฉบับนี้ จนถูกถล่มในเฟซบุ้คของสถานฑูตอเมริกาประจำประเทศไทย รวมถึงรมต.ฝรั่งเศสท่านนึงที่มาเยือนไทยเมื่อไม่นานมานี้ ก็เคยมาแสดงความคิดเห็นเห็นด้วยเกี่ยวกับการแก้ไขกฏหมายในหมวดนี้ ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้เขียนเชื่อว่ามันเป็นกระบวนการเดียวกันคือ “ขบวนการล้มเจ้า”  ทุกอย่างไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญแน่ๆ มีการเขียนบทให้เล่นกันเป็นทอดๆ มีผู้บงการอยู่เบื้องหลัง มีการวางแผนเตรียมการกันมาอย่างดี หรืออาจจะตั้งสมมติฐานกับสิ่งเหล่านี้ว่า มันคือบทภาพยนตร์เรื่องนึงที่มีที่มาที่ไปแบบว่า  “ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และทำไม”


คำถามแรกที่ผู้เขียนอยากจะโยนไปให้ใครก็ตามที่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อกรณี “รายการตอบโจทย์” ตอนที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่นี้ก่อนเลยก็คือว่า

1.สถานี ผู้บริหารสถานี ผู้ควบคุมรายการ ผู้เช่าเหมาช่วงจัดรายการ ผู้ดำเนินรายการดังกล่าว (คุณภิญโญ) มีวาระซ่อนเร้นอะไร อย่างไรหรือไม่ ถึงได้ตั้งประเด็นเนื้อหา หรือหยิบเนื้อหาเกี่ยวกับ ม.112 มาเป็นประเด็นถกเถียงกัน ทั้งๆ ที่มันไปเข้าทางฝ่ายการเมือง เหมือนเตะหมูเข้าปากสุนัข (ซึ่งต้องการจะแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งฉบับอยู่เวลานี้ และประเด็นหลักที่ต้องการจะแก้ ก็คือ ม.112 ซึ่งเป็น 1 ในหัวข้อที่ต้องการจะแก้)เทียบเคียงเรื่องนี้คล้ายๆ กับสำนักโพลล์และบรรดาโพลล์ต่างๆ ที่ชอบทำมาเพื่อรับใช้นักการเมืองทั้งหลาย ภายหลังถูกจับได้คาหนังคาเขาว่าไปรับเงินมา แต่ก็ยังหน้าด้านที่จะทำต่อไป และเป็นเรื่องของคนกลุ่มเล็กๆ ที่เดือดร้อนกัน อาทิ กลุ่มเสื้อแดงบางปีกและนักวิชาการกลุ่มนิติราษฏร์ที่ไม่รู้เป็นเดือดเป็นร้อนอะไรนักหนากับประเด็นนี้  

