1.ด้านไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ มีการกำหนดรายละเอียดที่ลงลึก detail กันมากขึ้นในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นเค้าโครงเรื่องใช้บทประพันธ์ที่เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้ว เช่น วรรณกรรม ตำนาน นวนิยาย อัตชีวประวัติ บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์มาสร้างเป็นเค้าโครงเรื่องของตัวละคร หรือเป็นเรื่องแต่งใหม่ทั้งหมด เทคนิคงานสร้าง ว่าจะใช้เทคนิคการผลิตรูปแบบใด เขียน วาด โดยศิลปิน หรือใช้ คอมพิวเตอร์กราฟฟิคทั้งเรื่อง หรือผสมผสานกัน ประเด็นของเนื้อหาที่ต้องการสื่อหรือให้ข้อคิด เนื้อหาต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้ชมในวงกว้างหรือวงจำกัด (โดยมากการ์ตูนไทยทุกเรื่องสร้างเพื่อครอบครัวและเยาวชน ยังไม่เห็นว่ามีเป็นเรื่องใดผลิตขึ้นเฉพาะสำหรับผู้ใหญ่) คาแร็กเตอร์ตัวละคร เป็นการดีไซน์ขึ้นมาใหม่ หรือสร้างจากเค้าโครงที่เป็นมนุษย์หรือบุคคลสำคัญต่างๆ ที่เห็นเด่นชัดสำหรับด้านไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ในงาน รวมทั้งการตีความใหม่ของเนื้อหา ได้แก่ เรื่องยักษ์ของ คุณประภาส ค่ายเวิร์คพ้อยท์
2.ด้านเทคนิคงานสร้าง มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิค เข้ามาใช้สำหรับสร้างภาพเสมือนจริง ภาพตัดต่อ ฉากงานสร้างที่อลังการ ใช้ตัวแสดงจำนวนมาก หรือจินตนาการลึกล้ำ ทั้งปรับแต่ง แสง สี เสียง ปัจจุบันก็เริ่มผลิตเป็นแบบ 3D และในเมืองนอกก็เริ่มมีการผลิตแบบ 4D กันแล้ว ที่ผู้เขียนชื่นชมในด้านนี้ก็คือ เรื่อง พระมหาชนก และ ก้านกล้วย
3.ด้านพล็อตเรื่องและบทภาพยนตร์ ใช่ว่าการ์ตูนจะไม่มีพล็อตหรือบท เพราะถ้าเรื่องใดบทไม่แข็งแรง เนื้อหาที่ดำเนินไปก็จะไม่สนุก ชวนให้น่าติดตาม และถ้าเป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว หรือเป็นเรื่องราวที่เป็นสากล ก็จะทำให้เข้าใจง่าย ขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ถ้าเป็นการผลิตเพื่อขายต่างประเทศเป็นหลัก เนื้อหาต้องเป็นสากลที่คนทุกเพศทุกวัยทุกศาสนาทุกชนชาติจะเข้าใจได้ และไม่สลับซับซ้อนมากนัก มีที่มาที่ไปของตัวละครชัดเจน ถ้าเป็นภาพยนตร์ผู้เขียนก็ชืนชอบเรื่องพระพุทธเจ้า ,รามเกียรติ์ แต่ถ้าเป็นแอนิเมชั่นที่เป็นซีรี่ย์ (ฉายเป็นตอนทางทีวี) ก็จะชอบ ปังปอนด์ เชลล์ด้อน และเบิร์ดแลนด์ เป็นต้น
4.ด้านประเด็นเนื้อหา อันนี้ก็ต่อเนื่องมาจากข้อที่ 3 คือมีบทที่ดีแล้ว จะต้องโฟกัสลงไปที่ประเด็นเนื้อหา ต้องการจะสื่ออะไร หรือให้น้ำหนักข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องใด ในเรื่องนั้นๆ แล้วบทกับตัวละครก็ต้องนำพาไปสู่ประเด็นเนื้อหานั้น ไม่ใช่สร้างปมขึ้นมาแล้วก็ทิ้งไป และเจ้าประเด็นเนื้อหานี้แหละมีความสำคัญต่อเรื่อง ถ้าประเด็นเนื้อหาที่กำหนดมาเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนใจหรือคลื่คลายปมออกมาได้ไม่ดีหรือจบไม่สวย หนังเรื่องนั้นก็จะตกม้าตายตอนจบ และอาจทำให้กระแสตอบรับหรือบอกต่อไม่ดี ลุกลามไปถึงหนังไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้เลยก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเรื่อง เอ็คโค่ จิ๋วก้องโลก และเรื่อง นาค ไม่ได้บอกว่าทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่มีประเด็นเนื้อหาที่ดีนะ แต่การคลื่คลายปม ประเด็นเนื้อหาอาจยังไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ไม่เกิดความประทับใจ ไม่เกิดกระแสบอกต่อ จนตัวหนังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
5.ด้านคาแร็กเตอร์ตัวละคร ถือเป็นหัวใจของหนังแอนิเมชั่น หรือเป็นจุดขายเลยก็ว่าได้ ถ้าการกำหนดคาแร็กเตอร์ไม่ชัด ไม่โดดเด่น ไม่เป็นที่น่าจดจำ ตัวอย่างของการสร้างคาแร็กเตอร์ตัวละครได้โดดเด่น น่าจดจำ ก็เช่น เรื่อง ปังปอนด์ ก้านกล้วย และก็เรื่องยักษ์ แต่คาแร็กเตอร์ตัวละครที่ยังไม่โดดเด่นหรือสร้างการจดจำก็อาทิ เรื่อง นาค และก็ เอ็คโค่ จิ๋วก้องโลก
และเมื่อผู้เขียนลองนำเอา 5 ด้านนี้มาวิเคราะห์โดยภาพรวมโดยการให้คะแนนเต็ม 5 ในแต่ละด้าน ก็ขอจัดอันดับภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นของไทยได้เป็น 10 อันดับดังนี้ (อันนี้เป็นความคิดเห็นหรือความชอบส่วนตัวของผู้เขียนเอง)
รูปแบบ
|
การ์ตูนเอนิเมชั่น 3D
| |
แนวภาพยนตร์
|
ครอบครัว-ผจญภัย
| |
บริษัทผู้สร้างและจัดจำหน่าย
|
สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
| |
ดำเนินงานสร้าง
|
บริษัทบีบอยซีจี
| |
อำนวยการสร้าง
|
สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
| |
ควบคุมงานสร้าง
|
บอย โกสิยพงษ์, ปรัชญา ปิ่นแก้ว,
| |
กำกับภาพยนตร์
|
ณัฐทพงศ์ รัตนโชคสิริกูล
| |
กำกับเสียงเสียง
|
นันทนา บุญหลง
| |
บทภาพยนตร์
|
เสนีย์ จิตสุวรรณวัฒนะ
| |
ดนตรีประกอบ
|
บอย โกสิยพงษ์
| |
พากย์
|
นาค (เอ๊ะ ศศิกานต์ อภิชาตวรศิลป์)
เขียว (เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา) ทอง (น้าติ่ง สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล) อืด (นุ้ย เชิญยิ้ม) ธี (น้องเก็ต อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล) แก้ม (น้องเกรซ นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ) นันทนา บุญหลง,สมชาย ศักดิกุล เบิ้ล สินเจริญ บราเธอร์ |
นาค มีต้นแบบและไอเดียมาจากแม่นาคพระโขนง ตำนานผีสาวที่โด่งดังที่สุดของเมืองไทย แต่นาคในเรื่องนี้ เป็นนาคที่หน้าตาสดใส น่ารัก ตากลมโต หน้าทันสมัย หุ่นดี ไม่น่ากลัวเหมือนอย่างในหนังเวอร์ชั่นอื่น นาคในภาคการ์ตูนเป็นผู้หญิงที่มีความเป็นผู้นำสูง รักเพื่อนพ้อง รักเด็ก (โดยเฉพาะเด็กดี) และความยุติธรรม เกลียดที่สุดคือคนที่ชอบรังแกคนอื่น นาคพร้อมจะปกป้องคุ้มครองคนที่ถูกรังแกเสมอ ท่าไม้ตายของนาคคือการยืดมือได้ยาวไกล และมีความว่องไวมากตามที่ใจต้องการ
“นาคเป็นคาแรกเตอร์โจทย์แรกเลยที่ต้องคิดออกมาให้แตกก่อน แล้วถึงจะคิดตัวอื่นๆ ตามมา ที่ยากคือเราจะลบภาพเก่าๆ ที่มีต่อนาคได้ยังไง จะทำยังไงให้นาคคนนี้เป็นที่รักของทุกคนได้ ดูยังไงไม่ให้น่ากลัว ดูแล้วต้องสดใส เราก็นึกถึงรูปลักษณ์และความสามารถก่อน นาคต้องเก่ง เป็นผู้นำที่จะพาเราไปผจญภัยในโลกวิญญานที่สนุกสนานได้ ถ้านึกถึงการ์ตูนฮีโร่สักเรื่องนึงที่มียอดมนุษย์หลายๆ สี แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง ชมพู นาคต้องเป็นสีแดง คือเก่งสุด เท่ห์สุด สวยที่สุด แต่นาคเป็นผู้หญิงเราเลยใช้สีโทนแดงแต่ไม่ถึงกับแดงเว่อร์ ถึงนาคจะเป็นผีในอดีต แต่เรื่องนี้ต้องมีความทันสมัย จะทำคาแรกเตอร์การ์ตูนให้เชยๆ คงจะไม่ได้ เพราะหนังเรื่องนี้มีความร่วมสมัยอยู่ในเรื่องด้วย”
“นาคเป็นคาแรกเตอร์โจทย์แรกเลยที่ต้องคิดออกมาให้แตกก่อน แล้วถึงจะคิดตัวอื่นๆ ตามมา ที่ยากคือเราจะลบภาพเก่าๆ ที่มีต่อนาคได้ยังไง จะทำยังไงให้นาคคนนี้เป็นที่รักของทุกคนได้ ดูยังไงไม่ให้น่ากลัว ดูแล้วต้องสดใส เราก็นึกถึงรูปลักษณ์และความสามารถก่อน นาคต้องเก่ง เป็นผู้นำที่จะพาเราไปผจญภัยในโลกวิญญานที่สนุกสนานได้ ถ้านึกถึงการ์ตูนฮีโร่สักเรื่องนึงที่มียอดมนุษย์หลายๆ สี แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง ชมพู นาคต้องเป็นสีแดง คือเก่งสุด เท่ห์สุด สวยที่สุด แต่นาคเป็นผู้หญิงเราเลยใช้สีโทนแดงแต่ไม่ถึงกับแดงเว่อร์ ถึงนาคจะเป็นผีในอดีต แต่เรื่องนี้ต้องมีความทันสมัย จะทำคาแรกเตอร์การ์ตูนให้เชยๆ คงจะไม่ได้ เพราะหนังเรื่องนี้มีความร่วมสมัยอยู่ในเรื่องด้วย”
ชื่อหนัง : Ramayana The Epic,รามเกียรติ์
แนวหนัง : แอนิเมชั่น
เรื่องย่อ Ramayana The Epic รามเกียรติ์
”รามเกียรติ์”จากมหากาพย์วรรณคดีสู่มหากาพย์ภาพยนตร์ นฤมิตกรรม 3D Animation เปิดฉายในไทยเริ่ม 21 เม.ย.54
”รามเกียรติ์” เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์แห่งชมพูทวีปที่เล่าสืบต่อกันมายาวนาน ผู้รวบรวมครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เรื่องและตัวละครใน”รามเกียรติ์ “มีความสัมพันธ์กับอารยธรรมของเอเซียอย่างลึกล้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบถิ่น อินเดียและในดินแดนสุวรรณภูมิรวมถึงไทย
”รามเกียรติ์” เรื่องราวแห่งสงครามระหว่างความดีกับความชั่ว ตำนานการต่อสู้ระหว่างพระรามเจ้าชายแห่งอโยธยา (ผู้เป็นอวตารแห่งพระนารายณ์ที่มีหนุมานเป็นทหารเอก) กับทศกัณฑ์เจ้าแห่งกรุง ลงกา
มายา ดิจิตอล มีเดีย ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์และอนิเมชั่นชั้นแนวหน้าที่มีผลงานการผลิตงาน ภาพยนตร์และโฆษณารวมทั้งเกมส์คอมพิวเตอร์ระดับอินเตอร์ ได้นำ”รามเกียรติ์”จากมหากาพย์วรรณคดีมาจัดสร้างเป็นมหากาพย์ภาพยนตร์ โดยใช้เวลา 2 ปีในการวางแผนงานการสร้าง โปรดั๊กชั่นดีไซน์ และใช้เวลา 3 ปีด้วยทุนสร้างมหาศาลในนฤมิตกรรม 3D อนิเมชั่นที่สมบูรณ์แบบทั้งภาพและเสียง
ดร.วัลลภา พิมพ์ทอง ประธานบริษัท มีเดียสแตนดาร์ด จำกัด ในฐานะผู้อำนวยการสร้างการ์ตูน "พระพุทธเจ้า" กล่าวว่า แอนิเมชั่นเรื่องนี้ถือได้ว่าเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติได้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ใช้เวลาดำเนินการทั้งหมด 4 ปี ตั้งแต่กระบวนการหาข้อมูล การลงมือผลิต ด้วยทุนสร้าง 108 ล้านบาท บวกกับงบประชาสัมพันธ์ รวมเป็น 120 ล้านบาท โดยได้ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องอีกด้วย และจะเริ่มฉายหนังตัวอย่างในโรงภาพยนตร์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนเป็นต้นมา