2.ทำไมประเด็นสาธารณะ หรือหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนในวงกว้าง และสำคัญกว่าเรื่อง ม.112 อย่างเรื่องปากท้อง น้ำมันแพง ค่าจ้าง 300 บาทมีผลทำให้ตกงาน,รถยนต์คันแรกส่อเค้าสร้างหนี้, การตั้งเงินงบประมาณ 2.2 ล้านๆ บาท ภาษีและภาระของประชาชนในระยะยาว ความจำเป็นเร่งด่วนหรือตั้งงบประมาณเพื่อคอรัปชั่น ,ค่าเงินบาทแข็งกระทบผู้ส่งออกและอุตสาหกรรมอะไรบ้าง,ผลผลิตเกษตรกรปีนี้ นาแล้ง,เงินแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทำไปถึงไหนแล้ว เป็นต้น) หัวข้อหรือ topic สำคัญๆ ที่มีความน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในฐานกว้าง กลับไม่เคยมีการนำมาพูดถึงกันในรายการเลย มีแต่ประเด็นทางการเมือง จึงอยากจะถามไปยังผู้ดำเนินรายการและทางสถานีว่า รายการนี้มันต้องการจะตอบโจทย์แต่เพียงพวกนักการเมือง แต่เพียงอย่างเดียวเหรอ แล้วไหนคุยโม้ว่าเป็นสถานีของประชาชน เป็นสถานีสาธารณะ เป็นสื่อที่ปฏิรูปตัวเองเรียบร้อยแล้ว ใช้เงินภาษีของประชาชนไปก่อตั้งสถานีแท้ๆ แต่บทบาทการทำหน้าที่ ความเป็นสื่อ ในครั้งนี้เป็นที่เคลือบแคลง แฝงวาระซ่อนเร้น ไม่ต่างจากทีวีช่อง 11 NBT ซึ่งทุกวันนี้กลายเป็นสาขาของ Voice TV หรือ Asia Update อีกช่องนึง รายการตอบโจทย์ช่วงหลังๆ มานี้ ผู้เขียนเองก็ยังเคยคิดว่ากำลังนั่งดู voice tv อยู่หรือนี่  มันช่างไม่ต่างจากรายการแตกประเด็นของสรยุทธ์ ทางช่อง 3 เลย คือดุดัน รุกไล่เก่งในประเด็นที่เขาต้องการจะให้ผู้ร่วมรายการคู่กรณีที่เขาเชิญมาตอบ แต่ผู้ร่วมรายการอีกฝ่ายที่เป็นพวกเดียวกัน ชงหวานซะงั้นให้ตอบหรือพูดในสิ่งที่เขาต้องการนำเสนอ บุคลิกการดำเนินรายการของคุณภิญโญเริ่มใกล้เคียงสรยุทธ์เข้าไปทุกที  มันจึงไม่แปลกที่ประชาชนกลุ่มที่ทนไม่ไหว เขาจะมองว่าพวกคุณมันเป็นแดง พรรคพวกเดียวกัน


การที่คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมมา ออกมาดราม่า ทำเป็นขอลาออกหรือยุติการทำรายการ “ตอบโจทย์” เพื่อรับผิดชอบต่อการประท้วงต่อต้านของคนดูกลุ่มนึงนั้น ผู้เขียนเห็นว่าคุณจะลาออกทำไม ในเมื่อคุณอ้างว่าคุณทำถูกต้องแล้ว มีความเป็นมืออาชีพ มีความเป็นกลาง เชิญมาทั้ง 2 ฝ่าย ก็ในเมื่อยืนยันว่าตัวเองมีความบริสุทธิ์ใจเช่นนี้แล้ว จะลาออกทำไม ก็จัดมันต่อไปสิ  เพียงแต่ประชาชนเขารู้สึกว่าคุณไม่ยุติธรรมแค่นั้นแหละ นำเสนอแต่ประเด็นที่เป็นวาระของฝ่ายการเมือง ไม่นำเสนอประเด็นของอีกฝ่ายที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับฝ่ายการเมือง หรือรัฐบาลในปัจจุบันเลย เขาไม่ได้ต่อต้านคุณเพียงเพราะคุณไปเชิญพวกเสื้อแดงมาพูดแต่ประเด็น ม.112 หรือไม่ได้บอกว่าสื่ออย่างคุณจัดหรือพูดเรื่องพวกนี้ไม่ได้  ไม่ใช่ แต่คุณให้เวลากับอีกฝ่ายนึงบ้างมั๊ย  ทำไมกับแค่การให้เวลา การให้ความสำคัญกับประเด็นสาธารณะที่มันใกล้เคียงกับความรู้สึกของมหาชน ประชาชนแค่นี้ คุณทำเป็นอินโนเซ้นท์ ไร้สาระซะงั้น แต่กับเรื่องไม่เป็นเรื่องอย่างเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน ทำเป็นเก่งจังเลย มีแง่มุมรอบด้าน หลากหลายมิติจังเลย ถกเถียงกันหน้าดำคร่ำเครียด ราวกับว่าถ้าประเทศนี้ ชาวบ้านมันวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์กันไม่ได้ มันจะตายกันทั้งประเทศมั๊ง ทีกับเรื่องความไม่ชอบมาพากลของนโยบายพลังงาน ปตท. การเล่นลิเกเรื่องประหยัดพลังงาน จะไม่มีไฟฟ้าใช้บ้างหล่ะ หรือนโยบายประหยัดพลังงานกำมะลอ อย่างนี้ ทำไมสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ไม่คิดจะมาตอบโจทย์บ้างเลยเหรอ  หรืออย่างเรื่องเขาพระวิหาร ประเทศไทยจะเสียดินแดนอยู่มะรำมะร่อ ใครได้ใครเสีย ใครต้องมีส่วนรับผิดชอบกับการแพ้คดีศาลโลกแล้วเสียดินแดน ทำไมทีวีไทย แกไม่มาตอบโจทย์ชาวบ้านบ้างหล่ะ ,ปัญหาข้าวของแพง ค่าครองชีพสูงไม่สำคัญพอที่จะมาตอบโจทย์เลยเหรอ  มันช่างสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานีจริงๆ รวมไปถึงสภาผู้ชมอะไรนั่นของสถานีด้วย ทำอะไรบ้างกับกรณีรายการตอบโจทย์นี้   