ทั้งนี้การ์ตูนแอนิเมชั่น "พระพุทธเจ้า" ได้รับคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 และโครงการทำดีเพื่อพ่อ และมีกำหนดการเข้าฉายวันที่ 5 ธันวาคมนี้ ตามความตั้งใจแรกเริ่มของ ดร.วัลลภา ตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา
"ปัญหาหนักที่สุดสำหรับโครงการนี้ จริงๆ แล้วก็คือเรื่องเงิน และถ้าหากภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างที่ต่างประเทศคงใช้ทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้าน แต่ที่เราใช้ทีมงานคนไทย ก็เพราะต้องการโชว์ศาสตร์และศิลป์ฝีมือคนไทย คิดว่าคนไทยไม่แพ้ใคร" ดร.วัลลภา แจง
พร้อมกันนี้โครงการยังได้รับความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลากหลาย โดยสมาคมยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์รับหน้าที่นำภาพยนตร์แอนิเมชั่นไปฉายให้ประเทศสมาชิกได้รับชมเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ในระดับโลก โดยการ์ตูน "พระพุทธเจ้า" ได้รับการแปลเป็นภาษานานาชาติ 5 ภาษาเป็นอย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเยอรมัน
รศ.ดร.กฤษมันต์วัฒนาณรงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กล่าวว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้บรรดาแอนิเมเตอร์ชื่อดังของเมืองไทยมาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน ถ้าใครว่างก็เข้ามาช่วย พร้อมยังได้ทีมงานหลายสิบชีวิตร่วมคลุกคลีจนงานสำเร็จเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ทำแอนิเมชั่นก็เป็นโปรแกรมง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะยุคนี้การจะเป็นแอนิเมเตอร์นั้นอยู่ที่ความคิดเป็นหลัก ดังนั้นจึงขอยืนยันว่านี่เป็นฝีมือคนไทยทำล้วนๆ
"ทุกขั้นทุกตอนนอกจากจะได้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเป็นผู้ตรวจสอบให้ตรงตามพระไตรปิฎกแล้ว ยังมีกระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาท้วงติงบางช่วงบางตอน เช่น ตอนลูกสาวพญามารทั้ง 3 คน คือ ราคา อรดี และ ตัณหา เข้ามาทำลายตบะพระพุทธองค์ ก็มีการติติงว่านุ่งน้อยห่มน้อยไปหรือเปล่า เราก็ต้องอธิบายให้เข้าใจไปว่าต้องเป็นเช่นนี้เพราะว่านั่นเป็นการยั่วกิเลส ซึ่งเขารับฟังแล้วก็รับได้" ผู้กำกับ กล่าว พร้อมบอกด้วยว่า ได้เทสต์ เฟ้นหาเสียงดาราและคนดังมาให้เสียงการ์ตูนเรื่องนี้อย่างเหมาะสมที่สุดอีกด้วย
ทั้งนี้การ์ตูนแอนิเมชั่น "พระพุทธเจ้า" ได้รับคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 และโครงการทำดีเพื่อพ่อ และมีกำหนดการเข้าฉายวันที่ 5 ธันวาคมนี้ ตามความตั้งใจแรกเริ่มของ ดร.วัลลภา ตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา
"ปัญหาหนักที่สุดสำหรับโครงการนี้ จริงๆ แล้วก็คือเรื่องเงิน และถ้าหากภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างที่ต่างประเทศคงใช้ทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้าน แต่ที่เราใช้ทีมงานคนไทย ก็เพราะต้องการโชว์ศาสตร์และศิลป์ฝีมือคนไทย คิดว่าคนไทยไม่แพ้ใคร" ดร.วัลลภา แจง
พร้อมกันนี้โครงการยังได้รับความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลากหลาย โดยสมาคมยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์รับหน้าที่นำภาพยนตร์แอนิเมชั่นไปฉายให้ประเทศสมาชิกได้รับชมเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ในระดับโลก โดยการ์ตูน "พระพุทธเจ้า" ได้รับการแปลเป็นภาษานานาชาติ 5 ภาษาเป็นอย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเยอรมัน
รศ.ดร.กฤษมันต์วัฒนาณรงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว กล่าวว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้บรรดาแอนิเมเตอร์ชื่อดังของเมืองไทยมาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน ถ้าใครว่างก็เข้ามาช่วย พร้อมยังได้ทีมงานหลายสิบชีวิตร่วมคลุกคลีจนงานสำเร็จเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ทำแอนิเมชั่นก็เป็นโปรแกรมง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะยุคนี้การจะเป็นแอนิเมเตอร์นั้นอยู่ที่ความคิดเป็นหลัก ดังนั้นจึงขอยืนยันว่านี่เป็นฝีมือคนไทยทำล้วนๆ