ต่อกรณี"ตอบโจทย์" ผู้เขียนคิดว่า ไทยพีบีเอสนั้นทำเอาภาพลักษณ์นั้นเสื่อมเสียไปแล้วจริงๆ นับแต่นี้ สถานีโทรทัศน์แห่งนี้ยังจะเป็นที่พึ่งให้กับประชาชนได้อีกหรือ ความน่าเชื่อถือที่สั่งสมมาหลายปี นับแต่ก่อตั้งสถานีมากลับกลายเป็น 0 ใหม่ก็คราวนี้ หวังว่าทางผู้บริหารสถานีและเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะหันกลับมาทบทวนบทบาทหน้าที่ของตนใหม่ ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการต่างๆ รวมไปถึง กสทช.ด้วย ว่าจะมาอ้างแต่ความเป็นมืออาชีพ อุดมการณ์ จุดยืน จรรยาบรรณของสื่อ แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อมาใช้เป็นมาตรวัด ในการตัดสินใจ หรือทำหน้าที่ของสื่อเท่านั้น แต่ควรเพิ่มคำว่า ขนบ ธรรมเนียม จารีต ประเพณี ครรลอง  3 เสาหลัก คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และคำว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เข้าไปด้วย เวลาที่จะหาข้ออ้างในการตัดสินใจอะไรที่ผิดพลาดออกไป แล้วไม่เคยออกมาขอโทษประชาชนเลย เป็นตรรกะ และสันดานเดียวกับ นักการเมืองไทยจริงๆ ขอโทษที่ต้องพูดแรงๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ และนี่เป็นเพียงเสียงสะท้อนบางส่วนเท่านั้นจากประชาชนคนนึง ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กเขาด่ากันแรงกว่านี้มากนัก
ทีนี้มาดูไอ้เจ้าตัวต้นเรื่องของประเด็นดราม่าที่ชื่อว่า ม.112 ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน "นิติเร้ด" เอ๊ยไม่ใช่ "นิติราษฏร์"
คณะนิติราษฎร์ เป็นกลุ่มอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีข้อเสนอทางวิชาการ ในการลบล้างผลพวงของการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โดยออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีของรัฐประหารดังกล่าว และต่อมายังเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ว่าด้วยความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย
สมาชิกคณะนิติราษฎร์
·         รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
·         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
·         อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
·         อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร
·         อาจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล
·         อาจารย์สาวตรี สุขศรี
·         อาจารย์ปูนเทพ ศิรินุพงศ์

กลุ่มนักวิชาการชื่อ 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549 ด้วยการนำเสนอบทความทางวิชาการ ออกมาเป็นระยะ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553 กลุ่ม 5 อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และเพื่อนอาจารย์ เปิดตัวเว็บไซต์คณะนิติราษฎร์ พร้อมทั้งจัดงานเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ 4 ปีรัฐประหาร 4 เดือนพฤษภาอำมหิต อนาคตทางสังคมไทย โดยมีคณะนิติราษฎร์เป็นองค์ปาฐก ต่อมาในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 คณะนิติราษฎร์แถลงข้อเสนอทางวิชาการ ในหัวข้อ 5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์ จนก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ข้อเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112


คณะนิติราษฎร์ แถลงข้อเสนอทางวิชาการ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยสรุปดังต่อไปนี้
1.    ยกเลิกมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
2.    เพิ่มเติมลักษณะความผิด เกี่ยวกับพระเกียรติของ กษัตริย์ ราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในประมวลกฎหมายอาญา
3.    แบ่งแยกการคุ้มครอง สำหรับตำแหน่งกษัตริย์ ออกจาก ราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
4.    แก้ไขอัตราโทษ โดยไม่บัญญัติอัตราโทษขั้นต่ำ เพิ่มโทษปรับ ลดอัตราโทษขั้นสูง โดยเปรียบเทียบกับอัตราโทษ ที่ใช้ในกรณีของบุคคลทั่วไป ให้การกระทำผิดต่อพระมหากษัตริย์ สูงกว่าบุคคลทั่วไป 1 ปี และแยกแยะโทษของการกระทำผิด ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่น
5.    บัญญัติเหตุยกเว้นความผิด ในกรณีติชมหรือแสดงข้อความโดยสุจริต เพื่อรักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ
6.    บัญญัติเหตุยกเว้นโทษ ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง แต่หากการพิสูจน์นั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์
7.    ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษ โดยให้อำนาจกองนิติการ ของสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้กล่าวโทษ

ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะนิติราษฎร์ ร่วมกับ กลุ่มนักวิชาการ คณาจารย์ นักเขียน ศิลปิน และปัญญาชน จัดตั้ง "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112" (ครก. 112) เพื่ออธิบายรายละเอียด ของข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และรวบรวมรายชื่อ เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา

รายชื่อผู้ลงชื่อเสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ 112 คนแรกที่มีการประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ได้แก่


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ
ผาสุก พงษ์ไพจิตร เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการ นักเขียน
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ วุฒิสมาชิกและอัยการ
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล
อภิชาติพงษ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์/ศิลปิน
ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปิน
ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน
ธเนศวร์ เจริญเมือง รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อานันท์ กาญจนพันธุ์ สังคมและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยศ สันตสมบัติ สังคมและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกษียร เตชะพีระ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์
กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
ขวัญระวี วังอุดม โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
เอกกมล สายจันทร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โกสุมภ์ สายจันทร์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฉลาดชาย รมิตานนท์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัฒนา สุกัณศีล สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัชวาล ปุญปัน อดีตอาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ ม.เชียงใหม่
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จันทจิรา เอี่ยมมยุรา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธีระ สุธีวรางกูร นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปิยะบุตร แสงกนกกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปูนเทพ ศิรินุพงษ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันรัก สุวรรณวัฒนา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนุสรณ์ อุณโน สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นลินี ตันธุวนิตย์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มรกต ไมยเออร์ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วาด รวี นักเขียน
ปราบดา หยุ่น นักเขียน
วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน นักแปล
มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียน
สุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการ
ไอดา อรุณวงศ์ วารสาร "อ่าน"
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ
วิจักขณ์ พานิช นักเขียน นักแปล
สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน-นักวิชาการอิสระ
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สื่อมวลชน
นพ. กิตติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการรพ. ภูสิงห์ จ.ศรีษะเกษ
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน
จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการ สำนักข่าวประชาไท
จิตรา คชเดช ผู้นำแรงงาน, กลุ่ม Try Arm
สมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมสังคม
แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
อานนท์ นำภา ทนายความ
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
อนุสรณ์ ธรรมใจ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
อันธิฌา ทัศคร ปรัชญาและศาสนา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กานดา นาคน้อย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue) สหรัฐอเมริกา
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ดร.พงศาล มีคุณสมบัติ นักวิชาการอิสระด้านพลังงานนิวเคลียร์
ไชยันต์ รัชชกูล มหาวิทยาลัยพายัพ
คมลักษณ์ ไชยยะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ชัชวาลย์ ศรีพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมธรรมศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย
ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โกวิท แก้วสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เอมอร นิรัญราช คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิติ ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นฤมล ทับจุมพล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉลอง สุนทรวาณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวิมล รุ่งเจริญ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนาพล ลิ่มอภิชาต อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษม เพ็ญภินันท์ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
วัฒน์ วรรยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา
อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารเวย์
เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์สามัญชน
ดวงมน จิตร์จำนงค์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พิเชฐ แสงทอง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียน
อุทิศ เหมะมูล นักเขียนรางวัลซีไรต์
เรืองรอง รุ่งรัศมี นักเขียน นักแปล
ทองธัช เทพารักษ์ นักเขียน การ์ตูนนิสต์ ศิลปิน
เดือนวาด พิมวนา นักเขียนรางวัลซีไรต์
ประกาย ปรัชญา กวี
ซะการีย์ยา อมตยา กวีรางวัลซีไรต์
วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเขียน
กฤช เหลือละมัย กวี
วินัย ปราบบริปู นักเขียน ศิลปิน