"ทุกขั้นทุกตอนนอกจากจะได้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเป็นผู้ตรวจสอบให้ตรงตามพระไตรปิฎกแล้ว ยังมีกระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาท้วงติงบางช่วงบางตอน เช่น ตอนลูกสาวพญามารทั้ง 3 คน คือ ราคา อรดี และ ตัณหา เข้ามาทำลายตบะพระพุทธองค์ ก็มีการติติงว่านุ่งน้อยห่มน้อยไปหรือเปล่า เราก็ต้องอธิบายให้เข้าใจไปว่าต้องเป็นเช่นนี้เพราะว่านั่นเป็นการยั่วกิเลส ซึ่งเขารับฟังแล้วก็รับได้" ผู้กำกับ กล่าว พร้อมบอกด้วยว่า ได้เทสต์ เฟ้นหาเสียงดาราและคนดังมาให้เสียงการ์ตูนเรื่องนี้อย่างเหมาะสมที่สุดอีกด้วย
ปังปอนด์ เป็นชื่อชุดการ์ตูนไทยซึ่งเป็นผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย ขายหัวเราะ) เดิมใช้ชื่อการ์ตูนชุดนี้ว่า ไอ้ตัวเล็ก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารมหาสนุกในเครือสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 ต่อมาจึงได้พิมพ์รวมเล่มในชื่อ "ไอ้ตัวเล็ก" โดยทยอยออกเป็นรายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อหัวหนังสือใหม่เป็น "ปังปอนด์" และมีคำว่า "ไอ้ตัวเล็ก" อยู่ข้างบน ตามชื่อตัวละครเอกของการ์ตูนชุดนี้ และยังคงตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา การ์ตูนเรื่องปังปอนด์ได้รับการดัดแปลงไปเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ และ 3 มิติ การ์ตูนชุดปังปอนด์ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 โดยบริษัท วิธิตา แอนิเมชัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบันลือกรุ๊ป (เครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในชื่อ "ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชัน ตอน ตะลุยโลกอนาคต" ออกฉายครั้งแรกเป็นตอน ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างท้วมท้น จากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในดาราการ์ตูนชั้นนำของไทย และได้มีการตัดต่อใหม่สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี การ์ตูนชุดปังปอนด์ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างด้วยภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติตลอดทั้งเรื่อง เนื่องจากที่ผ่านมาภาพยนตร์แอนิเมชันในประเทศไทยล้วนแต่เป็นภาพแบบ 2 มิติทั้งสิ้น และยังเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยเรื่องแรก ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ Imax Theater หลังจากนั้นบริษัท วิธิตายังได้สร้างการ์ตูนแอนิเมชันชุด ปังปอนด์ ต่อเนื่องออกมาหลายชุดจนถึงปัจจุบัน โดยการ์ตูนแอนิเมชันชุดล่าสุดคือ "ปังปอนด์ ตัวจิ๋ว หัวใจฮีโร่"
อันดับ 6 เชลล์ด้อน
เชลล์ดอน (อังกฤษ: Shelldon) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน 3 มิติ จากประเทศไทย ผลิตโดย บริษัท เชลล์ฮัทเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 และได้รับการจัดฉายใน NBC ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เมืองเชลล์แลนด์ เป็นเมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่ ณ ใต้ท้องทะเลอันดามัน เป็นเมืองที่พวก หอย ปู ปลา ต่างมาอาศัยกันอยู่ในเมืองแห่งนี้ เชลล์ดอน หอยพระอาทิตย์ผู้สงบเสงี่ยม ได้ย้ายตามครอบครัวจากถิ่นเดิม มาอาศัยอยู่ในเมืองเชลล์แลนด์แห่งนี้ ซึ่งเชลล์ดอน ก็ได้พบกับ คอนนี่ หอยเบี้ยที่ฉาญฉลาดและรวยล้นฟ้าซึ่งได้แยกตัวจากครอบครัวของตนเองและมาอาศัยทำงานอยู่ที่โรงแรมชาร์มมิ่งแคลม เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพตัวเอง กับ เฮอร์แมน ปูเสฉวนที่มีนิสัย ติงต๊องและมีความคิดนอกกรอบและสร้างปัญหาที่สุด เชลล์ดอน มักจะต้องพบกับประสบการณ์มากมายกับเพื่อนฝูงและการผจญภัยกับเพื่อนมาเป็นอย่างมาก อย่างไม่มีสิ้นสุด
อันดับ 5 พระมหาชนก
ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น ๓ มิติ เฉลิมพระเกียรติเรื่องแรกของประเทศไทย เรื่อง "พระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ที่สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ความเสียสละ ความมุ่งมั่นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงต้องการให้ปวงชนชาวไทยของพระองค์อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขในผืนแผ่นดินไทย เรื่องย่อ เปิดเทอมใหม่ โมนและพ้องเพื่อนตั้งตารอคอยว่าคุณครูประจำชั้นคนใหม่จะเป็นใคร "คุณครูชัย" คือคุณครูมาดหนุ่มที่จะมาดูแลพวกเขาตลอดภาคการศึกษาในชั้นเรียนปีนี้ และแล้วก็เกิดเรื่องให้คุณครูชัยต้องหนักใจเมื่อโมนและเพื่อน ๆ อยากฟังนิทานเรื่อง ใหม่ ๆ ที่พวกเขาไม่เคยฟังมาก่อน เรื่องราวการผจญภัยของพระราชาแห่งดินแดนขวานทองจึงเริ่มต้นขึ้น ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่จะช่วยเหลือไพร่ฟ้าประชาชนให้พ้นภัยจากความแห้งแล้ง อุทกภัย เหล่าปิศาจร้ายและความทุกข์ยากต่าง ๆ มาร่วมกันติดตามเรื่องราวของพระราชาองค์นี้ได้ในภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นสามมิติ เรื่อง "พระราชาผู้ยิ่งใหญ่" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อสร้างสรรค์เฉลิมพระเกียรติเทิดไท้องค์ราชันจอมทัพไทย ๘๔ พระชนมพรรษา ที่ท่านสามารถรับชมได้ทั้งระบบสองมิติ และระบบสามมิติ
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก (อังกฤษ: Echo Planet) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ สร้างโดย กันตนา ผลงานกำกับโดย คมภิญญ์ เข็มกำเนิด จากบทภาพยนตร์ของ วรัญญู อุดมกาญจนานนท์ และ คงเดช จาตุรันต์รัศมี เป็นเรื่องราวการผจญภัยของเด็ก 3 คนจาก 2 มุมโลก คือ มหานครนิวซีตี้ แคปิตัลสเตท และจากหมู่บ้านกะเหรี่ยงทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ช่วยกันกอบกู้โลกจากหายนภัยเนื่องจากภาวะโลกร้อน ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันเรื่องแรกของประเทศไทย ที่สร้างในระบบสามมิติ สเตอริโอสโคปิก (Stereoscopic 3D) เรื่องราวการผจญภัยบนมิตรภาพของเด็กจากสองฟากโลก ระหว่างพี่น้องชาวกะเหรี่ยง หน่อวา เด็กสาวผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และศิลปะการต่อสู้ จ่อเป เด็กชายที่สามารถสื่อสารกับธรรมชาติได้ด้วยการโขกหัว กับ แซม เด็กที่คลั่งใคล้ในอุปกรณ์ไฮเทค บุตรชายคนเดียวของประธานาธิบดีแห่งแคปิตัลสเตท แซมเดินทางมาเข้าร่วมค่ายลูกเสือโลกที่ประเทศไทย แต่ด้วยความหยิ่งและหลงตัวเองทำให้เขาหลงทางไปในป่าหมอกและตกอยู่ในอันตราย โชคดีที่กะเหรี่ยงสองพี่น้องมาพบเข้าแล้วช่วยเหลือไว้ ทั้งสามคนก็เริ่มสนิทและกลายเป็นเพื่อนกัน ในขณะนั้นเองมีสัญญาณเตือนภัยจากท้องฟ้า แม่หมอ ผู้ทำหน้าที่พยากรณ์ประจำหมู่บ้าน เสี่ยงทายและบอกกับทุกคนให้รู้ว่า มหันตภัยร้ายกำลังจะมาถ้าไม่มีใครยับยั้งมันได้โลกจะต้องถึงกาลวิบัติ เมื่อจ่อเป และ หน่อวา เดินทางมาส่งแซม ออกจากป่าลึก สัญญาณเตือนภัยกลับดังขึ้นอีก จ่อเป และ หน่อวา รบเร้า แซม ให้พาไปที่ แคปิตัลสเตท ด้วย และที่นั่นเด็กๆทั้งสามร่วมใจกันฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อหยุดยั้งวิกฤติร้ายของโลกครั้งนี้ให้ได้โดยแก่นแท้ของเรื่องราว จะมุ่งเน้นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ (อังกฤษ: Bird : Flying With Byrd) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชัน 3 มิติ จากประเทศไทย ผลิตโดย บริษัท เชลล์ฮัทเอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด ซึ่งได้ประสบความสำเร็จจากการ์ตูนเชลล์ดอน ที่ได้ทำการออกอากาศไปกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 19.30 - 19.45 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เบิร์ดแลนด์ แดนมหัศจรรย์ เป็นแอนิเมชันแฝงความรู้แก่ผู้ชมทุกวัย ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งในและต่างประเทศ และมีความเป็นไปได้ ถึงการจัดทำของที่ระลึกที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการติดต่อด้านลิขสิทธิ์เพื่อเผยแพร่ไปต่างประเทศในโอกาสต่อมา
ในขณะที่เด็กๆจากทวีปต่างๆ นั้น กำลังเรียนดนตรีอยู่ในห้องดนตรีที่น่าเบื่อ พวกเขาได้มองเห็นเบิร์ดแลนด์ และพี่เบิร์ดผู้ที่เป็นเสมือนไอดอล ของพวกเขาผ่านทาง Blooberry พวกเขาจึงเกิดจินตนาการและนำพวกเขาไปสู่เบิร์ดแลนด์ และการผจญภัยของพวกเขากับพี่เบิร์ดก็ได้เริ่มขึ้น แต่ละตอนพี่เบิร์ดและพวกเขาจะเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆเพื่อจะเก็บรวบรวมตัวโน้ตดนตรีที่หายไปมาให้ครบ เพื่อทำให้โลกเกิดสันติภาพขึ้น ซึ่งการผจญภัยของพวกเขานั้นต้องผ่านอุปสรรคต่างๆนานา โดยเฉพาะเจ้าพวกเบลตันซาวด์โน้ตที่จะแย่งชิงเอาตัวโน้ตมาให้ได้ เพราะเขาเกลียดในเสียงดนตรีหรือโน้ตดนตรีที่ถูกต้อง
ก้านกล้วย (พ.ศ. 2549) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ สร้างโดย กันตนาแอนิเมชัน เป็นเรื่องราวที่ได้แรงบันดาลใจจากบางส่วนของพงศาวดาร ว่าลักษณะคชลักษณ์ของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะมีหลังโค้งลาด คล้ายก้านกล้วย ชื่อตามพงศาวดารนั้นคือ เจ้าพระยาปราบหงสาวดีหรือเดิมชื่อ เจ้าพระยาไชยานุภาพ หรือ พลายภูเขาทอง โดยในเรื่องใช้ชื่อว่า ก้านกล้วย เป็นตัวเอก ก้านกล้วยเป็นแอนิเมชันที่ได้ คมภิญญ์ เข็มกำเนิด คนไทยที่ได้ไปศึกษาทางฟิล์มและวิดีโอที่เน้นด้านการทำแอนิเมชันที่สหรัฐอเมริกา และได้เคยร่วมงานสร้างตัวละครและทำภาพเคลื่อนไหวที่เคยร่วมงานกับบริษัทวอลท์ดิสนีย์ และ บลูสกายสตูดิโออย่าง ทาร์ซาน (Tarzan) , ไอซ์เอจ (Ice Age) และ แอตแลนติส (Atlantis: The Lost Empire) มาเป็นผู้กำกับ พร้อมกลุ่มนักแอนิเมชันทั้งชาวไทยและต่างชาติกว่า 100 คน