จรัล ดิษฐาอภิชัย

 ดูจากรายชื่อบรรดานักคิด นักเขียนเหล่านี้แล้ว ยิ่งทำให้ผู้เขียนรู้สึกหดหู่ใจ บางตนคือคนที่เราเคยตามงานเขียนเขาอยู่ด้วย บางคนเราเคยชื่นชอบในผลงานการเขียนเป็นอย่างมาก แต่บัดนี้เราต้องมานั่งทบทวน ปรับทัศนคติเสียใหม่ พยายามทำความเข้าใจในวิธีคิด และจุดยืนของพวกเขาซึ่งไม่ใช่สิ่งเสียหาย และเป็นไปได้ ยอมรับได้ ผู้เขียนสามารถแยกแยะได้ระหว่างวิธีคิด ทัศนคติ รสนิยม กับผลงาน บอกได้เลยว่าผู้เขียนยังคงติดตามงานเขียนของนักคิด นักเขียนเหล่านั้นอยู่บางท่าน แต่ก็เลือกที่จะเสพงานแบบระมัดระวัง พิถีพิถันมากขึ้น และเลือกเสพที่เป็นงานคุณภาพจริงๆ ส่วนในประเด็นเรื่อง ม.112 หรือประเด็นทางการเมือง เราสามารถเห็นต่างกันได้ ไม่ผิด เป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แต่ผู้เขียนก็ยังเชื่อว่าสังคมไทยเติบโตมาได้ รักษาชีวิตรอดและสร้างชาติเป็นปึกแผ่นมาได้ก็ด้วยมีระบอบพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็ง เปรียบเสมือนสถาบันครอบครัวที่ผู้เป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงดูบุตรหลานมาอย่างดี ป้อนน้ำป้อนข้าว ให้การส่งเสียให้เรียนหนังสือ มีชีวิตที่สุขสบาย  พ่อแม่มีแต่ให้เสมอมา ไม่เคยดุด่าลูกเลย มีแต่พร่ำสอนตักเตือนในสิ่งที่ดี  วันนึงลูกหลานเติบใหญ่มีหน้าที่การงานใหญ่โต มาขอลำเลิกบุญคุณหรือต้องการขอบทบาทที่จะวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ได้บ้าง ขอเถียงหรือด่าว่าเวลาพ่อแม่จะสั่งสอนได้บ้าง แล้วอ้างหลักการเสรีภาพ ประชาธิปไตย ผู้เขียนลองถอดหัวโขนทุกหัวโขน เอาปริญญาบัตรการศึกษาทุกปริญญาวางลง แล้วใช้ตรรกะวิธีคิดโง่ๆแบบชาวบ้านลองวิเคราะห์ดู ก็ปรากฏว่า พฤติกรรมเยี่ยงนี้นี่มึงมันลูกทรพีชัดๆ นี่หว่า เพราะไม่มีลูกหลานดีๆ ที่ไหนมันจะทำกันหรอก ฝากไว้เป็นข้อคิดเตือนใจกันนะ เพราะทุกคนก็มีชีวิต ศักดิ์ศรี มีต้นทุนทางสังคม มีการศึกษาดีกันทั้งนั้น ฝากอีกสักประโยคนึงให้เห็นภาพชัดก็คือ "ระบอบพระมหากษัตริย์นั้นสร้างชาติ สร้างแผ่นดินเอาไว้ แต่ระบอบเดรัจฉาน กัดกินทุกเมล็ด ทุกเม็ด สร้างแต่ความหายนะ ฉิบหายไว้ในแผ่นดิน"  คุณยังจะเลือกระบอบใดก็ลองคิดดูเอาก็แล้วกัน  