ก้านกล้วยเป็นแอนิเมชันที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นฉากที่เป็นภูมิทัศน์แบบไทย ต้นไม้ ไม้ดอก สภาพป่า และประเพณีไทย เช่น การคล้องช้าง การนำฉากหมู่บ้านทรงไทย แสดงพืชพรรณไม้ไทย เช่น ต้นราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติ ในฤดูกาลต่างๆ รวมทั้งการออกดอกเหลืองอร่ามในหน้าแล้ง แสดงฉากประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
ก้านกล้วย เป็นแอนิเมชันที่สร้างด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์อีกเรื่องหนึ่งของไทย ซึ่งก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์แอนิเมชันที่ใช้เทคนิคดังกล่าว คือ ปังปอนด์ และ แอนิเมชันซึ่งถือเป็นเรื่องแรกของไทยคือ สุดสาคร ซึ่งเป็นแอนิเมชันสองมิติ
ก้านกล้วย ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็น ภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ ทางช่อง 7 โดยใช้ชื่อว่า "ก้านกล้วย ผจญภัย" จัดฉายทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00-17.30 น. โดยมีเนื้อหารายละเอียดมากขึ้น และใช้ตัวละครที่มีอยู่เดิม
ในป่าใหญ่ สัตว์ทั้งหลายต่างเข้ามาดูแสงดา (นันทนา บุญหลง) ที่ให้กำเนิดลูกช้างน้อยที่ชื่อว่าก้านกล้วย (อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล) ซึ่งย่าของเขา พังนวล (จุรี โอศิริ) ได้ให้คำทำนายไว้ว่า เขาจะเติบใหญ่และกล้าหาญ แต่แม่ของเขาไม่เห็นด้วย เพราะเธอเกลียดมนุษย์ ที่จับพ่อของก้านกล้วย ที่ชื่อ ภูผา ไปเป็นทหาร
วันหนึ่งขณะขณะที่ก้านกล้วยกำลังเล่นกับฝูงกบ มะโรง (ฤทธิเดช ฤทธิชุ) และพวกของเขาเห็นกบ จึงเอากบมาเล่นเป็นลูกบอล ก้านกล้วยเห็นจึงห้ามไว้ แต่มะโรงกลับพูดจาส่อเสียดว่าขี้ขลาดเหมือนพ่อ ก้านกล้วยได้ยินก็โกรธมาก จึงชนช้างเข้าใส่มะโรง พร้อมๆ กับการปรากฏตัวของจิ๊ดริด (พงษ์สุข หิรัญพฤกษ์) นกพิราบสื่อสารแห่งอาณาจักรอยุธยา
ตกเย็น แสงดาถามก้านกล้วยว่าไปเล่นซนมาหรือเปล่า ก้านกล้วยพยายามปกปิดความลับ แต่จิ๊ดริดก็พูดโพร่งความลับออกไปหมด ในตอนนั้น พลทหารแห่งหงสาวดียกทัพผ่านมา กะว่าคืนนี้จะตั้งแรม ทำให้โขวงช้างต้องอพยพสู่จุดหมายต่อไป ในคืนนั้น ก้านกล้วยและแสงดาต่างพูดคุยเรื่องพ่อของตน แม่พยายามไม่ให้ลูกไปตามหาพ่อ แต่ก้านกล้วยก็หนีได้
ก้านกล้วยไปถึงค่ายพม่า ได้เจอกับงวงแดง (เอกชัย พงศ์สมัย) ผู้ที่ทำให้พ่อของเขาถึงแก่ชีวิต ก็ถามว่าพ่อของเขาอยู่ไหน งวงแดงก็ส่งเสียงดัง ทำให้ยามทหารรู้ตัว พากันมาจับช้างก้านกล้วย และได้หนีเข้าไปในค่ายของเชลยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (บุญชลิด โชคดีภูษิต) ซึ่งถูกนำตัวไปยังกรุงหงสาวดี และก็ช่วยให้ก้านกล้วยหลบหนีไปได้
เช้าวันรุ่งขึ้น ก้านกล้วยได้พบกับชบาแก้ว (นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ) ช้างสีชมพูสดใสน่ารัก ก้านกล้วยพาชบาแก้วไปหาแม่ของเขา แต่ก็ไม่เจอ ชบาแก้วจึงพาก้านกล้วยไปที่หมู่บ้านหินขาว (เพิ่งมีการถูกกล่าวชื่อขึ้นในก้านกล้วย 2) ก้านก้วยอาศัยอยู่ที่นั้นจนร่างกายเติบโตมากขึ้น มีงางอก กำลังมากขึ้น (ตอนโต ภูริ หิรัญพฤกษ์)
คืนหนึ่ง ก้านกล้วยกับชบาแก้ว (ตอนโต วรัทยา นิลคูหา) กำลังลอยกระทงอย่างสนุกสนาน พร้อมๆ กับการแต่งงานไปในตัวอย่างลับๆ เช้ารุ่งขึ้น พวกทหารหงสาวดีจะมารีดไถ่เสีบยง แต่ก็ถูกเหล่าช้างผู้คนขับไล่ออกไป พระมหาอุปราชาทราบเหตุ จึงตัดสินพระทัยยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ก้านกล้วยจึงต้องแยกทางกับชบาแก้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นช้างศึก
ยักษ์ (อังกฤษ: YAK : The Giant King) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสัญชาติไทย กำกับโดยประภาส ชลศรานนท์ เนื้อเรื่องดัดแปลงจากรามเกียรติ์ วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในภูมิภาคเอเชีย ใช้เวลาสร้าง 6 ปี และใช้ทุนสร้างกว่า 100 ล้านบาท ออกฉายในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ยักษ์ เป็นเรื่องราวอวตารของทศกัณฐ์ออกมาในรูปแบบหุ่นยนต์ หลังจากสงครามระหว่างหุ่นฝ่ายยักษ์และหุ่นฝ่ายรามสิ้นสุดลงด้วยการล้างเผ่าพันธุ์ ทำให้น้าเขียว (ซึ่งเป็นทศกัณฐ์ในอดีต) กับเจ้าเผือก (ซึ่งเป็นหนุมานในอดีต) ซึ่งเป็นศัตรูคู่อาฆาตต้องหลับใหลอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งเขาทั้งสองถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา แต่ก็พบกับสภาวะความจำเสื่อม นอกจากนี้ยังมีโซ่ที่ไม่ว่าจะหาทางตัดอย่างไรก็ตัดไม่ขาดล่ามทั้งคู่เข้าด้วยกัน ด้วยความที่เข้ากันไม่ได้ ทำให้ทั้งคู่ต้องหาทางตัดโซ่นี้ และร่วมผจญภัยด้วยกัน จนกระทั่งทั้งคู่เกิดเป็นเพื่อนกันจริงๆ แต่แล้วความจำของทั้งคู่ก็กลับมาทำให้ทั้งคู่จำกันได้ว่าเคยเป็นศัตรูกันมาก่อน เขาทั้งสองจึงต้องตัดสินใจเลือกระหว่างมิตรภาพและหน้าที่ ทั้งนี้ภาพรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทย ใน ปัจจุบัน ปีหนึ่งๆ มีมูลค่าตลาดสูงมากกว่า 10,000 ล้านบาท แต่ส่วนใหญ่ผู้ ประกอบการไทยจะเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตเท่านั้น การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ หรือสตูดิโอแอนิเมชั่นของไทย สามารถผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่นเต็มรูปแบบ ได้ จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้วงการแอนิเมชั่นเมืองไทยสามารถพัฒนาจนแข่งขันกับต่างชาติได้ เพราะ นั่นหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมากมายมหาศาล ที่จะไหลเข้าประเทศไทยในอนาคต ซึ่ง สิ่งที่ยืนยันถึงฝีมือคนไทยด้านแอนิเมชั่นได้เป็นอย่างดี และคนไทยหลายๆ คน ยังไม่รู้ก็คือ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นรวมถึงภาพยนตร์ของฮอลลีวูดที่ต้องอาศัย งานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ก็มีฝีมือคนไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอยู่ หลายๆ เรื่อง ช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีการประกาศผลรางวัล Academe Award หรือ รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 82 ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง Rango คว้ารางวัลยอดเยี่ยมในสาขาแอนิเมชั่นไปครอง เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ น้อยคนจะทราบว่า บริษัทจากประเทศไทยมีเครดิตอยู่ตอนท้ายเรื่องด้วย ในนาม The Monk Studios, Thailand และเมื่อไม่นานมานี้ ได้เกิดการรวมตัวกันของคนแวดวงอุตสาหกรรมคนผลิตหนังแอนิเมชั่นขึ้น ซึ่งเป็นครั้งสำคัญ เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นไทยยกระดับสู่สากล ทาง สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า จึง ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (TACGA) จัด ทำโครงการจัดทำภาพยนตร์แอนิเมชั่นแห่ง ชาติ (National Animation Pilot Project : NAPP) โดยนำสัญลักษณ์ของ ไหม หรือ SILK มาใช้เป็นแนวคิดของโครงการ เพื่อสื่อถึงการร่วมถักทอ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของ 4 สตูดิโอชั้นนำของเมือง ไทย ได้แก่ บริษัท กันตนา แอนนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด บริษัท อิเมจิ แมกซ์ จำกัด บริษัท อัญญา อนิเมชั่น จำกัด และบริษัท อิเมจิน ดี ไซน์ จำกัด ในการผลิตงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นถ่ายทอดออกมาเป็นความรัก 4 แบบ
ดร.จีรศักดิ์ พงษ์พิษณุพิจิตร์ ประธานกรรมการบริหาร สำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า อุตสาหกรรม ดิจิทัลคอนเทนท์เป็นสาขาหนึ่งในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ ทางซิป้ามี หน้าที่ในการส่งเสริมทั้งทางด้านการบริหารจัดการ ด้านการผลิต และด้านการ ตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งโครงการจัดทำภาพยนตร์แอนิเมชั่นแห่งชาติจะมี ส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่ออุตสาหกรรมแอนิเมชั่นไทย และแสดงถึง ศักยภาพผู้พัฒนางานแอนิเมชั่นของไทย
“ผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นในโครงการนี้เป็นการนำผู้ที่มีฝีมือในบริษัท ต่างๆ มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลงานที่ดีที่สุดในประเทศ เพื่อเป็นการ สร้างภาพลักษณ์และมาตรฐานให้อุตสาหกรรมแอนิเมชั่นไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การยอมรับคุณภาพผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยในตลาดโลก นอกจากนี้ยังจัดให้มี กิจกรรมสัมมนา และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่ สาธารณะ จึงหวังว่าโครงการนี้จะช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการด้านดิจิ ทัลคอนเทนท์ของไทย มีศักยภาพในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในตลาดต่าง ประเทศต่อไป”