หมายเหตุ  กฎหมายรัฐธรรมนูญในหมวดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ก็คือ ม.112 มีถ้อยคำที่เขียนเอาไว้ดังนี้
“มาตรา 112 – ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

คำกล่าวอ้างที่บอกว่า ม.112 นั้นห้ามไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นไม่จริง เพราะตัวอย่างที่เห็นอยู่ในรายการตอบโจทย์นี้เรียกว่าอะไร ยิ่งกว่าวิพากษ์วิจารณ์ แต่กฎหมายเพียงแต่กำหนดโทษสำหรับคนที่หมิ่นประมาท (คนทั่วไปยังฟ้องหมิ่นประมาทได้เลย) อาฆาตมาดร้ายพระองค์ท่าน พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทน ซึ่งไอ้พวกที่โดนคดีอยู่นั้นเป็นเพราะเข้าข่ายหมิ่นประมาทลับหลังพระองค์ท่าน รวมถึงยังจาบจ้วง ด่าทอ อาฆาตมาดร้ายพระองค์ท่านด้วย ส่วนโทษมีตั้งแต่ 3-15 ปี ผู้ใดจะได้รับโทษกี่ปี หรือสูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่/เจ้าพนักงานสั่งฟ้อง และผลสุดท้ายก็คือศาลท่านจะเป็นคนตัดสินตามความเหมาะสมของน้ำหนักความผิดเอง ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องโดนจำคุกคดีละ 15 ปีทุกคนไป ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการพูดเพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น กฏหมาย ม. 112 ไม่ได้ร้ายแรง หรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยใดๆ เลย วิญญูชนที่เป็นพลเมืองดีๆ โดยทั่วไป ถ้าไม่ทำผิด คิดร้ายต่อพระองค์ท่าน ไฉนจะต้องมาเดือดร้อนกับกฏหมายนี้ อยากให้ผู้อ่านทุกท่านลองนำไปพิจารณาหรือใช้วิจารณญาณไตร่ตรองดูเหตุและผลของพวกที่ต้องการจะแก้ไข กฏหมาย ม. 112 ให้ดี ว่ามีจุดประสงค์อะไรอื่นเคลือบแฝงหรือไม่ เพราะโดยตัวกฏหมายแล้วมีการกำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนมานานแล้ว ไม่เห็นมีใครเดือดร้อน แต่ทำไมมา พ.ศ.นี้ ถึงมีคนจงใจ เจตนาจะฝ่าฝืนทำผิด แล้วมาอ้างว่ากฏหมายไม่ดี ไม่ถูกต้อง มีใครเสี้ยมอยู่ข้างหลังหรือไม่ และจุดประสงค์ในการเคลื่อนไหวทั้งหลายเหล่านั้น ทำไปเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์  ผมเชื่อว่าประชาชนดีๆ ที่จงรักภักดี และเคารพรัก เทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทุกคนคงจะเข้าใจ และไม่มีทางจะสั่นคลอนสถาบันฯ อันเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวไทยได้ และขอให้พวกที่คิดร้าย มีเจตนาไม่บริสุทธิ์มีอันเป็นไปด้วยเทอญ     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น