ด้านนายลักษณ์ เตชะวันชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกส์ไทย กล่าวว่า ในปัจจุบันผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่อง เงินทุนและความถนัดเฉพาะทาง เนื่องจากการผลิตผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นหนึ่ง เรื่อง ต้องใช้เวลานานและงบประมาณก็สูง อย่างเช่น ภาพยนตร์แอนิเมชั่นระดับ โลกเรื่องหนึ่งจะต้องใช้เวลาในการสร้างประมาณ 3-5 ปี และใช้งบประมาณ ตั้งแต่ 800-3,000 ล้านบาท ทางสมาคมฯ จึงได้ร่วมกับซิป้าเพื่อทำโครงการนี้ ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้ทำงานร่วมกันตั้งแต่ ขั้นตอนการเตรียมงาน ไปจนถึงการทำผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ จะช่วยให้สามารถร่น ระยะเวลาได้มากกว่า 1-2 เท่า และประหยัดงบประมาณในการผลิตผลงานไปได้มาก
“โครงการนี้ใช้คนทำงานจาก 4 บริษัท ประมาณ 200 คน ผลิตงานภาพยนตร์แอนิเม ชั่น 4 เรื่อง ความยาวเรื่องละประมาณ 20-25 นาที คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้ง หมดประมาณ 100 ล้านบาท เบื้องต้นได้ลงทุนไปแล้วประมาณ 20 ล้านบาท โดยทางซิ ป้าสนับสนุน 10 ล้านบาท อีกครึ่งเป็นงบประมาณของ 4 บริษัท ผลิตภาพยนตร์แอนิ เมชั่นตัวอย่าง 4 เรื่อง ความยาวรวมประมาณ 10 นาที เพื่อที่จะนำไปเผยแพร่ใน งานเอ็มไอพี ทีวี ที่เมืองคานส์ช่วงวันที่ 12-16 เม.ย. นี้ เป็นงานเกี่ยว กับการซื้อขายรายการทีวี ซีรีส์ และงานแอนิเมชั่น ระดับโลก เพื่อหานักลงทุน ที่สนใจร่วมลงทุนในการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่นแห่งชาติสมบูรณ์ ความยาว ประมาณ 90 นาที ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการผลิตประมาณ 1 ปีครึ่ง เมื่อระดมทุน ได้ครบ 80 ล้านบาทแล้ว”
สำหรับผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นแห่งชาติ หรือ SILK แบ่งเป็น 4 เรื่อง สั้น สร้างโดย 4 สตูดิโอชั้นนำ ควบคุมการผลิตโดย นนทรีย์ นิมิบุตร ซึ่ง เรื่องที่ 1 ชื่อ “ต้วมเตี้ยม” (My Brother Turtle) โดย บริษัท กันตนา แอ นนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด เรื่อง ที่ 2 ชื่อ “อู๊ดแมน” (Aood Man) ผลงาน ของ บริษัท อิเมจิแมกซ์ จำกัด เรื่องที่ 3 ชื่อ “นางใน บาดาล” (The Lady of Badal) ผลงานของ บริษัท อัญญา อนิเมชั่น จำกัด และ เรื่องที่ 4 ชื่อ “ลูกแก้ว” (The Crystal Orb) ผลงานของ บริษัท อิเมจิน ดี ไซน์ จำกัด
นายลักษณ์ เตชะวันชัย กล่าวต่อว่า หากโครงการนี้สำเร็จไปด้วยดีทางสมาคมฯ มี เป้าหมายที่จะพยายามดำเนินโครงการลักษณะนี้ต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกของ สมาคมฯ ที่มีอยู่ประมาณ 50 บริษัท ได้รวมกลุ่มเพื่อให้สามารถผลิตผลงานได้ อย่างเต็มรูปแบบ หรือรับงานจากต่างประเทศให้ได้มากขึ้น เพราะฝีมือและความ คิดสร้างสรรค์ของคนไทยไม่แพ้ต่างชาติ ขาดแต่เพียงเงินลงทุนและการหาตลาดเท่า นั้น ซึ่งทางซิป้าและสมาคมฯ จะช่วยสนับสนุนด้านการหาแหล่งเงินทุน อาจเป็นไป ในลักษณะการตั้งกองทุนขึ้นมา รวมถึงหาผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดมาให้คำปรึกษา ในการพัฒนาแอนิเมชั่นเพื่อเจาะตลาดต่างประเทศอีกด้วย
ผู้เขียนคิดว่าการ์ตูนแอนิเมชั่นของไทยได้พัฒนาไปได้ในระดับสากลแล้ว ทั้งในด้านไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคการสร้าง พล็อตหรือบทภาพยนตร์ แต่ที่ยังขาดอยู่หรือต้องเสริมให้มากก็คือประเด็นเนื้อหาให้มีความแหลมคมมากกว่านี้ และก็การสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละคร ให้มีความหลากหลาย รวมถึงบทภาพยนตร์ ที่ต้องไปเสริมในส่วนประเด็นเนื้อหาและคาแร็กเตอร์ตัวละคร ให้มีความหลากหลายให้มากขึ้น ในขณะที่่การพัฒนาด้านเทคนิคการสร้างและไอเดียก็ต้องไม่หยุดอยู่กับที่ ก็จะสามารถก้าวไปสู่ระดับโลกหรือตลาดต่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพและประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้
ผู้เขียนคิดว่าการ์ตูนแอนิเมชั่นของไทยได้พัฒนาไปได้ในระดับสากลแล้ว ทั้งในด้านไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคการสร้าง พล็อตหรือบทภาพยนตร์ แต่ที่ยังขาดอยู่หรือต้องเสริมให้มากก็คือประเด็นเนื้อหาให้มีความแหลมคมมากกว่านี้ และก็การสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวละคร ให้มีความหลากหลาย รวมถึงบทภาพยนตร์ ที่ต้องไปเสริมในส่วนประเด็นเนื้อหาและคาแร็กเตอร์ตัวละคร ให้มีความหลากหลายให้มากขึ้น ในขณะที่่การพัฒนาด้านเทคนิคการสร้างและไอเดียก็ต้องไม่หยุดอยู่กับที่ ก็จะสามารถก้าวไปสู่ระดับโลกหรือตลาดต่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพและประสบความสำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น